Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ถ้าคุณเป็นนักโทษผู้โชคร้ายคนนั้น คุณจะปรับมุมมองอย่างไร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ชัช
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 มี.ค.2005, 8:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



มีนักโทษคนหนึ่งที่ต้องถูกรังแกและถูกทรมาณอยู่ทุกวี่วัน

มิหนำซ้ำยังต้องถูกขังเดียว ไปตลอดชีวิต

จนกว่าจะตายตกไปตามกัน........

ถ้าสมมุติว่าคุณเป็นนักโทษผู้โชคร้ายคนนั้น คุณจะปรับมุมมองอย่างไร

เพื่อเบิกบานกับชีวิตที่เหลืออยู่.......(ถ้าไปคิดเรื่องกรรมเก่า)
 
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 19 มี.ค.2005, 9:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก่อนอื่นต้องสำนึกผิดก่อน แล้วทำใจยอมรับสภาพเป็นจริง

เมื่อยอมรับความเป็นจริงที่ตนได้รับอยู่ จิตก็จะยอมรับสภาพนั้นได้



เมื่อยอมรับความเป็นจริง ยอมรับสภาพนั้นได้แล้ว

เราก็สามารถมีความสุข ความสบายใจ ในสภาพที่เต็มไปด้วยความทุกข์ทรมาน



การยอมรับสภาพ ยอมรับความเป็น ย่อมนำมาซึ่งความสุข ความสบายใจ

เช่นการยอมรับในฐานการเป็นอยู่ ยอมรับในหน้าที่การงาน ในเป็นอยู่ในปัจจุบันของตนเอง



ว่างๆ ค่อยมาคุยต่อ



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
zzzzzzzzzz
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 19 มี.ค.2005, 11:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คิดว่าเป็นกรรม ถ้าวันหนึ่ง คุณโดนรังแก แล้วคุณคิดว่าเป็นกรรม พรุ่งนี้ ก็จะไม่มีอะไรที่ต่างไปจากเดิม จะต้องรอให้โดนแกล้งจนคนที่แกล้งเราเหนื่อยไปเอง เช่นนั้นหรือ

กรรม ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไทย มักง่าย ของหาย แล้วก็พูดว่า ชั่งมัน ฟาดเคราะห์ไปเถอะ

แน่นอน ชีวิตนี้ล้วนเวียนว่ายตายเกิดในกฎแห่งกรรม ทุกชีวิต มีเกิดก็ย่อมมีดับ

แต่ ถ้าคนเราเลือกที่จะเปลี่ยนชีวิตให้ดีกว่าได้ ก็น่าจะทำมิใช่หรือ เลือกที่จะ ลุ้น ว่าอย่างน้อย ถึงแม้จะมีโอกาศแค่ 1 ใน ล้าน แต่ อย่างน้อย เราก็อาจจะแหกคุกได้

อย่างน้อย ก่อนที่เราจะกลับไปสู่วัฏจักรของชีวิต เราก็ได้พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงมันในทางที่ดีที่สุดที่เราทำได้แล้ว

มีความสุขกับสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ เป็นเรื่องดีครับ ละโลภ โกรธ หลง

แต่ ถึงขนาดทำให้ตัวเองต้องตายหรือทรมาน ต่อให้ต้องวนเวียนกับกรรมนี้อีกซัก10ชาติถ้าเป็นผม ผมจะไม่เสียใจเลย ที่วันนี้ ตัดสินใจทำเช่นนั้นไป
 
รักแม่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 19 มี.ค.2005, 12:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าเป็นคนอ่อนแออย่างผมอาจตรอมใจตาย



แต่ถ้าตอบคำถามตามกระทู้ของคุณ คิดไม่ออกเหมือนกันครับ ถ้าเหตุการณ์ไม่ได้เป็นเหตุการณ์ที่เราเผชิญอยู่ ต้องคิดนาน เพราะ ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่เราเผชิญ แล้วเราผิดจริง

คิดจะกลับตัวเมื่อพ้นจากสภาพนั้นไป ถ้าทราบสภาพแวดล้อม จะพยายามหาช่องโหว่ ที่เปิดโอกาสให้เราพ้นจากสภาพนั้นไปได้ แต่ก็คงไม่เบิกบานอยู่ดี คงเครียดพอสมควร



ปรับมุมมอง ยากมากสำหรับผม เพราะความทรมาณกายมักนำไปสู่ความทรมาณใจ

หรืออกุศลจิตในใจ มืดแปดด้านเลยครับ ผมตรอมใจตายแหง แค่ขังเดี่ยวเราก็รู้สึกแย่มากแล้วครับ เพราะเมื่ออยู่คนเดียวมักคิดฟุ้งซ่าน วกวน จนความทรมาณในอดีตเข้ามาเพิ่มความทรมาณในปัจจุบันในทางความคิดอีก ผมคงเริ่มที่จะปรับจิตใจก่อนเพื่อลดความฟุ้งซ่านทางอารมณ์ จากนั้นจึงค่อยๆหาลู่ทางอื่นต่อไป แต่โดยปกติ ผู้ที่มีจิตสงบเยือกเย็นมักไม่เป็นที่เกลียดชังของผู้อื่น อาจจะโดนทรมาณน้อยลงเพราะเห็นว่าเรามีปัญญา ถ้าทำได้ ต่อไปก็คงทำความดีมากๆ คิดว่าเมื่อเราเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นสิ่งดีๆที่ดีกว่าเดิมก็จะตามมา(เช่น นายแพทย์วิสุทธิ์ บุญเกษมสันติ ที่ถูกขังเดี่ยวที่ใช้ความรู้ทางการแพทย์ช่วยรักษาผู้ต้องขังที่เจ็บป่วย) ถ้าเป็นไปได้ก็ไม่อยากถูกขังอยากหลุด แต่ไม่ใช่แหกคุกนะครับ การฝึกสมาธิอาจช่วยลดความคิดฟุ้งซ่านเมื่ออยู่คนเดียว อาจทำให้จิตใจเบิกบาน แต่ไม่ตลอดเวลา เมื่อถูกทรมาณก็ยังคงเจ็บคงปวดและอยากพ้นไปจากสภาพนั้น ถ้าคิดว่าเป็นเพราะกรรมเก่า คงพยายามสร้างกุศลโดยรักษาศีล เจริญภาวนา เพื่อให้เป็นกรรมดีในชาตินี้โดยหวังว่าอาจช่วยบรรเทากรรมเวรที่เคยสร้างมา(ถูกขังเดี่ยวนี่ข้อหาหนัก ฆ่าคนตาย ค้ายาบ้า)

คงพยายามคิดว่า กฏหมายที่มี เราทราบอยู่แล้ว และโทษทางโลกต่อผู้ฝ่าฝืนก็ทราบอยู่แล้ว เรายังฝ่าฝืนทำความผิดฉกรรจ์ระดับโทษหนักในทางโลก เราก็น่าจะใจถึงพอที่จะรับโทษตามที่ระบุไว้ในกฏหมาย กรรมเก่า เจ้ากรรมนายเวร อาจทำให้เราทุกข์ทรมาณ แต่กรรมเก่าที่สั่งให้เราไปทำผิดฉกรรจ์คงไม่มี คงเป็นกรรมใหม่มากกว่า สรุปแล้วผมก็จะคิดฟุ้งซ่านวนเวียนหาข้อสรุปไม่ได้และตรอมใจตายแน่เลยครับ ความเบิกบานอาจเกิดขึ้นได้ในบางขณะจิตแต่สุดท้ายความคิดมากคงชนะ(สำหรับผม)
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 มี.ค.2005, 8:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เคยได้ยินไหมครับ

นักโทษ 2 คน ยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นกองดิน อีกคนมองเห็นเด่นดารา

เรื่องนี้มีตัวอย่างจริงมาแล้ว 2 ท่านครับ

ท่านแรกเป็นชาวต่างชาติ (เสียดายผมจำชื่อไม่ได้) ถูกจับเป็นเชลยในช่วงสงครามโลก ถูกขังคุกหลาย ปี ในตอนแรกๆ เขาแทบเป็นบ้า แต่เขามานึกต่อว่า เราต้องหาอะไรทำ ไม่ให้หมกมุ่นกับความทุกข์ เขาจึงเริ่มลงมือฝึกซ้อมตีก๊อลฟ์ ใช้แล้วครับ ผมพิมพ์ไม่ผิดหรอก ตีกอลฟ์ ครับ แล้วหาอุปกรณ์จากไหน เขาจินตาการเอง เขาจินตาการตั้งแต่เขาเริ่มต้นเป็นเด็กหัดใหม่ ตีกอลฟ์ไปเรื่อยๆ ทุกวัน จนผ่านไปเป็นหลาย ปี เขากลายเป็นแชมป์ เขาจินตาการว่าเขาตีครั้งเดียวลงหลุมไปเลย พอฝ่ายเขาชนะสงคราม เขาก็ออกมา แล้วไปแข่งกอลฟ์จริงๆ ปรากฏว่าเขากลายเป็นแชมป์ครับ

อีกคนเป็นคนไทย คือ หลวงวิจิตรวาทการ ติดคุกหลายปีเช่นเดียวกัน ตอนที่ญี่ปุ่นมายึดเมืองไทย ท่านใช้เวลาช่วงนั้น เขียนหนังสือมหาบุรุษ บุคลิกนิสัยของผู้นำต่างๆ พอออกจากคุกมา หนังสือของท่านกลายเป็นที่นิยมครับ
 
สุรพงษ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 21 มี.ค.2005, 1:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขั้นแรกต้องวิเคราะห์ก่อนว่าโทษที่นักโทษได้รับนั้นเป็นผลจากการกระทำของเขาในชาตินี้หรือไม่ หรือเป็นนักโทษการเมื อง ข้อแตกต่างระหว่างนักโทษคดีอาญา กับคดีการเมืองก็มี คดีอาญาก็ต้องดูว่าทำผิดจริงหรือไม่ คดีการเมืองก็ต้องดูที่เจตนาของนักโทษว่ากระทำสิ่งนั้น ๆ เพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อประชาชน

ผู้ไม่มีประสบการ์ณโดยตรงคงไม่รู้สภาพจิตใจและสภาพแวดล้อมของนักโทษเหล่านั้น คงจะมีมุมมองที่ไม่แน่ว่าจะใช้ได้หรือไม่ แต่ถ้าใช้จินตนาการ ผมคิดว่าถ้าขังเดี่ยวน่าจะดีนะ เอาเวลาทั้งหมดทำสมาธิได้โดยไม่ต้องสนใจใคร มองให้เห็นว่ารูปกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา จิตของเราไม่อาจถูกขังได้ด้วยกรง จะทุกข์ก็ทุกข์แค่กายแต่ใจอย่าให้ทุกข์ด้วย แยกใจและกายออกจากกันให้ได้

ถ้าผมจำไม่ผิดรู้สึกว่าพจนานุกรมที่บ้านเรานิยมใช้กันจำไม่ได้ว่าของใครผู้แต่งก็แต่งตอนใช้ชีวิตเป็นนักโทษ และในหนังสือสรรสาระฉบับไหนผมก็จำไม่ได้แล้วเหมือนกันมีการกล่าวถึงนักโทษของคดีเรียกค่าไถ่ในประเทศหนึ่งที่ถูกจับไปขังอยู่นานมากและรอดมาได้โดยการออกกำลังกายในที่คุมขัง โดยที่คนอื่น ๆ ที่ถูกจับเช่นกันจะตายหมด

สรุปก็เป็นมรรค8 นั่นแหละครับผมคิดว่าปรับไปใช้ได้กับทุกข์ ทุกชนิดทุกแบบได้ สำคัญที่สุดคือต้องทำสัมมาทิฏฐิให้ถูกต้องก่อน
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 21 มี.ค.2005, 2:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีนักโทษกลุ่มหนึ่ง เริ่มหันหาศึกษาความเป็นจริงของชีวิตด้วยการศึกษาธรรมะ ในโครงการศึกษาธรรมะของบางเรือนจำ ซึ่งในเว็บนี้ก็มีนำมาลงข้อมูลด้วยเหมือนกัน มีเรือนจำหนึ่งบอกว่า 60% ของนักโทษ กระทำผิดเพราะคุมสติไม่ได้เนื่องจากสุรา มีรายการธรรมะรายการหนึ่ง ไปสัมภาษณ์นักโทษ 3 คน คนแรกแทงเมียตายโดยไม่ตั้งใจ คนที่สองตีกันตายในร้านคาราโอเกะ คนที่สามเป็นยาม แทงคนอื่นตาย ทั้งสามล้วนไม่อยากให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น เพราะถ้าเขาเป็นปรกติจะไม่มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น แต่เป็นเพราะวันนั้นๆ เขาดื่มเหล้ามากเกินปรกติ แม้จะเป็นแค่วันนั้นวันเดียว แต่มันกลับกลายเป็นความผิดไปชั่วชีวิต ถ้าเป็นไปได้ทั้ง 3 คน ล้วนอยากย้อนเวลากลับไปในวันนั้น แล้วกระชากสุราออกมาจากมือตัวเอง แต่ก็ไม่อาจทำได้แล้ว

