Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หลักการแนะนำธรรมะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เมธี
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2008, 12:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

guest พิมพ์ว่า:
การสอนธรรมของท่านผู้สิ้นกิเลส
จะหนักเพียงใด
ก็เหมือนน้ำดับไฟ

ไฟก็เปรียบเป็นกิเลสในใจผู้ฟัง
น้ำก็เปรียบเป็นธรรม จากคำสอนของท่านผู้สิ้นกิเลส

ส่วนคนมีกิเลส
คำสอนจะมีกิเลสแทรกไปทุกขณะ
ธรรมที่แสดงออกไปด้วยความไม่แม่นยำ
อาจเป็นการเติมเชื้อไฟ
ให้ไฟกิเลสของผู้ฟัง ลุกโชนหนักยิ่งขึ้น


ลึกซึ้งครับ

สาธุ
 


แก้ไขล่าสุดโดย เมธี เมื่อ 22 ส.ค. 2008, 2:10 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
เมธี
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2008, 12:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในการสั่งสอนชาวโลก พระพุทธเจ้าจึงมิได้ทรงถือเอา “ความจริง” และ “ความพอใจของคน” เป็นหลักในการสั่งสอน แต่ทรงถือเอา “ความจริงและความมีประโยชน์” ประกอบกับ “ความเหมาะสมในเรื่องกาลเวลา” เป็นหลักสำคัญในการสอน ดังที่ทรงตรัสอธิบายไว้ในอภยราชกุมารสูตร ความว่า

วาจาไม่จริงไม่แท้ ไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบของคน ตถาคตไม่กล่าว
วาจาที่ไม่จริงที่แท้แต่ ไม่มีประโยชน์ แม้เป็นที่รักที่ชอบใจของคน ตถาคตไม่กล่าว
วาจาที่จริงที่แท้ มีประโยชน์ เป็นที่รักที่ชอบของคน ตถาคตรู้เวลาที่จะกล่าว
วาจาไม่จริงไม่แท้ ไม่มีประโยชน์ แม้เป็นที่รักที่ชอบใจของคน ตถาคตไม่กล่าว
วาจาที่จริงที่แท้ แต่ไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของคน ตถาคตไม่กล่าว
วาจาที่จริงที่แท้ มีประโยชน์ แม้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของคน ตถาคตรู้เวลาที่จะกล่าว

กล่าวโดยสรุปก็คือ ทรงเลือกสอนเฉพาะความจริงที่มีประโยชน์ตามความเหมาะส มแก่กาลเทศะเท่านั้น

คัดลอกมาจากhttp://www.buddatabase.org/webboard/showthread.php?p=66

ผิดถูกประการใดโปรดชี้แนะ
สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2008, 1:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เปลี่ยนชื่อกระทู้สะแระ อายหน้าแดง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เมธี
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2008, 1:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เปลี่ยนยังไงเหรอครับ ท่านผู้เปลี่ยนกรุณาบอกวิธีด้วยครับ

กระผมว่าจะเปลี่ยน แต่เปลี่ยนไม่เป็นอ่ะครับ

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
มิตรตัวน้อย
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 12 พ.ค. 2008
ตอบ: 48

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2008, 1:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่ยากเลย Login สมาชิก มุมขวาบนมีเครื่องหมายแก้ไข กดตรงนั้นก็สามารถแก้ไข กระทู้ตัวเองได้ คนอื่นทำไมได้ นอกจาก Admin,webmaster จ้า

เจ๋ง ยิ้มเห็นฟัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2008, 7:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมธี พิมพ์ว่า:
ขอบคุณ คุณ walaiporn สำหรับข้อชี้แนะครับ

กระผมแก้ไขข้อความแล้วครับ แต่ หัวกระทู้ไม่รู้จะแก้ยังไง ขำ

ขอคุณ walaiporn ชี้แนะเพิ่มเติมด้วยครับ สำหรับเทคนิคการสอดแทรกหรือแนะนำธรรมะทั่วๆไปของคุณ ที่สามารถนำไปใช้กับบุคคลรอบข้าง เช่นครอบครัว เพื่อนฝูง เพื่อประโยชน์ของคนเหล่านั้น ครับ

สาธุ


สวัสดีค่ะคุณเมธี

-- ถ้าถามเรื่องเทคนิคการสอดแทรกก็จะดูอยู่นานค่ะ ว่าสมควรจะเข้าไปสอดแทรกหรือไม่ สมควรที่จะสนทนาด้วยหรือไม่ ส่วนมากจะสนทนาทีละบุคคลมากกว่าค่ะ ถ้าเป็นกลุ่ม ก็เลือกฟังคำถามที่เขาถามกันมา ก็จะเลือกจากข้อปลีกย่อยที่อธิบายน้อยที่สุดก่อน อย่างเช่น บางคนติดนิมิต ติดปีติ ติดสุข จะตอบตรงนี้ก่อน เพราะง่ายสุดในการอธิบาย ส่วนคนไหนปัญหามาก เอาไว้สนทนาหลังสุดค่ะ ส่วนมากคนที่ถามมาไม่ค่อยจะอยากทราบวิธีที่จะแก้หรอกค่ะ จะอยากรู้ชื่อเรียกสิ่งที่ตนเห็นซะมากกว่าว่าอาการที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่าอะไร แล้วอาการนั้นเรียกว่าอะไร ซะมากกว่าที่จะคิดแก้ไขกันอย่างจริงจัง

-- อาชีพที่ดิฉันทำอยู่เกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้คนหลากหลายฐานะ หลากหลายอาชีพ ยกตัวอย่างให้ฟัง เช่น

-- เรื่องการทำงานกับผู้อื่นที่ตัวเองไม่ชอบ เช่นเพื่อนดิฉันเองเป็นหัวหน้ากองอยู่ที่กฟผ. จะมีปัญหาเรื่องลูกน้องชอบทำโอทีแล้วนำเหล้ามากินเวลาทำงาน เพื่อนเขาเพิ่งไปเป็นหัวหน้าใหม่ที่นี่ เขาถามว่าควรจะทำยังไงดีที่จะไม่ให้เขาโกงเวลาหลวงโดยไม่ยอมทำงานกัน นั่งตั้งวงกิเหล้า ไม่เกรงใจเขาเลย ดิฉันก็เลยบอกเขาว่า เอาวิธีหลวงพ่อจรัญไปใช้สิ อย่าไปว่าเขา คนมันยิ่งถูกว่ามันยิ่งต่อต้าน ซื้อน้ำแข็งบ้าง ซื้อน้ำหวานบ้าง เอาไปให้เขา แล้วก็บอกเขาว่า กินเสร็จแล้ว ช่วยทำงานกันให้เสร็จด้วยนะครับ เพื่อนก็ทำตาม ทำอย่างนี้ทุกวัน แป๊บซี่บ้าง น้ำแข็งบ้าง กับข้าวบ้าง หิ้วไปฝากทุกวัน ไม่ว่าใคร ยิ้มอย่างเดียว ต่อมาคนในกลุ่มนั้นเริ่มทะยอยหายไปทีละคน จนกระทั่งทุกวันนี้ในแผนกเขาไม่มีใครนำเหล้ามานั่งกินในเวลาทำงานกันอีกเลยค่ะ

-- แล้วก็เรื่องเวลาปรับเงินเดือน เพื่อนก็จะเจอปัญหาอีก ว่าคนโน้นเป็นอย่างนี้ ว่าคนนี้เป็นอย่างโน้น ก็เลยถามเขาว่า เธอเอาอะไรมาวัดว่าที่เธอคิดนั้นถูกแล้ว เขาก็บอกว่าเขาเห็นน่ะ ถามเขาอีกว่า แล้วรู้ได้ยังไงว่าที่เห็นนั้นของจริงไม่ใช่ผักชีโรยหน้า จะทำอะไรก็นึกถึงอกเขาอกเรา คนเงินเดือนน้อย เธอให้เขาน้อยเขาก็ยิ่งแย่ คนเงินเดือนสูงอยู่แล้วปรับให้เยอะก็ตันเร็ว พอเงินเดือนเขาตันเธอก็เดือดร้อนอีก ผูกมิตรกับเขาสิ เวลาเดินทำงานด้วยกันก็ซักถามสภาพครอบครัวเขา เพื่อนทุกวันนี้ก็เลยเป็นที่รักใคร่ของลูกน้อง มีอะไรลูกน้องจะโทรฯรายงานเขาตลอด

