Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หลับสบาย ปลายจมูก : เรื่องของข้าวฟ่าง อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
dt
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2005, 2:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



ข้าวฟ่าง.jpg


หลับสบาย ปลายจมูก : เรื่องของข้าวฟ่าง


ข้าวฟ่างชอบกินข้าวฟ่าง กินแล้วรู้สึกอร่อยดี ถ้าเอาข้าวฟ่างไปต้มโดยเทน้ำให้พอเหมาะ ใส่น้ำตาลให้พอดี เมื่อต้มสุกแล้วตักใส่ถ้วยราดด้วยน้ำกะทิสดที่ปรุงโดยผสมเกลือเล็กน้อย ก็จะได้ข้าวฟ่างที่มีรสกลมกล่อม เป็นอาหารอันโอชะของข้าวฟ่างแล้ว

ความรู้สึกอร่อยนี้มีมานานแล้ว จำได้ว่าตอนเป็นเด็ก ข้าวฟ่างไปวิ่งเล่นกับเพื่อนแถวข้างบ้าน พอเข้าบ้านมา หม่าม้า ก็จะเรียกข้าวฟ่างให้กินหนม ขนมที่หม่าม้าเรียกให้กินก็คือ ข้าวฟ่างต้มราดด้วยน้ำกะทิสด นี่แหละ ข้าวฟ่างกำลังหิว ก็เลยกินข้าวฟ่างอย่างเอร็ดอร่อย

แล้วเอาข้าวฟ่างไปกินข้าวฟ่างได้อย่างไร กินกันได้หรือ เอาข้าวไปกินข้าว เอาข้าวโพดไปกินข้าวโพด อย่างนี้ถ้าว่ากันตามตัวอักษรหรือตามหลักไวยากรณ์ ที่มี ประธาน กริยา กรรม หรือที่ภาษาฝรั่งบอกว่าประโยคจะต้องมี Subject Verb Object แล้ว ข้าวฟ่างก็ชักจะเริ่มสับสน

ความรู้สึกสับสนของข้าวฟ่างในเรื่องนี้ มีมาตั้งแต่สมัยที่ไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนแล้ว ในครั้งนั้นพอข้าวฟ่างเดินผ่านเพื่อนกลุ่มใหญ่ ได้ยินเพื่อคนหนึ่ง ตะโกนด้วยเสียงอันดังว่า ข้าวฟ่าง ข้าวฟ่างก็นึกว่าเพื่อนเรียก จึงขานรับ ปรากฏว่าเพื่อนกลุ่มนี้ โห่กันตรึม

พอข้าวฟ่างเดินเข้าไปหาเพื่อนกลุ่มนี้ จึงรู้ว่าเพื่อนกำลังเล่นทายปัญหากันว่า ข้าวอะไรเอ่ย ที่คนกินก็ได้ ใช้ทำไม้กวาดก็ได้ หรือปลูกเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ก็ได้ เพื่อนคนนี้รู้ จึงตะโกนขึ้นมาว่า ข้าวฟ่าง

อ๋อ เป็นอย่างนี้เอง ข้าวฟ่างรู้แล้ว ข้าวฟ่างนึกว่าคำว่าข้าวฟ่างนี้หมายถึงตัวข้าวฟ่างเองคนเดียว เป็นตัวเราคนเดียว เป็นของเราคนเดียว หรือเป็นตัวกูของกูคนเดียว ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่

ข้าวฟ่าง เป็นนามสมมติ ที่ใช้เรียกคน หรือสรรพสิ่งต่างๆ เพื่อสะดวกในการอยู่ร่วมกันในโลกแห่งสมมติใบนี้ ต่างหาก

สมมติ มีรากมาจากคำบาลี เป็นคำที่รวมกันระหว่างตัว ส (ส มีจุดแบบบาลี) กับคำว่า มติ

ส (ส มีจุดแบบบาลี) แปลว่า ร่วมกัน มติ แปลว่า เห็นพ้อง

แค่เห็นพ้องกัน ไม่จำเป็นที่จะต้องเห็นด้วยทุกคน ก็เป็นมติใช้กันได้แล้วในหมู่ชนกลุ่มนั้น
 
dt
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2005, 2:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในรัฐสภาที่ใช้ออกกฎหมายบังคับคนภายในประเทศ เมื่อฝ่ายรัฐบาลยกมือหนึ่งร้อยเสียง ฝ่ายค้านยกมือห้าสิบเสียง ก็เป็นมติ 100:50 กฎหมายนั้นก็ใช้บังคับคนในประเทศนั้นได้แล้ว ถือว่าทุกคนต้องเห็นพ้องกับเสียงที่ออกมานี้แล้ว

สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นเรื่องของสมมติ ที่มีหมายความว่า เห็นพ้องร่วมกัน

เรื่องของสมมตินี้ ท่านว่าถ้าจะศึกษาเพื่อให้ได้จุดสูงสุดหรือไปให้ถึงจุดสูงสุด หรือเพื่อจะได้ความจริงสูงสุด จะได้เพียงความจริงในระดับ สมมติสัจจะ

สัจจะ แปลว่าความจริง สมมติสัจจะ ก็คือ ความจริงตามที่เห็นพ้องร่วมกันในกลุ่มชนใดกลุ่มชนหนึ่ง

เรื่องชื่อของข้าวฟ่างก็เหมือนกัน หม่าม้า เห็นเด็กตัวเล็กๆ คลานต้วมเตี้ยม ต้วมเตี้ยม ไปมาอยู่ในบ้าน ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไรดี ก็เลยเรียกตัวที่คลานนี้ว่า ข้าวฟ่าง ข้าวฟ่างได้ยินเสียงเข้า ก็หันมายิ้มมม...

คนในบ้านเห็นยิ้มก็เลยเห็นพ้องร่วมกัน เรียกตัวที่ยิ้มๆ นี้ว่า ข้าวฟ่าง

ข้าวฟ่างจึงเป็นนามสมมติที่คนในบ้านให้ เพื่อเรียกเด็กตัวเล็กๆ ที่คลานต้วมเตี้ยมเตาะแตะอยู่ภายในบ้าน

พอไปโรงเรียน ชื่อจริงมันยาว เรียกไม่ถนัด เพื่อนก็เลยเรียกว่า ข้าวฟ่าง ตามสมมติที่บ้านเรียก ซึ่งข้าวฟ่างก็ยอมตาม เห็นพ้องด้วยกับสมมติที่เพื่อนให้

ส่วนคำว่า ข้าวฟ่างที่เพื่อตะโกนขึ้นมาก็เป็นนามสมมติ ที่เราให้กับธัญพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งก็คือธัญพืชที่ข้าวฟ่างชอบกินนี่แหละ

ธัญพืชชนิดนี้ประเทศไทยเรียกกันว่าข้าวฟ่าง เป็นนามสมมติของคนในประเทศไทย แต่พอไปเมืองอื่น ประเทศอื่น คนเขาไม่รู้จักแล้ว

ถ้าไปเมืองฝรั่ง คนเขาเรียกธัญพืชชนิดนี้ว่า Sorghum ถ้าไปเมืองจีน เขาก็เรียกว่า Kouling ถ้าเมืองอินเดียเขาเรียกกันหลายชื่อขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นท้องถิ่นไหนบางท้องถิ่นเขาเรียกว่า Cholam
 
dt
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2005, 2:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทั้งหมดนี้เป็นสมมติที่เกิดขึ้นในกลุ่มคนต่างๆ ที่มองเห็นวัตถุภายนอกกาย ในสิ่งสิ่งเดียวกัน แต่สื่อให้ผู้อื่นทราบด้วยการพูดหรือการเขียน ไม่เหมือนกัน

นี่เป็นการมองในภาพกว้าง ถ้ามองในภาพลึก หรือแยกแยะให้ละเอียดลงไปอีก ข้าวฟ่างยังอาจจะแบ่งเป็นหลายชนิดหรือหลายประเภท ข้าวฟ่างประเภทที่ข้าวฟ่างชอบกินนี้เรียกกันว่า ข้าวฟ่างเมล็ด (Grain sorghum) เป็นข้าวฟ่างที่นำเมล็ดไปเป็นอาหารคนและสัตว์

นอกจากนี้ยังมีข้าวฟ่างไม้กวาด (Broom corn) ที่ใช้ทำไม้กวาด พืชชนิดนี้ ไทยกับฝรั่งก็ยังตั้งชื่อไม่เหมือนกัน ไทยเห็นเป็นข้าวฟ่าง สมมติเป็นข้าวฟ่าง ฝรั่งเห็นเป็นข้าวโพด ยกให้เป็นตระกูลข้าวโพด แต่ถ้าให้ไปชี้แล้ว ก็ชี้ต้นเดียวกันนี่แหละ ส่วนอีกสองประเภทก็คือ ข้าวฟ่างหญ้า (Grass sorghum) ที่ใช้ปลูกในทุ่งหญ้าเพื่อเลี้ยงสัตว์ แล้วก็ข้าวฟ่างหวาน (Sweet sorghum) ที่ใช้ลำต้นเลี้ยงสัตว์

แต่ทั้งสามชนิดหลังนี้ ข้าวฟ่างไม่เคยเห็นของจริงต้นจริง เคยเห็นแต่ในตำรา ความรู้ของข้าวฟ่างยังมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับความรู้ตามสมมติอันมีมากมายในโลกใบนี้

โลกใบนี้คือโรงละครโรงใหญ่ มีตัวละครหลากหลาย ที่แสดงในบทบาทหน้าที่ที่ต่างกัน ข้าวฟ่างก็เป็นตัวละครตัวเล็กๆ ตัวหนึ่ง ในโลกแห่งละคร ใบนี้

ข้าวฟ่างจะต้องเรียนรู้อีกมาก หรือพูดให้ชัดๆ ก็คือ ข้าวฟ่างจะต้องเรียน เพื่อให้รู้อีกมาก เพื่อที่จะได้นำเอาความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ เพื่อทำความรู้จักกับโลกของสมมติใบนี้ให้เพิ่มขึ้นให้ได้ แล้วข้าวฟ่างจะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไม่มีความทุกข์ ไม่ถูกเพื่อนโห่เอา อีกต่อไป
 
ผ่านมา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2005, 4:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เข้ามาอ่านครับ
 
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2005, 6:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ/ขอบคุณมากครับ สาธุ
 

