Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การเข้านิพพานด้วยศรัทธา ไม่มีบัญญัติในศาสนาพุทธจริงหรือ? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2008, 7:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

mes พิมพ์ว่า:
ศรัทธาเป็นแค่สื่อนำให้เข้าสู่อริยมรรคที่มีองค์8เท่านั้น

ตัวที่ทำลายอาสวะกิเลสจริงๆคือ ปัญญาเท่านั้น



รู้สึกว่าคุณจะเก่งกว่าพระพุทธเจ้านะครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2008, 9:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในพระพุทธธรรมมีว่าอย่างนี้พอสังเขป

ผู้ที่มี ศรทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา จะนำไปสู่การบรรลุธรรมได้ คือสำเร็จอรหันต์

บางคนมี วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ก็สำเร็จอรหันต์ได้

บางคนมี สติ สมาธิ ปัญญา ก็สำเร็จอรหันต์ได้

บางคนมีแค่ สมาธิ ปัญญา ก็สำเร็จ อรหันต์ได้

และสุดท้าย บางคนมีแค่ ปัญญา ก็สำเร็จอรหันต์ได้

แต่ศรัทธามิได้เป็นเครืองนำสู่อรหันต์เลย

นอกจากเป็นสื่อนำเท่านั้น

จึงเป็นข้อแตกต่างระหว่างศาสนาพุทธกับศาสนาอื่นๆ

ดังจะมีการกล่าวถึงศาสนาพุทธว่าเป็นศาสนาแห่งปัญญา

ศรัทธาที่มากเกินไปทำให้ฟุ้งซ่าน คือ อุทธัจจ ซึ่งเป็นตัวขัดขวางจากสำเร็จอรหันต์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เมธี
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2008, 9:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระวักกลิ เป็น เอกทัตคะทางด้านศรัทธา หมายความว่าท่านโดดเด่นทางด้านศรัทธา ไม่ได้หมายความว่าท่านหลุดต้นด้วยศรัทธา

เหมือนๆกับ พระโมคคัลลานะผู้เป็นเอกทัตคะทางด้านมีฤทธิ์ ไม่ได้หมายความว่าท่านหลุดพ้นด้วยฤทธิ์

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
เมธี
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2008, 9:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า:
mes พิมพ์ว่า:
ศรัทธาเป็นแค่สื่อนำให้เข้าสู่อริยมรรคที่มีองค์8เท่านั้น

ตัวที่ทำลายอาสวะกิเลสจริงๆคือ ปัญญาเท่านั้น



รู้สึกว่าคุณจะเก่งกว่าพระพุทธเจ้านะครับ


ดูก่อนคุณ พลศักดิ์

คุณอย่ากล่าวเช่นนี้เลยครับ

คุณ mes แค่แสดงความเห็นของเขาเท่านั้น

เหมือนๆกับที่คุณและผมแสดงความเห็นเท่านั้นเอง

มิได้มีใครแสดงตนว่าเก่งกว่าพระพุทธเจ้านะครับ

และอีกอย่าง คุณ mes เองก็มิเคยอ้างตนเป็นอริยะบุคคลเลยด้วยซ้ำ

จะกล่าวว่าคุณ mes อวดตนนั้น มิได้นะครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2008, 10:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณใบไม้ ไม่มีใคร เข้าถึงวิมุตติ ด้วยศรัทธาอย่างเดียว

การที่ พระวักกลิ เข้าถึงอรหัตตผล ก็ไม่ได้หมายความว่า ท่านมีศรัทธาอย่างเดียว แต่ ท่านเพียงแต่ถูกยกย่องให้เป็นเลิศด้านศรัทธาเท่านั้น

องค์ธรรมก็ต้องครบ ทุกคนครับ

ต้องบำเพ็ญทั้ง ศีล สมาธิ และ ปัญญา จะเอาแค่ ศรัทธาอย่างเดียวไม่ได้
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 1:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขันธ์ พิมพ์ว่า:
คุณใบไม้ ไม่มีใคร เข้าถึงวิมุตติ ด้วยศรัทธาอย่างเดียว

การที่ พระวักกลิ เข้าถึงอรหัตตผล ก็ไม่ได้หมายความว่า ท่านมีศรัทธาอย่างเดียว แต่ ท่านเพียงแต่ถูกยกย่องให้เป็นเลิศด้านศรัทธาเท่านั้น

องค์ธรรมก็ต้องครบ ทุกคนครับ

ต้องบำเพ็ญทั้ง ศีล สมาธิ และ ปัญญา จะเอาแค่ ศรัทธาอย่างเดียวไม่ได้



คัดจากสารอโศก เรื่องกว่าจะถึงอรหันต์http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Sanasoke/sa259/073.html

ดังนั้น ทรงประกาศท่ามกลางหมู่สงฆ์ ทรงแต่งตั้งให้พระวักกลิเถระ เป็นผู้เลิศกว่า ภิกษุทั้งหลาย ที่หลุดพ้นกิเลส ได้ด้วยศรัทธา


คุณwalaiporn ให้ไปดูรายละเอียดในกูเกิ้ล

http://www.84000.org/one/1/23.html

http://www.dhammathai.org/monk/monk72.php

http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Sanasoke/sa259/073.html
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 1:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณmes คุณขันธ์ และคุณเมธีครับ



ชัดเจนหรือยังครับ

คัดจากสารอโศก เรื่องกว่าจะถึงอรหันต์http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Sanasoke/sa259/073.html

ดังนั้น ทรงประกาศท่ามกลางหมู่สงฆ์ ทรงแต่งตั้งให้พระวักกลิเถระ เป็นผู้เลิศกว่า ภิกษุทั้งหลาย ที่หลุดพ้นกิเลส ได้ด้วยศรัทธา

คุณwalaiporn ให้ไปดูรายละเอียดในกูเกิ้ล

http://www.84000.org/one/1/23.html

http://www.dhammathai.org/monk/monk72.php

http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Sanasoke/sa259/073.html


แต่คุณหรือใครไม่เชื่อพุทธพจน์ และไม่เชื่อสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสบอก คุณmesไปสอน
ผิดกับพุทธพจน์ นั่นคือเขาเก่งกว่าพระพุทธเจ้าครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เมธี
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 2:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทันใดนั้น ทุกขเวทนาก็เกิดขึ้นแก่ท่าน. ขณะนั้น ท่านจึงทราบว่า ตนเองยังเป็นปุถุชนอยู่เลย รีบคว้าเอากัมมัฏฐานข้อเดิมมาพิจารณา เนื่องจากว่าท่านยังไม่ได้ละทิ้งกัมมัฏฐาน (ไม่ช้า) ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วมรณภาพ (ทันที).

อ้างอิงจาก http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=215

อ้างอิงจากพระไตรปิฏกครับ น่าจะมีความเชื่อถือได้มากกว่า สารอโศก

ซึ่งอาจจะมีการตกหล่นไปบ้าง

คุณคามิน ก็เคยถามคุณ พลศักดิ์ไปแล้วนี่ครับเรื่องนี้

ตรงนี้แสดงให้เห็นว่า กรรมฐานทำให้หลุดพ้น ส่วนศรัทธาอันแรงกล้าของพระวัลลิกะนำให้ท่านมุ่งมาถูกทาง

ผมยังยืนยันเหมือนเดิมนะครับ ว่าคุณ mes ไม่ได้กล่าวผิดไปจากพุทธพจน์หากเอาพระไตรปิฏกมายืนยัน มิได้นับจากสารอโศก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
เมธี
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 2:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระไตรปิฏก ได้ความกรุณาจากท่านผู้ทรงความรู้ ทรงธรรมทั้งหลาย รักษา และส่วนนึงก็แปลเป็นหลายๆภาษา

ในขั้นตอนนี้อาจมีการผิดพลาดได้บ้าง ตกหล่นได้บ้าง

แต่การนำเอาพระไตรปิฏกที่ท่านผู้ทรงความรู้ ทรงธรรมทั้งหลายแปลไว้ดีแล้ว นำมาแปล นำมาตัดทอนเอาเฉพาะเนื้อความสำคัญ ย่อให้สั้นหลง หรืออะไรก็แล้วแต่ อาจนำมาซึ่งความเข้าใจผิดได้

เพราะฉะนั้น อ้างอิงจากพระไตรปิฏกจึงน่าจะมีความเชื่อถือได้มากที่สุด

อย่างที่คุณ walaiporn กล่าวไว้นะครับ

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 4:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ พลศักดิ์

สัทธาวิมุต “ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา” หมายถึง พระอริยบุคคล ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไปจนถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรคที่มีสัทธินทรีย์แรงกล้า (ถ้าบรรลุอรหัตตผลกลายเป็น ปัญญาวิมุต)

อ้างอิง : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ป.อ.ปยุตฺโต

คุณเลิกมั่วได้แล้ว
คุณพลศักดิ์

จับนั่นนิดจับนี่หน่อยมาโกหกคนทั่วไป

ล่วงละเมิดเข้าไปเถอะศีล ๕
กรรมจะตามทันเร็ว ๆ นี้ ล่ะ
ระวังใหดีคุณพลศักดิ์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 10:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณเมธี คุณquest ครับ



ผมรู้สึกว่า พวกคุณจะเชื่ออรรถกถาจารย์ที่เป็นพระธรรมดา (ที่ถูกมารสิง
ใจ ตีความบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้า ทำให้สัทธรรมปฏิรูป(พระ
ไตรปิฎกของปลอมระบาดไปทั่ว) แต่ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า ก็ยังดีครับ ดี
กว่าคนในเว็บพลังจิต ที่หมดทางโต้เถียงกับผมได้ แต่ต้องการเอาชนะ
ผม เลยลงทุนยอมตกนรก ยกเอาข้อความในพระไตรปิฎกมาตัดต่อ
ผมขอเอาพระไตรปิฎก และคำตอบของผมที่ตอบเขามาลงนะครับ




คุณบุคคลทั่วไป 3 คนครับ


คุณลงทุนทำชั่วด้วยการ ดัดแปลงพระไตรปิฎกเลยหรือครับ ท่อนสุดท้ายเขียนว่า :


พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ
ทั้งหลาย ในทาง ศรัทธาวิมุตติ คือ ผู้หลุดพ้นจากกิเลสด้วยศรัทธา

คุณดันทะลึ่งตัดคำว่า ศรัทธา ออกไป เหลือเพียง ผู้หลุดพ้นจากกิเลสด้วย



23-พระวักกลิเถระ
เอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุตติ

พระวักกลิ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในเมืองสาวัตถุ ได้ศึกษาศิลปะวิทยา จบไตรเพท
ตามความนิยมของลัทธิพราหมณ์

บวชเพราะอยากชมพระรูปโฉม
สมัยหนึ่ง เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จสู่พระนครสาวัตถีพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์วักกลิมาณพ
นั้น เป็นผู้มีอุปนิสัยหนักไปในทางราคจริตรักสวยรักงาม พอได้เห็นพระรูปโฉมอันสง่างาม ผิว
พรรณผ่องใส พระอิริยาบถก็เหมาะสมไปทุกท่วงท่า จึงเกิดศรัทธาเลื่อมใสและรักใคร่ไม่รู้จักเบื่อ
หน่าย ในการดูพระวรกาย พยายามวนเวียนมาเฝ้าดูอยู่เป็นนิตย์ ผลที่สุดก็เกิดความคิดว่า “ถ้าเรา
บวชก็จะได้ตามดูพระวรกายของพระพุทธองค์ ได้อย่างใกล้ชิดและตลอดเวลา” เมื่อคิดดังนี้
แล้ว จึงเข้าไปกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา และพระบรมศาสดาก็ประทาน
ให้สมประสงค์
เมื่อท่านบวชแล้วก็มิได้ใส่ใจในการที่จะศึกษาพระธรรมวินัย ไม่มีการสาธยายท่องบ่น
ไม่บำเพ็ญเพียรพระกรรมฐาน ทุกวันเวลามีแต่มัวเมาเฝ้าดูพระรูปโฉมของพระพุทธองค์มิได้
ละเว้น พระพุทธองค์เองก็มิได้รับสั่งว่ากล่าวแต่ประการใด ในเบื้องต้น ครั้นกาลเวลาผ่านไป
พระองค์ตรัสเตือนให้พระวักกลิ เลิกละการเที่ยวติดตามดูร่างกายอันจะเน่าเปื่อยนั้นเสีย และทรง
ชี้ทางให้ท่านกลับมาใส่ใจบำเพ็ญสมณธรรมด้วยพระดำรัสว่า:-
“ดูก่อนพระวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม”
พระวักกลิ แม้ว่าพระพุทธองค์จะตรัสเตือนอย่างนั้นแล้ว ท่านก็ยังปฏิบัติเช่นเดิม พระผู้
มีพระภาคจึงมีพระดำริว่า:-
“ภิกษุนี้ ถ้าไม่ได้รับความสลดใจเสียบ้าง ก็จะไม่ได้บรรลุมรรคผลอะไรเลย”
ถูกขับไล่ไปโดดเขาตาย
ครั้นมีพระดำริอย่างนี้แล้ว เมื่อใกล้จะถึงวันเข้าพรรษา พระองค์ได้เสด็จไปสู่
พระนครราชคฤห์โดยมีพระวักกลิ ยังคงติดตามดูพระองค์อยู่ตลอดเวลา จึงตรัสเรียกให้
พระวักกลิ เข้ามาเฝ้า และตรัสประณามขับไล่เธอออกไปเสียจากสำนักของพระองค์ด้วย
พระดำรัสว่า:-
“อเปหิ วกฺกลิ : ดูก่อนวักกลิ เธอจงออกไปจากสำนักของเรา”
พระวักกลิ เมื่อได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว ไม่ทันจะตั้งสติได้ คิดอะไรไม่ออก จึงเกิดความ
น้อยใจและเสียใจเป็นอย่างมาก คิดว่าพระบรมศาสดาคงจะไม่เมตตาทักทายปราศรัยกับเราอีก
แล้ว เราก็คงจะไม่ได้เห็นพระวรกายรูปโฉมของพระพุทธองค์อีกแล้ว เราจะมีชีวิตอยู่ต่อไป
ทำไม จึงออกจากพระเวฬุวันมหาวิหาร หมายใจว่าจะไปกระโดดภูเขาคิชฌกุฏ เพื่อฆ่าตัวตาย
พระบรมศาสดา เมื่อตรัสขับไล่เธอไปแล้ว ก็ทรงติดตามดูวารจิตและการกระทำของเธอ
ก็จะตายแน่นอน จึงแสดงพระองค์ปรากฏให้เธอเห็นพร้อมทั้งตรัสเรียกชื่อว่า “วักกลิ” แล้ว
ตรัสปลอบใจด้วยธรรมกถา พระวักกลิ ก็เกิดปีติปราโมทย์รื่นเริงบันเทิงใจ จึงรีบมาเข้าเฝ้า
พระบรมศาสดาโดยทางอากาศพิจารณาพระโอวาทที่ตรัสสอน ข่มปีติลงได้แล้ว ก็ได้บรรลุ
พระอรหัตผลพร้อมทั้งปฏิสัมภิทาบนอากาศนั้น แล้วลงมากราบถวายบังคมพระบรมศาสดา
ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้า อาศัยศรัทธาเป็นสื่อนำ จนสามารถได้บรรลุ
เป็นพระอรหันต์ได้ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ
ทั้งหลาย ในทาง ศรัทธาวิมุตติ คือ ผู้หลุดพ้นจากกิเลสด้วยศรัทธา
 


แก้ไขล่าสุดโดย พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เมื่อ 08 ก.ย. 2008, 10:47 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 10:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณเมธี คุณquest ครับ



ย้ำ!!!

พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ศรัทธาวิมุตติ คือ ผู้หลุดพ้นจากกิเลสด้วยศรัทธา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เมธี
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 10:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า:
คุณเมธี คุณquest ครับ



ผมรู้สึกว่า พวกคุณจะเชื่ออรรถกถาจารย์ที่เป็นพระธรรมดา (ที่ถูกมารสิง
ใจ ตีความบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้า ทำให้สัทธรรมปฏิรูป(พระ
ไตรปิฎกของปลอมระบาดไปทั่ว) แต่ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า ก็ยังดีครับ ดี
กว่าคนในเว็บพลังจิต ที่หมดทางโต้เถียงกับผมได้ แต่ต้องการเอาชนะ
ผม เลยลงทุนยอมตกนรก ยกเอาข้อความในพระไตรปิฎกมาตัดต่อ
ผมขอเอาพระไตรปิฎก และคำตอบของผมที่ตอบเขามาลงนะครับ




คุณบุคคลทั่วไป 3 คนครับ


คุณลงทุนทำชั่วด้วยการ ดัดแปลงพระไตรปิฎกเลยหรือครับ ท่อนสุดท้ายเขียนว่า :


พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ
ทั้งหลาย ในทาง ศรัทธาวิมุตติ คือ ผู้หลุดพ้นจากกิเลสด้วยศรัทธา

คุณดันทะลึ่งตัดคำว่า ศรัทธา ออกไป เหลือเพียง ผู้หลุดพ้นจากกิเลสด้วย



23-พระวักกลิเถระ
เอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุตติ

พระวักกลิ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในเมืองสาวัตถุ ได้ศึกษาศิลปะวิทยา จบไตรเพท
ตามความนิยมของลัทธิพราหมณ์

บวชเพราะอยากชมพระรูปโฉม
สมัยหนึ่ง เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จสู่พระนครสาวัตถีพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์วักกลิมาณพ
นั้น เป็นผู้มีอุปนิสัยหนักไปในทางราคจริตรักสวยรักงาม พอได้เห็นพระรูปโฉมอันสง่างาม ผิว
พรรณผ่องใส พระอิริยาบถก็เหมาะสมไปทุกท่วงท่า จึงเกิดศรัทธาเลื่อมใสและรักใคร่ไม่รู้จักเบื่อ
หน่าย ในการดูพระวรกาย พยายามวนเวียนมาเฝ้าดูอยู่เป็นนิตย์ ผลที่สุดก็เกิดความคิดว่า “ถ้าเรา
บวชก็จะได้ตามดูพระวรกายของพระพุทธองค์ ได้อย่างใกล้ชิดและตลอดเวลา” เมื่อคิดดังนี้
แล้ว จึงเข้าไปกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา และพระบรมศาสดาก็ประทาน
ให้สมประสงค์
เมื่อท่านบวชแล้วก็มิได้ใส่ใจในการที่จะศึกษาพระธรรมวินัย ไม่มีการสาธยายท่องบ่น
ไม่บำเพ็ญเพียรพระกรรมฐาน ทุกวันเวลามีแต่มัวเมาเฝ้าดูพระรูปโฉมของพระพุทธองค์มิได้
ละเว้น พระพุทธองค์เองก็มิได้รับสั่งว่ากล่าวแต่ประการใด ในเบื้องต้น ครั้นกาลเวลาผ่านไป
พระองค์ตรัสเตือนให้พระวักกลิ เลิกละการเที่ยวติดตามดูร่างกายอันจะเน่าเปื่อยนั้นเสีย และทรง
ชี้ทางให้ท่านกลับมาใส่ใจบำเพ็ญสมณธรรมด้วยพระดำรัสว่า:-
“ดูก่อนพระวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม”
พระวักกลิ แม้ว่าพระพุทธองค์จะตรัสเตือนอย่างนั้นแล้ว ท่านก็ยังปฏิบัติเช่นเดิม พระผู้
มีพระภาคจึงมีพระดำริว่า:-
“ภิกษุนี้ ถ้าไม่ได้รับความสลดใจเสียบ้าง ก็จะไม่ได้บรรลุมรรคผลอะไรเลย”
ถูกขับไล่ไปโดดเขาตาย
ครั้นมีพระดำริอย่างนี้แล้ว เมื่อใกล้จะถึงวันเข้าพรรษา พระองค์ได้เสด็จไปสู่
พระนครราชคฤห์โดยมีพระวักกลิ ยังคงติดตามดูพระองค์อยู่ตลอดเวลา จึงตรัสเรียกให้
พระวักกลิ เข้ามาเฝ้า และตรัสประณามขับไล่เธอออกไปเสียจากสำนักของพระองค์ด้วย
พระดำรัสว่า:-
“อเปหิ วกฺกลิ : ดูก่อนวักกลิ เธอจงออกไปจากสำนักของเรา”
พระวักกลิ เมื่อได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว ไม่ทันจะตั้งสติได้ คิดอะไรไม่ออก จึงเกิดความ
น้อยใจและเสียใจเป็นอย่างมาก คิดว่าพระบรมศาสดาคงจะไม่เมตตาทักทายปราศรัยกับเราอีก
แล้ว เราก็คงจะไม่ได้เห็นพระวรกายรูปโฉมของพระพุทธองค์อีกแล้ว เราจะมีชีวิตอยู่ต่อไป
ทำไม จึงออกจากพระเวฬุวันมหาวิหาร หมายใจว่าจะไปกระโดดภูเขาคิชฌกุฏ เพื่อฆ่าตัวตาย
พระบรมศาสดา เมื่อตรัสขับไล่เธอไปแล้ว ก็ทรงติดตามดูวารจิตและการกระทำของเธอ
ก็จะตายแน่นอน จึงแสดงพระองค์ปรากฏให้เธอเห็นพร้อมทั้งตรัสเรียกชื่อว่า “วักกลิ” แล้ว
ตรัสปลอบใจด้วยธรรมกถา พระวักกลิ ก็เกิดปีติปราโมทย์รื่นเริงบันเทิงใจ จึงรีบมาเข้าเฝ้า
พระบรมศาสดาโดยทางอากาศพิจารณาพระโอวาทที่ตรัสสอน ข่มปีติลงได้แล้ว ก็ได้บรรลุ
พระอรหัตผลพร้อมทั้งปฏิสัมภิทาบนอากาศนั้น แล้วลงมากราบถวายบังคมพระบรมศาสดา
ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้า อาศัยศรัทธาเป็นสื่อนำ จนสามารถได้บรรลุ
เป็นพระอรหันต์ได้ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ
ทั้งหลาย ในทาง ศรัทธาวิมุตติ คือ ผู้หลุดพ้นจากกิเลสด้วยศรัทธา


ไม่ทราบคุณ พลศักดิ์ทราบได้อย่างไรครับ ว่าสิ่งไหนบิดเบือน สิ่งไหนไม่บิดเบือน

แล้วคุณพลศักดิ์มั่นใจได้อย่างไรครับ ว่าที่คุณพลศักดิ์ยกมา ไม่ได้ถูกบิดเบือน

คุณพลศักดิ์มั่นใจแน่นะครับ ลองพิจารณาอีกที อย่าเพิ่งเชื่อเพียงเพราะตรงกับจริตของท่าน

ผมยืนยันว่ากระผมจะพิจารณาตามหลักกาลามสูตรก่อน แล้วกระผมจะเชื่อคุณพลศักดิ์แน่นอน ถ้าหากข้อที่คุณพลศักดิ์ยกมา สามารถเป็นไปตามกาลามสูตร

ขอให้ทุกท่านใช้ปัญญาพินิจพิเคราะห์

สาธุครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ย. 2008, 12:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณเมธีครับ



1. ผมไม่ได้บังคับให้ใครเชื่อนะครับ คุณต้องปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาไปเรื่อยๆ
วันนึงคุณจะรู้และตีความพระไตรปิฎกได้เอง เพราะอวิชชาคุณจะลดน้อยถอยลง

2. บังเอิญคุณบุคคลทั่วไป 3 คน เขารับสารภาพแล้วว่าเขาตัดคำในพระไตรปิฎกออกไปในท่อนที่ว่า "พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านใน
ตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ศรัทธาวิมุตติ คือ
ผู้หลุดพ้นจากกิเลสด้วยศรัทธา"
ผมจึงนำข้อความคำรับ
สารภาพของเขา และคำตอบของผมมาลง



อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ บุคคลทั่วไป 3 คน
อืม....ผมอาจะตัดคำออกไปอย่างที่ท่านว่า

แต่...กรณีที่มีเนื้อเรื่องไม่ตรงกันละครับ ทำอย่างไรดี ตรงส่วนนั้น
ผมไม่ได้อธิบายเองแน่ๆ link ผมก็มีให้แล้ว ก็จะเห็นว่าส่วนที่อ้าง
อิงนั้นผมไม่ได้ดัดแปลง

พี่ใบไม้จะให้เหตุผลอย่างไรดีกับพระสูตรที่เผอิญต่างกัน ทั้งๆที่เป็น
ประวัติพระองค์เดียวกัน


เนื้อเรื่องในพระไตรปิฎกต้องตรงกัน ที่ไม่ตรงกันคือ การตีความพระไตรปิฎก ถ้าเป็นปถุชนคนธรรมดาตีความ ย่อมเป็นสัทธรรมปฏิรูป (ของปลอม) ทั้งนั้น ถ้าเป็นอริยะบุคคลตีความย่อมเป็นของจริง และเป็นสัทธรรมของพระพุทธเจ้า อรรถกถาจารย์ส่วนใหญ่เป็นปถุชนคนธรรมดา ปฏิบัติไม่ถึงขั้น จึงเป็นเครื่องมือของมาร โดนหลอกล่อให้บิดเบือนตีความพระไตรปิฎกไปอีกเรื่องหนึ่ง

ทีหลังอย่าทำเลยครับ การตัดต่อพระไตรปิฎกเพื่อเอาชนะคะคานผม เป็นการลงทุนที่ไม่คุมค่า เอาความสุขแค่ 1 ไปแรกกับลงนรก 10000 ล้าน มันคุ้มซะที่ไหน

แต่ไม่เป็นไรครับ การที่คุณรับสารภาพถือว่าเป็นการสำนึกบาปแล้ว กรรมที่คุณทำก็เลยกลายเป็นเศษกรรมไป คือ คุณเสียหน้านิดหน่อย จากการที่ผมจับได้ และแฉให้ทุกคนรู้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เมธี
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ย. 2008, 8:06 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า:
คุณเมธีครับ



1. ผมไม่ได้บังคับให้ใครเชื่อนะครับ คุณต้องปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาไปเรื่อยๆ
วันนึงคุณจะรู้และตีความพระไตรปิฎกได้เอง เพราะอวิชชาคุณจะลดน้อยถอยลง

2. บังเอิญคุณบุคคลทั่วไป 3 คน เขารับสารภาพแล้วว่าเขาตัดคำในพระไตรปิฎกออกไปในท่อนที่ว่า "พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านใน
ตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ศรัทธาวิมุตติ คือ
ผู้หลุดพ้นจากกิเลสด้วยศรัทธา"
ผมจึงนำข้อความคำรับ
สารภาพของเขา และคำตอบของผมมาลง



อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ บุคคลทั่วไป 3 คน
อืม....ผมอาจะตัดคำออกไปอย่างที่ท่านว่า

แต่...กรณีที่มีเนื้อเรื่องไม่ตรงกันละครับ ทำอย่างไรดี ตรงส่วนนั้น
ผมไม่ได้อธิบายเองแน่ๆ link ผมก็มีให้แล้ว ก็จะเห็นว่าส่วนที่อ้าง
อิงนั้นผมไม่ได้ดัดแปลง

พี่ใบไม้จะให้เหตุผลอย่างไรดีกับพระสูตรที่เผอิญต่างกัน ทั้งๆที่เป็น
ประวัติพระองค์เดียวกัน


เนื้อเรื่องในพระไตรปิฎกต้องตรงกัน ที่ไม่ตรงกันคือ การตีความพระไตรปิฎก ถ้าเป็นปถุชนคนธรรมดาตีความ ย่อมเป็นสัทธรรมปฏิรูป (ของปลอม) ทั้งนั้น ถ้าเป็นอริยะบุคคลตีความย่อมเป็นของจริง และเป็นสัทธรรมของพระพุทธเจ้า อรรถกถาจารย์ส่วนใหญ่เป็นปถุชนคนธรรมดา ปฏิบัติไม่ถึงขั้น จึงเป็นเครื่องมือของมาร โดนหลอกล่อให้บิดเบือนตีความพระไตรปิฎกไปอีกเรื่องหนึ่ง

ทีหลังอย่าทำเลยครับ การตัดต่อพระไตรปิฎกเพื่อเอาชนะคะคานผม เป็นการลงทุนที่ไม่คุมค่า เอาความสุขแค่ 1 ไปแรกกับลงนรก 10000 ล้าน มันคุ้มซะที่ไหน

แต่ไม่เป็นไรครับ การที่คุณรับสารภาพถือว่าเป็นการสำนึกบาปแล้ว กรรมที่คุณทำก็เลยกลายเป็นเศษกรรมไป คือ คุณเสียหน้านิดหน่อย จากการที่ผมจับได้ และแฉให้ทุกคนรู้


พอดีผมยกมาจากพระไตรปิฏกน่ะครับ ไม่ทราบว่าที่คุณพลศักดิ์บอกว่า
คุณ บุคคลทั่วไป 3 คน ตัดข้อความออกไปนั้น ไม่ทราบว่า เขาตัดข้อความจากที่ไหนออกไป เขายกเนื้อความจากไหนมาตัด คงไม่ได้ตัดออกจากพระไตรปิฏกน่ะครับ ว่าไหม (มี link ไหมครับ จะได้เข้าไปดู)

อีกอย่างที่คุณพลศักดิ์ยกมา อ่านๆดูก็จะเห็นว่า คุณ บุคคลทั่วไป 3 คน ก็บอกว่าส่วนที่อ้างอิงซึ่งต่างกัน ก็ไม่ได้ดัดแปลง เลยสงสัยว่า ส่วนไหนที่ไม่ได้ดัดแปลงแต่ไม่ตรงกัน ส่วนไหนคือที่เขาตัดออกไป อย่างที่คุณพลศักดิ์กล่าวไว้

แล้วไม่ทราบว่าคุณพลศักดิ์พอจะอธิบายได้ไหมครับ เกี่ยวกับ การทำกรรมฐานของพระวัลลิกะก่อนนิพพาน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ย. 2008, 9:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ พลศักดิ์

ทีคุณอ้างคัมภีร์คุณก็ว่าของคุณถูก
ทีผมอ้างคัมภีร์คุณก็ว่า
คัมภีร์ที่ผมอ้างผู้จดจารึกตีความผิด

คุณเป็นคนประเภทปิดหูปิดตาตัวเอง
เปรียบคนตาบอดทั้งสองข้าง ทั้งทางโลกและทางธรรม

สิ่งที่คุณกล่าวทั้งหมด
เป็นการโกหกเพื่อยกยอตัวเองเท่านั้น
คุณก็คือนักต้มตุ๋นเท่านั้นเอง

มุสาเป็นนิจ

ผมบอกคุณได้เลยว่า
เดี๋ยวนี้คุณไม่มีความสุขหรอก
ไม่ว่าทำอะไรก็มีแต่ความทุกข์
มีแต่ไฟเผาใจไม่ว่าจะยืนเดินนั่งนอน

คุณไปพิจารณาดูนะว่าเป็นอย่างที่ผมพูดหรือเปล่า
นี่ล่ะกรรมของคุณ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ย. 2008, 3:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ"guest"ครับ


คุณ พลศักดิ์

ทีคุณอ้างคัมภีร์คุณก็ว่าของคุณถูก
ทีผมอ้างคัมภีร์คุณก็ว่า
คัมภีร์ที่ผมอ้างผู้จดจารึกตีความผิด

คุณเป็นคนประเภทปิดหูปิดตาตัวเอง
เปรียบคนตาบอดทั้งสองข้าง ทั้งทางโลกและทางธรรม

.....คัมภีร์พระไตรปิฎกถูกต้องแล้วครับ แต่คนตีความต่างหากตีความผิดกันไป

หลวงปู่มั่นเทศน์ว่า



" สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงว่า ธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไป
ประดิษฐานในสันดานของปถุชนแล้ว ย่อมเป็นของปลอมทั้งสิ้น(สัทธรรมปฏิรูป) แต่
ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของ พระอริยะเจ้าแล้วไซร์ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์
แท้จริง และเป็นของไม่ลบเลือนด้วย "
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ย. 2008, 6:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ พลศักดิ์

คุณเป็นคนมีปัญญามาก

นำปัญญามาช่วยให้ตนเองมีขันติได้ดี

ปกติคุณเป็นคนไม่ค่อยมีขันติมากนักหรอก
แต่ด้วยความมีปัญญามาก
จึงนำปัญญามาช่วยให้มีขันติได้

ถ้าคุณเป็นสัมมาทิฏฐิ คงสามารถช่วยคนอื่นได้มาก

แต่มาเป็นมิจฉาทิฏฐิซะนี่
หาบาปหากรรมเข้าตัวเองแทน

เลยช่วยใครไม่ได้
มีแต่จะพาคนอื่นหลงทาง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง