ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
03 ก.ย. 2008, 6:57 am |
  |
ขอนำพระพุทธพจน์มาเสนอ
แสดงถึง ถึงความสัมพันธ์ของ อานาปานสติ สติปัฏฐานสี่ โพชฌงค์เจ็ด วิชชา-วิมุติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
การที่อานาปานสติที่เจริญให้มากแล้ว ยังให้บำเพ็ญสติปัฏฐานสี่ให้บริบูรณ์ นั้น
เป็นเพราะ สมาธิภาวนาที่บังเกิดจากอานาปนสติเป็นสมาธิภาวนานั้น มีลักษณะที่"เป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ" คือ พัฒนาหรือช่วยให้เจริญสติปัฏฐานสี่ได้ดีขึ้น
(ข้อ๓ ใน สมาธิภาวนา๔อย่าง
1. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร
(การอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน)
2. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ญาณทัสสนะ
3. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ
4. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
องฺ. จตุก.ก. 21/41/53; ...)
อานาปานสติ มีปรากฏอยู่ในอานาปานสติสูตร และมีปรากฏอยู่ในอานาปานบรรพ(ส่วนกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน)....
การพิจารณากายยานุปัสสนานั้น เมื่อเจริญให้ดีแล้ว ย่อมยังให้ได้เจริญทั้งเวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธัมมานุปัสสนา ไปด้วย... เพราะ สติมีหนึ่งเดียว หากแต่ระลึกไปตามอาการ ท่านจึงจัดเป็นสี่
จึงตรงกับคำกล่าวที่ว่า
"ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ "
เมื่อสติปัฏฐานสี่ เจริญได้ดีแล้ว ย่อมยังให้โพชฌงค์เจ็ด ที่ประกอบด้วย สติ สมาธิ ปัญญา บริบูรณ์ตาม.....
หลักธรรม ทั้งหลายนั้น ถึงจะมีความหมายในองค์ธรรมที่ชัดเจน แต่ ก็เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันไป อย่างแยกขาดออกจากกันไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
03 ก.ย. 2008, 7:02 am |
  |
ในโพชฌงค์เจ็ดนั้น สติเป็นแกนหลัก
ส่วนที่เป็น วิปัสสนา(สู่ปัญญา)จะประกอบด้วย ธัมมะวิจัย วิริยะ ปีติ. ปีติในธรรม ก็จะช่วยระงับเวทนาอันแผดกล้าได้ระดับหนึ่ง
ส่วนที่เป็น สมถะ(สู่สมาธิ) จะประกอบด้วย ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา. ซึ่งส่วนนี้ จะช่วยอย่างมาก..โดยเฉพาะอุเบกขา
โพชฌงค์เจ็ดเป็นธรรมสัมปยุกต์แห่ง สติ สมาธิ ปัญญา...
โดยเนื้อแท้แล้ว เป็นองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้
นอกจากนี้ ยังสามารถประยุกต์ใช้ในเวลาเจ็บป่วยได้อย่างดี
พระสาวกในครั้งพุทธกาลบางท่าน จะนิยมสวดโพชฌงคปริตให้เพื่อนภิกษุที่เจ็บป่วยฟัง
การรับมือกับการเจ็บไข้นั้น
ต้องใช้ สติ สมาธิ ปัญญา....
ถ้าทำสมาธิได้ ให้ทำจิตให้สงบเป็นเบื้องต้นก่อนด้วยอานาปานสติ จิตจะมีกำลังความเข้มแข็ง... และ ให้ใช้จิตที่มีกำลังแห่งสมาหิโต ที่นุ่มนวลควรแก่การงาน อันเป็นผลจากสมถะ พิจารณาธรรมในเวทนานุปัสสนา ในลักษณะ เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป....การพิจารณาเวทนา ลองอ่าน เวทนาปริคหสูตร หรือ เวนานุปัสสนา ดู.... พยายามพิจารณาให้ชัดเจนจนคลายจากความเห็น ว่า กาย เวทนา จิต จิตตสังขารเป็นเรา หรือ ของเรา... ไม่ผลักไสทุกขเวทนา ไม่วิ่งหาสุขเวทนา ..... ทุกข์มาก จะเหมือนทุกข์น้อย.....เมื่อจิตวางอุปาทานขันธ์ห้า
แต่ ถ้าไม่เคยฝึกอานาปนสติมาก่อนเลย ก็ลองกำหนดพิจารณา เวทนาตรงๆเลยก็ได้ครับ...แต่ต้องตั้งสติให้ดีๆน่ะครับ เพราะเวทนาที่แรงมากๆ จิตอาจจะจมไปกับเวทนาเลย.... เมื่อพิจารณาจนชัดเจน จนคลายจากความเห็น ว่า กาย เวทนา จิต จิตตสังขารเป็นเรา หรือ ของเรา...... จิตจะปล่อยวางจากขันธ์ห้า.... จิตจะสงบตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว มี ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา เกิดขึ้นเช่นกัน ในลักษณะ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
หลวงปู่ สิม พุทธาจโร ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์(วัดบรมนิวาส) ท่านเคยใช้การภาวนาระงับเวทนา ในการรับการผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยไม่ใช้ยาชาหรือยาสลบ(ในตอนนั้น เป็นสมัยสงครามโลก ยาชา และ ยาสงบ หาไม่ได้)... ซึ่ง ถ้าเป็นเรา-ท่าน มีหวัง สลบเพราะเวทนาแน่นอน |
|
|
|
  |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
03 ก.ย. 2008, 2:02 pm |
  |
ผมใช้อานาปานสติในวิธีของท่านพุทธทาส
ท่านตรงประเด็นมีข้อแนะนำหรือไม่ครับ
เอาวธีการปฏิบิติจริงครับ |
|
|
|
   |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
03 ก.ย. 2008, 5:17 pm |
  |
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
03 ก.ย. 2008, 5:20 pm |
  |
ความจริง อานาปนสติ ก็มีกล่าวไว้ในส่วน อานาปนบรรพ ของมหาสติปัฏฐานสี่.แต่ ในมหาสติปัฏฐานสี่นี้ มีรายละเอียดเฉพาะในส่วนการเจริญกายานุปัสสนา เท่านั้น.
ที่มีรายละเอียดมากกว่า คือ อานาปานสติสูตร
http://www.larnbuddhism.com/grammathan/tripitakapatibat/ana.html
ในอานาปนสติสูตร พระพุทธองค์ทรงแสดง การเจริญอานาปนสติ ในลักษณะที่ต่อมายัง เวทนานุปัสนา จิตตานุปัสสนา ธัมมานุปัสนา ....โดยใช้ผลที่เกิดสืบเนื่องจากขั้น กายานุปัสนา มาเป็นอารมณ์กรรมฐาน นั่นเอง |
|
แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 03 ก.ย. 2008, 5:40 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
03 ก.ย. 2008, 5:23 pm |
  |
ในขั้น เวทนานุปัสนากันต่อน่ะครับ
จาก พระพุทธพจน์
1.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดปีติ หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นกำหนดรู้ปีติ หายใจออก
2.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก
3.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก
4.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
ท่าน พุทธทาส ได้กล่าวไว้ดังนี้ครับ
กำหนดการที่จิตได้สัมผัสรส จิตอันนี้ คือตัวปรุง จิตกำหนดสิ่งที่ปรุง ให้รู้สึกอยู่เรื่อยๆ ทุกลมหายใจ เข้า-ออก ว่า มันปรุงจิตโพลงๆ อย่างนี้ |
|
แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 03 ก.ย. 2008, 5:42 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
03 ก.ย. 2008, 5:25 pm |
  |
หลวงปู่ ชา สุภัทโท
ท่านเคยกล่าว ถึง สมาธิในลักษณะ ที่เรียกว่า "น้ำไหลนิ่ง"
คือ ในขณะที่ น้ำมันนิ่ง มันก็ไหล.... ในขณะที่จิตสงบ ก็พร้อมเอื้อต่อการเห็นไตรลักษณ์
น้ำไหลนิ่ง
ธรรมเทศนา หลวงปู่ชา สุภัทโท
"....โยมรู้จักน้ำที่มันไหลไหม เคยเห็นไหม
น้ำนิ่งโยมเคยเห็นไหม
ถ้าใจเราสงบแล้ว มันจะเป็นคล้ายๆกับน้ำมันไหลนิ่ง โยมเคยเห็นน้ำไหลนิ่งไหม
แน่ะ ก็โยมเคยเห็นแต่น้ำนิ่ง กับน้ำไหล น้ำไหลนิ่งโยมไม่เคยเห็น.....
ตรงนั้นแหละ ตรงที่โยมคิดยังไม่ถึงหรอกว่า มันเฉยมันก็เกิดปัญญาได้
เรียกว่าดูใจของโยมมันจะคล้ายน้ำไหล แต่ว่านิ่ง ดูเหมือนนิ่ง ดูเหมือนไหล เลยเรียกว่า น้ำไหลนิ่ง
มันจะเป็นอย่างนั้น ปัญญาเกิดได้ ...."
http://www.watnongpahpong.org/aj27.htm
และ ลองพิจารณา สมาธิ๓ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้
ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ท่านสรุปประมวล ไว้ดังนี้
สมาธิ ๓ คือ
๑. สุญญตสมาธิ
๒. อนิมิตตสมาธิ
๓. อัปปณิหิตสมาธิ;
สุญญตสมาธิ สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง
ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ
อนิมิตตสมาธิ สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต
คือ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ
อัปปณิหิตสมาธิ การเจริญสมาธิที่ทำให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ
จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
หลวงตา มหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านเคยเทศน์ไว้ดังนี้ครับ
http://www.geocities.com/Tokyo/Gulf/4126/mahabua0001.html
การมาหลงอันนี้แล มาหลงผู้ที่รู้สิ่งทั้งหลายนี้แล ผู้นี้เป็นอะไรเลยลืมวิพากษ์พิจารณาเสีย เพราะจิตเมื่อมีวงแคบเข้ามาแล้วจะต้องรวมจุดตัวเอง จุดของจิตที่ปรากฏตัวอยู่เวลานั้นจะเป็นจิตที่ผ่องใส มีความยิ้มแย้มแจ่มใส มีความองอาจกล้าหาญ ความสุข ก็รู้สึกว่าจะรวมตัวอยู่ที่นั่นหมด สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดมันเป็นผลของอะไร ถ้าจะพูดว่าเป็นผลก็ยอมรับเป็นผล จะพูดว่าเป็นผลของปฏิปทาเครื่องดำเนินก็ถูกถ้าหากเราไม่หลงอันนี้นะ
ถ้ายังหลงอยู่มั้นก็ยังเป็นสมุทัย นี่ละจุดใหญ่ของสมุทัย
คือ ไม่ให้ยึดมั่น-ถือมั่น แม้นแต่ในจิตผู้รู้ |
|
แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 03 ก.ย. 2008, 5:45 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
03 ก.ย. 2008, 5:26 pm |
  |
ในขั้นธัมมานุปัสสนา ปฏินิสสัคคานุปัสสี
จิตน้อมไปสู่ความดับไม่เหลือ..... จิตย่อมเพียร น้อมสละออก แห่งความยึดมั่นถือมั่น ทุกลมหายใจเข้า-ออก
ทุกลมหายใจ-เข้าออก จึงเป็นไปเพื่อการสละคืนอุปาทานขันธ์ห้า
เพื่อ ไปสู่ความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งหลาย
อานาปนสติ ที่จัดเป็นมงกุฏแห่งกรรมฐานทั้งปวง... จึงยังให้สติปัฏฐานสี่สมบูรณ์
สติปัฏฐานสี่ที่สมบูรณ์.... จึงยังให้โพชฌงค์เจ็ดสมบูรณ์
โพชฌงค์เจ็ดที่สมบูรณ์.... จึงยังให้ วิชชา และ วิมุติ สมบูรณ์
ด้วยประการฉะนี้ |
|
แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 03 ก.ย. 2008, 5:49 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
03 ก.ย. 2008, 5:30 pm |
  |
เรื่องของ อานิสงส์ แห่งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก(อานาปานสติ)
๑๘๐. กายไม่หวั่นไหว จิตไม่หวั่นไหว "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอบรมทำให้มากซึ่งสมาธิ มีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ (อานาปานสติสมาธิ) กายย่อมไม่หวั่นไหว จิตย่อมไม่หวั่นไหว."
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๐๐
๑๘๑. เมื่อก่อนตรัสรู้ ทรงเจริญอานาปานสติมาก "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ตัวเรา ในสมัยก่อนจะตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์ ผู้ยังมิได้ตรัสรู้ ก็อยู่ด้วยวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่) นี้โดยมาก เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก กายของเราก็ไม่ลำบาก ตาของเราก็ไม่ลำบาก และจิตของเราก็พ้นจากอาสวะ (กิเลสที่ดองสันดาน) ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน. เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า กายของเราไม่พึงลำบาก ตาของเราไม่พึงลำบาก จิตของเราพึงพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เธอก็พึงทำไว้ในใจซึ่งสมาธิอันมีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์นี้ให้ดี."
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๐๑
๑๘๒. เมื่อตรัสรู้แล้ว ทรงอยู่ด้วยอานาปานสติโดยมาก ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอออกจากที่เร้น (ในป่าอิจฉานังคละ) เมื่อล่วงเวลา ๓ เดือนแล้ว จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้านักบวชเจ้าลัทธิอื่น๑ พึงถามอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมอยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรมอะไรโดยมาก ท่านทั้งหลายพึงตอบว่า พระผู้มีพระภาคอยู่จำพรรษาด้วยสมาธิ มีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ (อานาปานสติสมาธิ) โดยมาก."
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๒
๑๘๓. อริยวิหาร, พรหมวิหาร, ตถาคตวิหาร "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อกล่าวถึงธรรมใด ๆ โดยชอบ พึงกล่าวว่า อริยวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยเจ้า) บ้าง พรหมวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม) บ้าง ตถาคตวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคต) บ้าง. ผู้นั้นเมื่อกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิโดยชอบ ก็พึงกล่าวว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด ยังเป็นเสกขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) ยังมิได้บรรลุอรหัตตผล เมื่อปรารถนาธรรมอันยอดเยี่ยม อันปลอดโปร่งจากโยคะ (เครื่องผูกมัด) อยู่ สมาธิที่มีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ อันภิกษุเหล่านันเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ (กิเลสที่ดองสันดาน)."
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๓
๑๘๔. พระอรหันต์เจริญอานาปานสติทำไม ? "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด ที่เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ๒." อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีสิ่งควรทำอันได้ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันวางแล้ว มีประโยชน์ส่วนตนอันได้บรรลุแล้ว สิ้นกิเลสเป็นเหตุมัดไว้ในภพแล้ว พ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ. อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ."
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๓
๑๘๕. เจริญธรรมอย่างเดียว ชื่อว่าเจริญธรรมอย่างอื่นอีกมาก "ดูก่อนอานนท์ ธรรมอย่างหนึ่ง คืออานาปานสติสมาธิ (สมาธิ ซึ่งมีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์) อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐาน (การตั้งสติ) ๔ อย่างให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำให้โพชฌงค์ (องค์ประกอบแห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้) ๗ อย่างให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชา (ความรู้) วิมุติ (ความหลุดพ้น) ให้บริบูรณ์."
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๗ |
|
|
|
  |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
03 ก.ย. 2008, 8:17 pm |
  |
|
   |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ย. 2008, 6:36 am |
  |
ฝากถึง การตีความของคุณตรงประเด็นในเรื่องต่าง ๆ ด้วยครับ ระวังจะเป็นแบบนี้
อ้างอิงจาก: |
16785. อาศัยสมาธิระดับไหนในการทำให้ปัญญาเกิดขึ้น
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16785&postdays=0&postorder=asc&start=0
อ้างอิงจาก:
คุณตรงประเด็นครับ หากไม่เชื่อถือใน อรรถกถา ก็ไม่ต้องไปอ้างหลักธรรมที่ท่านอธิบายไว้นะครับ
หรือจะอ้างก็อ้างที่มาให้ครบ (ควรละอายใจบ้าง)
อนึ่งในแนวทางปฏิบัติแบบ สมถะยานิกะ และ วิปัสสนายานิกะ นี้ มีอธิบายอย่างละเอียดในอรรถกถา
ที่คุณตั้งประเด็นว่า ไม่มีในพระสูตร เพื่อต้องการชี้ประเด็นว่า ไม่ควรเชื่อถือ ?
|
|
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ย. 2008, 7:15 am |
  |
สมถะ และ วิปัสสนา ในระดับพระสูตร ประกอบกันเป็นองค์แห่งอริยมรรค จึงจะบังเกิดเป็นอริยมรรคสมังคี
ในขณะจิตที่ บังเกิดอริยมรรคสมังคี สมถะ ซึ่งเป็นสัมมาสมาธิ จะถูกเรียกว่า โลกุตรฌาน
อยากเสนอให้หาอ่าน คำจำกัดความของ สัมมาสมาธิ จากพระสูตรดั้งเดิม
จะเข้าใจชัดเจนขึ้น
สมถะในอริยมรรคสมังคี
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=31&start_byte=109458
[๑๔๗] อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วยโลกุตตรฌานที่เกิดแล้ว
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวโลกุตตรฌานว่าเป็นฌาน
บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์
ถ้าพระโยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้ว ย่อมเห็นแจ้ง ฉันใด
ถ้าเมื่อเห็นแจ้ง ก็พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดี ฉันนั้น
สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่
.....................................
พระสูตรนี้ ระบุชัดเจนว่า
ในขณะ ที่บังเกิดอริยมรรคสมังคี นั้น
สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่
คือ ต้องไม่มีการ"แยกขาด" สมถะ ออกจาก วิปัสสนา ...จึง จะบังเกิดอริยมรรคสมังคี ขึ้นได้
คำว่า "ตั้งใจมั่นดีแล้ว" คือ สัมมาสมาธิ
คำว่า"เห็นแจ้ง" คือ สัมมาญาณะ
..................................
และ จาก หนังสือพุทธธรรม
หน้า 331
"....เมื่อผู้เป็นวิปัสสนายานิกเจริญวิปัสสนาต่อๆไป สมาธิก็พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย ถึงตอนนี้อาจเจริญวิปัสสนาด้วยอุปจารสมาธิ(สมาธิจวนจะแน่วแน่ หรือ สมาธิจวนจะถึงฌาน)ก็ได้ จนในที่สุดเมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นก็จะแน่วแน่สนิทเป็นอัปปานาสมาธิ อย่างน้อยถึงระดับปฐมฌาน(ฌานที่1 หรือ รูปฌานที่1)
เป็นอันสอดคล้องกับหลักที่แสดงไว้แล้วว่า ผู้บรรลุอริยภูมิ จะต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาครบทั้งสองทั่วกันทุกบุคคล...." |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ย. 2008, 4:03 pm |
  |
http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=31&start_byte=535516
[๕๖๑] ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะ ว่าตรัสรู้ความพิจารณาเห็นแห่งวิปัสนา
ว่า ตรัสรู้ความมีกิจเป็นอันเดียวกันแห่ง สมถะและวิปัสนา
ว่า ตรัสรู้ความไม่ล่วงเกินกันแห่งธรรมที่คู่กัน
ๆๆลๆ
คำว่า สมถะ ที่ปรากฏอยู่ในระดับพระสูตร หรือ "สมถะที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้" เป็นองค์ประกอบแห่งอริยมรรค ที่มีกิจอันเดียวกัน(นำสู่ความพ้นทุกข์)กับ วิปัสสนา
แล้ว สมถะที่มีกิจอันเดียวกับวิปัสสนา จะถูกเหยียดให้เหมือนกันกับ สมถะของฤาษีไปได้อย่างไร???
สมถะ ในอริยมรรคสมังคี ที่เรียกว่า โลกุตรฌาน(สัมมาสมาธิ)นั้น...นอกจากจะไม่ควรเหยียดแล้ว ควรเจริญให้ยิ่งๆขึ้นไป(มรรค ควรเจริญให้ยิ่งๆขึ้นไป)เสียด้วยซ้ำ
สมถะ ในที่นี้ ย่อมหมายเอา สมถะที่เจริญขึ้นเมื่อปฏิบัติภาวนาตามหลักแห่งมหาสติปัฏฐานสี่.... ไม่จำเป็นต้องไปเจริญตาม สมถะกรรมฐาน40กอง(ของอาจารย์รุ่นหลัง) แต่อย่างใดเลย
ถ้าหากท่านใด ยังคลางแคลงใจว่า
ในการเจริญภาวนาตามหลักสติปัฏฐานสี่ สามารถเกิดสมาธิขึ้นได้โดยตรง จริงหรือ?
ลองอ่านพุทธพจน์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯ
กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นฌานแล้ว ๆลๆ
กายคตาสติ สามารถทำให้เป็นฌานได้
การเจริญภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน จึง มีทั้งส่วนของ สมถะ และ วิปัสสนา อยู่ในตัวพร้อมแล้ว |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ย. 2008, 4:29 pm |
  |
สมถะ ที่พระพุทธองค์ทรงใช้ในคืนวันตรัสรู้
เป็นคนล่ะอย่างกับ สมถะของฤาษีอาฬารดาบส-อุทกดาบส ครับ....
สคารวสูตร
http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=13&start_byte=906254
[๗๕๒] ดูกรภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีต ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียร อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้ แม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต จักเสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียร อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้. ถึงสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในบัดนี้ ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียรอย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้. ถึงเช่นนั้น เราก็ไม่ได้บรรลุญาณทัศนะอันวิเศษของพระอริยะอย่างสามารถ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยทุกกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้
จะพึงมีทางอื่นเพื่อความตรัสรู้กระมังหนอ.
เรามีความคิดเห็นว่า ก็เราจำได้อยู่ ในงานของท้าวศากยะผู้พระบิดาเรานั่งอยู่ที่ร่มไม้หว้ามีเงาอันเย็น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนี้กระมังหนอ จะพึงเป็นทางเพื่อความตรัสรู้. เราได้มีวิญญาณอันแล่นไปตามสติว่า ทางนี้แหละเป็นทางเพื่อความตรัสรู้.
เรามีความคิดเห็นว่า เรากลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมนั้นหรือ? จึงมีความคิดเห็นว่า เราไม่กลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม.
[๗๕๓] ดูกรภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า อันบุคคลผู้มีกายอันถึงความซูบผอม
เหลือทนอย่างนี้ จะบรรลุถึงความสุขนั้นไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงกินอาหารหยาบ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาสเถิด. เราจึงกินอาหารหยาบ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส. สมัยนั้น ภิกษุ(ปัญจวัคคีย์) ๕ รูป บำรุงเราอยู่ด้วยหวังใจว่า พระสมณโคดมจักบรรลุธรรมใด จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย. แต่เมื่อเรากินอาหารหยาบ คือ ข้าวสุกและขนมกุมมาส. พวกภิกษุ (ปัญจวัคคีย์) ๕ รูปนั้น เบื่อหน่ายเราหลีกไปด้วยความเข้าใจว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก.
ฌาน ๔
[๗๕๔] ดูกรภารทวาชะ ครั้นเรากินอาหารหยาบมีกำลังดีแล้ว
จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
เรามีอุมีเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข
เราบรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
พระสูตรนี้ เป็นการตรัสเล่าถึง การแสวงหาโมกขธรรมของพระพุทธองค์
เริ่มตั้งแต่ต้น จนตรัสรู้....
มีที่น่าสนใจ คือ
พระองค์เองเคยไปฝึกบำเพ็ญอรูปสมาบัติ
คือ อากิญจัญญายตน กับ ท่านอาฬารดาบส
และ เนวสัญญานาสัญญายตน กับ อุทกดาบสมาแล้ว
แต่พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า ไม่ใช่ทางตรสรู้ จึงหลีกออกมา ดังที่ตรัสว่า
เรามีความคิดเห็นว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน ย่อมเป็นไปเพียงเพื่ออุบัติในอากิญจัญญายตนพรหมเท่านั้น. เราไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไป. ๆลๆ
เรามีความคิดเห็นว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ย่อมเป็นไปเพียงเพื่ออุบัติในเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมเท่านั้น. เราจึงไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไป. ๆลๆ
และ ไปบำเพ็ญทุกรกิริยา จนเกือบสิ้นพระชนม์.... แต่ ก็ไม่บรรลุพระโพธิญาณ
จึงทรงหวลระลึก ถึง รูปฌานที่๑ ที่พระพุทธองค์เคยบำเพ็ญได้ตอนยังเป็นเจ้าชายสิตทัตถะ ดังที่ตรัสว่า
"....เรามีความคิดเห็นว่า ก็เราจำได้อยู่ ในงานของท้าวศากยะผู้พระบิดา
เรานั่งอยู่ที่ร่มไม้หว้ามีเงาอันเย็น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ทางนี้กระมังหนอ จะพึงเป็นทางเพื่อความตรัสรู้.
เราได้มีวิญญาณอันแล่นไปตามสติว่า ทางนี้แหละเป็นทางเพื่อความตรัสรู้.
เรามีความคิดเห็นว่า เรากลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมนั้นหรือ? จึงมีความคิดเห็นว่า เราไม่กลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม....."
ในคืน วันตรัสรู้ พระพุทธองค์ทรงใช้ อานาปนสติ (และ รูปฌาน๔) เป็นฐานให้บรรลุ ญาณ๓
ดังนั้น อย่ากลัวสมถะกัน จนเกินเหตุไปเลย
ถ้าจะกลัว ก็ควรกลัวสมถะแบบฤาษี .... แต่ อย่ากลัว สมถะที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ เลยครับ |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ย. 2008, 7:12 am |
  |
น้ำไหลนิ่ง
ธรรมเทศนา หลวงปู่ชา สุภัทโท
"....โยมรู้จักน้ำที่มันไหลไหม เคยเห็นไหม
น้ำนิ่งโยมเคยเห็นไหม
ถ้าใจเราสงบแล้ว มันจะเป็นคล้ายๆกับน้ำมันไหลนิ่ง โยมเคยเห็นน้ำไหลนิ่งไหม
แน่ะ ก็โยมเคยเห็นแต่น้ำนิ่ง กับน้ำไหล น้ำไหลนิ่งโยมไม่เคยเห็น.....
ตรงนั้นแหละ ตรงที่โยมคิดยังไม่ถึงหรอกว่า มันเฉยมันก็เกิดปัญญาได้ เรียกว่าดูใจของโยมมันจะคล้ายน้ำไหล แต่ว่านิ่ง ดูเหมือนนิ่ง ดูเหมือนไหล เลยเรียกว่า น้ำไหลนิ่ง
มันจะเป็นอย่างนั้น ปัญญาเกิดได้ ...."
http://www.watnongpahpong.org/aj27.htm
น้ำ เปรียบเสมือนจิต
ลักษณะของน้ำที่นิ่ง เปรียบเสมือนสมถะ
ลักษณะของน้ำที่ไหล เปรียบเสมือนวิปัสสนา
อริยมรรคสมังคี คือ อาการของน้ำไหลนิ่ง... เป็น อาการที่น้ำไหลแบบนิ่ง คือ ทั้งนิ่งและไหล
คือ ในขณะที่ จิตสงบตั้งมั่นก็เกิดปัญญาได้
เพราะ ลืมเลือนหลักการแห่งอริยมรรคสมังคี
จะเหลือ แต่เพียงความเห็นที่ว่า ถ้าสงบคือ ต้องไม่เกิดปัญญา....หรือ ถ้าเกิดปัญญาคือ ต้องไม่สงบ....
ขณะจิตที่สงบตั้งมั่นและเกิดปัญญาด้วย(อริยมรรคสมังคี) กลับไม่ค่อยมีใครพูดถึง |
|
|
|
  |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ย. 2008, 10:55 am |
  |
ผมเองก็ต้องสารภาพบาปอีกครั้ง
เมื่อเร็วๆนี้เอง
ที่นี้
ผมก็ปล่อยไก่ตัวเบ่อเริ่ม
ในเรื่อง
สมถะวิปปัสสนา ลื่ม อริยมรรคสมังคีไปชั่วขณะ
คือไปแยกสมถะกับวิปปัสนาออกจากกัน
ขอท่านทั้งหลายได้รับรู้ความโง่ของผมอีกครั้งครับ
ตอนนี้เข้าใจแล้วจากระทู้นี้
ทุกวันนี้ผมก็ใช้อานาปานสติอยู่ครับ
ใช้ทั้งพิจารณาและเจริญสมาธิ
หากผมเข้าใจผิด
ท่านช่วยชี้แนะทางผมด้วยครับ
คิดว่าช่วยสัตว์โลกผู้โง่เขลาเบาปัญญาสักตนหนึ่ง |
|
|
|
   |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ย. 2008, 1:32 pm |
  |
อนุโมทนาครับ คุณmes
ยินดี ที่กระทู้พอจะเป็นประโยชน์ต่อท่าน
ผมเองก็ไม่ใช่ว่าจะแตกฉานอะไรหรอก
ส่วนใหญ่ ก็มักจะนำพระสูตร หรือ คำกล่าวของพระสุปฏิปันโนมาลง
จนบางท่าน เข้าใจผิด ว่า ผมเป็นนักปริยัติ
ความจริงผมไม่ใช่นักปริยัติ เพราะนักปริยัติจะต้องศึกษาคัมภีร์รุ่นหลังต่างๆมากมาย ....ซึ่งผมเองก็ไม่ได้ศึกษาคัมภีร์รุ่นหลังมากนัก ด้วยเห็นคัมภีร์รุ่นหลังบางที่ ขัดแย้งกับพระสูตร และ ผมเองมีเวลาน้อย คงไม่สามารถไปไล่ศึกษาทุกคัวภีร์ได้... ส่วนใหญ่เลือกศึกษาโดยตรงจากพระสูตร
ผมก็ไม่ใช่นักปฏิบัติ เพราะรู้ตัวว่าปฏิบัติได้ยังไม่ดีสักเท่าใด
ยิ่งนักปฏิเวธ อย่าไปเป็นเลยครับ......
ผมเป็นผู้หนึ่งที่ยังคงมีทุกข์ และ พยายามหาทางออกจากทุกข์
ถ้าจะคุยกัน ก็คุยกันในฐานะ เพื่อนร่วมทุกข์ ที่พยายามจะหาทางออกจากทุกข์เถิด
ยินดีที่ได้สนทนาครับ |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ย. 2008, 1:36 pm |
  |
น้ำไหลนิ่ง
ห้วงน้ำใส ไหลช้า น่าพินิจ
ดุจดังจิต ที่ลึกไหล ไม่สับสน
น้ำยิ่งนิ่ง ยิ่งเรียบไหล ไม่วกวน
ประหนึ่งคน อิ่มเอม ด้วยเปรมใจ
บัณฑิตเปรียบ เปรยดุจ มหรรณพ
ดั่งปรารภ ลึกล้ำ ห้วงน้ำใหญ่
อันน้ำลึก นิ่งเย็น เฉกเช่นใด
พุทธสาวก ผ่องใส เมื่อฟังธรรม
น้ำไหลนิ่ง เวิ้งว้าง ทางน้ำไหล
เช่นจิตใจ สงบนิ่ง สิ่งลึกล้ำ
เพียรปล่อยวาง เลิกละ เป็นประจำ
จักชุ่มฉ่ำ เยือกเย็น เช่นนที
น้ำทั้งไหล และนิ่ง ยิ่งลึกสุด
สื่อวิมุตติ ธรรมล้ำเลิศ ประเสริฐศรี
มรรคทั้งแปด รวมพลัง สมังคี
บังเกิดมี ให้หลุดพ้น ทุกคนเอย
ตรงประเด็น |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ย. 2008, 4:08 pm |
  |
มีบางท่าน เคยกล่าวกับผมว่า
เวลาภาวนา แล้วเกิดอาการที่ว่า "หนักๆ ตื้อๆ ตันๆ คิดอะไรไม่ค่อยออก" ...ซึ่งนี่ คือ อาการของสมถะ...จริงหรือ?
อาการนี้ ....ความจริงแล้ว เรียกว่า นิวรณ์ ประเภทถีนมิทธะ ....
ซึ่ง นิวรณ์นี้เป็นศัตรูของสมาธิ เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสียจึงจะเกิด สมาธิได้ เสียด้วยซ้ำ
จาก พุทธธรรม หน้า 829
"3. ถีนมิธะ ความหดหู่และเซื่องซึม หรือ เซ็งและซึม
แยกเป็น ถีนะ ความหดหู่ ห่อเหี่ยว ถดถอย ระย่อ ท้อแท้ ความซบเซา ง่วงเหงา ละเหี่ย ที่เป็นอาการของจิตใจ
กับ มิทธะ ความเซื่องซึม เฉื่อยเฉา ง่วงเหงา หาวนอน โงกง่วง อืด อาด มึนมัว ตื้อตัน อาการซึมๆ.....ๆลๆ "
คือ คำว่า ถีนมิทธะบางท่านจะเข้าใจเพียงแค่อาการง่วงโงกเวลาเจริญภาวนาเท่านั้น
แต่ ความจริง อาการตื้อๆ ตันๆ ไม่แจ่มใส ในสภาวะทั่วๆไป ก็จัดเป็นถีนมิทธะ เช่นกันครับ
ความเข้าใจที่ว่า อาการตื้อๆตันๆ คือ อาการของจิตที่เป็นสมาธิ จึงไม่ถูกต้อง หรือ ถ้าจะจัดให้เป็นสมาธิ ก็ต้องเรียกให้ชัดเจนว่า มิจฉาสมาธิ
ผมเห็นว่า จิตต้องปราศจากนิวรณ์(แม้นชั่วขณะ) รวมถึงปราศจากถีนมิทธะ จึงจะจัดว่า เป็นจิตที่มีสัมมาสมาธิครับ |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ย. 2008, 4:22 pm |
  |
จาก พุทธธรรม หน้า 830
"สมาธิ ซึ่งเป็นเป้าหมายของ อธิจิตตสิกขานั้น จึงหมายถึง ภาวะจิตที่มีคุณภาพและมีสมรรถภาพดีที่สุด
จิตที่เป็นสมาธิ หรือ มีคุณภาพดีสมรรถภาพสูงนั้น มีลักษณะที่สำคัญดังนี้
1.แข็งแรง มีพลังมาก ท่านเปรียบไว้เหมือนกระแสน้ำที่ถูกควบคุมให้ไหลพุ่งไปในทิศทางเดียว ย่อมมีกำลังแรงกว่าน้ำที่ถูกปล่อยให้ไหลพร่ากระจายออกไป
2.ราบเรียบ สงบซึ้ง เหมือนสระ หรือ บึงน้ำใหญ่ ที่มีน้ำนิ่ง ไม่มีลมพัดต้อง ไม่มีสิ่งรบกวนให้กระเพื่อมไหว
3.ใส กระจ่าง มองเห็นอะไร ๆ ได้ชัด เหมือนน้ำสงบนิ่ง ไม่เป็นริ้วคลื่น และ ฝุ่นละอองที่มีก็ตกตะกอนนอนก้นหมด
4.นุ่มนวล ควรแก่งาน หรือ เหมาะแก่การใช้งาน เพราะไม่เครียด ไม่กระด้าง ไม่วุ่น ไม่ขุ่นมัว ไม่สับสน ไม่เร้าร้อน ไม่กระวนกระวาย...." |
|
|
|
  |
 |
|