ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
LinzUmIng
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 20 ก.ค. 2008
ตอบ: 7
|
ตอบเมื่อ:
18 ก.ย. 2008, 11:23 pm |
  |
การมีชีวิตและยังไม่หมดบุญเป็นเพราะเราอาศัยบุญเก่าใช่มั้ย
และการทำบุญเป็นการทำเพื่อไปใช้ในชาติหน้ารึป่าวคะ ข้องใจมากค่ะ
เคยพูดกับเพื่อนเหมือนกกัน แต่ก็หาคำตอบไม่ได้ค่ะ |
|
|
|
   |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
19 ก.ย. 2008, 3:34 am |
  |
รบกวนคุณตรงประเด็นชี้แนะที่มีระบุไว้ในพระไตรปิฏกดีเถิดนะคับ
จะได้มีความมั่นใจ
ผมก็ไม่อยากรู้แบบแน่นอนๆ เหมือนกัน |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
19 ก.ย. 2008, 8:52 am |
  |
บุญเป็นที่พึ่งในโลกนี้และโลกหน้า
ชนเหล่าใด มีใจผ่องใสแล้ว ให้อาหารนั้นด้วยศรัทธา อาหารนั้นแลย่อมพะนอเขาทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า
เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงนำความตระหนี่ให้ปราศจากไป พึงข่มความตระหนี่ ซึ่งเป็นตัวมลทินเสียแล้วจงให้ทาน เพราะบุญทั้งหลายเป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์ในโลกหน้า
(พระพุทธพจน์) อันนสูตร ๑๕/๔๒
ลองศึกษาดูในนี้นะครับ....
http://www.dhammajak.net/book/tan/tan.php |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
19 ก.ย. 2008, 9:04 am |
  |
ทานที่เห็นผลในปัจจุบัน
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ทีกูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี
ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงสามารถบัญญัติผลแห่งทาน ที่จะพึงเห็นได้ในปัจจุบันหรือหนอ ?
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
สามารถ ! ท่านสีหเสนาบดี
แล้วจึงตรัสต่อไปว่า
ท่านสีหเสนาบดี ! ทายกผู้เป็นทานบดี (เจ้าของทาน) ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง
อีกประการหนึ่ง สัตบุรุษผู้สงบ (คนดี) ย่อมคบหาทายกผู้เป็นทานบดี แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง
อีกประการหนึ่ง ทายกผู้เป็นทานบดีจะเข้าไปสู่ที่ประชุมใดๆ คือที่ประชุมกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดีหรือสมณะ ก็ย่อมเป็นผู้องอาจ ไม่เก้อเขินเข้าไป แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง
อีกประการหนึ่ง ทายกผู้เป็นทานบดีเมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ แม้ข้อนี้ ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงได้ในสัมปรายภพ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้ว
สีหเสนาบดีจึงทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ๔ ข้อเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคในผลแห่งทาน ๔ ข้อนี้ก็หามิได้
แม้ข้าพระองค์เองก็ทราบดี คือ ข้าพระองค์ ก็เป็นทายก เป็นทานบดี ย่อมเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก สัตบุรุษผู้สงบย่อมคบหาข้าพระองค์ ผู้เป็นทายกเป็นทานบดี
กิตติศัพท์อันงามของข้าพระองค์ ผู้เป็นทายก เป็นทานบดี ย่อมขจรทั่วไปว่า
