ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
20 ส.ค. 2008, 11:37 pm |
  |
ขอเชิญ ทุกท่าน ร่วมแบ่งปัน เทคนิค ในการแนะนำธรรมะหรือการสอดแทรกธรรมะ ตั้งแต่เรื่องเล็กๆน้อย กฏแห่งกรรม ศีล สมาธิ วิปัสสนากรรมฐาน จนถึงธรรมมะชั้นสูงที่ได้ศึกษา หรือ ปฏิบัติ
ให้กับบุคคลรอบข้าง ทั้ง ผู้น้อย ผู้เสมอกัน และผู้ใหญ่กว่า เพื่อประโยชน์แก่บุคคลรอบข้าง
ควรใช้หลักการใดบ้าง
ขอบคุณครับ
 |
|
แก้ไขล่าสุดโดย เมธี เมื่อ 21 ส.ค. 2008, 9:18 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
    |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
21 ส.ค. 2008, 10:01 am |
  |
ผมขอตอบก่อนนะครับ
1.เลือกสอนเฉพาะคนที่ควรสอน ไม่ยิงกราด
2.เลือกกาล เวลาให้เหมาะสม
3.สถานที่ก็ต้องเหมาะสม
4.เลือกธรรมที่สอนให้เหมาะกับ คน เหตุการณ์
5.ธรรมะที่สอนต้องไม่แต่งเติมเสริมต่อ....
สรุปต้อง ดูคน สถานที่ เวลา สถาณการณ์ และธรรมที่คัดสรร
 |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
21 ส.ค. 2008, 3:28 pm |
  |
ฌาณ พิมพ์ว่า: |
ผมขอตอบก่อนนะครับ
1.เลือกสอนเฉพาะคนที่ควรสอน ไม่ยิงกราด
2.เลือกกาล เวลาให้เหมาะสม
3.สถานที่ก็ต้องเหมาะสม
4.เลือกธรรมที่สอนให้เหมาะกับ คน เหตุการณ์
5.ธรรมะที่สอนต้องไม่แต่งเติมเสริมต่อ....
สรุปต้อง ดูคน สถานที่ เวลา สถาณการณ์ และธรรมที่คัดสรร
 |
สาธุด้วยคับคุณฌาน |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
21 ส.ค. 2008, 3:45 pm |
  |
ต้องสอนด้วยความเมตตาจริงๆครับ |
|
|
|
   |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
21 ส.ค. 2008, 8:30 pm |
  |
เมธี พิมพ์ว่า: |
ขอเชิญ ทุกท่าน ร่วมแบ่งปัน เทคนิค ในการสอนธรรมะหรือการสอดแทรกธรรมะ
ให้กับบุคคลรอบข้าง ทั้ง ผู้น้อย ผู้เสมอกัน และผู้ใหญ่กว่า
ควรใช้หลักการใดบ้าง
ขอบคุณครับ
 |
-- สวัสดีค่ะคุณเมธี ได้แลกเปลี่ยนมุมมองกันอีกแล้ว
-- กรณีของคำว่า " สอน " ดิฉันยอมรับว่ายังยึดมั่นตรงนี้อยู่ค่ะ ว่าควรจะเป็นคำพูดที่เราใช้กับครูบาฯ เวลาที่ท่านอธิบายธรรมหรือสนทนาให้ความรู้กับเรา ตรงนี้ดิฉันจะใช้คำว่า " ท่านสอน " แต่โดยส่วนตัวของดิฉันเองไม่เคยใช้คำว่า " สอน " กับใครเลยค่ะ ส่วนมากดิฉันจะใช้คำว่า " แนะนำ " เหมือนการพูดกับผู้อื่น ดิฉันจะไม่เคยใช้คำว่า " เตือน " กับใคร เพราะมองว่า นั่นคือเรากำลังสนองกิเลสในตัวเรา มานะกิเลส ตัวนี้มันเนียนมากๆ หากเราทำบ่อยๆ สติเราไม่ก็เสร็จเจ้ากิเลสมันทำที เราผู้ปฏิบัติ ไม่มีใครรู้มากว่าใคร มีแค่รู้แตกต่างกันไป เนื่องจากกุศลที่สร้างสั่งสมมาไม่เท่ากัน วิบากกรรมของแต่ละคนด้วย สร้างเหตุอย่างไร ผลย่อมได้อย่างนั้น เหมือน " อริยสัจ 4 " ทำไมพระพุทธเจ้าจึงทรงให้ดูผลก่อนที่จะทรงกล่าวถึงเหตุ เพราะเหตุใด เฉกเช่นเดียวกัน ผลที่คุณเป็นเช่นนี้ทุกวันนี้ ย่อมเกิดจากอดีตที่คุณได้กระทำมา เหตุที่คุณได้กระทำแล้วในวันนี้ ย่อมส่งผลไปที่อนาคตที่กำลังจะเกิด
-- ในการที่ดิฉันจะแนะนำใคร ดิฉันจะดูตรงสภาวะปัจจุบันที่เขาเกิด มีตัวอย่างเล่าให้ฟังค่ะ
มีผู้ปฏิบัติธรรมคนหนึ่ง ใช้การบริกรรมพุทโธ เขาเล่าให้ฟังว่า เขาบริกรรมไปสักพักหนึ่ง ลมหายใจจะหายไป แล้วเขาก็รู้สึกว่าเขาวูบไป มารู้ตัวอีกทีเสียงนาฬิกาตั้งปลุกไว้มันดัง เขาติดอยู่ตรงนี้มาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ดิฉันก็อธิบายให้เขาฟังว่า สมาธิคุณลุงมากไป สติมันยังด้อย มันเลยดิ่งเข้าไปติดอยู่ในอัปปนาสมาธิ ( สมาธิระดับลึก ) วิธีแก้ ให้เจริญสติให้มากขึ้น ให้เดินจงกรม กับเจริญสติในอริยาบทย่อยให้มากขึ้น นั่งให้น้อยลง เวลานั่งสมาธิ ถ้ามาหาครูบาฯไม่ได้จริงๆ ให้ลูกมานั่งอยู่ใกล้ๆ ให้เขานั่งดูคุณลุง ถ้าเห็นว่าไหล่คุณลุงห่อลง ให้เขาแตะที่ไหล่คุณลุงเบาๆ ก่อนแตะตัวคุณลุง ให้เขาพูดว่า " เสียงหนอๆ " พูดช้าๆ แล้วให้แตะไปที่ไหล่คุณลุง พร้อมกับพูดว่า " รู้หนอๆ " เหตุที่ให้ลูกคุณลุงพูดว่าเสียงหนอๆก่อน เพื่อคุณลุงจะไม่ตกใจเวลาที่เขาถูกตัว ( ถ้าตกใจ สมาธิมันจะคลายตัวทันที ) แล้วสมาธิที่ดิ่งอยู่มันจะค่อยๆคลาย คุณลุงก็หายใจยาวๆกำหนดรู้หนอๆๆๆ แล้วค่อยๆขยับนั่งตัวให้ตรง ทำแบบนี้บ่อยๆ คุณลุงก็จะมีสติ สัมปชัญญะมากขึ้น เมื่อเกิดความชำนาญ แล้ว สติ สัมปชัญญะมากแล้ว จิตเขาจะถอยออกจากอัปปนาสมาธิเอง โดยไม่ต้องไปกำหนดอะไรอีก ความรู้ตัวมันจะเกิดขึ้นเองทุกครั้งที่จดิ่ง แล้วสมาธิก็ยังตั้งมั่นอยู่อย่างนั้น สมาธิจะยังไม่คลาย เขาถามว่า เป็นแบบเขาเหมือนกันหมดไหม ดิฉันบอกว่า เวลาดิ่ง ถ้าสติไม่มากพอ ไม่ว่าจะใช้องค์บริกรรมแบบไหนก็เหมือนกันหมด ทุกวันนี้เวลาไปวัด ใครๆเห็นดิฉันจะเรียกว่า " อาจารย์ " ดิฉันบอกว่า กรุณาอย่าเรียกเช่นนั้นเลย ดิฉันเพียงแค่เคยเป็นแบบนั้นมาก่อน ดิฉันเพียงแค่แบ่งปันซึ่งกันและกัน คำว่า " อาจารย์ " ที่คนอื่นเรียกเรา ถ้าสติเราไม่ทัน เราก็เสร็จมานะกิเลสมัน ไปหลงกับคำเรียกกแบบนั้น แต่ดิฉันก็ให้ข้อสรุปกับตัวเองว่า คนที่หลงในคำเรียกนั้น ผลมี เหตุย่อมมีมาก่อน การปฏิบัติจะก้าวหน้าหรือถอยหลังหรือย่ำอยู่กับที่ ไม่ก็หลงไปสุดกู่ ติดขัดอันใดก็อยู่ที่การกระทำของตัวบุคคลคนนั้นเอง ไม่มีเหตุ ผลย่อมไม่เกิด
แล้วก็มีอีกกรณีหนึ่ง มีน้องคนหนึ่ง คนนี้เป็นผู้หญิง ไปปฏิบัติที่วัด จู่ๆก็ชักดิ้นชักงอ ร้องเสียงดังว่ามีคนมาบีบคอเขาหายใจไม่ออก แล้วก็เป็นลมไป ทางวัดนำส่งโรงพยาบาล น้องเขาบอกว่า ช่วงที่เขาสลบไป เขาเห็นหลวงพ่อสด หลวงพ่อจรัญ เห็นครูบาฯหลายๆคนมาช่วยเขา ดิฉันบอกว่า อันนั้นมันแค่นิมิต มันเป้นเพียงสัญญาที่เราระลึกถึงครูบาฯเสมอๆ เราต้องช่วยตัวเราเอง ให้เจริญสติให้มากขึ้น เดินจงกรมให้นานขึ้น เคยเดิน 1ช.ม. ให้เพิ่มเป็น 2 ช.ม. ถ้าระหว่างเดิน มีกิจที่จะต้องทำก็รู้ลงไปในอริยาบทนั้น อย่านั่งเด็ดขาด แล้วถ้าเกิดมีความรู้สึกว่า มีคนมาบีบคออีก อย่าไปขัดขืน ถ้ามันจะต้องตายก็ปล่อยให้มันตายไป ไม่มีใครตายเพราะการปฏิบัติหรอก ยิ่งเราไปขัดขืนมากเท่าไร ร่างกายมันยิ่งเกิดปฏิกิริยาตอบโต้ตัวมันเอง เวลาเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ทุกๆครั้ง ให้หายใจนยาวๆ กำหนดว่า รู้หนอๆๆๆ พอมีความรู้สึกตัว อาการนั้นมันจะค่อยๆคลายไป สักพักเห็นท้องพองยุบ ให้จับอาการของกาย ไม่ต้องไปภาวนา ดูท้องพองยุบอย่างเดียว เสร็จแล้วให้แผ่เมตตา ขออโหสิกรรม กรวดน้ำ ทำแค่นี้แหละ อันนี้น้องที่บ้านเขาส่งโทรฯที่น้องคนนี้โทรฯมาให้ดิฉันแนะนำน้องเขา ต่อมาเขาก็โทรฯมาอีก ดิฉันไม่ได้สนทนาด้วย เพียงแต่บอกน้องที่บ้านว่า ให้บอกเขาให้ฝึกเจริญสติให้เยอะๆ ทำแค่นั้นแหละ อย่างอื่นไม่ต้องไปสนใจ ก็เจอกันจริงๆเมื่อไปวัดหลวงพ่อจรัญ วันเกิดหลวงพ่อ ได้สนทนากันในรถ น้องเขาบอกว่าตอนนี้ดีขึ้นมากแล้ว แต่ยังมีความรู้สึกว่าเหมือนมีมือมากำอยู่ที่รอบคอเขา ดิฉันบอกว่าไม่มีอะไรหรอก อุปทานน่ะ ก็แค่รู้ สักแต่ว่ารู้พอ อย่าไปให้ความสำคัญให้ค่าความหมายต่อความรู้สึกนั้น ทำต่อเนื่อง ดีเสียอีก เป็นการกรตุ้นให้เราจะได้ปฏิบัติทุกวัน
ยกตัวอย่างให้ดู 2 ตัวอย่าง ซึ่งใครจะทำหรือไม่ทำอันนั้นก็เรื่องของเขา ไม่มาคิดแทนว่าเขาต้องเชื่อเรา แล้วไปบังคับเขาว่าต้องเชื่อฉันนะ ต้องทำตามฉัน หรือต้องไปติดตามอย่างต่อเนื่อง จริตคนมันต่างกัน เราแนะนำแล้วก็จบ ไม่มานั่งติดตามถาม ถ้าเขาจะเลือกที่จะคุยกับดิฉัน เขาก็จะติดต่อมาเอง ส่วนคนอื่นๆไม่ยกมา เพราะเห็นว่าเป้นเรื่องพื้นๆเช่น พวกติดนิมิต ปีติ สุข ในสมาธิ อันนี้เพียงจะบอกไปว่า ฝึกเจริญสติให้มากๆ ส่วนจะทำหรือไม่ทำ ไม่มานั่งติดตามเหมือนกัน
-- แล้วเวลาเข้าไปอ่านในกระทู้ต่างๆ ไม่เคยเอาใครมาวิจารณ์ว่าคนนั้นแนะนำถูก คนนี้แนะนำผิด ไปว่าคนโน้นคนนี้ มันไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะไปว่าอันนั้นถูกอันนี้ผิด ถูกหรือผิด มันก็แค่ความคิดของคนๆนั้นเอง มันเหมือนของตัวเองเลยว่าถูก มันแตกต่างไปจากที่ตัวเองคิดเลยว่าผิด การที่ใครจะเชื่อใคร อันั้นมันก็เป็นวิบากที่เขาเคยสร้างร่วมกันมา สุดท้ายไม่ว่าจะถูกหรือผิดในความคิดของเรา คนเหล่าๆเขาก็ถึงจุดหมายปลายทางกันทุกคนเพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง เราเองสิ ไปติติงเขา ติติงครูบาฯอย่างน้ ไปกล่าวหาว่าท่านสอนผิดๆ อย่าลืมว่า ท่านปฏิบัติได้แบบไหน ท่านก็สอนแบบนั้น แทนที่จะย้อนกลับมาดูตัวเองว่า สิ่งที่ตัวเองกำลังแนะนำคนอื่นน่ะ ก็เป็นสิ่งที่ตัวเองปฏิบัติได้เหมือนกันแล้วนำไปแนะนำคนอื่นอีกที
-- ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ ท่านจะทำอะไร เป็นกุศลหรืออกุศล ท่านเป็นผู้รับผลของการกระทำ เราสิไปติติงท่าน ไปกล่าวเพ่งโทษครูบาฯ สุดท้าย การปฏิบัติก็ไม่ก้าวหน้า ลุ่มๆดอนๆอยู่อย่างนั้น ช่างติเสียเหลือเกิน แต่ไม่ยอมย้อนกลับมาดูที่จิตตัวเองว่ากำลังสร้างกุศลหรืออกุศลให้เกิดกับจิต ขออโหสิกรรมเน้อ ถ้าใครอ่านแล้วจิตกระเพื่อม เพียงพูดให้ฟัง แต่อย่าว่าแหละ ผลเป็นเช่นนี้ ย่อมมีเหตุมาก่อน
-- ขออณุญาติยกเรื่องครูบาฯบางท่านมาเอ่ย อย่างกรณีหลวงตามหาบัว มีคนพูดว่าหลวงตาน่ะดุมากๆ ใครไปขอชานหมากจะโดนตะเพิดทันที ตะเพิดไม่พอยังว่าต่อหน้าคนอื่นให้อายอีก อันนี้ดิฉันก็บอกว่า หลวงตาน่ะเมตตามากๆ ดิฉันเองนี่แหละ วันนั้นเป็นงานพ่อลี หลวงตาอยู่บนวิหาร ดิฉันได้พูดในใจว่า หลวงตาขอให้เข้าถึงหลวงตาด้วยเถอะ แล้วก็เข้าถึงจริงๆเป็นผู้หญิงคนเดียวที่เข้าถึง แล้วก็พูดกับหลวงตาว่า หลวงตาคะ หนูขอชานหมาหลวงตาค่ะ ท่านกำลังเคี้ยวหมากอยู่ (ตอนนั้นยังไม่รู้หรอกว่า ใครเข้าไปขอแล้วจะโดนตะเพิด) ท่านหัวเราะปากแดงเลย แล้วก็คายใส่ทิชชูให้เดี๋ยวนั้น ดิฉันถอยออกมา มีผู้ชายคนหนึ่ง ยกมือไหว้ดิฉัน บอกว่า ขอผมเถอะครับ ผมจะเอาไปบูชา ดิฉันหันกลับไปมองหลวงตา เห็นท่านมองตรงมาที่ดิฉัน ท่านหัวเราะปากแดงเลย ดิฉันรู้เลยว่า ท่านให้ดิฉันมาเพราะอะไร ก็เลยให้ผู้ชายคนนั้นไป อยู่มาวันหนึ่งฟังเทศน์หลวงตาทางวิทยุ ท่านบอกว่า คนไหนไม่ดี ท่านถึงจะดุ ดุเพราะมันไม่ดี นี่จำได้มาทุกวันนี้เลย
-- อย่างกรณีหลวงพ่อพุทธทาส เมื่อก่อนดิฉันก็เคยพูดในทางที่ประมาณว่า ท่านไม่ได้ปฏิบัติเท่าที่อ่านประวัติมา ท่านเป้นนักปรัชญา พอดิฉันได้มาเจอครูบาฯ ท่านเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อพุทธทาส ท่านเป็นนักปฏิบัติ ครูบาฯ ท่านไปปฏิบัติอยู่กับหลวงพ่อพุทธทาส ครูบาฯบอกว่า หลวงพ่อพุทธาส ชอบหอบพระไตรปิฎกเข้าป่า ท่านจะเขียนบันทึกไว้ตลอด ส่วนที่มาตีพิมพฺเป้นหนังสือขายทุกวันนี้ เป็นน้องชายของท่านเลือกออกมาแล้วถ่ายเอกสาร มาเข้าเป็นเล่มอีกที หน้าไหนอ่านแล้วถูกใจ ก็ถ่ายออกมาเฉพาะหน้านั้น ต้องเข้าใจว่าเป้นบันทึกช่วงแรกๆเท่านั้นหาใช่ตอนสุดท้ายไม่
-- เอาเป็นว่า ครูบาฯทุกท่าน ปฏิบัติใหม่ๆก็เหมือนเราทุกคนทั่วไปน่ะแหละ อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง ตามกุศลที่ท่านได้สร้างสั่งสมมา
-- ต่อมาดิฉันได้กราบขอขมาครูบาฯทุกท่านในความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มันมีผลจริงๆมีผลต่อการปฏิบัติ อย่างดิฉันได้ปฏิบัติครูบาฯท่านหนึ่ง ดิฉันติดนิมิต เพราะครูบาฯท่านชอบนิมิต โห .. ไปเที่ยวนรก สวรรค์ ไปดูอดีตชาติ ติดอยู่นานมาก วิบากกรรมที่เคยได้ทำมากับท่านมันคงจบลง กุศลยังมีอยู่ดิฉันได้มาเจอหลวงพ่อจรัญ ได้มาปฏิบัติ แต่ก้มาเจอวิบากกรรมที่เคยไปติติงครูบาฯที่ท่านทำให้เราติดนิมิต แทนที่จะโทษตัวเอง กลับไปกล่าวโทษท่าน ตอนหลังนี่ก็ไปเจอท่านที่วัดก็ขออโหสิกรรมกับท่านที่วัด
-- บอกเล่ากันเนอะ ไม่มีอะไรแบ่งปันในเรื่องการสอนหรอก เพราะไม่เคยสอนใคร เพียงหวังว่า ประสพการณ์ที่เล่าให้ฟังเล็กๆน้อยๆนี่เผื่อจะให้ข้อคิดหรือเป็นประโยนช์หรืออุทหรณ์แก่คนอื่นๆได้บ้างค่ะ |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
21 ส.ค. 2008, 9:24 pm |
  |
ขอบคุณ คุณ walaiporn สำหรับข้อชี้แนะครับ
กระผมแก้ไขข้อความแล้วครับ แต่ หัวกระทู้ไม่รู้จะแก้ยังไง
ขอคุณ walaiporn ชี้แนะเพิ่มเติมด้วยครับ สำหรับเทคนิคการสอดแทรกหรือแนะนำธรรมะทั่วๆไปของคุณ ที่สามารถนำไปใช้กับบุคคลรอบข้าง เช่นครอบครัว เพื่อนฝูง เพื่อประโยชน์ของคนเหล่านั้น ครับ
 |
|
|
|
    |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
21 ส.ค. 2008, 9:27 pm |
  |
ฌาณ พิมพ์ว่า: |
ผมขอตอบก่อนนะครับ
1.เลือกสอนเฉพาะคนที่ควรสอน ไม่ยิงกราด
2.เลือกกาล เวลาให้เหมาะสม
3.สถานที่ก็ต้องเหมาะสม
4.เลือกธรรมที่สอนให้เหมาะกับ คน เหตุการณ์
5.ธรรมะที่สอนต้องไม่แต่งเติมเสริมต่อ....
สรุปต้อง ดูคน สถานที่ เวลา สถาณการณ์ และธรรมที่คัดสรร
 |
ขอคุณ ฌาณ ยกตัวอย่างได้ไหมครับ เพื่อประโยชน์แก่ตัวผมและทุกๆท่าน
ขอบคุณครับ
 |
|
|
|
    |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
21 ส.ค. 2008, 9:47 pm |
  |
ยังสอนครัยไม่เป็นอ่ะครับ....เข้ามาเนี่ย ก็จะได้รู้ว่าเค้าสอนกันยังไง...จะได้ทำตัวถูกครับเวลาถูกสอน....  |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
21 ส.ค. 2008, 10:00 pm |
  |
natdanai พิมพ์ว่า: |
ยังสอนครัยไม่เป็นอ่ะครับ....เข้ามาเนี่ย ก็จะได้รู้ว่าเค้าสอนกันยังไง...จะได้ทำตัวถูกครับเวลาถูกสอน....  |
กระทู้นี้ถูกปิดไปสะก่อน และคห.คุณขันธ์ก็ถูกลบออกไปด้วย
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17213&postdays=0&postorder=asc&start=40
ไม่อย่างนั้นคุณ natdanai คงได้คุณขันธ์สอนให้แล้วครับ  |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
21 ส.ค. 2008, 10:40 pm |
  |
ท่านขันธ์เขาคงไม่อยากสอนผมกระมังครับ...เพราะผมไม่ได้ปวรณาตัวให้ท่านขันธ์ เหมือนกับท่านกรัชกายครับ...อีกอย่างกิเลสผมยังมีอยู่มากมายเหลือเกินครับ ท่านขันธ์คงขี้เกียจขุดกิเลสของผมมั้งครับ มันเยอะ...  |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
ขันธ์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520
|
ตอบเมื่อ:
21 ส.ค. 2008, 10:58 pm |
  |
1 การสอนธรรม ตัวเราเองต้องปฎิบัติให้ได้ดีก่อน นี้คือ เทคนิคแรก
2 ต้องสอนเท่าที่ตนรู้ เมื่อไม่รู้ ต้องแสดงความเห็นว่า นี่เรายังไม่รู้ พูดง่ายๆคือ ซื่อสัตย์และโปร่งใส ในทุกขั้นตอน
3 ในระดับสูงถ้าจะสอนกันข้ามภพข้ามชาติ ต้อง รู้วาระจิตของ คนที่เราจะสอน ด้วยการ เข้าใจในปฏิจสมุปบาท และวิถีจิตของคนว่า ปรุงไปอย่างไร มาจากเหตุใด
4 คนที่ควรจะรู้ ทฤษฎี ก็สอนทฤษฎี คนที่อ่อนปฏิบัติก็ต้องสอนปฏิบัติ
5 เลือกสรร คำพูดที่จะให้คนฟังรับรู้ได้
6 ด่า เมื่อ คนรับการสอนอวดดี จะได้สมน้ำหน้าเวลามันโกรธ 555
และมันจะได้รู้สึกตัว เวลาสติกลับคืนมา ( อันนี้ วิธีการส่วนตัวใครจะหยิบยืิมไปใช้ได้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์แต่ก็ไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น )
สำคัญ คือ อย่าด่าคนอื่นถ้าไม่ได้ออกมาจากธรรม เพราะ การด่านั้นมันมาจากอกุศล ก็จะทำให้สิ่งที่ออกไปเป็นอกุศล ซึ่งจะทำให้โดนย้อนได้
แต่หากว่าออกจากธรรม ก็ตามธรรมไปเลย
และถามว่า จะทราบได้อย่างไรว่าออกจากธรรม ก็ต้องฝึกตนจนได้มหาสติปัฎฐาน ด้าน ธรรมานุปัสสนา คือ เห็นธรรมเกิด ธรรมดับ เห็นธรรมเนืองๆ จาก การเห็นสิ่งรอบตัว ไม่ใช่จากการอ่านนะ
รวมถึง ต้องชำนาญใน จิตตานุปัสสนา แล้ว ก็จะสามารถทราบได้ว่า จิตนี่มี อกุศลดองอยู่ หรือไม่มี |
|
_________________ เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์ |
|
  |
 |
guest
บัวบาน

เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254
|
ตอบเมื่อ:
22 ส.ค. 2008, 12:14 am |
  |
๑.ท่านผู้สิ้นกิเลสท่านสอนด้วยความแม่นยำ ผู้ฟังก็ได้รับผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ฟังเทศน์พระอรหันต์เสียงเทศน์ท่านจะกล่อมจิตเรา ให้ค่อย ๆ รวมเข้ามา
จนจิตสงบ พอจิตสงบ จะสว่างจ้า ความรู้ว่าตัวตนหาย
เสียงเทศน์ของท่านจะดังแว่ว ๆ อยู่ข้างบน
แต่เมื่อจิตสงบ เราจะไม่เข้าใจคำเทศน์ของท่านเพราะสัญญาอารมณ์ไม่ไปหมายคำเทศน์แล้ว
แต่เสียงเทศน์ของท่านจะกล่อมให้เราสงบอยู่ในนั้น
จึงไม่มีความสงสัยว่า
สมัยพุทธกาล
มีผู้บรรลุอรหัตตผลได้ขณะฟังธรรมจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงได้นำประสบการณ์มาเล่า
๒.ผู้มีกิเลสสอนธรรมได้ตามกำลังภูมิธรรมของตน
แต่ก็จะโลเลโลกเลหาความแม่นยำไม่ได้
ที่สำคัญคือผู้สอนมีกิเลสมากเท่าไร สอนไปเท่าไร กิเลสแทรกไปเท่านั้น
เจือไปด้วยพวกนี้ล่ะ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ |
|
|
|
  |
 |
RARM
บัวบาน

เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417
|
ตอบเมื่อ:
22 ส.ค. 2008, 6:44 am |
  |
รู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้แล้ว
ย่อมรู้จักผู้อื่นเช่นกัน
--
รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้องครั้ง |
|
|
|
  |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
22 ส.ค. 2008, 8:55 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
ขอคุณ ฌาณ ยกตัวอย่างได้ไหมครับ เพื่อประโยชน์แก่ตัวผมและทุกๆท่าน |
สวัสดีครับพี่ๆ ผมกลับไปคิดซะนานครับว่าจะยกตัวอย่างยังไง
ผิดถูกอย่างไร อาจารย์ช่วยตักเตือนด้วยอะครับ
1.เลือกสอนเฉพาะคนที่ควรสอน ไม่ยิงกราด
สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าของเราก่อนจะสอนใครก็ตรวจดูด้วยญาณ
ก่อนเสมอว่า เวลานี้ ใครจะเป็นผู้ที่สมควรรู้ธรรมบ้าง ท่านก็จะเสด็จไปสอนครับ
2.เลือกกาล เวลาให้เหมาะสม
บางทียังไม่ถึงเวลาเหมาะสม พระพุทธเจ้าของเราก็ยังไม่แสดงธรรม
เช่นพระวักกลิ ที่เร่งรัดให้พระพุทธเจ้าสอน ท่านก็ไม่แสดงธรรม จนน้อยใจไปกระโดดหน้าผาตาย(รอบ่มให้สุกก่อน) พระพุทธเจ้าตรวจดูด้วยญาณแล้วพบว่าถึงเวลาแล้วจึงแสดงธรรม ท่านวักกลิจึงบรรลุธรรมครับ
3.สถานที่ก็ต้องเหมาะสม
อันนี้ตรงไปตรงมาครับคือต้องมีความสงบพอสมควร
หรือที่เรียกว่า สัปปายะ
4.เลือกธรรมที่สอนให้เหมาะกับ คน เหตุการณ์
เช่น ทรงจะโปรดสอนพี่น้องชฏิล(ลัทธิบูชาไฟ) พระพุทธเจ้าของเราก็จะทรงเลือกธรรมอาทิตปริยยสูตร(กล่าวเปรียบเทียบตัณหาดุจไฟอันเร่าร้อน)
เพื่อให้ชฏิลสามพี่น้องเข้าใจง่ายครับ
5.ธรรมะที่สอนต้องไม่แต่งเติมเสริมต่อ....
ปัจจุบันมักมีการเสริมเติมแต่งธรรมะของพุทธองค์ให้ดูสละสลวยเพราะพริ้ง
เพื่อให้คนนิยม และชื่นชอบว่าลัทธินี้ของเรา สำนักนี้ของเราดีที่สุด
(ดุจดังเรื่องตะโพนอานกะ) จนธรรมะดั้งเดิมอาจดูวิจิตรพิสดารไปมาก
ก่อให้เกิดสัทธรรมปฏิรูป
 |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
ขันธ์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520
|
ตอบเมื่อ:
22 ส.ค. 2008, 9:11 am |
  |
คุณ ฌาณ ลืมไปข้อหนึ่งคือ
เมื่อแสดงธรรมนั้น พระพุทธองค์ ยอมแสดงธรรมอันรุนแรงให้ฝ่ายหนึ่งฟัง เพื่อเห็นแก่ ผู้มีวาสนา อีกฝ่ายที่ได้ยินได้ฟังแล้วเข้าถึงหลักธรรมก็มี
ดังเช่น การแสดงธรรม ให้ พราห์มณ์ ผู้เป็นสามีภรรยา ที่จะมอบบุตรสาวแสนสวยให้เป็นภรรยาของพระพุทธองค์
ครั้งนั้น พระพุทธองค์ บอกว่า บุตรสาวของท่านมีแต่ มูตรคูถ ซึ่งก็แปลว่ามีแต่ขี้เต็มไปทั้งตัว มีแต่ของสกปรกทั้งตัว ไม่เห็นจะมีความสวยงามแต่อย่างใด อันทำให้หญิงนั้นโกรธเคืองพระพุทธองค์อย่างมาก
ตามธรรมดาพระศาสดาจะพูดคำใด มีหรือจะไม่เมตตา หรือเล็งดุว่าผุ้ใดควรพูดอย่างใด
แต่ทั้งนี้ การสอนของพระพุทธองค์นั้น ก็ไม่ใช่ว่า จะต้องเรียบเสมอไป ทั้งนี้เพราะว่า จิตพระองค์เล็งเห็นแต่ความจริงเป็นหลัก อีกทั้งความเมตตา ในครั้งนั้นก็เพื่อให้ บิดาและมารดาของหญิงนั้น เข้าถึงธรรม
ก็สรุปว่าเมื่อ พูดไปเช่นนั้นแล้ว จิตของบิดาและมารดาหญิงนั้นก็เข้าถึง พระโสดาบันทันที แต่วาสนาของหญิงนั้นไม่พิจารณา เอาแต่โกรธเคืองจึงทำให้ พบวิบากด้วยตนเอง หาใช่ พระพุทธองค์เป็นเหตุไม่ แม้พระพุทธองค์ไม่พูดเช่นนั้น หญิงนั้นก็ต้องวนเวียนอยุ่ในภพแห่งความประมาทอยู่แล้ว จึงไม่นับว่า การพูดเช่นนั้นของพระพุทธองค์จะเป็นการก่อกรรมให้ หญิงประมาท ตกนรก |
|
_________________ เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์ |
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
22 ส.ค. 2008, 9:20 am |
  |
RARM พิมพ์ว่า: |
รู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้แล้ว
ย่อมรู้จักผู้อื่นเช่นกัน
--
รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้องครั้ง |
อันนี้เห็นด้วยครับ...แต่อย่าไปรู้เขาก่อนนะครับ  |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
22 ส.ค. 2008, 10:18 am |
  |
ขอเสริมครับ
เนื่องจากยังไม่มีท่านใด กล่าวถึง การใช้ ปิยวาจา
เป็นอีกหนึ่งเทคนิค เพื่อไม่ให้ผู้รับ ถูกกิเลส บดบังเสียก่อน
การสอนด้วย ธรรมอันรุนแรง ถือเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ ต้องเลือกเฉพาะบุคคลที่มั่นใจได้ว่า เมื่อผู้นั้นรับฟังแล้วจะไม่ถูก โทสะบดบังบังเสียก่อน ซึ่งจะทำให้ธรรมะนั้นสูญเปล่า มิพึงเกิดประโยชน์แก่ผู้ฟัง
การพิจารณาธรรมจากข้อคิดเห็นที่ได้รับตอบกลับมา จากการกล่าวธรรมที่ตนกล่าวออกไป ถือความถูกต้องของธรรมเป็นหลัก ประโยชน์ย่อมเกิดแก่คู่สนทนา
ขอบคุณทุกท่านครับ
 |
|
|
|
    |
 |
ขันธ์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520
|
ตอบเมื่อ:
22 ส.ค. 2008, 11:37 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
การสอนด้วย ธรรมอันรุนแรง ถือเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ ต้องเลือกเฉพาะบุคคลที่มั่นใจได้ว่า เมื่อผู้นั้นรับฟังแล้วจะไม่ถูก โทสะบดบังบังเสียก่อน ซึ่งจะทำให้ธรรมะนั้นสูญเปล่า มิพึงเกิดประโยชน์แก่ผู้ฟัง |
ก็ ถ้าโทสะอยู่ในตัวผู้นั้นแล้ว แม้เราไม่กล่าว โทสะในตัวผุ้นั้นก็ต้องบังเกิด ไม่วันใดก็วันหนึ่งอยู่ดี ข้อนี้จะหาว่าเราเป็นต้นเหตุได้หรือ
อีกทั้งการกล่าวธรรมไปก็ไม่ใช่สิ่งไม่จริงหรือ เป็นคำด่าอัน ไม่ตั้งอยุ่บนความจริง ก็เปล่า ทุกคำล้วนตั้งอยู่บนความจริง
การกล่าวทั้งหมด ล้วนแล้วแต่มีผุ้เสนอให้สนองด้วยโทสะ ก่อน
ข้อนี้จะห้ามผู้พูดไม่ได้ ต้องห้ามผู้ฟัง และ ห้ามกิเลสของคนฟัง
ตามธรรมดากิเลสย่อมพอใจในคำรื่นหู การกล่าวแต่เอาใจกิเลส นั้นแหละเรียกว่า การสนองกิเลสคน อันไม่ก้าวไปสุ่ความจริง |
|
_________________ เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์ |
|
  |
 |
guest
บัวบาน

เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254
|
ตอบเมื่อ:
22 ส.ค. 2008, 11:53 am |
  |
การสอนธรรมของท่านผู้สิ้นกิเลส
จะหนักเพียงใด
ก็เหมือนน้ำดับไฟ
ไฟก็เปรียบเป็นกิเลสในใจผู้ฟัง
น้ำก็เปรียบเป็นธรรม จากคำสอนของท่านผู้สิ้นกิเลส
ส่วนคนมีกิเลส
คำสอนจะมีกิเลสแทรกไปทุกขณะ
ธรรมที่แสดงออกไปด้วยความไม่แม่นยำ
อาจเป็นการเติมเชื้อไฟ
ให้ไฟกิเลสของผู้ฟัง ลุกโชนหนักยิ่งขึ้น |
|
|
|
  |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
22 ส.ค. 2008, 12:15 pm |
  |
ขันธ์ พิมพ์ว่า: |
อ้างอิงจาก: |
การสอนด้วย ธรรมอันรุนแรง ถือเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ ต้องเลือกเฉพาะบุคคลที่มั่นใจได้ว่า เมื่อผู้นั้นรับฟังแล้วจะไม่ถูก โทสะบดบังบังเสียก่อน ซึ่งจะทำให้ธรรมะนั้นสูญเปล่า มิพึงเกิดประโยชน์แก่ผู้ฟัง |
ก็ ถ้าโทสะอยู่ในตัวผู้นั้นแล้ว แม้เราไม่กล่าว โทสะในตัวผุ้นั้นก็ต้องบังเกิด ไม่วันใดก็วันหนึ่งอยู่ดี ข้อนี้จะหาว่าเราเป็นต้นเหตุได้หรือ
อีกทั้งการกล่าวธรรมไปก็ไม่ใช่สิ่งไม่จริงหรือ เป็นคำด่าอัน ไม่ตั้งอยุ่บนความจริง ก็เปล่า ทุกคำล้วนตั้งอยู่บนความจริง
การกล่าวทั้งหมด ล้วนแล้วแต่มีผุ้เสนอให้สนองด้วยโทสะ ก่อน
ข้อนี้จะห้ามผู้พูดไม่ได้ ต้องห้ามผู้ฟัง และ ห้ามกิเลสของคนฟัง
ตามธรรมดากิเลสย่อมพอใจในคำรื่นหู การกล่าวแต่เอาใจกิเลส นั้นแหละเรียกว่า การสนองกิเลสคน อันไม่ก้าวไปสุ่ความจริง |
ผมหมายถึงว่า สอนให้ถูกจริตผู้รับน่ะครับ
ถ้าผู้รับ สามารถน้อมฟังได้ ก็สามารถใช้ธรรมอันรุนแรงสอนได้
ถ้าผู้รับ มีโทสะจริต ก็ควรเริ่มจาก ปิยวาจาก่อน เพื่อประโยชน์แก่ผู้ฟังน่ะครับ
ผมไม่ได้หมายถึงให้ตามกิเลสน่ะครับ
ที่คุณขันธ์กล่าวมานั้น ถูกต้องนะครับ ไม่ว่าอย่างไรโทสะเขานั้นวันใดวันหนึ่งก็ออกมาได้ และธรรมที่กล่าวก็เป็นเรื่องจริง แต่ผมหมายถึงว่า ถ้าเราเริ่มจาก ปิยวาจาก่อน ย่อมทำให้เขามองเห็นธรรมที่เรากล่าวได้ นอกจากนี้ หลังจากที่เขาพิจารณาธรรมที่กล่าวออกไปด้วยจิตที่ไม่ประกอบด้วยโทสะแล้ว เรายังสามารถชี้แนะ หรือ แนะนำ เกี่ยวกับการควบคุม และกำจัด โทสะ ในภายหลังได้อีกด้วย
ถ้าไม่ได้เริ่มจากปิยวาจาก่อน เมื่อผู้ฟังถูกโทสะครอบงำ ย่อมไม่อาจรับธรรมใดๆจากผู้ชี้แนะได้เลย ซึ่งจะกลายเป็นการสนทนาธรรมที่สูญเปล่าน่ะครับ
ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังอย่างเต็มที่ และเป็นการพัฒนาความสามารถในการชี้แนะธรรม ของผู้แสดงธรรมด้วยครับ
อีกเรื่องครับ
เมื่อมีผู้เสนอให้สนองโทสะ ในฐานะผู้ชี้แนะธรรม ซึ่งมองทะลุปรุโปร่งแล้วว่า มีผู้เสนอสิ่งไม่ดี และ ผู้ชี้แนะธรรมก็มองเห็นโทษของโทสะเองแล้ว มิใช่ฐานะที่ควรสนอง ให้กับผู้รับน่ะครับ
ถือว่าแบ่งปันความเห็นกันนะครับ
ด้วยความเคารพ
 |
|
|
|
    |
 |
|