ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
16 ส.ค. 2008, 9:05 pm |
  |
" สัจจบรรพ พิจรณาเห็นธรรมในธรรม
คืออริยสัจ ๔ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกข์สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา "
๑) กายานุปัสสนา ได้แก่ พิจรณาเห็นกายในกายดังนี้
ก. อานาปานบรรพ มีสติหายใจเข้า หายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น หายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ระงับสังกายสังขารหายใจออก ระงับกายสังขารหายใจเข้า พิจรณาเห็นความเกิดขึ้นในกายบ้าง ความเสื่อมในกายบ้าง สติตั้งมั่นว่า กายมีอยู่ก็เพียงสักว่าความรู้ สักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก นี่แหละชื่อว่า พิจรณาเห็นกายในกายอยู่
ข. อริยาปถบรรพ เมื่อเดินก็รู้ชัดว่าเดิน เมื่อยืนก็รู้ชัดว่ายืน เมื่อนั่งก็รู้ชัดว่านั่ง เมื่อนอนก็รู้ชัดว่านอน เมื่อตั้งกายไว้ด้วยอาการใดๆก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ พิจรณาเห็นความเกิดขึ้นในกายบ้าง ความเสื่อมในกายบ้าง ฯลฯ
ค. สัมปชัญญบรรพ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข่า ในการเหยียดออก ในการทรงผ้าสังฆาฏิและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การหลับ การตื่น การพูด การนั่ง พิจรณาเห็นความเกิดขึ้นในกายบ้าง ความเสื่อมในกายบ้าง ฯลฯ
ง. ปฏิกูลมนสิการบรรพ ย่อมพิจรณาเห็นกายนี้ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้ม เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ฯลฯ
จ. ธาตุมนสิการบรรพ ย่อมพิจรณาเห็นกายนี้ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม แบ่งออกเป็นส่วน ฯลฯ
ฉ. นวสีถิกาบรรพ เหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด ฯลฯ
เหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์เล็กๆกัดกินอยู่บ้างฯลฯ
เหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เห็นร่างกระดูกยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นรัดอยู่ ฯลฯ
เหมือนเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูกปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด แล้วมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ
เหมือนเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้วเรี่ยรายไปในทิศต่างๆ กระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง ฯลฯ
เหมือนเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นกระดูกมีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ ฯลฯ
เหมือนเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่เกินปีหนึ่งขึ้นไป ฯลฯ
เหมือนเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นกระดูกผุเป็นจุณแล้ว ย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้ว่า ถึงร่างกายนี้มีอยู่เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ พิจรณาเห็นความเกิดขึ้นในกายบ้าง ความเสื่อมในกายบ้าง สติเธอตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ก็เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก นี่แหละชื่อว่า พิจรณาเห็นกายในกาย
๒) เวทนานุปัสสนา ได้แก่ พิจรณาเห็นเวทนาในเวทนา ดังนี้ เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่าเสวยสุขเวทนา เสวยทุกขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่าเสวยทุกขเวทนาอยู่ เสวยอุเบกขาเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดเสวยอุเบกขาเวทนา เสวยสุขเวทนามีอามิส หรือไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่าเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือไม่มีอามิส เสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือไม่มีอามิสอยู่ ก็รู้ชัดว่าเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือไม่มีอามิสอยู่ เสวยอุเบกขาเวทนามีอามิส หรือไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่าเสวยอุเบกขามีอามิส หรือไม่มีอามิส พิจรณาเห็นความเกิดขึ้นในเวทนา เห็นความเสื่อมในเวทนา สติตั้งมั่นอยู่ว่าเวทนามีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เป้นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรในโลก นี่แหละชื่อว่าพิจรณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
ยังมีต่อ |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
16 ส.ค. 2008, 9:58 pm |
  |
มาจาก มหาสติปัฏฐานสูตร ....
ใช่ไหมครับ?
http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=10&start_byte=415146
๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)
[๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
๔ ประการ เป็นไฉน ฯ
ท่านเจ้าของบทความ เหมือนจงใจเปลี่ยนคำ จาก"การเจริญสติปัฏฐาน ๔"( จากพุทธพจน์ "หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔") ให้เหลือเพียง "การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน"....
เหมือน จงใจตัดส่วนของสมถะ ที่มีอยู่ในสติปัฏฐาน๔ ออก....
ทำอย่างนี้ไม่เหมาะสมครับ
ขออนุญาตทักท้วงด้วยความเคารพ
ถ้าจะเป็นการแสดงความเห็นส่วนตัว
ก็ต้องแสดงให้ชัดเจนว่า
นี่เป็นพระสูตรดั้งเดิม(ควรยกพระสูตรดั้งเดิมมาวางก่อน)....
และ นี่เป็นความเห็นส่วนตัวน่ะ...
โดยแยกออกจากกันให้ชัดเจน
อาจจะเป็นเพราะ ท่านเจ้าของบทความ ไปตีความหมายของคำว่า สมถะในพระสูตรต่างๆ(ที่เป็นสัมมาสมาธิ) เป็นแบบเดียว กับสมถะแบบฤาษี(ที่เป็นมิจฉาสมาธิ)...
แล้ว เลยต้องตัดส่วนของสมถะที่เป็นองค์ในอริยมรรคออก ให้เหลือเพียงส่วนของวิปัสสนา
จึง จงใจใช้คำว่า "ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน"แทนที่ คำว่า "สติปัฏฐาน ๔"
สติปัฏฐาน๔ นั้น มีทั้ง สมถะ(ที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้) และ วิปัสสนา อยู่ในตัว พร้อมเสร็จอยู่แล้ว
เสนออ่าน
[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า
มีสติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์
บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและ วิปัสสนา คู่เคียงกันเป็นไป
เขาชื่อว่า กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ละธรรมที่ควรละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
เจริญธรรมที่ควรเจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
และ ดังเช่น ที่ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ท่านสรุปประมวลไว้ดังนี้
สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ
......สติปัฏฐาน แปลกันว่า ที่ตั้งของสติบ้าง การปรากฏของสติบ้าง ฯลฯ
ถือเอาแต่ใจความง่ายๆ ก็คือ การใช้สติ หรือ วิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิด
ผลดีถึงที่สุด
อย่างที่กล่าวถึงในพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า
"ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้ง
หลาย เพื่อข้ามพ้นโสกะและปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุโลกุตตรมรรค เพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้คือสติปัฏฐาน"
การเจริญสติปัฏฐานนี้ เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมา และยกย่อง
นับถือกันอย่างสูง ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะ และวิปัสสนาในตัว..... |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
16 ส.ค. 2008, 10:19 pm |
  |
การเจริญสัมมาสติ ก็คือ การเจริญสติปัฏฐาน
(ที่ ท่านเจ้าคุณกล่าว สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ )
คำถามคือ
การเจริญสัมมาสติ อยู่ในส่วนใดแห่งไตรสิกขา???
