|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
06 ก.ค.2008, 9:42 pm |
  |
มีเหตุผลอย่างไร ที่ท่านให้นั่งแบบนั้น พิจารณาดังนี้
ท่านั่ง
หลักการอยู่ที่ว่า อิริยาบถใดก็ตามที่ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะผ่อนคลาย
สบายที่สุด แม้ปฏิบัติอยู่นานๆ ก็ไม่เมื่อยล้า และทั้งช่วยให้การหายใจ
คล่องสะดวก ก็ใช้อิริยาบถนั้น
การณ์ปรากฏว่า อิริยาบถที่ท่านผู้สำเร็จนับจำนวนไม่ถ้วน ได้พิสูจน์กันมา
ตลอดกาลนานนักหนาว่า ได้ผลดีที่สุดตามหลักการนั่นก็ คือ อิริยาบถนั่ง
ในท่าที่เรียกกันว่า ขัดสมาธิ หรือที่พระเรียกว่านั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง คือ ให้ร่างกายท่อนบนตั้งตรง กระดูกสันหลัง 18 ข้อ
มีปลายจดกัน
ท่านว่าการนั่งอย่างนี้ หนังเนื้อและเอ็นไม่ขด ลมหายใจก็เดิน
สะดวก เป็นท่านั่งที่มั่นคง
เมื่อเข้าที่ดีแล้ว จะมีดุลยภาพอย่างยิ่ง กายจะเบาไม่รู้สึกเป็นภาระ
นั่งอยู่ได้แสนนานโดยไม่มีทุกขเวทนารบกวน ช่วยให้จิตเป็นสมาธิง่าย
ขึ้น กรรมฐานไม่ตกแต่เดินหน้าได้เรื่อย |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
06 ก.ค.2008, 9:43 pm |
  |
-ต่อ
ตามที่สอนสืบกันมา ยังมีเพิ่มว่า ให้ส้นเท้าชิดท้องน้อย ถ้าไม่เอาขา
ไขว่กัน (ขัดสมาธิเพชร) ก็เอาขาขวาทับขาซ้าย วางมือบนตักชิดท้อง
น้อย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วหัวแม่มือจดกัน หรือนิ้วชี้ขวา
จดหัวแม่มือซ้าย
แต่รายละเอียดเหล่านี้ ขึ้นต่อดุลยภาพแห่งร่างกายของแต่ละบุคคล
ด้วย ผู้ที่ไม่เคยนั่งเช่นนี้หากทนหัดทำได้ก็คงดี
แต่ถ้าไม่อาจทำได้ ก็อาจนั่งบนเก้าอี้ให้ตัวตรงสบาย หรืออยู่ใน
อิริยาบถอื่นที่สบายพอดี
มีหลักการสำทับอีกว่า ถ้ายังนั่งไม่สบาย มีอาการเกร็งหรือเครียด
พึงทราบว่าปฏิบัติไม่ถูกต้อง พึงแก้ไขเสียให้เรียบร้อย ก่อนปฏิบัติต่อไป
ส่วนตาจะหลับหรือลืมก็ได้ สุดแต่สบาย และใจไม่ซ่าน
ถ้าลืมตา ก็อาจทอดลงหรือมองที่ปลายจมูกให้เป็นที่สบาย |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
06 ก.ค.2008, 9:46 pm |
  |
-ต่อ
เมื่อนั่งเข้าที่สบายดีพร้อมแล้ว ก่อนจะเริ่มปฏิบัติ
ปราชญ์บางท่านแนะนำว่าควรหายใจยาวลึกๆ และช้าๆ เต็มปอดสักสอง
สามครั้ง พร้อมกับตั้งความรู้สึกให้ตัวโล่งและสมองโปร่งสบายเสียก่อน
แล้วจึงหายใจโดยกำหนดนับตามวิธี (กรรมฐานแบบนับเลข) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
06 ก.ค.2008, 9:48 pm |
  |
-ต่อ
อานาปานสติเป็นกรรมฐานอย่างเดียว ในบรรดาข้อปฏิบัติเป็นอันมาก
ในมหาสติปัฏฐานสูตร ที่มีคำแนะนำกำหนดเกี่ยวกับอิริยาบถว่า
ให้พึงนั่งอย่างนี้
ส่วนกรรมฐานอย่างอื่น ย่อมเป็นไปตามอิริยาบถต่างๆ ที่เข้าเรื่องกัน
หากจะมีการนั่ง ก็ย่อมเป็นไปเพราะความเหมาะสมกันโดยอนุโลม
กล่าวคือ เมื่อกรรมฐานใดนั่งปฏิบัติได้ดี และในเมื่อการนั่งอย่างนี้
เป็นท่านั่งที่ดีที่สุด ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่พึงนั่งอย่างนี้
ยกตัวอย่าง เช่นการเพ่งกสิณ และการพิจารณาธรรมารมณ์ต่าง ๆ
นานๆ เป็นต้น
เหมือนคนจะเขียนหนังสือ ท่านั่งย่อมเหมาะดีกว่ายืน หรือนอน เป็นต้น
พึงเข้าใจความหมายของการนั่งอย่างนี้ มิใช่มองเห็นการนั่งเป็นสมาธิไป
พูดอีกอย่างหนึ่ง การนั่งแบบคู้บัลลังก์นี้ เป็นท่านั่งที่ดีที่สุดแก่สุขภาพ
และการงาน
ดังนั้น เมื่อจะนั่ง หรือในกรณีจะทำอะไรที่ควรจะต้องนั่ง ท่านก็แนะนำ
ให้นั่งท่านี้
เหมือน ที่แนะนำว่า เมื่อจะนอนก็ควรจะนอนแบบสีหไสยา |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
28 ก.ค.2008, 10:19 am |
  |
พี่กรัชกายที่รัก
ลองทำแบบไม่คิดเลย คือไม่คิด ไม่ใช้สัญญา ไม่ใช้คำพูด ไม่ใช้อะไรเลย
ไม่ต้องนึกถึงทฤษฎี ไม่ต้องนึกพระไตรปิฏก
หรือถ้ามันนึก ก็เอาอีกจิตนึง รู้ว่ามันนึก (อีกจิตนึง คือการสมมุตินะคับ เรามีจิตเดียวแหละ)
เมื่อไหร่หยุดนึก หยุดคิด
เมื่อนั้นแหละ วิปัสนาญานจะเกิด
การอธิบายด้วยภาษาทั้งปวง ไม่สามารถจะอธิบายได้
อย่างมากสุดก็อธิบายได้แค่อาการ
เหมือนคนที่เกิดมาไม่เคยกินน้ำตาล
อธิบายอย่างไรก้บอกไม่ได้ว่ามันหวานอย่างไร
พักหลังๆนี่ ผมผ่อนภาคปริยัติลงไปเยอะ
คือไม่อยากจะรู้มาก รู้มากจำมากแล้วยิ่งหลุดจากสัญญายาก
รู้มากก็ลำบาก
ครั้นจะไม่ต้องรู้อะไรแล้วทำไปเลย มันก็จะกลายเป็นคนเดินทางแบบไม่มีเป้าหมาย
คือศึกษาแต่พอรู้ทิศทางแล้วก้ทำไป
.........................................
อย่างนี้พอจะแก้อารมณ์ที่ว่าได้ไหมคับ |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
28 ก.ค.2008, 10:40 am |
  |
น้องคามินธรรม พี่เปิดกระทู้สนทนาธรรมปฏิบัติกับน้องแล้วที่
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=70846#70846
กรัชกายจะนำข้อความที่คุณโพสต์ไปด้วยนะครับ จะได้หยิบสนทนากัน
สะดวกๆ หน่อย  |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ค.2008, 7:15 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
พี่กรัชกายที่รัก
ลองทำแบบไม่คิดเลย คือไม่คิด ไม่ใช้สัญญา ไม่ใช้คำพูด ไม่ใช้อะไรเลย
ไม่ต้องนึกถึงทฤษฎี ไม่ต้องนึกพระไตรปิฏก
หรือถ้ามันนึก ก็เอาอีกจิตนึง รู้ว่ามันนึก (อีกจิตนึง คือการสมมุตินะคับ เรามีจิตเดียวแหละ)
เมื่อไหร่หยุดนึก หยุดคิด
เมื่อนั้นแหละ วิปัสนาญานจะเกิด
การอธิบายด้วยภาษาทั้งปวง ไม่สามารถจะอธิบายได้
อย่างมากสุดก็อธิบายได้แค่อาการ
เหมือนคนที่เกิดมาไม่เคยกินน้ำตาล
อธิบายอย่างไรก้บอกไม่ได้ว่ามันหวานอย่างไร
พักหลังๆนี่ ผมผ่อนภาคปริยัติลงไปเยอะ
คือไม่อยากจะรู้มาก รู้มากจำมากแล้วยิ่งหลุดจากสัญญายาก
รู้มากก็ลำบาก
ครั้นจะไม่ต้องรู้อะไรแล้วทำไปเลย มันก็จะกลายเป็นคนเดินทางแบบไม่มีเป้าหมาย
คือศึกษาแต่พอรู้ทิศทางแล้วก้ทำไป
คามินธรรม: 28 กรกฎาคม 2008, 10:19 am
.........................................
อย่างนี้พอจะแก้อารมณ์ที่ว่าได้ไหมคับ |
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=70841#70841
ที่อ้างอิงคือความเห็นคุณ.....แล้วถามสรุปท้ายว่า อย่างนี้พอจะแก้อารมณ์ที่ว่าได้ไหมคับ
กรัชกายตอบว่า ไม่ได้ ครับ
บอร์ดใหม่
http://fws.cc/whatisnippana/index.php |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 พ.ย.2010, 10:44 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
ญ.
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 20 ก.ย. 2008
ตอบ: 1
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.ย. 2008, 9:57 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
ดูที่มาของคำถามอีกครั้งครั บ)
ปกติผมจะนั่งสมาธิ1ชั่วโมงทุกเช้าครับ พอเริ่มนั่งปุ๊บผมจะดูท้องพองยุบจนจิตสงบคิดว่าน่าจะ
ประมาณ5-10 นาที
หลังจากนั้นก็จะเริ่มรู้รูปรู้นามไปเรื่อยๆ สุดแท้แต่จิตมันจะตามรู้ จนประมาณ15-20 นาที
ก่อนจะครบเวลา เวทนาก็จะมาผมก็ตามดูเวทนาต่อ ตอนนี้แหละครับที่ร่างกายผม
มันจะสั่น โยกอย่างรุนแรง เหมือนกับว่ามันพยายามจะให้เวทนานั้นหายไป ก็สั่นซักพัก
ก็หยุด เวทนามาอีกก็ สั่นอีก หรือบางทีเท่าที่สังเกตพอใจลอยออกไป แล้วกลับมารู้ต่อ
ก็จะสั่นอีกครับ มันควบคุมไม่ได้
ผมก็นั่งดูมันสั่นไป คือแรกๆที่ผมนั่งนั้นไม่มีอาการนี้ แต่หลังๆมานี้ (ประมาณ2-3 เดือน)
มันก็สั่นทุกวัน
ผมก็ชักงงๆไม่แน่ใจว่ามันจะถูกทางหรือเปล่า กลัวว่าจะไปหลงหรือติดอะไรอยู่รึเปล่า |
เมื่อตามรู้เวทนาแล้วเกิดอาการร่างกายสั่น หรือโยก
เกิดจากจิตเกิดความอยากที่จะหนีเวทนา หรือความไม่อยากปวดไม่อยากเจ็บ การกำหนดรู้ อาการสั่น อาการโยก เป็นการกำหนดรู้ที่ไม่ตรงสภาวะ
เพราะในขณะนั้นจิตเกิดความอยากที่จะหนีเจ็บ ควรกำหนดว่า อยากหนอ ความอยากมักเกิดคู่กับเวทนา หากเรากำหนดรู้เวทนาไม่ทันท่วงที ความอยากจะปรากฏขึ้นและเข้าครอบงำจิตแทน
หากปล่อยให้ร่างกายโยก หรือสั่นบ่อย ๆ จิตจะไปรับรู้อาการนั้นด้วยความชอบ หรือติดใจ เพราะจิตจะหนีเวทนาไปโยกหรือสั่น ตามตัณหาที่เกิด เพื่อให้เวทนาหายหรือทุเลาลง หากเกิดความรู้สึกชอบ ควรกำหนด ชอบหนอ แต่หากรู้สึกเบื่อ ก็ให้กำหนด เบื่อหนอ ตามอาการที่ปรากฎ
การตามรู้ ต้องตรงกับสภาวะ และปัจจุบันอารมณ์ การกล่าวว่าการกำหนดใด ไม่สามารถแก้อาการใด ต้องพิจารณาว่า เรารู้เท่าทันสภาวะทางกาย และจิตในปัจจุบันขณะนั้น ๆ หรือไม่ |
|
|
|
  |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |