ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
19 ส.ค. 2008, 2:19 pm |
  |
จาก อรรถกถา
ถามว่า หากเป็นเช่นนั้น เหตุไร คำว่า สติปัฏฐานทั้งหลาย จึงเป็นคำพหูพจน์.
ตอบว่า เพราะต้องมีสติมาก. เป็นความจริง สติเหล่านั้นมีมาก เพราะต่างแห่งอารมณ์.
ถามว่า แต่เหตุไร คำว่ามรรค จึงเป็นเอกวจนะ.
ตอบว่า เพราะมีทางเดียว ด้วยอรรถว่าเป็นมรรค. เป็นความจริง สติเหล่านั้นแม้มี ๔ ก็นับว่าทางเดียว ด้วยอรรถว่าเป็นมรรค.
สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ถามว่า ในคำว่ามรรค ที่ชื่อว่ามรรค เพราะอรรถว่าอะไร
ตอบว่า เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องไปสู่พระนิพพานด้วย เพราะอรรถว่า ผู้ต้องการพระนิพพานจะพึงค้นหาด้วย.
สติทั้ง ๔ นั้นทำกิจให้สำเร็จในอารมณ์ทั้งหลาย มีกายเป็นต้น จึงถึงพระนิพพานในภายหลัง แต่ผู้ต้องการพระนิพพานทั้งหลาย จำต้องดำเนินไปตั้งแต่ต้นมา เพราะฉะนั้น สติทั้ง ๔ จึงเรียกว่า หนทางเดียว.
ๆลๆ
อนึ่ง
สติปัฏฐานข้อ ๑ ที่มีนิมิตอันจะพึงบรรลุได้โดยไม่ยาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นสมถยานิก มีปัญญาอ่อน.
สติปัฏฐานข้อที่ ๒ เพราะไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์อย่างหยาบ จึงเป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นสมถยานิก มีปัญญากล้า.
สติปัฏฐานข้อที่ ๓ มีอารมณ์ที่แยกออกไม่มากนัก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นวิปัสสนายานิก มีปัญญาอ่อน.
สติปัฏฐานข้อที่ ๔ มีอารมณ์ที่แยกออกมาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นวิปัสสนายานิกมีปัญญากล้า.
ๆลๆ
ส่วนในอรรถกถาท่านกล่าวว่า สติปัฏฐานมีอันเดียวเท่านั้น โดยเป็นความระลึกและโดยเป็นที่ประชุมลงเป็นอันเดียวกัน มี ๔ ด้วยอำนาจอารมณ์
หลวงปู่ แหวน สุจิณโณ ท่านกล่าวไว้ดังนี้
สติปัฎฐานสี่
สติมีเพียงตัวเดียว นอกนั้นท่านจัดไปตามอาการ
แต่ทั้งสี่มารวมอยู่จุดเดียว
คือ เมื่อสติกำหนดรู้กายแล้ว นอกนั้น คือ เวทนา จิต ธรรม ก็รู้ไปด้วยกัน
เพราะมีอาการเป็นอย่างเดียวกัน. |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
20 ส.ค. 2008, 5:43 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
อนึ่ง สติปัฏฐานข้อ ๑ ที่มีนิมิตอันจะพึงบรรลุได้โดยไม่ยาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็น สมถยานิก มีปัญญาอ่อน.
สติปัฏฐานข้อที่ ๒ เพราะไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์อย่างหยาบ จึงเป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็น สมถยานิก มีปัญญากล้า.
สติปัฏฐานข้อที่ ๓ มีอารมณ์ที่แยกออกไม่มากนัก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็น วิปัสสนายานิก มีปัญญาอ่อน.
สติปัฏฐานข้อที่ ๔ มีอารมณ์ที่แยกออกมาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็น วิปัสสนายานิกมีปัญญากล้า. |
จาก อรรถกถา
ผู้ที่มีจริตในแนว สมาธินำหน้า-ปัญญาตาม(สมถะยานิก) เหมาะกับการเริ่มเจริญสติปัฏฐานด้วย กายานุปัสสนา และ เวทนานุปัสสนา
ผู้ที่มีจริตในแนว ปัญญานำหน้า-สมาธิตาม(วิปัสสนายานิก) เหมาะกับการเริ่มเจริญสติปัฏฐานด้วย ด้วย จิตตานุปัสสนา และ ธัมมานุปัสสนา
ครั้นเจริญสติปัฏฐาน ฐานที่ตนพิจารณาอยู่ชัดเจนดีแล้ว ....ก็ จะเป็นตามที่หลวงปู่แหวน ท่านกล่าวไว้เอง
อ้างอิงจาก: |
สติปัฎฐานสี่
สติมีเพียงตัวเดียว นอกนั้นท่านจัดไปตามอาการ
แต่ทั้งสี่มารวมอยู่จุดเดียว
คือ เมื่อสติกำหนดรู้กายแล้ว นอกนั้น คือ เวทนา จิต ธรรม ก็รู้ไปด้วยกัน
เพราะมีอาการเป็นอย่างเดียวกัน. |
ที่นี้ ในส่วนผู้ที่มีจริตในแนว สมาธินำหน้า-ปัญญาตาม(สมถะยานิก).... ใครมีปัญญาอ่อน ก็ไปแนวกายานุปัสสนา ใครมีปัญญากล้าก็ไปแนวเวทนานุปัสสนา
ในส่วนผู้ที่มีจริต ปัญญานำหน้า-สมาธิตาม(วิปัสสนายานิก).... ใครมีปัญญาอ่อน ก็ไปแนวจิตตานุปัสสนา ใครมีปัญญากล้าก็ไปแนวธัมมานุปัสสนา
คำว่า "ปัญญากล้า" ...ผมเห็นว่า น่าจะหมายถึง "นิสัยพื้นฐานที่ชอบค้นคิด หาเหตุหาผล".......
หรือ "ปัญญาอ่อน" นั้น น่าจะหมายถึง "นิสัยพื้นฐานที่ไม่ชอบค้นคิด หาเหตุหาผล"
ซึ่ง ก็ไม่เสมอไปว่า ผู้ที่มีนิสัยพื้นฐานชอบค้นคิด หาเหตุหาผล จะดีกว่า ผู้ที่มีนิสัยพื้นฐานไม่ชอบค้นคิด หาเหตุหาผล....
เพราะ ปัญญา ในนัยยะนี้ หมายถึง จริตพื้นฐานของ คนๆนั้น.... หาใช่ ปัญญาในอริยมรรค(สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ) หรือ ปัญญาในขั้น อริยผล(สัมมาญาณะ) แต่อย่างใด. ด้วย ปัญญาในขั้น อริยมรรค อริยผล เป็นสิ่งที่ผู้จะพ้นทุกข์ ทุกๆคน"ต้องมี"...และ จะมีขึ้นได้ด้วยการเพียรเจริญตามแนวแห่งอริยมรรคที่มีองค์แปด หาใช่เป็นพรสวรรค์ที่มีมาแต่เกิด.แต่ จะเป็นพรแสวง คือ ต้องหาเอาเอง ด้วยการเพียรเจริญตามมรรค. ปัญญาในขั้น อริยมรรค อริยผล นั้น จึงเป็นคนล่ะอย่างกับ ปัญญาจริตที่เป็นพื้นฐานอุปนิสัยของบางท่าน
และ ก็ไม่แน่ว่า ผู้ที่มีนิสัยพื้นฐานชอบค้นคิด หาเหตุหาผล จะพ้นทุกข์เร็วกว่า ผู้ที่มีนิสัยพื้นฐานไม่ชอบค้นคิด หาเหตุหาผล ..... เพราะบางท่าน เข้าลักษณะ ทุกข์เพราะความคิดตนเอง....คิดมากเลยทุกข์มาก....คิดมากเลยยากนาน :10:
ปัญญาจริต ที่เป็นนิสัยพื้นฐาน น่าจะเข้าลักษณะ "ชอบคิดค้น หาเหตุผล"
แต่ ปัญญาในขั้นอริยมรรค อริยผล จะเป็นลักษณะ "รู้ตามจริง"
ซึ่ง ความคิด กับ ความรู้ ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน....
ใครมีจริตนิสัยเช่นใด ก็ลองพิจารณากันเอาเองตามเหมาะสมครับ
พระพุทธองค์ท่านทรงเป็นเลิศด้านจำแนกแจกแจงธรรม แก่หมู่เวไนยสัตว์. พระองค์ทรงแสดงสติปัฏฐานเอาไว้ ถึงสี่แนวทาง ซึ่งครอบคลุมทุกจริตนิสัย ทุกสถานการณ์อยู่แล้ว |
|
|
|
  |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
19 ก.ย. 2008, 7:43 pm |
  |
หลวงปู่ แหวน สุจิณโณ ท่านกล่าวไว้ดังนี้
สติปัฎฐานสี่
สติมีเพียงตัวเดียว นอกนั้นท่านจัดไปตามอาการ
แต่ทั้งสี่มารวมอยู่จุดเดียว
คือ เมื่อสติกำหนดรู้กายแล้ว นอกนั้น คือ เวทนา จิต ธรรม ก็รู้ไปด้วยกัน
เพราะมีอาการเป็นอย่างเดียวกัน.
เจริญในธรรมจ้า ท่านตรงประเด็น สาธุ โมทนาบุญด้วย  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
|