การศึกษาธรรมะทำให้หลายคนยอมรับ ในสิ่งที่ตนทำลงไป มีพระอาจารย์รูปหนึ่ง ท่านเทศน์สอนไว้ดีมาก ทำให้นักโทษทุกคนมีกำลังใจ ท่านบอก ไม่ใช่เฉพาะพวกเขาหรอกที่เป็นนักโทษ แต่มนุษย์ทุกๆคน และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ล้วนแล้วแต่เป็นนักโทษ เป็นนักโทษในเรือนจำแห่งการเวียนว่ายตายเกิด โลกคือ เรือนจำใหญ่ ชีวิตในโลก ล้วนคือนักโทษในเรือนจำ แต่มีมหาบุรุษผู้หนึ่ง แหกคุกออกจากเรือนจำไปได้เมื่อ 2,500 กว่าปีโน้น เขาได้นำนักโทษจำนวนมาก แหกคุกตามเขาไปได้ เขาไม่ได้ไปเพียงคนเดียว เขาก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง นักโทษทุกคนในที่นี้ แม้กายจะติดในเรือนจำ แต่ถ้าตั้งใจปฏิบัติธรรม ใจก็มีโอกาสจะหลุดพ้นจากเรือนจำในสังสารวัฏได้ ผิดกับคนทั้งหลายจำนวนมากที่ติดอยู่ในเรือนจำสังสารวัฏ แต่ไม่รู้ว่าตนเองติดอยู่ในเรือนจำ เขาแทบไม่มีโอกาสพ้นจากสังสารวัฏไปได้เลย

บางที กำลังใจของชีวิต ก็ได้มาอย่างง่ายๆ เพียงแค่รู้ความเป็นจริงของชีวิตครับ

 
ไหลไปตามธรรมชาติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 เม.ย.2005, 2:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บางครั้งก็น่าคิดเหมือนกันว่า คนมีกรรมต้องรับทุกข์ต่างต่างนานาอย่างแสนสาหัส กับคนที่เสวยบุญบารมีเก่ามีแต่เรื่องดีดี มีแต่ความสุข ใครน่าจะเห็นความจริงของชีวิตได้ง่ายกว่ากันและใครจะอยากหลุดพ้นการเวียนว่ายตายเกิดมากกว่ากัน เป็นผมผมคงเห็นความจริงได้ง่ายกว่าเมือตัวเองอยู่ในสภาพเป็นทุกข์ เพราะความสุขมีแต่ให้เกิดความหลงยึดติด อยากแสวงหามันอยู่ตอลดเวลาเพราะรู้สึกว่ามันเป็นจริงเห็นผลทันใจตนเองก็แสวงหาได้ด้วยตนเองหามีความเชื่อไม่ว่าทุกสิ่งที่ตนได้มาล้วนจากผลการทำกรรมดีของตนในชาติก่อน ยากที่ใครจะมาเปลี่ยนแปลงความเชื่อด้วยเหตผลอื่นใดได้ ไม่ว่ามหาเศรษฐี ราชา หรือแม้กระทั่งเทวดา พรหมตามความเชื่อ หากเทียบกับบุญบารมีอันน้อยนิดอย่างเราเราแต่เรากลับมีโอกาสเห็นทุกข์ได้ง่ายกว่าโดยเฉพาะจากกายอันหยาบทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของความอยากที่จะแสวงหาความจริงเพื่อกำจัดมันอย่างถาวร



บางครั้งมันเหมือนกับว่าธรรมชาติไม่ได้ลงโทษผู้ทำชั่วในชาติก่อนหรอก แต่มันได้สร้างสถานการณ์อันมาจากกรรมชั่วให้รุนแรงมากขึ้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้จิตได้มีโอกาสเข้าใจความเป็นจริงได้มากขึ้นเพื่อจะได้สร้างกรรมใหม่ที่จะทำให้ถูกดึงกลับเข้าสู่จุดอันเป็นกลางคือความจริงที่จะหลุดพ้นทุกอย่างไม่สุขและก็ไม่ทุกข์ไปชั่วนิรันดร์ แต่ปัญหาคือจะมีอะไรที่จะมาผลักดันให้ผู้รับกรรมชั่วหยุดดิ้นรนทรมานไปตามสถานการณ์ที่กรรมปั้นแต่ง แล้วเริ่มประคองจิตค้นคว้าฝึกฝนเพื่อให้เข้าถึงสภาพอันหลุดพ้นได้ ที่น่าสังเกตในชีวิตจริง ลองดูที่ความทุกข์ของตัวเรา เปรียบเทียบกับทุกข์ของผู้ป่วยบาดเจ็บแขนขาขาดหรือเป็นอะไรที่ต้องเจ็บปวดทรมาณอยู่ตลอดเวลาลุกไปไหนไม่ได้นับปี จะเห็นว่าทั้งเรา และเขาสุดท้ายก็ยังมีชีวิตอยู่ได้เหมือนกันแต่สภาพจิตของใครถูกก่อกวนโดยถูกกระทำทางกายมากกว่ากันเท่านั้นเอง หากจิตทั้งสองคนมีกำลังสูงขึ้นมาด้วยการฝึกฝนอย่างมุมานะอดทน เพียงแต่คนมีกรรมชั่วหนักก็ต้องใช้มากกว่าเป็นพิเศษ สุดท้ายก็น่าจะถึงที่สุดของจุดหมายปลายทางได้เหมือนกัน

บางครั้งอีกเหมือนกันที่รู้สึกว่านักโทษมีโอกาสดียิ่งกว่าเราหรือคนอื่นอีกในหลายอาชีพ อย่างผมต้องแบ่งเวลาให้กับโลกของการทำงานเกือบครึ่งเวลาของชีวิตในแต่ละวันหาเวลาสงบได้น้อยมาก ผมหยุดทำก็ไม่มีเงินก็อยู่ไม่ได้ เคยอยากคิดเรื่องบวชไม่สึกจะได้มีโอกาสค้นหาความจริงอย่างเต็มที่ก็ต้องมาโลเลอีกว่าทางโลกทีมีอยู่ตอนนี้จะให้ทิ้งไปได้อย่างไรกว่าจะได้มามันยากตั้งเท่าไหร่เกิดที่คิดไว้ผิดพลาดไปไม่สำเร็จต้องมาเปลี่ยนใจเข้าหาทางโลกตอนชีวิตบั้นปลายมันจะไม่ลำบากยิ่งไปอีกหรือ ถ้าตัวเองเป็นนักโทษก็คงไม่มีอะไรให้โลเลอีกแล้ว ชีวิตที่มีโอกาสสัมผัสความเงียบในตัวเองมากมาก ได้สังเกตฝึกฝนแบบฝึกหัดเรียนรู้ความจริงของชีวิตจากการได้รับการกระทำทางกายและวาจาให้เป็นทุกข์จากผู้อื่น แม้แต่พระยังแสวงหาโอกาสแบบนี้ยังไม่ได้เลย เพราะแม้ยามท่านธุดงค์ในป่าท่านก็ต้องหาวิธีหาอาหารด้วยความลำบากเพื่อจะต้องดำรงค์กายให้คงอยู่ต่อไปในขณะที่นักโทษกลับมีคนคอยเอาอาหารมาให้แถมตามกำหนดเวลาอีก มันอยู่ที่ตัวนักโทษเองนั่นแหละจะใช้มันให้เป็นโอกาสหรือไม่โดยเพียงแค่เริ่มต้นฝึกฝนจิตใจอย่างจริงจังพร้อมกับแสวงหาความรู้ไปตามกำลังที่จะหาได้อยู่ตลอดเวลา ผู้ที่พร้อมจะให้คำแนะนำการปฏิบัติก็มีพร้อมมากมายหลากหลายแนวทางที่จะให้เลือกเอามาใช้กับตัวเองได้ เพียงแต่เคยเข้าหาหรือแสดงเจตจำนงค์เพื่อขอคำแนะนำจากท่านเหล่านั้นบ้างหรือยังเท่านั้นเองครับ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง