Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
สัมมาวาจาเป็นเช่นไร ในอริยมรรค
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520
ตอบเมื่อ: 05 ก.ย. 2008, 8:21 pm
เรื่องของสัมมาวาจา นี้ คนไม่เข้าใจก็ว่าไปว่า จะต้องพูดไพเราะพูดสุภาพ
แต่แท้จริงแล้ว สัมมาวาจานั้นเริ่มต้นจากใจ ที่ไม่ใช่ตัณหา แล้วจึงพูด
พูดเพื่อผล คือ ความระงับดับไปซึ่งกิเลส แต่ทีนี้ บางท่านใช้คำด่า ก็ไม่ได้หมายความว่า จะไม่ใช่สัมมาวาจา เพราะคำด่านั้น มาจากใจที่เมตตาก็มากมี มาจากใจที่ต้องการกำหราบกิเลสก็มี คือ ตั้งด้วย สัมมาทิฎฐิในใจแล้วจึงกล่าวออกไป ก็จะทำให้ไม่มีผิดเพี้ยน แม้ว่า จะออกไปด้วยคำแรงแต่ก็มีธรรม เพราะธรรมเกิดจากใจ
ทีนี้บางคน จิตใจอยากจะกระแนะกระแหนเน็บแนมคนอื่นด้วยความหมั่นไส้ มันก็ไม่มีธรรม ถึงแม้ว่าสิ่งที่พูดออกมาจะดูแล้วเนื้อความนั้นเป็นธรรม ก็ไม่ถือว่าเป็นสัมมาวาจา ทั้งนี้เพราะว่า สิ่งที่พูดออกมานั้นไม่ได้ตั้งต้นด้วย ใจที่มีธรรม แต่ตั้งต้นด้วย ใจที่เหน็บแนม
นี่กว่าจะออกมาเป็นคำพูดคำหนึ่ง ถ้าคิดแล้วคิดอีก ว่าคนนั้นเป็นอย่างนี้คนนี้เป็นอย่างนั้น แล้วเรื่องราวที่ออกมามันต้องคิดต้องหาธรรมมาพูด แบบนี้ยังไม่เป็นสัมมาวาจา มันจะต้องเห็นธรรมปั๊บพูดออกมาจากธรรม แล้วมันจะพูดได้ถูกว่า ธรรมนั้นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
คนมีสัมมาวาจา แล้ว ธรรมกับใจ กับปาก ออกมาไม่มีผิด พูดแล้วไม่ขัดกัน
พูดแล้ว ชี้ช่องกิเลสได้
ไม่ได้พูดพร่ำเพรื่อตามตัณหาอารมณ์ แบบนี้เรียกว่า สัมมาวาจา
จิตใจของคนมันสลับซับซ้อน ปฏิจสมุบาทธรรมไม่ใช่มองได้ด้วยการนึก แต่ต้องมองตามทันว่า จิตตอนนี้เป็นอย่างไร ความคิดเป็นอย่างไร อารมณ์เป็นอย่างไร เรียกว่า มีสติทันทุกอณูจิต
แม้แต่ ใจเราที่เราว่าเราเฉยๆ ลองค้นดูจริงๆสิว่า เสวยอารมณ์เวทนา อะไรอยู่ จะพบทันทีเลยว่า เซ็งบ้าง ดีบ้าง เบิกบานบ้าง บ้ากันให้วุ่นไปหมด
เจอคำนั้นชอบ เจอคำนี้ไม่ชอบ อ่านแล้วเบิกบาน อ่านแล้วไม่เบิกบาน นี่เราไม่เคยมานั่งมองกันเลย เอาแต่ อ่านแล้วเพลิดเพลิน สาธุ จิตใจตอนนั้นเป็นอย่างไรไม่เคยมอง พอคนชมก็ปลื้มใจ หลงคารมไปกับโลกธรรม นี่ไม่เคยมองใจตอนนั้นเลย แล้วก็ปล่อยผ่าน ให้กิเลสกินหมด
ลองหัดดูกันบ้าง
_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
guest
บัวบาน
เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254
ตอบเมื่อ: 05 ก.ย. 2008, 8:46 pm
ข้อความ
ผู้ตั้ง
ขันธ์ - ตอบเมื่อ: 05 กันยายน 2008, 8:21 pm
แม้แต่ ใจเราที่เราว่าเราเฉยๆ ลองค้นดูจริงๆสิว่า เสวยอารมณ์เวทนา อะไรอยู่ จะพบทันทีเลยว่า เซ็งบ้าง ดีบ้าง เบิกบานบ้าง บ้ากันให้วุ่นไปหมด
เจอคำนั้นชอบ เจอคำนี้ไม่ชอบ อ่านแล้วเบิกบาน อ่านแล้วไม่เบิกบาน นี่เราไม่เคยมานั่งมองกันเลย เอาแต่ อ่านแล้วเพลิดเพลิน สาธุ จิตใจตอนนั้นเป็นอย่างไรไม่เคยมอง พอคนชมก็ปลื้มใจ หลงคารมไปกับโลกธรรม นี่ไม่เคยมองใจตอนนั้นเลย แล้วก็ปล่อยผ่าน ให้กิเลสกินหมด
=================================
สาธุ คุณขันธ์
ดูตรงนี้ล่ะ
เมื่อเห็นว่า สุขเวทนา ก็ไม่ใช่
ทุกขเวทนา ก็ไม่ใช่
อสุขทุกขเวทนา ก็ไม่ใช่
จิตอุเบกขา อยู่
นั่นล่ะของจริง
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520
ตอบเมื่อ: 05 ก.ย. 2008, 8:58 pm
คุณ guest คุณรู้แบบนี้ ก็ดี แต่คุณ รู้เท่านี้ มันก็ยังไม่พอ
คุณต้องรู้จักกับความไม่ประมาทด้วย
และเวทนานั้นก็มีมากมาย จากหยาบไปถึงละเอียด
น้ำคลอง มีคลื่นมากฉันใด โยนหินลงไปน้ำกระเพื่อมก็ไม่มีทางเห็น
ทั้งๆที่รู้อยู่ว่า มันจะต้องมีคลื่น
แต่หากว่า น้ำนิ่งในสระ แม้เม็ดฝนตกลงในสระ ก็เห็นน้ำกระเพื่อมได้
จิตใจคนก็เหมือนกัน แม้เรารู้ว่าเราต้องดูเวทนา แต่หากใจเรายังไม่นิ่งพอ
เราก็จะเห็นได้แต่ตัวหยาบจริงๆ กระเพื่อมหนักจริงๆ
แต่หากว่า ใจเรานิ่งแล้ว แม้กระเพื่อมนิดเดียวก็รู้ นี่จึงเป็นที่มาว่า คุณต้องศึกษาและเฝ้าสังเกตุตัวที่ละเอียดให้มากขึ้นไป อย่าพอใจแค่คุณธรรมที่มี แล้วเหมาเอาว่า เราได้คุณธรรมแล้ว มันยังมีอีกมาก คุณ guest
_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
guest
บัวบาน
เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254
ตอบเมื่อ: 05 ก.ย. 2008, 9:20 pm
สาธุ คุณขันธ์
เวทนาจะหยาบหรือละเอียดก็ตาม
รู้ได้ด้วยสติ
รู้ได้ด้วยอาการกระทบแล้วเปรียบเทียบเท่านั้น
ยังไม่เห็นเวทนาโดยตลอดทั่วถึง
เมื่อรู้โดยตลอดทั่วถึงแล้ว
จิตจะวางจากเวทนา
เป็นอุเบกขาอยู่
มัทนา ณ หิมะวัน
บัวใต้ดิน
เข้าร่วม: 27 ก.ย. 2007
ตอบ: 34
ตอบเมื่อ: 06 ก.ย. 2008, 12:52 am
สาธุคุณขันธ์ และคุณ guest
ข้าพเจ้าขอเพิ่มเติมให้เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่พี่น้องผองเพื่อนกัลยาณมิตรทั้งหลายว่า
แม้พระพุทธเจ้าท่านก็ได้ตรัสสอนถึง
วิธีการใช้วาจาไว้ใน
อภัยราชกุมารสูตร
ซึ่งนับเป็นหลักการพูดชั้นยอดเลยทีเดียว มีใจความโดยสรุป ดังนี้
๑. วาจาใดไม่จริง
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
พระพุทธองค์ไม่ตรัสวาจานั้น
๒. วาจาใดจริง
แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
พระพุทธองค์ไม่ตรัสวาจานั้น
๓. วาจาใดจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
พระพุทธองค์ย่อมรู้จักกาลอันควรหรือไม่ควรที่จะตรัสวาจานั้น
๔. วาจาใดไม่จริง ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
พระพุทธองค์ไม่ตรัสวาจานั้น
๕. วาจาใดจริงแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
พระพุทธองค์ไม่ตรัสวาจานั้น
๖. วาจาใดจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
พระพุทธองค์ย่อมรู้จักกาลอันควรหรือไม่ควรที่จะตรัสวาจานั้น
หมายเหตุ
: ตารางข้างบนนี้ ไม่ได้ copy จาก google แต่อย่างใด
แต่นำมาจากที่ คุณกลางชล เธอได้สรุปไว้อย่างน่าสนใจ
(บก. นิตยสารธรรมนิตยสารธรรมะใกล้ตัวฉบับที่ ๕๐ ประจำวันที่
๔ กันยายน ๒๕๕๑)
จึงขอให้ credit และขอบพระคุณเธอไว้ ณ ที่นี้ด้วย
guest
บัวบาน
เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254
ตอบเมื่อ: 06 ก.ย. 2008, 1:08 am
คุณ มัทนา ณ หิมะวัน
แล้ววาจาที่คุณกล่าวข้างต้น
จริงแท้
ประกอบด้วยประโยชน์
เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
หรือเปล่าครับ
natdanai
บัวบาน
เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
ตอบเมื่อ: 06 ก.ย. 2008, 10:09 am
ไม่กล่าวคำเท็จ - ไม่กล่าวคำหยาบ - ไม่กล่าวคำส่อเสียด - ไม่กล่าวคำพูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล ไม่มีประโยชน์....เรียกว่า
" สัมมาวาจา "
_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th