สีหเสนาบดี เป็นทายก เป็นทานบดี จะเข้าไปสู่ที่ประชุมใดคือที่ประชุมกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี หรือสมณะ ก็ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อเขินเข้าไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผลแห่งทานที่พึงเห็นเอง ๔ ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสบอกแล้ว ข้าพระองค์ย่อมเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคในผลแห่งทาน ๔ ข้อนี้ ก็หามิได้ แม้ข้าพระองค์เองก็ย่อมทราบดี ส่วนผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง (ข้อที่ ๕) ที่พระผู้มีพระภาคตรัสบอกข้าพระองค์ว่า ทายกผู้เป็นทานบดีเมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบ ก็แต่ว่าข้าพระองค์ย่อมเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคในข้อนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสย้ำว่า
อย่างนั้นท่านสีหะเสนาบดีๆ ! คือ ทายกผู้เป็นทานบดีเมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
นรชนผู้ไม่ตระหนี่ให้ทาน ย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชนเป็นอันมากย่อมคบหา
นรชนนั้น นรชนนั้นย่อมได้เกียรติ มียศ เจริญ เป็นผู้ไม่เก้อเขินแกล้วกล้าเข้าสู่ที่ประชุมชน
เพราะเหตุนี้แล บัณฑิตผู้หวังสุข จงขจัดมลทิน คือ ความตระหนี่แล้วให้ทาน บัณฑิตเหล่านี้ย่อมประดิษฐานในไตรทิพย์ ถึงความเป็นสหายของเทวดาร่าเริงอยู่ตลอดกาลนาน บัณฑิตเหล่านั้นได้ทำสิ่งที่มุ่งหวัง ได้ทำกุศลแล้ว จุติจากโลกนี้แล้วย่อมมีรัศมีเปล่งปลั่ง เที่ยวชมไปในอุทยานชื่อ นันทนวัน ย่อมเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เพลิดเพลิน รื่นเริง บันเทิงใจอยู่ในนันทนวัน
สาวกทั้งปวงของพระสุคตผู้ไม่มีกิเลส ผู้คงที่ทำตามพระดำรัสของพระองค์แล้ว ย่อมร่าเริงทุกเมื่อ ฯ
สีหสูตร ๒๒/๓๗  |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
19 ก.ย. 2008, 9:42 am |
  |
เออน่ะ
คิดดูคำนี้ที่เป้นพุทธพจน์ให้ดี
อ้างอิงจาก: |
บุญเป็นที่พึ่งในโลกนี้และโลกหน้า |
แปลว่า บุญของชาตินี้ไม่ได้เป้นที่พึ่งในโลกที่แล้ว (ชาติที่แล้ว) นี่นา
บุญในชาตินี้ ย่อมไม่เกี่ยวข้องกับชาติที่ผ่านมาแล้ว
บุญย่อมให้ผลในชาตินี้ และชาติหน้า
ดังนั้นที่เจ้าของกระทู้ถาม ย่อมได้คำตอบแล้วว่า
ถ้าชาติก่อนเรามีบุญทำไว้
งั้นชาตินี้ย่อมมีส่วนแห่งบุญเก่านั้นด้วยนั่นเอง
ชาตินี้ที่เราเป้นคน ซึ่งจัดว่าเยี่ยมยอดไม่แพ้เกิดเป้นเทวดา
เป็นผลของกุศลชาติที่แล้วนั่นเอง
โดยชาติที่แล้ว... ตอนที่ตายลง ...มีจิตขณะตายเป็นกุศล
จึงส่งให้มาเกิดเป็นคน |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
19 ก.ย. 2008, 5:40 pm |
  |
คามินธรรม
หมู่นี้ว่างจากงานประจำ
มีเวลาแสดงธรรมมากหน่อยนะครับ
ส่วนผมนั้นงานประจำเข้า เลยไม่ค่อยมีเวลาว่าง |
|
|
|
   |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
19 ก.ย. 2008, 6:49 pm |
  |
LinzUmIng พิมพ์ว่า: |
การมีชีวิตและยังไม่หมดบุญเป็นเพราะเราอาศัยบุญเก่าใช่มั้ย
และการทำบุญเป็นการทำเพื่อไปใช้ในชาติหน้ารึป่าวคะ ข้องใจมากค่ะ
เคยพูดกับเพื่อนเหมือนกกัน แต่ก็หาคำตอบไม่ได้ค่ะ |
ถูกต้อง |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
19 ก.ย. 2008, 6:53 pm |
  |
ถ้าคุณรู้และพบเหมือนผมที่เจอวิญญาณมาเป็นหมื่นเป็นแสนดวง คุณจะรู้ว่า
ในปรโลก เขาใช้บุญอย่างเดียว เป็นที่พึ่ง บาปเป็นที่พึ่ง มีแต่ความอดอยาก
ถูกแผดเผา ร้องครวญทรมานตลอดเวลา |
|
|
|
  |
 |
LinzUmIng
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 20 ก.ค. 2008
ตอบ: 7
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.ย. 2008, 8:54 pm |
  |
แล้วเราจะสังเกตหรือรู้ได้มั้ยว่าบุญนี้ที่เราดำเนินชีวิตอยู่เป็นเพราะบุญเก่า และในกรณีที่คนอยู่ในวัยเบญจเพศทำไมต้องทำการทำพิธีสะเดาะเคราะห์ เป็นเหตุเพราะบุญเก่าหมดจึงต้องต่ออายุ แสดงว่าผู้ที่มีอายุยืนเป็นเพราะบุญเก่าด้วยรึป่าว
บางคนเป็นคนดีแต่อายุสั้น บางคนเป็นคนไม่ค่อยได้ทำบุญเลยกลับอายุยืน
ไม่รู้ว่าสิ่งที่เราใช้อยู่หายใจอยู่ได้ เป็นเพราะบุญเก่าหรือบุญใหม่ |
|
|
|
   |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.ย. 2008, 9:06 pm |
  |
LinzUmIng พิมพ์ว่า: |
แล้วเราจะสังเกตหรือรู้ได้มั้ยว่าบุญนี้ที่เราดำเนินชีวิตอยู่เป็นเพราะบุญเก่า ่ |
เราไม่มีทางรู้ได้หรอกครับ
ป่วยการกด้วยที่จะไปค้นหาคำตอบเหล่านั้น
ลองอ่านบทที่ผมเอามาให้ดูนี้นะคับ
สังเกตุที่คำว่า กัมวิบาก
หมายถึงผลของการกระทำจากชาติที่แล้ว
ทั้งดี ทั้งชั่ว
ถ้าคุณได้ิอ่านได้ยินจากที่ไหน ว่า...
"ทำอย่างนั้นชาติก่อน จึงได้อย่างนี้ชาตินี้"
นั่นเป้นการคาดเดาไปต่างๆนา ตามที่ได้ยินได้ฟังกันมา
โดยเฉพาะการไปคาดเดาเอาทั้งสิ้น
เพราะผู้ที่รู้ได้จริงๆ อย่างแจ้ง แทงตลอด มีคนเดียว คือพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้า ยืนยันมากที่สุดแค่ว่า กรรมเก่ามีจริง
แต่ไม่ได้ยืนยันลงรายละเอียดไปว่าทำอะไรได้อะไร
หนำซ้ำทรงห้ามด้วยอจินไตยสูตรด้วยว่า อย่าไปสงสัย จะบ้าเอาได้
===================================
อจินไตย ๔
ถาม ๑. สิ่งที่เป็นอจินไตย นี่เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะรู้ได้ ไม่ใช่วิสัยของปุถุชนคนธรรมดาหรือพระอรหันต์ธรรมดาจะรู้ได้ใช่ไหม
ตอบ สิ่งที่เป็นอจินไตยนั้นมี ๔ อย่าง คือ
๑. พุทธวิสัย วิสัยของพระพุทธเจ้า
๒. ฌานวิสัย วิสัยของผู้ได้ฌาน
๓. กัมมวิบาก ผลจากกรรม
๔. โลกจินดา ความคิดเรื่องโลก
ทั้ง ๔ ย่างนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าไม่ควรคิด
ผู้ที่คิดจะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า
ได้รับความลำบากโดยเปล่าประโยชน์
อย่างที่ ๓ กัมมวิบาก ผลของกรรม คือคนธรรมดาๆ ย่อมไม่อาจรู้ว่า ผลของกรรมที่ตนได้รับอยู่ในปัจจุบันนี้มาจากกรรมอะไร ทำไว้แต่เมื่อใด คิดไปเท่าไรก็คิดไม่ออก คิดมากไปจะเป็นบ้าไปเสียเปล่าๆ
ผู้ที่รู้ผลของกรรมได้อย่างถ่องแท้ต้องเป็นผู้ที่ระลึกชาติก่อนๆ นับย้อนหลังไปได้โดยไม่จำกัดอย่างพระพุทธเจ้า
จึงสามารถจะทราบได้ถูกต้องแท้จริงไม่ผิดพลาด ท่านที่ระลึกชาติได้จำกัด เช่นระลึกได้ ๕๐๐ ชาติ แต่กรรมที่ทำไว้ ทำไว้เมื่อชาติที่ ๕๕๐ ผู้ที่ระลึกชาติได้ ๕๐๐ ชาติก็ไม่สามารถระลึกได้
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่สามารถจะรู้กรรมและผลของกรรมได้ถูกต้อง
ตามความเป็นจริง เพราะพระองค์ทรงมีบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ที่ระลึกชาติย้อนหลังได้โดยไม่จำกัด
มียถากัมมูปคญาณ ญาณที่เข้าถึงกรรมของสัตว์ตามความเป็นจริง
พระพระสัพพัญญุตญาณ ญาณที่ทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่คนอื่นไม่มี
ทั้งยังมีพระอนาวรณญาณ ญาณที่ไม่มีอะไรมาปิดกั้น
ที่คนอื่นที่ไม่ใช่พระพุทธเจ้าไม่มี
เพราะฉะนั้น ป่วยการคิดเรื่องผลของกรรมว่ามาจากกรรมไหน
เมื่อใด เป็นต้น คิดมากไป อาจเป็นบ้าได้
ด้วยเหตุนี้ อจินไตยทั้ง ๔ อย่างนี้ บางท่านอาจจะคิดว่าตนเองคิดแล้วรู้ได้ ซึ่งก็รู้ได้เพียงวิสัยของตนเท่านั้น พระอรหันต์ก็รู้เท่าวิสัยของพระอรหันต์ จะรู้เท่าความรู้ของพระพุทธเจ้านั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ท่านจึงเตือนว่า สิ่งทั้ง ๔ นี้ไม่ควรคิด คิดไปอาจเป็นบ้า ลำบากโดยเปล่าประโยชน์ ทั้งนี้เพราะท่านเหล่านั้นไม่ได้สั่งสมสติปัญญาบารมีความรู้มาเสมอด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งต้องอบรมมาอย่างน้อยถึง ๔ อสงไขยแสนกัปป์ทีเดียว
http://84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=25 |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
แก้ไขล่าสุดโดย คามินธรรม เมื่อ 20 ก.ย. 2008, 9:13 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
LinzUmIng
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 20 ก.ค. 2008
ตอบ: 7
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.ย. 2008, 9:13 pm |
  |
ขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาตอบกระทู้ค่ะ ค่อยกระจ่างขึ้นบ้างแล้ว ถ้าคิดมากไปคงจะบ้าแน่ๆ |
|
|
|
   |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
21 ก.ย. 2008, 11:20 am |
  |
คามินธรรม พิมพ์ว่า: |
เออน่ะ
คิดดูคำนี้ที่เป้นพุทธพจน์ให้ดี
อ้างอิงจาก:
บุญเป็นที่พึ่งในโลกนี้และโลกหน้า
แปลว่า บุญของชาตินี้ไม่ได้เป้นที่พึ่งในโลกที่แล้ว (ชาติที่แล้ว) นี่นา
บุญในชาตินี้ ย่อมไม่เกี่ยวข้องกับชาติที่ผ่านมาแล้ว
บุญย่อมให้ผลในชาตินี้ และชาติหน้า
ดังนั้นที่เจ้าของกระทู้ถาม ย่อมได้คำตอบแล้วว่า
ถ้าชาติก่อนเรามีบุญทำไว้
งั้นชาตินี้ย่อมมีส่วนแห่งบุญเก่านั้นด้วยนั่นเอง
ชาตินี้ที่เราเป้นคน ซึ่งจัดว่าเยี่ยมยอดไม่แพ้เกิดเป้นเทวดา
เป็นผลของกุศลชาติที่แล้วนั่นเอง
โดยชาติที่แล้ว... ตอนที่ตายลง ...มีจิตขณะตายเป็นกุศล
จึงส่งให้มาเกิดเป็นคน |
ฌาณ พิมพ์ว่า: |
ชนเหล่าใด มีใจผ่องใสแล้ว ให้อาหารนั้นด้วยศรัทธา อาหารนั้นแลย่อมพะนอเขาทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า |
พิจารณาข้อความต่อจากที่ท่านคามินพิจารณา
เห็นอาหารเป็นเหตุเลยครับ... ท่านฌาณนี่ไม่ธรรมดาซะแล้ว...  |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
21 ก.ย. 2008, 11:25 am |
  |
ผลจากการอ่านมาก ฟังมาก นั่นเองคับ
คุณฌานเขาอ่านมาก ฟังมาก
และเจริญขึ้นมาก
ผมด่ามาก
เจริญล๊ง เจริญลง
55555555 |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
21 ก.ย. 2008, 11:29 am |
  |
5555
แล้วผมจะเป็นเหมือนท่านคามินป่าวล่ะเนี่ย...
(ข้อความนี้คุยเฉพาะกับท่านคามินครับ...) |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ย. 2008, 10:18 pm |
  |
คุณ"LinzUmIng"ครับ
การที่คุณมีงานทำ มีรายได้มากหรือน้อย ฯลฯ ก็เป็นผลจากบุญและบาปที่คุณเคยทำมา
ในอดีตชาติทั้งสิ้น คนที่เป็นขอทาน เกิดในประเทศที่มีการฆ่าฟันกันตลอด ฯลฯ ก็เป็นผล
มาจากบุญบาปเก่าของเราทั้งนั้น |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ย. 2008, 10:26 pm |
  |
คุณ"LinzUmIng"ครับ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นทายาท มีกรรม
เป็นมรดก มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งพิงอาศัย
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ เพื่อให้เลวและประณีต |
|
|
|
  |
 |
kokorado
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 12 ก.ค. 2008
ตอบ: 104
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ย. 2008, 10:31 pm |
  |
ในพระไตรปิฎกมีกล่าวไว้ว่าทำกรรมเช่นใดให้ผลเช่นใด นอกจากว่าเราจะไม่เชื่อว่าสิ่งที่พิมพ์ในพระไตรปิฎกเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เราอยู่ด้วยอำนาจของบุญเก่าและบุญใหม่ผสมกัน ดังเช่นเณรน้อยที่ได้รับคำทำนายของท่านผู้ได้อภิญญาว่าจะต้องสิ้นใจในวันนี้ แต่กลับต่อชีวิตได้เนื่องจากการช่วยปลาที่กำลังจะตาย แต่เราก็เลือกที่จะตายตอนไหนก็ได้ ลองโดดตึก10 ชั้น หรือโดดลงคลองแสนแสบ เราก็จะได้ไปพบยมบาลก่อนปกติ เราทำบุญก็ได้ใช้ในชาตินี้เลย อย่างแรกคือผลด้านจิตใจ ต่อมาคือด้านบุคคลิกภาพ และขั้นวิถีชีวิต ดังเช่นบุคคลที่ทำทานกับพระพุทธเจ้าหรือพระปัจเจกพุทธเจ้าที่เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ มีผลทำให้ผู้กระทำกลายเป็นมหาเศรษฐีภายในวันนั้น |
|
_________________ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ย. 2008, 11:01 am |
  |
kokorado พิมพ์ว่า: |
ในพระไตรปิฎกมีกล่าวไว้ว่าทำกรรมเช่นใดให้ผลเช่นใด นอกจากว่าเราจะไม่เชื่อว่าสิ่งที่พิมพ์ในพระไตรปิฎกเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า |
"วิบาก" (ผลของการกระทำ)
ที่มีสอดแทรกอยู่ในพุทธประวัติก็ดี อยู่ส่วนอื่นๆก็ดี
ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ออกจากพระโอษฐ์ ของพระพุทธเจ้า
ผมกำลังสื่อว่า การหยั่งรู้ว่าใครได้รับผลอะไรอยู่
หรือการที่ดขากระทำกรรม A B C อะไร จึงได้รับผลเช่นนั้น
ล้วนแล้วแต่เป็นพุทธวิสัยที่พระพุทธเจ้าเป็นผู้หยั่งรู้ได้อย่างอย่างแท้จริง
-พระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่ ระลึกชาติของสัตว์ได้ไม่จำกัด -รู้ไปในอนาคตอย่างไม่จำกัดได้ด้วยว่าจะเกิดเป็นอะไร
(ดูรายละเอียด "ทศพลญาน"ด้านล่าง)
แม้แต่ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งปวง
ก็หาได้มีความสามารถครบบริบูรณ์ดังเช่นพระพุทธเจ้า
เหตุการณ์ต่างๆในพระไตรปิฏก ล้วนแล้วแต่มีเหตุและปัจจัยแตกต่างกันไป
จึงไม่สามารถนำมาเทียบเคียงกับแต่ละคนได้อย่าง 100%
พระพุทธเจ้าไม่ปารถนาให้เราเชื่อในลักษณะเทียบเคียงแบบนั้น
ท่านให้เรารู้แต่เพียงว่า กรรมนั้นมีจริง ผลของกรรมนั้นมีจริง
แต่ไม่จำเป็นที่ท่านจะต้องสนใจรายละเอียดว่าทำอะไรไว้อย่างไรในชาติปางก่อน
เพราะ
1. ไม่มีใครรู้หยั่งรู้ให้เราได้อย่างแท้จริง นอกจากพระพุทธเจ้าผู้ทรงทศพลญาน (ท่านไม่อยู่แล้ว)
2. และเพราะไม่มีใครหยั่งรู้ได้จริงดังนั้น
จึงป่วยการจะไปขบคิดว่าเหตุการณ์ ABCD ที่เรารับวิบากอยู่นี้เกิดจากอะไร
3. ต่อให้รู้ ต่อให้เดา ต่อให้เทียบเอาดื้อๆจากพระไตรปิฏก
ก็ไม่มีอะไรรับประกันว่าสิ่งนั้นถูกต้อง
4. และต่อให้เชื่อสุดหัวใจ ว่าเหตุการณ์ในพระไตรปิฏก ต้องเทียบเคียงได้ 100 %
เราก็แก้ไขอะไรที่ผ่านไปแล้วไม่ได้
สิ่งที่เราทำได้ สิ่งที่เราเรียนรู้ได้ จากประวัติในพระไตรปิฏก คือการไม่ประมาทในกรรมใหม่
ซึ่งก็คือการที่พระพุทธเจ้า ต้องการให้เรารู้แค่ว่า กรรมมีจริง วิบากมีจริง บาปบุญมีจริง แต่ไม่จำเป็นต้องรู้ในรายละเอียด
ผมแสดงความคิดเห็นบนพื้นฐานของอจินไตยสูตร
โปรดค้นหาและพิจารณาพระสุตรนี้โดยละเอียดเอาเถิด
=================================
ทศพลญาน
ใน มหาสีหนาทสูตร (มัช.มูล.) ก็ดี ใน พระอภิธรรมปิฎก คัมภีร์วิภังค์ ตอน ญาณวิภังค์ ทสกนิเทศ ก็ดี กล่าวถึงทศพลญาณไว้ตรงกันว่ามีอยู่ ๑๐ ประการ คือ
๑. ญาณรู้ธรรมที่เป็นฐานะโดยความเป็นฐานะ และธรรมที่ไม่ใช่ฐานะโดยความไม่ใช่ฐานะ ตามความเป็นจริงของพระตถาคต
๒. ญาณรู้วิบากของกัมมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ตามความเป็นจริง โดยฐานะโดยเหตุของพระตถาคต
๓. ญาณรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวง ตามความเป็นจริงของพระตถาคต
๔. ญาณรู้โลกอันเป็นอเนกธาตุ เป็นนานาธาตุ ตามความเป็นจริงของพระตถาคต
๕. ญาณรู้ความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่างกัน ตามความเป็นจริงของพระตถาคต
๖. ญาณรู้ความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลอื่น ตามความเป็นจริงของพระตถาคต
๗. ญาณรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกจากฌาน วิโมกข์สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริงของพระตถาคต
๘. ญาณรู้ความระลึกชาติในหนหลังได้ ตามความเป็นจริงของพระตถาคต
๙. ญาณรู้ความจุติและอุปปัติของสัตว์ทั้งหลาย ของพระตถาคต
๑๐. ญาณรู้ความสิ้นอาสวะ ตามความเป็นจริง ของพระตถาคต |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
|