ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
อุศิณีย์
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 09 ส.ค. 2007
ตอบ: 25
ที่อยู่ (จังหวัด): นนทบุรี
|
ตอบเมื่อ:
03 ก.ย. 2008, 12:24 pm |
  |
กรุณาใช้วิจารณญานในการอ่านข้อความในกระทู้นี้
admin
4 ก.ย.51
ฆ่าตัวตายเป็นบาปมากค่ะ ต้องตกนรกและชดใช้เวรกรรมอยู่นาน เพราะร่างกายนี้พ่อแม่ให้เรามา เรามาทำลายโดยไม่ได้สร้างบุญทดแทนคุณท่าน แถมถ้าเกิดมาเป็นคน ก็จะต้องถูกฆ่าอีกหลายภพหลายชาติ จนหมดกรรม อย่าคิดสั้นเลยค่ะ |
|
_________________ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำมั่วไม่เจริญ |
|
   |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
03 ก.ย. 2008, 12:30 pm |
  |
หวังว่า ในกรณีพระฉันนะและกรณีพระวักกลิฆ่าตัวตาย จะทำให้ท่านเข้าใจในเรื่อง
ศีล 5 มากขึ้นนะครับว่า ผิดศีล 5 ไม่ได้เป็นบาปแต่อย่างใดเลย ถ้าจิตเจตนา
เป็นกุศลก็เป็นบุญใหญ่ หรือมหากุศล ดังเช่น พระเวสสันดรยกเมียและลูกให้เป็น
ทาส หรือเจ้าชายสิทธิทัตถะทิ้งลูกทิ้งเมียออกบวช
และในกรณีพระฉันนะและกรณีพระวักกลิฆ่าตัวตาย จิตเจตนาของท่านเป็นกิริยา
เฉยๆจึงไม่ได้เป็นบาปและไม่ได้เป็นบุญ กรณีที่เป็นบาป คือ จิตเจตนาเห็นแก่ตัว
เบียดเบียนของคนอื่นเพื่อประโยชน์ของตนเองเท่านั้น |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
03 ก.ย. 2008, 12:33 pm |
  |
JARUWAN_G พิมพ์ว่า:
แต่การฆ่าตัวตายก็บาปมากนะ วิญญาณอาจจะไปไหนไม่ได้ ต้องอยู่ที่เดิมตลอด จนกว่าจะหมดกรรมถึงจะได้ไปรับกรรมอย่างอื่นต่อ
เนื่องจากหลายท่านยังไม่เข้าใจสิ่งที่ผมอธิบายว่า การผิดศีล 5 ไม่ได้เป็นบาป
แต่อย่างใด การผิดศีล 5 ที่เป็นบาปต้องประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้ ผมสรุปจาก
คำสอนของพระพุทธเจ้า คือ
1. ต้องมีเจตนาอย่างใดอย่างหนึ่งในจิตในการทำสั่งนั้น เพราะ เจตนาคือกรรม
2. บาปมีทั้งทางกาย วาจา ใจ
3. แต่ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ ถ้ากายทำ วาจาทำ แต่ใจไม่ได้ทำ ก็ไม่บาป
4. จิตเจตนากระทำ ถ้าจิตเจตนาเป็นกุศล ก็เป็นบุญ ถ้าจิตเจตนาเป็นอกุศลก็เป็น
บาป ถ้าไม่มีจิตเจตนาทั้ง 2 อย่างก็เป็นกิริยาเฉยๆ ไม่เป็นบาปและบุญ
5. ธรรมหรือความเป็นไปทั้งปวง จะดี (เป็นกุศล เป็นบุญ) ก็ตาม จะไม่ดี (เป็นอกุศล เป็นบาป) ก็ตาม เกิดขึ้นได้ก็เพราะใจคิด ใจอยาก ใจต้องการ
เพื่อความเข้าใจเรื่องนี้ดีขึ้น แม้แต่การฆ่าตัวตายก็ไม่ได้เป็นบาป ผมขอยก
ตัวอย่างในพระไตรปิฎก ที่มีพระอรหันต์หลายท่านที่ฆ่าตัวตาย
1. ในฉันโนวาทสูตรชี้ชัดว่า ไม่มีพุทธพจน์ใดๆ แสดงว่า การฆ่าตัวตาย เป็นบาป
แต่ในฉันโนวาทสูตร พระพุทธองค์ให้หลักการไว้ในเรื่อง ควรถูกตำหนิหรือไม่
ควรถูกตำหนิ โดยทรงให้หลักการว่า
" บุคคลใดแล ทิ้งกายนี้และยึดมั่นกายอื่น บุคคลนั้นเราเรียกว่า ควรถูกตำหนิ
ฉันนภิกษุหามีลักษณะนั้นไม่ ฉันนภิกษุหาศาตรามาฆ่าตัวอย่างไม่ควรถูกตำหนิ ฯ ..."
จะเห็นว่า "ฆ่าตัวตาย ผิดศีลข้อ 1 ชัดๆ แต่ไม่ถือว่าเป็นบาป (ปาณาติบาต)
เพราะจิตของพระอรหันต์ทำอะไรทุกอย่างเป็นแค่กิริยาเท่านั้น
2. และในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย
ขันธวารวรรค เรื่องวักกลิ ที่ฆ่าตัวตาย ก็ชี้ชัดในเรื่องการฆ่าตัวตายไม่ได้เป็นบาป
ผมขอยกมาชี้ให้เห็น
.......ท่านขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า
และ(พระวักกลิ)ยัง
ได้สั่งมากราบทูลอย่างนี้ว่า
พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่เคลือบแคลงว่า รูปไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า สิ่งใด ไม่เที่ยง
สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ไม่สงสัยว่า สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ความพอใจก็ดี ความกำหนัดก็ดี ความรักใคร่ก็ดี ในสิ่งนั้น มิได้มีแก่ข้าพระองค์.
ข้าพระองค์ไม่เคลือบแคลงว่า เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง
ไม่สงสัยว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ไม่สงสัยว่า สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ความพอใจก็ดี กำหนัดก็ดี ความรักใคร่ก็ดี ในสิ่งนั้น มิได้มีแก่ข้าพระองค์ ดังนี้.
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระวักกลิแล้วหลีกไป ครั้งนั้น เมื่อภิกษุเหล่านั้น หลีกไปไม่นาน ท่านพระวักกลิก็นำเอาศาตรามา....(เชือดคอตาย)
จะเห็นได้ชัดว่า พระวักกลิบรรลุอรหันต์ก่อนแล้ว ท่านก็ได้เชือดคอตาย แต่ไม่
ถือว่าเป็นบาป เพราะจิตเจตนาของท่านไม่ได้เป็นอกุศลแต่อย่างใด ดังที่พระพุทธองค์
ตรัสสอนพระฉันนะว่า
" บุคคลใดแล ทิ้งกายนี้และยึดมั่นกายอื่น บุคคลนั้นเราเรียกว่า ควรถูกตำหนิ
ฉันนภิกษุหามีลักษณะนั้นไม่ ฉันนภิกษุหาศาตรามาฆ่าตัวอย่างไม่ควรถูกตำหนิ ฯ ..." |
|
|
|
  |
 |
ชาวมหาวิหาร
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 04 ก.ย. 2008
ตอบ: 9
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.ย. 2008, 3:45 am |
  |
ขณะใดเกิดโลภะ โทสะ โมหะ
ขณะนั้นเรียกได้ว่าเป็นบาป
แต่บาปนั้น จะถึงขั้นล่วงอกุศลกรรมบท
หรือล่วงปาณาติบาตหรือไม่ต้องพิจารณาอีกทีครับ
สำหรับเรื่องอัตวินิบาตกรรม
ท่าฎีกาจารย์ได้วินิจฉัยว่าไม่จัดเป็นปาณาติบาตครับ
(อาจจะบาปด้วยอกุศลจิตที่เกิดในขณะนั้น
แต่กรรมนี้ไม่จัดว่าเป็นปาณาติบาต)
ขอยกหลักฐานมาแสดงประกอบดังนี้นะครับ
----------------------------------------------------------------
จาก ปรมัตถโชติกะ
มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา
ปริเฉทที่ ๕: วีถิมุตตสังคหะ (เล่ม ๒)
ได้มีข้อความแสดงไว้ว่า
...........การฆ่าตัวเองอย่างเดียวจึงไม่จัดว่าเป็นการล่วงกรรมบถปาณาติปาตกรรม
อนึ่งในองค์แห่งปาณาติบาต ๕อย่างนั้น ผู้ฆ่าตัวเองตายย่อมไม่ครบองค์ ๕ คือขาดปาณสัญญิตา หมายความว่าในข้อที่ว่าสัตว์มีชีวิตนี้มิได้มุ่งหมายเอาตนเอง หมายเอาสัตว์อื่นๆ ที่นอกจากตนเท่านั้น ดังนั้นการฆ่าตัวเองจึงไม่ล่วงกรรมบถสำเร็จเป็นปาณาติบาตดังนั้นท่านฎีกาจารย์จึงได้แสดงไว้ในสารัตถทีปนีฏีกาและวิมติวิโนทนีฏีกาว่า
อตฺตานํ มุญฺจิตฺวา ปรปาณิมฺหิ ปาณสญฺญิตาลกฺขณสฺส
องฺคสฺส อภาวโต เนวตฺถิ ปาณาติปาโต
ปาณาติปาตกรรมย่อมไม่มีแก่ผู้ที่ฆ่าตัวเองตายโดยแน่
นอน เพราะขาดองค์ปาณสัญญิตาที่ว่าสัตว์มีชีวิตในสัตว์อื่นๆ
ที่นอกจากตนเอง
--------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
ผมไม่ได้เสนอข้อมูล
เพื่อแสดงว่าไม่บาป
เพียงแต่ "ไม่ได้จัดเข้าหมวดปาณาติบาต"
ยกตัวอย่างเช่น
พระเทวทัตทำพระพุทธเจ้าห้อพระโลหิต
กรรมนี้เป็นบาปที่หนักถึงขั้นอนันตริยกรรม
แต่ไม่ได้จัดอยู่ในหมวดล่วงปาณาติบาต
ขณะใดจิตเป็น โลภะ โทสะ โมหะ
ขณะนั้นย่อมเป็นบาป
แต่จะจัดเข้าหมวดปาณาติบาตหรือไม่
ต้องพิจารณาอีกที
และปาณาติปาตจะเกิดขึ้นได้ต้องประกอบด้วย องค์ ๕
-------------------------------------------------------------
องค์ ๕ นี้ได้แก่
๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ มีจิตคิดจะฆ่า
๔. ปโยโค ทำความเพียรเพื่อให้ตาย
๕. เตน มรณํ สัตว์นั้ตายลงด้วยความเพียรนั้น
-------------------------------------------------------------
ซึ่ง ชีวิตของสัตว์ใน องค์ของปาณาติปาตนี้
ท่านฎีกาจารย์ได้แสดงว่า หมายถึง
ชีวิตของสัตว์อื่นเท่านั้น |
|
แก้ไขล่าสุดโดย ชาวมหาวิหาร เมื่อ 04 ก.ย. 2008, 6:04 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.ย. 2008, 4:12 am |
  |
คุณพลศักดิ์เข้าใจผิดแล้วล่ะ
ก่อนเชือดคอตัวเอง ยังไม่ถึงอรหันต์
ท่านวกลีคิดว่าท่านเป็นอรหันต์แล้ว
แล้วคิดว่าไม่อยากอยู่เป็นทุกข์ต่อไปแล้ว
แล้วเลยเอามีดมาเชือดคอตัวเอง
ระหว่างเชือดคอ เกิดเวทนาขึ้น ท่านจึงรู้ว่าตัวเอง ยังไม่ถึง ยังไม่ใช่
เลยรีบทำกรรมฐาน แล้วหลุดพ้นได้ ก่อนสิ้นใจ
พระพุทธเจ้าเสด็จมา แล้วกล่าวตรัสถึงพวกมารที่มารอรับวิญญาน
ว่าหาท่านวกลีไม่พบ เพราะท่านได้นิพพานแล้ว (พระพุทธเจ้ารับรองว่านิพพาน)
อ้างอิงจาก: |
บทว่า สตฺถํ อาหเรสิ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระเป็นผู้มีมานะจัด. ท่านมองไม่เห็นการกลับฟุ้งขึ้นมา (อีก) แห่งกิเลสทั้งหลายที่ข่มไว้ได้ด้วยสมาธิและวิปัสสนา จึงมีความสำคัญว่า เราเป็นพระขีณาสพ แล้วคิด (ต่อไป) ว่า ชีวิตนี้เป็นทุกข์ เราจะอยู่ไปทำไม เราจักเอามีดมาฆ่าตัวตาย ดังนี้แล้ว ได้เอามีดที่คมมาเฉือนก้านคอ.
ทันใดนั้น ทุกขเวทนาก็เกิดขึ้นแก่ท่าน. ขณะนั้น ท่านจึงทราบว่า ตนเองยังเป็นปุถุชนอยู่เลย รีบคว้าเอากัมมัฏฐานข้อเดิมมาพิจารณา เนื่องจากว่าท่านยังไม่ได้ละทิ้งกัมมัฏฐาน (ไม่ช้า) ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วมรณภาพ (ทันที). |
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=215 |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
ชาวมหาวิหาร
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 04 ก.ย. 2008
ตอบ: 9
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.ย. 2008, 5:53 am |
  |
สำหรับที่ คุณ พลศักดิ์กล่าวไว้ ผมขอชี้แจงเพิ่มเติมดังนี้นะครับ
1. การผิดศีล 5 นี้เป็นบาปแน่นอน
สำหรับที่บอกว่าทำด้วยกิริยานั้น
กิริยาชวนจิตจะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในพระอรหันต์เท่านั้น
และท่านพ้นแล้วจากการล่วงศีล 5 ครับ
อย่าว่าแต่พระอรหันต์เลย แม้พระโสดาบันท่านก็ไม่อยู่ในฐานะ
ที่จะล่วงศีล 5 ได้เลยเพราะเป็นเหตุให้ไปสู่อบายภูมิและท่าน
ก็พ้นไปจากอบายภูมิแล้ว
2.ส่วนกาย วาจา ละเมิดศีล 5 แต่ใจไม่ทำบาป
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะเกิดขึ้นได้
เพราะขณะละเมิดศีล 5 นั้น
กายที่เคลื่อนอยู่เป็น จิตตชรูปที่เนื่องมาด้วย
อกุศลชวนวิถีที่เกี่ยวเนื่องกัน
หรือแม้แต่วาจามุสาที่เปล่งออกก็เป็น จิตตชรูป
ที่เนื่องมาจากอกุศลชวนวิถีที่เป็นบาป
3.ธรรมที่เป็นกุศล หรืออกุศล ย่อมมีสภาวะปรมัตถ์
ที่แน่นอนไม่ปะปนกัน ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับใจคิด ใจอยาก ใจต้องการ
เมื่อมีโยนิโสมนสิการ ย่อมเกิดจิตที่เป็นกุศล
แต่หากมีอโยนิโสมนสิการและไม่มีสติ ย่อมเกิดจิตที่เป็นอกุศล |
|
|
|
  |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.ย. 2008, 9:33 am |
  |
ผมก็ว่าผิดศีลนั้น บาปครับ
เพราะเมื่อก้าวล่วงศีลแล้ว เจตนาย่อมไม่บริสุทธิ์แน่นอน
ศีล 5 ประการนี้ ใครละเมิดแล้วบาปไม่เลือกหน้า คนในศาสนาพุทธละเมิดก็บาป คนที่เขาว่าฆ่าสัตว์ไม่เป็นบาปทำลงไปก็เป็นบาป คนที่ขนแกะไปเชือดบูชาพระเจ้าปีละหลาย ๆแสนตัวในบางศาสนาที่เขาว่าทำแล้วได้บุญ แต่เสร็จแล้วมันก็ได้บาป
"สีเลนะ สุคะติง ยันติ (ชนทั้งหลายย่อมไปสู่สุคติ เพราะศีล)
สีเลนะ โภคะสัมปะทา (ความถึงพร้อมด้วยโภคะ เพราะศีล)
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ (ชนทั้งหลายดับทุกข์ได้ ก็เพราะศีล)
ตัสมา สัลัง วิโสธเย (เพราะเหตุนั้น สาธุขนพึงชำระศีลให้บริสุทธิฯ)"
 |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.ย. 2008, 1:07 pm |
  |
ฌาณ พิมพ์ว่า: |
ผมก็ว่าผิดศีลนั้น บาปครับ
เพราะเมื่อก้าวล่วงศีลแล้ว เจตนาย่อมไม่บริสุทธิ์แน่นอน
ศีล 5 ประการนี้ ใครละเมิดแล้วบาปไม่เลือกหน้า คนในศาสนาพุทธละเมิดก็บาป คนที่เขาว่าฆ่าสัตว์ไม่เป็นบาปทำลงไปก็เป็นบาป คนที่ขนแกะไปเชือดบูชาพระเจ้าปีละหลาย ๆแสนตัวในบางศาสนาที่เขาว่าทำแล้วได้บุญ แต่เสร็จแล้วมันก็ได้บาป
"สีเลนะ สุคะติง ยันติ (ชนทั้งหลายย่อมไปสู่สุคติ เพราะศีล)
สีเลนะ โภคะสัมปะทา (ความถึงพร้อมด้วยโภคะ เพราะศีล)
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ (ชนทั้งหลายดับทุกข์ได้ ก็เพราะศีล)
ตัสมา สัลัง วิโสธเย (เพราะเหตุนั้น สาธุขนพึงชำระศีลให้บริสุทธิฯ)"
 |
1. ผู้ที่ฆ่าแกะไปบูชาพระเจ้า คุณรู้ได้อย่างไรครับว่าบาป ผมและน้องชายซิรู้จริง
เพราะท่องอยู่ในโลกวิญญาณมาหลายสิบปีแล้ว น้องชายของผมอยู่ที่อิหร่าน
เขายืนยันว่า พอคนในศาสนาอิสลามฆ่าแกะไปบูชาพระเจ้า พระเจ้าก็ให้เนื้อแกะนั้น
เป็นอาหารกับวิญญาณของคนที่เกิดเป็นเปรตกิน เพราะศาสนาอิสลามไม่รู้วิธีทำ
สังฆทาน คนในศาสนาอิสลามเขาแสดงความเคารพบูชาพระเจ้าแบบนั้น นั่นเป็นบุญ
ไหนๆก็พูดเรื่องนี้แล้ว พูดต่ออีกหน่อย
น้องผมเวลาท่องบทสวดมนต์แผ่เมตตาให้สรรพวิญญาณ ปรากฏว่าวิญญาณ
ของคนอิสลามได้รับด้วย เขามาขอบคุณ และบอกว่าบทแผ่เมตตาของชาวพุทธ
ทำให้เขาอิ่มไปนานเลย ไม่เหมือนกับการบูชาด้วยแกะต่อพระเจ้าที่ชาวอิสลามทำ
เขากินแล้ว ต่อไปก็หิวอีก
2. เรื่องอื่นผมขอไม่เถียง เพราะผมก็บอกที่มาของศีล 5 ไปแล้ว คุณจะเชื่อหรือไม่
เป็นสิทธิเสรีภาพของคุณ
ศีลเป็นเรื่องของโลก 95-99%ของคนที่ผิดศีล 5 ทำด้วยจิตอกุศลจึงเป็นบาป
แต่เอาหลักของศีล 5 ไปใช้ในกรณีที่จิตเป็นกุศล เอาเขาไปตกนรก ทำไม่ได้
ไม่เช่นนั้น พระเวสสันดร เจ้าชายสิททัตถะ ป่านนี้คงยังอยู่ในนรกเลย ไม่มีโอกาส
เป็นพระพุทธเจ้าหรอก |
|
|
|
  |
 |
ชาวมหาวิหาร
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 04 ก.ย. 2008
ตอบ: 9
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.ย. 2008, 2:57 pm |
  |
อืมมม
ในเรื่องการมุสาที่สร้างความเสียหายให้แก่ผู้อื่น
ข้อนี้พระฎีกาจารย์ท่านแสดงไว้ดังนี้ครับ
องค์แห่งมุสาวาทมี ๔ อย่าง
๑. อตถวตฺถุ สิ่งของหรือเรื่องราวที่ไม่จริงอย่างหนึ่ง
๒. วิสํวาทนจิตฺตตา มีจิตคิดจะมุสาอย่างหนึ่ง
๓. ปโยโค พยายามมุสาด้วยกาย หรือด้วยวาจาตามความประสงค์
ของตนอย่างหนึ่ง
๔. ตทตฺถวิชานนํ ผู้อื่นมีความเชื่อตามเนื้อความที่มุสานั้น
ในข้อมุสาวาทนี้ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
๑. สำเร็จเป็นมุสาวาทแต่ไม่ล่วงกรรมบถ
๒. สำเร็จเป็นมุสาวาทด้วยล่วงกรรมบถด้วย
การกล่าวมุสาวาทที่ครบองค์ ๔ แต่ไม่ทำให้ความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ที่หลงเชื่อแต่อย่างใด ชนิดนี้เป็นแต่เพียงมุสาวาท แต่ไม่ล่วงกรรมบถ คือไม่นำไปสู่อบาย
การกล่าวมุสาวาทที่ครบองค์ ๔ และทำความเสียหายแก่ผู้ที่หลงเชื่อ ชนิดนี้สำเร็จเป็นมุสาวาทด้วย ย่อมก้าวล่วงกรรมบถด้วย คือสามารถนำไปสู่อบายได้
--------------------------------------------------------------------
สำหรับที่คุณ คามินธรรม สงสัย
ก็เป็นสิ่งที่ดีแล้วนะครับ เพราะคนเราควรพิจราณาให้
รอบคอบในทุกๆเรื่อง
แต่ที่ผมแสดงไว้ว่าองค์ของปาณาติบาตเป็นอย่างไร
ก็เพียงแสดงตามนัยของเถรวาท คือ
ดูหลักฐานจาก พระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา
และก็นำมาแสดงให้เพื่อนๆได้พิจารณากันครับ |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.ย. 2008, 10:05 pm |
  |
คุณฌานครับ
ในสรกานิสูตร ที่ ๑ มหา. สํ. (๑๕๒๘-๑๕๓๖ ) พระพุทธเจ้าตรัสว่า
บุคคลที่ "เขามีศรัทธา มีความรักในพระตถาคตพอประมาณ แม้บุคคล
ผู้นี้ก็ไม่ไปสู่นรก....ทุคติวินิบาต"
บุคคลในศาสนาอื่น ที่ "เขามีศรัทธา มีความรักในพระพระเจ้าของเขา แม้บุคคล
ผู้นี้ก็ไม่ไปสู่นรก....ทุคติวินิบาต"
เนื่องจาก พระพุทธเจ้า ก็คือ พระเจ้า นั่นเอง
สัจธรรมสูงสุดมีเพียงหนึ่งเท่านั้น คนในศาสนาต่างๆแตกแยกกันไปเอง |
|
|
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
06 ก.ย. 2008, 7:51 pm |
  |
นำมาให้อ่านค่ะ
พระวักกลิเถระ ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี เรียนจบไตรเภทตามลัทธิพราหมณ์ วันหนึ่งได้เห็นพระศาสดา เกิดความหลงใหลในพระรูปพระโฉมของพระองค์ คิดว่าถ้าหากออกบวชก็จะได้เห็นพระพุทธองค์ทุกๆวัน จึงทูลขออุปสมบทในพระศาสนา บวชแล้วก็คอยติดตามดูพระองค์ตลอดเวลา ไม่เป็นอันบำเพ็ญสมณธรรม ไม่เป็นอันเจริญภาวนา พระพุทธเจ้าทรงรอเวลาให้ญาณของท่านสุกงอม และตรัสเตือนว่า " ดูก่อนวักกลิ การเพ่งมองดูกายอันเปื่อยเน่าของเราจักมีประโยชน์อันใด ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา "
พระดำรัสที่ตรัสสอนพระวักกลิข้างต้นโดยเฉพาะ " ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา " ซึ่งในพระบาลีว่า โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ นี้ กลายเป็นพระพุทธภาษิตที่สำคัญในการสอนไม่ให้หลงรูปที่งาม เพราะไม่ช้าก็ต้องเน่าเปื่อยผุพังไป แต่ครั้งนั้นพระวักกลิหาเชื่อฟังพระองค์ไม่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า หากพระวักกลิไม่ได้รับสังเวชใจ ก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผลอันใด ต่อมาเมื่อใกล้วันเข้าพรรษา พระองค์ได้เสด็จสู่กรุงราชคฤห์และในวันเข้าพรรษา พระองค์ตรัสประณามขับไล่พระวักกลิออกไปจากสำนักด้วยพระวาจาว่า " วักกลิ เธอจงหลีกไปเสีย " เมื่อถูกพระพุทธองค์ทรงตำหนิติเตียนเช่นั้น ท่านเกิดความน้อยใจ คิดว่าพระพุทธองค์จักไม่ทักทาย เจรจาปราศรัยกับท่านอีกแล้ว ท่านก็ไม่สามารถจะอยู่ให้พระองค์เห้นได้ตลอดสามเดือน ก็เกิดความเสียใจคิดว่า " ประโยชน์อันใดกับการมีชีวิตอยู่ ไปกระโดดเขาตายเสียดีกว่า " แล้วจึงไปสู่เขาคิชกูฏเพื่อฆ่าตัวตาย พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณ ทรงปรากฏพระกายต่อหน้าพระวักกลิ และตรัสสอนด้วยอุบายต่างๆ จนในที่สุดท่านก็ได้สำเร็จอรหันต ท่านได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุตติ คือหลุดพ้นด้วยศรัทธา
เรื่องเล่าจากหลวงปู่ถวิล สุจิณโณ
กาลเวลาผ่านสู่กลางพรรษา หลวงปู่ภาวนาไปก็ได้เห็นพระรูปหนึ่งโผล่กายพรุ่งพรวดขึ้นมา แล้วได้มีบุรุษผู้หนึ่งเอาได้เอาคราดหวดกระหน่ำ ลงไปที่ศรีษะจนจมลึกมิดด้ามคราด หลวงปู่ถวิลเห็นดังนั้นจึงได้พูดถามบุรุษผู้นั้น
" เอ้า! ทำไมถึงทำกันขนาดนี้ ทำไมถึงได้ไปเอาคราดสับหัวพระรูปนั้นอย่างนั้นจมมิด "
บุรุษผู้นั้นกราบเรียนหลวงปู่ว่า " ก็พระนั้นฆ่าตัวตายเองน่ะซิ ท่านอยู่ถ้ำหามตาว "
ถ้ำหางตาวนั้นอยู่อีกฟากฝั่งของภูเก้า อยู่อีกฝั่งเขตบริเวณถ้ำจันได หลวงปู่เองก็ไม่เคยไปเห็นถ้ำหามตาวเลยสักครั้ง ครั้นรุ่งเช้า ชาวบ้านนำภัตตาหารมาถวายจังหันแก่หลวงปู่ หลวงปู่จึงได้ถามชาวบ้านไป
" มีพระมาตายไหม? ที่ถ้ำหามตาว "
ชาวบ้านได้ฟังคำถามหลวงปู่แล้วได้ตอบกราบเรียน
" มีพระมหารูปหนึ่งได้มาผูกคอตายที่ถ้ำแห่งนั้น "
หลวงปู่ได้รับทราบดังนั้น จึงได้บอกชาวบ้าน
" พระมหารูปนั้น ตายไปนี่ตกนรก เนื่องเพราะกรรมฆ่าตัวตาย "
นำมาจากประวัติหลวงปู่ถวิล สุจิณโณ |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
|