ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
15 ส.ค. 2008, 9:16 pm |
  |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า: |
จากหน้า 4 หนังสือพระพุทธศาสนามหายาน ของรองศาสตราจารย์ ดร.ประยงค์ แสนบุราณ
อธิบายหลักมหากรุณาในนิกายมหายานว่า:
" พระโพธิสัตว์อาจจะทำลายชีวิตสัตว์อื่นด้วยความกรุณาเสียก็ได้ เช่น พระโพธิสัตว์เห็นคนบางคนทำ
ความชั่ว ถึงจะสั่งสอนตักเตือนอย่างไร คนชั่วนั้นก็ไม่เชื่อฟัง ไม่กลับตัวกลับใจ ยังทำความชั่วเรื่อยไป
พระโพธิสัตว์คิดว่า ถ้าขืนปล่อยให้เขาทำกรรมชั่วหนักขึ้นๆ จนไม่อาจจะพบทางสว่างได้ พระโพธิสัตว์
จึงตั้งมหากรุณาจิตปลงชีวิตสัตว์เสียก็ได้ " |
ที่คุณพลศักดิ์ยกความเห็นทางฝ่ายมหายานมา
ผมว่าคุยยังไงก็ไม่จบครับ เพราะ มหายาน กับ เถรวาท มีส่วนที่ไม่เห็นพ้องกันอยู่
ถ้าคุณพลศักดิ์ นับถือทางนิกายมหายาน ผมก็ขอบายครับ ตอบไปก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร
ความหมายของพระโพธิสัตว์ฝ่ายเถรวาท คือผู้ที่ประพฤติตนเพื่อที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต (ซึ่งแน่นอนว่ายังไม่ได้บรรลุถึงที่สุดแห่งธรรม แต่ในอนาคตจะได้) ซึ่งจะได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ(ประมาณนี้นะครับ ผมไม่แน่ใจเท่าไร รอผู้รู้มาตอบ)
ถ้าคุณจะให้ผมเห็นด้วยกับเรื่องนี้ ผมก็ขออนุญาตไม่เห็นด้วยนะครับ เพราะผมเชื่อทางเถรวาท (เชื่อด้วยเหตุและผลนะครับ) ทางมหายานผมไม่ขอกล่าวอะไรมาก เรื่องของความเชื่อห้ามกันไม่ได้ |
|
|
|
    |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
15 ส.ค. 2008, 9:19 pm |
  |
ยุติธรรม พิมพ์ว่า: |
ดิฉันไม่ค่อยจะเห็นด้วยกับข้อสรุปของเจ้าของกระทู้ที่ว่า การฆ่าคนไม่ว่าด้วยเจตนาใดล้วนเป็นบาปเสมอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสเช่นนั้นนะคะ
พระองค์ตรัสว่า เจตนาคือกรรม แล้วแบ่งเจตนาออกเป็น 3 ชนิด อย่างที่เจ้าของกระทู้ได้เขียนไว้
โดยสรุป
อกุศลจิตเจตนาเป็นบาป
กุศลจิตเจตนาเป็นบุญ
ไม่มีกุศลและอกุศลจิตเจตนาเป็นกิรยาเฉยๆ
ตัวอย่างที่พระผู้มีพระภาคเล่าว่า
" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลก่อนเราเป็นนายทหารราบ ฆ่าบุรุษเป็นอันมากด้วยหอก ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นเราถูกไฟไหม้ อย่างเผ็ดร้อนอยู่ในนรก ด้วยผลอันเหลือแห่งกรรมนั้น บัดนี้ไฟยังมาไหม้ผิวหนังที่เท้าของเราอีก(เท้าอักเสบเพราะโดนสะเก็ดหิน) เพราะว่ากรรมยังไม่พินาศไป"
จะเห็นว่าตัวอย่างนี้ชัดเจนอยู่ในตัวเองว่า เจตนาในการฆ่ามาจากอกุศลจิตจึงเป็นบาป
ดิฉันเห็นด้วยกับคุณพลศักดิ์ อย่างไรก็ดี เรื่องจะบาปหรือบุญต้องดูที่จิตของเขาว่าเป็นกุศล อกุศล
หรือเป็นกิริยาเฉยๆ จะหรอกใครหรอกได้ หรอกมโนธรรมในใจตัวเองไม่ได้นะคะ |
การฆ่าล้วนส่งผลมาจากอกุศลจิต (อาจจะ โลภ โกรธ หลง ก็ได้) โดยเฉพาะ หลง ครับ หลงว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกต้อง หลงว่าที่ทำนั้นยุติธรรม หลงอื่นๆอีกมากมาย การฆ่าโดยเมตตาจิต กับ การวางอุเบกขา อันไหนทำให้กรรมสิ้นสุดลงได้ครับ
โปรดพิจารณาครับ |
|
|
|
    |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
15 ส.ค. 2008, 9:23 pm |
  |
walaiporn พิมพ์ว่า: |
เอ ... อ่านแล้วก็งงๆ แล้ว ศิล ๕ ศิลข้อที่ ๑ มีไว้ทำอะไรหรือคะ
-- บางทีการฆ่า เกิดเนื่องจากการป้องกันตัว เช่นในกรณีที่มีโจรขึ้นบ้าน เจ้าของบ้านยิงขโมยตาย เพราะเขาป้องกันตัวเอง ถ้าถามว่าบาปไหม ..
-- ถ้าตอบตามหลักของคำที่ขึ้นชื่อว่า " ฆ่า " ขอตอบว่า " บาป "
-- เหมือนอย่างเรากำลังเดิน เราเดินเหยียบมดตาย หรือเรากำลังนั่งดูทีวีอยู่ รู้สึกคันๆแขน เอามือไปลูบ ปรากฏว่ากลายเป็นว่าลูบไปโดนยุง มันคงหนีไม่ทันตัวเต่งเลย เห็นตอนมันตายติดมือมา ถ้าถามว่า " บาป " ไหม..
-- ถ้าตอบตามหลักของคำที่ขึ้นชื่อว่า " ฆ่า " ขอตอบว่า "บาป "ค่ะ
-- ทั้งสองกรณี ถึงไม่ได้มีเจตนาที่จะฆ่าก็ตาม แต่ถ้าว่าตามหลักของการกระทำคือ ฆ่า ถือว่า บาปค่ะ
-- ส่วนกรรม (การกระทำ) วิบากกรรม (ผลของการกระทำ) อันนี้ผู้ใดกระทำก็รับผลของการกระทำนั้นเอง หาใช่ผู้อื่นไม่
-- เป็นเพียงข้อคิดเห็นค่ะ แล้วแต่ว่าใครจะเห็นอย่างไร ดิฉันเคารพข้อคิดเห็นของทุกคน |
บาป หรือ บุญ ผิดศีล ไม่ผิด ศีลอยู่ที่เจตนา อย่างคุณพลศักดิ์และท่านอื่นๆกล่าวไว้ถูกต้องแล้วครับ กรณีไม่มีเจตนา ยังไงก็ไม่บาป กรณีที่มีเจตนา ไม่ว่ากุศลหรือกุศล ยังไงก็มีส่วนของบาปปนอยู่ด้วยเสมอ
แม่ฆ่ายุงเพื่อปกป้องลูก บุญที่ปกป้องลูก เมตตาลูก แต่ขาดเมตตาต่อยุง ฆ่าสัตว์ก็บาป วิธีที่จะปกป้องลูกโดยไม่ผิดธรรมมีอีกเยอะ แต่เป็นเพราะกุศลจิตที่ขาด ปัญญา ทำให้เลือกที่จะทำผิดธรรม ซึ่งก็สมควรที่จะได้รับส่วนของกรรมด้วย
มากน้อย ขึ้นอยู่กับ สัตว์นั้นคุณมากน้อย เจตนา ความพยายาม และอื่นๆ
ไปนรก สวรรค์ ว่ากันอีกทีตอนจิตดับ
สาธุครับ |
|
|
|
    |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
15 ส.ค. 2008, 9:25 pm |
  |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า: |
คุณฌาณครับ
เรื่องแมลงสาบผมยังไม่จบนะ มีภาคสอง หลังจากนั้นอีกเดือนหนึ่ง ก็มีแมลงสาบ 3 ตัวหนีจาก
ยาฆ่าปลวกมาหลบในห้องน้ำผม ผมก็ให้มันอยู่ไป 1 สัปดาห์ ไม่มีปัญหาอะไร ต่างคนต่างอยู่
วันนึงผมจะลองดูว่า ผมสื่อสารกับแมลงสาบได้จริงไหม ผมเลยกำหนดจิตดูวา แมลงสาบ 3
ตัวนี้เป็นใคร ทำไมมารับกรรมเป็นแมลงสาบแบบนี้
ปรากฏผมรู้เองในจิตว่า พวกมันเป็นทหารนาซี เคยรมแก๊ซชาวยิวตาย จึงต้องเกิดมาใช้กรรม
ต้องโดนยาแก๊ซรมจนตาย แล้วมันใช้กรรมแบบนี้มานับครั้งไม่ถ้วนแล้ว
ผมสงสารพวกมัน เลยเอายาฆ่าแมลงสาบฉีดฆ่าพวกมันให้ตายเลย 2 ตัว ตายคาที่ อีกตัวไม่ตาย
นอนหงายหลัง ดิ้นกระแด่วๆอยู่ ผมเลยใช้กระดาษคลุมดันไว้ แล้วก็กระทืบซ้ำ
หลังจากนั้น ผมก็ไปนั่งกรรมฐานแผ่เมตตา อุทิศกุศลจากกรรมฐานของผมให้พวกมัน รวมทั้ง
แมลงสาบที่เคยตายจากยาฆ่าปลวกในบ้านผม
ตกดึก พอผมเคล้มหลับไป แต่ยังมีสติอยู่ วิญญาณแมลงสาบเหล่านั้นก็มาหาผมเพื่อขอบคุณ
พวกมันรวมตัวกันเป็นแผ่นบางๆ
ผมยังมีเรื่องเล่าอีกเยอะ ที่สำคัญผมลองดูว่า อาการแพ้ทางผิวหนังของผมเกิดจากเหล่าวิญญานหรือเปล่า
ผมก็เลยนั่งกรรมฐานแผ่เมตตา อุทิศกุศลจากกรรมฐานของผมให้บรรดาเจ้ากรรมนายเวรที่ทำให้ผมแพ้ทาง
ผิวหนัง ก็เหมือนเดิม เจ้ากรรมนายเวรเหล่านั้นมาหาผม เป็นวิญญาณปลวกเป็นล้านๆตัว แสดงให้ผม
รู้ว่าอาการแพ้ทางผิวหนังของผมเกิดจากพวกมัน โดยมันคลานเข้าไปในปากของผม ในตอนนั้นผม
ไม่ได้ฝัน มีสติอยู่ตลอดเวลา เพราะผมนอนกรรมฐาน
เรื่องนี้ไม่ใช่คิดไปเอง หลังจากนั้นผมไม่มีอาการแพ้ทางผิวหนังอีกเลยจนกระทั่งถึงตอนนี้ |
ขอโทษนะครับ ผมกลับเห็นว่าคุณพลศักดิ์มีเมตตาก็จริง ช่วยแมลงสาบให้พ้นทุกข์ก็จริง แต่ก็ได้ทำกรรมลงไป ทั้งๆที่แมลงสาบนั้นอาจต้องรับกรรม คุณไปตัดกรรมเขา แล้วทำกรรมใหม่ของคุณลงไป น่ะครับ
เหมือนเดิมครับ บุญส่วนบุญ บาปส่วนบาป |
|
|
|
    |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
15 ส.ค. 2008, 9:28 pm |
  |
ขอโทษด้วยครับ ที่ตอบยาวมากๆ พอดีเพิ่งมาเห็นกระทู้นี้ แล้วเห็นว่ากระทู้ประมาณนี้ คุยกันนานแล้ว แต่ยังไม่จบน่ะครับ
เข้ามาปุ๊บ โห ยาวเหยียดเลย
ถ้าแสดงความคิดเห็นอะไรรุนแรงไปก็ขอโทษด้วยครับ มิได้มีเจตนา
สาธุครับ
 |
|
|
|
    |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
16 ส.ค. 2008, 12:46 am |
  |
คุณเมธีครับ
ก็เพราะส่วนใหญ่หรือมากกว่า 95% จิตมันเป็นอกุศล ทีความโลภ โกรธ หลง น่ะซิครับ
พระพุทธองค์จึงบัญญัติเรื่องศีล 5 โอกาสที่จะเป็นบาปจึงทีสูง แต่ก็ไม่ใช่ว่า การฆ่าทุกครั้ง
มีอกุศลจิต พระพุทธองค์จึงไม่บอกว่าผิดศีล 5 เป็นบาปเสมอไป
แค่พระพุทธองค์กลับสอนว่า สิ่งที่เป็นบาป คือ จิตเจตนาอกุศล โดยมีต้นตอมาจากความ
โลภ โกรธ หลง
คุณฌาณ ครับ
ขณะฆ่าหรือทำร้ายกัน....จิตเป็นกุศลหรอครับ
บางกรณีก็มีนะครับ ผมได้ยกตัวอย่างเรื่องเมียยอดรัก และของผมไปแล้ว เมื่อพวก
แมลงสาบมาขอร้อง แล้วผมรับรู้ถึงความทุกข์ของพวกเขา ผมก็ต้องฆ่าและแผ่เมตตา
อุทิศส่วนบุญกุศลจากกรรมฐานของผมใช้หนี้กรรมให้กับเขา เขาจะได้ไม่ต้องกลับมาเป็น
แมลงสาบอีก |
|
|
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
16 ส.ค. 2008, 7:31 am |
  |
-- มุมมอง มันเป็นเพียงแค่รู้ของแต่ละคน
-- ถ้าไม่มีการนำข้อความซึ่งเป็นความคิดเห็นของคนอื่นมากล่าว ว่าตัวเองมีความรู้สึกหรือความคิดเกี่ยวกับข้อความนั้นๆ มันก็คงไม่มีเรื่องมาถกกันหรือบางทีก็กลายเป็นความบาดหมางกันไป เหตุเนื่องจากต่างคนต่างคิดว่า ความคิดเห็นของตัวเองถูก แต่หากมีสติแล้วหยุดพิจรณา จะเห็นว่า มันก็เป็นเพียงแค่รู้ของแต่ละคนเท่านั้นเอง
-- ดิฉันเคารพในข้อคิดเห็นของแต่ละคนที่แสดงมา การสำรวม สังวร ระวังกาย วาจา จิต เป็นสิ่งที่ควรทำ
-- การฆ่า ไม่ว่าจะบาปหรือไม่บาป มันก็แล้วแต่ความคิดของแต่ละคน อย่างไรก็ตาม กรรมหรือการกระทำนั้นย่อมส่งผลอย่างแน่นอน ดิฉันมองแค่นั้น คิดแค่ไหน ตอบแค่นั้น แต่ไม่ไปให้ค่าหรือความหมายในการกระทำของบุคคลอื่นๆว่าที่เขาทำนั้นว่าถูกหรือผิด เพราะอันนั้นมันก็เรื่องของเขา ใครกระทำ ผลนั้นคนทำเป็นผู้รับหาใช่เราไม่ ดิฉันมองแค่นั้นเอง การที่เราไปเพ่งโทษเขาโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม เท่ากับเราไปสร้างกรรมใหม่ ซึ่งทำให้ไปมีวิบากร่วมกับเขา เป็นสิ่งที่ดิฉันไม่ควรทำอย่างยิ่ง
-- ทุกอย่างที่เกิดขึ้น มันย่อมมีเหตุที่เกิดขึ้นมาก่อน ผลที่ได้รับจึงเป็นเช่นนั้น
เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปค่ะทุกท่าน  |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
16 ส.ค. 2008, 12:56 pm |
  |
การนำความเห็นของผู้อื่นมากล่าว หากแม้ด้วยเหตุเพราะปราถนาดี และการกล่าวนั้นเป็นไปด้วยปิยวาจา ย่อมนำมาซึ่งประโยชน์ แก่ผู้แสดงความเห็น แด่เจ้าของความเห็นที่ถูกกล่าวถึง แด่ผู้อ่านทั่วไป
มิฉะนั้นความเห็นของแต่ละท่านซึ่งแน่นอนว่าย่อมแตกต่างกันไป เมื่อไม่มีผู้ที่เห็นต่างแสดงความเห็นแย้ง(โดยปิยวาจา) ย่อมทำให้ความเห็นซึ่งแตกต่างกันกระจายออกไปทั่ว ซึ่งอาจเป็นผลดีหรือผลเสียในวงกว้างได้
การที่มีผู้แย้ง(โดยปิยวาจา) ย่อมทำให้ผู้อื่นสามารถใช้ปัญญาของตนเองในการวิเคราะห์ว่าสิ่งไหนถูก ดี ควรกระทำ ควรน้อมรับ
อย่างไรเสียควรอยู่ในกรอบที่จะทำให้เกิดความสงบสุข
การเพ่งโทษผู้อื่นย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ดีแน่นอน แต่มิใช่ว่าการยกความเห็นผู้อื่นมากล่าวจะเป็นการเพ่งโทษเสมอเป็น ในบางกรณีเป็นเพียงแค่การยกตัวอย่างเท่านั้น เหมือนๆกับการที่ผู้อื่นยกตัวเองมาเป็นกรณีตัวอย่าง ซึ่งกลับกันจะเป็นการชี้ทาง หรือ ชี้แนะ ก็ได้
เพ่งโทษ (ว่าผู้อื่นไม่ดี อย่างโน้น อย่างนี้ ไม่เน้นว่าที่ถูกควรเป็นอย่างไร)
ชี้แนะ (ว่าผู้อื่นไม่ดีอย่างนี้ ควรจะทำอย่างนี้ๆ เน้นประโยชน์ของผู้รับเป็นหลัก)
ขอบคุณที่ท่านเตือนสติ กระผมจะน้อมรับมาปรับปรุงตน เพื่อให้อยู่ในกรอบที่เหมาะสม
เจริญในธรรมยิ่งๆทุกท่าน |
|
|
|
    |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
16 ส.ค. 2008, 1:08 pm |
  |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า: |
คุณเมธีครับ
ก็เพราะส่วนใหญ่หรือมากกว่า 95% จิตมันเป็นอกุศล ทีความโลภ โกรธ หลง น่ะซิครับ
พระพุทธองค์จึงบัญญัติเรื่องศีล 5 โอกาสที่จะเป็นบาปจึงทีสูง แต่ก็ไม่ใช่ว่า การฆ่าทุกครั้ง
มีอกุศลจิต พระพุทธองค์จึงไม่บอกว่าผิดศีล 5 เป็นบาปเสมอไป
แค่พระพุทธองค์กลับสอนว่า สิ่งที่เป็นบาป คือ จิตเจตนาอกุศล โดยมีต้นตอมาจากความ
โลภ โกรธ หลง
|
คุณพลศักดิ์ครับ
พระพุทธองค์ท่านทรงบัญญัติไว้ว่าผิดศีล 5 เป็นบาป
แต่ท่านก็ไม่เคยกล่าวว่าการผิดศีล 5 โดยเจตนาเป็นกุศลแล้วจะไม่เป็นบาป
เรื่องนี้เป็นการตีความของแต่ละบุคคล ว่าเจตนาใดเป็นบาป เจตนาใดไม่เป็นบาป
บางท่านกล่าวว่า ผิดศีล 5 เป็นบาป เพราะ เจตนาที่ทำผิดศีลย่อมมาจากอกุศล (โลภ โกรธ หลง โดยเฉพาะ หลง คือ หลงว่าตนทำถูกแล้ว ทำดีแล้ว)
บางท่านกล่าวว่า ผิดศีล 5 โดยเจตนากุศลไม่เป็นบาป เพราะ เจตนาคือกรรม
ซึ่งก็แล้วแต่ตีความกันไป
แต่เพื่อสังคมโดยส่วนมาก ซึ่งมักมีเป็นการตีความเข้าข้างตนเองโดยเสมอ
พระพุทธเจ้าท่านจึงไม่ทรงบัญญัติว่า ผิดศีลโดยเจตนาเป็นกุศลไม่บาป
เพราะว่าท่านเล็งเห็นว่า ถ้าบัญญัติแบบนั้น จะทำให้มีผู้ตีความเข้าข้างตนเองได้ง่าย ซึ่งจะเป็นโทษแก่สังคม หรือ พุทธศาสนา
ถ้าท่านเห็นว่า ความเห็นของท่านถูกต้อง ก็ขอให้ท่านเห็นแก่ประโยชน์ของพุทธศาสนา ถ้าท่านกล่าวโดยเฉพาะของท่านส่วนเดียว ย่อมมีโทษแก่พุทธศาสนิกชนผู้ยังไม่แข็งแรงทางธรรม ต่อไปศีล 5 ก็จะไม่มีความหมาย เพราะคนตีความเข้าข้างว่าข้าทำเพื่อครอบครัว ทำเพื่อพ่อแม่ (โปรดอ่านย้อนไปเรื่องพระสารีบุตร ที่ข้าพเจ้านำมาลงไว้)
กระผมยังยืนยันอย่างเดิมครับ ว่าการกระทำใดๆที่ผิดศีล 5 ย่อมมีส่วนของบาปอยู่ด้วยเสมอ แต่เพื่อพุทธศาสนิกชน เราควรที่จะ "คงไว้" ซึ่งสิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ ส่วนเมื่อใดที่เราๆท่านๆ ปฏิบัติได้ถึงจุดนึงแล้ว ย่อมมีความเข้าใจอย่างถูกต้องแก่ตนเอง มิใช่เฉพาะว่าบาปหรือบุญ แต่รวมไปถึง ว่าสิ่งใดควรกล่าวเพื่อประโยชน์แต่พุทธศาสนาด้วย
สาธุครับ |
|
|
|
    |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
16 ส.ค. 2008, 7:04 pm |
  |
เมธี พิมพ์ว่า: |
การนำความเห็นของผู้อื่นมากล่าว หากแม้ด้วยเหตุเพราะปราถนาดี และการกล่าวนั้นเป็นไปด้วยปิยวาจา ย่อมนำมาซึ่งประโยชน์ แก่ผู้แสดงความเห็น แด่เจ้าของความเห็นที่ถูกกล่าวถึง แด่ผู้อ่านทั่วไป
มิฉะนั้นความเห็นของแต่ละท่านซึ่งแน่นอนว่าย่อมแตกต่างกันไป เมื่อไม่มีผู้ที่เห็นต่างแสดงความเห็นแย้ง(โดยปิยวาจา) ย่อมทำให้ความเห็นซึ่งแตกต่างกันกระจายออกไปทั่ว ซึ่งอาจเป็นผลดีหรือผลเสียในวงกว้างได้
การที่มีผู้แย้ง(โดยปิยวาจา) ย่อมทำให้ผู้อื่นสามารถใช้ปัญญาของตนเองในการวิเคราะห์ว่าสิ่งไหนถูก ดี ควรกระทำ ควรน้อมรับ
อย่างไรเสียควรอยู่ในกรอบที่จะทำให้เกิดความสงบสุข
การเพ่งโทษผู้อื่นย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ดีแน่นอน แต่มิใช่ว่าการยกความเห็นผู้อื่นมากล่าวจะเป็นการเพ่งโทษเสมอเป็น ในบางกรณีเป็นเพียงแค่การยกตัวอย่างเท่านั้น เหมือนๆกับการที่ผู้อื่นยกตัวเองมาเป็นกรณีตัวอย่าง ซึ่งกลับกันจะเป็นการชี้ทาง หรือ ชี้แนะ ก็ได้
เพ่งโทษ (ว่าผู้อื่นไม่ดี อย่างโน้น อย่างนี้ ไม่เน้นว่าที่ถูกควรเป็นอย่างไร)
ชี้แนะ (ว่าผู้อื่นไม่ดีอย่างนี้ ควรจะทำอย่างนี้ๆ เน้นประโยชน์ของผู้รับเป็นหลัก)
ขอบคุณที่ท่านเตือนสติ กระผมจะน้อมรับมาปรับปรุงตน เพื่อให้อยู่ในกรอบที่เหมาะสม
เจริญในธรรมยิ่งๆทุกท่าน |
-- ขออโหสิกรรมต่อคุณเมธีด้วยค่ะ ถ้าคำบางคำที่สื่อออกไปแล้วอาจทำให้คุณเมธีตีความในตัวหนังสือผิดไป
-- จริงๆแล้วที่พูดมาทั้งหมดนั้น ไม่ได้คิดเจาะจงเตือนสติใครหรอกค่ะ ซึ่งดิฉันก็ได้บอกไปแล้วว่า เป็นเพียงมุมมองหรือเป็นเพียงข้อแสดงความคิดเห็น
.............................................
จากข้อความตรงนี้
มิฉะนั้นความเห็นของแต่ละท่านซึ่งแน่นอนว่าย่อมแตกต่างกันไป เมื่อไม่มีผู้ที่เห็นต่างแสดงความเห็นแย้ง(โดยปิยวาจา) ย่อมทำให้ความเห็นซึ่งแตกต่างกันกระจายออกไปทั่ว ซึ่งอาจเป็นผลดีหรือผลเสียในวงกว้างได้
-- ต้องขออภัยที่นำข้อความมาอ้างอิงค่ะคุณเมธี
-- จากข้อความที่คุณเมธีนำมากล่าว เราอาจจะมีมุมมองหรือความคิดที่แตกต่างกันไป คำว่า " ผลดีผลเสีย " ดิฉันมองไปถึงเหตุที่สร้างไว้ก่อนที่ผลจะแสดงออก มา เขาสร้างเหตุร่วมกันมาอย่างไร เขาทั้งหลายย่อมได้รับผลเช่นนั้น หากเราไม่เคยสร้างเหตุร่วมมากับเขา เราย่อมไม่มีวิบากร่วมกับเขา สร้างเหตุดี ผลย่อมดี สร้างเหตุไม่ดี ผลย่อมไม่ดี
-- ขออนุญาตินำข้อความของคุณพลศักดิ์มาอ้างอิงค่ะ
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า:
จากหน้า 4 หนังสือพระพุทธศาสนามหายาน ของรองศาสตราจารย์ ดร.ประยงค์ แสนบุราณ
อธิบายหลักมหากรุณาในนิกายมหายานว่า:
" พระโพธิสัตว์อาจจะทำลายชีวิตสัตว์อื่นด้วยความกรุณาเสียก็ได้ เช่น พระโพธิสัตว์เห็นคนบางคนทำ
ความชั่ว ถึงจะสั่งสอนตักเตือนอย่างไร คนชั่วนั้นก็ไม่เชื่อฟัง ไม่กลับตัวกลับใจ ยังทำความชั่วเรื่อยไป
พระโพธิสัตว์คิดว่า ถ้าขืนปล่อยให้เขาทำกรรมชั่วหนักขึ้นๆ จนไม่อาจจะพบทางสว่างได้ พระโพธิสัตว์
จึงตั้งมหากรุณาจิตปลงชีวิตสัตว์เสียก็ได้ "
-- จากข้อความตรงนี้ ดิฉันมองเพียงว่า เป็นความรู้ใหม่ ถ้าคุณพลศักดิ์ไม่นำมาโพส ดิฉันก็คงไม่รู้ แต่ถ้าถามว่ารู้สึกอย่างไรกับข้อความที่ได้อ่าน ขอตอบว่า " เฉยๆ " ค่ะ เพราะนั่นมันรู้ของเขา เขาอ่านเจอมา เขาก็นำมาบอกต่อก็เท่านั้นเอง
-- ดิฉันเคารพในความคิดเห็นของทุกคนค่ะ อ่านแล้วดิฉันก็ดูจิตตัวเองไปด้วยว่ารู้สึกอย่างไรกับตัวหนังสือที่อ่าน เจ้าขันธ์ 5 นั้นทำงานทุกตัวไหม ทันไหมสังขาร ก่อนที่จิตมันจะเกิดการสั่งการ
-- อันนี้พูดแบ่งปันกันค่ะ
ลูกชายจะชอบถามว่า : ทำไมเวลาแม่ตอบคำถาม แค่ข้อเดียวใช้เวลานานจัง
ดิฉัน : มันต้องคิดทบทวนให้ดีก่อนที่จะโพสลงไป ว่าเรากำลังสร้างกรรมใหม่ให้เกิดหรือเปล่า เราคิดอย่างไรกับตัวหนังสือของเขา คิดเป็นกุศลหรืออกุศลเราทันไหม คิดติติง (เพ่งโทษ) เขาไหม สิ่งที่เราทำวันนี้ มันส่งผลไปถึงอนาคต ถึงแม้เขาและเราจะไม่รู้จักกันก็ตาม เขาไม่จำเป็นต้องมาทำกับเรา แต่เป็นคนอื่นที่เคยมีสร้างเหตุและมีวิบากร่วมมา มาทำกับเราแทน ลูกชายก็จะยิ้มๆไม่พูดอะไรต่อ
-- เวลาอ่านข้อความของทุกคน ดิฉันมองเพียงว่า เอาส่วนดีของเขา (ในความคิดของตัวเอง) มาเป็นประโยชน์ ส่วนไม่ดีของเขา (ในความคิดของตัวเอง) ช่างเขาไม่สนใจ เพราะรู้ว่าใครกระทำดีหรือไม่ดี(ตามความเป็นจริง ไม่ใช่ความคิดของเรา) เขาเป็นผู้รับผล หาใช่เราไม่ เราไม่ควรจะไปชี้เขาว่าอันนั้นถูกอันนี้ผิด มันเป็นเหมือนดาบสองคม
-- ทั้งหมดนี้เป็นเพียงมุมมองของดิฉันค่ะ ไม่ได้คิดละเมิดหรือคิดล่วงเกินผู้ใด |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
16 ส.ค. 2008, 8:46 pm |
  |
เอ่อ ไม่ต้องขออโหสิกรรมก็ได้ครับ ผมไม่ได้คิดผูกเวรผูกกรรมกะใครครับ
ผมรับทราบครับ คุณ walaiporn ว่าคุณไม่ได้มีเจตนาเตือนสติใคร
จริงๆ ผมต้องขอบคุณคุณถึงจะถูก
ความเห็นของคุณ ช่วยเตือนสติผมได้อย่างดีครับ
ว่าแม้เพียงการแสดงความเห็นใดๆ ก็เหมือนเราไปสร้างกรรมต่อเนื่องกับผู้นั้น เพราะฉะนั้นต้องควรระมัดระวังในการแสดงความเห็นใดๆออกไป
การที่ผมแสดงความเห็นแย้งในเรื่องบางเรื่อง เพราะผมมีเจตนาดีน่ะครับ เพราะในบางเรื่องยังมีเหตุผลแย้งอยู่ มีตัวอย่างซึ่งไม่ตรงกันอยู่ ถ้าเราได้แสดงความเห็นส่วนนั้นออกไป เท่ากับว่าเราได้ช่วย ท่านอื่นๆ ให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อนำไปพิจารณา ให้เกิดปัญญาได้ดีขึ้น
ถ้าไม่มีผู้แย้งเลย อาจทำให้บางคนซึ่งได้ข้อมูลไม่เพียงพอ เชื่อไปผิดๆได้ (ผมเปล่าว่าผมถูกนะครับ เพียงแต่อยากให้ได้ข้อมูลหลายๆด้านประกอบความคิดเห็น)
ผมเองจะน้อมรับความเห็นของคุณ walaiporn มาปฏิบัติ เพื่อให้การแสดงความคิดเห็น หรือ ความเห็นแย้งใดๆ ของผม เป็นไปเพื่อประโยชน์ ไม่ก่อให้เกิดการผูกเวร อย่างนี้ถูกไหมครับ
 |
|
|
|
    |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
16 ส.ค. 2008, 9:09 pm |
  |
เคารพในความคิดเห็นของคุณเมธีค่ะ
เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปค่ะ สาธุ  |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
16 ส.ค. 2008, 9:17 pm |
  |
เคารพในความคิดเห็นของคุณ walaiporn เช่นกันครับ
เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปนะครับ
 |
|
|
|
    |
 |
|