Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิจัยเกี่ยวกับเรื่อง "จิตเดิม" "จิตว่าง" อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
ผู้ตั้ง ข้อความ
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 5:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณใช้คำไม่เหมาะสม กรุณาระมัดระวังการใช้ถ้อยคำให้สุภาพด้วยครับ

ทีมงาน
1 ส.ค.2551
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 5:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณใช้คำไม่เหมาะสม กรุณาระมัดระวังการใช้ถ้อยคำให้สุภาพด้วยครับ

ทีมงาน
1 ส.ค.2551
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 5:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณใช้คำไม่เหมาะสม กรุณาระมัดระวังการใช้ถ้อยคำให้สุภาพด้วยครับ

ทีมงาน
1 ส.ค.2551
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 9:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณใช้คำไม่เหมาะสม กรุณาระมัดระวังการใช้ถ้อยคำให้สุภาพด้วยครับ

ทีมงาน
1 ส.ค.2551
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 10:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ mes ถ้าไม่มีปัญญา ทำถูกหรือ

ตอบว่า ถ้าทำด้วยกุศล คือ ตั้งใจดี ไม่ต้องใช้ปัญญา มันถูกได้

กุศลในที่นี้คือ มีใจรักษาพระศาสนา
แต่มีอกุศล คือ มีจิตพยาบาท โกรธเคืองเข้ามาปน
ไม่สำคัญว่า จะเกิดจากมารหรือไม่ มารมีอยู่ก็เรื่องของมาร แต่ใจคุณต่างหากที่ มันเข้าไปมีอารมณ์เอง ธรรมดาของมีอยู่ เราไปมองมันแล้วมันมีอารมณ์ขึ้นมาได้อย่างไร ตรงนี้ลองพิจารณาให้ดี

ที่คุณ mes ทำมาทั้งหมดก็ยังไม่เรียกว่า ปัญญา

การมีปัญญา มันต้องเห็น สัจธรรมมากกว่านี้ ถ้าอยากจะรู้ คุณ ต้องถาม
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2008, 5:12 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

dd พิมพ์ว่า:
มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมได้ฟังพระสงฆ์รูปหนึ่งอธิบายตอบโยมรายหนึ่งเรื่อจิตเดิมว่า เป็นสภาพจิต"วิมุติที่ไม่ประกอบดวยวิชา"คล้ายๆกับที่มีผู้โพสต์ไว้ในเวปนี้และดูท่าว่าจะมีรากฐานมาจากคัมภีร์ของพระรูปหนึ่ง ผมออกจะประหลาดใจกับความรู้ใหม่เช่นนี้ แต่ก็ไม่สนใจอะไรมากเพราะหาหลักฐานว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าไมได้ครับ สิ่งใดที่ไม่ได้ปรากฏในพระไตรปิฎก สิ่งนั้นไม่ควรแก่การใส่ใจของผมเลย สาธุ


คุณ dd ครับ คงเป็นการอธิบายความเองของท่าน โดยขาดหลักฐานจากพระไตรปิฏก อรรถกถา


ดังเช่น ท่านพุทธทาส ที่ได้สอนเรื่อง จิตว่าง ที่อ้างอิงจาก สูตรเว่ยหลาง ของมหายาน

จึงทำให้คำสอนของท่านพุทธทาส มีนิพพานแบบชั่วคราว และ นิพพานถาวร ซึ่งนิพพานชั่วคราวนี้ สัมผัสได้ง่าย ๆ มาก
( แค่นึกปรุงแต่งว่า ไม่มีตัวกู ของกู )

ท่านพุทธทาสไม่เข้าใจเรื่อง อนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องในขันธสานดาน หรือ ในจิต

คำว่า จิตปภัสสร ในความหมายของ เถรวาท หมายถึงจิตที่ยังมีอนุสัยกิเลสอยู่ แต่ไม่มีกิเลสอย่างกลาง อย่างละเอียด ( ศึกษาจากที่ท่านพระครูศรีโชติญาณ อธิบายไว้ )

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17403&start=0

ตามที่ได้ยกข่อความจากอาคตสถานมาแสดงเทียบเคียงให้เห็นดังนี้แล้ว ผู้อ่านก็พอจะทราบได้ว่าอะไรเป็นอะไร


แต่ขอให้ทัศนะไว้นิดหนึ่งว่า ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ บางครั้งถึงกับอุทิศเพศบวชมาเป็นเวลานานก็มี ขอร้องให้พากันเชื่อพระบาลีและอรรถกถาอันเป็นหลักปริยัติฝ่ายเถรวาทเถิด เพราะจะเป็นปัจจัยให้เกิดทิฐิวิสุทธิ คือความเห็นที่ถูกต้องในส่วนของพระปริยัติศาสนาขึ้นได้


แม้จะเกิดศรัทธาให้ลงมือปฏิบัติ ก็เชื่อเหลือเกินว่าต้องไม่ผิดแน่ เพราะเมื่อปริติถูกก็เป็นเหตุให้เกิดปฏิบัติถูก อันเป็นเสมือนเงาตามตัวอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ยอมเชื่อโดยยกตัวเสมอกับอรรถกถาเสียแล้วก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2008, 6:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขันธ์ พิมพ์ว่า:
เรื่องจิตเดิม ก็คือ จิตบริสุทธิ์ เช่นเดียวกับ เด็ก คนหนึ่ง ที่ไม่ได้มีความทุกข์

แต่ หากว่า จิตนั้น มีอวิชชา ครอบงำ จึงก่อให้เกิด ความหลง ความทุกข์

และ จิตเดิมนั้น บริสุทธิ์ก็จริง แต่ไม่มีปัญญา ดับและ ถอนอวิชชา จึงก่อให้เกิด ความหลงต่างๆ มากมาย

ถูกต้องแล้วครับ

ก็ให้สังเกตุดูว่า ทำไมตอนเด็ก จึงไม่ค่อยมีความทุกข์ แต่เด็กนั้นก็ไม่มีปัญญาเหมือนผู้ใหญ่ แสดงให้เห็นว่า จิตบริสุทธิ์ นั้นมีอยู่ แต่ไม่เท่าทันต่ออวิชชา หากว่า เราถอนอวิชชา คือ ไม่ปรุง ไม่คิดให้มากมาย ก็จะสามารถทำจิตให้ เข้าถึงความว่างเดี๋ยวนี้ได้

และจะไม่เหมือนเด็กตรงที่ว่า เท่าทันในอวิชชา


นึกถึงคำสอนท่านพุทธทาส ที่ท่านตีความเอาเองในเรื่องปฏิจจสมุปบาท ท่านบอกว่าวงจรปฏิจจสมุปบาทเพิ่งมาเริ่มตอนที่เป็นทารกแล้ว ( แต่ไม่อธิบายว่า ตอนกี่ขวบ) ไม่เกี่ยวกับการมีปฏิสนธิวิญญาณในครรภ์มารดา

ตามความหมายท่านพุทธทาส เด็กที่คลอดมาใหม่ จิตยังปภัสสรอยู่ ไม่มีกิเลส ตัณหา

( หรือว่า เด็กที่เพิ่งคลอดจะเป็นพระอรหันต์ ? )

จากหนังสือปฏิจจสมุปบาท ชุดลอยปทุมของท่านพุทธทาส

อ้างอิงจาก:
" มีเด็กเล็กๆคนหนึ่งร้องจ้าขึ้นมา เพราะตุ๊กตาตกแตก พอเขาเห็นตุ๊กตาตกแตก นี้เรียกว่าตากับรูปกระทบกัน เกิดจักขุวิญญาณขึ้นมารู้ว่าตุ๊กตาตกแตก ตามธรรมดาเด็กคนนี้ประกอบด้วยอวิชชา เพราะเขาไม่เคยรู้ธรรมะ ไม่รู้อะไรเลย(ท่านพุทธทาสคงคิดว่าเรียนธรรมะแล้วคงจะไม่มีอวิชชา) อวิชชาจึงปรุงแต่งให้เกิด สังขาร คืออำนาจชนิดหนึ่งที่จะทำให้เกิดความคิดความนึกอันหนึ่งที่จะเป็น วิญญาณ ------ แล้วเวทนาที่เป็นความทุกข์นี้ทำให้เกิดตัณหา คือความอยาก ไปตามอำนาจของความทุกข์นั้น อุปาทานยึดมั่น เป็นความทุกข์" ของกุ" ขึ้นมา เรียกว่า ภพ แล้วเบิกบานเต็มที่เรียกว่าชาติ แล้วมีความทุกข์ในเรื่องตุ๊กตาแตกนี้ คือ ร้องไห้ นั่นคือ ไอ้สิ่งที่เรียกว่า อุปายาส แปลว่าเหี่ยวแห้งใจ

-------------------------------------------------------------------

แต่สำหรับผม น่าจะมี อวิชชา ตัณหา มานานแล้ว แม่บอกว่าตอนอยู่ในท้อง กินอาหารรสจัดก็ดิ้นแรงมาก พอคลอดจากท้องคุณหมอจับแรงหน่อยก็ร้องไห้ โตมาอีกนิดชงนมให้ไม่ทันใจ ก็ปาขวดนมทิ้ง เจ๋ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2008, 6:23 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มหานิทานสูตร


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๑๔๕๕ - ๑๘๘๗. หน้าที่ ๖๐ - ๗๗.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1455&Z=1887&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=57
----------------------------------------------------------------------

๒. วิภังคสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=16&A=33
--------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฏกฉบับสำหรับประชาชน

๒ . มหานิทานสูตร
สูตรว่าด้วยต้นเหตุใหญ่

http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/2.html

----------------------------------------------


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

มหาวรรค ญาณกถา
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=95&Z=3331


[๙๘] ในกรรมภพก่อน ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็น
สังขาร ความพอใจเป็นตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ
ธรรม ๕ ประการในกรรมภพก่อน เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้
ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาท (ภาวะที่ผ่องใสใจ) เป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนาในอุปปัตติภพนี้
ธรรม ๕ ประการในอุปปัตติภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในปุเรภพ
ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็นตัณหา
ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ (ย่อมมี) เพราะอายตนะทั้งหลาย
ในภพนี้สุดรอบ ธรรม ๕ ประการในกรรมภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิ
ในอนาคต ปฏิสนธิในอนาคตเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาทเป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประ-
*การในอุปปัตติภพในอนาคตเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพนี้ พระ-
*โยคาวจร ย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมแทงตลอด ซึ่งปฏิจจสมุปบาท
มีสังเขป ๔ กาล ๓ ปฏิสนธิ ๓ เหล่านี้ โดยอาการ ๒๐ ด้วยประการดังนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
-------------------------------------------------------------------------

ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=1

------------------------------------------------------------

ศึกษา อาการ ๒๐ ในปฏิจจสมุปบาทธรรมเพิ่มเติมได้ที่

พระอภิธัมมัตถสังคหะ

ปฏิจจสมุปปาทธรรม นัยที่ ๓ วีสตาการา (อาการ ๒๐)
http://abhidhamonline.org/aphi/p8/051.htm

-----------------------------------------------------------------
การแสดงธรรมจากท่านอาจารย์

http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=8821

------------------------------------------------------------

จะสังเกตว่า ปฏิจจสมุปบาทที่ท่านพุทธทาสตามความเข้าใจนั้น ผิดจากหลักฐานในพระไตรปิฏก อรรถกถา แต่ท่านพุทธทาสเข้าใจว่าเข้าใจอย่างแท้จริงยิ่งกว่า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2008, 8:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรณีนายเฉลิมศักดิ์กล่าวหาว่าท่านพุทธทาสบิดเบือนปฏิจจสมุปบาท

ขอให้พิจารณาความจริงข้อหนึ่งดังนี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2546 เฉลิมศักดิ์มีความเห็นว่า ท่านพุทธทาสอธิบายปฏิจจสมุปบาทแบบชั่วอึดใจ แต่ได้ปฏิเสธไม่ยอมอธิบายแบบคร่อมภพชาติ เช่นนี้ใช้ไม่ได้ (มีความเห็นว่าแบบอึดใจนี้ก็ถูกต้อง) หลายเดือนต่อมาเฉลิมศักดิ์กลับมีความเห็นว่า ปฏิจจสมุปบาทแบบอึดใจเดียวไม่ถูกต้องตามพระไตรปิฏก ต้องแบบคร่อมภพชาติเท่านั้น และครั้งล่าสุดในลานธรรมใหม่ หลังจากที่ผมได้ชี้ถามเรื่องปฏิจจสมุปบาทแบบ 3 ภพ 3 ชาติ ทั้งนี้เพราะท่านพุทธทาสไม่เคยปฏิเสธปฏิจจสมุปบาทแบบคร่อมภพชาติ แต่ท่านไม่เห็นด้วยกับปฏิจจสมุปบาทแบบคร่อม 3 ภพ 3 ชาติ ครั้งล่าสุดนี้นายเฉลิมศักดิ์มีความเห็นว่า ปฏิจจสมุปบาทแบบคร่อมภพชาติก็คือแบบคร่อม 3 ภพ 3 ชาติอย่างเดียวกัน และไม่ยอมรับปฏิจจสมุปบาทแบบอึดใจเดียวเช่นเคย

เฉลิมศักดิ์เป็นฝ่ายบิดเบือนพุทธพจน์เสียแล้วครับไม่ใช่ท่านพุทธทาส สำหรับปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นธรรมอันลึก ทั้งแบบอึดใจและแบบคร่อมภพชาติก็มีในพระไตรปิฏกทั้งนั้น เฉลิมศักดิ์กล่าวหาท่านพุทธทาสมาตลอดว่าท่านอธิบายปฏิจจสมุปบาทผิด ว่าท่านปฏิเสธปฏิจจสมุปบาทแบบคร่อมภพชาติในพระไตรปิฏก ล่าสุดพอตอบไม่ได้ว่าแบบคร่อม 3 ภพ 3 ชาติ พุทธพจน์มีพูดไหม ก็ตู่ว่าแบบคร่อมภพชาติคือคร่อม 3 ภพ 3 ชาติ

ประเด็นเรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมที่ลึกเกินความสามารถของผม ขอคุณดังตฤณช่วยตัดสินเอาเถิดครับ ปฏิจจสมุปบาทแบบชั่วอึดใจที่เฉลิมศักดิ์ปฏิเสธต้องตามพุทธพจน์หรือไม่ มันเป็นปัญหาที่ไม่น่าจะกล่าวถึงเลย

6. กรณีเฉลิมศักดิ์กล่าวหาท่านพุทธทาสเกี่ยวกับความหมายของคำว่า"ชาติ"และ"วิญญาณ"

สำหรับเฉลิมศักดิ์ วิญญาณที่เฉลิมศักดิ์เข้าใจคือวิญญาณที่ไปเกิดในท้องพ่อท้องแม่ได้ หากบอกว่าวิญญาณ ในคำว่าโสตวิญญาณ เฉลิมศักดิ์จะไม่เข้าใจ สำหรับคำว่า"ชาติ" ของเฉลิมศักดิ์ก็จะหมายความว่าเกิดจากท้องพ่อท้องแม่ ชาติในความหมายของอัตตาเกิดขึ้น ตัณหาเกิดขึ้นเฉลิมศักดิ์จะไม่เข้าใจ

ในเรื่องนี้ผมขอยกความเห็นของคุณดังตฤณที่ตอบในกระทู้ลานธรรมเก่าที่ 8068 ความเห็นที่ 1 มาดังนี้ครับ

สัมมาทิฏฐิ หรือความเห็นชอบ ตั้งมุมมองไว้ถูกกับธรรมชาตินั้นมีสองระดับครับ
ระดับแรกสำหรับคนที่ยังต้องติดวนอยู่ในภพ จำเป็นต้องเห็นให้จริง
ว่าเรื่องบุญบาปนั้นมี (อยู่ที่เจตนาและสภาวจิตในปัจจุบัน)
วิบากที่เกิดจากบุญบาปนั้นมี (อยู่ที่สภาวจิตหรือสภาวกายหลังจากทำ)
และถ้าไม่เห็นว่าบิดามารดามี ก็คงไม่ต้องประพฤติเพื่อความกตัญญู
อันนั้นจัดเป็นคนบาป เป็นมิจฉาทิฏฐิในทางโลก
มีอุปาทานครอบงำหนาแน่นเกินกว่าจะได้ดีมีสุข

ระดับที่สองเป็นสัมมาทิฏฐิของผู้ปรารถนาจะหลุดพ้นจากโลก
ต้องมองว่าไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา มีแต่จิตที่ถูกครอบงำด้วยอุปาทาน
และเป็นผู้ที่ได้ทำอุปาทานให้เบาบางลงจากระดับของบาปแล้ว
จิตเป็นกุศล มีความสะอาด สว่างสงบ พร้อมพอจะรู้เรื่องอุปาทานระดับตัวตนแล้ว

ก็คงต้องทิ้งไว้ให้คุณดังตฤณตัดสินแล้วละครับ เพราะดูท่าเฉลิมศักดิ์จะไม่เข้าใจสัมมาทิฏฐิในระดับโลกุตระ

http://larndham.net/index.php?showtopic=12605
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2008, 9:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณเฉลิมศักดิ์และคุณ mes ครับ

หากมีหนังสือพุทธธรรมเปิดไปหน้า 140 (การตีความเกี่ยวกับ

ปฏิจจสมุปบาท) จะเห็นที่มาปฏิจจสมุปบาทที่อธิบายแบบขณะจิตเดียว

ว่ามาจากคัมภีร์อรรถกถาวิภังค์แห่งพระอภิธรรมปิฏก (สัมโมหวิโนทนี)

หน้า 260-278

ส่วนที่อธิบายแบบข้ามภพข้ามชาติมาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค

ทั้งคัมภีร์สัมโมหวิโนทนี และ วิสุทธิมรรค ซึ่งก็รจนาโดย

พระพุทธโฆษาจารย์ด้วยกัน

คำอธิบายเรื่องปฏิจจสมุปบาทในสัมโมหวิโนทนี แบ่งเป็น 2 ตอน

ตอนแรกอธิบายแบบข้าภพข้ามชาติ เหมือนวิสุทธิมรรค

แต่ตอนสองอธิบายแบบความเป็นไปในขณะจิตเดียว

ฯลฯ

เมื่อรู้ดูเห็นที่มาทั้งสองแห่งแล้ว ก็ร้องอ๋อ...เราดูตำรามุมเดียวแห่งเดียว

จึงเป็นอย่างนี้ ยิ้ม

ที่ที่เราถกๆเถียงๆกันอยู่โดยทั่วๆไป ก็มีลักษณะอย่างนี้แล ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2008, 10:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หากต้องการศึกษาปฏิจจสมุปบาทโดยละเอียดเริ่มจากหน้า 79 เป็นต้น

ไป ท่านเจ้าคุณอธิบายไว้ถึง 32 ใบ รับรองอ่านจบมึนหัว

ตืบ หรือไม่ก็ หลับ ปุ๋ย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2008, 11:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ เฉลิมศักดิ์ครับ จิตเดิมนั้น ประภัสสร ทีนี้ หากเรามองให้ละเอียดจริงๆ
ซึ่งต้องใช้กำลัง สติระดับ พระอริยะ จึงจะมองออกว่า

จิตนี้ เกิดดับ ตลอดเวลา ดังนั้น จิตนี้ ไม่ใช่บรรจุ กิเลสตลอดเวลา และไม่ได้บรรจุ สัญญาตลอดเวลา ไม่ได้บรรจุขันธ์ 5 ตลอดเวลา แต่อาศัย ชวนะจิตที่สืบเนื่องจึงมองเหมือนว่า มันเป็นตัวตนอยุ่

ทีนี้ เมื่อ มันเกิดดับตลอดเวลา เพราะมีอวิชชามาก ไม่อาจที่จะเข้าถึงสภาวะแห่งโคตรภู ได้ เว้นแต่พระอริยะ ที่ทันต่อรูปนาม ก็จะตัดภวังค์ และ อวิชชา น้อมจิตเข้าสู่ โคตรภูญาณได้ ก็จะพบกับ จิตเดิม และ พระนิพพานอันเป็นอายตนะของจิตเดิมนั้นแหละ

ทีนี้ การที่ เด็กคนหนึ่ง ที่ผมเปรียบเทียบไป ก็ไม่ได้หมายความเด็กนั้นไม่มีอวิชชา เพราะอวิชชานี้มีมายาวนาน หลายภพหลายชาติ
แต่ เปรียบให้เห็นว่า เด็กคนหนึ่ง นั้นจิตยังบริสุทธิ์ คือ ไม่ได้ปรุงแต่งอะไรมากมาย จึงแสดงให้เห็นว่า เพราะมี ปัจจัยภายนอก นั้นเองที่ก่อให้เกิดความปรุงแต่ง และ คนเราเมื่อโตขึ้นมาก็ ไม่ทันกับสัญญา สังขารที่เราปรุงแต่งขึ้นมา ทำให้เกิดทุกข์ สะสมหมักหมมกันไป

ทีนี้ แล้ว จิตนี้ สามารถทำให้ เห็นจิตเดิมได้ทันทีเลยหรือไม่ ตอบว่า ได้ ต้องอาศัย ชวนะจิต ที่แล่นไปค่อยๆ ตัดกระแส แห่ง อุปาทานขันธ์ 5 ตามให้ไวจี๋ ก็จะหลุดจาก อุปาทานนั้นก้าวเข้าสู่ โคตรภูญาณได้ ทันที

จิตว่าง คือ จิตที่ยังไม่ได้ ปรุง แต่ หากมีอวิชชาอยู่ ก็ยังโง่อยู่ ข้อนี้ฟังแล้ว ต้องทำความเข้าใจว่า อวิชชา ก็เป็นความไม่มีอะไร แต่จิตว่างก็ตักตวงเข้ามาได้ แต่หากละอวิชชาได้ ก็จิตมีปัญญาเต็มภูมิ เรียกว่า เต็มทุกอย่าง เรียกจุดนั้นว่า พระนิพพาน ก็จะเปรียบเทียบให้ฟัง เหมือนกับ

อากาศมีอยู่ เมื่อเอาลูกโป่งบรรจุอากาศไว้ นั้นแหละอวิชชา
จิตเดิม ก็คือ อากาศ
จิตที่มีอวิชชาก็คือ อากาศที่มีลูกโป่งห่อหุ้ม ถ้าไม่วิ่งไปจนถึงขอบลูกโป่งก็จะไม่รู้จักลูกโป่ง เปรียบกับ เด็ก ที่มีจิตว่างแต่ยังไม่มีอวิชชาบีบ รัดเข้ามา

เรื่องของปฏิจสมุบาทนี้โยงใยลึกซึ้งมาก ยังกับใยแมงมุม ดังนั้น คุณ เฉลิมศักดิ์ ต้องพิจารณา ตามนัยยะ แห่งคำเปรียบเทียบให้ดีครับ จึงจะเข้าใจ คำพูดของพระอริยะได้
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2008, 11:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปฏิจสมุบบาท นั้น ข้ามภพชาติไหม ต้องบอกว่า ถ้าไม่ข้ามภพชาติ ก็ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกืดนะสิครับ อย่างไร ปฎิจสมุบบาทก็ข้ามภพชาติ อวิชชานั้นปิดอยู่ตลอด แม้เกิดใหม่ ก็ปิด

ยกตัวอย่างเช่น มนุษย์ มีศักยภาพจำกัด มีทัสนะอย่างใดอย่างหนึ่ง อันแคบ
ก็เพราะมีวิถี จิตของอวิชชา นั้นห่อหุ้มอยู่ ตายตรงนี้ จิตดวงนี้ดับ อวิชชาก็ปิดอีกดวง อันเป็นสายโยงใย ปิดมากๆ เข้าก็เกิดเป็นกรรม พาให้ไปตรงนั้นตรงนี้ เรื่อยเปื่อยไป

แต่ที่ ท่านพระพุทธทาส อธิบายให้ฟัง นั้นท่านอธิบายเพียง สายเดียว คือ ในโลกนี้ ในปัจจุบันธรรมเท่านั้น แต่ความเป็นจริง สายปัจจุบันธรรมนั้น เป็นเพียงปัจจุบันขณะ และ ปัจจุบันขณะนี้ จับโยงใยกับสายอื่น มากมาย ยกตัวอย่างเช่น ภพ ที่เราเกิดมานี้ นี้ืคือ ภพใหญ่

และ ภพน้อยคือ วิถีชีวิตที่เรายึดติด เล็กลงมาคือ อารมณ์ที่ติดอยู่ สังขารที่ยึดอยู่ นี่ถ่ายทอดเป็นลำดับ

ก็สรุปว่า ปฏิจสมุบบาทนั้น มีหลายชาติ ไม่เช่นนั้นแล้ว พระโสดาบัน จะต้อง ไม่ต่อเนื่อง คือ ตายชาตินี้หมดชาตินี้ และ พระโพธิสัตว์ก็ไม่ต่อเนื่อง เพราะหมดแล้วหมดกัน
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2008, 11:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขันธ์ พิมพ์ว่า:
คุณ เฉลิมศักดิ์ครับ จิตเดิมนั้น ประภัสสร ทีนี้ หากเรามองให้ละเอียดจริงๆ
ซึ่งต้องใช้กำลัง สติระดับ พระอริยะ จึงจะมองออกว่า

จิตนี้ เกิดดับ ตลอดเวลา ดังนั้น จิตนี้ ไม่ใช่บรรจุ กิเลสตลอดเวลา และไม่ได้บรรจุ สัญญาตลอดเวลา ไม่ได้บรรจุขันธ์ 5 ตลอดเวลา แต่อาศัย ชวนะจิตที่สืบเนื่องจึงมองเหมือนว่า มันเป็นตัวตนอยุ่

ทีนี้ เมื่อ มันเกิดดับตลอดเวลา เพราะมีอวิชชามาก ไม่อาจที่จะเข้าถึงสภาวะแห่งโคตรภู ได้ เว้นแต่พระอริยะ ที่ทันต่อรูปนาม ก็จะตัดภวังค์ และ อวิชชา น้อมจิตเข้าสู่ โคตรภูญาณได้ ก็จะพบกับ จิตเดิม และ พระนิพพานอันเป็นอายตนะของจิตเดิมนั้นแหละ

ทีนี้ การที่ เด็กคนหนึ่ง ที่ผมเปรียบเทียบไป ก็ไม่ได้หมายความเด็กนั้นไม่มีอวิชชา เพราะอวิชชานี้มีมายาวนาน หลายภพหลายชาติ
แต่ เปรียบให้เห็นว่า เด็กคนหนึ่ง นั้นจิตยังบริสุทธิ์ คือ ไม่ได้ปรุงแต่งอะไรมากมาย จึงแสดงให้เห็นว่า เพราะมี ปัจจัยภายนอก นั้นเองที่ก่อให้เกิดความปรุงแต่ง และ คนเราเมื่อโตขึ้นมาก็ ไม่ทันกับสัญญา สังขารที่เราปรุงแต่งขึ้นมา ทำให้เกิดทุกข์ สะสมหมักหมมกันไป

ทีนี้ แล้ว จิตนี้ สามารถทำให้ เห็นจิตเดิมได้ทันทีเลยหรือไม่ ตอบว่า ได้ ต้องอาศัย ชวนะจิต ที่แล่นไปค่อยๆ ตัดกระแส แห่ง อุปาทานขันธ์ 5 ตามให้ไวจี๋ ก็จะหลุดจาก อุปาทานนั้นก้าวเข้าสู่ โคตรภูญาณได้ ทันที

จิตว่าง คือ จิตที่ยังไม่ได้ ปรุง แต่ หากมีอวิชชาอยู่ ก็ยังโง่อยู่ ข้อนี้ฟังแล้ว ต้องทำความเข้าใจว่า อวิชชา ก็เป็นความไม่มีอะไร แต่จิตว่างก็ตักตวงเข้ามาได้ แต่หากละอวิชชาได้ ก็จิตมีปัญญาเต็มภูมิ เรียกว่า เต็มทุกอย่าง เรียกจุดนั้นว่า พระนิพพาน ก็จะเปรียบเทียบให้ฟัง เหมือนกับ

อากาศมีอยู่ เมื่อเอาลูกโป่งบรรจุอากาศไว้ นั้นแหละอวิชชา
จิตเดิม ก็คือ อากาศ
จิตที่มีอวิชชาก็คือ อากาศที่มีลูกโป่งห่อหุ้ม ถ้าไม่วิ่งไปจนถึงขอบลูกโป่งก็จะไม่รู้จักลูกโป่ง เปรียบกับ เด็ก ที่มีจิตว่างแต่ยังไม่มีอวิชชาบีบ รัดเข้ามา

เรื่องของปฏิจสมุบาทนี้โยงใยลึกซึ้งมาก ยังกับใยแมงมุม ดังนั้น คุณ เฉลิมศักดิ์ ต้องพิจารณา ตามนัยยะ แห่งคำเปรียบเทียบให้ดีครับ จึงจะเข้าใจ คำพูดของพระอริยะได้


ขันธ์มั่ว ธรรมะอะไร ยุ่งๆ มั่วๆ


นี่ๆ ผมจะแสดงนธรรมให้คุณฟัง


จิต ที่ทำให้เราเกิดมาเป้นคนนี่ เป้นสัตว์ เป้นเทพ ...นี่แหละ จิตเดิม ... เป็นจิตที่หมักดองกิเลสมานานมาก

เมื่อเกิดมาเป็นเด็ก จิตมันก็มีกิเลสทุนเดิมอยู่
ต่อมาร่างกายเติบโด มีระบบความจำ ระบบประสาท มีเครื่องมือรับรู้+ปรุงแต่งกิเลส เพิ่มจากของเดิมที่มี
หมักดองเพิ่ม

เวลาตายลงไป จิตนี้แหละ ที่เป้น "จิตเดิม ของ ชีวิตใหม่" ที่กำลังจะไปเกิด


จนเมื่อได้เรียนรู้วิธีเข้าถึงนิพพาน
จิตดังนั้นแหละ จึงเรียกว่าประภัสสร
จิตดังนี้แหละ ที่ไม่เกิดอีก

ส่วนที่ขันธืชอบพูดว่า จิตประภัสสร คือ จิตเดิมนี้
เป้นสัทธรรมปฏิรูป ของลัทธิประหลาด

ก้จิตประภัสสร ยังจะมาเกิดอีก แล้วจะมีนิพพานไว้ให้เหนื่อยตุ้มทำไม
อุตส่าหืได้นิพพาน แล้วยังจะมาเกิดอีก
นี่มันตรงกันข้าม กับแก่นคำสอนพระพุทธเจ้านะ

นี่ จำเอาไว้
สอนนะ นี่
คุณยังโง่อยู่มาก กราบผมเป้นอาจารย์ แล้วจะสอนให้อีก
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ย. 2008, 4:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ทีนี้ แล้ว จิตนี้ สามารถทำให้ เห็นจิตเดิมได้ทันทีเลยหรือไม่ ตอบว่า ได้ ต้องอาศัย ชวนะจิต ที่แล่นไปค่อยๆ ตัดกระแส แห่ง อุปาทานขันธ์ 5 ตามให้ไวจี๋ ก็จะหลุดจาก อุปาทานนั้นก้าวเข้าสู่ โคตรภูญาณได้ ทันที
จากคุณขันธ์



อ้างอิงจาก:
จนเมื่อได้เรียนรู้วิธีเข้าถึงนิพพาน
จิตดังนั้นแหละ จึงเรียกว่าประภัสสร
จิตดังนี้แหละ ที่ไม่เกิดอีก

จากคุณ คามินธรรม


-------------------------------------------------

สาธุ

ขอให้ทั้งสองท่านย้อนกลับไปศึกษา จากพระไตรปิฏก อรรถกถา และเรื่อง วิถีจิตในพระอภิธรรมอีกครั้งหนึ่งครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17403&start=0

ทุกท่าน ล้วนใช้ความเห็นส่วนตัว มาอธิบายตัดสินพระสัทธรรม

บางท่านก็พยายามสื่อสาร ประดุจว่าเข้าใจปฏิจจสมุปบาทอย่างลึกซึ้งแล้ว ประดุจท่านพุทธทาส

เมื่อครั้งพระพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงตรัสห้ามพระอานนท์ ไม่ให้คิดว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมเป็นของง่าย และได้ทรงตรัสอธิบายปฏิจจสมุปบาทอย่างละเอียด ตรัสถึงวิญญาณที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา และ วิญญาณที่เกิดขึ้นในภายหลัง ( ปวัตติวิญญาณ )

มหานิทานสูตร


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๑๔๕๕ - ๑๘๘๗. หน้าที่ ๖๐ - ๗๗.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1455&Z=1887&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=57


อ้างอิงจาก:
ปฏิจจสมุปบาทแม้ทั้งหมดนั้น ปรากฏแก่พระเถระ(พระอานนนท์)ดุจเป็นของง่าย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะยังท่านพระอานนท์ให้คลายความคิด จึงตรัสว่า มา เหวํ ดังนี้เป็นต้น ก็ในข้อนี้มีอธิบายว่า ดูก่อนอานนท์ เธอเป็นผู้มีปัญญามาก มีปัญญาเฉลียวฉลาด ด้วยเหตุนั้น ปฏิจจสมุปบาท แม้เป็นของลึกซึ้งย่อมปรากฏแก่เธอดุจเป็นของง่าย เพราะฉะนั้น เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า ปฏิจจสมุปบาทนี้ปรากฏเป็นของง่ายแก่เราเท่านั้นหรือ หรือว่าแม้แก่ผู้อื่นด้วย

อปสาทนาวณฺณนา
ในบทที่ท่านกล่าวว่า อปสาเทนฺโต นั้นมีอธิบายว่า ดูก่อนอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ปฏิจจสมุปบาทนี้ย่อมปรากฏแก่เราดุจเป็นของง่ายๆ ก็ผิว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ ย่อมปรากฏแก่เธอดุจเป็นของง่ายๆ ไซร้ เพราะเหตุไร เธอจึงมิได้เป็นโสดาบันตามธรรมดาของตน เธอตั้งอยู่ในนัยที่เราให้แล้วจึงบรรลุโสดาปัตติมรรค
ดูก่อนอานนท์ นิพพานนี้เท่านั้นเป็นของลึกซึ้ง แต่ปัจจยาการเป็นของง่ายของท่าน เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร เธอถอนกิเลส ๔ เหล่านี้คือ กามราคสังโยชน์ (การผูกจิตด้วยกามราคะ) ปฏิฆสังโยชน์ (การผูกจิตด้วยความแค้น) อย่างหยาบ กามราคานุสัย (กิเลสอันนอนเนื่องอยู่ในสันดานคือกามราคะ) ปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ (กิเลสอันนอนเนื่องอยู่ในสันดานคือความแค้น) ได้แล้ว จึงไม่ทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล เธอถอนกิเลส ๔ อันเกี่ยวเนื่องเหตุนั้นได้แล้ว ไม่ทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เธอถอนกิเลส ๘ อย่างเหล่านี้คือ สังโยชน์ ๕ มีรูปราคะ (ความกำหนัดในรูป) เป็นต้น ภวราคานุสัย (กิเลสอันนอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในภพ) มานานุสัย (กิเลสอันนอนเนื่องในสันดานคือมานะ) อวิชชานุสัย (กิเลสอันนอนเนื่องในสันดานคืออวิชชา) ได้แล้ว ไม่ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต
อนึ่ง เพราะเหตุไร เธอจึงไม่บรรลุสาวกปารมีญาณ ดุจพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะผู้บำเพ็ญบารมีตลอดอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป และเธอไม่บรรลุปัจเจกโพธิญาณดุจพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายผู้บำเพ็ญบารมีตลอด ๒ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ก็หรือผิว่าปฏิจจสมุปบาทนั้นปรากฏเป็นของง่าย โดยประการทั้งปวงแก่เธอ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร เธอจึงไม่ทำให้แจ้งซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ ดุจพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้บำเพ็ญบารมีมาแล้วตลอด ๔ อสงไขย ๘ อสงไขยหรือ ๑๖ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป เธอเป็นผู้ไม่มีประโยชน์อะไรด้วยการบรรลุคุณวิเศษเหล่านี้ เธอจงมองดูความผิดพลาดของเธอโดยตลอด


----------------------------------------------------------------------

แต่ผมเชื่อว่า ท่านพุทธทาสก็ดี หลาย ๆ ท่านที่พยายามจะอธิบายปฏิจจสมุปบาทเองและเรื่อง วิถีจิต หาได้มีวาสนาบารมีประดุจพระอานนท์ที่เคยสั่งสมไว้ไม่
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ย. 2008, 5:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรัชกาย พิมพ์ว่า:
คุณเฉลิมศักดิ์และคุณ mes ครับ

หากมีหนังสือพุทธธรรมเปิดไปหน้า 140 (การตีความเกี่ยวกับ

ปฏิจจสมุปบาท) จะเห็นที่มาปฏิจจสมุปบาทที่อธิบายแบบขณะจิตเดียว

ว่ามาจากคัมภีร์อรรถกถาวิภังค์แห่งพระอภิธรรมปิฏก (สัมโมหวิโนทนี)

หน้า 260-278

ส่วนที่อธิบายแบบข้ามภพข้ามชาติมาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค

ทั้งคัมภีร์สัมโมหวิโนทนี และ วิสุทธิมรรค ซึ่งก็รจนาโดย

พระพุทธโฆษาจารย์ด้วยกัน

คำอธิบายเรื่องปฏิจจสมุปบาทในสัมโมหวิโนทนี แบ่งเป็น 2 ตอน

ตอนแรกอธิบายแบบข้าภพข้ามชาติ เหมือนวิสุทธิมรรค

แต่ตอนสองอธิบายแบบความเป็นไปในขณะจิตเดียว

ฯลฯ

เมื่อรู้ดูเห็นที่มาทั้งสองแห่งแล้ว ก็ร้องอ๋อ...เราดูตำรามุมเดียวแห่งเดียว

จึงเป็นอย่างนี้ ยิ้ม

ที่ที่เราถกๆเถียงๆกันอยู่โดยทั่วๆไป ก็มีลักษณะอย่างนี้แล ยิ้ม


-------------------------------------------------

คุณกรัชกาย ปฏิจจสมุปบาทธรรม ในหนังสือพุทธธรรมนั้น ท่านเจ้าคุณอ้างอิงทั้งจาก พระสูตร พระอภิธรรม อรรถกถา รวมทั้งแบบของท่านพุทธทาสด้วย

ปฏิจจสมุปบาทแบบขณะจิต

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์

อกุศลจิต ดวงที่ ๑
ปัจจยจตุกกะ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=35&A=4111&w=อกุศลจิต_ดวงที่_๑
---------------------------------------------

ซึ่งท่านเจ้าคุณไม่ได้ตัดสินว่าแบบไหนถูกผิด

มีเพียงท่านพุทธทาส ที่ตัดสินเอาเองว่า ในหนังสือ ปฏิจจสมุปบาทว่า

อ้างอิงจาก:
หน้า ๔๙
ความหมายของคำในปฏิจจสมุปบาท
ทีนี้สิ่งสำคัญที่สุดก็มาถึงคือ ความหมายของคำในปฏิจจสมุปบาทเหล่านี้
ความหมายของคำแต่ละคำเหล่านี้ เป็นความหมายในทางภาษาธรรม ของ ผู้รู้ธรรม ; ไม่ใช่ความหมายของชาวบ้านผู้ไม่รู้ธรรม เราได้แยกออกไว้เป็น ๒ ภาษา คือ ภาษาคน หมายถึงภาษาคนธรรมดาที่ไม่รู้ธรรม ; แล้วก็ภาษาธรรมคือภาษาของผู้รู้ธรรม ; ภาษาปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นภาษาธรรม เดี๋ยวจะแสดงให้เห็นเป็นลำดับไป.
ถ้าเราถือเอาความหมายของปฏิจจสมุปบาทในภาษาคนแล้ว ก็จะเกิดความยุ่งยาก และจะเข้าใจไม่ได้ ; จะยกตัวอย่างให้ฟังว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่โคนต้นโพธิ์นั้น การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าก็คือการทำลาย อวิชชาเสียได้ : พระพุทธเจ้าทำลายอวิชชาเสียได้ก็คืออวิชชาดับ ; อวิชชาดับสังขารก็ดับ ; สังขารดับ วิญญาณก็ดับ ; วิญญาณดับ นามรูปก็ดับ ; แล้วทำไมพระพุทธเจ้าไม่ตาย ? คิดดูทีหรือว่าดับอวิชชาเสียได้ ที่การตรัสรู้ที่โคนต้นโพธิ์นั้น เพราะอวิชชาดับสังขารก็ดับ คืออำนาจปรุงแต่งทางวิญญาณ และนามรูปก็ดับ , แล้วทำไมพระพุทธเจ้าไม่สิ้นพระชนม์คาที่ที่โคนต้นโพธิ์ นั้นในวินาทีนั้น ? นี้ก็เพราะว่าคำพูดในปฏิจจสมุปบาทนี้มันเป็นภาษาธรรม : คำว่าดับนี้ก็เป็นภาษาธรรม ; คำว่าเกิดนี้ก็เป็นภาษาธรรม ; ไม่ใช่เกิดทางเนื้อหนัง ไม่ใช่ดับทางเนื้อหนัง.
เมื่อเข้าใจไม่ถูกแล้วปฏิจจสมุปบาทสายหนึ่งก็จะเข้าใจเป็นว่าเกิด ๒ หน ; เกิดตรงนามรูปนี้ทีหนึ่ง แล้วไปเกิดตรงชาติโน้นอีกทีหนึ่ง ก็เลยเข้าใจว่าเกิด ๒ หน. เมื่อเข้าใจว่าเกิด ๒ หน ก็เลยมีสายปฏิจจสมุปบาททำให้เป็น ๓ ชาติ คือ ชาติในอดีต ชาติปัจจุบัน ชาติอนาคต มันเลยเตลิดเปิดเปิงยุ่งกันไปใหญ่ไม่ตรงตามเรื่อง ; และที่น่าขันที่สุดก็คือเมื่อเกิดพูดว่า เกิด ๒ หนได้, แต่พอถึงทีดับ หรือตายก็หากล้าพูดว่า ตาย ๒ หนไม่ เพราะไม่รู้ว่ามันจะตาย ๒ หนได้อย่างไร.
คำว่าภพ คำว่าชาติ ที่แปลว่า ความมีความเป็นหรือความเกิดขึ้นในกรณีของปฏิจจสมุปบาทนี้ มิได้หมายถึงความเกิดทางมารดา ไม่ใช่เกิดจากครรภ์มารดา ; มันเกิดทางนามธรรม ที่เกิดด้วยอุปาทาน ที่ปรุงขึ้นมาเป็นความรู้สึกว่า “ ตัวกู “ นั่นแหละคือเกิด . ข้อนี้ก็มีพระบาลีที่ตรัสไว้ชัดที่จะอ้างเป็นหลักได้ก็คือ มหาตัณหาสงขยสูตร อีกเหมือนกัน :-
พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้ในสูตรนั้นว่า “ นันทิใดในเวทนาทั้งหลาย นั่นคือ อุปาทาน “ หมายความว่าเมื่อเรามีการกระทบทางอายตนะ เกิดเวทนา เป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาอะไรก็ตาม, ก็มีนันทิในเวทนานั้น. * นั่นแหละคืออุปาทาน ; นันทิคืออุปาทาน เพราะว่านันทินี้มันเป็นที่ตั้งของความยึดถือ : ถ้ามีนันทิแล้วก็หมายความว่าต้องมีความยึดถือ.
นันทิแปลว่าความเพลิดเพลินหรือความพอใจ. นันทินั้นเองคืออุปาทานชนิดที่พระองค์ตรัส. เราพอใจสิ่งใดหมายความว่าเรายึดถือสิ่งนั้นเข้าแล้ว เพราะฉะนั้นนันทิเองคืออุปาทาน แล้วนันทินั้นเองเป็นสิ่งที่ต้องมีในเวทนา ; เพราะฉะนั้นเป็นอันว่าเมื่อใดเรามีเวทนา แล้วเมื่อนั้นมีนันทิ แล้วเมื่อนั้นมีอุปาทาน : “ เพราะมีอุปาทานนี้ก็มีภพ, เพราะมีภพนี้ก็มีชาติ , เพราะมีชาตินี้ก็มีชรามรณะเกิดขึ้นพร้อมเป็นความทุกข์ “
นี้แสดงว่าภพกับชาตินี้ มันมีติดต่อกันไปจากเวทนา จากตัณหา จากอุปาทาน ไม่ต้องรอต่อตายแล้วไปเกิดใหม่ ; ไม่ต้องรอให้ตายแล้วไปเกิดใหม่ จึงจะมีภพมีชาติ . สิ่งที่เรียกว่าภพว่าชาตินั้นจะมีอยู่ที่นี่ ในวันหนึ่ง ๆ ไม่รู้กี่ครั้งกี่คราว : และจะมีทุกคราวที่มีเวทนา ; แล้วประกอบอยู่ด้วยอวิชชาซึ่งเพลิดเพลินเป็นนันทิ ; และนันทินั้นคืออุปาทาน; อุปาทานก็สร้างภพสร้างชาติ ; ฉะนั้นคำว่าภพว่าชาตินั้นมีอยู่ที่นี่เดี๋ยวนี้ ในวันหนึ่ง ๆ ไม่รู้กี่ครั้งกี่ครา ไม่ต้องรอค่อตายแล้วไปเกิดใหม่
คำว่าภพว่าชาติในลักษณะอย่างนี้ มันเป็นภาษาธรรม ; ภาษาธรรมของผู้รู้ธรรม ไม่ใช่ภาษาชาวบ้าน . ถ้าเป็นภาษาชาวบ้าน ต้องรอต่อตายแล้วไปเกิดใหม่จึงจะมีภพมีชาติ แล้วก็มีทีเดียวเท่านั้น เพราะคนเรามันเกิดมาทีเดียวแล้วก็ตายเข้าโลงไปแล้วจึงจะมีภพมีชาติใหม่อีก. เดี๋ยวนี้ภพหรือชาติในภาษาธรรมมีวันหนึ่งหลายหน คือเกิดตัวกู --- ของกูหนหนึ่ง ก็เรียกว่ามีภพมีชาติหนหนึ่ง. แล้วเดือนหนึ่งก็มีได้หลายร้อยหน, ปีหนึ่งก็หลายพันหน, หลายพันภพชาติ , ฉะนั้นเราจะต้องรู้จัก สิ่งที่เรียกว่าภพว่าชาติ ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน วันหนึ่งหลาย ๆ หนนี้.
ทีนี้จะเห็นได้ทันทีว่า เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นเรื่องที่นี่ และเดี๋ยวนี้ ; ไม่ใช่รอต่อตายแล้ว หรือต้องกินเวลาตั้ง ๓ ชาติจึงจะมีปฏิจจสมุปบาทสักรอบหนึ่ง. ที่แท้ในวันหนึ่ง ๆ มีตั้งหลาย ๆ หน ; เมื่อใดมีเวทนา มีตัณหาอุปาทาน เมื่อนั้นมีรอบของปฏิจจสมุปบาท แล้วมีภพมีชาติ ; ทำให้เห็นได้ว่ามันมีในชีวิตประจำวันของคนทุกคน .
------------------------------------------------------------------------
หน้า ๑๑๓
วิญญาณตามความหมายในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าสังขารให้เกิดวิญญาณ ไม่ใช่ปฏิสนธิวิญญาณ, แล้วก็ถูกตู่เอาไปเป็นปฏิสนธิวิญญาณหมด โดยพวกที่รู้แต่ภาษาคน พูดแต่ภาษาคน มีตัวตน คร่อมภพคร่อมชาติเสียเรื่อย แต่ถ้าจะพูดกันอีกทีหนึ่งก็พูดได้เหมือนกันว่า วิญญาณอะไรก็ตามที่ทำหน้าที่ให้เกิดอุปาทาน ภพ ชาติ ในปฏิจจสมุปบาทได้ตามนัยที่ผมกล่าวมาแล้วข้างต้น, ก็อาจเรียกวิญญาณนั้นว่า “ ปฏิสนธิวิญญาณ “ ได้เหมือนกัน เพราะมันสืบต่อการเกิด “ ตัวกู “ ให้เกิด ๆ กันไป
---------------------
(๑). นามรูปเกิดดับ เกิดดับ ๆ ๆ ๆ อยู่ทุกขณะจิตนี้ จัดเป็นชั้นที่ไม่มีใครรู้ หรือไม่มีใครอยากรู้ และไม่จำเป็นจะต้องรู้ ว่านามรูปกายใจของเราเกิดดับ ๆ ๆ ๆ อยู่ทุกขณะจิต . นี้เป็นภาษาอภิธรรมเกินความต้องการ ; เพราะจิตนั้นมันมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามระยะของสิ่งที่เรียกว่า ภวังคจิต : แล้วก็ยังเร็วยิ่งกว่ากระพริบตาเสียอีก ; ฉะนั้น ตามความหมายนี้เขาถือว่า “ นาม -- รูป “ หรือว่าคน ๆ หนึ่งนี้เกิดดับ ๆ ๆ ๆ อยู่ทุกขณะจิต นับไม่ทัน : เราไม่มีปากที่จะนับมันทันเพราะว่าขณะจิตมันเร็วกว่าปากจะนับทัน.
นามรูปหรือคนนี้เกิดดับอยู่ทุกขณะจิต นี้ความหมายหนึ่ง. มันเทียบกับ frequency ของ ไดนาโม ไฟฟ้านั้น ; รอบหนึ่งก็คือไฟฟ้าออกมาทีหนึ่ง รอบหนึ่งไฟฟ้าก็ออกมาทีหนึ่ง ทีนี้มันนาทีหนึ่งละพันกว่ารอบมันก็เลยดูไม่ทัน แต่มันก็อาจติดกันเป็นดวงแดงโร่ที่หลอดไฟไม่มีกระพริบที่หลอดอย่างนี้ . ทีนี้จิตก็เหมือนกัน : มันถี่ยิบขนาดนั้นจนเราไม่รู้สึกว่าเราเกิดดับ ๆ ๆ เราต้องอาศัยการศึกษาเรื่องทางจิตชนิดนั้น จึงจะรู้ว่านามรูปหรือคนนี้มันเกิดดับ ๆ อย่างถี่ยิบอยู่ทุกขณะจิต หรือเร็วยิ่งกว่า frequency ของกระแสไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ทุก ๆ วันนี้เสียอีก. นี้มันเป็น เรื่องเกิดดับ ๆ อีกชนิดหนึ่งไม่เกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท. ปฏิจจสมุปบาทไม่ได้หมายถึงการเกิดดับชนิดนี้.
การเกิดดับทุกขณะจิตนี้มันเป็นกลไกทางจิตล้วน ๆ เป็นความรู้ส่วนเกิน ประเภทอภิธรรมเฟ้อโดยไม่ต้องเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท. และคำว่า “เกิด” ในกรณีอย่างนี้ เขาไม่ใช้คำว่า “ชาติ” แต่เขาไปใช้คำอื่นว่า อุปาทะ มี “อุปาทะ” : อุปาทะ – ฐิติ – ภังคะ, อุปาทะ – ฐิติ – ภังคะ , อุปาทะ – ฐิติ – ภังคะ ฯลฯ อย่างนี้เรื่อยไป. อุปาทะ = เกิด, ฐิติ = ตั้งอยู่ , ภังคะ = ดับไป. ใช้คำว่า อุปาทะ, มิได้ใช้คำว่าชาติ ; แต่ก็แปลว่า “เกิด” เหมือนกัน. เกิดขึ้น – ตั้งอยู่ -- ดับไป ๆ ถี่ยิบนับไม่ทัน นั่นแหละนามรูปหรือคนเราเกิดดับอยู่อย่างนั้นชนิดหนึ่ง




ท่านพุทธทาส กล่าวตู่พระพุทธพจน์ ว่าพระพุทธองค์ตรัส อธิบายธรรม ๒ ภาษา คือ ภาษาคน เช่น ปฏิจจสมุปบาทที่ตรัสถึงวิญญาณหยั่งลงครรภ์มารดา (ปฏิสนธิวิญญาณ) และ การเกิดในภพต่าง ๆ

และภาษาธรรม ที่ไม่ใช่แบบขณะจิตในพระอภิธรรม เพราะรวดเร็วเกินไป เกินกว่าที่ท่านจะเข้าใจ ท่านจึงอธิบายแบบใหม่ เป็น อึดใจเดียว และไม่เกี่ยวการภพภูมิ ว่านี้คือ ภาษาธรรม


อ้างอิงจาก:
เมื่อรู้ดูเห็นที่มาทั้งสองแห่งแล้ว ก็ร้องอ๋อ...เราดูตำรามุมเดียวแห่งเดียว

จึงเป็นอย่างนี้ ยิ้ม

ที่ที่เราถกๆเถียงๆกันอยู่โดยทั่วๆไป ก็มีลักษณะอย่างนี้แล


คุณกรัชกายครับ ผมว่าที่มีข้อขัดแย้งกันนี้ เพราะ ไม่ศึกษาพระไตรปิฏก อรรถกถา อย่างถ่องแท้ ตีความเองตามใจชอบ หรือไม่ก็ยึดติดความเห็น อัตตโนมติ เช่น ของท่านพุทธทาส มากกว่า
 


แก้ไขล่าสุดโดย เฉลิมศักดิ์1 เมื่อ 03 ก.ย. 2008, 5:57 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ย. 2008, 5:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ mes ครับ หากจะต่อว่าผมทำลายพระพุทธศาสนา ก็ช่วยชี้แจงด้วยว่า เข้าใจผิดในพระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ ของเถรวาท อย่างไร

ไม่ควรทำตนเยี่ยงท่านพุทธทาส ที่ต่อว่าผู้อื่นเพียงเพราะ ไม่เห็นด้วยกับการอธิบายธรรมของท่าน เช่น ที่เคยกล่าวตู่พระพุทธโฆษาจารย์(วิสุทธิมรรค) และ พระอนุรุทธาจารย์ (พระอภิธัมมัตถสังคหะ) เป็นต้น

จากหนังสือ ปฏิจจสมุปบาท ของท่านพุทธทาส

อ้างอิงจาก:
ทีนี้มาเดากันดูอีกทางหนึ่งดีกว่าว่า จะมีทางเป็นไปได้ไหมว่าอาจเกิดมีหนอนบ่อนไส้ขึ้นในพระพุทธศาสนา. มีคนขบถทรยศเป็นหนอนบ่อนไส้เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา แกล้งอธิบายเรื่องปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นหลักของพระพุทธศาสนาให้ผิดเสีย คือให้เป็นสัสสตทิฏฐิในฮินดู หรือกลายเป็นศาสนาพราหมณ์. ปฏิจจสมุปบาทของพระพุทธเจ้าไม่มีทางที่จะมีอัตตา, ชีโว, อาตมันหรืออะไรทำนองนั้น. ไม่มีทางที่จะเป็นอย่างนั้น เพราะว่าเป็นของพุทธ. แล้วถ้ามีใครมาอธิบายปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นหัวใจของพุทธศาสนาให้มันเกิดคร่อม ๓ ชาติอย่างนี้มันก็เกิดเป็นอัตตาขึ้นมา เขาก็กลืนพุทธศาสนาสำเร็จ. ถ้ามีเจตนาเลวร้ายกันถึงขนาดนี้ ก็แปลว่าต้องมีคนแกล้งอธิบายขึ้นมาให้มีช่องให้เกิดอัตตาขึ้นมาในพุทธศาสนา แล้วศาสนาพราหมณ์ก็กลืนศาสนาพุทธวูบเดียวหมดโดยกระทันหัน. นี้เป็นเรื่องสันนิษฐานในแง่เลวร้ายอย่างนี้ก็มีได้

เรื่องส่วนตัวพระพุทธโฆษาจารย์
ทีนี้จะวิจารณ์เรื่องส่วนตัวของพระพุทธโฆษาจารย์กันบ้าง ไม่ใช่จ้วงจาบ ไม่ใช่นินทา ไม่ใช่ใส่ร้าย แต่เอามาเป็นเหตุผลสำหรับการอธิบาย ปฏิจจสมุปบาทของท่าน(บางส่วนที่คร่อมภพชาติ ซึ่งท่านพุทธทาสถือว่าผิดจากหลักบาลี ) ซึ่งมันมีแง่ให้เราตั้งข้อสังเกตว่าพระพุทธโฆษาจารย์นั้น ท่านเป็นพราหมณ์โดยกำเนิดท่านเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของพราหมณ์ ท่านจบไตรเพทอย่างพราหมณ์คนหนึ่ง มีวิญญาณอย่างพราหมณ์ แล้วจึงมาบวชในพระพุทธศาสนานี้ แล้วได้รับการสมมุติกันในหมู่คนบางพวกว่าเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง เมื่อ พศ. ร่วมพันปี นักโบราณคดีถือว่าท่านเกิดที่อินเดียใต้ มิใช่ชาวมคธ บางพวกดึงท่านมาเป็นมอญก็มี ไม่เหมือนในอรรถกถา ที่ถือว่าท่านเป็นชาวมัธยมประเทศ ท่านเป็นพราหมณ์โดยเลือดเนื้อมาเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนานี้ แล้วถ้าเกิดไปอธิบายปฏิจจสมุปบาทของพุทธให้กลายเป็นพราหมณ์อย่างนี้ มันยิ่งสมเหตุสมผล คือท่านเผลอไปก็ได้ ถ้าท่านเผลอท่านก็ไม่ใช่พระอรหันต์เป็นแน่นอน ข้อนี้จะว่าอย่างไรก็ต้องพูดอย่างที่เรียกว่า ขอฝากไว้ให้ท่านผู้มีสติปัญญาพิจารณาดูเถิด

-------------------------------------

ลักษณะ ปฏิจจสมุปบาทธรรม ที่ท่านพุทธทาส กล่าวถึง

อ้างอิงจาก:
มหานิทานสูตร (พระสัมมาสัมพุทธเจ้า)


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๑๔๕๕ - ๑๘๘๗. หน้าที่ ๖๐ - ๗๗.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1455&Z=1887&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=57
----------------------------------------------------------------------

๒. วิภังคสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=16&A=33
--------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฏกฉบับสำหรับประชาชน

๒ . มหานิทานสูตร
สูตรว่าด้วยต้นเหตุใหญ่

http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/2.html

----------------------------------------------


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

มหาวรรค ญาณกถา ( พระสารีบุตร)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=95&Z=3331


-------------------------------------------------------------------------

ศึกษาอรรถกถานี้ ( พระอรหันต์สาวก) ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=1

------------------------------------------------------------

ศึกษา อาการ ๒๐ ในปฏิจจสมุปบาทธรรมเพิ่มเติมได้ที่

พระอภิธัมมัตถสังคหะ ( พระอนุรุทธาจารย์)

ปฏิจจสมุปปาทธรรม นัยที่ ๓ วีสตาการา (อาการ ๒๐)
http://abhidhamonline.org/aphi/p8/051.htm

-----------------------------------------------------------------
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ย. 2008, 8:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณเฉลิมศักดิ์ เคยได้ศึกษาปฏิจจสมุปบาททางสังคมไหมครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ย. 2008, 9:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ขันธ์มั่ว ธรรมะอะไร ยุ่งๆ มั่วๆ


คามินธรรม - ตอบเมื่อ: 02 กันยายน 2008, 11:54 pm

เว็บมาสเตอร์ครับ กรุณา บอกให้คามึนธรรม ถอนคำพูดเดี๋ยวนี้ครับ
เพราะคามึนธรรม กำลังใช้คำพูดไม่สุภาพ

และกรุณา ปล่อยให้ผมจัดการกับเด็กคนนี้ อย่าลบกระทู้ผม
เพราะว่า ต้นเหตุ ไม่ได้เกิดจากผม คามึนเป็นคนเริ่มทุกครั้งครับ
ไม่พิจารณาข้อธรรม แล้วมาตอบโดยอาศัยอคติส่วนตัว

เขาคุยกันด้วยเหตุผลอยู่ดีๆ เด็กคนนี้มาถึง ลามปราม ไม่รุ้จักกาลเทศะ
ขอให้เว็บมาสเตอร์ ดำเนินการจัดการด้วย
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ย. 2008, 9:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมขอเสนอ มาตรการลดตำแหน่ง บัว ของบุคคลที่เริ่มก่อนทุกครั้ง ที่มีการพูดจาคำหยาบ คือ ให้ลดคะแนนบัว หากพูดไม่ดีไปเรื่อยๆ บัวก็จะหดไปเป็น บัวใต้ตมครับ

มันต้องมีมาตรการครับ คุณ เว็บมาสเตอร์ ขอให้ดำเนินการ ลดตำแหน่งบัว ย้อนหลัง ลงโทษกับ คามึนธรรม
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง