|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
เศษพุทธทาส
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 08 เม.ย. 2007
ตอบ: 121
|
ตอบเมื่อ:
13 มิ.ย.2008, 8:42 am |
  |
ใครทราบบ้างครับว่า จิตกับวิญญาณนั้นต่างกันอย่างไร
อธิบายความหมายและยกตัวอย่างความแตกต่างของทั้งสองได้ยิ่งดีนะครับ  |
|
_________________ ทำวันนี้ให้ดีและต้องรู้ไว้ว่า ทำดีเพื่อดี ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อุปสรรคไม่มี บารมีไม่เกิด |
|
  |
 |
RARM
บัวบาน

เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417
|
ตอบเมื่อ:
13 มิ.ย.2008, 12:03 pm |
  |
ขอแสดงความคิดเห็น ตามความเข้าใจนะครับ
จิต เป็นตัวผู้รับรู้ สิ่งต่าง รอบตัวเรา โดยอาศัยกาย เพราะกายนั้นเป็นที่อยู่ของวิญญาณ มี6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
เมื่อตาเห็นรูป เกิดวิญญาณ ทางตา เรียก จักษุวิญญาณ
หู
จมูก
ลิ้น
กาย
ใจ
จึงมีวิญญาณเกิดขึ้นมา แล้วใครรู้ว่าเกิดการรู้ขึ้นแล้ว ก็จิตนั่นเอง
... |
|
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 มิ.ย.2008, 5:16 am |
  |
รูป
เวทนา
สัญญา
สังขาร
วิญญาณ = จิต
คำว่า วิญญาณ เรียกตามแนวพระสูตร จิต เรียกตามอภิธรรม ๆ เรียกวิญญาณ ว่า จิต
ชื่อเหล่านี้ คือ
จิตฺตํ มโน มานสํ วิญฺญาณํ หทยํ มนํ
เหมือนกันโดยอรรถ ต่างกันโดยพยัญชนะ เป็นไวพจน์กัน |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
15 มิ.ย.2008, 5:42 am |
  |
จะเรียงคำอธิบายทั้งสองสูตรให้ดูอีกครั้ง
จัดขันธ์ 5 แนวพระสูตร
1.รูป
2.เวทนา
3.สัญญา
4.สังขาร
5.วิญญาณ
ตามแนวอภิธรรม แต่เรียกว่า ปรมัตถธรรม 4
1.จิต
2.เจตสิก
3.รูป
4. (นิพพาน)
จิต กับเจตสิก = นามธรรม จิตพระสูตรใช้คำว่าวิญญาณ
รูป= รูปธรรม
ลงกับพระสูตร เช่น รูป= รูปธรรม
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ = นามธรรม วิญญาณอภิธรรมใช้คำว่า จิต
เวทนา ได้แก่ เวทนาเจตสิก สัญญา ได้แก่ สัญญาเจตสิก สังขาร ได้แก่ เจตสิกที่เหลืออีก 50
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
โปเต้
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 10 พ.ค. 2008
ตอบ: 76
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
15 มิ.ย.2008, 7:16 am |
  |
วิญญาณ - ความรับรู้ ซึ่งมีการรับรู้เข้ามาสู่ใจ(จิต) 6ทาง คือ
จักษุวิญาณ - ความรับรู้ทางตา เช่นตาเห็นรูป เห็นต้นไม้ ภูเขา ผู้คน
โสตะวิญาณ - ความรับรู้ทางหู เช่นได้ยินเสียงต่างๆ คนพูด นกร้อง เสียงเพลง
ฆานวิญาณ - ความรับรู้ จมูก เช่นได้กลิ่นหอม กลิ่มเหม็น กลิ่นไหม้
ชิวหาวิญาณ - ความรับรู้ทางลิ้น เช่นได้รู้รสชาติอาหาร หรือสิ่งที่มาสัมผัสทางลิ้นต่างๆ ว่ามีรสหวาน มัน เปรี้ยว เผ็ด ฝาด
กายวิญาณ - ความรับรู้ทางกาย เช่นรู้สัมผัสที่มือเมื่อจับต้องสิ่งของว่าเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หรือเท้าที่กระทบพื้น หรืออากาศที่มากระทบกาย รู้สัมผัสทุกอย่างที่มาถูกต้องกาย ว่านุ่ม แข็ง เย็น ร้อน
มโนวิญาญณ - ความรับรู้ทางใจ (หรือจิตวิญาญ) คล้าย cpu ในเครื่องคอมที่คอยประมวลผลความรับรู้ต่างๆ ซึ่งตรงนี้จะมีการรับรู้อีกทางหนึ่ง คือรู้ในขันธ์ 5 คือ
รูป - สิ่งที่เป็นรูปร่างให้สัมผัสรับรู้ได้ทั้งทางกายและทางใจ
เวทนา - ความสุข ความทุกข์ หรือไม่สุขไมทุกข์(เฉยๆ ซึ่งไม่ใช่อุเบกขา - การวางเฉย)
สัญญา - ความจำได้ หมายรู้ เช่นตาเห็นรูปก็จำได้ว่านี่คือคน สัตว์ สิ่งของ
ที่เคยเห็น เคยจำได้ว่าสิ่งนั้น สิ่งนี้เรียกว่าอะไร หรือจำเหตุการณ์ต่างๆได้
สังขาร - ความปรุงแต่ง เช่น ตาเห็นรูปไม่ชอบ ก็ปรุงแต่งไปว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ อย่างที่เราชอบ เห็นสิ่งของที่ชอบ ก็ปรุงแต่งยึดถือ อยากเป็นเจ้าของ สิ่งที่เราชอบ คิดปรุงหาวิธีที่จะได้ครอบครอบ
วิญญาณ - ความรับรู้ ซึ่งรับเข้ามา จาก 6 ทาง (ทางใจก็คือ สัญญา เช่นการคิดถึงใครสักคน หรือคิดถึงเหตุการณ์ที่ประทับใจ จำได้ )
เหมือนตอบคำถามโจทย์อาจารย์ในการทำสอบปรนัยเลยค่ะ
เอาไปตอบการบ้านหรือปล่าวคะเนี่ย |
|
_________________ สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา |
|
  |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 1:11 am |
  |
อนุโมทนาสาธุ กับทุกท่านที่ให้ความรู้  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |