ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
จะพยายาม
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 20 ก.ย. 2007
ตอบ: 3
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.ย. 2007, 1:00 pm |
  |
ไม่ทราบว่า การท่องแบบภาษาไทย กับภาษาบาลี นี่ต่างกันมั๊ยค่ะ รึว่าท่องได้ทั้ง 2 แบบ
พอดีเห็นว่ามีฉบับภาษาไทยด้วย บางทีอ่านภาษาบาลี กลัวอ่านผิดค่ะ  |
|
|
|
  |
 |
chanin
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 27 เม.ย. 2006
ตอบ: 36
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพมหานคร
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.ย. 2007, 9:36 pm |
  |
|
  |
 |
จะพยายาม
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 20 ก.ย. 2007
ตอบ: 3
|
ตอบเมื่อ:
21 ก.ย. 2007, 9:24 am |
  |
ขอบคุณมากค่ะ แล้ว เห็นมีคาถาชินบัญชรแบบย่อด้วย แต่ละแบบใช้เวลาไหนค่ะ
พระคาถาชินบัญชร ฉบับย่อ
ชิ นะ ปัญ ชะ ระ ปะ ริ ตัง มัง รัก ขัน ตุ สัพ พะ ทา
ภาวนา 10 จบ
^
^
นี่อ่ะค่ะ
ขอบคุณที่ตอบนะค่ะ  |
|
|
|
  |
 |
churace
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 21 ธ.ค. 2005
ตอบ: 27
|
ตอบเมื่อ:
22 ก.ย. 2007, 12:08 am |
  |
ขออนุโมทนาด้วยคะ
คำแปลบทสวดพาหุงที่เป็นภาษาอังกฤษ สามีเป็นคนถอดให้เมื่อปีที่แล้ว ดิฉันเป็นผู้พิมพ์ทั้งภาษาไทยและอังกฤษเพื่อที่จะได้สวดตามได้ง่ายขึ้น และได้พิมพ์แจกเพื่อน ๆ ตอนปีใหม่ค่ะ (มาจากซีดีบทสวดมนต์
วัดพม่าที่ได้รับแจกตอนงานพระราขทานเพลิงศพท่านพระครูภาวนา ฯ ที่
ขอนแก่น) สามีเธอบอกว่า ยังมีคำผิดนิดหน่อยจะแก้ไขให้
เวบของคุณดีมากขอทำเป็นBookmarksไว้เปิดฟังค่ะ |
|
|
|
   |
 |
Story Note
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2007
ตอบ: 97
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ย. 2007, 5:33 pm |
  |
สาธุ สาธุ สาธุ
ได้เข้ามาฟังเสียงสวดมนต์
O^_^O |
|
|
|
  |
 |
churace
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 21 ธ.ค. 2005
ตอบ: 27
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ย. 2007, 8:34 am |
  |
churace พิมพ์ว่า: |
ขออนุโมทนาด้วยคะ
คำแปลบทสวดแผ่เมตตาที่เป็นภาษาอังกฤษ สามีเป็นคนถอดให้เมื่อปีที่แล้ว ดิฉันเป็นผู้พิมพ์ทั้งภาษาไทยและอังกฤษเพื่อที่จะได้สวดตามได้ง่ายขึ้น และได้พิมพ์แจกเพื่อน ๆ ตอนปีใหม่ค่ะ (มาจากซีดีบทสวดมนต์
วัดพม่าที่ได้รับแจกตอนงานพระราขทานเพลิงศพท่านพระครูภาวนา ฯ ที่
ขอนแก่น) สามีเธอบอกว่า ยังมีคำผิดนิดหน่อยจะแก้ไขให้
เวบของคุณดีมากขอทำเป็นBookmarksไว้เปิดฟังค่ะ |
|
|
|
|
   |
 |
chanin
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 27 เม.ย. 2006
ตอบ: 36
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพมหานคร
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ย. 2007, 8:12 pm |
  |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 ก.ย. 2008, 8:35 pm |
  |
คาถาชินบัญชร เดิมเรียกว่า รัตนบัญชร มีผู้เข้าใจว่า ผู้แต่งคือนัก
ปราชญ์ศรีลังกา
แต่ภายหลังสันนิษฐานว่า พระนักปราชญ์ไทยนี่แหละเป็นผู้แต่ง
ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 เดิมยาวกว่านี้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
ได้ย่อให้สั้นเข้า โดยคงสาระเดิมไว้ เพื่อสะดวกแก่การท่องจำ
ชินบัญชร ต้นฉบับอยู่ใน 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย
ประเทศศรีลังกา และประเทศพม่า (อาจมีประเทศอื่นอีกด้วย)
ที่คัดลอกต่อๆกันมา ย่อมจะผิดเพี้ยนกันไปบ้าง ใครได้สำนวนไหนก็
อย่าสงสัยเลย ท่องจำตามนั้น และอย่าไปหาว่าของคนอื่นผิด
เพราะต่างก็มิใช่คนแต่ง
ข้อที่แตกต่างพอขึ้นต้นก็ต่างกันแล้ว ชะยาสะนาคะตา -ประทับเหนือ
อาสนะชัย
บางฉบับก็เป็น ชะยาสะนาคะตา -มาสู่อาสนะชัย
บางฉบับก็เขียน ชิยาสะนากะตา -ไม่ต้องใช้สายและศร หมายถึง
ทรงชนะมารโดยไม่ต้องใช้คันศรและสายธนูมาสู้รบ
วาละมิคาทิสัญชาตา - เกิดแต่สัตว์ร้าย เป็นต้น
บางฉบับก็เขียน วาตะปิตตาทิสัญชาตา -เกิดแต่โรคลมและโรคดี
เป็นต้น
วะสะโต เม สะกิจเจนะ - อยู่ด้วยกิจของตน
บางฉบับก็เขียน วะสะโต เม สะกิจเจสุ - อยู่ในกิจของตน
หะทะเย อนุรุทโธ จะ -พระอนุรุทธะอยู่ในหทัย
บางฉบับก็เขียน หะทะเย เม อนุรุทโธ -พระอนุรุทธะอยู่ในหทัยของ
ข้าพเจ้า
บรรทัดที่ว่า เสสาสีติ มะหาเถรา - วิชิตา ชินะสาวะกา พระสาวก
ผู้ใหญ่ 80 รูป ที่เหลือ บางสำนวนไม่มี
เกสโต ปิฏฐิภาคัสมึง ในส่วนหลัง ที่สุดผม
บางฉบับก็เขียน เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมึง- ในสุดผม เบื้องหลัง
ทั้งสองคำนี้หมายถึง ท้ายทอย เหมือนกัน
ชิตาริสังโค -ความขัดข้องเพราะศัตรู ข้าพเจ้าได้ชนะแล้ว
บางแห่งเป็น ชิตาริสังโฆ - หมู่ศัตรู ข้าพเจ้าได้ชนะแล้ว
ยังมีอีกหลายแห่งที่จดแตกต่างกันต่อมา แต่แทบทั้งหมด แปลได้
ไม่ผิดไวยากรณ์
รู้สึกจะมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ผิดไวยากรณ์ คือ
อาสุง อานันทะราหุลา -พระอานนท์และพระราหุลทั้งหลาย ได้มี
แล้ว
ประโยคนี้ถูกไวยากรณ์ อานันทะราหุลา เป็นพหูพจน์ กริยา
คือ อาสุง ก็เป็นพหูพจน์ด้วย นี่ถูกต้องแล้ว
แต่บางฉบับที่ลอกกันมาเป็น อาสุง อานันทะราหุโล นั้นผิด
อานันทะราหุโล เป็นเอกพจน์ แต่กริยา อาสุง เป็นพหูพจน์
อย่างไรก็ตาม ดังกล่าวแล้ว ใครได้ฉบับไหนมาก็ท่องจำไปตามนั้น
ถึงจะเพี้ยนกันไปบ้าง ก็ไม่ถึงกับเสียความ
ที่วัดบวรได้รวบรวมคาถาชินบัญชร ทุกสำนวน พร้อมหมายเหตุข้อความ
ที่แตกต่างกันไว้ทุกแห่งด้วย ผู้ใคร่การศึกษาพึงหามาเทียบเคียงดูได้
(เสฐียรพงษ์ วรรณปก) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 ก.ย. 2008, 8:39 pm |
  |
พระคาถาชินบัญชรสูตร
1. ชะยาสะนาคะตา พุทธา - เชตะวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง - เย ปิวิงสุ นะราสะภา
2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา - อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา
3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง - พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง - อุเร สัพพะคุณากะโร
4.หะทะเย อุนุรุทโธ จะ - สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง - โมคคัลลาโน จะ วามะเก
5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง - อาสุง อานันทะราหุลา
กัสสะโป จะ มะหานาโม- อาภาสุง วามะโสตะเก
6. เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมึง- สุริโยวะ ปุภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน- โสภิโต มุนิปุงคะโว
7. กุมาระกัสสะโป เถโร - มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง - ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
8. ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลีนันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา - นะลาเต ติละกา มะมะ
9.เสสาสีติ มะหาเถรา - ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะวันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
10.ระตะนัง ปุรโต อาสิ - ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ- วาเม อังคุลิมาละกัง
11. ขันธะโมระปะริตตัญจะ -อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ - เสสา ปาการะลังกะตา
12. ชินานาวะระสังยุตตา -สัตตะปาการะลังกะตา
วาตปิตตาทิสัญชาตา- พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ - อะนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ - สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
14. ชินะปัญชะระมัชเฌหิ - วิหะรันตัง มะหีตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา
15. อิจเจวะมันโต - สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ - ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ - ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ - ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะ ปาลิโต - จะรามิ ชินะปัญชะเรติ. |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
11 ก.ย. 2008, 10:20 am |
  |
 |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
|