ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
22 ก.ย. 2008, 2:32 pm |
  |
พรหมลิขิต คือ กรรมในอดีตที่ให้ผลในปัจุบัน-อนาคต แต่เราเปลี่ยนแปลงมันได้
จริงๆ
พรหมลิขิต คือ กฎแห่งกรรมในอดีตที่มีผลต่อปัจจุบันและอนาคต มันเป็น
แผนที่ชีวิตที่วางไว้แล้ว แต่ก็หาเป็นเช่นนั้นเสมอไปไม่ เพราะเราเป็นผู้ตัดสินใจ
ในปัจจุบันและอนาคตว่าจะให้มันเกิดขึ้นหรือไม่ ด้วยเหตุนี้ หมอดูดังๆจำนวน
มากมักทำนายเหตุการณ์ต่างๆผิดพลาด แม้แต่พระอริยะเจ้าท่านยังทำนายผิด
พลาดเลย ผมจะขอยกตัวอย่างพระอริยะเจ้าที่ทำนายผิดพลาด 2 ท่าน มาเป็น
ตัวอย่างนะครับ
1. หลวงพ่อจรัญ
หลวงพ่อจรัญทำนายว่า.....อาตมาจะมรณภาพวันที่ 14 ตุลาคม 2521 เวลาเที่ยง
12.45 น.ด้วยอุบัติเหตุรถคว่ำคอหักตาย เมื่อถึงเวลานั้นท่านก็เกิดอุบัติเหตุรถคว่ำ
จริงๆ แต่ท่านไม่ตาย ด้วยเหตุที่ หลวงพ่อจรัญได้สำนึกบาปที่ฆ่าหักคอไก่จำนวน
มาก และแผ่เมตตาให้ไก่เหล่านั้น ไก่เหล่านั้นเลยให้อภัย ท่านจึงแค่คอหัก แต่ไม่ตาย
วิเคราะห์
- หลวงพ่อจรัญมองเห็นกรรมเก่าที่จะให้ผล(ตามพรหมลิขิต/กฎแห่งกรรม)
- หลวงพ่อจรัญมองไม่เห็นกรรมใหม่ที่จะให้ผล ท่านทำ
กรรมใหม่ คือ สำนึกบาปที่ฆ่าหักคอไก่จำนวนมาก และแผ่เมตตาให้ไก่เหล่านั้น
- กรรมใหม่ส่งผลเปลี่ยนพรหมลิขิต/กฎแห่งกรรมในอดีต ไม่ให้ผล
2. พระสารีบุตร
ในครั้งพุทธกาล พระสารีบุตร และภิกษุอื่นๆ ต่างไม่ได้ให้พรเณรบวชใหม่คนหนึ่ง
ให้มีอายุยืน เพราะวิบากกรรมของเขาต้องตาย ถึงฆาตแน่ พระสารีบุตรได้เล็งเห็น
ว่า เณรผู้นี้จะมรณะในอีก 7 วัน จึงอนุญาตให้เณรกลับไปเยี่ยมบ้าน เพื่อโปรดบิดา
มารดา ญาติโยมทางบ้านเป็นครั้งสุดท้าย
เมื่อเพลาผ่านไปเจ็ดวัน เณรได้กลับมายังอารามเหมือนเดิม พระสารีบุตรเองแปลก
ใจว่า เพราะเหตุใดเณรคนนั้นไม่ตาย ท่านจึงได้สอบถามเณรว่า เกิดอะไรขึ้นบ้าง
ระหว่างทางไปและกลับ เณรได้แถลงไขว่า ระหว่างทางที่ไปนั้น ได้พบปลาจำนวน
หนึ่งตกคลักในหนองน้ำที่ใกล้แห้ง จึงได้เอาจีวรช้อนขึ้นมาไปปล่อยในแหล่งน้ำที่ใกล้ๆ
ด้วยญาณแห่งพระสารีบุตร ท่านก็ทราบได้ว่า ปลาเหล่านั้น คืออดีตเจ้ากรรมนายเวร
ของเณรผู้นั้นเอง และเมื่อเณรได้นำปลาไปปล่อยในแหล่งน้ำ เท่ากับว่าได้ทำบุญ
ต่ออายุให้กับตัวเอง และเจ้ากรรมนายเวรนั้น จึงได้อโหสิกรรมให้เณร
วิเคราะห์
- พระสารีบุตรมองไม่เห็นกรรมเก่าที่จะให้ผลให้เณรคนหนึ่งตาย(ตามพรหมลิขิต/
แผนที่ชีวิตตามกฎแห่งกรรม)
- พระสารีบุตรมองเห็นกรรมใหม่ ที่จะให้ผลให้เณรคนนั้นไม่ตาย ซึ่งเป็นตอนที่เณรคนนั้นเดินทางกลับบ้าน เณรไปปล่อยปลา ซึ่งเป็นการทำกรรมใหม่ ทำให้กรรมเก่า
ของเณรไม่ส่งผล
สรุป
กฎแห่งกรรมก็คือพรหมลิขิตนั่นเอง แต่กฎแห่งกรรมบอกวิธีการแก้พรหมลิขิตหรือ
แผนที่กฎแห่งกรรมในอดีตที่ส่งผลถึงปัจจุบันและอนาคตเอาไว้ด้วย ถ้าเราทำตาม
พรหมลิขิต โดยไม่แก้ไขอะไรให้ดีขึ้น ก็เท่ากับเราไม่เข้าใจกฏแห่งกรรมอย่างแท้จริง |
|
|
|
  |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
22 ก.ย. 2008, 3:32 pm |
  |
พรหมลิขิตs หรือ
จากข้อมูลที่ผมรู้ พระพุทธเจ้า 3 ภาคที่ไม่ถูกกัน เป็นข้าศึกกันจริง ๆ เข้ากันไม่ได้อย่างเด็ดขาด เพราะ
ผิดธาตุผิดธรรมกัน พระพุทธเจ้าสามภาคนี้ ขาวภาคหนึ่ง ดำภาคหนึ่ง ไม่ดำไม่ขาวภาคหนึ่ง
ภาคขาวนั้นคือ (ภาคกุศล) กุสลาธัมมา พระพุทธเจ้าภาคนี้พระกายขาวใสเหมือนแก้วขาว เกตุแหลมเป็นดอกบัวตูม ให้สุขแก่สัตว์แต่ฝ่ายเดียว ไม่มีให้ทุกข์เลย
อีกภาคหนึ่ง (ภาคอกุศล)อกุสลาธัมมา พระพุทธเจ้าภาคนี้พระกายดำใสเหมือนแก้วดำ หรือนิล
เกตุแหลมเป็นดอกบัวตูม ให้ทุกข์แก่สัตว์ฝ่ายเดียว ไม่มีให้สุขเลยเหมือนกัน
ภาคที่ 3 (ภาคไม่ใช่กุศล-ไม่ใช่อกุศล) อัพยากตาธัมมา พระพุทธเจ้าภาคนี้พระกายไม่ขาวไม่ดำ
ใสเป็นสีกลาง ใสเหมือนแก้วสีตะกั่วตัด จะว่าขาวก็อมดำ จะว่าดำก็อมขาว เกตุแหลมเป็นดอกบัวตูมเหมือนกัน
ให้ไม่สุขไม่ทุกข์แก่สัตว์
พระพุทธเจ้าขาว กลาง ดำ สามภาคนี้คอยประมูลฤทธิ์กันอยู่เสมอ แย่งกันปกครองธาตุธรรม ภาคขาวก็คอย
จะสอดสุขให้แก่สัตว์โลก ภาคกลางกับภาคดำคอยกีดกันไว้ ภาคดำก็คอยจะสอดทุกข์ให้แก่สัตว์โลก
ภาคขาวกับภาคกลางก็คอยกันไว้ ถ้าภาคกลางจะสอดไม่สุขไม่ทุกข์ให้แก่สัตว์โลก ภาคขาวกับภาคดำ
ก็คอยกันไว้เหมือนกัน ไม่ให้ความสะดวกแก่กันได้ ไม่งั้นเสียอำนาจกัน
ภาคขาวเห็นว่าทำดี ให้สุขแก่สัตว์จึงจะถูก ภาคดำเห็นว่าทำชั่ว ให้ทุกข์แก่สัตว์จึงจะถูก ภาคกลางเห็นว่า
ทำไม่ดีไม่ชั่ว ให้ไม่สุขไม่ทุกข์แก่สัตว์จึงจะถูก
หัวใจหนุมาน...."หะนุมานะ" หัวใจฤษี108...".โอมฤ ฤา ฦ ฦา นะโมพุทธายะ" คาถาหนุมานออกศึก......"หะนุมานะ นะสังสะตัง ชะหะปะติ อิกะวิติ "
________________________________________
ประโยชน์ของการปฏิบัติวิปัสสนาที่พบเห็นจากประสบการณ์ตรง
ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมีมากมายยากที่จะอธิบายให้เห็นจริงได้ จนกว่าผู้นั้นได้ลงมือปฏิบัติจนได้เห็นผลจริงด้วยตนเอง แต่พอกล่าวเป็นตัวอย่างได้ดังนี้
๑. ทำให้บรรลุโสดาบันได้ภายใน ๓-๔เดือน (..เท่านั้น)
โสดาบัน แปลว่า เข้าถึงกระแสที่จะไหลไปสู่ความไม่เกิดอีกภายใน ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง(1) (เมื่อไม่เกิดอีกก็ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย และไม่ ต้องเป็นทุกข์อีกแล้ว) เป็นมรรคขั้นต้นของมรรคทั้ง ๔ ( โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค) ที่เป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา เป็นเป้าหมายสำคัญที่สัตว์ทั้งมวล ผู้รักสุขเกลียดทุกข์และต้องการ สุขแท้สุขถาวร ควร/ต้องไปให้ถึงให้ได้ภายในชาตินี้ ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานให้วิปัสสนาญาณเกิดไปตามลำดับจนครบ ๑๖ ขั้น ก็จะสำเร็จเป็นพระโสดาบันโดยสมบูรณ์(2)
๒. เมื่อบรรลุโสดาบันแล้ว ถ้าหากต้องการมีฤทธิ์ มีเดช ก็สามารถฝึกสมถกรรมฐานต่อได้เลย จะสำเร็จได้ในระยะเวลาไม่นาน ในขณะที่การปฏิบัติสมถล้วนๆ ต้องใช้เวลาปฏิบัติกันถึง ๒-๓ปี หรือนานกว่านั้น จึงจะได้ผล
๓. เมื่อปฏิบัติวิปัสสนาถึงสังขารุเปกขาญาณ (ญาณที่ ๑๑) จนแก่กล้าแล้ว ทำให้โรคบางอย่างหายได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ต่อมไทรอย โรคเกี่ยวกับลม เส้นเอ็นและกระดูก (..นี้เป็นตัวอย่างจริงที่พบเห็นจากผู้ร่วมปฏิบัติ เป็นต้น
๔. ถ้ามีเหตุให้ปฏิบัติไม่สำเร็จ ไปติดอยู่เพียงแค่ญาณ ๑๑ ก็ไม่เสียเวลาเปล่า เพราะจะเกิดปัญญาญาณ ที่จะใช้ในการแก้ปัญหาทุกอย่างในโลกได้ ไม่ว่าปัญหานั้นจะเป็นปัญหาทางโลกหรือทางธรรม โดยเฉพาะปัญหาครอบครัวระหว่างสามี ภรรยา ลูก หลาน ญาติพี่น้อง (คิดค้นวิธีเอายานไวกิ้งลงบนดาวอังคารได้ ก็ด้วยการนั่งสมาธินี่แหละ)
๕. ล้างอาถรรพ์ มนต์ดำได้ ไม่ว่าจะถูกของ หรือโดนยาพิษ ยาสั่งมา เมื่อปฏิบัติจนถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว อาถรรพ์จะหายไปจนเกลี้ยง ( เรื่องนี้ขอท้าให้พิสูจน์)
วิธีปฏิบัติวิปัสสนาจากประสบการณ์ตรง
๑) เดินจงกรม เดินกลับไปกลับมา ก้มหน้าเล็กน้อย ส่งจิตกำหนดดูอาการของเท้าแต่ละจังหวะที่เคลื่อนไป อย่างจดจ่อ ต่อเนื่อง รับรู้ถึงความรู้สึกของเท้าที่ค่อยๆยกขึ้น ค่อย ๆ ย่างลง และความรู้สึกสัมผัสที่ฝ่าเท้า(อ่อน แข็ง เย็น ร้อน ฯลฯ) ส่งจิตดูอาการแต่ละอาการอย่างจรด แนบสนิทอยู่กับอาการนั้น ไม่วอกแวก จนรู้สึกได้ถึงอาการที่เปลี่ยนไป ดับไปของสภาวนั้น ๆ เช่น ขณะย่างเท้า ก็รู้สึกถึงอาการลอยไปเบา ๆ ของเท้า พอเหยียบลงอาการลอย ๆ เบา ๆ เมื่อ ๒-๓ วินาทีก่อนก็ดับไป มีอาการตึงๆแข็งเข้าแทนที่ พอยกเท้าขึ้นอาการตึงๆแข็งๆด็ดับไป กลับมีอาการลอยเบาๆ โล่งๆเข้าแทนที่ เป็นต้น ยิ่งเคลื่อนไหวช้าๆ ยิ่งเห็นอาการชัด และในขณะที่กำลังเดินอยู่นั้น
หากมีความคิดเกิดขึ้นให้หยุดเดินก่อน แล้วส่งจิตไปดูอาการคิด พร้อมกับบริกรรมในใจว่า คิดหนอๆๆๆ จนกว่าความคิดจะเลือนหายไป จึงกลับไปกำหนดเดินต่อ อย่ามองซ้ายมองขวา พยายามให้ใจอยู่กับเท้าที่ค่อยๆเคลื่อนไปเท่านั้น ถ้าเผลอหรือหลุดกำหนดให้เอาใหม่ เผลอเริ่มใหม่ ๆๆๆ ไม่ต้องหงุดหงิด การปฏิบัติเช่นนี้ เรียกว่า เดินจงกรม ต้องเดิน ๑ ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย
๒) นั่งสมาธิ นั่งตัวตรง แต่ไม่ต้องตรงมาก ให้พอเหมาะสมกับสรีระของตนเอง นั่งสงบนิ่ง ไม่ขยับเขยื้อนอวัยวะส่วนใดทั้งสิ้น จนสังเกตได้ว่าอวัยวะที่ยังไหวอยู่มีแต่ท้องเท่านั้น ให้ส่งจิตไปดูอาการไหวๆนั้นอย่างต่อเนื่อง แค่ดูเฉยๆ อย่าไปบังคับท้อง ปล่อยให้ท้องไหวไปเรื่อยๆ ตามธรรมชาติ นั่งกำหนดดูอย่างติดต่อ ต่อเนื่อง ไม่หลุด ไม่เผลอ ถ้ามีเผลอสติบ้างก็ไม่ต้องหงุดหงิด เผลอ..เอาใหม่ ๆ จนเห็นอาการพอง อาการยุบค่อยๆชัดขึ้น ขณะเห็นท้องพองกำหนดในใจว่า พองหนอ ขณะเห็นท้องยุบกำหนดในใจว่า ยุบหนอ บางครั้งท้องนิ่งพอง-ยุบไม่ปรากฏก็ให้กำหนดรู้อาการท้องนิ่งนั่น รู้หนอๆๆ หรือ นิ่งหนอๆๆ บางครั้งพอง-ยุบเร็วแรงจนกำหนดไม่ทัน ก็ให้กำหนดรู้อาการนั้น รู้หนอๆๆ
ถ้าขณะนั่งกำหนดอยู่มีความคิดเข้ามาให้หยุดกำหนดพองยุบไว้ก่อน ส่งจิตไปดูอาการคิด พร้อมกับบริกรรมในใจว่า คิดหนอๆๆ แรงๆ เร็วๆ โดยไม่ต้องสนใจว่าคิดเรื่องอะไร พออาการคิดจางไปแล้ว หรือหายไปโดยฉับพลัน ให้กำหนดดูอาการที่หายไป รู้หนอๆๆ แล้วรีบกลับไปกำหนดพอง-ยุบต่อทันที อย่าปล่อยให้จิตว่างจากการกำหนดเด็ดขาด
ขณะที่กำหนดอยู่นั้น ถ้าเกิดอาการปวดขา หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นมา ให้ทิ้งพอง-ยุบไปเลย แล้วส่งจิตไปดูอาการปวดนั้น บริกรรมในใจว่า ปวดหนอๆๆ พยายามกำหนดดูอย่างติดต่อ ต่อเนื่อง แต่อย่าเอาจิตเข้าไปเป็นทุกข์กับอาการปวดนั้น ภายใน ๕ หรือ ๑๐ วันแรกให้กำหนดดูอาการปวดอย่างเดียว ไม่ต้องสนใจอารมณ์อื่นมากนัก จนกว่าอาการปวดจะหาย หรือลดลง วันแรกๆ อาการปวดจะไม่รุนแรงมากนัก นั่งได้ ๑ ชั่วโมงแบบสบายๆ พอเรามีสมาธิมากขึ้น มีญาณปัญญามากขึ้น อาการปวดจะค่อยๆรุนแรงขึ้น จนทนแทบไม่ไหว จากที่เคยนั่งได้ ๑ ชั่วโมง พอวันที่ ๕-๖ เป็นต้นไป นั่ง ๑๐ หรือ ๒๐ นาทีก็ทนแทบไม่ไหวแล้ว ให้พยายามนั่งกำหนดต่อไปจนกว่าจะครบชั่วโมง (เพื่อจะได้เป็นกำลังใจในการกำหนดบัลลังก์ต่อๆไป) ยิ่งปวดมากก็ยิ่งกำหนดถี่ๆเร็วๆ แรงๆ นั่นแสดงว่าสมาธิของเราก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ภายใน๑๐-๒๐ วันเวทนาก็จะหายขาดไปเอง หรืออาจจะมีอยู่บ้างเล็กน้อยช่วงท้ายบัลลังก์ ถึงต้อนนี้วิปัสสนาญาณของคุณก้าวเข้าสู่ขั้นที่ ๔ แล้ว ขั้นต่อไป ไม่ควร/ห้ามปฏิบัติด้วยตนเอง(อย่างเด็ดขาด) ต้องมีพระอาจารย์คอยควบคุมอย่างใกล้ชิด มิฉะนั้นแล้วจะเกิดผลเสียมากว่าผลดี ..ขอเตือน.. ที่อธิบายมานี้เป็นเพียงหลักปฏิบัติเบื้องต้น มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายที่จะต้องเรียนรู้ ผู้ต้องการปฏิบัติให้เห็นมรรคเห็นผล พึงแสวงหาสำนักปฏิบัติที่เห็นว่าเหมาะสมกับตนเอาเองเถิด.. |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
22 ก.ย. 2008, 3:44 pm |
  |
|
   |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
22 ก.ย. 2008, 3:47 pm |
  |
8iy[ครับๆๆๆๆ |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
22 ก.ย. 2008, 7:50 pm |
  |
คุณบุญชัยครับ
เรื่องที่คุณลงดีมาก ทำไมไม่แยกไปตั้งอีกกระทู้ล่ะครับ |
|
|
|
  |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
22 ก.ย. 2008, 7:53 pm |
  |
สาธุกับบทความของคุณพลศักดิ์ ครับ
 |
|
|
|
    |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ย. 2008, 8:45 am |
  |
คือ ว่ากระทู้นี้ มีคนลงไว้แล้วผมจำ มา ลงให้ อ่านซ้ำ อีกที |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ย. 2008, 11:08 am |
  |
คุณ"บุญชัย"ครับ
เรื่องพระพุทธเจ้า 3 ภาค ผมอ่านและก็อ่านซ้ำแล้วครับ ยังไม่เห็นว่ามันเกี่ยวกับ
พรหมลิขิตหรือกฎแห่งกรรม ส่วนเรื่องวิปัสสนาก็ไม่เกี่ยวกัน ถ้าคุณอยากจะให้คน
แสดงความเห็นอะไร ผมว่าคุณก็เข้าไปตอบในกระทู้นั้น กระทู้นั้นก็จะออกมาใหม่ คนก็
จะเข้ามาโต้ตอบถกกัน มันจะได้มีเอกภาพของกระทู้
ตามความเห็นของผม กระทู้ที่ถกกันเรื่องไหน ก็ควรจะถกกันเรื่องนั้น จะได้ไม่ปนกันมั่ว |
|
|
|
  |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ย. 2008, 11:38 am |
  |
จะรับไว้พิจารณาครับท่าน |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ย. 2008, 1:54 pm |
  |
ก็ตอบว่ากฏแห่งกรรมนั้นจุดเกิด คือ....
จากเรื่องธาตุธรรม3ฝ่าย ครับๆๆ
ผมยอมรับครับ |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ย. 2008, 4:01 pm |
  |
กรรมเก่าทั้งนั้นหรือ
ปัญหา ตอบหลักกรรมในทางพระพุทธศาสนานั้นเราจะถือว่าความสุขก็ดี ความทุกข์ก็ดี ที่เราได้รับอยู่ในบัดนี้ เป็นผลของกรรมเก่าที่เราได้ทำไว้แล้วในชาติก่อน ดังนี้ได้หรือไม่ ?
พุทธดำรัสตอบ .....เวทนาอันบุคคลเสวยในโลกนี้ บางเหล่าเกิดขึ้นมีดีเป็นสมุฏฐานก็มี มีสวนต่าง ๆ เหล่านั้นรวมกันเป็นสมุฏฐานก็มี เกิดแต่ความแปรแห่งฤดูก็มี เกิดแต่การบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอก็มี เกิดแต่ความพยายาม (ของตน) ก็มี เกิดแต่วิบากแห่งกรรมก็มี..... ข้อนี้อันเจ้าตัวเองก็รู้เช่นนั้น อันโลกก็สมมติว่าเป็นจริง สมณะพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด มักกล่าวและมีความเห็นในข้อนั้นอย่างนี้ว่า บุคคล... เสวยเวทนาทั้งปวง (สุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์) เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำแล้วในก่อน เขาย่อมเพิกเฉยข้อที่ตนเองก็รู้ดี ย่อมเพิกเฉยต่อข้อที่โลกสมมติว่าเป็นจริง เพราะฉะนั้นเรากล่าวว่า การกล่าวแลความเห็นอย่างนี้ของสมณะพราหมณ์เหล่านั้น เป็นการกล่าวผิดและเห็นผิด ดังนี้
สิวกสูตร สฬ. สํ. (๔๒๗)
อ้างอิงจาก: |
อย่าพะวงถึงอดีต
อย่าคิดถึงอนาคต
ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด |
 |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ย. 2008, 5:13 pm |
  |
อดีตไม่มี
อนาคตไม่เห็น มีปัจจุบันทีทำให้ดี ทุกๆวันครับอยู่ในหัว  |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ย. 2008, 11:35 pm |
  |
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
กรรมดำกรรมขาว ๔
[๘๘] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรปุณณะ กรรม ๔ ประการนี้
เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ๔ ประการนั้น
เป็นไฉน ดูกรปุณณะ
กรรมดำมีวิบากดำมีอยู่ กรรมขาวมีวิบากขาวมีอยู่ กรรมทั้งดำทั้งขาว มี
วิบากทั้งดำทั้งขาว มีอยู่
กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่ ดูกร
ปุณณะ ก็กรรมดำ มีวิบากดำ ............. |
|
|
|
  |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ย. 2008, 9:00 am |
  |
8iy[ginjv' mujpy'w,jgsHody[9kz,py'q
wเรื่องที่ยังไม่เห็นกับตาผมไม่เชื่อ ทั้งหมดไว้ผม เข้าฌานเจอจริง จะมาบอกเล่า ให้ฟังนะครับ |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
|