ใน อริยมรรคที่มีองค์แปด
สรุป เข้าสู่ ไตรสิกขา ได้ดังนี้
1.อธิศีลสิกขา(ศีล) ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
2.อธิจิตตสิกขา(สมาธิ) ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
3.อธิปัญญาสิกขา(ปัญญา) ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สังเกตุน่ะครับ ว่า
สัมมาสติ อยู่ในส่วน "สมาธิ"(อธิจิตตสิกขา) เสียด้วยซ้ำ
แล้วจะไปจัดให้ การเจริญสติปัฏฐาน เป็นเพียงวิปัสสนาอย่างเดียวได้อย่างไร... |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
16 ส.ค. 2008, 10:27 pm |
  |
อริยมรรคสมังคี ย่อมต้องประกอบพร้อมทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา
ดังปรากฏในพระสูตร
[๑๔๗] อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วยโลกุตตรฌานที่เกิดแล้ว
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวโลกุตตรฌานว่าเป็นฌาน
บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์
ถ้าพระโยคาวจร ตั้งใจมั่นดีแล้ว ย่อม เห็นแจ้ง ฉันใด
ถ้า เมื่อเห็นแจ้ง ก็ พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดี ฉันนั้น
สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทาม
สติปัฏฐานสี่ เป็นทางสายเอกที่นำไปสู่ อริยมรรคสมังคี
แล้ว จะไปจัดให้ การเจริญสติปัฏฐาน เป็นเพียง วิปัสสนากรรมฐานอย่างเดียวได้อย่างไร |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
16 ส.ค. 2008, 10:38 pm |
  |
มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นเสมือนแผนที่ ที่ชาวพุทธควรใช้เป็นหลักในการภาวนา
มหาสติปัฏฐานสูตร มีทั้งส่วนแห่งสมถะ และ วิปัสสนา อยู่ในตัว
มีรายละเอียดของวิธีการ ที่เหมาะสม ครอบคลุมกับทุกจริตนิสัยอยู่แล้ว .... และ ครอบคลุมกับทุกสถานการณ์....
ลองพิจารณาดูน่ะครับ
อานาปานบรรพ กายคตาสติ ก็อยู่ในหมวดกายานุปัสสนา
การพิจารณาเวทนา ก็อยู่ในหมวดเวทนานุปัสสนา
การดูจิต และ จิตในจิต ก็อยู่ในหมวดจิตตานุปัสสนา
แม้นแต่ การพิจารณา ผัสสะ(อายตนะ) อุปาทาน อุปาทานขันธ์ห้า ชาติ ชรา มรณะ และ ๆลๆ ก็อยู่ในหมวดธัมมานุปัสสนา
ทั้งนั้น
ดูง่ายๆ แค่ อานาปานสติ ในขั้นตอนของการปฏิบัติ ก็มีส่วนที่เป็นสมถะชัดเจนอยู่แล้ว
จน วิปัสสนาจารย์(ท่านรับสอนเฉพาะวิปัสสนา)บางท่าน เห็นว่า ชาวพุทธปัจจุบันไม่ควรเจริญอานาปนสติกันแล้วก็มี  |
|
|
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
17 ส.ค. 2008, 12:35 pm |
  |
สวัสดีค่ะคุณตรงประเด็น
อ่านทีแรกร้องโอ้โหเลย .... ถ้าเป็นเมื่อก่อนดิฉันเจอแบบนี้ก้จะร้องว่า "จะอะไรขนาดนั้น ก็ข้อความตอนท้ายเขาก็เขียนไว้แล้วว่า ยังมีต่อ แสดงว่ามันยังไม่ได้สิ้นสุดแค่นี้" เอ้า.... ไม่ว่ากัน ไม่ว่ากัน อดีตมันผ่านไปแล้ว ... เอาเป็นว่า ข้อความที่คุณตรงประเด็นกล่าวพาดพิงไปถึงเจ้าของบทความ "ดิฉันขอน้อมรับความผิดไว้ทั้งหมดที่คุณกล่าวมาแต่เพียงผู้เดียวค่ะ" ดิฉันได้แต่ร้องในใจคนเดียวว่า ดิฉันได้ทำให้ผู้อื่นสร้างอกุศลกรรมโดยไม่ได้เจตนาแล้วสิหนอ ดิฉันขออโหสิกรรมต่อคุณตรงประเด็นมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
-- เหตุที่ข้อความทั้งหมดยังไม่สมบูรณ์หรือยังไม่เสร็จก็เนื่องจาก ดิฉันเป็นคนพิมพ์ช้า ต้องค่อยๆแกะตัวหนังสือ กลัวตกหล่นแล้วทำให้ข้อความนั้นผิดเพี้ยนไป แล้วตัวหมวดหัวข้อมหาสติปัฏฐานสูตรอยู่ในหนังสืออีกเล่ม ดิฉันก็เลยทะยอยพิมพ์ไปเรื่อยๆ หาลิงค์ทางกูเกิ้ลเพื่อจะก๊อปข้อความมหาสติปัฏฐานสูตร หาแล้วไม่เจอข้อมูลที่ตรงกับหนังสือนี้ ลิงค์ที่คุณตรงประเด็นนำมาวางให้อ่านนี่แหละค่ะใช่เลย แต่ข้อคิดเห็นของท่านเจ้าของบทความไม่ใช่ตรงนี้ ท่านจะเขียนต่อท้ายเวลาจบรรยายพระสูตรจบ ท่านจะเขียนว่า "คำอธิบายเพิ่มเติม" งั้น.. เอาเป็นอันว่า ดิฉันขอเริ่มจากพระสูตรแรกๆก่อนที่จะขึ้นสู่มหาสติปัฏฐานสูตรน่าจะดีกว่ากระมังคะ
-- แล้วก็ตรงนี้คือข้อความที่เจ้าของบทความท่านได้เขียนไว้ในบทความของท่าน ท่าน ยกมาให้อ่านก่อนนิดนึงค่ะ
"อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ควรถือเป็นหลักตายตัว เนื่องจากในยุคนัทธกถา ปฏิสัมภิทามรรคได้กล่าวไว้ว่า ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น อาจจะปฏิบัติสมถกรรมฐานก่อนแล้วปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานก็ได้ หรือปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานก่อนแล้วปฏิบัติสมถกรรมฐานก็ได้ หรืออาจจะปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานคู่กันไปก็ได้
ในปัจจุบัน มีครูบาอาจารย์บางองค์สอนศิษย์ว่า ไม่ควรปฏิบัติสมถกรรมฐานจนได้ฌานเพราะจะทำให้ติดอยู่ในฌาน จนไม่เป็นอันปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ขอให้ท่านผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณพิจรณาด้วยตนเองก็แล้วกันว่า ควรเชื่อถือในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือครูบาอาจารย์ในปัจจุบันบางองค์มากกว่ากัน
-- ต่อไปจะนำมาทีละพระสูตร นำพระสูตรแรกๆมาก่อนคือ โพธิราชกุมารสูตร |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
17 ส.ค. 2008, 3:44 pm |
  |
โพธิราชกุมารสูตร (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. มัชฌิมนิกาย,โพธิราชกุมารสูตร) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระโพธิราชกุมารว่า ก่อนตรัสรู้ พระองคืได้ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ที่อุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ อุปมา ๓ ข้อได้ปรากฏแก่พระองค์ ดังนี้คือ
ข้อ ๑ ไม้สดชุ่มด้วยยางอยู่ในน้ำ ถ้าบุรุษนำมาสีไฟ พึงทำให้เกิดไฟไม่ได้ สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กายยังไม่หลีกออกจากกาม ยังมีความพอใจในกาม ถึงแม้จะเสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ไม่ควรเพื่อรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้
ข้อ ๒ ไม้สดชุ่มด้วยยางอยู่บนบกไกลน้ำ ถ้าบุรุษนำมาสีไฟ พึงทำให้เกิดไฟไม่ได้ สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง กายหลีกออกจากกามแล้ว แต่ยังมีความพอใจในกาม ถึงแม้จะเสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียร ก็ไม่ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้
ข้อ ๓ ไม้แห้งเกราะอยู่บนบกไกลน้ำ ถ้าบุรุษนำมาสีไฟ พึงทำให้เกิดไฟได้ สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กายหลีกออกจากกามแล้ว ไม่มีความพอใจในกาม ละได้ด้วยดี สงบระงับด้วยดีภายใน ถึงแม้จะเสวยทุกขเวทนาหรือไม่ได้เสวยทุกขเวทนากล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียร ก็ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ได้
คำอธิบายเพิ่มเติม จากพระสุตรนี้ ทำให้ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทราบว่า ก่อนการตรัสรู้ ผู้ปฏิบัติจะต้องหลีกออกจากกามแล้ว ไม่มีความพอใจในกาม ละได้ด้วยดี สงบระงับด้วยดีภายใน จึงควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ได้
เปรียบเหมือนการใช้ไม้สีไฟเพื่อให้เกิดไฟจะต้องใช้ไม้แห้ง อยู่บนบกไกลน้ำ ถ้านำมาสีไฟจะทำให้เกิดไฟได้ ถ้าหากนำเอาไม้สดแช่อยู่ในน้ำ หรือไม้สดอยู่บนบกไกลน้ำก็ดี มาสีไฟจะทำให้เกิดไฟไม่ได้ เพราะไม้นั้นยังสดชุ่มด้วยยางอยู่ จะต้องทำให้ไม้นั้นแห้งทั้งภายนอกและภายในเสียก่อน แล้วนำมาสีไฟ จึงจะทำให้เกิดไฟได้
การทำให้กายหลีกออกจากกาม และทำให้ไม่มีความพอใจในกาม ละได้ด้วยดี สงบระงับด้วยดีภายในนั้น อาจกระทำได้ด้วยวิธีการดังนี้ คือ
๑) การกระทำกายให้หลีกออกจากกาม อาจกระทำได้โดยอาศัยศิล ได้แก่ การบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ บรรพชาเป็นสามเณรหรือเป็นคฤหัสถ์ถือศิลแปด ทำให้กายต้องหลีกออกจากกามโดยอาศัยศิล เป็นต้น
๒) การทำให้ไม่มีความพอใจในกามละได้ด้วยดี สงบระงับด้วยดีภายใน อาจกระทำได้โดยอาศัยสมถกรรมฐาน
สมถกรรมฐาน การได้แก่ปฏิบัติเกี่ยวกับจิต เพื่อให้จิตสงบ ตั้งมั่น ว่องไว เป็นสมาธิบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ตามลำดับ
การปฏิบัติสมถกรรมฐาน อาจกระทำได้ ๔๐ วิธี ดังนี้คือ
ก. การเพ่งกสิณ มี ๑๐ วิธี ได้แก่ การเพ่งกสิณ ดิน น้ำ ไฟ ลม สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว แสงสว่าง และช่องว่าง เป็นอารมณ์
ข. การเพ่งกำหนดซากศพ มี ๑๐ วิธี ได้แก่ การเพ่งซากศพที่พองขึ้น ซากศพที่มีสีเขียว ซากศพที่มีหนองแตกพลั่ก ซากศพที่ถูกตัดเป็นท่อนๆ ซากศพที่ถูกสัตว์กัดกินกระจัดกระจาย ซากศพที่ถูกทิ้งไว้เรียราด ซากศพที่ถูกสับฟันทิ้ง ซากศพที่มีโลหิตไหลออกมา ซากศพที่เต็มไปด้วยหนอน และซากศพที่เหลือแต่กระดูก
ค. การเพ่งกำหนดอนุสสติ มี ๑๐ วิธี ได้แก่ การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า คุณของพระธรรม คุณของพระสงฆ์ คุณของศีล การของการบริจาคทาน คุณของเทวดา ระลึกถึงความตาย ระลึกถึงร่างกายว่าเป็นของไม่สวยงามเป็นปฏิกูล การเพ่งกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก และการระลึกถึงพระนิพพาน
ง. การเพ่งกำหนดพรหมวิหาร มี ๔ วิธี ได้แก่ การเพ่งกำหนดให้สรรพสัตว์ทั้งหลายมีความสุข (เมตตา) การเพ่งกำหนดให้สรรพสัตว์ทั้งหลายพ้นทุกข์ (กรุณา) การเพ่งกำหนดยินดีกับสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เป็นสุข (มุทิตา) และการเพ่งกำหนดเป็นอุเบกขาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย (อุเบกขา)
จ. การเพ่งพิจรณาอาหารว่าเป้นสิ่งไม่งาม เป็นปฏิกูล มี ๑ วิธี
ช. การเพ่งกำหนดสิ่งที่เป็นอรูป (ไม่ใช่รูป) มี ๔ วิธี ได้แก่ การเพ่งกำหนดความว่างไม่มีที่สุด (อากาสานัญจายตนะ) การเพ่งกำหนดวิญญาณไม่มีที่สุด ( วิญญาณัญจายตนะ) การเพ่งกำหนดไม่มีสิ่งใดแม้แต่น้อยนิด (อากิญจัญญายตนะ) และการเพ่งกำหนดมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (เนวสัญญานาสัญญายตนะ)
ผลของสมาธิขั้นต้นและขั้นกลาง ทำให้จิตเกิดปราโมทย์ (สบายอกสบายใจ) ปีติ (ซ่านไปในกายใจ ชุ่มชื่น อิ่มอกอิ่มใจ) สุข (ความสุขกายและใจ) และความตั้งใจมั่นเกิดขึ้น สามารถทำให้จิตเป็นสมาธิได้ชั่วขณะ หรือเป็นสมาธิได้อย่างต่อเนื่องเป็นชั่วโมง หรือหลายชั่วโมงก็ได้ แล้วแต่กรณี
ผลของสมาธิลึก คือ ทำให้จิตเป็นอัปปนาสมาธิ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ฌาน" สามารถทำจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างต่อเนื่องเป็นวันหรือหลายวันก็ได้
จิตที่เป็นสมาธินั้น ทำให้จิตปราศจากนิวรณ์ ๕ ประการ และทำให้ไม่มีความพอใจในกาม ละได้ด้วยดี สงบระงับด้วยดีภายใน แม้ว่าจะเป็นการละ เป้นการระงับได้ชั่วคราวในระหว่างจิตเป็นสมาธิก็ยังดี เพื่อเป็นการเตรียมการไว้สำหรับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต่อไป
นิวรณ์ ๕ ได้แก่ กามฉันทะ (ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) พยาบาท (ความพยาบาทจองเวร) ถีนมิทธะ (ความง่วงเหงาหาวนอน) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) และอุทธัจกุกกุจะ (ความฟุ้งซ่าน)
แล้วจะนำสุภสุตร มาเสนอในตอนต่อไป ข้อความทั้งหมด นำมาจากหนังสือธรรมจักษุ เจ้าของบทความใช้นามปากกาว่า " ปัญญานันโท " |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
17 ส.ค. 2008, 4:01 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
สวัสดีค่ะคุณตรงประเด็น
อ่านทีแรกร้องโอ้โหเลย .... ถ้าเป็นเมื่อก่อนดิฉันเจอแบบนี้ก้จะร้องว่า "จะอะไรขนาดนั้น ก็ข้อความตอนท้ายเขาก็เขียนไว้แล้วว่า ยังมีต่อ แสดงว่ามันยังไม่ได้สิ้นสุดแค่นี้" เอ้า.... ไม่ว่ากัน ไม่ว่ากัน อดีตมันผ่านไปแล้ว ... เอาเป็นว่า ข้อความที่คุณตรงประเด็นกล่าวพาดพิงไปถึงเจ้าของบทความ "ดิฉันขอน้อมรับความผิดไว้ทั้งหมดที่คุณกล่าวมาแต่เพียงผู้เดียวค่ะ" ดิฉันได้แต่ร้องในใจคนเดียวว่า ดิฉันได้ทำให้ผู้อื่นสร้างอกุศลกรรมโดยไม่ได้เจตนาแล้วสิหนอ ดิฉันขออโหสิกรรมต่อคุณตรงประเด็นมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ |
คุณ.... walaiporn ครับ
แสดงว่า ท่านเจ้าของบทความตัวจริง ท่านไม่ได้ตั้งชื่อหัวข้อบทความว่า"หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จากพระสูตร"หรือ???
ถ้าท่าน เจ้าของบทความ ท่านไม่ได้ตั้งชื่อหัวข้อบทความไว้เช่นนั้น...
ผม ก็ขอกราบอโหสิท่านด้วยครับ...
เพราะผมเข้าใจผิดว่า ท่านเจ้าของบทความเป็นคนตั้งชื่อหัวข้อบทความที่น่ากังวลแบบนี้
ถ้าเช่นนั้น คุณตั้งชื่อกระทู้เองใช่ไหมครับ???
ที่ขึ้นต้นกระทู้ว่า "หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จากพระสูตร"
แล้วคุณไปนำมหาสติปัฏฐานสูตรมาลง???
ซึ่ง ก็สื่อถึงว่า คุณให้ความหมายของคำว่า "วิปัสสนากรรมฐาน" เท่ากัน ทุกประการกับ "การเจริญสติปัฏฐาน๔".....
ซึ่ง ผมก็จำเป็นต้องทักท้วง
เพราะผมไม่เห็นด้วยกับการตัด"สมถะที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้" ออกจาก "การเจริญสติปัฏฐาน๔"...ซึ่ง สติปัฏฐานนั้น มีทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา อยู่ในตัว
ถ้าคุณขึ้นต้นกระทู้ว่า
"หลักการปฏิบัติ สมถะ-วิปัสสนา จากพระสูตร"(ไม่ตัดสมถะออก)
หรือ "คำอธิบายมหาสติปัฏฐานสูตร"
หรือ ๆลๆ
จะเหมาะสมกว่าไหมครับ??? |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
17 ส.ค. 2008, 4:21 pm |
  |
walaiporn พิมพ์ว่า: |
สมถกรรมฐาน การได้แก่ปฏิบัติเกี่ยวกับจิต เพื่อให้จิตสงบ ตั้งมั่น ว่องไว เป็นสมาธิบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ตามลำดับ
การปฏิบัติสมถกรรมฐาน อาจกระทำได้ ๔๐ วิธี ดังนี้คือ ๆลๆ
|
สมถกรรมฐาน๔0วิธี.... นี้เป็นสิ่งที่ อาจารย์รุ่นหลังพุทธกาลประมวลขึ้นมาครับ
ถ้าเป็น คำสอนภาวนาที่เป็นพุทธพจน์ในระดับพระสูตร เช่น มหาสติปัฏฐาน นั้น... มีพร้อมอยู่ในตัว ทั้งส่วนที่เป็น สมถะ และ วิปัสสนา อยู่แล้ว
จึง ไม่มีความจำเป็นใดๆเลย ที่จะต้องไปศึกษา สมถะกรรมฐาน๔0วิธี
ผมเสนอว่า ....สู้ดี ปฏิบัติตามหลักการแห่งมหาสติปัฏฐานไปเลยดีกว่า ....เพราะ มีส่วนแห่ง สมถะ อยู่ในนั้นแล้ว
จริตนิสัยท่านใด หรือ สถานการณ์ใด ถูกเหมาะสมกับ สติปัฏฐานหมวดใด ก็เลือกตามเหมาะสมได้
แต่ ส่วนอื่นของบทความ ผมเห็นด้วย
และ ท่านเจ้าของบทความใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย |
|
|
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
17 ส.ค. 2008, 4:29 pm |
  |
ตรงประเด็น พิมพ์ว่า: |
อ้างอิงจาก: |
สวัสดีค่ะคุณตรงประเด็น
อ่านทีแรกร้องโอ้โหเลย .... ถ้าเป็นเมื่อก่อนดิฉันเจอแบบนี้ก้จะร้องว่า "จะอะไรขนาดนั้น ก็ข้อความตอนท้ายเขาก็เขียนไว้แล้วว่า ยังมีต่อ แสดงว่ามันยังไม่ได้สิ้นสุดแค่นี้" เอ้า.... ไม่ว่ากัน ไม่ว่ากัน อดีตมันผ่านไปแล้ว ... เอาเป็นว่า ข้อความที่คุณตรงประเด็นกล่าวพาดพิงไปถึงเจ้าของบทความ "ดิฉันขอน้อมรับความผิดไว้ทั้งหมดที่คุณกล่าวมาแต่เพียงผู้เดียวค่ะ" ดิฉันได้แต่ร้องในใจคนเดียวว่า ดิฉันได้ทำให้ผู้อื่นสร้างอกุศลกรรมโดยไม่ได้เจตนาแล้วสิหนอ ดิฉันขออโหสิกรรมต่อคุณตรงประเด็นมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ |
คุณ.... walaiporn ครับ
แสดงว่า ท่านเจ้าของบทความตัวจริง ท่านไม่ได้ตั้งชื่อหัวข้อบทความว่า"หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จากพระสูตร"หรือ???
ถ้าท่าน เจ้าของบทความ ท่านไม่ได้ตั้งชื่อหัวข้อบทความไว้เช่นนั้น...
ผม ก็ขอกราบอโหสิท่านด้วยครับ...
เพราะผมเข้าใจผิดว่า ท่านเจ้าของบทความเป็นคนตั้งชื่อหัวข้อบทความที่น่ากังวลแบบนี้
ถ้าเช่นนั้น คุณตั้งชื่อกระทู้เองใช่ไหมครับ???
ที่ขึ้นต้นกระทู้ว่า "หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จากพระสูตร"
แล้วคุณไปนำมหาสติปัฏฐานสูตรมาลง???
ซึ่ง ก็สื่อถึงว่า คุณให้ความหมายของคำว่า "วิปัสสนากรรมฐาน" เท่ากัน ทุกประการกับ "การเจริญสติปัฏฐาน๔".....
ซึ่ง ผมก็จำเป็นต้องทักท้วง
เพราะผมไม่เห็นด้วยกับการตัด"สมถะที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้" ออกจาก "การเจริญสติปัฏฐาน๔"...ซึ่ง สติปัฏฐานนั้น มีทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา อยู่ในตัว
ถ้าคุณขึ้นต้นกระทู้ว่า
"หลักการปฏิบัติ สมถะ-วิปัสสนา จากพระสูตร"(ไม่ตัดสมถะออก)
หรือ "คำอธิบายมหาสติปัฏฐานสูตร"
หรือ ๆลๆ
จะเหมาะสมกว่าไหมครับ??? |
-- เปล่าค่ะ ดิฉันไม่ได้ตั้งหัวข้อเองค่ะ ในหนังสือเขาเขียนไว้ว่า " หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจากพระสูตร " ดิฉันเป็นผู้มีความรู้น้อยด้านปริยัติค่ะ ไม่อาจหาญที่จะมาเขียนแบบนี้หรอกค่ะ พูดผิดพูดถูก กลายเป็นสร้างกรรมใหม่ให้เกิด ไม่คิดจะทำหรอกค่ะ
-- ไม่เป็นไรค่ะ ถ้าคุณตรงประเด็น ไม่สบายใจในเรื่องภาษาสมมติบัญญัติ เอาเป็นว่า ดิฉันขอจบเรื่องที่จะพิมพ์ต่อค่ะ เพราะอาจจะทำให้คุณตรงประเด็นต้องสร้างอกุศลกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นโดยไม่ได้เจตนาหรือเจตนาก็แล้วแต่ เพราะคุณจะคอยเพ่งโทษเจ้าของบทความในด้านตัวหนังสือตลอดเวลา ทั้งๆที่ส่วนดีของบทความนี้มีค่ามากๆ เพราะท่านเจ้าของบทความท่านจะไล่ไปทีละขั้น จากพื้นฐานจนถึงมหาสติปัฏฐานสูตร
-- จะให้ดิฉันไปเปลี่ยนบทความของผู้อื่น ทำไม่ได้จริงๆค่ะ
-- เป็นอันว่าดิฉันขอปิดกระทู้นี้ค่ะ ทั้งๆที่เสียดาย แต่ทุกอย่างมันไม่เที่ยง ยอมจบที่ตัวเอง ดีกว่าสนับสนุนให้ผู้อื่นสร้างอกุศลกรรมค่ะ
-- เคารพในความคิดเห็นของคุณตรงประเด็นทุกกรณี เราไม่มีวิบากต่อกันค่ะ
เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปค่ะ  |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
17 ส.ค. 2008, 4:49 pm |
  |
คุณ.... walaiporn ครับ
ยังจำได้ไหมครับ
กระทู้ก่อน ผมก็เคยทักท้วงคุณ... เรื่องที่ ท่าน เจ้าของบทความ(ที่คุณนำมาลง) ใช้คำกล่าว ที่สื่อถึงการเจริญสติปัฏฐาน๔ มาแทนที่ คำบรรยายการเจริญวิปัสสนาในพระสูตรดั้งเดิม
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16933&start=0
อ้างอิงจาก: |
พระสูตรดั้งเดิม กล่าวถึงคำว่า วิปัสสนา หมายเอาการพิจารณาขันธ์๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) อายตนะ(จักษุ...) ปฏิจจสมุปบาท(ชรา มรณะ) ในสภาพแห่งไตรลักษณ์
พระสูตรดั้งเดิม ไม่ได้ใช้คำว่า เจริญสติปัฏฐานสี่ ครับ
ผมเสนอว่า พระสูตรกล่าวเอาไว้เช่นใด ก็ควรกล่าวตามเช่นนั้น |
กระทู้นี้ ผมก็ท้วงในลักษณะเดียวกัน
เจตนา เพื่อให้คงความสมบูรณ์ของหลักธรรมดั้งเดิมให้มากที่สุด
เป็นเรื่องของ การพยายามช่วยกันรักษาหลักวิชาการดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา
ถ้าการกระทำของผมนี้ ยังให้ท่านผู้ใดขุ่นข้องหมองใจ ก็ขออโหสิกรรมด้วยครับ
แต่ ผมจะยังคงทักท้วงอีกต่อไป ถ้าจำเป็น |
|
|
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
17 ส.ค. 2008, 5:07 pm |
  |
-- ไม่เคืองหรอกค่ะ ถึงได้บอกไปว่า เราทั้งสองคนไม่มีวิบากต่อกันไงคะ
-- งั้นขอถามคุณตรงประเด็นค่ะ ระหว่างพิจรณา กาย เวทนา จิต ธรรม กับพิจรณาขันธ์ ๕ แตกต่างกันตรงไหนหรือคะ ขอถามทีละข้อค่ะ ขอข้อความแบบกระชับค่ะ |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
17 ส.ค. 2008, 5:25 pm |
  |
walaiporn พิมพ์ว่า: |
-- ไม่เคืองหรอกค่ะ ถึงได้บอกไปว่า เราทั้งสองคนไม่มีวิบากต่อกันไงคะ
-- งั้นขอถามคุณตรงประเด็นค่ะ ระหว่างพิจรณา กาย เวทนา จิต ธรรม กับพิจรณาขันธ์ ๕ แตกต่างกันตรงไหนหรือคะ ขอถามทีละข้อค่ะ ขอข้อความแบบกระชับค่ะ |
อย่าเพิ่ง ออกไปทางนั้นเลยครับ
เอาตรงที่ว่า
ทำไมคุณถึงชอบไปเอา บทความที่เหมือนจะพยายาม กล่าวให้ การเจริญวิปัสสนา เท่ากันทุกปนะการกับ การเจริญสติปัฏฐาน๔ มาลงดีกว่า....
จะ ยกวิปัสสนา เหยียดสมถะ กันไปถึงไหน ก็ไม่ทราบ
ทั้งๆที่ สมถะ ก็เป็นองค์ประกอบของอริยมรรคแท้ๆ
เหมือนคุณจะเชื่อ แนวทางปัญญาวิมุติอรหันต์ของทางพม่ามากๆ(พระอรหันต์ที่ไม่เคยผ่านโลกุตรฌาน) |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
17 ส.ค. 2008, 5:42 pm |
  |
เห็น คุณ walaiporn ชอบกล่าวบ่อยๆ ในทำนองว่า การที่ผมทักท้วงเชิงวิชาการต่อคุณ นั้นเป็นอกุศลจิต...
หรือว่า ผมต้องไม่ทักท้วงคุณ ปล่อยให้คุณนำบทความที่อาจจะทำให้พระธรรมดั้งเดิมคลาดเคลื่อน มาลงเรื่อยๆ.... จึงจะเป็นกุศลหรือ???
คุณครับ...
ที่เป็นอกุศลแน่ๆ ก็ตรงที่คุณไปกล่าวพาดพิงเว็บมาสเตอร์ เอาไว้อย่างนี้
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16413&postdays=0&postorder=asc&start=40
อ้างอิงจาก: |
คงจะไม่นำข้อความมาโพสใหม่แล้ว ( คำตอบ ) เพราะคิดว่าครั้งที่ผ่านมาเขายังระงับไป
ครั้งนี้ถ้านำมาโพสอีกก็คงต้องถูกระงับอีก
จริงๆแล้วแนวทางเรื่องการปฏิบัติ ไม่น่าจะแบ่งแยกกันไม่ว่าจะเป็นของพม่าหรือไทย เพราะท่านทั้งหลายที่นำแนวทางการปฏิบัติมาถ่ายทอดก็ล้วนแต่เป็นแนวทางที่ปฏิบัติแล้วได้ผลของแต่ละท่าน |
คุณเข้าใจว่า เว็บมาสเตอร์เขาระงับความเห็นของคุณ
ผมเตือนคุณ ด้วยความเห็นนี้
อ้างอิงจาก: |
วันนั้น ไม่ใช่เฉพาะความเห็นของคุณคนเดียวน่ะครับ ที่หายไป...ความเห็นคนอื่นที่โพสในช่วงเวลานั้น ก็หายเหมือนกัน
วันนั้น พอจะทราบมาว่า ทางเว็บเขาปรับปรุงserverครับ
ที่คุณกล่าวจึงอาจเป็นอย่างที่คุณเข้าใจ หรือ ไม่ใช่อย่างที่คุณเข้าใจก็ได้ |
แทนที่คุณจะขอโทษทางเว็บมาสเตอร์ ที่คุณไปกล่าวเช่นนั้นไว้
คุณกลับเลี่ยงไปแบบนี้
อ้างอิงจาก: |
ค่ะ ขอบคุณที่บอก ไม่ได้คิดติติงเว็บหรือติดใจเพ่งโทษแต่อย่างใด |
ผมยังไม่เห็นคำขอโทษจากคุณ ต่อทางเว็บมาสเตอร์แม้นแต่คำเดียวในกระทู้นั้น
ปฏิบัติธรรมแล้วทำไม ถึงเป็นแบบนี้???
ทิฏฐิมานะ ทำไมมันท่วมใจถึงขนาดนั้น...มีแต่ความคิด จะรักษาอัตตาแห่งความเชื่อของตน
ไม่ต้องไปเสวนาธรรมอะไร ให้มันชั้นสูงหรอกครับ... ถ้าไม่รู้จักขอโทษ แต่ใช้วิธีหลบข้างๆคูๆแบบนี้.... เสวนาธรรม มันจะไปมีประโยชน์อะไร |
|
|
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
17 ส.ค. 2008, 7:33 pm |
  |
เห็น คุณ walaiporn ชอบกล่าวบ่อยๆ ในทำนองว่า การที่ผมทักท้วงเชิงวิชาการต่อคุณ นั้นเป็นอกุศลจิต...
-- นี่ก็ตีความผิดอีก ดิฉันหมายถึงครูบาฯ ท่านเจ้าของบทความน่ะ ดิฉันน่ะไม่เคยคิดถึงตัวเองเล๊ย บอกตามตรง แล้วก็วิชากงวิชาการน่ะ ดิฉันก็บอกอยู่แล้วว่า เป็นคนที่ไม่รู้อะไรเลย ก็พยายามหาข้อมูลที่จะฝึกปัญญาของตัวเอง คิดแค่นั้น เห็นว่าพอคุยกันได้ก็คุยเท่านั้นเอง แต่มันไม่เที่ยงเนอะ เจ้าความคิดนี่ ทั้งการกระทำด้วย เวลาไม่พอใจล่ะออกมาเป็นชุดเลย ตกใจเลยทีแรก เพราะมันพลิกล็อก
หรือว่า ผมต้องไม่ทักท้วงคุณ ปล่อยให้คุณนำบทความที่อาจจะทำให้พระธรรมดั้งเดิมคลาดเคลื่อน มาลงเรื่อยๆ.... จึงจะเป็นกุศลหรือ???
-- นี่ก็เป็นเพียงความคิดของคุณเองทั้งนั้น คิดเอง เออเอง
-- ธรรมะ มีการแบ่งชั้นต่ำ ชั้นสูงอีกหรือ อ้อ ... ลืมไป รู้นั้นแตกต่างกันไป เลยเกิดการแบ่งชั้น แบ่งระดับกัน
-- แล้วก็เรื่องที่คุณนำมากล่าวว่า คำพูดนี้ดิฉันหมายถึงเว็บมาสเตอร์
" จริงๆแล้วแนวทางเรื่องการปฏิบัติ ไม่น่าจะแบ่งแยกกันไม่ว่าจะเป็นของพม่าหรือไทย เพราะท่านทั้งหลายที่นำแนวทางการปฏิบัติมาถ่ายทอดก็ล้วนแต่เป็นแนวทางที่ปฏิบัติแล้วได้ผลของแต่ละท่าน "
-- เวลาอ่าน กรุณาอ่านให้ดีๆ ว่าดิฉันไม่ได้เจาะจงหมายถึงผู้ใดทั้งสิ้น กล่าวรวมๆก็เห็นอยู่ ส่วนเรื่องเว็บมาสเตอร์ ก็บอกอยู่แล้ว ไม่ได้คิดเพ่งโทษ ถ้าคิดเพ่งโทษจริงๆต้องโพสถามแล้วว่า ดิฉันผิดอะไร ข้อความถึงโพสไม่ได้ ดิฉันเพียงแค่คิดง่ายๆแบบคนไม่คิดมาก คิดแค่ว่าอาจจะมีอะไรเท่านั้นเอง ซึ่งคุณก็บอกมาว่าอาจจะใช่หรือไม่ใช่ที่ดิฉันคิด อ้าว .. ไหงมาอีกที กลับกลายเป็นแบบนี้ไปได้ ไม่เป็นไร ดิฉันไม่ชอบทำให้ใครขุ่นเคืองใจ ตัวหนังสือตัวโตๆก็ทำไม่เป็น
" ขออโหสิกรรมค่ะ ที่กล่าวพาดพิงถึงเว็บมาสเตอร์ในวันนั้น " ซึ่งคุณตรงประเด็นมองว่า ดิฉันเพ่งโทษ เว็บมาสเตอร์ ขอโทษจากใจจริงๆค่ะ
" ทิฏฐิมานะ ทำไมมันท่วมใจถึงขนาดนั้น...มีแต่ความคิด จะรักษาอัตตาแห่งความเชื่อของตน "
-- อย่างนั้นเลยหรือ เอ้า .. ไม่เป็นไรค่ะ พูดแล้วทำให้คุณรู้สึกสบายใจขึ้น ยินดีรับฟังค่ะ ถ้าจะถามต่อว่า ที่บอกว่ารักษาความเชื่อแห่งตนนั้นคืออะไร ดิฉันเชื่อมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วมันผิดตรงไหนหรือ แล้วก็ไม่เคยชักชวนใครด้วยว่า ต้องเชื่อฉันนะ แบบฉันนี่ถูก คนอื่นน่ะผิดหมด ไม่เคยคิดเลยสักนิดเดียว บางทีคนอื่นที่ว่ากล่าวผู้อื่นมากๆ อารมณ์พาไป เลยลืมมองตนเองว่ายึดหรือไม่ยึด เอ้า .. ถ้าพูดตรงๆแล้วเกิดขุ่นเคืองใจ ขออโหสิกรรมค่ะ
" ไม่ต้องไปเสวนาธรรมอะไร ให้มันชั้นสูงหรอกครับ... ถ้าไม่รู้จักขอโทษ แต่ใช้วิธีหลบข้างๆคูๆแบบนี้.... เสวนาธรรม มันจะไปมีประโยชน์อะไร "
นี่นะธรรมที่ถูกแบ่งว่าชั้นสูง
" งั้นขอถามคุณตรงประเด็นค่ะ ระหว่างพิจรณา กาย เวทนา จิต ธรรม กับพิจรณาขันธ์ ๕ แตกต่างกันตรงไหนหรือคะ ขอถามทีละข้อค่ะ ขอข้อความแบบกระชับค่ะ "
-- อ้อ ... ธรรมะมีการแบ่งชั้นกันอีก สักดินาเนอะเจ้าสมมติบัญญัตินี่ ทั้งๆที่ธรรมนั้นไม่มีอะไร เพราะคนเราไปยึดมั่นถือมั่นในสมติบัญญัติเลยบอกว่ามี ซึ่งทุกอย่างก็บอกอยู่แล้วว่ามันไม่เที่ยง ไม่ว่าจะพิจรณาอะไร มันก็มีแต่ความไม่เที่ยง เพียงแต่ว่าใครจะเห็นหรือไม่เห็นเท่านั้นเอง ไม่สนทนาด้วยก็ไม่เป็นไรค่ะ ไม่คิดจะบังคับใจใครค่ะ ด้วยความยินดีค่ะ
-- ได้แต่บอกว่า " เวรกรรมจริงๆ " ( ขอบ่นกับตัวเอง )
" จะ ยกวิปัสสนา เหยียดสมถะ กันไปถึงไหน ก็ไม่ทราบ
ทั้งๆที่ สมถะ ก็เป็นองค์ประกอบของอริยมรรคแท้ๆ "
-- แล้วแต่คุณจะคิดก็แล้วก็แล้วกัน เพราะจริงๆแล้วมันก็เป็นเพียงความคิดของคุณ จะถูกหรือผิด ไม่คิดจะคาดเดา ให้การกระทำจัดสรรเอง (ตามความเป็นจริงมันต้องเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว) เพราะตัวดิฉันเอง ถ้าเป็นอย่างที่คุณกล่าวหา ป่านนี้คงชักชวนคนให้เดินหลงทางเพียบเลย เมื่อไม่ใช่มันจึงไม่ใช่ อ่านข้อความที่ดิฉันตอบมาทั้งหมด มีไหม ที่ไปดันทุกรังว่าให้ทำวิปัสสนาอย่างเดียว ซึ่งก็เคยบอกไปแล้วว่า สมถะมันคู่กับวิปัสสนาอยู่แล้ว เพียงแค่สมมติบัญญัติภาษาเท่านั้นแหละ ที่ดิฉันใช้ไม่ตรงกับคุณ พิจรณา กับการเจริญสติ ดิฉันก็บอกอยู่แล้วว่ามันคนละตัวกัน ระหว่างพิจรณาสติปัฏฐาน ๔ กับการเจริญสติปัฏฐาน ๔ มันแตกต่างกันอย่างเห็นชัดๆ ระหว่างพิจรณาถึงความไม่เที่ยงในกาย เวทนา จิต ธรรม กับ การฝึกเจริญสติในกาย เวทนา จิต ธรรม คุณลองไปหาอ่านดู เรื่อง " วิปัลลาสกถา " ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ไม่รู้ว่าคุณจะหาอ่านได้หรือเปล่า เพราะเป็นหนังสือตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๔๖๙ ท่านบันทึกรายละเอียดไว้หมด
-- แล้วก็เรื่องพม่าน่ะ พอได้แล้ว หรืออยากจะพูดอีกก็ตามใจ ก็ได้อธิบายไปแล้ว ว่าเขาใช้สมมติบัญญัติ เขาสื่อแบบไหน ว่าสมาธิระดับไหนที่เขาใช้เรียกสมถะ อันนั้นมันก็ของบ้านเขา เพราะแบบนี้ถึงได้เกิดความแตกแยก เอะอะอะไรก็จะให้เอาตัวเองเป็นต้นแบบ
-- อีกอย่างหนึ่งดิฉันพูดอยู่ประจำบ่อยๆว่า การปฏิบัติไม่ว่าจะแบบไหน มันไม่มีความแตกต่างกันหรอก มันขึ้นอยู่กับวิบากกรรมของแต่ละคน และกุศลที่แต่ละคนสร้างสั่งสมมาไม่เท่ากัน ถ้ารู้แล้วคงไม่ยึด ไม่มาแบ่งว่าต้องอย่างโน้นอย่างนี้กันหรอก ส่วนเรื่องปริยัติก็เคยบอกไปแล้วว่า ภาษาสมมติบัญญัติอยู่ที่คนตีความผิด รู้แค่ไหนก็ตีความได้แค่นั้น จะให้ตีความไปมากกว่าที่ตัวเองรู้ไม่ได้หรอก
-- จากข้อความทั้งหมดที่คุณได้กล่าวมา ดิฉันไม่ได้มองแค่ตรงนี้ มองไปโน่น ต้นเหตุ โทษตัวเอง ไม่ได้โทษใคร คิดว่าเราไม่เคยมีวิบากกันแล้วน่า เอ้า ... ก็แค่ความคิด ที่คิดผิดพลาดกันไป
-- ถ้าอ่าน ข้อความใดๆแล้วอาจจะทำให้ขุ่นเคืองใจ ขออโหสิกรรมค่ะ  |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
17 ส.ค. 2008, 9:28 pm |
  |
กระทู้2กระทู้ คือ กระทู้นี้ กับ กระทู้ก่อน
ที่ผมค้านนั้น
เพราะมี การกล่าวอ้างถึงพระสูตร
แต่ มีการเปลี่ยนคำที่ใช้ในการบรรยายผิดไปจากพระสูตรดั้งเดิม
กระทู้ก่อน(ตรงเจริญวิปัสสนามัสมถะเป็นเบื้องหน้า) ในพระสูตรกล่าวคำว่า วิปัสสนา...บทความ เปลี่ยนไปใช้ คำที่แสดงถึงการเจริญสติปัฏฐานแทน
กระทู้นี้ พระสูตรที่ยกมาอ้าง คือ มหาสติปัฏฐานสูตร แท้ๆ .... บทความ เปลี่ยนไปใช้คำว่า วิปัสสนากรรมฐาน
อยากเรียนถามว่า มีสิทธิ์อะไรไปเปลี่ยนคำอย่างนั้น
นั้นละ บาปหนักเลย
การกล่าวผิดออกไปจากหลักธรรม นั้นเสียหายต่อเฉพาะตัวผู้กล่าว
แต่ การกล่าวให้หลักธรรมผิดเพี้ยน มันเสียหายต่อส่วนรวม เพราะอาจมีผู้เข้าใจผิดต่อหลักธรรมในวงกว้าง
ผมคงยุติ ในกระทู้นี้ แต่เพียงเท่านี้
ไม่มีเวลามากนัก
แต่ ถ้าเห็นในลักษณะนี้อีก ก็จะเข้ามาท้วงอีก |
|
|
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
17 ส.ค. 2008, 10:05 pm |
  |
ตรงประเด็น พิมพ์ว่า: |
กระทู้2กระทู้ คือ กระทู้นี้ กับ กระทู้ก่อน
ที่ผมค้านนั้น
เพราะมี การกล่าวอ้างถึงพระสูตร
แต่ มีการเปลี่ยนคำที่ใช้ในการบรรยายผิดไปจากพระสูตรดั้งเดิม
กระทู้ก่อน(ตรงเจริญวิปัสสนามัสมถะเป็นเบื้องหน้า) ในพระสูตรกล่าวคำว่า วิปัสสนา...บทความ เปลี่ยนไปใช้ คำที่แสดงถึงการเจริญสติปัฏฐานแทน
กระทู้นี้ พระสูตรที่ยกมาอ้าง คือ มหาสติปัฏฐานสูตร แท้ๆ .... บทความ เปลี่ยนไปใช้คำว่า วิปัสสนากรรมฐาน
อยากเรียนถามว่า มีสิทธิ์อะไรไปเปลี่ยนคำอย่างนั้น
นั้นละ บาปหนักเลย
การกล่าวผิดออกไปจากหลักธรรม นั้นเสียหายต่อเฉพาะตัวผู้กล่าว
แต่ การกล่าวให้หลักธรรมผิดเพี้ยน มันเสียหายต่อส่วนรวม เพราะอาจมีผู้เข้าใจผิดต่อหลักธรรมในวงกว้าง
ผมคงยุติ ในกระทู้นี้ แต่เพียงเท่านี้
ไม่มีเวลามากนัก
แต่ ถ้าเห็นในลักษณะนี้อีก ก็จะเข้ามาท้วงอีก |
-- หากคุณตรงประเด็นอยากทราบว่า ท่านปัญญานันโท ใช้สิทธิ์อะไร ในการเขียนบทความลักษณะนี้ คุณคงต้องโทรฯไปที่มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมป์เองแล้วแหละค่ะ
-- อ้อ ... สำหรับดิฉันเองก็ทำแบบชาวบ้านน่ะค่ะ ตบมือข้างเดียวมันไม่ดัง ก็ขอหยุดตตบมือแล้วล่ะค่ะ ถ้าคุณจะตบต่อก็ตามสบาย อันนี้ก็แล้วแต่คุณ ดิฉันขอจบเพียงข้อความท้ายสุดนี้ ส่วนคุณจะทำอะไรต่อก็เรื่องของคุณ แล้วก็ไม่ต้องมาข่มขู่
" แต่ ถ้าเห็นในลักษณะนี้อีก ก็จะเข้ามาท้วงอีก[/quote] "
-- ดิฉันน่ะไม่มีความรู้ด้านปริยัติที่จะนำมาถกกับคุณหรอกค่ะ คารมคมหอกก็ไม่ค่อยจะมีกับใครเขา เอาเป็นว่าไม่คิดต่อสู้หรอกค่ะ
บ๊ายยยย บายยยย ค่ะ เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปค่ะ  |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
|