-- ดิฉันบอกเพื่อนว่า ตำแหน่งที่เธออยู่น่ะ มันมีกินนอกกินใน ใครจะกินมันก็เรื่องของเขา แต่เธออย่าทำ แล้วสิ่งเหล่านี้จะคุ้มครองเธอ ต่อมาไม่นาน ก็มีเรื่องเกิดขึ้นจริงๆ มีคนมาเสนอเงินให้เพื่อน 1 ล้าน เพื่อการประมูลงานชิ้นหนึ่ง ดิฉันบอกว่าอย่าเอานะเงินบาป ถ้าเอา เธอจะถูกออกจากงานแน่สักวันหนึ่ง ผ่านไปเดือนกว่าๆ เพื่อนถูกร้องเรียนว่าเอาของหลวงออกไปขายข้างนอก ทั้งที่เพื่อนไม่ได้รู้เรื่องด้วย โดนขึ้นศาล สุดท้ายเพื่อนก็หลุด เพราะมีคนเป็นพยานให้ ก็เลยบอกเพื่อนว่า เห็นไหม ถ้าเธอรับเงิน 1 ล้านมาเธอเสร็จแน่

-- อันนี้ยกตัวอย่างให้เห็นว่า พูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดมากปากมีสี อยู่ในศิลข้อ 2 ค่ะ
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เมธี
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2008, 7:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณ คุณ walaiporn และ ทุกท่าน ที่มาช่วยแบ่งปันเรื่องราวต่างๆนะครับ

เป็นประโยชน์แก่กระผมและทุกท่าน ในการจะนำเอาไปประยุกต์ใช้ได้

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2008, 8:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-- ธรรมะทั่วๆไป ธรรมเราก็เหมือนกันทุกคนแหละค่ะไม่มีสูงไม่มีต่ำ เหตุที่มีสูงมีต่ำเพราะเราไปให้ค่าความหมายกันเอง ไปยึดมั่นถือมั่นกันเอง ก็มีคำกล่าวอยู่แล้วนี่คะว่า " ธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้นไม่เที่ยง " แต่อยู่ที่เราเข้าใจแล้วหรือยัง เห็นความไม่เที่ยงแล้วหรือยัง ถ้าเข้าใจแล้ว เห็นแล้ว มันก็จะไม่มายึดมั่นถือมั่น ก็เลยสนทนากับคนได้ทุกระดับ ส่วนคนที่ยังยึดรูปแบบวิธีการอยู่ อันนี้ก็น่าเห็นใจเขาน่ะค่ะ เพราะยังไงก็กุศลของเขา ลองฟังมุมมองหลายๆคน ต่างคนก็ต่างมีวิธีแตกต่างกันไป คือประมาณว่า เราควรเคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกัน บางคนเวลาเราสนทนาเราต้องหมั่นสังเกตุว่าอารมณ์ที่เขาสื่อออกมาทางตัวหนังสือนั้น อารมณ์เขาเป็นอย่างไร เราหลีกได้ เราก็ควรหลีกที่จะไปตอกย้ำในสิ่งที่เขาไม่ชอบ หลีกเลี่ยงคำพูดที่สื่อออกมาตัวหนังสือที่ก่อให้เกิดการกระทบกระทั่งกัน ส่วนเขาจะทำอะไรยังไงมันก็เรื่องของเขา ใครเชื่อเขาหรือว่าเชื่อใคร ก็เนื่องกุศลหรืออกุศลที่เขาได้สร้างมาร่วมกันมา ทุกอย่างถ้าเรามองด้วยเหตุและผล ว่าผลเป็นเช่นนี้ เนื่องจากมันมีเหตุมาก่อน เท่านี้มันก็จบ ไม่ต้องไปวุ่นวาย ใครคิดหรือได้กระทำแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศล ผู้กระทำเป็นผู้รับทั้งหมด แล้วเราจะไปสร้างกรรมใหม่เพื่อให้เกิดวิบากร่วมกับเขาทำไม จริงไหมคะ

-- อย่างบางคนมาถามว่า เวลาเขานั่งสมาธิ เขาจะชอบยกธรรมต่างๆขึ้นมาพิจรณา ใครๆชอบว่าเขาทำผิดวิธี ทำแบบนี้ไม่ถูก ดิฉันได้บอกไปว่า ไม่ผิดหรอกค่ะ การยกธรรมขึ้นมาพิจรณา เป็นการฝึกปัญญา การทำสมาธิไม่จำเป็นจะต้องภาวนาอย่างเดียว ทำอะไรก็ได้ให้จิตมันจดจ่อ สมาธิจะเกิดเขาก็เกิดเอง อย่าไปอยากหรือคิดจะกระทำแบบตั้งใจให้เกิดสมาธิ เขาก็เลยถามว่า แล้วทำไมคนอื่นว่าเขาทำผิด งั้นคนอื่นก็แนะนำคนอื่นผิดไปหมดน่ะสิ ถ้าใครไปปรึกษา ดิฉันบอกว่า เขาไม่ผิดหรอกค่ะ เขาเพียงพูดในวิธีการที่เขาใช้ปฏิบัติแล้วได้ผลก็เลยเกิดการยึดติดรูปแบบ จริตใครจริตมันค่ะ ถ้าผ่านตรงนี้ไปได้ จะไม่มีการยึดรูปแบบแล้วล่ะค่ะ

-- รายละเอียดข้อปลีกย่อยมันเยอะค่ะคุณเมธี ดิฉันเคยผ่านสิ่งที่ไม่ดีในชีวิตมาเยอะ ก็เลยสามารถเอาสิ่งที่ตัวเองคิดว่าทำแล้วไม่ดี ยกเป็นอุทาหรณ์ให้เขาฟัง แล้วก็บอกเขาว่า คนเราถ้าสติ สัมปชัญญะยังด้อยอยู่ ความสามารถในการแยกแยะถูกผิดได้นั้นน้อยมาก ส่วนมากจะตามใจเพื่อสนองกิเลสตัวเองเสียมากกว่า กุศลแต่ละคนสร้างสั่งสมมาไม่เท่ากัน วิบากกรรรมของแต่ละคนอีกล่ะ ให้หมั่นเจริญสติ มีเวลาว่างพอให้เดินจงกรมให้มากๆ การเดินจงกรมเป็นการคัดกรองความคิดของตัวเอง ว่าให้ดูการกระทำที่ผ่านมานั้นว่าสมควรหรือไม่ อันนี้สำหรับคนที่ชอบคิดมาก แต่สำหรับคนที่ชอบฟุ้งไปเรื่อยหาจุดจบไม่ได้ ก็จะให้เขาใช้อารมณ์บัญญัติในการเดิน เช่น ขวา ย่าง หนอ ซ้าย ย่าง หนอ เพื่อจะได้มีจิตจดจ่อยู่กับการเดินไม่ต้องไปฟุ้งข้างนอก หรือบางคนไม่ชอบใช้อารมณ์บัญญัติ ก็ให้เขารู้ลงไปทุกย่างก้าวที่เดิน คือสรุปแล้วไม่มีการกำหนดตายตัวว่าแบบไหนถูกที่สุด เพียงแต่ให้ถูกจริตเขาเท่านั้นเอง สักวันหนึ่ง สติ สัมปชัญญะเขามากขึ้น คนที่ใช้อารมณ์บัญญัติก็จะหายไปเอง จะรู้สึกตัวทุกย่างก้าวไปเอง

-- ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงข้อปลีกย่อยในเวลาที่ดิฉันใช้สนทนากัน คนอื่นๆอาจจะมีความคิดเห็นเหมือนหรือไม่เหมือนก็ได้ค่ะ

-- ว่างๆเชิญเข้าไปที่ http://cid-3bbff7e5594790ce.spaces.live.com/default.aspx?wa=wsignin1.0

อันนี้ดิฉันไม่ได้บันทึกข้อปลีกย่อยอะไรมากค่ะ เพียงจะเน้นในเรื่องการปฏิบัติ และผลที่ได้รับจากการปฏิบัติ บางอย่างก็ยกมาเปรียบเทียบให้เห็นชื่อที่ใช้เรียกในสมมุติบัญญัตินั้นๆ แต่จงอย่าไปสนใจ สักแต่ว่าอ่านค่ะ เผื่อว่าข้อความตรงไหนอาจจะมีประโยชน์ต่อผู้อื่น
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2008, 12:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุค่ะ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง