Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
ศาสนา
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
พีรัชยา
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 04 ก.ย. 2008, 4:11 pm
ศาสนา
ศาสนา หมายถึง ความเชื่อต่าง ๆ ที่เข้าใจอย่างนี้คงจะไม่ผิด เชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็น หรือเชื่อในสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ แต่ต้องเชื่อ ไม่เชื่อไม่ได้ ต้องเชื่อตาม ๆ กันมาเรื่อย ๆ เหตุผลไม่ต้องถามถึง เป็นส่วนหนึ่งของกฎศาสนา ไม่ต้องขัดขืนใด ๆ
ส่วนพระพุทธศาสนา แม้ส่วนหนึ่งจะแนะนำให้ชวนเชื่อ เชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชื่อในฤทธิ์ในอำนาจ เชื่อในมนต์คาถา เชื่อในเทวาอารักษ์ เชื่อในพระภูมิเจ้าที่ อะไรต่อมิอะไรเหล่านี้ แต่ก็ยังมีอีกส่วนหนึ่งบอก อย่าไปเชื่อ ให้เชื่อตน ตนเองนี้แหละเชื่อได้ พึ่งได้ พิสูจน์ได้ อย่าไปหลงงมงายในสิ่งเหล่านั้นที่พิสูจน์ไม่ได้ จงพึ่งตนนี่แหละดี เมื่อให้พึ่งตนเองอย่างนี้ ก็ไม่ใช่ศาสนาน่ะซิ ก็บอกแล้วว่า ศาสนา คือ ความเชื่อ ถ้าไม่เชื่อกลับมาพึ่งตนเองเสีย จะใช่ศาสนาได้อย่างไร ตรงนี้เราต้องมาวิจัยกันหน่อยว่า พระพุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาที่เรียกว่า ความเชื่อนั้นหรือไม่หรือเป็นวิชา ๆ หนึ่งเท่านั้น เหมือนกับวิชาทั่ว ๆ ไป เช่น วิชาแพทย์ วิชาเคมี วิชาเภสัช อะไรประมาณนั้น ลองมามองดูพระพุทธศาสนาให้พึ่งตนอย่างไร พระพุทธศาสนาบอกว่า ตนของตนเป็นที่พึ่งแห่งตน หมายความว่า ไม่ให้พึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเวทมนต์ต่าง ๆ ไม่ขอร้องวิงวอนอะไรทั้งนั้น ให้พึ่งตนอย่างเดียว เริ่มต้นจากการพิจารณากองทุกข์ให้แจ้ง คือ อริยสัจข้อที่หนึ่ง แจ้งอย่างไรหรือ คำว่า แจ้งนี้ เป็นองค์คุณอันพิเศษอย่างหนึ่ง คือ ลักษณะของการแจ้งนั้น อุปมาเหมือนฝัน แต่ไม่ใช่ฝัน เพราะฝันนั้นนอนหลับอยู่ และเห็นภาพชัดเจน จำเรื่องราวได้หมด แต่คำว่า แจ้ง นั้น นั่งหลับตาทำสมาธิอยู่ และเห็นภาพชัดเจนเหมือนกันกับฝันนั่นแหละ แต่ไม่ได้หลับ ถ้าหลับก็ต้องล้มนั่งอยู่ไม่ได้ แต่ก็ไม่ตื่น ถ้าตื่นก็ต้องรู้สิ่งรอบตัวที่นั่ง เห็นภาพชัดเจนเหมือนกัน แต่แตกต่างกันกับหลับกับไม่หลับเท่านั้น อุปมาได้อย่างนั้น นี่แหละ คือ การเห็นแจ้ง มีองค์คุณและลักษณะอย่างนี้ จึงเรียกว่า เป็นองค์คุณพิเศษอย่างหนึ่ง ผลที่ตามมาคือ สิ้นความสงสัยอีกต่อไป คือ การเข้าถึงสัจธรรม เป็นความจริงที่ทุกคนปฏิเสธไม่ได้ เพราะเหตุผลที่ว่าไม่ใช่ศาสนา ที่เรียกว่า ความเชื่อ แต่สัจธรรมมันเป็นความจริง ความจริงนี้มันเป็นวิชา วิชานี้ตรวจสอบได้ พิสูจน์ได้ อุปมาเหมือนวิชาวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบได้ พิสูจน์ได้อะไรประมาณนั้น ถ้าเป็นอย่างนั้น ควรจะเป็นศาสตร์ ๆ หนึ่ง หรือวิชาหนึ่งของโลกที่เรียน ๆ กันอยู่ทั่ว ๆ ไป เช่น วิชาแพทยศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ อะไรประมาณนั้น ไม่ใช่ศาสนาอย่างที่เข้าใจกัน เพราะไม่ใช่ความเชื่อ แต่มันเป็นความจริง คือ สัจธรรม และยังมีองค์คุณพิเศษยิ่งกว่าศาสตร์อื่น ๆ รู้แจ้งลึกได้ทั้งสามภพภูมิเลยทีเดียว ศาสตร์อื่น ๆ นั้นรู้ได้เฉพาะชาตินี้เท่านั้น ชาติอื่นภพอื่นรู้แจ้งไม่ได้ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ปุพเพนุวาสานุสติญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ในภพชาติอื่น ๆ ได้ นอกจากพระพุทธองค์จะรู้แจ้งแล้วสาวกยังรู้แจ้งตามเสียอีกด้วย เป็นการยืนยันสัจธรรมที่เป็นความจริงของวิชชาและจรณะเสียอีกด้วย เป็นข้อยืนยันได้อย่างดีว่าไม่มั่ว เมื่อศรัทธาแล้วพัฒนาได้ทั้งนั้นไม่ว่ามนุษย์คนนั้นจะเป็นเชื้อชาติใด ศาสนาใดไม่จำกัดทั้งสิ้น พัฒนาได้หมด ไม่ต้องลาออกจากศาสนาเก่าหรือทำอะไรทั้งสิ้น มาเรียนได้เลย เมื่อเรียนแล้วจะนับถือศาสนาเก่าไปด้วยก็ได้ทั้งนั้น ทำคู่กันไปก็ได้ไม่มีข้อห้ามอะไรทั้งนั้น
ญาติสัมมาปฏิบัติทั้งหลาย แต่บางคนเขาก็เรียนไม่ถึง เมื่อเรียนไม่ถึง เขาก็ใช้ความเชื่อเอา เป็นกลุ่มคนที่ไม่รู้จักคิด ไม่รู้จักพิจารณา ใช้ความเชื่อเอาอย่างนั้น เห็นว่าดี ก็ดีกับเขาด้วย แต่ไม่รู้ว่าดีอย่างไร เชื่อตาม ๆ กันอย่างนั้นเอง คนกลุ่มนี้จึงถูกหลอกมากมายอยู่ทุกวันนี้ มีจำนวนมากเสียด้วย คือ หลงอยู่กับคำว่า บุญ หลงอยู่กับคำว่า ทาน เรียกว่า ทำบุญทำทาน ประมาณนั้น ไม่ได้นึกคิดพิจารณาว่าจะสร้างบารมีอย่างไรถึงจะได้บุญ เมื่อจมอยู่กับความเชื่อเช่นนี้แล้ว เขาจึงเข้าใจตัวเองว่าอยู่ในพระพุทธศาสนาเข้าถึงสัจธรรม คือ ความเป็นจริงไม่ได้ ศาสนาอื่น ๆ เขามีความเชื่อ สอนลึกจนถึงแจ้งไม่มี การรู้แจ้งก็ไม่เกิด จึงต้องเป็นกฎออกมาให้เชื่อ ส่วนพระพุทธศาสนาสอนไปบอกไปว่า อย่าเชื่อจนกว่าจะรู้แจ้งเสียก่อนแล้วจึงค่อยเชื่ออะไรประมาณนั้นแน่นอน เมื่อรู้แจ้งแล้วไม่เชื่อก็ต้องเชื่ออยู่แล้ว เพราะรู้แจ้งเองหมด ความสงสัยด้วยตนเองอย่างนี้ แน่นอน
ข้อสังเกต
เมื่อพระพุทธศาสนาเป็นวิชชาที่สูงกว่าวิชาใด ๆ แล้ว ทำไมจึงมีผู้สนใจเรียนน้อยกว่าวิชาอื่น ๆ เพราะอะไร คำตอบก็คือ มนุษย์ที่เกิดมาบนโลกนี้ล้วนมีกรรมเป็นของตนทั้งสิ้น เรียกว่า กรรมะโต เกิดมาตามกรรม ในร่างกายของคนจึงมีสารเคมีบางอย่างคอยกระตุ้นให้ยินดีแต่ทางต่ำเสมอ คำพระเรียกว่า กามฉันทะ คือ ความพอใจ หรือไม่พอใจ สิ่งเหล่านี้จะมีอยู่ทุกตัวคนจะมากหรือน้อยเท่านั้น เคมีเหล่านี้คอยกระตุ้นอยู่ ส่งผลในการตัดสินใจที่จะเลือกทางเดินของคน ๆ นั้น เหตุนี้แหละจึงมีอิทธิพลในการตัดสินใจของมนุษย์เป็นอย่างมากเลยทีเดียว พระพุทธศาสนาจึงต้านเคมีด้วยสติ เอาสติมาพัฒนาก่อนเพื่อต้านกับเคมีที่มีอยู่ในตัวมนุษย์เป็นอันดับแรก แล้วพัฒนาให้มากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงสติระดับสูง เรียกว่า มหาสติ เมื่อพัฒนาถึงระดับนี้ได้ ก็ถือว่าโชคดีของคน ๆ นั้น เพราะว่าไม่ได้ต้านเคมีได้อย่างเดียว มีสิ่งที่รู้แจ้งตามมาด้วย คือ ทำให้สิ่งที่สงสัยหมดไปจากใจของผู้รู้แจ้งนั้นด้วย หมายความว่า เขารู้ว่าตัวเขานี้เกิดมาได้อย่างไร อะไรเป็นเหตุให้เกิด เกิดมาแล้วทำไมถึงไม่เที่ยง ยึดมั่นแล้วทำไมถึงเป็นทุกข์ เป็นทุกข์เพราะอะไร เกิดมาแล้วทำไมจึงต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ทำไมถึงต้องเกิด เมื่อเขารู้ตรงนี้แล้ว แน่นอนมนุษย์ย่อมจะมีใจที่ใฝ่ดีอยู่เป็นทุนแล้ว มิฉะนั้นเขาคงไม่จัดให้เป็นสัตว์ประเสริฐแน่นอน เมื่อเป็นสัตว์ประเสริฐเช่นนี้มีใจใฝ่ดีเป็นทุน พระพุทธองค์จึงถือโอกาสต่อยอดให้เวไนยสัตว์ทั้งหลาย โดยไม่หักล้างความเชื่อที่มีอยู่แต่เก่าเลย เมื่อมนุษย์ได้พัฒนาต่อยอดแล้ว ย่อมมองเห็นได้กว้างไกล สิ่งใดที่ไม่อยู่ในสัจธรรม คือ ความจริงแล้ว มนุษย์คนนั้นย่อมถอดถอนความเห็นที่ไม่ถูกของเขาเองได้ ไม่ต้องไปห้ามให้เสียกำลังใจประมาณนั้น ความประเสริฐของมนุษย์ เรียกว่า ประเสริฐสมชื่อ ถ้าเขามีสติเมื่อไร แล้วยกสติขึ้นสู่ความเป็นมหาสติ เขาจะคัดกรองสิ่งที่เรียกว่า มิจฉาทิฐิออกจากใจของเขาได้เอง ไม่ต้องไปเคี่ยวเข็ญบังคับแต่ประการใดทั้งสิ้น เขาเข้าใจแล้วเขาจะพัฒนาใจของเขาเองไม่ต้องห่วงอะไรอีกต่อไปแล้ว ศาสตร์มีคุณธรรมอันพิเศษอย่างนี้ มนุษย์ทั้งหลายเขามีใจใฝ่ดีเป็นทุนเดิมสมกับเป็นสัตว์ประเสริฐอยู่แล้ว ถ้าไม่มีกรรมอะไรมาปิดบังเขาย่อมมองเห็นทางอันประเสริฐ แต่กรรมมาปิดบังอยู่จึงมองไม่เห็นประโยชน์ที่ดีกว่า เปรียบเสมือนบัวสี่เหล่า ผู้รู้ก็ได้พูดเอาไว้แล้ว เปรียบเปรยเอาไว้อย่างเหมาะสม คือ เขาโคกับขนโค ผู้มีใจใฝ่พัฒนาธรรมอันยิ่งอุปมาเท่ากับเขาโค ส่วนผู้ที่ไม่มีใจใฝ่พัฒนาอุปมาเท่ากับขนโค ฉะนั้นไม่ต้องสงสัยเป็นสัจธรรมอย่างนั้นจริง ๆ
ท่านทั้งหลายใครอ่านพบตรงนี้ขอฝากความเห็นเอาไว้ด้วย ช่วยพิจารณาให้สักหน่อยเถิดครับ สาธุ ๆ ๆ
อ.สุริยนณ์ เหมกรณ์
สำนักปฏิบัติธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา
เขาน้อย สระบัวแก้ว จ.เพชรบุรี
โทร. (๐๘๗) ๕๐๑๔๐๐๔
JARUWAN_G
บัวพ้นดิน
เข้าร่วม: 15 ส.ค. 2008
ตอบ: 72
ที่อยู่ (จังหวัด): นนทบุรี
ตอบเมื่อ: 04 ก.ย. 2008, 6:49 pm
ศาสนาพุทธ สอนให้รู้ทันกฎของธรรมชาติ
ที่เรามิอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือกำหนดได้
นอกจากจิตที่มุ่งปฏิบัติเพื่อพระนิพพานเท่านั้น
_________________
ทุกอย่างแก้ไขได้ วันนี้ต้องทำให้ดีกว่าเมื่อวาน
เมธี
บัวตูม
เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
ตอบเมื่อ: 05 ก.ย. 2008, 8:14 am
ศาสนา หรือ วิชา เป็นเพียง คำนิยามที่มีให้กับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
สิ่งที่ควรสนใจ ควรศึกษา นั้นมีอยู่ภายใน
จุดมุ่งหมายเพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์นั่นเอง
สาธุ
tanaphomcinta
บัวใต้น้ำ
เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 127
ที่อยู่ (จังหวัด): 138 หมู่ที่ 1 ต.โนนคูณ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ 36180
ตอบเมื่อ: 05 ก.ย. 2008, 2:16 pm
ถ้าตื่นก็ต้องรู้สิ่งรอบตัวที่นั่ง เห็นภาพชัดเจนเหมือนกัน แต่แตกต่างกันกับหลับกับไม่หลับเท่านั้น อุปมาได้อย่างนั้น นี่แหละ คือ การเห็นแจ้ง มีองค์คุณและลักษณะอย่างนี้ จึงเรียกว่า เป็นองค์คุณพิเศษอย่างหนึ่ง ผลที่ตามมาคือ สิ้นความสงสัยอีกต่อไป คือ การเข้าถึงสัจธรรม เป็นความจริงที่ทุกคนปฏิเสธไม่ได้ เพราะเหตุผลที่ว่าไม่ใช่ศาสนา ที่เรียกว่า ความเชื่อ แต่สัจธรรมมันเป็นความจริง ความจริงนี้มันเป็นวิชา วิชานี้ตรวจสอบได้ พิสูจน์ได้ อุปมาเหมือนวิชาวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบได้ พิสูจน์ได้อะไรประมาณนั้น ถ้าเป็นอย่างนั้น ควรจะเป็นศาสตร์ ๆ หนึ่ง หรือวิชาหนึ่งของโลกที่เรียน ๆ กันอยู่ทั่ว ๆ ไป เช่น วิชาแพทยศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ อะไรประมาณนั้น ไม่ใช่ศาสนาอย่างที่เข้าใจกัน เพราะไม่ใช่ความเชื่อ แต่มันเป็นความจริง
ตัดเอาบางตอนมาเสริม
พระพุทธศาสนาเป็นได้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ทุกศาสตร์และศิลป์ที่มีอยู่ในโลกนี้ท่านตรัสสอนไว้หมดแล้ว แต่ไม่ใช้ว่าท่านเป็นผู้บัญญัติขึ้นนะ เพราะสิ่งเหล่านั้นมันเป็นอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าไม่มีใครรู้ ท่านเป็นแต่เพียงว่า ทำอย่างนี้มันเป็นอย่างนั้น ทำอย่างนั้นมันจะมีผลอย่างนี้ งง ไหม
ต้อง งง ถ้าหากว่าท่านไม่เข้าใจคำว่า ของจริง มันก็ยากที่จะอธิบายอย่างไร คำว่าไม่รู้ไม่เข้าใจ ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจอยู่ดี สัจธรรมความจริงที่พระพุทธเจ้านำมาบอกกล่าวนั้นเป็นของจริงที่มีอยู่เป็นอย่างนั้นเอง เรามาศึกษาเรื่องพระพุทธศาสนา เพื่อให้รู้แจ้งเห็นจริงตามที่ท่านสั่งสอน
เมื่อมารู้แจ้งเห็นจริงแล้ว ต้องรู้ให้ครบ ต้องเข้าใจให้ถูก เชื่ออย่างมีปัญญาคุม ถ้าเชื่อแบบไม่มีปัญญาคุม ก็จะเถียงกันไม่รู้จักจบ ถ้าปฏิบัติไปในแนวเดียวก็ไม่มีปัญหา เหมือนอย่างว่าเรารู้จักต้นโพธิต้นหนึ่ง เราจะบอกว่าเลาต้นดีกว่ากิ่งใบ ใบโพธิดีกว่าต้นและไรทำนองนี้ แสดงว่าท่านรู้พระพุทธศาสนาไม่หมด ก็ต้องเถียงกัน (ไม่รู้เข้าใจถูกไม) ท่านใดเห็นว่าอย่างไร?
_________________
ทำบุญตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ดีกว่าตายแล้วให้เขาทำบุญอุทิศหา รักษาศีลตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ดีกว่าตายแล้วให้เขาเคาะโลงลุกขึ่นมารักษาศีล
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th