_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
เดีย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2005, 2:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เทคนิคการแต่งสูงมากๆ เลย
 
dt
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ย. 2005, 12:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอนต่อไปอยู่ที่เรื่อง หลับสบาย ปลายจมูก : นานาจิตตัง นะฮะ
 
dtnew
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2006
ตอบ: 12

ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ย.2006, 8:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

dt ขออนุญาติโพสต่อ ฮะ

อานาปานสติ

คราวก่อน เราเล่าให้ข้าวฟ่างฟังแล้วว่าทำไมข้าวฟ่างจึงกินข้าวฟ่างแล้วอร่อย ก็เลยได้รับคำตอบว่า เหตุที่ข้าวฟ่างกินข้าวฟ่างแล้วอร่อยก็เพราะข้าวฟ่างขาดสติ พิสมัยเริ่มวิสัชนาต่อ

โดยปกติแล้ว สิ่งของที่ขาดหายไป บางสิ่งบางอย่างเราอาจจะหาใหม่เพิ่มเติมได้ สติก็เช่นกัน เมื่อขาดหายไปบ้าง เราก็อาจหาใหม่เพิ่มเติมได้เช่นกัน วิธีการหาใหม่เพิ่มเติมขึ้นมาก็คือ การฝึกสติ

การฝึกสติก็มีหลายแบบหลายวิธี อย่างที่เราคุ้นๆ กันก็เช่น วิธีบริกรรมพุทโธ หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ วิธียุบหนอพองหนอ หายใจเข้าพองที่ท้อง หายใจออกยุบที่ท้อง วิธีสัมมาอรหัง เพ่งลูกแก้วหรือองค์พระที่ศูนย์กลางกายเหนือสะดือ วิธีอานาปานสติ คือการดูลม หรือสังเกตลมที่ผ่านปลายจมูกก็ได้ หรือดูลมยาวๆ ตามลมไปก็ได้ บางทีดูไปดูมา ดูตามลมจนเหนื่อย เราก็เลยดูมันที่จุด...จุดเดียว คือที่ปลายจมูกอย่างนี้ก็ได้

ท่านว่า เหมือนเราไกวเปลเด็ก ตอนแรกเรากลัวเด็กจะตกจากเปล เราก็เลยต้องดูเด็กในเปลที่แกว่งไปไกวมาซ้ายทีขวาที แต่พอดูไปดูมา หันไปหันมาจนเมื่อยคอแล้ว เห็นว่าเด็กไม่ตกจากแปลแน่แล้ว เรารู้จังหวะมันแล้ว เราก็อาจจะดูมันที่จุดกลางเปลหรือจุดใดจุดหนึ่งจุดเดียวก็ได้ เพราะเราดูจนรู้แน่แก่ใจแล้วว่า เด็กไม่ตกแน่ เลยดูมันอยู่ที่จุดๆเดียวก็พอ

เวลาดูลมของอานาปานสติที่จุดๆเดียวนี้บางทีเขาก็ดูที่ปลายจมูก เพราะเป็นทางผ่านของลมหายใจจากนอกร่างกายเข้าสู่ในร่างกาย ท่านบอกว่ามันเป็นต้นลม

ต้นลมมันก็ที่ปลายจมูก กลางลมมันก็ที่หน้าอก ปลายลมมันก็ที่ท้อง ท่านบอกว่าอย่างนั้น แต่ถ้าพูดแบบนี้เดี๋ยวคนฝึกยุบหนอพองหนอจะต่อว่าเอา แล้วเลิกอ่านเลย เพราะยุบหนอพองหนอเขาดูที่ท้อง ท้องมันก็ปลายลม

ถ้าอย่างนั้นขออนุญาตพูดใหม่เอาใจคนฝึกแบบยุบหนอพองหนอก็ได้ว่า ท้องมันก็เป็นต้นลมเหมือนกัน เพราะตอนเราหายใจออก ท้องมันก็เป็นต้นลม ลมออกทิ้งที่ปลายจมูก ปลายจมูกมันก็เป็นปลายลม

ความจริงต้นลม กลางลม ปลายลมมันก็ลมเส้นเดียวกัน วิธีไหนก็ได้ ฝึกให้ได้ที่แล้วมันก็จะเหลือจิตอยู่ตัวเดียว หรือจะสมมติชื่อให้เป็นอะไรก็ได้ ตัวรู้ก็ได้ ตัวรู้ตัวเดียวลอยอยู่ภายในร่างกายของเรา อย่างนี้ก็ได้

มันก็เหมือนกันกับตอนที่เราหิวอยากจะกินอาหาร เราจะใช้ตะเกียบกินก็ได้ ช้อนกินก็ได้ อิ่มเหมือนกัน อิ่มแล้วก็เอาเวลาที่เหลือไปทำการงานอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อ คงไม่มีใครมาเถียงกันว่า ใช้ช้อนกินอิ่มดีกว่าใช้ตะเกียบกิน หรือใช้ตะเกียบกินอิ่มดีกว่าใช้ช้อนกิน

วิธีการฝึกจิตให้เหลือตัวจิตดวงเดียวหรือจิตที่มีสมาธินี่ก็เหมือนกัน ป่วยการที่จะเถียงกันว่าวิธีไหนดีกว่ากัน พอฝึกได้วิธีใดวิธีหนึ่งจนถึงระดับหนึ่งแล้ว วิธีอื่นเราแอบไปทำแป๊บเดียวก็ได้แล้ว เหมือนเราฝึกกินช้อนเป็นได้ไม่นาน เราก็จะสามารถกินตะเกียบเป็นเหมือนกัน

เป็นอันว่าเราจะทดลองฝึกวิธีกินช้อนกันก่อนก็แล้วกัน สมมติว่าวิธีกินช้อนเป็นวิธีอานาปานสติ เพราะฉะนั้นเราก็เลยจะเล่าให้ข้าวฟ่างฟังถึงวิธีฝึกสติแบบที่เรียกว่า อานาปานสติกันก่อนก็แล้วกัน

อานะ แปลว่า หายใจเข้า

อปานะ แปลว่า หายใจไม่เข้า อะ แปลว่าไม่ อปานะ แปลว่าหายใจไม่เข้า ซึ่งก็คือ หายใจออก

ดังนั้น อานาปานะ ก็คือ การหายใจเข้าและการหายใจออก บวกกับคำว่าสติ เลยกลายมาเป็นอานาปานสติ แปลว่า สติกำหนดลงไปที่ลมหายใจเข้าลมหายใจออก นี่เป็นการแปลคัมภีร์ตามแบบฝ่ายพระสูตร

แต่ถ้าตามแบบคัมภีร์ของฝ่ายพระวินัย เขาแปลคำว่า อานะก็คือออก และ อปานะก็คือเข้า ดังนั้น อานาปานสติ ก็คือสติกำหนดลงไปที่ลมหายใจออกลมหายใจเข้า

เราก็เดาต่อเอาไปตามความเห็นของเราเลยว่า เพราะเด็กเกิดมาจะร้องไห้จ๊ากก่อนเลย แสดงว่าหายใจออกก่อน ขืนหายใจเข้าก่อน เด็กก็คงหายใจเอาน้ำเข้าไปในปอดเป็นโรคปอดบวมแน่ อีกอย่างหนึ่ง เด็กก็คงต้องสั่งอะไรที่มันยังคั่งค้างอยู่ในรูจมูกออกมาก่อนกระมัง แล้วจึงหายใจเข้า

แปลกนิ เด็กเกิดมาพร้อมเสียงร้องไห้เลย แสดงว่าเศร้าใจที่ต้องเกิดมา เพราะเกิดมางวดนี้มีความทุกข์รออยู่เบื้องหน้าจมเลย แต่ผู้ใหญ่ที่อยู่รอบๆที่เป็นกองเชียร์กลับชอบใจ หัวเราะกันใหญ่คงดีใจมั้ง ที่มีเพื่อนมาร่วมแบกทุกข์อีกคนหนึ่ง ถ้าเด็กไม่ร้องไห้ผู้ใหญ่ก็ต้องรีบตีเด็กใหญ่ เพื่อให้เด็กร้องไห้ ถ้าเด็กไม่ยอมร้องไห้จริงๆเพราะขี้เกียจเกิดมาแบกทุกข์ ผู้ใหญ่ก็เลยต้องร้องห่มร้องไห้แทน เพราะเสียใจที่เด็กได้ตายไปแล้ว

โลกนี้มักจะมีอะไรแปลกๆ เสมอ ร้องไห้ท่ามกลางเสียงหัวเราะ หัวเราะท่ามกลางเสียงร้องไห้ โลกมันจึง ชุลมุนชุลเก ยุ่งเหมือนยุงตีกันอยู่แบบนี้ ว่าแล้วเราก็กลับมาเข้าเรื่อง การกำหนดลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของเรากันต่อดีกว่า

เราจะกำหนดลมหายใจเข้าก่อนหรือกำหนดลมหายใจออกก่อน ก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน แต่ในช่วงที่เริ่มฝึก เพื่อความสะดวกที่จะได้ทำไปพร้อมๆ กันอย่างมีระบบระเบียบ เราอาจทำแบบง่ายๆ ตามแบบที่ครูบาอาจารย์หลายท่านแนะนำกันต่อๆ มา นั่นก็คือการหายใจเข้าก่อนแล้วจึงหายใจออกก็แล้วกัน ง่ายดี พิสมัยแนะนำ

เอาเลย ฝึกเลย ฝึกเลย ฝึกเดี๋ยวนี้เลย เอาที่ปัจจุบันนี้เลย ธรรมะเป็นเรื่องของปัจจุบัน ที่นี่และเดี๋ยวนี้ พิสูจน์ได้ทันทีเลย เพราะมันเป็นวิทยาศาสตร์ แล้วปกติเราก็ต้องหายใจอยู่แล้ว ไม่ต้องหาอุปกรณ์อะไรเพิ่มเติมอีก ฝึกกันได้แบบง่ายๆ ทุกคนเลย

ผู้หญิงก็ฝึกได้ ผู้ชายก็ฝึกดี ใครว่าผู้หญิงฝึกได้ไม่ดีเท่าผู้ชาย อย่าไปเชื่อ ใครๆ ก็ฝึกได้ดีหมด เหมือนกันทุกคน

ไม่ว่าเป็นคนผิวขาว ผิวดำ ผิวเหลือง ทุกสีผิวฝึกได้หมด ไม่ว่าจะนับถือศาสนาไหนๆ ลัทธิใดๆ ก็ฝึกได้หมดเหมือนกัน เพราะทุกคนต้องหายใจอยู่แล้ว

เอาละ เราจะจัดการพิสูจน์เดี๋ยวนี้เลย เอาให้รู้เรื่องเดี๋ยวนี้เลย

ช่วงชีวิตที่ผ่านมาของเราจนถึงเดี๋ยวนี้ เราทำประโยชน์ให้กับคนอื่นมา ก็มากแล้ว เราจะมาลองทำประโยชน์ให้กับตัวเองซักห้านาทีสิบนาที จะเป็นไรไป แป๊บเดียวเท่านั้นเอง

แป๊บเดียวที่ว่านี้ บางทีเราอาจจะได้รับประโยชน์คุ้มค่าเกินกว่าที่เราคิดก็ได้ มันอาจจะเปลี่ยนชีวิตแบบเดิมๆ ของเรา ให้เป็นชีวิตใหม่ที่จ๊าบกว่าเดิมก็ได้ ถ้าเราทำถูกต้อง ถ้าเราหายใจถูกต้อง แล้วก็หายใจถูกวิธี พิสมัยพยายามโน้มน้าว
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
dtnew
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2006
ตอบ: 12

ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ย.2006, 9:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลองหายใจเข้าดูซิ หายใจเข้า...ก็สบายยยย....ลองใหม่ ลองใหม่..

หายใจเข้า ก็สบายยยยย.....นึกเอาไว้ก่อนว่าสบาย....นึกเอาไว้ก่อนว่าสบาย...

หายใจออก ก็สบายยยยย....นึกเอาไว้ก่อนว่าสบาย....นึกเอาไว้ก่อนว่าสบาย....

หายใจเข้าทำไมมันถึงสบาย ก็เพราะเราหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปในร่างกาย มันก็เลยสบาย.....

ในร่างกายเรามีออกซิเจนเป็นตัวขับเคลื่อน เราได้รับออกซิเจนมากๆ มันดีอยู่แล้ว เพราะออกซิเจนมันเป็นปราณที่ทำให้เราสามารถมีชีวิตอยู่ได้ เราไม่ต้องไปสูดออกซิเจนหรือสูดอากาศถึงชายทะเลหรือในป่าเขา นั่งอยู่ตรงเนี๊ยะ ถ้าหายใจถูกวิธี มันก็เป็นการหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ได้ปริมาณออกซิเจนเหมือนในป่าในเขาหรือชายทะเลเลย มันก็เลยสบายยย...

หายใจออกก็สบาย ทำไมมันจึงสบาย ก็เพราะเราหายใจเอาคาบอนไดออกไซที่เป็นของเสียในร่างกายออกไป มันก็สบาย....

หายใจเข้า มันก็เลย...สบาย....หายใจออก มันก็เลย.....สบาย....

หายใจเข้า สบายยยย.....หายใจออก สบายยยย...

เอาละ เราจะเริ่มฝึกแล้วนะ ตั้งใจดี..ดี...แล้วมันจะได้สิ่งดี..ดี..กลับมาเอง แต่เราก็ไม่ต้องไปหวัง ไม่ต้องไปอยากว่ามันว่าจะดี ทำดีแล้วมันก็จะ ดี...ดี...ดี...ในขณะทำนี่แหละ

เคล็ดลับข้อแรกคือ อย่าได้ไปหวัง อย่าได้ไปอยากว่าจะได้ดี แต่ถ้าเราทำถูกต้องมันก็จะดีเอง อยากมันเป็นกิเลส ถ้าเราไปอยากมันเมื่อไรเราจะปฏิบัติให้ถึงจุดหมายได้ช้ามาก นี่คือเคล็ดลับที่นักปฏิบัติทุกคนรู้แจ้งอยู่แก่ใจ แต่ตอนปฏิบัติ คือตอนทำ เราก็ต้องทำให้ดี..ดี..

ตอนเป็นนักเรียน ถ้าเราทุ่มเวลาให้กับการอ่านหนังสือให้ดี..ดี มันก็เข้าใจ พอไปสอบก็จะได้คะแนนดี..ดี ไปเองโดยอัตโนมัติ เราไม่ต้องไปหวังไม่ต้องไปอยาก ว่าจะได้คะแนนดี..ดี มันได้มาเอง สอบเสร็จนอนร้องเพลงรอเกรดดี..ดี ได้เลย

ตอนเราจะเริ่มฝึกสมาธิ เราก็จะต้องตั้งใจฝึกให้ดี..ดี เราจะทุ่มเวลาให้มันสักแป๊บนึงนี่แหละ ทำให้ดีๆ แล้วเราก็จะได้อะไรที่ดีๆ ออกมาเอง เอาใหม่....เอาใหม่

หายใจเข้า สบายยยย.....หายใจออก สบายยยย..

ได้เรื่องแล้ว ชักจะได้เรื่องแล้ว พร้อมยัง ทำให้เต็มที่นะ ทำให้เต็มที่ ทำให้ดีที่สุด ที่นี่และเดี๋ยวนี้ เอาที่ปัจจุบันให้ดีที่สุด พิสมัยกระตุ้น

เอาตอนนั่งอ่านนี่แหละ นั่งตัวตรง..ตรง ยืดตัวตรง..ตรง ดำรงสติให้มั่น........แล้วหายใจเข้าให้ลึกกก.....ลึกกกกกก.......ลองทำดู ลองทำดู เอาเลย เอาเลย

หายใจเข้าให้ลึกกก.........ลึกกกกก.......ให้เต็มปอดเลย......แล้วก็หายใจออกให้.........ยาววว.....ยาวววว......ให้หมดปอดเลย ออกทางจมูกก่อนนะ อย่าออกทางปาก เข้าก็ทางจมูก แล้วก็ออกก็ทางจมูก เข้าให้ลึกๆนี่ใช้เวลาเท่าไรก็ได้ ยิ่งนานยิ่งดี ออกให้ยาวๆ ก็เหมือนกัน นานเท่าไรก็ได้แต่ยิ่งนานก็ยิ่งดี ทำใหม่ ทำใหม่

หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........

หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........

เห็นอะไรเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า ...เห็นอะไรเปลี่ยนแปลงมั๊ย.....

ไม่เห็นมีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย......

อ้าว แล้วกัน...ความจริงเราว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงนะ...แต่ข้าวฟ่างไม่รู้เอง..พิสมัยบอก...

คือตอนที่เราหายใจเข้า เรารับรู้ว่าเราหายใจเข้า ตอนที่เราหายใจออกเราก็รับรู้ว่าเราหายใจออก
ปกติเราจะรู้ว่าคนที่มีชีวิต ต้องหายใจ มันเป็นปราณ มันเป็นลมปราณที่มีออกซิเจนอยู่ มันทำให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้ อย่างที่ได้เล่าไปแล้ว

แต่เรา..ไม่รู้สึกว่าเราหายใจ..ใช่หรือไม่...เรารู้ว่าคนเราต้องหายใจ........แต่เราไม่รู้สึกว่าเรากำลังหายใจในช่วงเวลาปกติ

เอ..แปลกดีนะ..พูดไง..งง..งง..

เอาใหม่ หายใจเข้าใหม่....ทำเลย...ทำเลย..

หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........

หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........

ฮั่นแน่...เริ่มรู้สึกตอนเราหายใจเข้า หายใจออกแล้ว

แล้วไง....รู้ก็รู้ซิ.....

แต่เมื่อกี๊ก่อนที่เราจะพูดคุยกันนั้น เราไม่รู้สึกเลยว่าเรากำลังหายใจ แสดงว่าตอนนี้เรามีความรู้เพิ่มขึ้นมาอีกนิดหนึ่งแล้ว ใช่ป๊ะ

เรารู้ว่าเรามีการหายใจ เพราะเรารับรู้ได้จาก....ลมหายใจ.....ของเราเอง

การหายใจ กับลมหายใจมันคนละตัวกัน การหายใจเป็นกริยา เป็น Verb เป็นกริยาอาการ แต่ ลมหายใจ เป็น Noun หรือเป็นนาม ที่เราจับต้องได้ด้วยประสาทสัมผัสที่มันมาสัมผัสกับรูจมูกของเรา การหายใจทำให้เกิดลมหายใจ

ตัวลมหายใจนี่มันเป็นโผฏฐัพพะ คือสิ่งที่มากระทบผิวหนัง มันก็เป็นอายตนะภายนอก ตามที่เคยกล่าวมาแล้วในบทก่อน

อายตนะภายนอกก็มี 6 สิ่ง สิ่งที่มันมาสัมผัสทางกายเราเรียกมันว่าโผฏฐัพพะ ส่วนกายหรือในที่นี้ก็คือผิวหนังมันเป็นอายตนะภายใน โผฏฐัพพะเป็นอายตนะภายนอก สำหรับ 5 คู่ที่เหลือก็คือ ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส และใจกับธรรมารมณ์

อายตนะภายนอกพวกนี้ ถ้าเรานั่งสมาธิแล้วเพ่งมัน มันก็จะกลายมาเป็นอารมณ์ (Object) ที่ถูกเราเพ่ง หรือพูดให้ง่ายที่สุดก็คือ ถ้าเราเพ่ง (Meditate) ที่ลมหายใจมันก็จะเป็นการนั่งสมาธิโดยมีลมหายใจเป็นอารมณ์

ทำไมจึงต้องมีลมหายใจเป็นอารมณ์ ก็เพราะลมหายใจตัวนี้สติของเราไปกำหนดไว้ ตามความหมายของวิธีการฝึกอานาปานสติที่ว่า เอาสติไปกำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออก

เมื่อเราเอาสติไปกำหนดอยู่ที่ลมหายใจ สติมันก็ไม่หนีไปไหน มันก็อยู่กับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ลมหายใจมันก็เลยเป็นสิ่งที่ยึดหน่วงสติไว้

คำว่า สิ่งที่ยึดหน่วง เราอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อารมณ์ก็ได้ เพราะในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานปี 2542 ให้ความหมายของคำว่าอารมณ์ไว้ว่า อารมณ์เป็นนาม แปลว่าสิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา โผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์ของกาย เป็นต้น

เราจะต้องยึดหน่วงอะไรไว้สักอย่างหนึ่งเวลานั่งสมาธิ เพราะถ้าเราไม่ยึดหน่วงอะไรไว้เลยมันก็จะลอยไปลอยมา กลายเป็นนั่งใจลอยไม่ใช่การนั่งสมาธิเป็นแน่

ตัวที่เราจะยึดหน่วงเอาไว้ได้ดีที่สุดก็คือลมหายใจของเรานี่แหละ เพราะมันเป็นวัตถุ หรือเป็น Object ที่มันวิ่งเข้ามาชนโครม...โครมเข้ากับรูจมูกของเราอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา ตอนเราสูดลมหายใจเข้า สูดลมหายใจออก ขณะที่เรานั่งสมาธินี่แหละ

เห็นไหม เมื่อก่อนเราไม่รู้จักกับ...ลมหายใจ....แต่ตอนนี้เรารู้จักกับ...ลมหายใจ...ของเราแล้ว....โดยที่เราเพ่งที่ตัวลมหายใจ แล้วถ้าเราทำติดต่อกันไปเรื่อยเรื่อย..แบบกัดติดไม่ปล่อย...จนเรารู้จักกับลมหายใจของเรานาน...นานแล้ว ได้เรื่องเลย เราจะรู้จักกับสติ

แล้วถ้าเราทำต่อไปเรื่อยเรื่อย...เราก็จะรู้จักกับจิต...แต่ตอนนี้ช่างมันก่อน.......เอาเป็นว่าตอนนี้เรารู้จักแต่เพียง..ลมหายใจ...แค่นี้ก็เจ๋ง สุด สุด แล้ว

อ้าว...เฟ้ย..เฟ้ย......ลมหายใจของข้าวฟ่างหายไปไหนแล้วเนี๊ยะ.........พิสมัยหลอกให้ข้าวฟ่างอ่านเพลินไปหน่อย ลมหายใจมันเลยหายไปไหนแล้วก็ไม่รู้

หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........

หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........

อ๋อ อ๋อ ...ยังอยู่...อิ..อิ.. เผลอแป๊บเดียว ไม่รู้ว่าลมหายใจหายไปไหนซะแล้ว

ลมหายใจนี่ก็ช่างกระไรเลย ชอบหนีข้าวฟ่างไปเที่ยวอยู่เรื่อยเลย....
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
dtnew
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2006
ตอบ: 12

ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ย.2006, 9:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จิตเหมือนวัวป่า

คราวที่แล้วเราได้คุยให้ข้าวฟ่างฟังถึงเรื่อง การหายใจกับลมหายใจ แล้วก็ให้ข้าวฟ่างทำความรู้จักกับลมหายใจ จนเราคุ้นเคยกันกับลมหายใจเป็นอย่างดีแล้ว

คราวนี้เราน่าจะมาทำความรู้จักกับจิตกันบ้างก็ถ้าจะดี วิธีที่จะทำความรู้จักกับจิต และเข้าถึงจิตแบบง่ายๆ ก็คงจะต้องใช้วิธีสื่อผ่านนิทานเซ็นที่มีชื่อเรื่องว่า จิตเหมือนวัวป่า

วัวป่าที่ว่านี้ ชื่อมันก็สื่อความหมายในตัวอยู่แล้วว่า เป็นวัวที่เกิดในป่าอันเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมัน คราวนี้เมื่อมันเกิดมาแล้ว มันก็วิ่งกันไปวิ่งกันมาอยู่ในป่าเขาตามธรรมชาติของมัน กิจกรรมหลักของมันหลังจากกินเสร็จมันก็ถ่ายของเสียออกมา แล้วก็กินต่อ ถ่ายของเสียต่อ แล้วก็วิ่งต่อไปในสถานที่ต่างๆ ในป่าเขานั่นแหละ ตัวมันไม่ค่อยได้ทำประโยชน์อะไรมากนัก เป็นเรื่องของการเตร็ดเตร็ดเตร่ท่องเที่ยวหากินไปตามเรื่องตามราวของมันมากกว่า ว่าโดยสรุปก็คือวันๆมันก็วิ่งวกไปวนมาอยู่ในป่าตามวิถีชีวิตประจำวันของมัน จนกระทั่งมันตายไป

จิตของเราก็เหมือนกัน คิดโน่นคิดนี่ แว็ปไปวนมา ทั้งเรื่องโน้นทั้งเรื่องนี้ คิดได้คิดดี คิดวนไปเวียนมาทั้งวัน จนมึนไปหมด บางเรื่องที่คิดไปนั้นก็ไม่ค่อยจะมีประโยชน์อะไรมากนัก ครั้นพอเรามีความจำเป็น จะให้มันคิดแบบเป็นเรื่องเป็นราวก็คิดไม่ได้ เพราะมันหมดพลังไปกับความคิดที่ฟุ้งซ่าน ที่เราไม่อยากจะคิดเหล่านี้ไปเสียแล้ว

แม้ขณะนี้ก็เถิด กำลังอ่านเรื่องจิตกับวัวป่าอยู่ดีๆ อ้าว ความคิดแว็บไปถึงไหนแล้ว กลับมาเร๊ว กลับมาเร็ว จิตจ๋าจิต มาอยู่ที่เรื่องวัวป่านะ

แต่เจ้าวัวป่าที่ว่านี้มันก็ใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์เอาเสียเลยทีเดียว ถ้าเรารู้จักใช้มัน ด้วยเหตุนี้ก็เลยมีคนฉลาดอยู่คนหนึ่งคิดว่า เอ นี่ถ้าเราไปไล่จับเอาวัวป่าที่มันมีแรงมากมายก่ายกองเหล่านี้มาใช้งานได้ มันก็น่าจะดีนะ เอามาฝึกทำไร่ไถนาลากเกวียนให้เราก็ได้ มันก็คงจะมีประโยชน์กับเราแน่ๆ ดีกว่าที่จะปล่อยให้มันวิ่งวกไปเวียนมาอยู่ในป่าเขาตามธรรมชาติของมัน แล้วมันก็ตายไป

แต่เราคงจะต้องจับวัวป่ามาให้ได้เสียก่อน วิธีการจับเราก็คงจะต้องไปหาเชือกมาสักเส้นหนึ่ง แล้วก็เอาเชือกนี่แหละไปคล้องคอวัวป่ามันมาให้ได้ เมื่อคล้องวัวป่ามาได้แล้ว เราก็จะได้ทำการฝึกวิธีทำไร่ไถนาให้มัน แล้วเราก็สามารถใช้มันให้เป็นประโยชน์ได้ ตัววัวป่ามันก็จะมีมูลค่าประโยชน์ แล้วก็เป็นกำลังสำคัญในการทำมาหากินของเราสืบต่อไป ดีทั้งตัววัวป่า ดีทั้งตัวเรา ที่ไปจับมันมา

จิตของเราก็เหมือนกัน มันวิ่งไปวิ่งมาคิดโน่นคิดนี่จนเพลียไปหมด ถ้าเราสามารถจับมันไว้ได้ เราก็คงสามารถนำพลังจิตอันมากมายก่ายกองของมันนี้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

การจับวัวป่าเราก็ใช้มือกับเชือกไปคล้องมันมาไว้เพื่อใช้งาน แล้วการจับจิตเล่า เราใช้อะไรไปคล้องมัน

ความจริงแล้ว วิธีจับจิตมาไว้ใช้งานนั้นมีหลายวิธี แต่วิธีที่ง่ายและสะดวกวิธีหนึ่งก็คือวิธีที่เรียกว่า อานาปานสติ คือสติกำหนดอยู่ที่ลมหายใจเข้าลมหายใจออก

จิต ............................... เหมือน.........................วัวป่า
|........................................................................|

ลมหายใจ ......................................................... เชือก
|.......................................................................|

สติ.................................................................. มือ

ลมหายใจนั้น ในบทที่ผ่านมา เรารู้จักกับมันแล้ว เราคุ้นเคยกับมันแล้ว เรารู้ว่ามันอยู่ที่ตัวเรานี่แหละ ถ้าเราหายใจเข้าให้ ลึกกกก...ลึกกกกกก.....หายใจออกให้ ยาวววว...ยาวววว...เราก็จะพบ จะเห็น แล้วก็รู้จักกับลมหายใจของเรา

อ้างย้อนกลับไปถึงคำจำกัดความของอานาปานสติ ที่กล่าวไว้ว่า อานาปานสติ ก็คือสติกำหนดอยู่ที่ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

ลมหายใจเรารู้จักแล้ว แล้วสตินั้นเล่า คืออะไร อยู่ที่ไหน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
dtnew
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2006
ตอบ: 12

ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ย.2006, 9:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อวานนี้นะ เราเดินออกจากบ้านจะมาขึ้นรถเมล์ พิสมัยเริ่มเล่า พอเดินออกมาได้ซักประมาณ 400 เมตรเห็นจะได้ นึกสงสัยขึ้นมาว่า เอ..ตอนที่เราออกจากบ้านมานี่ เราล็อคกุญแจที่ประตูบ้านหรือยังนี่ นึกเท่าไรเท่าไรก็นึกไม่ออก เลยโมโหอยู่ในใจแล้วบ่นกับตัวเองว่า ว้า เรานี่ไม่มีสติเอาเสียเลย มันน่าเขกหัวตัวเองนักเชียว

ว่าแล้วเราก็เดินย้อนกลับไปดูที่ประตูบ้านอีกครั้ง ปรากฏว่ากุญแจถูกล็อคเรียบร้อยแล้ว เราล็อคมันเอง เราทำไปโดยอัตโนมัติอย่างงั้นแหละ จำไม่ได้หรอกว่าเราทำไปแล้ว เออ นี่เราถ้าจะไม่มีสติจริงๆ

วันนี้เราเลยเอาใหม่ เช้าตื่นขึ้นมาเราก็นึกเอาไว้เลยว่าคราวนี้แหละ เราจะไม่ให้ขาดสติแบบเมื่อวานอีกแล้ว พอออกจากบ้านแล้วล็อคกุญแจปุ๊บ เราก็นึกไว้เลยว่า ล็อคแล้ว..ล็อคแล้ว..ล็อคแล้ว...นึกไปเรื่อยๆ ว่าล็อคแล้ว...ล็อคแล้ว...ล็อคแล้ว...นึกไปจนถึงจุดๆ เดิมที่ 400 เมตรเมื่อวานนี้แหละ แล้วเราก็นึกออกเลยว่า อ๋อ เราได้ล็อคกุญแจบ้านเรียบร้อยแล้ว

สบายเรา ไม่ต้องเดินกลับไปดูกุญแจบ้านเหมือนเมื่อวานนี้อีกแล้ว แล้วก็ไม่ต้องโมโหตัวเองว่าขาดสติอีกด้วย

เพราะฉะนั้น สติก็คือตัวนึกนั่นเอง ช่วงเวลาที่เรานึก..นึก..นึก..อยู่ ช่วงเวลานั้นก็คือช่วงเวลาที่เรามี สติ..สติ..สติ..อยู่

ดังนั้น การฝึกอานาปานสติของเราก็ไม่ต้องทำอะไรมาก เพียงแต่นึกลงไปที่ลมหายใจก็พอ นึก..นึก..นึก..ลงไปที่ลมหายใจเข้า นึก..นึก..นึก..ลงไปที่ลมหายใจออก หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งก็ได้ว่า สติอยู่ที่ลมหายใจเข้า สติอยู่ที่ลมหายใจออกหรือ สติจับอยู่ที่ลมหายใจเข้า สติจับอยู่ที่ลมหายใจออก ก็ได้

แต่ก็ต้องนึกให้มันติดต่อกันให้ตลอดนะ จะไปนึกไปที่ลมหายใจมั่ง แล้วไปแอบนึกถึงแฟนมั่ง นึกถึงกิ๊กมั่ง อย่างนี้ไม่ได้ ต้องนึกแต่ลมหายใจอย่างเดียว แล้วเราก็จะจับตัวจิตของเราเอาไว้ได้

ฟังๆ ดูแล้วมันง่าย พอเรานึกไปที่ลมหายใจแล้ว เราก็จะจับตัวจิตได้ แล้วเอาจิตไปใช้งาน แต่ในทางปฏิบัติแล้วมันคงจะไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะจิตมันเหมือนวัวป่า

วัวป่าเวลาเราเอาเชือกไปคล้องมันจะจับมัน มันยอมให้เราคล้องไหม มันก็ไม่ยอม มันก็ต้องดิ้นต้องพยายามหนีเรา เราก็ต้องจับเชือกไว้ให้แน่นๆ โดยทฤษฏีแล้ว เราไม่ให้เชือกหลุดมือเป็นใช้ได้ เราจะสามารถจับมันได้ แต่ถ้าเชือกมันหลุดมือแล้ววัวป่าก็จะหายไปพร้อมเชือกเลย

จิตของเราก็เหมือนกัน เราจะจับมัน เราก็ต้องนึกลงไปที่ลมหายใจของเรานี่แหละ ลมหายใจมันคล้ายเชือกที่เราจับวัวป่า นึกลงไปที่ลมหายใจเหมือนเราเอามือไปจับเชือก อย่าให้มันหลุดมือไป นึกให้มันติดกับลมหายใจให้ตลอด แล้วเราจะจับตัวจิตได้

แต่ถ้านึกไม่ติดกับลมหายใจแล้วมันหลุดไปตอนวิกฤติแล้วแย่เลย เราจะตามหามันยากมาก เพราะมันตกใจที่มีคนไปจับมัน มันก็เลยวิ่งเตลิดหนีหายไปลิบเลย

มันก็เหมือนกันกับวัวป่าที่ปกติมันก็วิ่งไปวิ่งมาอยู่ในป่า เผลอๆมันอาจจะวิ่งผ่านหน้าเราไปผ่านหน้าเรามาเป็นปกติ แถมบางครั้งมันอาจจะเอียงคอหยุดดูเราด้วยความสงสัย

แต่วันดีคืนดีเราเอาเชือกไปไล่คล้องคอมันจนมันตกใจแล้วดิ้นใหญ่ ถ้าเราจับมันไม่ได้แล้วมันดิ้นหลุดหนีไปได้ คราวนี้แหละยากมากเลย ถึงแม้เราจะเพียรพยายามหาตัวมันจนพบ แต่การที่จะได้มีโอกาสไปอยู่ใกล้ๆกับมันเพื่อเอาเชือกไปคล้องคอมันนั้น มันเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญเสียนี่กระไร เพราะตอนนี้วัวป่ามันไม่ไว้ใจเราเสียแล้ว

ใช่แล้ว ข้าวฟ่างนึกออกแล้ว ข้าวฟ่างเคยฝึกนั่งสมาธิ นึกลงไปที่ลมหายใจเข้า นึกลงไปที่ลมหายใจออกแบบนี้แหละ นึกไปนึกมานึกจนจิตชักจะสงบ จนเห็นแสงไฟมันสว่างวูบวาบไปหมด แล้วตัวมันก็เลยชักจะเบาขึ้นเบาขึ้น ตัวมันกำลังจะลอย แล้วก็ลมหายใจมันจะหายไปไหนก็ไม่รู้ ข้าวฟ่างก็เลยตกใจกลัวตายขึ้นมา รีบลืมตาขึ้นมาทันทีเลย

จนเดี๋ยวนี้ข้าวฟ่างอยากจะให้อาการแบบนี้เกิดขึ้นอีก แต่มันก็ไม่เกิดแล้ว เพราะจิตมันตกใจหนีหายไปแล้ว เหมือนวัวป่าที่มันตกใจหนีหายไปอย่างนั้นแหละ

ถูกต้อง พิสมัยบอก ตอนนั้นข้าวฟ่างเอาสติไปนึกอยู่ที่ลมหายใจ แล้วตัวลมหายใจมันก็ไปคล้องตัวจิตได้มาแล้ว เหมือนเราเอามือไปจับเชือกแล้วไล่คล้องวัวป่าเอาไว้ได้แล้ว

ตอนนั้นวัวป่ามันยังไม่เชื่องมันก็ดิ้น เหมือนจิตดิ้นนี่แหละ จิตดิ้นจนเรานึกรู้สึกกับลมหายใจไม่ชัด เหมือนวัวดิ้นสะบัดเชือกไปสะบัดเชือกมาจนเรามองเห็นเส้นเชือกไม่ชัดอย่างนั้นแหละ ความจริงเชือกมันยังมีอยู่ ลมหายใจมันก็ยังมีอยู่ เหมือนกัน

กรณีเชือกพันกันไปพันกันมา สะบัดไปสะบัดมาอย่างนี้ พรานผู้เชี่ยวชาญในการจับวัวป่าเขาทำอย่างไร

เขาก็ต้องมีวิธีการของเขา เช่น ผ่อนสั้นผ่อนยาวเชือกเส้นนั้น อาจจะผ่อนเชือกให้มันยาวออกไปให้มากๆ จนมันเหนื่อยแล้วดึงสู้กับมัน หรือจับเชือกไว้แน่นๆ หรือวิธีอื่นๆ โดยอาศัยประสบการณ์ของเขา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
dtnew
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2006
ตอบ: 12

ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ย.2006, 9:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในกรณีจับจิตของเราก็เหมือนกัน เราก็ต้องจับลมหายใจ หรือนึกลงไปที่ลมหายใจ จนได้ประสบการณ์จับตัวจิตของเราเอง เช่น การสาวลมหายใจเข้าให้ลึกกก...ลึกกก...ออกให้ยาวว...ยาววววว..หรือคอยผ่อนลมหายใจให้มันสั้นๆ หายใจเข้าให้สั้นๆ หายใจออกให้สั้นๆ เพื่อเป็นการผ่อนสั้นผ่อนยาวให้จิตมันหายพยศ แล้วมันก็จะอ่อนเปลี้ยเพลียแรงไปเอง

ถึงตอนนี้เราก็จะจับจิตมันมาใช้งานได้ คราวนี้แหละ พอเราจับมันได้แล้ว เราก็จะสามารถนำเอามันมาฝึกใช้งานให้เราได้ เหมือนฝึกวัวป่าใช้งานฉันใดก็ฉันนั้น

ที่สำคัญเราจะต้องนึกอยู่ที่ลมหายใจอยู่ตลอดเวลา ถ้านึกหลุดจากลมหายใจแล้ว มันก็จะเหมือนกับเราทำเชือกหลุดมือตอนวัวป่าดิ้น แล้ววัวป่าตกใจวิ่งหนีหายไปเลย ดังนั้นวิธีที่จะจับจิตเอามาฝึกไว้เพื่อใช้งาน ให้ข้าวฟ่างทำอยู่อย่างเดียว คือนึกไม่ให้หลุดไปจากลมหายใจ

เอ้า...ทำเลย ทำเลย ลึกให้มากที่สุด ยาวให้มากที่สุด เหมือนสร้างเชือกให้ยาวววว.....ที่สุด เป็นทุนไว้ต่อสู้กับวัวป่า

แล้วเวลาเราต่อสู้กับวัวป่า เราก็จะปล่อยให้วัวป่ามันดึงกองเชือก กองโต..โตไปเรื่อย..เรื่อยไม่สุดซักที อย่างงี้ก็ได้ ส่วนเราไม่ต้องออกแรงดึงเชือกสู้กับมันเลย วัวป่าซะอีก มันก็จะเหนื่อย แล้วยอมสยบเรา

หายใจเข้าให้ลึกก...ลึกกกก......หายใจออกให้ยาวว...ยาวววว...

หายใจเข้าให้ลึกก...ลึกกกก......หายใจออกให้ยาวว...ยาวววว...

นึกเข้าไปที่ลมหายใจ...นึกเข้าไปที่ลมหายใจ............... แล้วก็

หายใจเข้าให้ลึกก...ลึกกกก......หายใจออกให้ยาวว...ยาวววว...

หายใจเข้าให้ลึกก...ลึกกกก......หายใจออกให้ยาวว...ยาวววว...

นึกเข้าไปที่ลมหายใจเข้า.......นึกเข้าไปที่ลมหายใจออก........

นึกเข้าไปที่ลมหายใจเข้า.......นึกเข้าไปที่ลมหายใจออก........

เอ้า..หลับตา..หลับตา...ปิดเปลือกตาให้เบาเบา อย่าให้แน่น....แล้วก็...

นึกเข้าไปที่ลมหายใจเข้า.......นึกเข้าไปที่ลมหายใจออก........

นึกเข้าไปที่ลมหายใจเข้า.......นึกเข้าไปที่ลมหายใจออก........

อ้าว...ลืมตาแล้วเหรอ...เนียะ...ทำไปหยั่งเงี๊ยะ อีกไม่นานเราก็จะจับตัวจิตได้ เราขออนุโมทนาด้วยนะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
dtnew
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2006
ตอบ: 12

ตอบตอบเมื่อ: 09 ธ.ค.2006, 12:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เราพบแล้ว



ข้าวฟ่างชักจะทำได้แล้ว รู้จักกับลมหายใจแล้ว รู้จักกับสติแล้ว ไม่ยากเลย ข้าวฟ่างก็ทำตามที่พิสมัยเล่านี่แหละ แอบไปปลีกวิเวกอยู่ในที่เงียบๆคนเดียว ปฏิบัติคนเดียว อาทิตย์เดียวรู้เรื่องเลย อ๋อจิตมันอยู่ที่นี่เอง

จิตมันก็อยู่ในเส้นเส้นเดียวกันกับลมหายใจแล้วก็สติ นั่นแหละ เหมือนกันกับวัวป่า ที่มันอยู่บนเส้นเชือกเส้นเดียวกันกับมือที่เราถือเชือก

แล้วจิตมันมีรูปร่างลักษณะรายละเอียด เป็นอย่างไร นั่นซิ ข้าวฟ่างชักลังเล เพราะแอบไปฝึกอาทิตย์เดียว แม้จะรู้ว่าจิตมันอยู่ที่นี่ แน่ แน่ เลย แต่ก็ยังมองเห็นไม่ค่อยชัดเจนเท่าไรเลย

ตอนเราจะไปจับวัวป่านั้น เรารู้รูปร่างลักษณะวัวป่าที่เป็นรายละเอียดหรือไม่ พิสมัยตั้งคำถามให้ข้าวฟ่างขบคิด เราเห็นแต่มือแล้วก็เชือกเท่านั้น สองอย่างนี้เราเห็นมันรู้ลักษณะของมัน

แล้วพิสมัยก็วิเคราะห์ต่อให้ข้าวฟ่างฟังว่า แม้เราจะรู้ว่าวัวป่ามันมีรูปร่างอย่างไร แต่ลักษณะที่เป็นรายละเอียด เช่น สีคล้ำมาคล้ำน้อย เขายาวมากยาวน้อย มีจุดดำขาวกี่จุด ขนยาวหรือขนสั้น เป็นวัวป่าที่เป็นโรคปากและเท้าเปื่อยหรือไม่ ต่างๆเหล่านี้เป็นรายละเอียดที่เราไม่รู้ แต่ถ้าเราจับมันมาได้แล้ว ฝึกจนเชื่อง แล้วเราได้พิจารณามันใกล้ๆ เราก็จะรู้ลักษณะที่เป็นลายละเอียดของมัน

จิตก็เหมือนกัน ตอนแรกเรายังไม่รู้ลักษณะที่เป็นรายละเอียดของมัน เรารู้แต่ลมหายใจแล้วก็สติ ลมหายใจมันก็เหมือนเชือก สติมันก็เหมือนมือ ดังนั้นถ้าเราเอาสติกับลมหายใจไปคล้องจิตมาได้ แล้วค่อยๆพิจารณามัน คราวนี้แหละ เราก็จะรู้ลักษณะที่เป็นรายละเอียดของจิต

คราวนี้ ปัญหาในการปฏิบัติของนักปฏิบัติที่มักจะพบเห็นกันเกือบทุกคนก็คือ เรื่องของลมหายใจ ดังนั้น ถ้าเราพบปัญหานี้ เราก็อาจจะนึกถึงเรื่องการจับวัวป่าก็ได้ เพราะลมหายใจมันเหมือนเชือก

เรื่องก็คือ ในบางช่วงเรามองไม่เห็นเชือก เราก็วิเคราะห์ว่า ก็เพราะวัวป่ามันเชื่องแล้ว เราก็เลยสามารถเอามือไปจับตัววัวป่าได้ เชือกมันก็เลยไม่ตึง อาจห้อยอยู่ระหว่างมือที่จับเชือกกับวัวป่า มือมันก็เลยบังเชือกไว้ หรือถ้าเรามองมาจากด้านตรงข้ามของวัวป่า หรืออีกด้านหนึ่งของวัว ตัววัวมันก็จะบังเชือกอยู่มันเลยคล้ายกับไม่มีเชือก

ลมหายใจก็เหมือนกัน พอจิตใจเราชักสงบ ตัวสติกับตัวจิตมันก็จะอยู่ใกล้กัน ลมหายใจมันก็เลยเบามากคล้ายไม่มีลมหายใจ อย่างงี้ดี เราเรียกว่าจิตเริ่มมีสมาธิแล้ว

เอ..ใช่ซิ แล้วคำว่าสมาธิเนียะ ข้าวฟ่างเคยได้ยินเขาพูดกันบ่อย มันหมายความว่าอย่างไรกัน ทำอย่างไรข้าวฟ่างจึงจะรู้ว่าข้าวฟ่างได้สมาธิหรือยัง แล้วมันไปถึงระดับไหนแล้ว

ศัพท์คำว่า สมาธิ ในภาษาไทยเราสามารถแยกแยะออกได้เป็น 2 ความหมายใหญ่ๆ เหมือนกันกับคำว่าแกงอย่างนั้นแหละ พิสมัยไขข้อข้องใจให้ข้าวฟ่าง

ถ้าเราพูดถึงแกงเราจะต้องพูดให้ชัดๆลงไปว่าเราจะไปแกง หรือเราจะไปเอาแกงที่เราแกงเสร็จแล้วมากิน ถ้าเราไปแกงก็หมายถึงกริยาอาการที่เราเข้าไปปรุงเพื่อให้เกิดแกงขึ้นมา ปรุงแกงเพื่อที่จะได้แกง ทำแกงเพื่อให้เกิดแกง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
dtnew
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2006
ตอบ: 12

ตอบตอบเมื่อ: 09 ธ.ค.2006, 12:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำว่าสมาธิก็เหมือนกัน มันมี 2 ความหมาย ไปทำสมาธิหรือไปใช้สมาธิที่เราทำมาได้แล้ว

การที่จะไปทำแกงเพื่อให้เกิดแกงที่มีสูตรเจ๋ง มันก็ต้องมีหลายเหตุ หลายปัจจัย หลายสิ่ง มันต้องมีอุปกรณ์การปรุงที่ดี มีเครื่องปรุงที่ดี แล้วก็มีเทคนิคการปรุงที่ดี รวมทั้งต้องมีเวลาให้มัน เราก็หัดปรุงของเราไปเรื่อยๆ ครั้งแรกๆอาจจะไม่ได้สูตรเจ๋ง กินบ้างทิ้งบ้าง แต่ถ้าเราทนฝึกไปเรื่อยๆ ในที่สุดเราก็จะได้แกงสูตรเจ๋งสักวันหนึ่งจนได้


แต่ถ้าได้แกงสูตรเจ๋งแล้ว เราก็เอาแกงไปใช้งานได้ดีก็แล้วกัน จะใช้งานอย่างไรมันก็แล้วแต่วัตถุประสงค์ของเรา เช่น เราจะเอามากินเองมันก็เจ๋ง จะเอาไปให้คนอื่นกินคนอื่นก็ว่าเจ๋งด้วย ถ้าเอาไปขายก็ขายดิบขายดี เพราะเราปรุงได้แกงสูตรเจ๋ง


พอเราฝึกแกงจนได้แกงสูตรเจ๋งของเราแล้ว เวลาเราต้องการจะใช้งานมันอีก เราก็ใช้เวลาแป็บเดียวปรุง เราก็ได้แกงที่เจ๋งเหมือนเดิม พอเพื่อนอยากจะกินเราก็วิ่งหายเข้าไปในครัวเดี๋ยวเดียว เราก็ได้แกงสูตรเจ๋งมาเลี้ยงเพื่อนแล้ว ขืนมัวไปฝึกทำแกงเพื่อให้ได้แกงสูตรเจ๋งคงไม่ทันกาล เพื่อนหนีหมด


สมาธิก็เช่นกัน เราจะต้องฝึกทำสมาธิก่อนเพื่อให้ได้สมาธิมาใช้งาน ช่วงการฝึกก็อาจจะยากหรือใช้เวลาเหมือนการฝึกแกง แต่ถ้าฝึกจนได้สมาธิแล้ว ครั้งต่อไปเราก็จะสามารถเรียกสมาธิสูตรที่เราเคยฝึกมาแล้ว แล้วเราต้องการมัน มาใช้งานได้เลย


แกงสูตรเจ๋งเวลาเรากินมันก็รู้สึกว่ามันเจ๋งดี พอเอาไปให้เพื่อนกินเพื่อนก็ชมใหญ่ พอเราเอาไปขายก็ขายดิบขายดี เราก็เลยมั่นใจว่านี่แหละเป็นแกงสูตรเจ๋งของเรา แล้วสมาธิสูตรเจ๋งที่ว่านี้มันเป็นอย่างไร ข้าวฟ่างจะชักสงสัย


สมาธิสูตรเจ๋งเราก็ต้องวัดเอาเอง เราก็ต้องประเมินผลเอาเอง จะให้คนอื่นประเมินผลหรือให้คนอื่นชิมแบบแกงมันไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องของสันฐิติโก ที่แปลว่ารู้เห็นได้ด้วยตนเอง แต่มันก็ต้องมีเค้าลางให้เราเห็นบ้างเล็กน้อย ว่านี่มันเป็นสมาธิสูตรเจ๋งแล้วหรือยัง


จิตที่เป็นสมาธินั้น ตามหลักทฤษฏีเขากล่าวไว้ว่าจะต้องประกอบด้วยอาการ 3 อย่างนี้คือ บริสุทธิ์ ตั้งมั่น แล้วก็พร้อมใช้ หรือ ปริสุทโท สมาหิโต กัมมนีโย หรือ Purity Steadiness Activeness ก็ได้ ความหมายเหมือนกัน เพียงแต่สื่อกันคนละภาษาเท่านั้น


จิตบริสุทธิ หรือปริสุทโท นั้น มันบริสุทธิเพราะไม่มีอะไรรบกวน เมื่อไม่มีอะไรรบกวนมันก็ตั้งมั่นอยู่ได้ เหมือนน้ำถ้าบริสุทธิมันก็ตั้งมั่นเป็นน้ำอยู่ได้ แต่ถ้าเราเอาดินไปใส่ในน้ำตั้งมากมายก่ายกอง มันก็เลยกลายเป็นโคลน ไม่สามารถตั้งมั่นเป็นน้ำอยู่ได้ จิตก็เหมือนกัน มันต้องบริสุทธิ มันจึงตั้งมั่น


พอจิตมันตั้งมั่นหรือสมาหิโตแล้ว เราก็ทำอะไรได้หลายอย่างหลายชนิด กองทหารที่ตั้งมั่นอยู่ในที่ตั้ง เขาก็ทำอะไรได้หลายอย่าง เช่นซ้อมรบ ฝึกแถวทหาร เลิกแถวทหาร หรืออื่นๆเพื่อการพัฒนาความพร้อมของกองทหาร


จิตก็เหมือนกัน พอตั้งมั่นแล้ว เราก็อาจใช้จิตที่มีพลังมากมายก่ายกองนี้ทำอะไรได้หลายอย่าง เช่นเราเห็นแสงสว่างอยู่ทั่วไปหมดตอนเราหลับตานั่งสมาธิ เราก็อาจจะเคี่ยวให้แสงสว่างนี้มันข้นจนมันเข้ามารวมศูนย์อยู่ที่จุดๆเดียวก็ได้ หรืออาจจะพูดอีกภาษาหนึ่งเราก็อาจจะกล่าวว่า เราจะ Concentrate มันลงไปให้มันรวมศูนย์เลย เราจะเคี่ยวมันให้มันเข้มข้นขึ้นจนเกิดสมาธิเลย อย่างงี้ก็ได้ นี่เป็นคุณสมบัติของจิตที่เป็นสมาธิ


หรือเราเบื่อมัน เราก็อาจจะขยับจุดที่ว่านี้เคี่ยวต่อ ให้มันเข้มสุดๆ แบบเอาเลนส์นูนมารองรับแสงแดดให้สว่างลุกพรึบขึ้นใหม่เลย อย่างนี้ก็ได้


หรือพวกที่ชอบเย็นๆ ธาตุเย็นๆ อาจจะโฟกัสจุดจุดใดตามที่ตนถนัดให้เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นน้ำพุพุ่งขึ้นไปบนฟ้า แล้วตกลงมา แล้วบังคับให้มันพุ่งขึ้นไปใหม่ อ้าว เมื่อกี๊นี้มันพุ่งขึ้นไปทางซ้ายเหรอ เอาใหม่ เอาใหม่ คราวนี้ให้มันพุ่งขึ้นไปทางขวา หรือให้มันพุ่งขึ้นไปกลางกระหม่อมเลย อย่างนี้ก็ได้ แล้วแต่คนถนัด เพราะคนเราย่อมมีทั้งธาตุน้ำธาตุไฟธาตุอื่นๆ หลายธาตุตามที่ได้กล่าวมาแล้ว นี่เป็นวิธีการพัฒนาความพร้อมของจิต


อันสุดท้ายที่ทำให้เรารู้ว่าจิตของเราเป็นจิตที่เป็นสมาธิก็คือ จิตพร้อมใช้ หรือกัมมนีโย กัมมนียะแปลว่าเหมาะสมที่จะทำหน้าที่การงาน


เหมือนวัวป่าที่เราจับมันมาได้แล้ว แต่มันยังไม่เชื่อง เมื่อเราต้อนมันให้เข้าไปอยู่ในฐานที่ตั้ง หรือให้มันตั้งมั่นแล้ว เราก็เริ่มฝึกให้มันทำไร่ไถนาจนมันชำนาญ พร้อมใช้งานได้เลย ฝึกเสร็จมันนอนต่อ แต่พอจะให้มันไถนามันก็พร้อมใช้งานได้เลย ไถได้เลย


เหมือนจิตเราตอนที่มันตั้งมั่น เราก็ฝึกพวกแสงไฟพวกน้ำพุ หรืออะไรพวกนี้ก็ได้ ตามที่แต่ละคนจะถนัด พอฝึกได้ที่เราก็พร้อมใช้งานได้เลย นี่เป็นลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิแล้ว เหมือนสูตรแกงที่เจ๋งแล้วรอการใช้งานจากเราได้เลย


เอ้า....


ตั้งกายตรง ดำรงสติให้มั่น (อุชุง กายัง ปะณิธายะ,ปริมุขัง สะติง อุปัฏฐเปตวา : ตั้งกายตรง ดำรงสติให้มั่น)...ทำเลย..ทำเลย...


ตั้งกายตรง ดำรงสติให้มั่น.......หายใจเข้าลึกกก..ลึกกกกก..... เอาใหม่... เอาใหม่


หายใจเข้าให้ลึกกก...ลึกกกก........หายใจออกให้ยาววว....ยาวววววว...


หายใจเข้าให้ลึกกก...ลึกกกก........หายใจออกให้ยาววว....ยาวววววว...


นึกเข้าไปที่ลมหายใจ..... นึกเข้าไปที่ลมหายใจ.....แล้ว..หลับตา..หลับตาเบาเบา..
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
dtnew
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2006
ตอบ: 12

ตอบตอบเมื่อ: 09 ธ.ค.2006, 12:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หายใจเข้าให้ลึกกก...ลึกกกก........หายใจออกให้ยาววว....ยาวววววว...


หายใจเข้าให้ลึกกก...ลึกกกก........หายใจออกให้ยาววว....ยาวววววว...


เห็นการเปลี่ยนแปลงไม๊..เห็นอะไรเปลี่ยนแปลงไม๊...ถ้าไม่เห็น...ไม่เป็นไร ทำต่อไปเรื่อยๆ จะหนึ่งวัน หรือหนึ่งเดือน หรือหนึ่งปี หรือหลายปีก็แล้วแต่ ทำต่อไปเรื่อยๆ แล้วเราก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงแน่ๆ ของอะไรที่เราชอบมันศรัทธามัน แล้วเรามีเวลาให้มัน เราทำสำเร็จแน่ ขอให้มีสองสิ่งนี้คือชอบมัน แล้วก็มีเวลาให้มัน เราทำสำเร็จแน่ พิสมัยพูดให้กำลังใจข้าวฟ่าง


แต่ถ้าข้าวฟ่างเห็นการเปลี่ยนแปลงแล้ว เอาใหม่ เอาใหม่ ทำขั้นสูงแบบมืออาชีพเขาทำกันเลย......มันเป็นสูตรเรียนลัด ที่จะทำให้ข้าวฟ่างทำให้บรรลุถึงเป้าหมายได้เร็วๆไง....


เราเป็นคนประเภท สัมฤทธิคตินิยม หรือ Pragmatism ทำให้มันง่ายๆแล้วเห็นผลทันทีเลย ดีกว่า ยังไม่ต้องประดิษฐ์ประดอย คือให้มันสัมฤทธิผลเอาไว้ก่อน เหมือนกับสมัยก่อนคนเค้าจะกินกาแฟ เค้าอาจจะต้องไปต้มกาแฟกิน มันจึงช้ากว่าเราจะได้กิน เมื่อเป็นอย่างนี้ก็เลยมีคนบางคนคิดกาแฟพร้อมดื่มหรือพวก Instance coffee ทั้งหลายขึ้นมา ตักกาแฟใส่ถ้วย ใส่น้ำตาล เทน้ำร้อนที่ต้มเดือดแล้วลงไป กินได้เลย ยิ่งเดี๋ยวนี้ยิ่งเร็วใหญ่มีแบบซองที่มีทั้งกาแฟ น้ำตาล แล้วก็ครีม พอฉีกใส่ถ้วยเทน้ำเดือดลงไป กินได้เลย


เรากินกาแฟก็มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ง่วงหรือเพื่อให้กระปรี้กระเปร่า กินพวก Instance นี่ ให้ผลทันทีเลย ทันทีทั้งได้กิน ทันทีทั้งแก้ง่วง แล้วเราก็ไปทำงานได้เลย ได้งานเพิ่มขึ้นอีกมากมาย เก็บไว้ตอนที่เรามีเวลาว่างจากการทำงาน แล้วเราอยากจะได้กินกาแฟที่อร่อยกว่า เราอาจจะไปเอาเครื่องต้มกาแฟมาต้ม จะเลือกกาแฟชนิดไหนก็ได้ จะให้อร่อยแบบไหนก็ได้ เพราะงานเราทำเสร็จแล้ว


สูตร นี่ไงใช่เลย ที่เราจะเล่าให้ฟังนี้ ก็เป็นการทำแบบง่ายๆ แต่ให้ผลทันทีเลย เป็น Instance concentration เลย นี่เป็นการทำสมาธิที่ให้ผลได้อย่างเฉียบพลันเลย


ลองทดลองเทียบความเย็นร้อน ของลมหายใจเข้า กับลมหายใจออกดูว่า ลมหายใจเข้ากับลมหายใจออก อันไหนมันเย็นร้อนกว่ากัน โดยปกติแล้วลมหายใจเข้ามันจะเย็นกว่าลมหายใจออก แล้วเราก็สังเกตไปเรื่อยๆ เราจะเรียนลัดแล้ว.....เราจะเรียนลัดแล้ว.....


เอ้า..ทำเลย...ทำเลย..


เข้า...เย็นนน....................................ออก...ร้อนนน....................................


เข้า...เย็นนน....................................ออก...ร้อนนน....................................


เห็นข้อแตกต่างยัง เห็นความแตกต่างยัง ถ้ายังไม่เห็น ทำต่อ ทำต่อไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็เห็นเอง......


เข้า...เย็นนน....................................ออก...ร้อนนน....................................


เข้า...เย็นนน....................................ออก...ร้อนนน....................................


ถ้าเห็นแล้ว เอาตัวเย็นร้อนที่สัมผัสมาได้นั่นแหละมาทำเชื้อ แล้วทำต่อเลย ทำต่อเลย ใกล้ความจริงแล้ว เอาเลย.... เอาเลย....


นึกเข้าไปที่ลมหายใจเข้า....แล้วรู้ว่ามันเย็นนนนนนนนน


นึกเข้าไปที่ลมหายใจออก..แล้วรู้ว่ามันร้อนนนนนนนนน


รู้สึกขนลุกไม๊.....รู้สึกขนลุกไม๊.....


นึกเข้าไปที่ลมหายใจเข้า....แล้วรู้ว่ามันเย็นนนนนนนนน


นึกเข้าไปที่ลมหายใจออก..แล้วรู้ว่ามันร้อนนนนนนนนน


ช่างมัน ช่างมัน ขนลุกไม่ลุกช่างมัน อย่าไปสนใจอะไรมันมาก มันอยากจะลุกก็ลุก มันไม่อยากลุกก็ไม่ลุก ถ้าลุกก็ดี ไม่ลุกก็ดี มันเป็นอาการตามธรรมชาติของมันเท่านั้น


เอาใหม่.....เอาใหม่.......


หลับตา หลับตา หลับตาเบาเบา ....ดูความเย็นกับความร้อน...ของลมหายใจ


นึกเข้าไปที่ลมหายใจเข้า....แล้วรู้ว่ามันเย็นนนนนนนนน


นึกเข้าไปที่ลมหายใจออก..แล้วรู้ว่ามันร้อนนนนนนนนน


ทำไปเรื่อยๆ จนรู้ว่าเมื่อไรที่เรารู้สึกเย็น นั่นหมายถึงเราหายใจเข้า เมื่อไรที่เรารู้สึกร้อนนั่นหมายถึงเราหายใจออก


ทำไปเรื่อยๆ จนความเย็นความร้อนมันอยู่ในระดับใกล้กันมากๆ แล้วมาลอยคลอเคลียรอความสมดุลอยู่ที่ปลายจมูกของเราเอง หรือที่ไหนก็ได้แล้วแต่แต่ละคน แล้วคราวนี้แหละ เสร็จเรา


เมื่อความเย็นความร้อนมันใกล้กันมาก มันก็ใกล้ๆหนึ่งเดียวขึ้นมาทุกที เมื่อมันเป็นหนึ่ง เราก็สามารถจะโน้มเคลื่อนมันไปไหนก็ได้หรือให้หยุดนิ่งก็ได้ แล้วแต่วัตถุประสงค์ของเรา หรือจุดมุ่งหมายของเรา แต่ทั้งหมดทั้งสิ้นนั้นมันก็จะไม่พ้นจุดมุ่งหมาย 4 อย่างนี้คือ


เพื่อทิฏฐะธรรมิกสุขหรือเพื่อความสุขทันตาเห็น อันที่สองก็คือเพื่อญาณทัสสนะ ที่เป็นตาทิพย์หูทิพย์ อันที่สามก็คือเพื่อความสมบูรณ์แห่งสติสัมปชัญญะ อันสุดท้ายก็คือ เพื่อสิ้นอาสวะ


เพื่อความสุขทันตาเห็น หรืออาจเรียกว่าความสุขในปัจจุบันก็ได้ อันนี้อาจจะไม่ยากนัก ทำตามที่เราเล่ามาจนรู้สึกว่าลมหายใจมันเหลือน้อยที่สุดก็ใช้ได้แล้ว พอลมหายใจเหลือน้อยก็แสดงว่าเราใช้ลมหายใจน้อย ใช้ออกซิเจนน้อย ดังนั้นถ้าเราสูดลมหายใจเบาๆเพิ่มขึ้นมาอีกนิด อีกนิดจริงๆอาจขยับลมหายใจที่มันลอยๆอยู่ที่ปลายจมูกซักครึ่งฟองที่ลอยอยู่ก็พอ แต่เอ๊ะ ครึ่งฟองมันมองไม่เห็นภาพ งั้นครึ่งช้อนชาก็ได้ มันก็จะทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้นอีกมากมายกายกอง มากกว่าลมหายใจที่เราสูดร้อยเท่าพันเท่า โอ้ นี่คือความสุขทันตาเห็น แต่ต้องเป็นอย่างนี้นานๆนะ ไม่ใช่มีความสุขแป๊บเดียว แล้วก็ต้องรีบลืมตาขึ้นมานั่งหอบเป็นชั่วโมง เพราะมันขาดอากาศหายใจ แบบนี้ต้องฝึกใหม่ ฝึกให้มากขึ้นกว่าเดิมอีก


เพื่อญาณทัสนะ อันนี้เป็นพวกหูทิพย์ตาทิพย์ มันวิเศษน่าอัศจรรย์ หรืออาจใช้ในทางรักษาโรคภัยไข้เจ็บก็ได้แล้วแต่วัตถุประสงค์ของเราที่เราจะฝึกมัน แล้วก็แล้วแต่ว่าเราจะชอบหรือไม่ ถ้าเราชอบก็ฝึกในสาขาที่เราชอบ เหมือนตอนสมัยที่เรายังไม่เข้าโรงเรียนเรียนหนังสือ เราก็ไม่รู้หรอกว่าในโรงเรียนมีการสอนวิชาเลข วิชาเคมี วิชาชีวะ จนเราเข้าเรียนเราจึงรู้ว่ามีวิชาเหล่านี้ แล้วเราก็ดูว่าเราชอบสาขาอะไร เราก็ศึกษาลงลึกในเป็นอาชีพในสาขาวิชานั้น สมาธิก็เช่นเดียวกัน พอเราฝึกแล้วเราก็รู้ว่ามันมีสาขาย่อยๆที่ให้เราเลือกฝึกตามความชอบใจของเรามากมาย ถ้าเราชอบในสาขานั้นๆ แล้วเราก็จะฝึกได้ดี


เพื่อความสมบูรณ์แห่งสติสัมปชัญญะ อันนี้เราก็กำหนดของเราไป อย่างเช่นเวทนาเกิดขึ้นอย่างไร ตั้งอยู่อย่างไร ดับลงอย่างไร คอยติดตามต่อไปเรื่อยๆ เหมือนเราคอยติดตามลมหายใจอย่างที่เคยทำมาอย่างนั้นแหละ เมื่อเราคอยติดตามทำมันอยู่อย่างนั้นอยู่ตลอดเวลา แบบกัดไม่ปล่อย สติสัมปชัญญะมันก็จะไม่หนีไปไหน ฝึกเสร็จเวลาเราจะเรียกใช้ เราก็เรียกสติสัมปชัญญะที่เราเคยฝึกมาแล้ว ออกมาใช้ได้เลย หรือบางทีมันก็ออกมาเองตามธรรมชาติ แล้วแต่ว่าสถานการณ์มนช่วงนั้นๆ มันจะเป็นอย่างไร


เพื่อสิ้นอาสวะ ก็คือการพิจารณาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของเบญจขันธ์ที่เป็นอุปทานขันธ์ ที่เราไปยึดถือว่ามันเป็นตัวเรา ของเรา หรือยึดถือว่าเป็นตัวกู ของกู ซึ่งพอเราพิจารณาไป ปรากฏว่ามันไม่ใช่ เพราะมันก็มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปตลอด ก็เลยตกผลึกออกมาว่าทุกสิ่งเป็น อตัมยตาคือกูไม่เอากับมึงแล้วโว้ย เป็นอันว่าจบกัน จบหลักสูตรแล้ว หลุดพ้นแล้ว...บรรลุถึงปลายทางของพุทธศาสนาแล้ว
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
dtnew
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2006
ตอบ: 12

ตอบตอบเมื่อ: 09 ธ.ค.2006, 12:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วรรคสุดท้ายนี้ เราจะขอยกนิทานบาลีเรื่อง อีนุงตุงนังกับสัตว์ทั้ง 5 มาเล่าสู่กันฟัง เผื่อว่าข้าวฟ่างจะได้ใช้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากนิทานเรื่องนี้ เป็นแรงบันดาลใจ เสริมความเพียรพยายามในการฝึกอานาปานสติต่อไป เรื่องก็มีอยู่ว่า


ถ้าจับนกใหญ่ เต่า งู สุนัขจิ้งจอก แล้วก็เหี้ย อย่างละตัว ผูกเชือกตัวละเส้นแล้วเอาปลายเชือกทั้ง 5 มามัดติดกัน พอเราปล่อยมือจากปลายเชือกเท่านั้นเอง สนุกกันใหญ่ นกก็จะบินขึ้นฟ้า งูก็จะเข้าโพลง เหี้ยก็จะลงน้ำ (ว้า....ชื่อไม่ไพเราะเลย น่าจะเปลี่ยนชื่อเป็นตัวเงินตัวทองมากกว่า..นิ แต่จะเปลี่ยนชื่อก็เกรงว่าเจ้าของตำราที่เราไปลอกเขามาจะต่อว่าเอา ก็เลยต้องปล่อยเลยตามเลย ตั้งชื่อมันว่าเหี้ยเหมือนเดิมก็แล้วกัน) เจ้าสุนัขจิ้งจอกก็จะไปป่าช้า เจ้าเต่าก็จะไปที่สระน้ำ มันก็เลยดึงกันใหญ่


สมมติว่าตัวหนึ่งชนะไปแล้ว มันก็เลยหมดแรงจะของีบเอาแรงสักพัก อ้าว ตัวอื่นมีแรงขึ้นมาอีกแล้ว ดึงกลับไปอีกแล้ว เลยผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะอยู่อย่างนี้แหละ ไม่มีความสงบเลย ไม่มีความสุขเลย


เหมือนกัน เรามีตา หู จมูก ลิ้น แล้วก็กาย รวม 5 สิ่ง ส่วนเจ้าใจเราที่เป็นสิ่งที่ 6 นี้ก็มักจะอ่อน ชอบ เออ ออ ห่อหมกไปตามความต้องการของพวกเจ้าพ่อทั้ง 5 สิ่งนี้ ไปพบเห็น ซึ่งในแต่ละวัน ตาเราก็จะวิ่งไปหารูปที่มันชอบ หูก็จะวิ่งไปหาเสียงที่มันชอบ จมูกก็จะวิ่งไปหากลิ่นที่มันชอบ ลิ้นก็จะวิ่งไปหารสมันชอบ กายก็จะวิ่งไปหาสัมผัสที่มันชอบ มันก็เลยชักคะเย่อกันใหญ่ คิดดูก็แล้วกัน ใจมันจะไม่มีวันนิ่ง มันจะไม่มีวันพบกับความสุขเอาเสียเลย ในแต่ละวัน เพราะมันร้อนรนไปหมด


แล้วเราจะแก้ไขอย่างไร ข้าวฟ่างชักสงสัย พิสมัยเล่นเล่าแต่ปัญหา ไม่เห็นเล่าถึงวิธีแก้ไขเลย


อานาปานสติช่วยได้...พิสมัยสรุป


เอ้า..เตรียมตัว เตรียมตัว.....


หายใจเข้า...รู้ว่าเย็นนนนน.... เอาใหม่..นึกเข้าไปที่ลมหายใจด้วย...เอาใหม่..เอาใหม่...


หายใจเข้า...รู้ว่าเย็นนนนน............หายใจออก....รู้ว่าร้อนนนนน......


หายใจเข้า...รู้ว่าเย็นนนนน............หายใจออก....รู้ว่าร้อนนนนน......


หลับตา..........หลับตาเบาเบา...............................


เย็นนนนนน..........ร้อนนนนนน
เย็นนนนน........ร้อนนนนน
เย็นนนน.....ร้อนนนน
เย็นนน....ร้อนนน
เย็นน....ร้อนน
เย็น......ร้อน
เย็น...ร้อน
เย็นร้อน
OOO
OO
O
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
dtnew
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2006
ตอบ: 12

ตอบตอบเมื่อ: 09 ธ.ค.2006, 12:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก๊อปปี้แล้วมาแปะแล้วทำไมมันข้ามไปข้ามมาก็ไม่ทราบฮะ ทำไม่เป็นฮะ ถ้าอ่านงง ขอประทานโทษด้วยฮะ แฮะ แฮะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 09 ธ.ค.2006, 9:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยิ้ม ไม่งงหรอก พออ่านได้ครับ

ปรบมือ สาธุ
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 26 ส.ค. 2008, 11:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ชีวิตช่วงนี้ ค่อนข้างสับสน เลยไม่คอยรู้เรื่อง อายหน้าแดง ร้องไห้
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง