Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 โครงการ “วัดวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติ 80 วัด” อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
weewan
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 26 ส.ค. 2008
ตอบ: 25
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 27 ส.ค. 2008, 11:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โครงการสนับสนุนวัดเป็นศูนย์กลางสร้างสุขของชุมชน
“วัดวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติ 80 วัด”

สำหรับวัดวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติ มีพันธกิจหลักคือ จัดกิจกรรมภายในวัดทุกวันอาทิตย์เต็มวัน โดยกิจกรรมหลักเป็นกิจกรรมทางศาสนาที่ครอบคลุมทั้งการบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา การเผยแพร่พระธรรมคำสอนที่จะช่วยนำความสุขสงบอย่างแท้จริงมาสู่ทุกคน และสังคมประเทศชาติ ส่วนกิจกรรมเสริมอื่นๆ เช่นทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม งานฝีมือฯ เป็นยุทธศาสตร์ในการดึงคนกลุ่มอายุต่างๆ ให้เข้าวัดมากขึ้น แต่ควรเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างสติ สมาธิ ไม่ใช่กิจกรรมที่อึกทึก หรือสนุกสนานแบบทางโลก คนเหล่านี้เมื่อได้เข้าวัด คุ้นเคย และได้รับฟังธรรมบ้างย่อมเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ทางโครงการฯ จึงใช้คำขวัญหลักในการประชาสัมพันธ์ว่า

“เข้าวัดทุกวันอาทิตย์ ชีวิตเป็นสุข”

กิจกรรมหลักของวัดวิถีพุทธ มี 4 ข้อ คือ
1. สงบร่มเย็น สะอาดตา สว่างใจ
2. สืบต่อพระศาสนา ร่วมใจศึกษาพระไตรปิฎก
3. บวชเนกขัมมะบารมี
4. พุทธอาสา สะสมบุญได้ ไม่ต้องใช้เงิน

ข้อที่ 1
สงบร่มเย็น คือ บรรยากาศสงบ ไม่มีเสียงอึกทึก หรือเสียงประกาศเชิญชวนทำบุญต่างๆ หรือพุทธพาณิชย์อื่นๆ เพื่อให้สาธุชนที่เข้าวัดรู้สึกเป็นสุข จากความสงบกาย สงบวาจา สงบใจ สะอาดตา คือ สถานที่ อาคาร อุปกรณ์ต่างๆ ภายในวัด สะอาด ร่มรื่น เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้ผู้ที่เข้ามา สบายตา สบายใจ สว่างใจ คือ สถานที่ บรรยากาศ และกิจกรรมภายในวัด เกื้อหนุนส่งเสริมให้สาธุชนที่เข้าวัด ได้มีโอกาสรับฟังธรรมะ และได้ปฏิบัติธรรม ตามคำสอนของพระพุทธองค์ อันจะนำให้เกิดปัญญา (สว่างใจ) ทำให้มีความสุขในชีวิตมากขึ้น หรือมีความทุกข์น้อยลง ทั้งปัจจุบัน และเบื้องหน้า

ข้อที่ 2
สืบต่อพระศาสนา ร่วมใจศึกษาพระไตรปิฎก จุดประสงค์ ให้สาธุชนได้ศึกษาธรรมะภาคปริยัติ โดยการอ่านพระไตรปิฎกส่วนสุตตันตปิฎก ซึ่งเป็นธรรมะจากพระโอษฐ์ ที่ผู้อ่านจะได้รับทราบเหตุการณ์ในสมัยพุทธกาล และได้เรียนรู้พระธรรมคำสอนอันเป็นประโยชน์ สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

แนวทางการจัดกิจกรรม
- พระภิกษุของวัดช่วยกันศึกษา และ คัดเลือกพระสูตรที่คิดว่าเหมาะสม จัดพิมพ์หรือถ่ายเอกสารแจกให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสวดสาธยายพร้อมกัน เป็นภาษาบาลี หรือจะคำแปลไทยด้วย แล้วแต่จะพิจารณาตามที่เห็นควร
- หลังจากสวดแล้วจึงขยายผลต่อ โดยบรรยายคำแปลของพระสูตรนั้นให้สาธุชน เข้าใจและเห็นความสำคัญพร้อมทั้ง ประโยชน์ของเนื้อหาในพระสูตร แล้วจึงเชิญชวน แนะนำให้หาเวลามาอ่านศึกษาพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย เกี่ยวกับพระสูตร อื่นๆ ต่อไปอีก ตามแต่เวลาที่สะดวกของแต่ละคน
- ทางพระภิกษุสงฆ์อาจจะคัดเลือกและแนะนำว่าควรจะอ่านพระสูตรใดบ้าง โดยอาจจะจัดกลุ่มเป็นระดับพระสูตรที่สอนง่ายๆ เนื้อหาเบื้องต้นที่จะเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตทั่วๆ ไป และอีกกลุ่มเป็นระดับที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเจริญภาวนาที่ละเอียดลึกซึ้งขึ้น เพื่อให้สาธุชน เลือกอ่านตามที่ตนสนใจได้โดยทางวัดอาจจะจัดสมุดเล่มใหญ่ ให้สาธุชนที่ได้มาอ่านพระไตรปิฎก ได้เขียนบันทึกไว้ ตัวอย่างเช่น

ข้อที่ 3
บวชเนกขัมมะบารมี จุดประสงค์ ส่งเสริมธรรมะภาคปฏิบัติ ทั้งเรื่องของการรักษาศีล และเจริญภาวนาโดยเน้นการใช้คำว่า บวชเนกขัมมะ (แทนคำว่าบวชชีพราหมณ์) ซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธองค์

แนวทางการจัดกิจกรรม
- ธรรมบรรยาย ถึงอานิสงส์ของการรักษาศีล 8 รวมทั้งการเจริญภาวนา ส่งเสริมสนับสนุนให้สาธุชนมีศรัทธา บวชเนกขัมมะ เป็นครั้งเป็นคราวตามความสะดวกของแต่ละคน เช่น บวชทุกวันอาทิตย์ที่มาร่วมกิจกรรมหรือ ทุกวันพระ หรือ ทุกวันเกิด (จันทร์, อังคาร ฯ) หรือเดือนละครั้ง แล้วแต่ศรัทธา
- จัดพิธีบวชเนกขัมมะให้เป็นรูปธรรมในกิจกรรมวันอาทิตย์ โดยพร้อมกันสมาทานศีล 8 ตลอด 1 วัน 1 คืน และเจริญภาวนาร่วมกัน

ข้อที่ 4
พุทธอาสา สะสมบุญได้ ไม่ต้องใช้เงิน จุดประสงค์ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เรื่องการทำบุญ โดยยึดหลักของบุญกิริยาวัตถุ 10 ว่าการทำบุญ ทำความดีนั้น มีมากมายหลายประการและสามารถทำได้ด้วยตัว ด้วยใจ โดยไม่ต้องใช้เงิน ส่งเสริมให้สาธุชน เยาวชน ร่วมเป็นพุทธอาสา ทำบุญ ทำความดีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและชุมชน เช่นการช่วยทำความสะอาดวัด, ห้องน้ำ, สถานที่สาธารณะ, ดูแลต้นไม้, ช่วยเหลือคนชรา, ประพฤติตนสุภาพอ่อนน้อม ฯลฯ

แนวทางการจัดกิจกรรม
- ทางโครงการฯ จะจัดพิมพ์ “สมุดบันทึกพุทธอาสา” มอบให้วัดวิถีพุทธเพื่อแจกจ่ายให้กับสาธุชนที่ประสงค์ เข้าร่วมเป็นพุทธอาสา ทำความดีตามบุญกิริยาวัตถุ 10
- พุทธอาสาจะได้ใช้บันทึกความดีที่ตนเองได้ทำทุกครั้ง เมื่อได้ทบทวนในภายหลัง ก็จะเกิดปิติ อิ่มใจในบุญกุศล ในความดี ที่ตนได้สะสมมา
- ทางวัดเองอาจจะจัดสมุดเล่มใหญ่ให้พุทธอาสา ที่เข้ามาทำความดีในวัดได้ลงบันทึกไว้เป็นหลักฐาน โดยอาจทำเป็นตารางไว้ในสมุด ดังตัวอย่าง

ในแต่ละเดือน หรือแต่ละไตรมาส ทางวัดอาจจะประกาศรายชื่อ เชิดชูยกย่องพุทธอาสาที่ทำความดีมาก และหลากหลายประการ หรืออาจแจกใบประกาศเกียรติคุณ เป็นการสร้างค่านิยมที่ถูกต้องในสังคมให้ยกย่องคนที่ความดี ไม่ใช่เงินทอง

จากกิจกรรมหลักทั้งหมดที่กล่าวมา ทางวัดอาจจะนำมาจัดเป็นตารางกิจกรรมวันอาทิตย์ได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

9.00 น.
สวดมนต์ ไหว้พระ ถวายสังฆทาน

10.00 น.
บวชเนกขัมมะ สำหรับผู้สมัครใจ รักษาศีล 8 เป็นเวลา 1 วัน 1 คืน
- ธรรมบรรยาย (เนื้อหาง่าย ๆ สำหรับบุคคลทั่วไป)
- นั่งสมาธิช่วงสั้นๆ

11.00 น.
ถวายภัตตาหารเพล (พระทั้งวัด หรือกี่รูป แล้วแต่จะกำหนด)
(อาหาร อาจจะให้สาธุชนต่างนำมา หรือทางวัดอาจจะทำเสริมบ้าง
แล้วแต่ความเหมาะสม)

12.00 น.
สาธุชนรับประทานอาหารร่วมกัน
(และจัดอุปกรณ์สถานที่ให้ต่างคนต่างล้างจานของตนเอง)

13.00 น.
พระและผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด ร่วมสวดสาธยายพระสูตรเป็นภาษาบาลีเสร็จแล้ว พระภิกษุบรรยายคำแปล เนื้อหาของพระสูตรนั้น พร้อมทั้งบรรยายให้เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการศึกษาพระสูตรในพระไตรปิฎก เชิญชวนให้มาอ่านพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย (เมื่ออ่านแล้ว อาจจะให้จดบันทึกในสมุดว่าอ่านพระสูตรอะไร ได้ข้อคิดหรือประโยชน์อะไรบ้าง)

14.00 น.
กิจกรรมธรรมบรรยายภาคปฏิบัติ และฝึกปฏิบัติธรรม เดินจงกรม นั่งสมาธิ
สำหรับผู้ที่สนใจการภาวนา และผู้ที่บวชเนกขัมมะ

14.00 น.
สำหรับเยาวชน หรือผู้ที่ไม่สนใจการภาวนา ให้แยกไปทำกิจกรรมพุทธอาสาอื่นๆ เช่น ทำความสะอาดห้องน้ำ อาคารสถานที่ เก็บขยะ ทำสวนฯ หรือสอนทำงานฝีมืองานศิลป์ฯ ที่ช่วยในการฝึกสติ สมาธิ หรือฝึกสมาธิทางกาย เช่น รำมวยจีน โยคะ รำไทยฯ หรือจัดแข่งขันตอบปัญหาธรรมะ, ประกวดการเล่านิทานชาดก ประกวดเรียงความหัวข้อธรรมะ เช่น ความสุขอยู่ที่ไหน, วัตถุนิยมดีหรือไม่ ฯลฯ หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่วัดเห็นสมควร

15.30 น.
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด-ฟังธรรม นั่งสมาธิช่วงสั้นๆ
- แผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล

16.00 น. ปิดกิจกรรมวันอาทิตย์
แต่ถ้าทางวัด เดิมมีการสวดมนต์เย็นอยู่แล้ว จะทำกิจกรรมต่อเนื่องกันไปเลย ก็แล้วแต่ความเหมาะสม

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.
 

_________________
ตาต่อตา ฟันต่อฟัน โลกบรรลัย
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
weewan
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 26 ส.ค. 2008
ตอบ: 25
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 27 ส.ค. 2008, 11:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

“๑๐ เหตุผลของคนเกลียดวัด”
กับเหตุผลที่ทำให้คนไม่ชอบเข้าวัด

๑). ไม่เข้าใจเรื่อง..ทางจิตวิญญาณ...
...เพราะมัวแต่หลงใหลในวัตถุนิยมมากเกินไป
...ไม่เห็นแสงสว่างทางจิตวิญญาณ

๒). ไม่เข้าใจเรื่อง...ศาสนา...
...รู้จักเฉพาะพระศาสดาชนิดที่เป็นบุคคล
...แต่ไม่รู้จักพระศาสดาที่แท้จริง
...นั่นก็คือระบบธรรมวินัย คำสั่งสอนแห่งศาสนานั้นๆ

๓). ไม่เข้าใจเรื่อง...ธรรมะ...
...เพราะไม่ชอบอ่าน ไม่ชอบฟัง ไม่ศึกษาค้นคว้า
...ธรรมะคือหน้าที่ตามกฎธรรมชาติ
...ธรรมะนั้นต้องมีในทุกสิ่ง
...ธรรมะนั้นเป็นแสงสว่างทางจิตวิญญาณ
...จิตใจอาศัยธรรมะเป็นแสงสว่าง
...ตะเกียงก็ไม่เป็นแสงสว่างให้แก่จิตใจได้
...ดวงอาทิตย์สักร้อยดวงพันดวงก็ไม่เป็นแสงสว่างให้แก่จิตใจได้

๔). ไม่เข้าใจเรื่อง...ภาษาคน ภาษาธรรม...

๕). ไม่เข้าใจเรื่อง...โลกุตตระและนิพพาน..
...เพราะเข้าใจว่าอย่าเอาเรื่องโลกุตตระ เรื่องนิพพานมาให้ชาวบ้าน
..ที่จริงเรื่องแล้วเรื่องเหล่านี้ไม่ได้อยู่สุดกู่อยู่ที่นี่และเดี๋ยวนี้
...อาจจะหาพบได้ทุกคราวที่มีความทุกข์เกิดขึ้น
...ส่วนใหญ่เข้าใจภาษาคนแต่ไม่รู้ภาษาธรรม
...ภาษาธรรมเป็นภาษาที่ลึกซึ้ง กินใจมุ่งเน้นให้เห็นจริง ตามความเป็นจริง


๖). ไม่เข้าใจเรื่อง...ศีลธรรม...
..เรื่องศีลธรรมนั้นเป็นเรื่องหัวใจของทุกเรื่องสำหรับความเป็นมนุษย์
...จึงควรจะทำให้เด็กๆ มีศีลธรรมมาตั้งแต่ในท้อง

๗). ไม่เข้าใจเรื่อง...พระเจ้าพระสงฆ์...
...พระเจ้าพระสงฆ์ คือตัวอย่างแห่งบุคคล
...ผู้เป็นอยู่ด้วยความสะอาด สว่าง สงบ
...เป็นผู้สะอาดบริสุทธิ์ รอดจากการบีบคั้นของความทุกข์
...เป็นอิสระแก่กิเลส มีปกติไม่วุ่นวาย แล้วก็เยือกเย็นเป็นนิพพาน

๘). ไม่เข้าใจเรื่อง...ความสุข...
...ระบบของความสุขมันขึ้นอยู่กับระดับจิต
...ในส่วนของปุถุชน มี ๓ ก. คือ กิน กามเกียรติ
...ในส่วนของผู้ฝึกจิต มี ๓ ส. คือ สะอาด สว่าง สงบ

๙). ไม่เข้าใจเรื่อง...การทำบุญให้ทาน..
...แท้จริงการทำบุญให้ทานไม่เกี่ยวกับการได้หน้าได้ตา
...แต่เกี่ยวกับประโยชน์ที่จะช่วยผู้อื่นให้ได้รับความสุข
...และตัวเองก็ได้บรรเทากิเลสที่เป็นเหตุให้เห็นแก่ตัวลดลงไปทุกทีๆ
...จิตที่คิดจะให้สบายและประเสริฐกว่าจิตที่คิดจะเอา
...การบริจาคคือการได้เพิ่มมากขึ้น การเก็บเอาไว้นั้นคือการสูญเสีย

๑๐). ไม่เข้าใจเรื่อง...จิตว่าง...
...เป็นการอยู่มีชีวิตอยู่ มีลมหายใจอยู่ตามแบบพุทธะ
...คือ ทำงานด้วยจิตว่างบริโภคด้วยจิตว่าง พักผ่อนด้วยจิตว่าง
...ได้แก่ว่างจากความรบกวนของกิเลสและความทุกข์
...กิเลสไม่รบกวนก็เรียกว่า..อยู่ว่าง...
...ถ้ากิเลสมารบกวน มันก็ไม่ว่าง ก็ไปต่อสู้กับกิเลสอยู่
...ความทุกข์ก็เหมือนกัน ถ้ามันเกิดขึ้นแล้ว

คนเกลียดวัดคงไม่ชอบ...
ไม่ชอบทำจิตใจให้เกลี้ยง...ไม่ชอบให้จิตใจอิสระ..
ไม่ชอบให้จิตใจว่าง...

...เขาว่ามันไม่มีรส ไม่มีชาติ
...เขาก็จะไปหมกมุ่นอยู่กับเรื่องกามารมณ์ ทรัพย์สมบัติ
...เกียรติยศ ชื่อเสียง อะไรไปตามเรื่องของเขาอย่างเหนี่ยวแน่น....

คนเกลียดวัดเลยไม่มีโอกาสพบกับความที่จิตมันเกลี้ยง
หรือว่าง..หรือสงบ...หรือเย็น...หรือเป็นอิสระ..

...การเข้าวัดจึงเป็นโอกาสอันดี...
...ที่เราจะได้เข้ามาวัดเพื่อพัฒนาจิต...
...เป็นการวัดคุณธรรมในจิตใจของเรา..

วัดจึงไม่ได้อยู่ไกลเกินที่เราจะเข้าไปทำความรู้จัก..
เพราะวัดก็อยู่ในตัวเรานั่นแหละ...

...ลองวัดคุณธรรมและพัฒนาจิต เพื่อชีวิตที่ดีงามกันเถอะ..
...จงอย่าเกลียดวัดอย่าเกลียดการพัฒนาจิตกันเลย
 

_________________
ตาต่อตา ฟันต่อฟัน โลกบรรลัย
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
อิทธิกร
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 28 ส.ค. 2008
ตอบ: 137
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 4:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดีคับ
 

_________________
ชีวิตที่รู้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2008, 10:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โมทนาบุญด้วยจ้า สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง