ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.ย. 2008, 8:48 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
กรัชกาย พิมพ์ว่า:
เห็นลิงค์มึนหัวทุกที
อ้าวนี่อีกลิงค์ น่าจะพอง่ายหน่อย
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14841
คุณกรัชกายครับ ลิงค์ ปฏิจจสมุปบาท ของคุณ ผมว่ายังไม่ครอบคลุมเท่า
ไหร่ครับ
ควรจะศึกษาเพิ่มเติมจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา ท่านผู้รู้เพิ่มเติมครับ |
คุณเฉลิมศักดิ์ครับ ลิงค์นั้นเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น
พุทธธรรมที่กล่าวเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาทนี้ยาว 30 กว่าใบ มีทั้งฝ่ายก่อ
ทุกข์และฝ่ายดับทุกข์
กรัชกายยังขาดแรงบันดาลใจหรือแรงกระตุ้นให้พิมพ์
รู้ครับว่าใครพูดจุดไหน ติดตันอยู่ตรงไหน ยึดติดกันอยู่ที่ใด
มองเห็นครับ  |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.ย. 2008, 9:50 am |
  |
อย่างไรก็ตาม แม้พระไตรปิฎกจะเป็นหลักฐานชั้น ๑ เมื่อพิจารณาตามหลักพระพุทธภาษิตในกาลามสูตร ท่านก็ไม่ให้ติดจนเกินไป ดังคำว่า มา ปิฎกสมฺปทาเนน อย่าถือโดยอ้างตำรา เพราะอาจมีผิดพลาดตกหล่นหรือบางตอนอาจเพิ่มเติมขึ้น แสดงว่าพระพุทธศาสนาสอนให้ใช้ปัญญาพิจราณาเหตุผล สอบสวนดูให้ประจักษ์แก่ใจตนเอง เป็นการสอนอย่างมีน้ำใจกว้างขวางและให้เสรีภาพแก่ผู้นับถือพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่
นอกจากนั้นยังเป็นการยืนยันให้นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อได้ประจักษ์ผลนั้น ๆ ด้วยตนเอง แม้จะมีพระพุทธภาษิตเตือนไว้มิให้ติดตำราจนเกินไป แต่ก็จำเป็นต้องรักษาตำราไว้ เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษา เพราะถ้าไม่มีตำราเลยจะยิ่งซ้ำร้าย เพราะจะไม่มีแนวทางให้รู้จักพระพุทธศาสนาเลย ฉะนั้น การศึกษาให้รู้และเข้าใจในพระไตรปิฎก จึงเป็นลำดับแรก เรียกว่า ปริยัติ การลงมือกระทำตามโดยควรแก่จริตอัธยาศัยเรียกว่า ปริยัติ การได้รับผลแห่งการปฏิบัตินั้น ๆ เรียกว่า ปฎิเวธ
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/praapitham/ |
|
|
|
   |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.ย. 2008, 9:54 am |
  |
คำว่า วิภัชชวาท ตามศัพท์แปลว่า กล่าวจำแนก (วิภัชชะ = จำแนก, วาทะ = กล่าว) หมายความว่า การที่เราจะตัดสินว่าการกระทำอะไรถูกหรือผิด จะต้องตรวจดูเฉพาะเรื่องเฉพาะกรณี ไม่สามารถเหมารวมหมดทุกเรื่องได้ ตามความเห็นของผู้เขียนหลักวิภัชชวาทของพระบรมศาสดาครอบคลุมเกณฑ์ตัดสินจริยธรรมทั้งหมด โดยบางกรณีก็ยึดถือผลลัพธ์เป็นเกณฑ์ เช่น การครองผ้ากฐิน ตามพระวินัยบอกว่าคณะสงฆ์จะต้องพิจารณาให้แก่พระภิกษุผู้มีจีวรเก่าคล้ำคร่ามากที่สุด เพราะพิจารณาผลลัพธ์ว่าผู้ที่มีจีวรเก่ามากแล้วจะได้นำผ้ากฐินไปใช้แทนผืนเก่า ถ้าพระภิกษุที่มีจีวรเก่าคล้ำคร่ามากที่สุดพอๆ กันหลายรูป ก็ให้ผู้ที่มีพรรษามากกว่า และถ้ายังมีพรรษาเท่ากันอีก ก็ให้พิจารณาผู้มีปัญญามากกว่า เพราะเห็นสมควรว่าผู้มีปัญญามากกว่าสามารถกระทำกรรมได้ถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติ และเป็นผู้มีประโยชน์ต่อคณะสงฆ์มากกว่า... ปัจจุบันพระภิกษุโดยมากจะไม่ขัดสนเรื่องผ้าจีวร ฉะนั้น ผ้ากฐินจึงนิยมให้เจ้าอาวาสหรือพระเถระที่ควรแก่การยกย่องรูปใดรูปหนึ่งในวัดเป็นผู้ครอง จะเห็นได้ว่าพระวินัยบัญญัติเรื่องการถวายผ้ากฐินโดยใช้ผลลัพธ์ของการกระทำเป็นเกณฑ์ตัดสิน
ตามปรกติเมื่อมีงาน เราจะเห็นได้ว่าพระเถระหรือพ่อท่านจะนั่งเป็นประธานสงฆ์อยู่หัวแถว เมื่อเริ่มพิธีจะเป็นผู้ให้ศีลและนำสวดบทต่างๆ ตลอดประกอบพิธีอื่นๆ ลักษณะนี้พ่อท่านว่าอย่างไร ก็จะต้องทำตามพ่อท่าน ความเห็นของพ่อท่านถูกต้องเสมอ นั่นคือ พ่อท่านมีอำนาจ วิธีการนี้เรียกว่า อำนาจคือความถูกต้อง แต่พระวินัยยังมีกรณีพิเศษที่พ่อท่านหรือท่านเจ้าคุณก็ไม่มีอำนาจเหนือผู้อื่น คือ การใช้เวจจกุฎี (ห้องส้วม) พระวินัยบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าใครไปถึงก่อนก็ได้ใช้ก่อน จะต้องเข้าแถวหรือต่อคิว ไม่ว่าจะเป็นสามเณรน้อยหรือพระเถระผู้ใหญ่ ไม่สามารถอ้างได้ว่าพระภิกษุต้องได้ก่อนสามเณร หรืออ้างไม่ได้ว่าพระเถระจะต้องได้ก่อนพระนวกะ พระวินัยบัญญัติลักษณะนี้สงเคราะห์ตามแนวคิดของนายคานต์ได้ แนวคิดนี้ผู้เขียนว่าถูกต้องที่สุด และถ้าผู้อ่านเห็นด้วยว่าการเข้าส้วมใครไปก่อนก็ได้เข้าก่อน แสดงว่าผู้อ่านต้องการให้การกระทำนี้เป็นกฎสากลหรือทุกคนจะต้องทำอย่างนั้น นั่นคือ ความเห็นของนายคานต์
เวลามีอุปสมบทกรรมหรือการบวชนาค พระภิกษุทุกรูปที่ร่วมสังฆกรรมจะต้องเห็นชอบให้เจ้านาคบรรพชาและอุปสมบทได้ คือ จะต้องมีมติเป็น เอกฉันท์ อุปสมบทกรรมนั้นจึงจะสำเร็จ ถ้ามีพระภิกษุรูปหนึ่งรูปใดคัดค้านไม่เห็นด้วย อุปสมบทกรรมครั้งนั้นก็ไม่สำเร็จ จะเห็นได้ว่าอุปสมบทกรรมจะถูกต้องได้เพราะมีความเห็นเอกฉันท์เป็นหนึ่งเดียวของสงฆ์ ซึ่งแตกต่างจากความถูกต้องแบบประชาธิปไตยที่ยึดถือความเห็นของเสียงข้างมากเป็นหลักในการตัดสินความถูกต้อง แต่ในการระงับอธิกรณ์หรือเรื่องราวที่เกิดในคณะสงฆ์บางอย่างก็ใช้เสียงข้างมากเหมือนระบอบประชาธิปไตย เรียกตามภาษาวินัยว่า เยภุยยสิกา แปลว่า การถือเอาความเห็นโดยมากเป็นเกณฑ์ มี การเลือกให้พระภิกษุรูปใดทำหน้าที่แจกภัตร หรือทำหน้าที่เฝ้าของสงฆ์ เป็นต้น
ตามตัวอย่างที่เสนอมาเกี่ยวกับกับธรรมเนียมปฎิบัติของสงฆ์ แสดงให้เห็นแนวคิดแบบวิภัชชวาทได้อย่างชัดเจน ว่าเลือกใช้เฉพาะเรื่องเฉพาะกรณี ไม่ได้ยึดถือเอาผลลัพธ์ เจตนา หรืออำนาจบุคลอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ บางคนอาจสงสัยว่า ถ้าอย่างนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่าถูกต้องจริงๆ เช่น ถ้ายึดถืออำนาจของพ่อท่านว่าเป็นสิ่งถูกต้อง เราเห็นได้ว่าบางครั้งพ่อท่านก็ทำอะไรไม่ค่อยถูกต้องเพราะท่านอายุก็มาก ความคิดความอ่านของท่านบางอย่างก็ไม่ทันเด็กหรือพระหนุ่มๆ หรือถ้ายึดถือเอาความเห็นเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์แบบเยภุยยสิกาหรือประชาธิปไตย เราก็เห็นได้ว่ามีบ่อยครั้งที่ระบบนี้กลายเป็นระบบ พวกมากลากไป ทั้งๆ ที่เห็นว่าไม่ถูกต้องก็ยังช่วยกันลากไป จนเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาภายหลังมากมาย ฉะนั้น วิภัชชวาทจึงอาจยึดถือเป็นหลักการไม่ได้ เพราะรู้ได้ยากว่าถูกต้องจริงๆ หรือไม่ พระพุทธเจ้าจึงได้วางหลักการให้เราตรวจสอบว่าอย่างไรถูกต้อง อย่างไรไม่ถูกต้อง ไว้รองรับหลักวิภัชชวาทอีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า หลักตัดสินพระธรรมวินัย คือ หลักการตรวจสอบว่าสิ่งนั้นเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ มี ๘ ประการ ดังนี้
๑) วิราคะ คือ การกระทำนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่ยึดติด เป็นอิสระ
๒) วิสังโยค คือ การกระทำนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อความหมดเครื่องผูกรัด ไม่ประกอบทุกข์ สลัดออกจากทุกข์
๓) อปจยะ คือ การกระทำนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อความไม่สั่งสม ไม่พอกพูนกิเลส
๔) อัปปิจฉตา คือ การกระทำนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อความอยากอันน้อย ความมักน้อย
๕) สันตุฎฐี คือ การกระทำนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อความสันโดษ ยินดีตามมีตามได้
๖) ปวิเวก คือ การกระทำนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อความสงัด ไม่คลุกคลีกับหมู่คณะ
๗) วิริยารัมภะ คือ การกระทำนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อความเพียร ขยัน ไม่เกียจคร้าน
๘) สุภรตา คือ การกระทำนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย มิใช่เป็นผู้เลี้ยงยาก
ถ้าเราตรวจสอบแล้วการกระทำนั้นๆ เป็นไปตามหลักการนี้ ก็ให้มั่นใจได้ว่าถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ แต่ถ้าขัดแย้งกับหลักการนี้ ก็แน่ใจได้ว่าผิดหรือขัดแย้งกับคำสั่งสอนตามหลักพระพุทธศาสนา
เล่ามาตามนี้บางท่านอาจค้านอยู่ในใจว่าเป็นการยุ่งยากที่จะยึดถือหรือปฎิบัติได้ เพราะฉันยังมีกิเลสอีกเยอะ ฉันจะต้องทำงานเลี้ยงครอบครัว ถ้าไม่อยากได้ ไม่รีบกอบโกย ไม่สั่งสมไว้เยอะๆ จะเอาอะไรกินในยามแก่เฒ่า... ฉันทำงานหนักและเหน็ดเหนื่อยมามากแล้ว เมื่อยามว่างหรือจุดหนึ่งของชีวิต ฉันก็ควรทำอะไรตามใจชอบให้รางวัลแก่ตัวเองบ้างซิ... หรือ อยู่คนเดียวเปล่าเปลี่ยวเอกา ฉันก็ควรสนุกสนานกับเพื่อนๆ บ้างซิ ... อะไรทำนองนี้ เรื่องนี้เราจะต้องตรวจสอบและพิจารณาให้รอบคอบ เพราะตามหลักการนี้เป็นแต่เพียงเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่าการกระทำแบบไหนหรืออะไรถูกหรือผิดเท่านั้น ส่วนในการดำเนินชีวิตจริงๆ เราก็จะต้องมีแนวทางในการดำเนินชีวิตเพื่อให้เรามีความเป็นอยู่ของชีวิตที่มั่นคง ซึ่งเรื่องนี้พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัส อปัสเสนธรรม ไว้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้มีความมั่นคง คำว่า อปัสเสนะ แปลว่า พนักพิง อปัสเสนธรรม หมายความว่าหลักธรรมที่ทำให้ความเป็นไปในการดำเนินชีวิตมีความมั่นคง เหมือนกับเรานั่งเก้าอี้ที่มีพนังพิง ย่อมนั่งได้อย่างมั่นคง สามารถนั่งได้นาน และได้รับความสบายกว่าการนั่งเก้าอี้หัวล้านที่ไม่มีพนักพิงนั่นเทียว อปัสเสนธรรมนี้มีอยู่ ๔ ข้อด้วยกัน คือ
๑) บางสิ่งบางอย่างพิจารณาแล้ว เสพ
๒) บางสิ่งบางอย่างพิจารณาแล้ว อดกลั้น
๓) บางสิ่งบางอย่างพิจารณาแล้ว เว้น
๔) บางสิ่งบางอย่างพิจารณาแล้ว บรรเทา
คำว่า เสพ รวมความอาการที่แสดงออกทั้งหมด เช่น กิน ดื่ม พูด ทำ ซื้อ ใช้สอย ฯลฯ หมายความว่า บางอย่างให้เราพิจารณาตรวจสอบเสียก่อนแล้วจึงเสพ เช่น การกิน ถ้าของนั้นเหมาะสมมีประโยชน์ ไม่มีโทษ เหมาะสมกับวัยของเรา ก็กินได้ หรือเราเข้าไปซื้อของในตลาด ถ้าว่าของนั้นจำเป็นที่จะต้องซื้อ เหมาะสมกับฐานะของเรา ก็ซื้อได้ ฯลฯ แต่ถ้าพิจารณาแล้วมีความเห็นว่าของนั้นไม่เหมาะสมกับเราหลายประการ ก็อดกลั้นเสีย อย่ากิน หรืออย่าซื้อ ฯลฯ
คำว่า อดกลั้น หมายถึงเว้นในครั้งนั้นหรือเฉพาะกรณี ต่อไปเมื่อเหมาะสมเราก็ไม่จำเป็นต้องอดกลั้น เช่น วันนี้ปลายเดือน ไม่ค่อยมีเงิน อยากกินทุเรียนหมอนทอง แต่ราคาแพง ก็ อดกลั้น คือไม่ต้องซื้อกิน แต่ถ้าต้นเดือน เงินเดือนออก ก็ซื้อกินได้ ไม่จำเป็นต้องอดกลั้น ถือว่าเป็นการให้รางวัลแก่ชีวิต อะไรทำนองนี้...
แต่ การเว้น หมายถึงการตัดขาดไม่แตะต้องหรือยุ่งเกี่ยวเลยเพราะพิจารณาแล้วไม่เหมาะสมโดยประการทั้งปวง เช่น ยาเสพติด หรือยาพิษ ฯลฯ
ส่วนประการสุดท้ายคำว่า บรรเทา หมายความว่าทำให้น้อยลง เช่น อยากกินทุเรียนหมอนทองปลายเดือน แต่เงินมีน้อย ถ้าอดอยากไม่ได้ก็ให้ซื้อลูกเล็กๆ หรือซื้อทุเรียนบ้านกินก็ได้ เพราะราคาถูกกว่า อะไรทำนองนี้...
จะเห็นได้ว่าหลักอปัสเสนธรรมเราเป็นผู้กำหนดการกระทำทั้งหมดว่าอย่างไรถูกหรือผิด สมควรหรือไม่ และไม่ตายตัวเพราะมีความยืดหยุ่นตามความเหมาะสมอยู่ในตัวเอง จะทำให้การดำเนินชีวิตมีความมั่นคงดุจดังนั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิงฉะนั้น อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินชีวิตโดยใช้อปัสเสนธรรมยังขาดอุดมคติแห่งชีวิต และไม่สามารถเชื่อมกับหลักตัดสินธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าได้ ดังนั้น เราจะต้องมีความเพียรคือความมุ่งมั่นทางใจบางอย่างที่สามารถนำไปเชื่อมกับหลักอุดมคติชีวิตของพระพุทธเจ้าได้ ความเพียรนี้ตั้งไว้เป็นประธานคือหัวหน้าในการดำเนินชีวิต เรียกตามภาษาพระว่า ปธานธรรม มี ๔ ประการด้วยกัน คือ
๑) สังวรปธาน เพียรมุ่งมั่นระวังมิให้อกุศลหรือความชั่วเกิดขึ้นในสันดานของเรา
๒) ปหานปธาน เพียรมุ่งมั่นกำจัดอกุศลหรือความชั่วที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป
๓) ภาวนาปธาน เพียรมุ่งมั่นสร้างสมกุศลหรือความดีที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔) อนุลักขณาปธาน เพียรมุ่งมั่นสะสมกุศลหรือความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญงอกงาม
ถ้าทำได้อย่างนี้เราก็จะไม่ตกต่ำหรือเราจะไม่ถอยหลังเข้าคลอง เราเดินไปใกล้อุดมคติสูงสุดแห่งพระพุทธศาสนา คือ การสิ้นอาสวกิเลส ซึ่งได้แก่พระนิพพาน มากยิ่งขึ้น ๆ เพราะ พระนิพพาน คือ การสิ้นอาสวกิเลส ส่วนผู้ที่สิ้นอาสวกิเลสเรียกว่า พระอรหันต์ ดังนั้น เราชาวพุทธฯ จะทำบุญอย่างใดอย่างหนึ่งจึงนิยมกล่าวคำอธิษฐานว่า
อิทัง ทานัง อาสวักขยวหัง โหตุ อนาคเต กาเล แปลว่า ขอทานนี้ จงเป็นเครื่องนำมาซึ่งธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวกิเลสในอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้น เทอญ. หรืออีกสำนวน
อิทัง ทานัง นิพพานปัจจโย โหตุ อนาคเต กาเล แปลว่า ขอทานนี้ จงเป็นปัจจัยแห่งพระนิพพานในอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้น เทอญ.
ความหมายของคำก็เหมือนกัน เพราะการสิ้นอาสวกิเลสก็คือพระนิพพาน ซึ่งเป็นอุดมคติชีวิตสูงสุดของพุทธศานิกชน
๖. จริยศาสตร์คุณธรรม
ส่วนในการดำเนินชีวิตทั่วไปนั้น สังคมพระพุทธศาสนายกย่องพระภิกษุว่าเป็นตัวแทนของชีวิตในอุดมคติหรือตัวแทนของความดีความถูกต้อง เราจะเห็นได้ว่าในสังคมฆราวาสหรือผู้ครองเรือนจะมีสำนวนว่าคนโน้นคนนี้อยู่ เหมือนพระ หรือคนนั่นเป็น คนธัมมธัมโม ซึ่งโดยมากคนที่ได้รับการยกย่องว่ามีความเป็นอยู่เหมือนพระหรือเป็นคนธัมมธัมโมนั้น จะเป็นคนดีตามอุดมคติของชาวพุทธจริงๆ ฉะนั้น การกระทำที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนาเราสามารถเลียนแบบความเป็นอยู่ของพระได้ โดย พระลูกชาวบ้าน จะเป็นตัวแทนทางศีลธรรมในชีวิตจริง ส่วน พระอรหันต์ จะเป็นตัวแทนทางศีลธรรมในอุดมคติ
ในจริยศาสตร์ตะวันตกก็มีแนวคิดทำนองนี้เช่นกันและกำลังมาแรงที่สุด เพราะจริยศาสตร์ที่ใช้ผลลัพธ์เป็นเกณฑ์บรรดามี หรือใช้เจตนาดีเป็นเกณฑ์ตามของนายคานต์ก็ตาม ไม่สามารถตอบสนองหรือแก้ปัญหาสังคมตะวันตกได้ แนวคิดนี้เรียกว่าจริยศาสตร์คุณธรรม ซึ่งใช้ ตัวแทนทางศีลธรรม เป็นเกณฑ์ โดยเรียกว่า นักบุญ หรือ วีรบุรุษ
อันที่จริง แนวคิดนี้ก็มีมาตั้งแต่สมัยกรีกโปราณ แต่เพิ่งกลับมาดังอีกเมื่อไม่นานมานี้เอง เช่น นายมาโยนักปรัชญาชาวอังกฤษได้โจมตีการใช้ผลลัพธ์หรือใช้เจตนาดีเป็นเกณฑ์ โดยรวมเรียกว่า ทฤษฎีหลักการ ว่าไม่สามารถใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ เพราะใช้หลักการมาอธิบายและตัดสินว่าการกระทำนั้นๆ ผิดหรือถูกจากทำถามว่า ฉันควรจะทำอะไร? แต่ในการดำเนินชีวิตจริงๆ แล้ว คนทั่วไปจะไม่สนใจเรื่องนี้ พวกเขาจะมองเห็นใครบางคนที่ตัวเองยอมรับ ยกย่อง ศรัทธา เลื่อมใส ซึ่งคนที่ตัวเองยอมรับนี้แหละเรียกว่า นักบุญ หรือ วีรบุรุษ และก็อยากเป็นเช่นนั้นบ้าง ดังนั้น จึงพัฒนาบุคลิกภาพหรืออุปนิสัยให้เหมือนกันกับนักบุญหรือวีรบุรุษในใจของตน นั่นคือ การดำเนินชีวิตของคนทั่วไปจึงพัฒนาปรับปรุงบุคลิกภาพหรืออุปนิสัยไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเป็นเหมือนแบบนักบุญหรือวีรบุรุษในอุดมคติของตน เพราะฉะนั้น คนทั่วไปจึงดำเนินชีวิตมาจากคำถามว่า ฉันควรจะเป็นอะไร ? มิใช่มาจากคำถามว่า ฉันควรจะทำอะไร?
แต่จริยศาสตร์คุณธรรมนี้ก็ถูกโจมตีเช่นเดียวกัน เช่น นายแฟรงเกนานักปรัชญาจากอเมริกาคัดค้านว่า อุปนิสัยปราศจากหลักการก็เป็นสิ่งมืดบอด แต่หลักการแม้ปราศจากอุปนิสัยก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่า คนเรานั้นมีปัญญาหรือความเฉลียวฉลาดไม่เท่าเทียมกัน อยู่ในสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน ดังนั้น ใครจะมาเป็นนักบุญหรือวีรบุรุษให้เราได้ ถ้าเราเลือกเองตามความพอใจ เราก็อาจเลือกผิดก็ได้ คนที่เป็นลูกขอทานเติบโตมาจากกองขยะและใต้สะพานลอย คนที่พ่อแม่ทิ้งไว้ในวัดให้พระเลี้ยงตั้งแต่แบเบอะ คนที่ถูกส่งไปเนสเซอรี่หรือสถานรับเลี้ยงเด็กอ่อน จากนั้นก็ถูกส่งไปโรงเรียนกินนอน โรงเรียนฝรั่ง และให้ไปเรียนต่ออเมริกา คนเกิดในเมืองใหญ่ๆ คนเกิดในสวนยางกลางป่า คนเกิดในเกาะกลางทะเลสาบสงขลา ฯลฯ เรามั่นใจได้หรือไม่ว่าคนเหล่านี้จะเลือกตัวแทนทางศีลธรรมของพวกเขาที่เป็นคนดีมีคุณธรรมได้เหมือนกัน ฉะนั้น จะต้องมีหลักการในการตัดสินว่าอะไรถูกหรือผิด ใช้ตัวแทนทางศีลธรรมไม่ได้...
๗.ปัญหาจริยธรรมปัจจุบัน
ตามที่นำเสนอมาจะเห็นได้ว่า หลักวิภัชชวาทในการตัดสินการกระทำนั้นๆ ว่าถูกหรือผิด และระบบตัวแทนทางศีลธรรมในชีวิตจริงคือพระลูกชาวบ้าน รวมทั้งตัวแทนศีลธรรมในอุดมคติคือพระอรหันต์ในสังคมพระพุทธศาสนา สามารถครอบคลุมความขัดแย้งเกณฑ์จริยธรรมเหล่านี้ได้ทั้งหมด แต่ สัพเพ สังขารา อนิจจา สังขารคือสิ่งที่ประกอบกันขึ้นมาย่อมไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน สังคมก็เป็นสังขารอย่างหนึ่ง ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุและปัจจัยที่มาเกื้อหนุนหรือบั่นทอน ดังนั้น สังคมปัจจุบันจึงยึดถือคำตัดสินการกระทำที่ถูกหรือผิดตามหลักกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งใครหรือชนกลุ่มใดเป็นผู้ออกกฎหมาย ก็ย่อมเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้เหมาะสมหรือเอื้อผลประโยชน์แก่คนนั้นหรือชนกลุ่มนั้น ปรากฏการณ์ทางสังคมคือมีฝูงชนหรือม็อบประท้วงเรื่องกฎหมายไม่เป็นธรรมอยู่ตลอดเวลา ส่วนตัวแทนทางศีลธรรมปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน โทรทัศน์ได้เข้ามาแทนที่ธรรมาสน์ (เก้าอี้ตัวใหญ่ให้พระนั่งเทศน์) พวกเด็กๆ กลุ่มเยาวชน หรือแม้แต่ผู้ใหญ่เอง จึงเลือกตัวแทนทางศีลธรรมของเขาผ่านทางโทรทัศน์ แนวคำสอนจริยธรรมปัจจุบันจึงตามไม่ทันสังคม ดังนั้น สังคมหรือมวลมนุษย์โลกก็ต้องแก้ปัญหากันเรื่อยไป...
ผู้เขียนได้เล่าเรื่องต่างๆ มาพอสมควรแล้ว คิดว่าน่าจะจบได้แล้ว แต่บางคนอาจยังสงสัยว่า หญิงสาวซึ่งหนีการทำมิดีมิร้ายเข้ามาในวัดและให้ซ่อนตัวอยู่ในห้องน้ำนั้น เมื่อพวกวัยรุ่นเข้ามาถาม เราจะตอบอย่างไร เรื่องนี้จะไม่ขอตอบเพราะเป็นเรื่องสมมติ มิใช่เรื่องจริง แต่มีแนวทางปฎิบัติซึ่งพ่อท่านในอดีตเคยทำมาและเล่าต่อกันไว้ เรื่องมีอยู่ว่า ดึกแล้ว พ่อท่านนั่งภาวนาอยู่ภายในวัด ต่อมาก็มีพวกโจรขโมยวัวได้จูงวัวผ่านมาทางข้างวัด เห็นพ่อท่านก็ยกมือไหว้พรางบอกว่า ถ้าใครถามก็อย่าบอกว่าผมจูงวัวมาทางนี้ แล้วก็จูงวัวผ่านไป พ่อท่านนั่งคิดอยู่นิดหนึ่งแล้วก็ลุกขึ้น ขยับไปนั่งอีกที่หนึ่ง ต่อมาไม่นานพวกตามโจรตามวัวก็ผ่านมา ยกมือไหว้พรางถามว่า พ่อท่านนั่งอยู่แถวนี้นานหรือ ? พ่อท่านตอบว่า เออ! กูนั่งอยู่แถวนี้นานแล้ว พวกเจ้าของวัวก็ถามว่า เห็นใครจูงวัวผ่านมาทางนี้บ้าง พ่อท่านตอบว่า ตั้งแต่กูนั่งตรงนี้ ยังไม่เห็นใครผ่านมาเลย เป็นอันว่าพ่อท่านมิได้ผิดศีลเพราะข้อมุสา เพราะได้ลุกขึ้นแล้วนั่งที่ใหม่แล้ว แนววิธีตอบอย่างนี้ตามภาษาพระวินัยเรียกว่า กัปปิยโวหาร คือ ให้ใช้โวหารสมควรกับสถานการณ์ ถ้าเรื่องที่สมมติขึ้นเป็นจริงวันใด ผู้เขียนก็คงใช้กัปปิยโวหารคล้ายๆ กับพ่อท่านรูปนี้
http://gotoknow.org/blog/bmchaiwut/67330 |
|
|
|
   |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.ย. 2008, 10:03 am |
  |
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=22827&sid=56a534f29f9739dff9c7a64d545f889e
ข้าวฟ่าง - ตอบเมื่อ: 19 มิถุนายน 2006, 12:38 pm
--------------------------------------------------------------------------------
พุทธธรรมนั้นเป็นเรื่องของเหตุผล ผลทุกอย่างมีเหตุเป็นแดนเกิดมีกระแสของเหตุปัจจัยที่มาผลักดันให้มันเกิด ( อิทัปปัจจยตา ) ถ้ารู้เหตุที่ให้เกิดทุกข์ ( สมุทัย ) ก็ต้องระงับเหตุนั้นเสีย ( นิโรธ ) และหาทางที่จะระงับเหตุนั้น ( มรรค ) จึงจะแก้ปัญหาได้
เพื่อให้ปรโตโฆสะ นำไปสู่โยนิโสมนสิการ ทำให้คนรู้จักคิดหรือคิดเองเป็นอันจุดเริ่มของการศึกษา และจำเป็นสำหรับการ ที่จะมีการศึกษาจึงจะเสนอวิธีคิดที่เรียกว่าโยนิโสมนสิการตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำไว้สัก 10 วิธีคนทั่วไปซึ่งได้สั่งสมความเคยชินให้จิตมีนิสัยแห่งการคิดในแนวทางของการสนองตัณหาหรือคิดโดยมีความไม่ชอบใจ เป็นพื้นฐานมาเป็นเวลายาวนาน วิธีโยนิโสมนสิการแบบต่างๆนี่จะเริ่มเป็นเครื่องฝึกในการสร้างนิสัยใหม่ให้แก่จิต การสร้างนิสัยใหม่นี้ อาจจะต้องการใช้เวลานานบ้าง เพราะนิสัยเดิมเป็นสิ่งที่ได้สั่งสมมานานคนละเป็นสิบๆปี แต่เมื่อได้ฝึกขึ้นบ้างแล้วก็ได้ผลคุ้มค่า เพราะเป็นการที่ทำให้เกิดปัญญา ทำให้แก้ปัญหาดับความทุกข์ได้แม้จะยังทำไม่ได้สมบูรณ์ ก็ยังพอเป็นเครื่องช่วยให้เกิดความสมดุล และได้มีทางออกในยามที่ถูกความคิดตามแนวนิสัยเดิมชักนำไปสู่ความอับจนความทุกข์ และปัญหาบีบคั้นต่างๆ อนึ่ง พึงทราบว่าวิธีโยนิโสมนสิการแบบต่างๆถึงจะมีมากอย่าง ก็สรุปลงได้เป็น 2 ประเภทเท่านั้น คือ
1. โยนิโสมนสิการประเภทพัฒนาปัญญาโดยตรง มุ่งให้เกดความรู้เข้าใจตามเป็นจริงตรงตามสภาวะแท้ๆ เน้นที่การ ขจัดอวิชชา เป็นเครื่องนำไปสู่โลกุตรสัมมาทิฏฐิอาจเรียกว่า โยนิโสมนสิการระดับสัจธรรม
2. โยนิโสมนสิการประเภทสร้างเสริมคุณภาพจิต มุ่งปลุกเร้าให้เกิดคุณธรรมหรือกุศลธรรมต่างๆ เน้นที่การสกัดหรือ ข่มตัณหา เป็นเครื่องนำไปสู่โลกีย์สัมมาทิฏฐิ อาจเรียกว่า โยนิโสมนสิการระดับจริยธรรม วิธีโยนิโสมนสิการต่อไปนี้ บางอย่างใช้ประโยชน์ประเภทเดียว บางอย่างใช้ประโยชน์ได้ทั้งสองประเภท ในที่นี้จะยังไม่แยก กลุ่มไว้ จะยกมาแสดงทีละอย่างตามลำดับที่เห็นสมควร และชี้แจงประโยชน์เป็นข้อๆไปหรือให้ผู้อ่านพิจารณาดูเอง ซึ่งก็จะ แยกได้โดยไม่ยาก
1. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คือ พิจารณาปรากฏการณ์ต่างๆ ให้รู้จักสภาวะตามที่มันเป็นจริง หรือพิจารณาปัญหา ค้นหาหนทางแก้ไข ด้วยการสืบสาวหาสาเหตุและปัจจัยต่างๆที่สัมพันธ์ส่งผลสืบทอดกันมา จะเรียกว่า วิธีคิดแบบอิทัปปัจจยตา หรือวิธีคิกแบบปัจจยตาการก็ได้ ในทางปฏิบัติ อาจแยกวิธีคิดนี้ได้ 2 อย่าง คือ
ก . คิดแบบปัจจัยสัมพันธ์ คือ เมื่อพบเหตุการณ์หรือเรื่องที่พิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใด ก็มองหยั่งย้อนและสืบสาว ชักโยงอกไปถึงปัจจัยต่างๆ
ทั้งหลายที่เข้ามาสัมพันธ์นั้น ก่อให้เกิดผลหรือปรากฏการณ์นั้นๆขึ้น เช่น ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน บ่อยๆให้พระสาวกพิจารณาว่า " เมื่อสิ่งนั้นมี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนั้นเกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ฯลฯ "
ข . คิดแบบสอบสวน หรือ ตั้งคำถาม คือ เมื่อประสบพบเห็นสิ่งใดๆที่ควรพิจารณา ก็คอยตั้งคำถามแก่ตนว่า ทำไม เพราะอะไร เช่นที่พระพุทธเจ้า ทรงตั้งปัญหาถามพระองค์เองก่อนตรัสรู้ว่า " ตัณหาเกิดขึ้น เพราะอะไรเป็นปัจจัย ให้เกิดตัณหา" เป็นต้น หรือคิดสืบสาวหาสาเหตุจิตใจต่อไป
2. วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ หรือกระจายเนื้อหา เป็นวิธีคิดสำคัญอีกแบบหนึ่งที่มุ่งเพื่อเข้าใจสิ่งต่างๆ ตาม สภาวะของมัน ตามธรรมดาสิ่งทั้งหลายก็ดี ปรากฏการณ์ต่างๆก็ดี เรื่องราวต่างๆที่อุบัติขึ้นก็ดีเกิดจากส่วนประกอบย่อย ๆ มารวมกันเข้า เมื่อแยกแยะกระจายออกไปให้เห็นองค์ประกอบย่อยๆต่างๆได้แล้ว จึงจะรู้จักสิ่งนั้น เรื่องราวนั้นๆได้ถูกต้องแท้จริงจึงจับจุดที่เป็นปัญหาได้ และจึงจะแก้ปัญหาได้ ตัวอย่างของการคิดแบบนี้เช่นที่พระพุทธศาสนาแยกแยะชีวิตออกเป็น ส่วนประกอบย่อยต่างๆ เช่น เป็นขันธ์ 5 เป็นต้น
3. วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา คือ มองเหตุการณ์ สถานการณ์ ความเป็ยไปของสิ่งทั้งหลายอย่างรู้เข้าใจธรรมดา ธรรมชาติของมัน ซึ่งจะต้องเป็นไปอย่างนั้น ในฐานะที่มันเป็นสิ่งซึ่งเกิดจากเหตุปัจจัยต่างๆปรุงแต่งขึ้น จึงจะต้องเป็นไปตาม เหตุปัจจัยเหล่านั้น กล่าวคือ การที่มันเกิดขึ้นแล้วจะต้องดับไป ไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่คงอยู่ตลอดไป มีภาวะที่ถูกปัจจัยต่างๆ ที่ขัดแย้ง บีบคั้นได้ ไม่มีอยู่และไม่สามารถดำรงอยู่โดยไตรลักษณ์ หรือ สามัญลักษณ์ จึงเรียกความคิดแบบนี้ได้อีกอย่าง หนึ่งว่า วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ วิธีคิดแบบนี้ที่ถูกต้องต้องดำเนินไปให้ครบ 2 ขั้นตอน คือ
ก . ขั้นที่หนึ่ง รู้เท่าทันและยอมรับความจริง เป็นขั้นวางใจวางท่าทีต่อสิ่งทั้งหลายโดยสอดคล้องกับความเป็นจริง ของธรรมชาติ เป็นท่าทีแห่ง ปัญญา เช่น เมื่อประสบสถานการณ์ที่ไม่ปรารถนาขึ้น ตั้งขึ้น สำนึกขึ้นในเวลานั้นว่า เราจะมอง ตามความเป็นจริง ไม่มองด้วยตามความอยากของเราที่อยากให้เป็นหรืออยากไม่ให้เป็น รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้นตามเหตุปัจจัย ของมันเปลื้องตัวอิสระได้ ไม่เอาตัวไปให้ถูกกดถูกบีบ
ข . ขั้นที่สอง แก้ไขและทำการไปตามเหตุปัจจัย เป็นขั้นปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายโดยสอดคล้องกับความเป็นจริง ของธรรมชาติ เป็นท่าทีแห่งปัญญา คือรู้ว่าสิ่งทั้งหลายจะเป็นอย่างไรก็ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่ขึ้นต่อความอยาก ความปรารถนาของเราหรือใครๆ เมื่อเราต้องการให้มันเป็น
อย่างนั้น ก็ต้องทำที่เหตุปัจจัยให้ได้เป็นอย่างนั้น แล้วแก้ไข หรือจัดทำการที่ตัวเหตุปัจจัยนั้นๆ เมื่อทำเหตุปัจจัยได้พร้อมบริบูรณ์ที่จะให้เป็นอย่างนั้น มันก็ต้องเป็นอย่างนั้น ถ้าเหตุปัจจัย ไม่พร้อมที่จะให้เป็น มันก็ไม่เป็น แล้วก็รู้และแก้ไขกันที่เหตุปัจจัยนั้นแหละ ไม่ใช่แก้ด้วยความอยาก เมื่อปฏิบัติได้อย่างนี้ ก็ดำรงตนอยู่เป็นอิสระ อยู่อย่างอิสระ ทำการได้ดีที่สุด พร้อมทั้งไม่มีความทุกข์
4. วิธีคิดแบบแก้ปัญหา หรือวิธีคิดแบบอริยสัจสี่ เป็นวิธีคิดที่ต่อเนื่องจากวิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา ( แบบที่ 3 ) นั่นเอง คือ เมื่อเข้าใจคติธรรมดาของสิ่งทั้งหลายวางใจได้และตกลงใจว่าจะแก้ปัญหาที่ตัวเหตุตัวปัจจัย จากนั้นก็ดำเนิน ความคิดต่อไปตามวิธีคิดแบบอริยสัจสี่นี้ วิธีคิดแบบนี้มีหลักการสำคัญคือ การเริ่มต้นจากปัญหาหรือทุกข์โดยกำหนดรู้ ทำความเข้าใจปัญหาหรือความทุกข์ให้ชัด เจน แล้วสืบค้นหาสาเหตุเพื่อเตรียมแก้ปัญหา พร้อมกันนั้นก็กำหนดเป้าหมาย ของตนให้แน่ชัดว่าคืออะไร จะเป็นไปได้หรือไม่ จะเป็นไปได้อย่างไร แล้วคิดวางวิธีที่จะปฏิบัติหา สาเหตุของปัญหา
โดย สอดคล้องกับการที่จะบรรลุจุดหมายที่ได้กำหนดไว้นั้น ทั้งนี้อาจจัดวางเป็นขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 กำหนดรู้ คือ แจกแจงแถลงปัญหา ทำความเข้าใจปัญหา สภาพและขอบเขตของปัญหาให้เข้าใจชัดเจน ว่าเป็นอะไร คืออะไร เป็นที่ตรงไหนเหมือนแพทย์ตรวจดูอาการของโรค ดูความผิด ปกติของร่างกาย วินิจฉัยให้รู้ว่าเป็นอะไร ที่ตรงไหน รู้เข้าใจโรคและร่างกายเฉพาะอย่างยิ่งส่วนซึ่ง
เป็นที่ตั้งของโรคให้ชัดเจน ( ทุกข์ )
ขั้นที่ 2 สืบสวนเหตุแห่งทุกข์ที่จะพึงละ คือ วิเคราะห์ค้นหามูลเหตุหรือต้นตอของปัญหาซึ่งจะองแก้ไขกำจัดหรือ ทำให้หมดสิ้นไป ตามปกติขั้นนี้ตรงกับวิธีคิดแบบที่ 1 คือ วิธีคิดแบบปัจจัยการนั่นเอง เหมือนแพทย์ค้นหาสมมุติฐานของโรค หาสาเหตุของโรค ซึ่งจะนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องตรงจุด มิใช่รักษาแต่เพียงอาการ ( สมุทัย )
ขั้นที่ 3 เล็งหมายขัดซึ่งการดับทุกข์ที่จะทำให้สำเร็จ คือ เล็งเห็นชัดเจนถึงภาวะปราศจากปัญาซึ่งมุ่งหมายว่า คืออะไร เป็นไปได้จริงหรือไม่อย่างไร มีความชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายและหลักการทั่วไป หรือตัวกระบวนการของการ แก้ปัญหาก่อนที่จะวางรายละเอียดและกลวิธีปลีกย่อยในขั้นดำเนินการ เหมือนแพทย์รู้ว่าโรคนั้นๆรักษาได้มองเห็น กระบวนการของโรคชัดเจนว่าจะหายไปได้อย่างไร ( นิโรธ )
ขั้นที่ 4 จัดวางวิธีการดับทุกข์ที่จะต้องปฏิบัติ คือ เมื่อมีความชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายและหลักการทั่วไปแล้ว ก็กำหนดวางวิธีการ แผนการและรายการที่จะต้องทำในการที่จะแก้ไขกำจัดสาเหตุของปัญหาให้สำเร็จ โดยสอดคล้องกับ เป้าหมายและหลักการทั่วไปนั้นเพื่อเตรียมแก้ไขปัญหาต่อไป ( มรรค )
5. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ ์ หรือคิดตามหลักการและความมุ่งหมาย เป็นวิธีคิดในระดับปฏิบัติการ หรือลงมือ ทำ คือ การที่จะกระทำการต่างๆโดยรู้และเข้าใจถึงหลักการและความุ่งหมายของเรื่องนั้นๆ จะดำเนินไปเพื่อจุดหมายอะไร เพื่อให้เป็นการปฏิบัติที่ได้ผลตามความมุ่งหมายนั้น ไม่กลายเป็นการปฏิบัติที่คลาดเคลื่อนเลื่อนลอยงมงาย เช่น เมื่อจะลงมือ ทำงานอะไรนั้น ก็ตรวจ สอบตนเองให้ชัดเจนว่าเข้าใจหลักการและความมุ่งหมายของงานนั้นดีแล้วหรือไม่ โดยอาจคอยตั้ง คำถามว่า อันนี้เพื่ออะไรๆ เป็นต้น
6. วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก คือ มองให้ครบทั้งข้อดี ข้อเสีย และทางแก้ไขหาทางออกให้หลุดรอดปลอดพ้น จากข้อบกพร่องต่างๆเป็นวิธีมองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงอีกแบบหนึ่ง เน้นการศึกษาและยอมรับความจริงตามที่สิ่งนั้นๆเป็นอยู่ทุกแง่ทุกมุมเพื่อให้รู้และเข้าใจถูกต้องตามความ เป็นจริงทั้งด้านดี ด้านเสีย จุดอ่อน จุดแข็ง ศัพท์ทางธรรมดาเรียกว่า วิธีคิดโดยรู้อัสสาทะ อาทีนวะ และนิสสรณะ วิธีคิดแบบนี้พระพุทธเจ้าทรงเน้นมาก เพราะคนทั้งหลายมักจะตื่นตามกันและเอนเอียง ง่าย พอจับได้อะไรดี ก็มองเห็นแต่ดีไปหมด พอจับได้ว่าอะไรไม่ดี ก็เห็นแต่เสียไป หมดทำให้พลาดทั้ง ความรู้จริงและการปฏิบัติที่ถูกต้อง อันที่จริงนั้นปกติของสิ่งทั้งหลายย่อมมีทั้งส่วนดี ส่วนเสีย จุดอ่อน จุดแข็ง เป้นต้น อาจดีมาก หากอยู่ในกรณีแวดล้อมอย่างหนึ่ง หรืออาจจะดีน้อย หากได้อยู่ในกรณีแวดล้อมหรือเงื่อนไขอีกอย่างหนึ่ง เมื่อได้ตระหนักและยอบรับถึงข้อดี ข้อเสีย จุดอ่อน จุดแข็งแล้ว เราก็จะได้ระมัดระวัง ปิดกั้นทางเสียหรือหาสิ่งชดเชย ทดแทนให้ประโยชน์ที่ได้สมบูรณ์ต่อไป
7. วิธีคิดแบบรู้คุณค่าแท้ - คุณค่าเทียม หรือการพิจารณาเกี่ยวกับปฏิเสวนา คือ การใช้สอยหรือบริโภค เป็นวิธีคิด แบบสกัดหรือบรรเทาตัณหา ตัดทางไม่ให้กิเลสเข้ามาครอบงำจิตใจแล้วชักจูงพฤติกรรมต่อไป วิธีคิดแบบนี้ใช้มากในชีวิต ประจำวัน เพราะเกี่ยวข้องกับการบริโภคใช้สอย
ปัจจัยสี่ และวัสดุอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ ทางเทคโนโลยี มีหลักการ โดยย่อว่า คนเราเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆเพราะเรามีความต้องการ สิ่งใดที่สามารถสนองความต้องการของเราได้ สิ่งนั้นก็มี ประโยชน์ มีคุณค่าแก่เรา คุณค่านี้จำแนกได้เป็น 2 ประเภท ตามชนิดของความต้องการ คือ
ก . คุณค่าแท ้ หมายถึง ความหมาย คุณค่า หรือประโยชน์ของสิ่งที่สนองความต้องการของชีวิตโดยตรง มนุษย์นำมาใช้ในการแก้ปัญหาของตน เพื่อประโยชน์สุขทั้งของตนเองและผู้อื่น คุณค่านี้อาศัยปัญญาป็นเครื่องตีค่า จะเรียกว่าคุณค่า ที่สนองปัญญาก็ได้ เช่น อาหาร มีคุณค่าเป็นประโยชน์สำหรับหล่อเลี้ยงร่างกายให้ดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ มีสุขภาพดี มีกำลังเกื้อกูลแก่การปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น ( คุณค่านี้เกี่ยวเนื่องด้วยธรรมฉันทะ )
ข . คุณค่าเทียม หมายถึง ความหมาย คุณค่า หรือประโยชน์ของสิ่งที่มนุษย์พกให้แก่สิ่งนั้นเพื่อปรนเปรอการเสพเสวยเวทนา เพื่อเสริมความมั่งคั่งยิ่งใหญ่ของตัวตนที่ยึดถือไว้ คุณค่านี้อาศัยตัณหาป็นเครื่องตีค่า จะเรียกว่าคุณค่าที่สนอง ตัณหา ก็ได้ เช่น อาหาร มีคุณค่าอยู่ที่ความเอร็ดอร่อย เสริมความสนุกสนาน หรือความโก้หรูหราของรถยนต์ มี ราคา ความสวยงามเป็นเครื่องแสดงหรือวัดฐานะ เป็นต้น วิธีคิดแบบนี้ มุ่งให้เข้าใจและเลือกเสพคุณค่าแท้ที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตอย่างแท้จริงเพื่อประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองและ ผู้อื่น คุณค่าแท้นี้นอกจากจะเป็นประโยชน์แก่ชีวิตอย่างแท้จริงแล้ว ยังเกื้อกูลต่อความเจริญงอกงามของกุศลธรรม เช่นความมีสติ ทำให้พ้นจากความเป็นทาสของวัตถุ เป็นต้น
8. วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม เรียกง่ายๆว่า วิธีคิดแบบเร้ากุศล หรือคิดแบบกุศลภาวนา เป็นวิธีคิดในแนว สกัดกั้นหรือบรรเทาและขัดเกลาตัณหา ส่งเสริมความเจริญงอกงามแห่งกุศลธรรมและสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกียะหลักการทั่วไปของวิธีคิดนี้มีอยู่ว่า ประสบการณ์คือสิ่งที่ได้ประสบหรือได้รับรู้อย่างดียวกับบุคคลที่ประสบหรือรับรู้ต่างกัน อาจมองเห็นและคิดนึกปรุงแต่งไปคนละอย่าง สุดแต่โครงสร้าง แนวทางความเคยชินที่เป็นเครื่องปรุงของจิต คือ สังขาร ที่ผู้นั้นได้สั่งสมไว้หรือก็คือ สุดแต่การทำใจในขณะนั้นๆ คนหนึ่งมองแล้ว คิดปรุงแต่งไปในทางดีงาม แต่อีกคนหนึ่งมองแล้ว คิดปรุงแต่งไปในทางไม่ดีไม่งาม เป็นโทษเป็นอกุศล รวมถึงเรื่องของเวลา คราวหนึ่งคิดดี คราวหนึ่งคิดร้าย การทำใจที่ช่วยตั้งต้นและชักนำความคิดให้เดนไปในทางที่ดีงามและเป็นประโยชน์เรียกว่า วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้า คุณธรรม วิธีคิดในแบบนี้มีความสำคัญในแง่ที่ทำให้เกิดความคิดและการกระทำที่ดีงามเป็นประโยชน์ในขณะนั้นๆ และช่วยแก้ไขนิสัยความเคยชินร้ายๆของจิตที่ได้สั่งสมไว้แต่เดิมพร้อมกับสร้างนิสัยความเคยชินใหม่ที่ดีงามให้แก่จิตไปในเวลาเดียวกันตัวอย่าง เช่น การคิดถึงความตาย เมื่อคิดถึงแล้วก็จะเกิดความสลดหดหู่ ความเศร้า ความเหี่ยวแห้งใจตลอด จนเกิดความ ดีใจเมื่อนึกถึงความตายของคนที่เราเกลียดชัง แต่ถ้าในขณะที่เราคิดนั้น เรามีโยนิโสมนสิการอยู่ด้วย เราก็จะเกิด ความรู้สึกตื่นตัวเร้าใจไม่ประมาทเร่งขวนขวายปฏิบัติกิจหน้าที่ ทำสิ่งดีงามเป็นประโยชน์ ตลอดจนรู้เท่าทันความจริง ที่เป็นคติธรรมดาของสังขาร เป็นต้น เรียกได้ว่าเป็นการคิดถึความตายที่ถูกวิธีนอกจากหลักการข้างต้นแล้ว ควรย้ำถึงองค์ประกอบสำคัญที่คอยพยุงความคิดให้อยู่ในโยนิโสมนสิการ อันได้แก่ สติ ซึ่งช่วยยับยั้งความคิดที่หลงลอยไปเป็นอโยนิโสมนสิการ อนึ่ง โยนิโสมนสิการแบบต่างๆ สรุปได้เป็น 2 คือ โยนิโสมนสิการเพื่อความรู้ตามสภาวะ ซึ่งมีลักษณะที่แน่นอนเป็นอย่างเดียว และโยนิโสมนสิการเพื่อเสริมสร้างกุศลธรรม ซึ่งมีลักษณะแผกผันไปได้หลากหลายนั้น มีจุดแยกอยู่ที่ขณะตั้งต้นความคิด และสติอาจมีบทบาทสำคัญในการเลือกทางแยกที่จุดตั้งระหว่างโยนิโสมนสิการแบบต่างๆนี้ เช่นเดียวกับที่สติสามารถเลือกระหว่างโยนิโสมนสิการกับอโยนิโสมนสิการ
9. วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน หือวิธีคิดแบบมีปัจจุบันธรรมดาเป็นอารมณ์ความจริง วิธีคิดแบบที่ 9 นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิธีคิดแบบที่ 8 ที่แยกแสดงออกมาเป็นอีกข้อหนึ่งต่างหากนั้นเป็นเพราะมีแง่ที่ควรทำความเข้าใจ เป็นพิเศษ และเป็นวิธีคิดที่มีความสำคัญโดยลำพังตัวของมัยเองข้อที่จะต้องทำความเข้าใจเป็นพิเศษนั้นคือ การที่ผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับความหมายของการเป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยเข้าใจไปว่า พุทธศาสนาสอนให้คิดถึงสิ่งที่อยู่เฉพาะหน้ากำลังเป็นไปในปัจจุบันเท่านั้น ไม่คิดพิจารณาเกี่ยวกับอดีต หรืออนาคต ตลอดจนไม่คิดเตรียมการวางแผนเพื่อกาลภายหน้าลักษณะ ความ คิดชนิดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นการคิดที่อยู่ในแนวทางของความรู้หรือคิดด้วยอำนาจปัญญา เป็นการคิดที่สามารถรวมเอาเรื่องที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เรื่องที่ล่วงผ่านมาแล้ว และเรื่องของกาลภายหน้าเข้าในการเป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น การคิดพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องในอดีต ถือเป็นการคิดที่นำมาใช้เป็นบทเรียน ก่อให้เกิดความไม่ประมาทระมัดระวังป้องกันภัย ในอนาคต เป็นต้น คำว่าปัจจุบันในทางธรรม มิใช่เพ่งที่เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น แต่หมายถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องในขณะนั้นๆเป็นสำคัญ ดังนั้น สิ่งที่ตามความหมาย ของคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นอดีตหรืออนาคต ก็อาจกลายเป็นปัจจุบัน ตามความหมายของนามธรรมได้ สรุปง่ายๆว่า ความเป็นปัจจุบัน กำหนดเอาที่ความเกี่ยวข้อง ต้องรู้ ต้องทำเป็นสำคัญ สิ่งที่เป็นปัจจุบันคลุมถึงเรื่องราว ทั้งหลายที่เชื่อมโยงต่อกันมา วิธีคิดแบบนี้มุ่งที่จะช่วยแบ่งแยกความคิดถึงอดีตและอนาคตตามแนวทางของตัณหาที่เพ้อฝันเลื่อนลอย ผลาญเวลาและใจให้สูญเปล่า การคิดที่ถูกวิธีจะช่วยให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติในทางปัจจุบันให้ถูกต้องได้ผลดียิ่งขึ้น เป็นการสนับสนุนให้มีการตระเตรียมและวางเเผนในกิจการล่วงหน้า
10. วิธีคิดแบบวิภัชชวาท คำว่าวิภัชชวาทแปลว่า การพูดแยกแยะจำเเนกเเจกเเจง แถลงความแบบวิเคราะห์ เป็นการมองและแสดงความจริง โดยเเยกเเยะออกให้เห็นเเต่ละเเง่เเต่ละด้านให้ครบทุกด้าน ไม่ใช่จับเอาบางเเง่ขึ้นมา วินิจฉัยตีคลุมลงไปอย่างนั้นทั้งหมด ความจริงวิภัชชวาท เป็นชื่อเรียกระบบความคิดของพระพุทธศาสนาทั้งหมด มีความหมาย ครอบคลุมวิธีคิดที่ได้กล่าวมาเเล้วข้างต้นหลายๆอย่าง วิธีคิดแบบนี้ทำให้ความคิดและการวินิจฉัยเรื่องราวต่างๆ ชัดเจนตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เท่าความจริง พอดีกับ ความจริง เพื่อให้เข้าใจ ความหมายของวิภัชชวาทชัดเจนยิ่งขึ้น ขอจำเเนกวิธีคิดเเบบวิภัชชวาทออกไปในลักษณะต่างๆดังนี้
ก . จำเเนกโดยเเง่ด้านของความจริง เเบ่งได้ 2 อย่างเป็น
- จำเเนกตามที่เป็นอยู่จริงของสิ่งนั้นๆ คือ มองความจริงให้ตรงตามที่เป็นอยู่ในเเง่นั้นด้านนั้น ไม่ใช่จับ เอาความจริงเพียงเเง่หนึ่งมาตีคลุมเป็นอย่างนั้นไปหมด
- จำเเนกโดยมองความจริงของสิ่งนั้นๆ ให้ครบทุกเเง่ทุกด้าน คือ ไม่มองเเคบๆ ไม่ติดอยู่กับส่วนเดียว เเง ่เดียวของสิ่งนั้นเเต่มองให้หลายเเง่หลายด้าน เช่น คนๆหนึ่งอาจจะดีในเเง่นั้น เเต่ไม่ดีในเเง่นี้ การคิดจำเเนกในเเง่นี้ เป็นส่วนเสริมกันกับข้อแรกให้ได้ผลสมบูรณ์ และมีผลรวมไปถึงการเข้าใจในภาวะที่องค็ประกอบต่างๆมารวมกันโดยครบถ้วน จึงเกิดขึ้นเป็นสิ่งนั้น ๆ เป็นการเห็นที่กว้างไปถึงลักษณะด้านต่างๆและองค์ประกอบต่างๆของมัน
ข . จำเเนกโดยส่วนประกอบ คือ วิเคราะห์แยกเเยะให้รู้ว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นจากองค์ประกอบย่อย ๆ ต่าง ๆ มาชุมนุมกันเข้า ไม่ติดอยู่ภายนอกหรือถูกลวงโดยภาพรวมของสิ่งนั้น ๆ เช่น การเเยกเเยะคนออกเป็นนามและรูปเป็น ขันธ์ 5 เเบ่งซอยออกจนเห็นภาวะที่ไม่เป็นอัตตา
ค . จำแนกโดยลำดับขณะ คือ แยกแยะวิเคราะห์ปรากฎการณ์ตามลำดับแห่งเหตุปัจจัย ให้มองเห็น ตัวเหตุปัจจัยที่แท้จริงที่เกิดขึ้น ในแต่ละขณะเป็นวิธีที่ใช้มากในฝ่ายอภิธรรม ตัวอย่างเช่น โจรปล้นบ้านและฆ่าเจ้าทรัพย์ตาย หากคิดจำแนกโดยลำดับขณะแล้ว จะเห็นว่า โจรโลภอยากได้ทรัพย์ แต่เจ้าทรัพย์เป็นอุปสรรคต่อการใช้ทรัพย์นั้น ความโลภทรัพย์จึงเป็นเหตุให้โจรมีโทสะต่อเจ้าทรัพย์ โจรจึงฆ่าเจ้าทรัพย์ตัวเหตุที่แท้ของการฆ่าคือโทสะ หาใช่โลภะไม่ โลภะเป็นเพียงเหตุให้ลักทรัพย์ และเป็นปัจจัยให้โทสะเกิดเท่านั้น ในภาษาสามัญจะพูดว่า โจรฆ่าคนเพราะความโลภ แต่ถ้าพิจารณาตามขบวนธรรม ที่เป็นไปตามลำดับขณะ ความโลภเป็นเพียงตัวการเริ่มต้นในเรื่องนั้นเท่านั้น
ง . จำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย คือ สืบสาวหาเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์สืบทอดกันมา ของสิ่งหรือปรากฎการณ์ต่าง ๆ ทำให้มองเห็นความจริงที่สิ่งทั้งหลายไม่ได้ตั้งอยู่ลอย ๆ แต่เกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุแห่งปัจจัย การคิดจำแนกในแง่นี้ตรงกับวิธีคิดแบบที่ 2 คือ วิธีคิดแบบสืบสาวหาเหตุปัจจัย ตามแนว คิดนี้พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรมอย่างที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชเณนธรรมเทศนา หรือ วิธีคิดแบบมัชเฌนธรรมการจำแนกโดยสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย นอก จากช่วยไม่ให้เผลอ มองสิ่งต่าง ๆ อย่างโดดเดี่ยวขาดลอย แล้วยังครอบคลุม ไปถึงการที่จะให้รู้จักกับ เหตุปัจจัยได้ตรงกับผลของมัน ความขัดสนที่มักเกิดขึ้นแก่คนทั่วไป 3 อย่าง คือ
1. การนำเอาเรื่องราวอื่น ๆ นอกกรณีมาปะปะสับสนกับเหตุปัจจัยเฉพาะกรณี วิธีคิดแบบนี้ช่วยให้แยกเอาเรื่องราวหรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปจากเหตุปัจจัยที่แท้จริง รวมถึงการจับผลให้ตรงกับเหตุด้วย
2. ความไม่ตระหนักถึงภาวะที่ปรากฎการณ์หรือผลที่คล้ายกัน ซึ่งอาจเกิดจากเหตุปัจจัยที่ต่างกัน หรืออย่างเดียวกัน เช่น การได้ทรัพย์มาอาจเกิดจากขยันทำการงาน จากการทำให้ผู้ให้ทรัพย์พอใจ หรือจากการลักขโมยก็ได้ เป็นต้น
3. การไม่ตระหนักถึงเหตุปัจจัยส่วนพิเศษนอกเหนือจากเหตุปัจจัยที่เหมือนกัน คือ คนมักมองเฉพาะแต่เหตุปัจจัย บางอย่างที่ตนมั่นหมายว่า จะให้เกิดผลอย่างนั้น ๆ ครั้นต่างบุคคลทำเหตุปัจจัยอย่างเดียวกันแล้ว คนหนึ่งได้รับผลที่ต้องการ อีกคนหนึ่งไม่ได้รับผลนั้น ก็เห็นว่าเหตุปัจจัยนั้นไม่ได้ผลจริง
จ . จำแนกโดยเงื่อนไข คือ มองโดยพิจารณาเงื่อนไขประกอบด้วย เช่น ถ้าถามว่าบุคคลนี้ควรคบหรือไม่ ถ้าพระภิกษุเป็นผู้ตอบก็อาจกล่าวว่าถ้าคบแล้วอกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม ก็ไม่ควรคบ แต่ถ้าคบแล้วอกุศลเสื่อม กุศลธรรมเจริญ ก็ควรคบ
การตอบวิภัชชวาท จะวินิจฉัยโดยพิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ คือ
1. ความโน้มเอียง ความพร้อม นิสัย ความเคยชินต่าง ๆ ซึ่งเด็กได้สั่งสมไว้โดยการอบรมเลี้ยงดูและอิทธิพลทางวัฒนธรรม เป็นต้น เท่าที่อยู่ในขณะนั้น ( พูดด้วยภาษาทางธรรมว่า สังขารที่เป็นกุศลและอกุศล คือ แนวความคิดปรุงแต่งที่ได้สะสมจน กลายเป็นความเคยชินเอาไว้ ) อาจเรียกง่าย ๆว่าพื้นของเด็กที่จะแล่นไป
2. โยนิโสมนสิการ คือ เด็กรู้จักใช้โยนิโสมนสิการโดยปกติหรือไม่ และแค่ไหน เพียงไร
3. กัลยาณมิตร คือ บุคคลหรืออุปกรณ์ที่จะช่วยชี้แนะแนวทางความคิดความเข้าใจอย่างถูกต้องต่อสิ่งที่พบเห็น หรือที่จะชักนำให้เด็กเกิดโยนิโสมนสิการอย่างได้ผลหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นกัลยาณมิตรในครอบ ครัว ในสื่อมวลชนนั้น ๆ หรือทั่ว ๆ ไป ในสังคมก็ตาม
4. ประสบการณ์ คือ สิ่งที่ปล่อยให้แพร่หรือให้เด็กพบเห็นนั้น มีลักษณะหรือคุณสมบัติที่เร้าหรือยั่วยุ เป็นต้น รุนแรงมาก น้อยถึงระดับใด
ทั้ง 4 ข้อนี้ เป็นตัวแปรได้ทั้งนั้น แต่ในกรณีนี้ ยกเอาข้อ 4. ขึ้นตั้งเป็นตัวยืนคำตอบจะเป็นไปได้โดยสัดส่วนซึ่งตอบได้เอง เช่น ถ้าเด็กมีโยนิโสมนสิการดีจริง ๆ กำกับอยู่ หรือพื้นด้านแนวความคิดปรุงแต่งที่เป็นกุศล ซึ่งได้สั่งสมอบรมกันไว้โดยครอบครัวหรือวัฒนธรรมมีมาก และเข้มแข็งจริง ๆ แม้ว่าสิ่งที่แพร่หรือปล่อยให้เด็กพบเห็นจะล่อเร้ายั่วมาก ก็ยากที่จะเป็นปัญหา และผลดีต่าง ๆ ก็เป็นอันหวังได้ แต่ถ้าพื้นความโน้มเอียงทางความคิดกุศลก็ไม่ได้สั่งสมอบรมกันไว้โยนิโสมนสิการก็ไม่เคยฝึกกันไว้ แล้วยังไม่จัดเตรียมให้มีกัลยาณมิตรไว้ด้วยการปล่อยนั้น ก็มีความหมายเท่ากันเป็นการสร้างเสริมสนับสนุน ปัญหาและเป็นการตั้งใจทำลายเด็กโดยใช้ยาพิษเบื่อเสียนั่นเอง
ฉ . วิภัชชวาทในฐานะวิธีตอบปัญหาอย่างหนึ่ง วิภัชชวาทปรากฎอยู่บ่อยๆในรูปของการตอบปัญหาและ ท่านจัดเป็นวิธีตอบปัญหาอย่างหนึ่งในบรรดาวิธีตอบปัญหา4 อย่าง มีชื่อเฉพาะเรียกว่าวิภัชชวาทยากรณ์ ซึ่งก็คือ การนำเอาวิภัชชวาทไปใช้ในการตอบปัญหา หรือ ตอบปัญหาตามแบบวิภัชชวาทนั่น เอง
เพื่อความเข้าใจชัดเจนในเรื่องนี้ ถึงทราบวิธีตอบปัญหา ( ปัญหาพยากรณ์ ) 4 อย่าง คือ
1. เอกังสพยากรณ ์ การตอบอย่างเดียวเด็ดขาด
2. วิภัชชพยากรณ ์ การแยกแยะตอบ
3. ปฏิปจฉาพยากรณ ์ การตอบโดยย้อนถาม
4. ฐปนะ การยั้งหรือหยุด พับปัญหาเสีย ไม่ตอบ
วิธีตอบ 4 อย่างนี้ แบ่งตามลักษณะของปัญหา ดังนั้น ปัญหาจึงแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ตรงกับวิธีตอบเหล่านั้น จะยกตัวอย่างปัญหาตามที่แสดงไว้ในคัมภีร์รุ่นหลังมาแสดงประกอบความเข้าใจดังนี้
1. เอกังสพยากรณียปัญหา ปัญหาที่ควรแยกแยะหรือจำแนกตอบ เช่น ถามว่าสิ่งที่ไม่เที่ยง ได้แก่ จักษุใช่ไหม พึงตอบได้ทีเดียวแน่นอนลงไปว่าใช่
2. วิภัชชพยากรณียปัญหา ปัญหาที่ควรแยกแยะหรือจำแนกตอบ เช่น ถามว่าสิ่งที่ไม่เที่ยง ได้แก่ จักษุใช่ไหม พึงแยกแยะตอบว่า ไม่เฉพาะจักษุเท่านั้น แม้โสตะ ฆานะ เป็นต้น ก็ไม่เที่ยง
3. ปฏปจฉาพยากรณียปัญหา ปัญหาที่ไม่ควรตอบโดยย้อนถาม เช่น ถามว่าจักษุฉันใด โสตะก
โสตะก็ฉันนั้น โสตะฉันใด จักษุก็ฉันนั้น ใช่ไหม พึงย้อนถามว่า มุ่งความหมายแง่ใด ถามใด หมายถึง แง่ใช้ดูหรือเห็น ก็ไม่ใช่ แต่ถ้ามุ่งความหมายแง่ว่าไม่เที่ยงก็ใช่
4. ฐปนียปัญหา ปัญหาที่พึงยับยั้ง หรือพับเสีย ไม่ควรตอบ เช่น ถามว่า ชีวะกับสรีระ คือ สิ่งเดียวกันใช่ไหม พึงยับยั้งเสียไม่ต้องตอบ นี้ก็เป็นเพียงตัวอย่างสั้น ๆ ง่าย ๆ เพื่อความเข้าใจเบื้องต้น เมื่อว่าโดยใจความ
ปัญหาแบบที่ 1 ได้แก่ ปัญหาซึ่งไม่มีแง่ที่จะต้องชี้แจงหรือไม่มีเงื่อนงำ จึงตอบแน่นอนลงไปอย่างใดอย่างหนึ่งได้ทันที เช่น อีกตัวอย่างหนึ่งว่าคนทุกคนต้องตายใช่ไหม ก็ตอบได้ทันทีว่าใช่
ปัญหาแบบที่ 2 ได้แก่ แง่ซึ่งจะต้องมีเรื่องที่จะต้องชี้แจง โดยใช้วิธีภัชชวาทต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว
ปัญหาแบบที่ 3 พึงย้อนถามความเข้าใจกันก่อนจึงจะตอบ หรือตอบด้วยอาการย้อนถาม หรือสอบถามไปตอบไป อาจใช้ ประกอบไปกับการตอบ แบบที่ 2 คือ ควบกับวิภัชชพยากรณ์ในบาลี พระพุทธเจ้าทรงใช้วิธีย้อนถามบ่อย ๆ และด้วยการทรง ย้อนถามนั้น ผู้ถามจะค่อย ๆ เข้าใจสิ่งที่เขาถามไปเอง หรือช่วยให้เขาตอบปัญหาของเขาเอง โดยพระองค์เพียงทรงชี้แนะ แง่คิดต่อให้ ไม่ต้องทรงตอบ ส่วนปัญหาแบบที่ 4 ซึ่งควรยับยั้งไม่ตอบ ได้แก่ คำถามเหลวไหลไร้สาระจำพวก หนวดเต่าเขากระต่ายบ้าง ปัญหาที่เขายังไม่พร้อมที่จะเข้าใจ จึงยับยั้งไว้ก่อน หันไปทำความเข้าใจเรื่องอื่น ที่เป็นการเตรียมพื้นของเขาก่อน แล้วจึงค่อยมาพูดกันใหม่หรือให้เข้าใจได้เองบ้างปัญหาที่ตั้งมาไม่ถูก โดยคิดขึ้นจากความเข้าใจผิด ไม่ตรงตามสภาวะหรือไม่มีตัวสภาวะอย่างนั้นจริง เช่น ตัวอย่างในบาลี มีผู้ถามว่า ใคร เป็นต้น ซึ่งไม่อาจตอบตามที่เขาอยากฟังได้ จึงต้องยับยั้งหรือพับเสีย อาจชี้แจง เหตุผลในการไม่ตอบ หรือให้เขาตั้งคำถามใหม่ให้ถูกต้องตามสภาวะ เรื่องโยนิโสมนสิการ ขอกล่าวไว้โดยย่อ เพียงเท่านี้ก่อน และขอสรุปโดยทวนหลักการทั่วไป เมื่อมีโยนิโสมนสิการสัมมาทิฎฐิก็เกิดขึ้นได้ เมื่อสัมมาทิฎฐิเกิดขึ้นองค์ประกอบมูลฐานของมรรควิธีแห่งการแก้ปัญหา หรือมรรคาแห่งความดับทุกข์ จากนั้นกระบวนการแห่งการศึกษาก็ดำเนินต่อไป |
|
|
|
   |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.ย. 2008, 10:50 am |
  |
เอาตัวหลักปฏิจจสมุปบาทมาเซิพๆ ให้คุณเฉลิมศักดิ์ทำความเข้าใจพื้น
ฐานก่อนว่าเป็นดังที่มุ่งนึกคิดไปด้านเดียวหรือไม่ ดูครับ =>
ปฏิจจสมุปบาท - การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆจึงเกิดมี
ตัวกฎหรือตัวสภาวะ
ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในรูปของกฎ
ธรรมชาติหรือหลักความจริง
ที่มีอยู่โดยธรรมดา ไม่เกี่ยวกับการอุบัติของพระศาสดาทั้งหลาย
พุทธพจน์ที่แสดงปฏิจจสมุปบาทในรูปของกฎธรรมชาติว่า ดังนี้
ตถาคตทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุ (หลัก) นั้น ก็ยังคงมี
อยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม คือหลักอิทัปปัจจยตา
ตถาคตตรัสรู้ เข้าถึงหลักนั้นแล้ว จึงบอก แสดง วางเป็นแบบ
ตั้งเป็นหลัก เปิดเผย แจกแจง ทำให้เข้าใจง่าย และจึงตรัส
ว่า จงดูสิ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา คือหลัก
อิทัปปัจจยตา ดังกล่าวมานี้แล เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท
(สํ.นิ.16/61/30) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.ย. 2008, 10:53 am |
  |
-ต่อ
ความสำคัญของปฏิจจสมุปบาท จะเห็นได้จากพุทธพจน์ว่า
ผู้ใด เห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้น ย่อมเห็นธรรม ผู้ใด เห็นธรรม
ผู้นั้น ย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาท - (ม.มู.12/346/359)
ภิกษุทั้งหลาย แท้จริง อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ย่อมมีญาณ
หยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ฯลฯ
เมื่อใด อริยสาวกรู้ทั่วถึงความเกิดและความดับของโลกที่มันเป็นอย่าง
นี้ อริยสาวกนี้ เรียกว่าเป็นผู้มีทิฐิสมบูรณ์ก็ได้ ผู้ทัศนะสมบูรณ์ก็ได้
ผู้ลุถึงสัทธรรมก็ได้ ว่าผู้ประกอบด้วยเสขญาณก็ได้ ผู้ประกอบด้วย
เสขวิชชา ก็ได้ ผู้บรรลุกระแสธรรมก็ได้ พระอริยะผู้มีปัญญาชำแรก
กิเลสก็ได้ ผู้อยู่ชิดประตูอมตะก็ได้
(สํ. นิ. 16/184-187/94-96 ฯลฯ)
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้จักธรรมเหล่านี้ รู้จักเหตุเกิด
แห่งธรรมเหล่านี้ รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จักดำเนินถึงความดับ
แห่งธรรมเหล่านี้ ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นแล จึงควร
แก่การยอมรับว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ และยอมรับได้ว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และจึงได้ชื่อว่า ได้บรรลุประโยชน์ของความ
เป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
เอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
( สํ. นิ. 16/41,94-5, 306-8/19,53,158) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.ย. 2008, 10:55 am |
  |
ความหมายของศัพท์ดังนี้
ตถตา-ภาวะที่เป็นอย่างนั้น -(objectivity)
อวิตถตา - ภาวะที่ไม่คลาดเคลื่อนไปได้- (necessity)
อนัญญถตา -ภาวะที่ไม่เป็นอย่างอื่น - (invariability)
อิทัปปัจจยตา - (conditionality)
ปฏิจจสมุปบาท - (dependent origination)
อิทัปปัจจยตา เป็นชื่อหนึ่งของหลักปฏิจจสมุปบาท แปลตามตัวอักษร
ว่า การประชุมปัจจัยของสิ่งเหล่านี้ หรือภาวะที่มีอันนี้ๆ เป็นปัจจัย
ในอภิธรรม นิยมเรียกว่า ปัจจยาการ แปลว่า อาการที่เป็นปัจจัย
(mode of conditionality) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.ย. 2008, 7:49 pm |
  |
กรัชกาย พิมพ์ว่า: |
อ้างอิงจาก: |
ถ้าขาดคามินธรรมก็เหงา
ไหนๆก็รู้วิธีซ้อมตายมาแล้ว
ซ้อมใหญ่กันเลยไหม |
คุณ mes กับคุณคามินรูปงาม มาซ้อมตายกันอยู่ที่นี่เอง
ไม่ซ้อม...นั่นๆ ตามคำเชิญของท่าน Admin ก่อนจุติ ปฏิสนธิบ้างอีก
รึ
ที่ว่า (ผมจะนั่งดูว่าพวกท่านจะ "จัดการกันเอง" อย่างไร !)
อ้างอิงจาก: |
เรื่องลบ หรือแบน ชื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งนั้นเป็นเรื่องง่ายๆ มาก แต่ไม่ใช่ทางที่แก้ปัญหาที่ดี ถ้าลบเดี๋ยวคุณก็ใช้ชื่อใหม่ หรือไม่คุณก็ไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่ เดี๋ยวก็ไปก่อปัญหาให้เว็บบอร์ดแห่งอื่นๆ อีกไม่รู้จบสิ้น ฉะนั้น
ผมจะนั่งดูว่าพวกท่านจะ "จัดการกันเอง" อย่างไร !
เปิดโอกาสให้ทุกท่านได้โพสกระทู้ทำความตรงกันว่าจะตกลงกันอย่างไร? แต่ไม่ใช้คำพูดที่พาดพิงกันรุนแรง หรือโทษคนนั้นคนนี่อีก อย่างที่เคยโพสไว้
|
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17488
ขอความร่วมมือจากท่านสมาชิกที่มีรายชื่อดังข้างล่างนี้
ได้โปรดกรุณาสำรวมระวังในการแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ
1. คุณกรัชกาย
2. คุณขันธ์
3. คุณคามินธรรม
4. คุณ natdanai
5. คุณ mes |
.........  |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.ย. 2008, 7:55 pm |
  |
ไม่แสดงข้อธรรมหรือพูดอะไรบ้างหรอครับคุณ natdanai
มายิ้ม อยู่ได้  |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
05 ก.ย. 2008, 3:05 pm |
  |
กรัชกาย พิมพ์ว่า: |
ไม่แสดงข้อธรรมหรือพูดอะไรบ้างหรอครับคุณ natdanai
มายิ้ม อยู่ได้ |
เราทั้งหมดมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์.....และกรรมก็เป็นตัวที่จะนำเราไปเกิด....จะดับทุกข์เกิดได้ก็ต้องดับที่กรรม.......  |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
06 ก.ย. 2008, 6:53 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
ตามหลักปรมัตถธรรม หรือตามสภาวะนั้น คนตายหรือสัตว์ตายไม่มี คนตายหรือสัตว์ตาย เป็นเพียงเราสมมุติพูดกันให้เข้าใจเท่านั้น
อันหมายถึงว่าคนที่ไม่หายใจแล้ว คือคนตาย แต่ตามสภาวธรรมกลับตรงกันข้าม คนจะตายหรือคนกำลังมีชีวิตอยู่ ธรรมชาติของจิตก็เกิดดับสืบต่อไป และทำงานเช่นนั้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนว่า สภาวะ คือธรรมชาติทั้งหลายจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องอาศัยเหตุ ถ้าปราศจากเหตุเสียแล้วก็หาเกิดขึ้นมาไม่ได้ แต่เหตุที่ว่านี้มีหลายชั้น เป็นเหตุใกล้ๆ ตื้นๆ เผินๆ เห็นง่ายก็มี แต่เหตุที่ไกลๆ ลึกซึ้ง เห็นได้ยากก็มี ปัญหาต่างๆ ของชีวิต เช่น ชีวิตคืออะไร มาจากไหน เป็นเรื่องล้ำลึก ถ้าไม่ได้อาศัยสัพพัญญุตาญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็จะเข้าไม่ |
คุณ mes อ้างอิงบทความนี้ เพื่ออะไรครับ ?
หรือ จะอ้างว่าไม่สอดคล้องกับ พระสัทธรรม พระไตรปิฏก อรรถกถา ตรงไหน ?
หรือ จะอ้างว่า ไม่สอดคล้องกับ คำสอนของอาจารย์พุทธทาสของท่าน ?
ที่ไม่เห็นด้วยกับการอธิบายเรื่อง หลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด เพราะไม่เกี่ยวกับหลักการเกิดตัวกู-ของกู (ชาติ ในความหมายของท่านพุทธทาส) |
|
|
|
  |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
06 ก.ย. 2008, 8:44 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
อ้างอิงจาก:
ตามหลักปรมัตถธรรม หรือตามสภาวะนั้น คนตายหรือสัตว์ตายไม่มี คนตายหรือสัตว์ตาย เป็นเพียงเราสมมุติพูดกันให้เข้าใจเท่านั้น
อันหมายถึงว่าคนที่ไม่หายใจแล้ว คือคนตาย แต่ตามสภาวธรรมกลับตรงกันข้าม คนจะตายหรือคนกำลังมีชีวิตอยู่ ธรรมชาติของจิตก็เกิดดับสืบต่อไป และทำงานเช่นนั้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนว่า สภาวะ คือธรรมชาติทั้งหลายจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องอาศัยเหตุ ถ้าปราศจากเหตุเสียแล้วก็หาเกิดขึ้นมาไม่ได้ แต่เหตุที่ว่านี้มีหลายชั้น เป็นเหตุใกล้ๆ ตื้นๆ เผินๆ เห็นง่ายก็มี แต่เหตุที่ไกลๆ ลึกซึ้ง เห็นได้ยากก็มี ปัญหาต่างๆ ของชีวิต เช่น ชีวิตคืออะไร มาจากไหน เป็นเรื่องล้ำลึก ถ้าไม่ได้อาศัยสัพพัญญุตาญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็จะเข้าไม่
คุณ mes อ้างอิงบทความนี้ เพื่ออะไรครับ ?
หรือ จะอ้างว่าไม่สอดคล้องกับ พระสัทธรรม พระไตรปิฏก อรรถกถา ตรงไหน ?
หรือ จะอ้างว่า ไม่สอดคล้องกับ คำสอนของอาจารย์พุทธทาสของท่าน ?
ที่ไม่เห็นด้วยกับการอธิบายเรื่อง หลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด เพราะไม่เกี่ยวกับหลักการเกิดตัวกู-ของกู (ชาติ ในความหมายของท่านพุทธทาส) |
ตอนแรกที่คุณเฉลิมศักดิ์เห็นข้อความนี้คิดว่าเป็นของท่านพุทธท่าสจึงโจมตี
โดยที่ไม่ทราบว่าเป็นของท่านบุญมี
พอรู้เข้าจึงมาแก้เกี้ยว
ที่ถามว่า
คุณ mes อ้างอิงบทความนี้ เพื่ออะไรครับ ?
ตอบว่า
เพื่อเอามาเกี่ยวเบ็ดตกปลา
ได้มาตัวเบอร์เริ่มเลย |
|
|
|
   |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
06 ก.ย. 2008, 9:59 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
color=blue]อ้างอิงจาก:
อ้างอิงจาก:
ขอให้ท่านทำความเข้าใจเอาไว้แต่เพียงว่าคนตาย หรือสัตว์ตายนั้น มิได้มีจริงๆ ทั้งรูปทั้งนามก็ย่อมจะผันแปรเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย เวลานี้มีรูปมีนามอยู่ที่นี่ เผลอไปอีกวินาทีหนึ่ง รูปนามนี้ก็อาจจะสืบต่อไปอยู่ในท้องของมารดา เป็นเพียงจุดเล็กๆจุดหนึ่งของมารดาอีกคนหนึ่งเสียก็ได้ แล้วต่อไปอีกไม่นานสักเท่าใดก็เป็นไปอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะได้เกิดเป็นเปรต อสุรกาย หรือเกิดเป็นเทวดา [/color]
เฉลิมศักดิ์ออกมากล่าวหาผมว่า
คงเป็นคำสอนของท่านพุทธทาส ที่คุณ mes ออกมาปกป้อง
คุณ mes ครับ เปรต อสุรกาย เทวดา ท่านพุทธทาสได้ให้คำจำกัดความ ว่าหมายถึงคนที่มีภาวะจิตใจต่าง ๆ ( ไม่เกี่ยวกับการตายเข้าโลง)ไว้ดังนี้ครับ ( ไม่ใช่ โอปปาติกะ ในภพภูมิต่าง ๆ )
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/language30.html
ผมตอบว่า
ข้อความข้างบนนี้เป็นของท่าน บุญมี เมธางกูร
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/BM/after.doc
หลังจากผมเปิดเผยบทความนี้แล้วเฉลิมศักดิ์ถึงได้มาตอบกระทู้นี้ |
|
|
|
|
   |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
06 ก.ย. 2008, 10:00 am |
  |
ดูข้อความเต็มๆของผม
อ้างอิงจาก: |
อ้างอิงจาก:
อ้างอิงจาก:
อ้างอิงจาก:
เมื่อท่านตายแล้วท่านจะไปไหน
เรื่องของความตายนี้ ถ้าจะว่าโดยปรมัตถธรรมอันเป็นความจริง จริงๆแล้วความตาย นั้นไม่มี คนเกิด คนตาย สัตว์เกิดหรือสัตว์ตายก็ไม่มีเหมือนกัน ทำไมถึงได้ว่าดังนั้น
เมื่อเราตัดต้นไม้มา นั่นก็คือเราตัด รูป คือต้นไม้นั้นแล้วมาทำเป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ เมื่อตัดออกแล้วก็สมมุติเรียกกันว่าต้นไม้ตาย รูปซึ่งเป็นต้นไม้นั้นก็มาเปลี่ยนแปลงเป็นโต๊ะเก้าอี้ไป..... เมื่อโต๊ะและเก้าอี้ซึ่งเป็นรูปผุพังลง โต๊ะเก้าอี้ก็หายไปจากสายตา มันก็กลายสภาพเป็นรูปไปอีกแบบหนึ่ง คือ ดิน แต่ดินเราก็เรียกว่าเป็น รูป เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้เราจะพูดว่าโต๊ะเก้าอี้ตายก็ย่อมได้เหมือนกัน
ดังนั้นต้นไม้ก็คือ ..รูป โต๊ะเก้าอี้ก็คือ รูป... และดินก็คือ รูป
แต่รูปเหล่านี้มันไม่เหมือนกัน เราจึงสมมุติตั้งชื่อมันว่า.. ต้นไม้ โต๊ะเก้าอี้ และดิน เราตั้งชื่อมันเสียใหม่ เพื่อหวังว่าจะได้พูดกันให้รู้เรื่อง
เหมือนกับต้นไม้ตาย ความจริงต้นไม้มิได้ตาย เราจึงสมมุติให้เป็นที่เข้าใจกัน
เหมือนกับรถยนต์ตาย ความจริงรถยนต์มิได้ตาย แต่มันแล่นไปไม่ได้..เพราะเครื่องมันเสียเท่านั้นเอง เราก็สมมุติเพื่อจะให้รู้เรื่องว่า รถยนต์ตาย
ด้วยเหตุดังนี้เอง รูปคือร่างกายของสัตว์ทำการงานไปตามปกติมิได้แล้ว จิตใจหรือวิญญาณมิได้เกิดขึ้นมาได้แล้ว เราจึงได้สมมุติพูดกันว่า คนตายหรือสัตว์ตาย
แท้ที่จริง รูปคือร่างกายของคนหรือสัตว์ ที่เกิดดับเปลี่ยนแปลงไปมาในวินาทีหนึ่งตั้งมากมาย.. แม้จิตใจหรือวิญญาณของคนหรือสัตว์ก็เหมือนกัน ก็ย่อมจะเกิดดับเปลี่ยนแปลงไปมาในวินาทีหนึ่งนับไม่ไหว
ทั้งรูปและนามเกิดดับตลอดชั่วชีวิตหนึ่งนั้นนับคำนวณไม่ได้เลย.มีที่แปลกอยู่ตรงที่ว่า เมื่อชีวิตเกิดขึ้นมาใหม่ ในภพชาติใหม่นั้น มีรูปกายแปลกออกไป และจิตใจเมื่อไปได้สิ่งแวดล้อมใหม่เข้าแล้ว ก็อาจจะผิดไปบ้างนิดๆหน่อยๆ และค่อยๆผิดไปทีละน้อยๆ ตามแต่เหตุปัจจัยที่มาผันแปร
ถ้าจะว่าไปก็เปรียบเหมือนต้นไม้เมื่อก่อน แต่เดี๋ยวนี้มาเปลี่ยนเป็นโต๊ะเป็นเก้าอี้ไปเสียแล้ว.. และต่อมาก็เป็นดินไปอีก
แม้ผมจะได้อธิบายถึงปรมัตถธรรมว่า ไม่มีคนตาย ไม่มีสัตว์ตายก็จริง แต่ผมก็จำต้องอธิบายเรื่องความตายให้ท่านฟัง โดยเอาคำที่สมมุติกันว่าตายออกมาใช้ หาได้แล้วจะอธิบายได้อย่างไร
ขอให้ท่านทำความเข้าใจเอาไว้แต่เพียงว่าคนตาย หรือสัตว์ตายนั้น มิได้มีจริงๆ ทั้งรูปทั้งนามก็ย่อมจะผันแปรเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย เวลานี้มีรูปมีนามอยู่ที่นี่ เผลอไปอีกวินาทีหนึ่ง รูปนามนี้ก็อาจจะสืบต่อไปอยู่ในท้องของมารดา เป็นเพียงจุดเล็กๆจุดหนึ่งของมารดาอีกคนหนึ่งเสียก็ได้ แล้วต่อไปอีกไม่นานสักเท่าใดก็เป็นไปอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะได้เกิดเป็นเปรต อสุรกาย หรือเกิดเป็นเทวดา
ว่าโดยปรมัตถ์ คนหรือสัตว์คือทั้งรูปทั้งนาม ก็แตกดับไปแล้วก็เกิดทดแทนขึ้นมาใหม่อยู่ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ ..ซึ่งก็คือได้ตายไปอยู่ทุกวินาที
อย่างนี้คุณเฉลิมศักดิ์ว่าอย่างไหง
ชาตินี้ ชาติหน้า อยู่ไหน
ข้อความข้างบนนี้คุณเฉลิมศักดิ์มีความเห็นอย่างไรครับ
สำหรับผม ผมยอมรับและศึกษาครับ
แปลว่าเชื่อ
|
|
|
|
|
   |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
06 ก.ย. 2008, 10:02 am |
  |
การพิจารณาธรรมของผมขึ้นอยู่กับสารัตถะ
ไม่ได้ขึ้นกับฉันทาคติ
คุณเฉลิมศักดิ์เป็นอเสขะหรือเปล่า
ถึงได้บันลือสีหนาถตัดสินผิดถูก
ฟันธงเช่นนี้ |
|
|
|
   |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
07 ก.ย. 2008, 5:50 am |
  |
คุณ mes อ้างอิงบทความนี้ เพื่ออะไรครับ ?
หรือ จะอ้างว่าไม่สอดคล้องกับ พระสัทธรรม พระไตรปิฏก อรรถกถา ตรงไหน ?
หรือ จะอ้างว่า ไม่สอดคล้องกับ คำสอนของอาจารย์พุทธทาสของท่าน ?
ที่ไม่เห็นด้วยกับการอธิบายเรื่อง หลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด เพราะไม่เกี่ยวกับหลักการเกิดตัวกู-ของกู (ชาติ ในความหมายของท่านพุทธทาส)
อ้างอิงจาก: |
ตอบว่า
เพื่อเอามาเกี่ยวเบ็ดตกปลา
ได้มาตัวเบอร์เริ่มเลย |
นึกว่าตั้งกระทู้ขึ้นมาสนทนาธรรม ที่แท้ก็เกิดจากจิต ที่เป็น อกุศล นี่เอง
แต่ สมาชิกท่านแรกที่เข้ามาอ่าน ท่านก็กล่าวอนุโมทนา สาธุด้วย
คงจะผิดวัตถุประสงค์ของการตั้งกระทู้นี่ ของคุณ mes |
|
|
|
  |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
07 ก.ย. 2008, 10:05 am |
  |
กระทู้นี้ตั้งขึ้นมาเพื่อสนทนาธรรม
แต่เพราะรู้ว่าคุณไม่สนทนาธรรม
เพราะด้วยจิตอกุศลตั้งหน้าตั้งตาโจมตีท่านพุทธทาส สัมมาปฏิปทาสงฆ์
ผมจึงตั้งไว้ในกระทู้ พฤติกรรมเบี่ยงเบน....ของคุณด้วย
กระทู้นี้แสดงถึงจิตเป็นกุศลของผมศิษย์ท่านพุทธทาสเป็นอย่างยิ่ง
เพราะผมไม่มีอคติกับใคร
ของท่านบุญมีที่เป็นธรรมะที่ถูกที่ดีผมก็รับได้
ไม่ได้รังเกียจ ไม่มีแบ่งเขาแบ่งเรา
ไม่มีตัวกูของกู
มีแต่ธรรมะ คือ ธรรมชาติที่ท่านพุทธทาสสอนไว้
ไม่ให้เห็นแก่ตัว
มีความรักความปราถนาดีกับทุกคน
อีกทั้งเนื้อความตอนนี้ก็ไม่ได้กล่าวถึงข้ามชาติข้ามภพเลย แต่ผมก็ไม่ปฏิเสธ
ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในแต่ละกรณีๆไป
จึงเป็นอีกตัวอย่างให้คุณเฉลิมศักดิ์ได้รู้ไว้อีกอย่างหนึ่งว่า
การตัดตอนบทความมานั้นจะทำให้ขาดความสมบูร์ณในเนื้อหา
ที่คุณกระทำคือตัดตอนมาเป็นฤาษีแปลงสารแล้วใส่ร้าย
ภาษาปัญญาชนเขาเรียกว่า ชั่วร้าย
เขาเรียกอย่างนั้นจริงๆ
การแสดงธรรมต้องแสดงด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ต้องตามแต่ละกรณีและเหตุการณ์
อย่างที่เรียกว่าวิภัชชวาท
อย่างในกระทู้ของผมที่ชื่อ ศาสนาพุทธใครตั้ง
คุณรีบนำเอาบทความท่านพุทธทาสไปโพสหวังให้คนเห็นด้วยกับคุณ
รวมหัวกันมามาคัดค้านผม
กลับกลายเป็นมีคนโมทนาสาธุว่าเป็นประชาธิปไตยอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้าในเนื้อความนั้น
ก็เป็นธรรมดาเป็นธรรมชาติที่จะมีคนหลากหลายประเภทในโลกนี้
ทั้งคนดีและคนเลว
สุดแต่ใครจะเลือกเป็นอะไร
แต่คุณยังไม่เลิกความพยายาม
คุณจะสร้างอกุศลอะไรต่อไปก็เป็นเรื่องของคุณ
ไม่ใช่ธุระผมอีกต่อไป
คนพาลเมื่อรู้ตัวว่าพาลคือบัณฑิต
คนพาลที่คิดว่าตนนั้นคือบัณฑิต
นั่นแหละพาล
ขอธรรมะจงเจริญในทุกท่าน |
|
|
|
   |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ย. 2008, 6:05 am |
  |
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ย. 2008, 6:16 am |
  |
[quote]กระทู้นี้แสดงถึงจิตเป็นกุศลของผมศิษย์ท่านพุทธทาสเป็นอย่างยิ่ง
เพราะผมไม่มีอคติกับใคร
ของท่านบุญมีที่เป็นธรรมะที่ถูกที่ดีผมก็รับได้
ไม่ได้รังเกียจ ไม่มีแบ่งเขาแบ่งเรา
ไม่มีตัวกูของกู
มีแต่ธรรมะ คือ ธรรมชาติที่ท่านพุทธทาสสอนไว้
ไม่ให้เห็นแก่ตัว
มีความรักความปราถนาดีกับทุกคน [/quote]
คุณ mes หรือ คุณกำลังฟุ้งครับ หรือท่านใดที่เป็นศิษย์ท่านพุทธทาส ช่วยนำ คำวิจารณ์ของท่านพุทธทาสต่อพระอภิธรรม มาลงไว้เพื่อที่ลานธรรมจักร ก็ดีนะครับ จะได้รู้ว่าทัศนคติของท่านเป็นอย่างไร
และ ทัศนคติของท่านในเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ที่ใส่ร้ายอรรถกถา พระพุทธโฆษาจารย์ พระอนุรทธาจารย์ ในหนังสือ ปฏิจจสมุปบาท ชุดลอยปมุม
มีศิษย์ท่านพุทธทาสใช้นามแฝงว่า กำลังฟุ้ง เคยเผยแพร่ทิฏฐิของท่านพุทธทาสไว้ที่ลานธรรมเสวนา ข้อมูลได้หายไป
อภิธรรมคืออะไร? โดยท่านพุทธทาส (40หน้าแรก)
http://larndham.net/index.php?showtopic=11582&st=0
คุณ mes จะช่วยสานต่อแนวความคิดนั้นก็ได้นะครับ ( ไม่รู้ว่าได้สำเนาเก็บไว้หรือเปล่าครับ ? ) |
|
|
|
  |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ย. 2008, 8:11 am |
  |
คุณก็แค่กล่าวหาใส่ร้ายวนไปวนมาอยู่ตรงนี้
มีผู้ที่อุตส่าห์หาทางออกให้
ช่วนสนทนาธรรมคุณก็ไม่สนใจ
คุณจะเชื่อใครไม่เชื่อใครไม่มีใครบังคับคุณหรอก
ขณะเดียวกันก็ไม่ใช่ธุระของคุณที่จะไปบังคับใครให้เชื่อคุณได้
ในเมื่อคุณเลือกเดินทางนั้น
ก็เชิญเถอะ |
|
|
|
   |
 |
|