ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
Levana
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 ธ.ค. 2007
ตอบ: 13
ที่อยู่ (จังหวัด): Bondi, Australia
|
ตอบเมื่อ:
23 ม.ค. 2008, 8:44 pm |
  |
เป็นน้องใหม่ของเว็บค่ะ ขอฝากตัวด้วย
คือนั่งสมาธิทั้งแบบสมถะและวิปัสสนามาพักนึกแล้ว มีทั้งพุทโธ ยุบหนอพองหนอ เคยไปของคุณแม่ศิริ แม่ชีทศพรและโกเอนก้ามา ตอนนี้เลยสันสนเพราะเยอะเกิน
ครั้งแรกที่นั่งอย่างจริงจังเมื่อสองปีก่อนก็เกิดธรรมปิติ คือตัวโยกโคลง หนัก เบา
พักนี้ถ้าปฏิบัติจะเป็นแบบโกเอนก้าคือหลับตาแล้วหา sensation เลย ตรงไหนปวด แปล๊บๆ มดไต่ ไฟช็อตฯ ก็จะไปเพ่งตรงนั้น และก่อนเจอหลักการณ์ของเว็บวิมุตติก็ได้ปฏิบัติเองก่อนแล้ว คือจับตามความคิดตัวเองตลอด พอตอนหลังเพิ่งทราบว่ามีหลักการนี้อยู่จริง
ตอนนี้มีคำถามมากมายที่ถามใครไม่ได้เลยค่ะ เพราะอยู่ที่ออสเตรเลีย คือหลังจากไปวิปัสสนาของโกเอนก้า กลับรู้สึกว่าตัวเองกลายเป็นแสดงออกทางความรู้สึกมากกว่าเดิม (แต่ก่อนแสนเก็บกด) เดี๋ยวนี้เลยรู้สึกว่าทำไมเราขี้หงุดหงิดจัง เพราะเราจับอารมณ์ได้ก่อนมันจี๊ดขึ้นมา เดือดปุดๆๆ
แล้วพอจับค.คิดและความรู้สึกของตนเองไปเรื่อยๆ (ตามวิมุตติ) ตอนอารมณ์แว่บขึ้นมา เช่นเสียใจ มีครั้งนึงดักเอาไว้ ความเสียใจหายไปทันที น้ำตาที่จะไหลกลับหายไปสนิท เหมือนไม่รู้สึกเสียใจมาก่อน
อีกครั้งตอนนอนกำหนดลมหายใจ (จะบริกรรมพุทโธเพื่อให้หลับทุกคืน) พักนึงผ่านไป รู้สึกเหมือนกายสั่นและพยายามจะแยกออกเป็นสองท่อน สั่นแรงมากจนตกใจเลยค่ะ แต่เราจะถึงทางตันทุกทีที่เกิดอะไรอย่างนี้หรือเกิดธรรมปิติขึ้น
แล้วเวลาเรานั่งรถน่ะ มักจะชอบกำหนดไปเรื่อยๆ แล้วจะเกิดอาการแบบว่า เราอยู่ในภวังค์ อยู่ในสมาธิแต่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นภายนอก เหมือนกายหลับแต่ใจตื่นน่ะค่ะ
เรารู้สึกว่าเราอยู่กับตัวเองมากๆเลย ทั้งคุยในความคิดทั้งกำหนด มีใจลอยบ้าง แต่จะดึงกลับมาได้
ทีนี้เกิดมีปัญหาส่วนตัว หลังๆเลยไม่ได้นั่งสมาธิเพื่อตั้งใจกำหนด แต่จะสวดมนต์ (อ่านบทสวดที่สะกดไม่คล่อง ยังคิดแทรกได้เป็นร้อยๆครั้งเลย แย่มากก ) และใช้การกำหนดดังที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งวัน ตลอดเวลาที่รู้สึกตัว มันจะพอมั้ยคะ อยากทราบจังว่า การจะพัฒนาไปอีกขั้นเนี่ย จำเป็นมั้ยว่าเราจะต้องนั่งกรรมฐานเท่านั้น
ตั้งใจจะไปวิปัสสนาที่วัดอัมพวันสองสัปดาห์ตอนกลับไทยเดือนหน้า รู้สึกเบื่อสภาวะทางโลกมากๆ ที่บ้านจะให้กลับเมืองไทยไปรับผิดชอบธุรกิจใหญ่โต แต่เราอยากอยู่เมืองนอกเงียบๆ ไม่อยากต้องไปสร้างอะไรมากมาย อยากทิ้งทุกอย่างเลย แต่ไม่รู้จะทำยังไงค่ะ
พักนี้ปลงได้มากขึ้น แต่หงุดหงิด เบื่อ อยู่เมืองนอกหนีไปปฏิบัติธรรมพ่อแม่ก็ห้ามไม่ได้ เพราะไม่ได้อยู่ด้วยกัน เลยอิสระกว่า เบื่อน่ะค่ะที่คนว่างมงาย ทั้งๆที่เราแค่เป็นคนถือศีล ๕ ชอบเข้าวัดสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม แต่พอเรายุ่งเรื่องทางโลก กลับมาว่าๆ "โธ่ คิดว่าปลงได้ละ แล้วจะเข้าวัดไปทำไม" กลุ้มนะคะเนี่ย
อาการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ทราบว่ามาถูกทางหรือไม่ ผิดถูกดีชั่วอย่างไร รบกวนกรุณาช่วยให้ความเห็นด้วยเถอะค่ะ หรือช่วยคุยเป็นเพื่อนก็ได้ค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
ขออนุโมทนาบุญทุกท่านด้วยนะคะ |
|
_________________ Only the finisher that counts, not a starter.. |
|
  |
 |
Levana
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 ธ.ค. 2007
ตอบ: 13
ที่อยู่ (จังหวัด): Bondi, Australia
|
ตอบเมื่อ:
24 ม.ค. 2008, 8:01 am |
  |
อ้อ แล้วอีกอย่างหนึ่งคือ จะรู้สึกถึงการเต้นหัวใจได้ชัดเจนมากๆ เหมือนหัวใจเต้นแรงขึ้นจะปะทุออกจากอก อันนั้นเป็นทุกครั้งตอนปล่อยตัวนิ่งๆ
เส้นเลือดตุบๆ ตลอดตัวเลย ที่หน้า ที่คอ มือและขา |
|
_________________ Only the finisher that counts, not a starter.. |
|
  |
 |
ดุสิตธานี
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
24 ม.ค. 2008, 8:37 am |
  |
ชี้แจงได้ละเอียดดี หากว่าอ่านไม่ได้หมด
เป็นคนที่เริ่มต้นที่ ยุวพุทธฯ ของคุณแม่สิริ กริณชัย เช่นกัน
แต่ตอนนี้ ก็มาดูกาย ดูใจ เราเป็นหลัก
ฟังคุณเล่ามา มันหลายสำนักฯเกินไปหรือเปล่าเลยสับสน
ทุกสำนักเขามีจุดเด่นต่างกัน หากว่าก็อยู่บนพื้นฐานของธรรมะหมด
ไปมาหลายที่ น่าจะจับจุดที่ตัวเองถนัดได้แล้วนะ
ธรรมะเป็นสิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้ว
อุปกรณ์ที่จะฝึกธรรมก็คือ กาย และ ใจ เรานี่แหละ
ไปหาหรือดิ้นรนไปทำไมจริงไหม..........
กาย และ ใจ เราไม่เข้าไปทำ ไม่เข้าไปปรับแต่ง
มันก็เป็นของมันอยู่แบบนั้น ........ว่าป่ะ
ส่วนการแสดงความคิดเห็นที่ดีและชัดแจ้งกว่านี้
ต้องให้บุคคลท่านอื่นที่เป็นผู้รู้ที่ดีกว่าเรามาตอบแล้วล่ะ
เราคงตอบในส่วนที่เรารู้ และ ปฏิบัติแล้วได้เห็นแล้วแค่นี้
นอกนั้นปัญญายังไม่ถึง.........
ธรรมสวัสดี |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
24 ม.ค. 2008, 8:49 am |
  |
คุณ Levana ลองปฏิบัติมาหลายวิธีแล้ว
แสดงว่าสนใจการปฏิบัติกรรมฐานจริงๆ
ใครบอกวิธีไหนของใครดีเอาทุกอย่างว่างั้น คิกคิก
แต่ยังคลำหาแบบที่ลงตัวสำหรับตนไม่เจอสักที จึงเกิดอาการสับสนๆ ดังกล่าวแล้ว
ความจริงหลักการปฏิบัติในพระศาสนานี้มีอยู่แล้ว แต่ที่รู้เห็นว่ามีมากแบบหลายวิธี ก็เพราะเจ้า
สำนักนั้นๆ นำหลักปฏิบัติตามแบบไปพูดอธิบายขยายความกันเป็นบางส่วนบางข้อบางประเด็น
จนพร่าพรางไป
คุณ Levana พิจารณาหลักปฏิบัติกรรมฐานในแบบดูก่อน เพื่อกันความสับสน
เมื่อมีหลักแล้ว ใครจะพูดจะอธิบายกันไปเท่าไหร่ก็จะเข้าใจ ว่าเขาพูดผิดหรือพูดถูก
แบบมีดังนี้ครับ
-สัมมาสติ
ตามคำจำกัดความแบบพระสูตร ก็คือ หลักธรรมที่เรียกว่า
สติปัฏฐาน 4 นั่นเอง
หัวข้อทั้ง 4 ของหลักธรรมหมวดนี้ มีชื่อเรียกสั้นๆ คือ
1) กายานุปัสสนา (การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย)
2) เวทนานุปัสสนา (การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา)
3) จิตตานุปัสสนา (การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต)
4) ธัมมานุปัสสนา (การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทันธรรม (ได้แก่ นิวรณ์ 5 ))
ดูอธิบายกว้างๆที่ลิงค์นี้ครับ =>
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13497
ส่วนอื่นๆ ค่อยๆทำความเข้าใจกันต่อไปครับ
แต่จะให้พูดถึงวิธีปฏิบัติจริงๆ พร้อมวิธีแก้อารมณ์ซึ่งเกิดจากการปฏิบัติ
คุณเข้าไปตั้งกระทู้ที่เวปไซต์ข้างล่างครับ
การภาวนาของคุณ เริ่มมีอาการที่บ่งว่า จะต้องได้รับการแก้แล้ว
http://www.whatami.ob.tc/
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
Levana
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 ธ.ค. 2007
ตอบ: 13
ที่อยู่ (จังหวัด): Bondi, Australia
|
ตอบเมื่อ:
24 ม.ค. 2008, 5:15 pm |
  |
ขอบคุณทั้งสองท่านมากเลยค่ะ แหมแต่เว็บ "ฉันคืออะไร?" นี่ เปิดไม่ค่อยจะออกเลย  |
|
_________________ Only the finisher that counts, not a starter.. |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
24 ม.ค. 2008, 7:00 pm |
  |
ผู้ปฏิบัติกรรมฐาน จะใช้แบบใดก็ตาม ควรรู้เข้าใจให้ครบทั้งสามส่วน คือ ส่วนดีส่วนเสีย และ
ทางออก จากปัญหา
ผู้ศรัทธาพอๆ เข้าใจว่าการปฏิบัติกรรมฐานนั่นดี มีส่วนดี (อัสสาทะ)
แต่ในดีก็มีเสีย (อาทีนพ)
เมื่อรู้ทั้งข้อดีข้อเสียแล้ว ผู้ปฏิบัติต้องรู้ทางออก (นิสสรณะ) ด้วย
จึงจะพ้นจากทุกข์อยู่เป็นสุขได้
หมายความว่า รู้ทั้งสามส่วน คือส่วนดีส่วนเสีย และทางออก ทางรอดพ้นจากปัญหานั้นๆ
บอร์ดใหม่
http://fws.cc/whatisnippana/index.php |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 พ.ย.2010, 10:29 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
24 ม.ค. 2008, 7:12 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
แล้วเวลาเรานั่งรถน่ะ มักจะชอบกำหนดไปเรื่อยๆ แล้วจะเกิดอาการแบบว่า
เราอยู่ในภวังค์อยู่ในสมาธิแต่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นภายนอก เหมือนกายหลับแต่ใจตื่นน่ะค่ะ
เรารู้สึกว่าเราอยู่กับตัวเองมากๆเลย ทั้งคุยในความคิดทั้งกำหนด มีใจลอยบ้าง แต่จะดึงกลับมาได้
ทีนี้เกิดมีปัญหาส่วนตัว หลังๆเลยไม่ได้นั่งสมาธิเพื่อตั้งใจกำหนด แต่จะสวดมนต์
(อ่านบทสวดที่สะกดไม่คล่อง ยังคิดแทรกได้เป็นร้อยๆครั้งเลย แย่มากก
และ
ใช้การกำหนดดังที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งวัน ตลอดเวลาที่รู้สึกตัว มันจะพอมั้ยคะ อยากทราบจังว่า การจะพัฒนาไปอีกขั้นเนี่ย จำเป็นมั้ยว่าเราจะต้องนั่งกรรมฐานเท่านั้น
Levana
23 ม.ค.2008, 8:44 pm |
ดูปัญหาโดยรวมแล้ว คุณ Levana ไม่กำหนดความคิดด้วย (ไม่กำหนดนาม)
มุ่งแต่กำหนดลมหายใจบ้าง พองยุบบ้าง (ส่วนรูป)
เมื่อเกิดอาการ หรือ มีความรู้สึกอื่นๆ คุณก็ทิ้งไม่กำหนด
สรุปตอบปัญหาในเบื้องต้นก่อน ดังนี้ ครับ
ต่อไป เกิดความคิดแทรกขึ้นมาในขณะใดตอนไหนก็ตาม เช่น ทั้งคุยในความ
คิด ทั้งกำหนด มีใจลอยบ้าง
ให้กำหนดความคิด "คิดหนอๆๆ" แล้วปล่อย ไปกำหนดสิ่งเป็นปัจจุบันขณะต่อ
ใจลอยรู้สึกตัวกำหนด "ใจลอยหนอๆๆๆ" กำหนดแล้วปล่อย ไปกำหนดสิ่งที่เป็นปัจจุบันขณะ
ต่อ กำลังหยิบจับอะไร ทำอะไรอยู่ มีสติควบคุมอยู่กับสิ่งที่ทำในขณะนั้น
พูดง่ายๆว่า กำหนดอารมณ์ที่กระทบในขณะนั้น
รู้สึกอย่างไรกำหนดอย่างนั้น
มีอาการอย่างไร กำหนดอย่างนั้น ก็เท่านี้ครับ
และเท่าที่ดูอาการทั่วๆไป สมาธิมากเกินองค์ธรรมอื่น
คุณควรเดินจงกรมระยะต่ำๆ คือระยะหนึ่งช่วยด้วย
ลิงค์จงกรม คห. 7 ครับ =>
http://www.whatami.ob.tc/-View.php?N=30
ใช้การกำหนดดังที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งวัน ตลอดเวลาที่รู้สึกตัว มันจะพอมั้ยคะ
อยากทราบจังว่า การจะพัฒนาไปอีกขั้นเนี่ย จำเป็นมั้ยว่าเราจะต้องนั่งกรรมฐานเท่านั้น
การฝึกสติปัฏฐาน ทำได้ทุกอิริยาบถครับ ยืน เดิน นั่ง กิน ดื่ม ฯลฯ
ทำงานอะไร ในชีวิตประจำวัน เอาสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ระลึกรู้สึกตัวได้หมด
ควบคุมจิตใจให้อยู่กับปัจจุบันขณะก็ใช้ได้ครับ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
RARM
บัวบาน

เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417
|
ตอบเมื่อ:
24 ม.ค. 2008, 9:59 pm |
  |
1.ตัวโยกโคลง หนัก เบา
อันนี้แค่ปีติ เด็กๆครับ
2.ตอนนี้มีคำถามมากมายที่ถามใครไม่ได้เลยค่ะ เพราะอยู่ที่ออสเตรเลีย คือหลังจากไปวิปัสสนาของโกเอนก้า กลับรู้สึกว่าตัวเองกลายเป็นแสดงออกทางความรู้สึกมากกว่าเดิม (แต่ก่อนแสนเก็บกด) เดี๋ยวนี้เลยรู้สึกว่าทำไมเราขี้หงุดหงิดจัง เพราะเราจับอารมณ์ได้ก่อนมันจี๊ดขึ้นมา เดือดปุดๆๆ
เป็นธรรมดา ถ้ายิ่งปฏิบัติ กิเลส จะแสดงตัวออกมาให้เห็น ยิ่งอยู่คนเดียวไม่ได้พูดกับใคร ล่ะก็ เมื่อเจอคน แทบกระโดดเข้าใส่เลยครับ
3.แล้วพอจับค.คิดและความรู้สึกของตนเองไปเรื่อยๆ (ตามวิมุตติ) ตอนอารมณ์แว่บขึ้นมา เช่นเสียใจ มีครั้งนึงดักเอาไว้ ความเสียใจหายไปทันที น้ำตาที่จะไหลกลับหายไปสนิท เหมือนไม่รู้สึกเสียใจมาก่อน
อันนี้เป็นลักษณะการดูจิต คือเมื่อมีสติรู้อารมณ์ที่เกิด อารมณ์ก็ดับให้เราเห็น อันนี้เรามีสติเพียงพอที่จะเห็นครับ
ตามที่เคยเห็นมา เป็นสายพระอาจารย์ปราโมท ตอนนี้ท่านอยู่ อ.ศรีราชา ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
4.แล้วเวลาเรานั่งรถน่ะ มักจะชอบกำหนดไปเรื่อยๆ แล้วจะเกิดอาการแบบว่า เราอยู่ในภวังค์ อยู่ในสมาธิแต่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นภายนอก เหมือนกายหลับแต่ใจตื่นน่ะค่ะ
อันนี้เป็นลักษณะที่อยู่ในสมาธิชั่วขณะ พอออกจากสมาธิก็จะมี อารมณ์เหมือนเดิม คือรับอารมณ์จากอายตนะ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
5. เรารู้สึกว่าเราอยู่กับตัวเองมากๆเลย ทั้งคุยในความคิดทั้งกำหนด มีใจลอยบ้าง แต่จะดึงกลับมาได
อันนี้ก็เป็นลักษณะของสมาธิ คือ มีเผลอบ้าง รู้ตัวบ้าง
6.ทีนี้เกิดมีปัญหาส่วนตัว หลังๆเลยไม่ได้นั่งสมาธิเพื่อตั้งใจกำหนด แต่จะสวดมนต์ (อ่านบทสวดที่สะกดไม่คล่อง ยังคิดแทรกได้เป็นร้อยๆครั้งเลย แย่มากก ร้องไห้ ) และใช้การกำหนดดังที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งวัน ตลอดเวลาที่รู้สึกตัว มันจะพอมั้ยคะ อยากทราบจังว่า การจะพัฒนาไปอีกขั้นเนี่ย จำเป็นมั้ยว่าเราจะต้องนั่งกรรมฐานเท่านั้น
ถ้าทำความรู้สึกตัวได้ทั้งวัน ก็ดีนะครับ เรียกว่า มีสติทั้งวันเลย ความจริงมันก็พอนะ แต่ว่า จะเผลอซะมากกว่า และยังเป็น สมาธิแบบมิจฉาสมาธิ คือไม่ได้รับการขัดเกลาอย่างถูกวิธีนั่นเองครับ
7. เรื่องส่วนตัวขอไม่ตอบ
8. ควรหาครูบาอาจารย์และเล่าอาการต่างๆให้ท่านฟัง และขอคำแนะนำ
เราก็เอามาใช้ซะอย่างเดียว คือวิธีเดียว
อารมณ์ของสมาธิมี 40 วิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ แต่ต้องดูว่าจริตเราถูกกับอันไหนมากที่สุด คือ ทำอันไหนแล้วเกิดความสบายอกสบายใจ อันนั้นและให้ทำให้มากๆ ให้ทำให้บ่อยๆ
อันนี้เป็นการตอบจากประสบการณ์ที่เคยผ่านมาและเคยได้ยินได้ฟังจากครูบาอาจารย์มาบ้างเล็กน้อยนะครับ ลองพิจารณาดูตามความเป็นจริงแล้วกันนะครับ
สาธุ ปัญหาทุกอย่างย่อมมีทางออกเสมอ |
|
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
25 ม.ค. 2008, 8:18 am |
  |
คุณ Lavana มุ่งมั่นรักษาศีลปฏิบัติธรรมดังกล่าว
ก่อนหน้ามีความปรารถนาอย่างไรครับ จึงเสาะแสวงหาแนวทางปฏิบัติจนถึงทุกวันนี้
ปฏิบัติแล้วๆ ตามที่คิดนึกไว้ จะสิ้นสุดที่ตรงไหนครับ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
หล้าสมชาย
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 24 ม.ค. 2008
ตอบ: 4
|
ตอบเมื่อ:
25 ม.ค. 2008, 2:22 pm |
  |
|
  |
 |
1เอง
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 29 ต.ค. 2007
ตอบ: 43
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
25 ม.ค. 2008, 6:59 pm |
  |
เลือกเอาเพียงอย่างเดียวคับ ค้นหาให้เจอว่าที่ฝึกมานั้นอย่างไหนเหมาะกะเรามากที่สุด ทำแล้วเบาสบายที่สุด ไม่มีความรู้สึกอึดอัดหรือจะต้องข่มบังคับ มีการทำเป็นไปอย่างปรกติธรรมชาติ อันนั้นแหละครับนำมาปฏิบัติ และคอยกำกับลงไปด้วยสติด้วยนะคับ สตินี่เป็นของสำคัญมากนะครับไม่ว่าจะเป็นเริ่มจากแรกๆไปจนกระทั่งถึงที่สุดก็ตาม
ลองกลับไปทำดูนะคับ ได้ผลไงและมาคุยกันใหม่ |
|
|
|
  |
 |
Levana
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 ธ.ค. 2007
ตอบ: 13
ที่อยู่ (จังหวัด): Bondi, Australia
|
ตอบเมื่อ:
25 ม.ค. 2008, 9:13 pm |
  |
โอ้โห ปลาบปลื้มใจมากค่ะที่มาช่วยตอบกันขนาดนี้ ไม่เหงาละ
ที่ปฏิบัติก็เพราะเริ่มจะเข้าใจว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร ไม่อยากจะหายใจทิ้งน่ะค่ะ ขอเอาตัวเองให้รอดก่อนแล้วจะฉุดคนที่บ้านไปด้วย จะหวังให้ไม่เกิดอีกคงยากไปหน่อย เลยอยากมีโอกาสเกิดเป็นคนเพื่อมาปฏิบัติธรรมทำความดีสร้างบารมีไปเรื่อยๆค่ะ
ตอนนี้คิดว่าคงจะใช้วิธีดูจิตเอาล่ะค่ะ แต่ต้องหัดกำหนดและตามให้ถูกต้องกว่าเดิม
เรื่องเดินจงกรมนี่ก็ใช้บ้างค่ะ ตอนที่ฟุ้งมากๆ เพราะจิตจะตั้งมั่นกับการกำหนด ตอนเข้าวิปัสสนาของโกเอนก้าที่ Blue Mountains ที่ออสเตรเลียตอนนั้นปัญหาเยอะมากค่ะ แล้วเค้าให้นั่งสมาธิวันละ 12 ชม.
เสียงในหัวแย่งกันพูดทั้งวันทั้งคืน อยากเอาฆ้อนทุบหัวทิ้งแล้วกรี๊ดๆๆ (แต่เค้าห้ามพูด เลยได้แต่กรี๊ดในหัว) แหะๆ พอตอนพักก็เดินจมกรมเป็นร้อยๆก้าวเลยล่ะ เพราะเราได้เพ่งนิดนึงเลยหายฟุ้งไปบ้าง
็
หนักเข้าก็เริ่มนับก้าวเป็นภาษาจีนเลย จิตถึงจะตั้งมั่นขึ้นมาได้อีก นับไทยกับอังกฤษแล้วใจลอย
ส่วนวันนี้การปฏิบัติไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร พอดีได้ข่าวดีจากทางไกล เลยเคลิ้มไม่เลิกซะที เฮ้อมนุษย์
แต่ตั้งแต่ปฏิบัติเนี่ย เราเลิกคิดถึงอดีตได้เยอะมากๆเลย ทั้งที่แต่ก่อนคิดซ้ำซ้อน เป็นหนัง UBC ฉายซ้ำทั้งคืนทั้งวัน แต่เรื่องอนาคตก็ยังคิดอยู่บ้าง เพราะถึงเวลาต้องตัดสินใจอะไรหลายๆอย่าง
จะทิ้งชีวิตเพื่อปฏิบัติธรรมแล้วรอให้เกิดผลลัพธ์ก็คงไม่ได้ใช่มั้ยคะ เอ๊ะหรือได้? ใครทราบช่วยบอกที  |
|
_________________ Only the finisher that counts, not a starter.. |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
26 ม.ค. 2008, 9:09 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
เรื่องเดินจงกรมนี่ก็ใช้บ้างค่ะ ตอนที่ฟุ้งมากๆ เพราะจิตจะตั้งมั่นกับการกำหนด
ตอนเข้าวิปัสสนาของโกเอนก้าที่ Blue Mountains ที่ออสเตรเลีย ตอนนั้นปัญหาเยอะมากค่ะ
แล้วเค้าให้นั่งสมาธิวันละ 12 ชม.
Levana
25 ม.ค.2008, 2:22 pm
|
ขอตัวอย่างเดินจงกรม คุณเดินยังไงครับ กล่าวพอๆ มองเห็นภาพการเดิน
ครับ
มีเวลาลองอ่านลิงค์นั้น แล้วพิจารณาแนวคิดของพระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ และหลังตรัสรู้ว่า
ก่อนตรัสรู้ท่านคิดอย่างไร หลังตรัสรู้คิดอย่างไร
หนีเข้าป่าลึกเข้าไปอีก หรือ ออกจากป่าเพื่อพบปะผู้คน
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14591
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
Levana
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 ธ.ค. 2007
ตอบ: 13
ที่อยู่ (จังหวัด): Bondi, Australia
|
ตอบเมื่อ:
27 ม.ค. 2008, 6:03 am |
  |
ตอนเดินที่นั่นไม่ได้ย่าง ๖ ก้าวละเอียดแบบของคุณแม่ ดร. สิรินะคะ เพราะคนเยอะมากแล้วเค้าห้ามปฏิบัติอย่างอื่น แต่ในป่านั้นคนเดินออกกำลังกายกันเยอะ เราเลยฟอร์มว่าเดินออกกำลัง
ก็จะกำหนด ยก ก้าว ย่าง เหยียบ ๑, ยก ก้าว ย่าง เหยียบ ๒, ยก ก้าว ย่าง เหยียบ ๓, ฯลฯ จิตอยู่ที่ร่างกาย คำบริกรรมและเท้าค่ะ
ถ้าอยู่บ้านคนเดียวก็จะ ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ฯลฯ ตามหลักที่ถูกต้องค่ะคุณกรัชกาย
อ่านิลงค์ที่ทุกท่านให้มาแล้วนะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ |
|
_________________ Only the finisher that counts, not a starter.. |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
27 ม.ค. 2008, 8:39 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
ถ้าอยู่บ้านคนเดียวก็จะ ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ฯลฯ ตามหลักที่ถูกต้องค่ะคุณกรัชกาย
Lavana
27 ม.ค.2008, 6:03 am |
สมาธิของคุณ Lavana มากเกินวิริยะครับ
จะให้ดี ตอนนี้ขอแนะนำให้คุณเดินจงกรมระยะ 1 ซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่าง หนอ
ระยะเดียวก่อน
แล้วอาการต่างๆ เช่นที่ว่า =>
อ้างอิงจาก: |
...จะรู้สึกถึงการเต้นหัวใจได้ชัดเจนมากๆ เหมือนหัวใจเต้นแรงขึ้นจะปะทุออกจากอก อันนั้นเป็นทุกครั้งตอนปล่อยตัวนิ่งๆ
เส้นเลือดตุบๆ ตลอดตัวเลย ที่หน้า ที่คอ มือและขา
Lavana
24 ม.ค.2008, 8:01 am |
จะปกติครับ
การเจริญสติสัมปชัญญะจงกรม มีความสำคัญนะครับ ไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาด
เรื่องนี้ค่อยๆทำความเข้าใจทีละน้อยๆ พร้อมๆ กับการทดลองด้วยตัวเอง แล้วจะรู้ว่า
เนื้อตัวจะเบาคล่องแคล่ว กล้ามเนื้อไม่บีบรัดตรงนั้นตรงนี้
อย่าลืมครับ สติปัฏฐาน ฐาน ย่อๆ คือกาย กับใจ เป็นฐานสำหรับภาวนาครับ
ไม่พึงมองจงกรมว่าเพ่ง หรืออะไร พลาดหมดแล้วครับนั่น
ยิ่งคิดปรุงแต่งเป็นนั่นเป็นนี่ ใช่นั่นใช่นี่ไหมมากเท่าไหร่
โอกาสหลุดจากกรรมฐาน พลาดจากวิปัสสนาจะมีมากเท่านั้นครับ
ประเด็นนี้ ยกตัวอย่างง่ายๆ สมมุติว่า เรากำลังเดินไต่ไม้ข้ามท้องร่อง
ไต่ๆๆ จิตคิดเรื่องอื่นแวบเดียว กายโยกไหวเสียการทรงตัว ตกท้องร่องแล้วครับ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
Levana
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 ธ.ค. 2007
ตอบ: 13
ที่อยู่ (จังหวัด): Bondi, Australia
|
ตอบเมื่อ:
27 ม.ค. 2008, 10:07 pm |
  |
ขอบคุณมากค่ะ แหมอยากให้หัวใจเต้นเบากว่าเดิมซักที ตอนนี้กลัวตัวเองเป็นโรคหัวใจเหลือเกินนน
เดือนหน้าไปอัมพวันแล้วจะให้หลวงพ่อจรัญสอนเรื่องเดินจงกรมใหม่ จะได้ไม่พลาดอีกค่ะ  |
|
_________________ Only the finisher that counts, not a starter.. |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
28 ม.ค. 2008, 5:18 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
แหมอยากให้หัวใจเต้นเบากว่าเดิมซักที ตอนนี้กลัวตัวเองเป็นโรคหัวใจเหลือเกิน
เดือนหน้าไปอัมพวันแล้วจะให้หลวงพ่อจรัญสอนเรื่องเดินจงกรมใหม่ จะได้ไม่พลาดอีกค่ะ
Lavana
27 ม.ค.2008, 10:07 pm |
ความจริงหัวใจคุณก็เต้นตามปกตินั่นเอง ไม่ได้เต้นแรงกว่าเดิมดอกครับ
ไม่ต้องกลัวเป็นนั่นเป็นนี่ แต่สมาธิคุณมากไป
รู้ไหมเพราะอะไร เพราะคุณไปเน้นๆดูอาการต่างๆทางกายลึกไป
เที่ยวควานหา sensation ที่ปรากฏทางกายดังว่า
อ้างอิงจาก: |
พักนี้ถ้าปฏิบัติจะเป็นแบบโกเอนก้าคือหลับตาแล้วหา sensation เลย ตรงไหนปวด แปล๊บๆ
มดไต่ ไฟช็อตฯ ก็จะไปเพ่งตรงนั้น และก่อนเจอหลักการณ์ของเว็บวิมุตติ
ก็ได้ปฏิบัติเองก่อนแล้ว คือจับตามความคิดตัวเองตลอด
Lavana
23 ม.ค.2008, 8:44 pm |
สมาธิจิตจึงแนบสนิทกับกาย ก็จึงได้ยินแม้เสียงหัวใจ เป็นต้น เต้นโครมครามๆ
ดังกล่าว ว่าเหมือนจะทะลุอกออกมาเต้น เหมือนเพลงติ๊ก ชิโร่
(อุปมาก็เหมือนแพทย์ใช้หูฟังตามจุดต่างๆตามร่างกายเรา จะได้ยินการทำงานของอวัยวะ
ในร่างกายถนัดกว่าฟังตามปกติ ยิ่งอยู่ในสงัดๆ ยิ่งได้ยินชัดเจน)
นั่นแหละผลจากการที่เราใช้จิตเที่ยวควานหาอาการต่างๆที่ปรากฏตามร่างกายดังกล่าว
การเจริญสติปัฏฐาน แค่เมื่อมีสิ่งหรืออารมณ์มากระทบทางอายตนะรู้สึก ก็จึงกำหนดตาม
อาการ กำหนดแล้วปล่อย (รู้แล้ววางลง) แล้วก็กลับไปอยู่กับงาน (กรรมฐาน) ในขณะนั้น
สมมุติว่า กำลังพองหนอ ยุบหนอ อยู่นะครับ รู้สึกคันยุบยิ้บๆ เหมือนมดไต่ตามหน้าตาเนื้อตัว
คันหนอๆๆๆ ปล่อย กลับไปพองหนอ ยุบหนอ ต่อ
รู้สึกตัวว่าปวด เป็นต้น วางพอง-ยุบ ปวดหนอๆๆๆ กำหนดแล้วปล่อย
กลับมาพองยุบต่ออีก อารมณ์อื่นๆ ก็เช่นกัน
การใช้ชีวิตประจำวันก็ทำนองนี้ นี่คือการเจริญสติปัฏฐาน
จุดประสงค์เบื้องต้นก็เพื่อฝึกจิตให้รับรู้อยู่กับสิ่งที่กระทบขณะปัจจุบัน
เรื่องเดินจงกรม คุณจะไปสำนักไหนก็ตาม
ฝากไว้ว่า จงกรม ได้แก่ การเดินๆตามปกติทั่วๆไปนี่แหละ
มิใช่ไปทำท่าทำทางให้วิจิตรพิสดาร หรือว่าเดินช้าๆจนผิดปกติ
จุดประสงค์เดินเพื่อฝึกสติให้ตามดูรู้ทันอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย ณ ขณะนั้น
ทันขาซ้ายขาขวาที่ก้าวเดินไป (ตอนนี้ใช้ร่างกายฝึกสติสัมปชัญญะ)
ไม่ต้องวาดภาพดูลงไปลึกถึงตับไตไส้พุง ไม่ต้องจิตนาการถึงขนาดนั้น
ให้ดูการเคลื่อนไหวของกายครับ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
Levana
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 ธ.ค. 2007
ตอบ: 13
ที่อยู่ (จังหวัด): Bondi, Australia
|
ตอบเมื่อ:
30 ม.ค. 2008, 7:38 am |
  |
ขอบคุณค่าา จะไปลองทำนะคะ |
|
_________________ Only the finisher that counts, not a starter.. |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
30 ก.ค.2008, 6:54 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
"Only the finisher that counts, not a starter.." |
ชอบ signature นี้จังเลยคับ
 |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
22 ส.ค. 2008, 2:38 pm |
  |
-ขอให้สำเร็จทุกท่านนะคับโมทนาด้วย  |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
|