Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ขอน้อบน้อม แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า.......... อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 มี.ค.2005, 8:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

...เดินจงกรม จังหวะ 1-3 เพิ่มวิริยินทรีย์

>>วิริยะมาก กว่า สมาธิ จะรู้สึกว่า ตัวเบา ๆ ความคิดจะเบาคล่องแคล่ว (ฟุ้งเก่ง)

>>สมาธิ มากกว่า วิริยะ รู้สึกว่า ตัวหนัก ๆ ซึม ๆ (ง่วงเก่ง)

>>นั่งบริกรรมให้มากกว่าเดิน เพิ่มสมาธินทรีย์

>>เดินจงกรมให้มากกว่านั่ง เพิ่มวิริยินทรีย์

> ผู้..จะต้องรู้ตัวเสมอว่า อะไรหย่อนอะไรมากไป ต้องแก้ด้วยวิธีนี้



อีกคู่หนึ่ง คือ สัทธินทรีย์ + ปัญญินทรีย์

ถ้าสัทธามากกว่า ปัญญา ก็งมงาย จะเชื่อง่าย ระยะนี้ ผู้...มีสัทธามากต่อพระรัตนตรัย อยากทำบุญ อยากปฏิบัติ..ฯลฯ ใครขอไรให้หมด



>>ปัญญามากกว่าสัทธา ชอบขบคิด ฟุ้งเรืองธรรมะ (เหมือนกะว่าธรรมะในหัวมันไหลออกมาคิดเป็นช่องเป็นทางเลยลืมบริกรรม)



วิธีก็คือการบริกรรมภาวนาให้ละเอียดขึ้น ๆ กำหนดบริกรรมอารมณ์ต่าง ๆ ให้มากขึ้นเป็นเจริญสติ เพิ่มสติ

 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 มี.ค.2005, 4:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

.....ก่อน...กล่าวถึงวิธีเดินจงกรมให้ครบ 6 จังหวะขอแทรกข้อคิดบางอย่างให้พิจารณา เผื่อว่า .......ผู้ชอบอ่านพระใตรปิฏกจะได้พิจารณา



ในมหาสติปัฏฐานสูตรมีว่า



ภิกษุเห็นกายในกาย.....

.......เห็นเวทนาในเวทนา

.......เห็นจิตในจิต

.......เห็นธรรมในธรรม...

>นี้..ได้แก่ผู้ปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 นั่นเอง



ขอทวนสติปัฏฐานอีกที



1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน = กายะ+อนุ+ปสฺส+ยุ=อน+สติ+ป+ฐาน

2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน = เวทนา+ เหมือนข้างบน...........+ฐาน

3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน = จิตตะ+................................... +ฐาน

4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน = ธัมมะ+....................................+ฐาน



แปลข้อ 1 ให้ดูเป็นตัวอย่าง กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน = ตั้งสติตามดูกาย ........

>เห็นกายในกายเห็นอย่างไร ?

บริกรรมภาวนาว่า พองหนอ ยุบหนอ เรียกว่า เห็นกายในกาย

.......................... ซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่าง หนอ เรียกว่า กายในกาย...กำลังดูกายอยู่

ดูเวทนาในเวทนาดูอย่างไร ?

..ดูเวทนา 3 นั่นเอง 1 สุขเวทนา 2 ทุกขเวทนา 3 อุเบกขาเวทนา



นั่งบริกรรมภาวนา พอง หนอ ยุบ หนอ อยุ่ เกิดปวดขาเป็นต้นขึ้นมา ภาวนาในใจว่า ปวด หนอ ๆ ๆ เรียกว่า เห็นเวทนา ในเวทนา ก็เป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 มี.ค.2005, 4:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพิ่มข้างบนด้วย เห็นกายใน ก็คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ต่อ

เห็นจิตในจิตเห็นอย่างไร ?

.......นั่งดูกายในกายอยู่ด้วยการบริกรรมว่า พอง หนอ ยุบ หนอ ตามวิธีดังกล่าว

.....คิดออกนอกองค์บริกรรมคือ ท้องพอง ท้อง ยุบ รู้ตัว (สติ) บริกรรมว่า คิดหนอ ๆ ๆ เรียกว่า เห็นจิตในจิต ก็เท่ากับเป็น จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน



เห็นธรรมในธรรมเห็นอย่างไร ?



..นั่ง/ยืน/เดิน/นอน ในทุก ๆ อิริยาบถใหญ่ อิริยาบถย่อย ตามดูอยู่ เห็นความฟุ่งซ่าน บริกรรมว่า ฟุ้งซ่านหนอ ๆ ๆ เท่ากะว่า ......เห็นธรรมในธรรม คือความฟุ้งซ่าน....อยู่ จึงเป็น ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน



 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 มี.ค.2005, 5:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

.......จะเห็นว่า การบริกรรมภาวนา ตามอาการที่เกิดขึ้นทางนาม-รูปดังกล่าว จึง ตรงกับมหาสติปัฏฐานสุตร....เห็นกายในกาย....เห็นจิตในจิต (ความคิด) เป็นต้น ก็เข้าแนวสติปัฏฐาน 4 ซึ่งกำลังบำเพ็ญอยู่......



.....มีบางความเห็นว่า สติปัฏฐานไม่พัฒนาเท่าไร จึง...ว่า เราเองนั้นแหละพัฒนาไปไม่ถึงสติปัฏฐาน...

...เช่นทำไม่ครบองค์ 4 บ้าง ทำเล่น ๆ ไม่จริงไม่จัง บ้าง ทำแบบกล้าๆ กลัว ๆ บ้าง ฯลฯ

...และที่สำคัญที่สุดเลย คือ ทำแบบไม่ภาวนา (เน้น) (ท่องในใจ) ตามอาการ (อารมณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า) บ้าง นั่งตามดูนาม-รูป เฉย ๆ งั้นแหละ......

....ตนจึงเห็นความวุ่นวายของจิต (ความคิด) เป็นไปต่าง ๆ นานา ก็...กลัว...โทษตนเองว่า ก่อนนั้น ไมเราไม่เป็นอย่างนี้.....เดี๋ยวนี้ทำเราเป็นคนบาป ฯลฯ ฟู้งซ่านซ้ำซ้อนไปอีก...



...จะก่อนหน้าหรือ หลัง ตามดู (เฉย ๆ) ความคิด ความฟุ่งซ่าน สุข ทุกข์ เฉย ๆ ทั้งหลายทั้งปวง มันมีอยุ่แล้ว เพียงแต่.....ไม่ได้ใส่ใจมันเท่านั้นเอง ปล่อยไปตามอารมณ์ พอมาดูมันจึงเห็น... เหมือนมีมากมายเหลือเกิน...



..พระพุทธเจ้าตรัสว่า ตถาคต จะอุบัติหรือไม่ก็ตามธรรมชาตินี้มันมีของมันอยู่แล้ว......



....อีกทัศนะหนึ่งว่า เอ้าว ..มันเป็นทุกข์นัก ก็เปลี่ยนเบนความคิดไปคิดสิ่งอื่นเสียสิ

....เช่น คิดถึง ดวงอาทิตย์บ้าง คิดถึงดวงดาวบ้าง... ฯลฯ





 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 มี.ค.2005, 5:34 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อจากข้างบน



....แนวแก้ทุกข์นี้....ไปใหญ่ คือ ไปสร้างสังขารขันธ์ใหม่ขึ้นซ้อน ๆ ไปอีก อยู่นอกตนไปอีก ห่างมหาสติปัฏฐานสูตรไปอีก....



..คัดเอามาบางตอนที่พุทธะว่า ในกายนี้ มีทั้งทุกข์ มีเหตุเกิดแห่งทุกข์ และมีความดับทุกข์ .......มันรวมอยุ่ในนี้.......

>ถามว่า ที่เขาทำงั้น ทุกข์อันก่อนดับไปไหม ?

>ดับ เพราะอะไรจึงดับ ?

>ตอบว่า ที่มันดับไป เพราะมันไปคิดเรืองอื่นสิ่งอื่นอันใหม่ แต่เดี๋ยวมันก็วนมาอันเก่าอีก.....วนมา.....ก็ไปคิดสร้างสังขารตัวใหม่ขึ้นมาอีก...วน ๆ ซ้ำ ไปซ้ำมาอยู่อย่างนี้ ไม่จบไม่สื้น..... อีกหน่อยเบือตนเอง



>และวิธีแก้ทุกข์...ในปัจจุบันนี้ก็เป็นแนวนี้......ที่ยกอุทาหรณ์มาข้างบนนี่ นับว่ายังดีหน่อย ที่ไปคิดถึงพระอาทิตย์ ฯลฯ

> หาก...คิดว่า ต้องแก้...ต้องเบนความคิด..ความทุกข์ ซึ่งกำลังประสพอยุ่ ด้วยสิ่งเสพติดละ......เป็นไง

 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 มี.ค.2005, 6:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

....อาจมีคำถามย้อนว่า แล้วที่บอกที่ทำอยุ่.... เช่นเกิดความคิดขึ้นมา ให้ภาวนา(ในใจ) ว่า คิดหนอ ๆ เป็นต้น ล่ะไม่เบนความสนใจหรือ ?



>ถ้าตอบ...อิงมหาสติปัฏฐานสูตร ก็ ......เห็นจิตในจิตที่กล่าวแล้ว.....แต่ยังไม่หมดความสงสัย



>จะตอบในแง่ สภาวะของมัน ธรรมชาติของจิตหรือความคิดนี่ มันคิดเรื่องราวต่าง ๆ ได้ทีละเรือง ๆ ....เช่น พอคิดถึงพระอาทิตย์ ความคิดอันเก่ามันหลีกทางให้....อย่างนี้ มันไม่หมดไปมันหลบไปก่อน

>แต่วิธีที่กำลังบำเพ็ญอยู่นี้ เพ่ง (บริกรรมด้วย) ดูตัวความคิดเอง.....



>เพื่อประโยชน์อะไร ?

>เพือให้องค์ธรรม คือ สมาธิ เป็นต้นเกิด ...ความคิดอันเก่ามันก็หายไปดับไปเช่นกันแต่....

... แต่จะต่างกันตรงที่ทำให้สมาธิเกิด เมื่อสมาธิเกิดก็จะรู้ตามจริง (คือปัญญาเกิด อันที่จริงปัญญาเกิดแล้วทุกขณะบริกรรมทุก ๆ คำ ภาวนามยปัญญา)

> ความจริงมันมีอะไร ?



ตอนต่อไป
 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 มี.ค.2005, 9:45 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

...ปัญญามี 3 คือ



...ปัญญาเกิดได้ 3 ทาง คือ 1. สุตมยปัญญา 2 จินตามยปัญญา 3 ภาวนามยปัญญา

1 ปัญญาที่เกิด (สำเร็จ) จากการฟัง

2. ปัญญาที่เกิดจากคิด

3. ปัญญาที่เกิดจากภาวนา (มีพุท-โธ พอง-หนอ ยุบหนอ เป็นต้น)

>มันลึกและแหลมคมเป็นลำดับๆ



>ถ้าตอบ...อิงมหาสติปัฏฐานสูตร ก็ ......เห็นจิตในจิตที่กล่าวแล้ว.....แต่ยังไม่หมดความสงสัย<<

>>หรือจะทำให้สงสัยมากกว่าก็ไม่รู้.....แต่ลองดู



...อันธรรมดาจิตของปุถุชน ยังมี อัตตวาทุปาทาน= อตฺต+ว=อาคม+อาทิ+อุปาทาน = การยึดถือว่า (ความคิดแต่ละขณะๆ ) ว่าเป็นตัวตน (บุคคลเราเขา) เป็นต้น

>เพราะในความคิดนั้น ยังเต็มพรึดไปด้วย สักกายทิฏฐิ = สก+กาย+ทิฏฐิ= ความเห็นว่า นาม-รูปเป็นตน

>ความคิดความเห็นนี้จะมีไปอีกยาวไกล ตราบเท่าที่ยังไม่ถึงอุทยพพยญาน

ญาน (ปัญญา) นี้ จะเปิดเผยให้เห็น แล้วจะทำลายความเป็นตัวตน ที่เรียกว่า สักกายทิฏฐิ ตามลำดับ



 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 มี.ค.2005, 10:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

..ความจริงที่ถูกปกปิด



>เคยพูด เคยเรียน เคยอ่านหนังสือ...จาก....ต่าง ๆ มากมายว่า สรรพสิ่งเป็นไตรลักษณ์ คือ เป็นลักษณะ 3 อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไปงานศพ ฯลฯ สัปเหร่อนำ กล่าวตอนทอดผ้าหน้าศพว่า นามรูปังอนิจจัง นามรูปังทุกขัง นามรูปังอนัตตา (นาม-รูปไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา)



>หาก....นั้น ทำอนุสสตินี้ไว้เนือง ๆ แล้วโน้มใจ (จินตามยปัญญา) ไปหาสิ่งทีตนเองพูด ฯลฯ อย่างน้อย ๆ ก็จะปลงได้ระดับหนึ่ง โดยดูจากเหตุการณ์ภาวะแวดล้อม ที่เห็นโดยทั่วๆ ไป

> เช่น....ใคร....รักใคร สักคน และวันหนึ่งเค้าไปจากเรา เราก็....อ้อ มันอย่างนั้นแหละน้อ มันไม่แน่ไม่นอน

> พลัดพรากจากสิ่งทีเรารักก็เป็นทุกข์ เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นไตรลักษณ์



>ประสพกับสิ่งไม่รักไม่พอใจก็ทุกข์อีก...

>ผู้.......กำลังตกทุกข์ได้ยากอยุ่ กำลังโศกาดูรอยุ่ ก็รำพึงสอนตนเองว่า โอ้...มันเป็นอย่างนี้ ๆ ...นั้นแหละหนอ...มันไม่แน่ ฯลฯ

.. นี่ปลงแบบทีเรียนมา และ อ่านมาจากพระไตรปีฏกเป็นต้น บ้าง ฯลฯ

 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 มี.ค.2005, 10:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

..ผู้ที่กำลัง...ถึงสิ่งที่เป็นสุข ...บอกว่า ให้บริกรรมว่า สุข ๆ ๆ แย้งว่าไม่บริกรรมไม่ได้เหรอ อยากอยู่กะมันนาน ๆ กลัวมันหายไปง่ะ (หัวเราะ) ไม่อยากเบนความสนใจ....เออ

>...เข้าใจคำสอนว่า สัตว์โลก รักสุขเกลียดทุกข์ ฉันใด ตนเองก็รักสุข เกลียดทุกข์ฉันนั้น จึงสอนไม่ให้เบียดเบียนกัน



>....ต้องการอยู่กะความสุขนาน ๆ ก็ได้ แต่ต้องรับทุกข์ได้อยู่กะความทุกข์ได้นาน ๆ เหมือนกันน่ะ อยู่กะความสุข 15 นาที ก็ต้องอยุ่กะทุกข์ 15 ...



>ความสุขที.....กำลังได้รับ จากสิ่งใด ๆ ....ฯลฯ มันเป็นเวทนา เวทนานี้มันเป็นเจตสิกธรรม มันเกิดมันดับไปตามสภาวะของมัน มันเป็นไตรลักษณ์

>ทุกข์ ก็เหมือนกันกัน มันก็ตกอยุ่ภายใต้ไตรลักษณ์ เราไปรั้งไว้ไม่ได้



>การเห็นไตรลักษณ์ด้วยภาวนามยปัญญานี่ มันแหลมคมกว่า เป็นปัญญาในองค์มรรค เมือเกิดขึ้นมันฆ่าหรือประหารเครืองเศร้าหมองใจได้

 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 มี.ค.2005, 11:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

....การเห็นนาม-รูปเป็นไตรลักษณ์ด้วยภาวนามยปัญญานี่ เห็นได้...ยาก ๆ จริง ๆ ยาก ด้วยสาเหตุหลายอย่าง

> มี....ความเกียจคร้าน ความหดหู่ท้อแท้ท้อถอย ง่วงเหงาหาวนอน ความลังเลสงสัย ฯลฯ เป็นต้นเหล่านี้ เป็นตัวคอยขวางไว้

...ถ้าเราต้องการเห็น...ด้วยภาวนามยปัญญา...ก็ต้องทำลายพวกนี้ก่อน เห็นชือแล้วเป็นไง ความง่วงเป็นไง นึกดู ความเกียจคร้านบริกรรมเป็นไง ความสงัยเป็นไง เห็นความยากแล้วใช่ไหม
 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 มี.ค.2005, 12:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้อ..

แล้วสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ มานเจตสิก...

มานเจติสิก หน้าที่ของมัน คือ ถือตัวถือตนว่า ...ของเราดีกว่า ของ....ผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ ของเราถูก เป็นสัมมาทิฏฐิเป็นวิปัสสนา ของ...เป็นสมถะ ฯลฯ

>...ไม่ต้องเรียนหรอกปริยัติน่ะ ปฏิบัติได้รู้เอ ......สายปฏิบัติอย่างเดียวว่า

>...อ้าว.มันต้องเรียนก่อนให้รู้จักทางว่าไรผิดไรถูก จะได้รู้ว่า ธรรมะตัวนี้มีลักษณ์เป็นอย่างนี้ อย่างนี้เรียกรูป อันนี้เป็นนาม เห็นเป็นรูป รู้เป็นนาม ฯลฯ

>ทิฏฐิเจตสิกและมานเจตสิก เกิดสลับไปสลับมา



>ไม่บริกรรมภาวนา ปล่อยเพลินไป หมดเวลาพอ ไม่ได้ไรเลย นั่งคิดอยุ่งี้ จะบริกรรา อ้าว...บางสายว่า มันเป็นสมาธิ มันเป็นสมถะ ต้องดูมัน จึงจะเป็นวิปัสสนา

>>หารู้ที่กำลังปรุงแต่งอยู่นั้น เป็นสังขารขันธ์เจตสิต มันล่อออกไปนอกหลัก หรือจะเรียกว่า กิเลสมาร ก็ได้

...นี่เป็นช่องให้พิจารณาว่า เป็นอย่างไร เพราะธรรมะของพระพุทธองค์ เป็นปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ



ต่อไปจะอธิบายการเดินจงกรมระยะ 2 ต่อ
 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 15 มี.ค.2005, 4:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

.....การเดินจงกรม



...ขจัดความเมาในอาหาร ขจัดความเกียจคร้าน ขจัดถีนมิทธะนิวณ์ ฯลฯ



...ท่านแบ่งการเดินจงกรมไว้ เป็น 6 ระยะ เพื่อให้อินทรียะธรรม พละธรรม



ฯลฯ ละเอียดขึ้น ๆ ตามลำดับ



(ก้าวท้าวเดินเหมือนปกติ แต่เดินช้า ๆ หน่อย เป็นระยะ ๆ ตั้งสติบริกรรมตาม



อาการเคลื่อนไหวนั้น ๆ )



>เดินจงกรมระยะที่ 1



ซ้าย... ย่าง... หนอ... ขวา... ย่าง... หนอ... (ตามที่กล่าวมาแล้ว)



>เดินจงกรมระยะที่ 2



ยก...หนอ (ยกขาพ้นพื้น ตอนก้าวเท้าเดิน ตามรู้ทันไม่ต้องบริกรรม...บริกรรม



ตอน) เหยียบ...หนอ (ขาลงถึงพื้น)



...เดินสุดที่แล้ว บริกรรมภาวนาค่อย ๆ หมุนตัวกลับ (กลับหนอ ๆ ) เหมือนที่



กล่าวแล้ว



>เดินจงกรมระยะที่ 3



ยก...หนอ (ยกขาพ้นพื้น) ย่าง...หนอ (ก้าวเดิน) เหยียบ...หนอ (ขาลงถึงพื้น)



>เดินจงกรม ระยะที่ 4



ยก...หนอ (ยกเท้าพ้นพื้น) ย่าง...หนอ (ก้าวก้าวเดิน) ลง...หนอ (หย่อนเท้า



ลงหน่อย แต่ยังไม่ถึงพื้น) เหยียบ...หนอ (วางเท้าลงพื้น)



>เดินจงกรมระยะที่ 5



ยก..ซ่น..หนอ (ยกซ่นเท้าขึ้น แต่ปลายนิ้วเท้ายังอยู่ที่พื้น) ยก...หนอ (ยกเท้า



ขึ้นจากพื้น) ย่าง....หนอ (ก้าวเท้าเดิน) ลง..หนอ (วางเท้าลงหน่อย แต่ยังไม่



ถึงพื้น) เหยียบ...หนอ (เท้าถึงพื้น)



>เดินจงกรมระยะที่ 6



ยก..ซ่น..หนอ (ยกซ่นเท้าขึ้น แต่ปลายนิ้วเท้ายังอยู่ที่พื้น) ยก...หนอ (ยกเท้า



ขึ้นจากพื้น) ย่าง...หนอ (ก้าวเท้าเดิน) ลง..หนอ (ค่อยหย่อนขาลงหน่อย แต่



เท้ายังไม่ถึงพื้น) ถูก..หนอ (ปลายนิ้วเท้าจรดพื้น แต่ซ่นเท้ายังไม่ถึงพืน)



กด...หนอ (กดซ่นเท้าลงถึงพื้น)



(จบวิธีเดินจงกรม 6 ระยะเพียงเท่านี้)

 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 15 มี.ค.2005, 5:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

...เดินระยะ 1-3 ให้คล่องก่อน...ไม่ควรรีบเร่งเดิน ๆ เพือ ๆ ให้จบ ๆ - ถึง ระยะ



สุดท้ายเร็ว ๆ ....เพราะการปฏิบัติเช่นนี้ จะไม่เกิดประโยชน์อันใดเลย ควร



ตั้งสติกำหนดบริกรรมด้วยความตั้งใจ แม้เพียงวันละ 10 นาที เพียง 10 นาที



เท่านี้น ก็ได้บุญ ได้กุศลมากแล้ว ....แม้เพียงช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น...



...เป็นการพิสูจน์พุทธธรรม ...พิสูจน์พลังศรัทธาตนเอง ที่เรียน-ที่รู้ทั้ง



หมด ที่ตรงนี้ ด้วยการปฏิบัติเช่นนี้นี้...



....พระมหาบุรุษได้แสวงหาและ ค้นพบ เป็นเวลาถึง 6 ปี....อย่างน้อย ๆ เราเกิด



มาชาติหนึ่ง ได้อยู่ใต้ร่มเงาพุทธศาสนา ได้เจริญรอยพระมหาบุรุษ ที่ยิ่ง



ใหญ่ในโลกทั้ง 3 .....



>แม้ไม่ถึงสิ่งอันสูงสุด (วิมุตติ) ในพระพุทธศาสนา ก็ยังได้ชือว่า ปฏิบัติธรรม



สมควรแก่ธรรม เชือว่า ท่านจะได้พบกับสิ่งที่ไม่นึกว่า จะได้พบ..ขอให้พิสูจน์



ตนของตนเอง......



>ท่านว่า บุญที่ยิ่งใหญ่ คือ บุญที่สำเร็จจากการภาวนา (ภาวนามัย) เพราะได้



สำรอกกิเลส (เครืองเศร้าหมองออกจากจิต) ได้เจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา



ครบ ได้บำเพ็ญเจริญโพธิปักขิยธรรม...........



ได้ประสพสุข ที่ยิ่งกว่าสุขในโลกียะ ที่ท่านเรียกว่า นิรามิสสุข เป็นความสุขที่



ไม่อิงอามิสไม่อิงเวทนา เป็นบรมสุข (ปฏิบ้ติถึง)



>แต่....มิใช่ทำได้ง่าย ๆ ...จะต้องมีใจโน้มไปในสุขเช่นนี้จริง และต้องการจะพ้น



ไปจากสังขารทุกข์ ที่จรเข้ามารบกวนความเป็นอิสระทางจิต (ใจ) ที่เปรียบ



เหมือนกับมาร ทีคอยดึง-ลากไปในอำนาจของมัน ฯลฯ



 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 15 มี.ค.2005, 5:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

..ทิฏฐุชุกัมม์ (การทำความเห็นให้ตรง)



..อยากได้อยากถึง แต่วิปลาสไป เช่นได้ยินว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง



(นิพพานํ ปรมํ สุขํ) ......จินตนาการไปต่าง ๆ นานา...ฯลฯ



ดูความหมายของศัพท์



นิพพาน = นิ+วาน



นิ= ไม่มี, ออก (เป็นอุปสรรค)



วาน= เป็นชื่อของตัณหา



>ในมงคลทีปนีเล่ม 2 ว่า วานํ วุจฺจติ ตณฺหา= ตัณหาท่านเรียกว่า วานะ



=นิวาน= ไม่มีตัณหา (นัยหนึ่ง) ตัณหามี 3 คือ 1 กามตัณหา 2 ภวตัณหา 3



วิภวตัณหา



ทีมีรูปเป็น นิพพาน เป็นไปตามหลักภาษาตามหลักไวยากรณ์ ท่านแปลงตัว



วอ ที่ วาน เป็นตัว พอ = พาน ซ้อนตัว พอ อีกตัวตามพยัญชนะสนธิ =



นิพพาน แปลว่า ไม่มีตัณหา



...ออกไปจากตัณหา บาลีว่า นิกฺขนฺตํ วานโต นตฺถิ วา เอตฺถ วานํ



อิมสฺมึ วา อธิคเต วานสฺส อภาโวติ นิพฺพานํ.



...ธรรมชาตใด ออกไปแล้วจากตัณหา ชือว่า วานะ เหตุนั้นธรมชาตนั้น ชื่อว่า



นิพาน, อีกอย่างหนึ่ง ตัณหา ชื่อว่า วานะ ย่อมไม่มีในธรรมชาตนี้ เหตุนั้น



ธรรมชาตนี้ ชื่อว่า นิพพาน อีกนัยหนึ่ง ความไม่มีแห่งตัณหาชื่อว่า วานะ



ในธรรมชาตนี้ ที่พระอริยบุคลลบรรลุแล้ว เหตุนั้น ธรรมชาตนี้ ชื่อว่า



นิพพาน.







 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 15 มี.ค.2005, 4:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำความเห็นให้ตรง)



ต่อ...



ตเมว นิพฺพานํ นิสฺสตฺตนิชฺชีวตฺเถน สภาวธารณตฺเถน จ ธาตูติ นิพฺพานํ.



แปลว่า นิพพานนั่นแล ชื่อว่า ธาตุ เพราะอรรถว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ และ



เพราะอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งภาวะของตน เหตุนั้น จึงชื่อว่า นิพพานธาตุ.



นิพพาน โดยปรมัตถนัยไม่มีความแตกต่างกัน (มีหนึ่ง คือออกไปจากตัณหาตาม



ที่กล่าว)



..แต่โดยอ้อม 2 คือ



1. สอุปาทิเสสนิพพาน = ได้แค่พระนิพพาน ของพระอริยะบุคคล 4 จำพวก ผู้ยังมี



ชีวิตอยู่ = ส+อุปาทิ+เสส+นิ+วาน



ส=สห กับ



อุปาทิ=ขันธ์ 5 (นาม-รูป)



เสส=เหลือ



2. อนุปาทิเสสนิพพาน = ได้แก่พระนิพพานของพระอริยบุคคล ซึ่งดับขันธ์ไป



แล้ว (ดับขันธปริพินพาน (เสียชีวิต)



น=อน+อุปาทิ+เสส+นิ+วาน



น=อน= ไม่







 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 16 มี.ค.2005, 4:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำความเห็นให้ตรง) ก่อน



ต่อ...



ผู้ที่ถึงอรหัตตมรรคเท่านั้นจึงจะรู้วารจิตของ.....นอกนั้นรู้ได้ตามขั้นของตน ๆ ตาม



สมควรเช่น......



.>ถึงเทวดาทั้งหลาย แม้พยายามอยู่ ย่อมไม่อาจ คือ ไม่สามารถเห็นวารจิต (ของพระ



อรหันต์)



(สพฺเพปิ อุปปตฺติเทวา วายมนฺตาปิ จิตฺตวารทสฺสนวเสน ทฏฺฐํ (ทัดถุง) น อภิสมฺภินนฺติ



น สกฺโกนฺติ.)



ปเคว มนุสฺสา.



จะกล่าวไปใยถึงมนุษย์เล่า. (ก็ในเมื่อเทวดายังรู้ไม่ได้ มนุษย์จะรู้ได้อย่างไร)



(อรรถกถา ภัททิยสูตร)



แม้ในพระอริยะเจ้าทั้งหลาย พระอริยะผู้บรรลุมรรคเบื้องต่ำ ไม่รู้วารจิตของพระอริยะผู้ได้



มรรคเบื่องสูง



(อริเยสุปิ เหฏฺฐิโม อุปริมสฺส จิตฺตํ น ชานาติ.)



ส่วนพระอริยะเบื้องสูง ย่อมรู้จิต ของพระอริยะเบื้องต่ำ.



(อุปริโม ปน เหฏฺฐิมสฺส ชานาติ.)



>วัดระดับความคิด....เป็นขั้น ๆ ดังนี้



0 ปุถุชน+เทวดา



1 โสดาปัตติมรรค



2 สกิทาคามิมรรค



3 อนาคามิมรรค



4 อรหัตตมรรค



(ผล ก็ มี 4 ตามมรรคนั้นๆ )



พระอรหันต์เท่านั้น ย่อมรู้จิต ของผู้..ตั้งแต่พระอนาคามีลงไป



พระอนาคามี ย่อมรู้จิตของ...ผู้แต่พระสกิทาคามีลงไป



พระสกิทาคามี ย่อมรู้จิตของพระโสดาบันลงไป



พระโสดาบัน ย่อมรู้จิต ของปุถุชน



(อรรถกถา สัมปสาทนิยสูตร และอรรถกถาสังครสูตร)



มนุษย์ ไม่สามารถรู้วารจิตของพระอริยะได้เลย (....ตนเองไม่เคยผ่าน แม้แต่จิต



(ความคิด) ของตนเองยังไม่ค่อยจะรู้ หรือไม่รู้เลย จะป่วยกล่าวไปใยถึงวารจิตของพระ



อริยะเล่า)



.... ที่กล่าวแทรกไว้เช่นนี้ ก็เพือให้.....จะได้ ไม่ไปเที่ยวแต่งตั้งให้...เป็นพระอริยะ



ขั้นนั้นขั้นนี้ (หรือโดนพระอริยะแต่งตั้ง....เอา)



...จะได้กล่าวถึงการปฏิบัติต่อ (เพื่อรู้จิตของตนเองก่อน)













 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 16 มี.ค.2005, 5:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

..ทวนความจำหน่อย



การเดินจงกรม (เดินกลับไปกลับมา เดินอย่างมีสติกำหนดรู้ทัน) กล่าวไว้ครบแล้ว 6 ระยะ



ส่วนการนั่งบริกรรมภาวนา (ท่องในใจ) ยังไม่ครบ



จะนั่งอย่างไร เท้าไหนทับเท้าไหน ไม่เป็นไร จะได้กล่าวต่อไป



..เมื่อรู้ตนเองว่า ตนหลงน้อยแล้ว กำหนดบริกรรม ภาวนา ยุบ-หนอ พอง-หนอ ได้ชัดขึ้น



แล้ว



>จับความคิดเป็นต้นได้ทัน หมายถึงขณะนั้นความกระสับกะส่ายลดลง กายหายใจเริ่มช้า



ลง...... เช่น ง่วง ก็จับทัน ภาวนาว่า ง่วงหนอ ๆ ๆ มี



การนิ่ง คือ อารมณ์ไม่ชัดเจน ก็ รู้หนอ ๆ ๆ ฯลฯ



>ท่านให้เพิ่มจุดบริกรรมอีกจุดหนึ่ง คือ นั่งหนอ (ให้สตินทรีย์เติบขึ้นอีก)



... พอง-หนอ ยุบ-หนอ นั่งหนอ คือ เอาความรู้ทั้งหมด ดูรูปนั่งของเราแว๊บ แล้วก็



ไปที่จุด ท้อง พอง ท้อง ยุบ ภาวนาว่า พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ฯลฯ



>หมายเหตุ...ไม่ใช่กดตายตัวนะว่า จะต้องภาวนา ยุบหนอ พองหนอ นั่งหนอ ก็ต้อง



ภาวนาไปเปลี่ยนไม่ได้ไม่ใช่ ขณะใด ๆ พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ยาวไป ตามไม่ทัน



นั่งหนอ ก็เอาแค่ พอง หนอ ยุบ หนอ สังเกตดูเองในขณะนั้น ๆ







ขณะใด







 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 16 มี.ค.2005, 10:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

..ศัพท์..ว่า บริกรรม, กำหนด, ภาวนา. ทั้ง 3 นี้ความหมายเดียวกัน (ท่องในใจ) บางทีใช้คู่กันว่า บริกรรมภาวนา บ้าง ใช้โดด ๆ บ้าง......



>เมือรู้ตน ว่า กำหนดภาวนา (ท่องในใจ) 3 จุด ดังกล่าวได้แคล่วคล่องแล้ว คือ



ปรากฏชัด ไม่หลง หรือหลงน้อยแล้ว ท่านให้เพิ่มจุดกำหนดรู้อีกจุดหนึ่ง คือ ถูกหนอ



>พอง-หนอ ยุบ- หนอ นั่ง-หนอ ถูกหนอ พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกหนอ ฯลฯ



>เอาจุดที่กดทับพื้นตรงก้นกบก็ได้ ตรงตาตุ่มที่กดทับพื้นก็ได้ สังเกตดูเอง มาเป็นจุด



กำหนดรู้อีกที่หนึ่ง ภาวนาว่า พอง-หนอ ยุบ-หนอ นั่งหนอ ถูกหนอ ภาวนาอย่างนี้แล้ว ๆ



เล่า ๆ ทำไป...หมดเวลาที่กำหนดไว้ โดยเพื่มขึ้นครั้งละ 5 นาที สูงสุด 60 นาที.



>ส่วนผู้เริ่มทำให้เริ่มจาก 5 นาทีก่อนก็ได้ เดินจงกรม 5 นาที ตามวิธีดังกล่าว นั่งกำหนด



พอง-หนอ ยุบ-หนอ 5 นาที



>ไว้สภาพร่างกายเส้นเอ็นเริ่มปรับแล้ว ค่อย ขยับเพิ่มอีก 5 นาที เป็นเดินจงกรม 5 นาที



นั่งภาวนา 5 นาที.



>ให้สังเกตก่อนการปฏิบัติหลังการปฏิบัติดู สักเดือนหนึ่งจะรู้ว่า ร่างจะกระปรี้กระเปร่า เบา



กาย เวทนาทางกายจางลง.........



>>อุบายวิธีหลัก ๆ มีเท่านี้...........



.......................................................................................................................................





.........แต่อารมณ์ซึ่งเกิดจากการปฏิบัตินี้มี มาก มาย นัก.............



>ผู้เริ่มทำใหม่ ๆ ควรมีผู้รู้ ผู้รู้จริง ๆ เน้นตรงนี้เลย ว่าต้องรู้จริง ๆ มิใช่รู้จากหนังสือ



เพียงอย่างเดียว ต้องมีประสพการณ์จากการปฏิบัติตรงด้วย ให้คำชี้แนะ คอยสอบถาม



อารมณ์แน่ะทางถูกให้ แก้จุดสงสัยให้



>ขอให้คำแนะนำส่งท้าย ไว้เตือนตนว่า ขณะกำลัง กำหนดภาวนาอยู่นั้น เกิดความรุ้สึก



อย่างไรขึ้น...กำหนดภาวนาไปตามอาการนั้น ๆ ทุก ๆ ครั้ง หรือจะ รู้หนอ ๆ ก็ได้ ถ้ามัน



เกิดเร็วเกินไป คือ เกินคำว่า หนอ ได้ ให้กำหนดว่า รู้ ๆ ๆ คำเดียวก็ได้ เห็นแสงสี



อะไรๆ ก็เห็นหนอ ๆ ๆ อย่าปล่อบเลยไป มิฉะนั้นจะสงสัยร่ำไป..... การปฏิบัติจะไม่ก้าว



หน้า....เตือนสติตนว่า ไม่มีใครในโลกนี้ (นอกจากพุทธะ) จะรุ้ความละเอียดของจิตได้



หมด (จำตรงนี้ไว้)





..................................................................................................................................

 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 16 มี.ค.2005, 11:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

...ที่มาของ หนอ...



อินิจฺจา วต สงฺขารา อุปปาทวยธมฺมิโน

อุปปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เตสํ วูปสโม สุโข.

สังขารทั้งหลายไม่เทียง หนอ มีการเกิดขึ้นและความดับไปเป็นธรรมดา

เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป การเข้าไปสงบสังขารเหล่านั้นเป็นความสุข.



(สังเกต หนอ=วต)



...เกิดใหม่ พอได้ยินคำว่า หนอ รับไม่ได้ ไม่ยอมรับ ฯลฯ ว่า หนอ...นี้มาจากพม่านี่



จากสายนั้นสายนี้ จึงได้ยกคาถา..ที่ได้ยินทุกครั้งที่ไปงานศพ มาอ้าง



...คาถาบังสุกุลตายที่ยกมาอ้างนี้



>... นำ..ชักบังสุกุล...ให้แก่ผู้ที่...เชื่อว่า ทำแล้วอายุยืน (ต่ออายุ)



แต่นำมาไม่หมดยังมีต่อท้ายอีก (ถึงเอามาหมดก็ฟังไม่รู้) เพราะเป็นบาลีภาษา



คาถาที่ยกมานี่ สมัยพุทธกาลฟังแล้ว ไม่มีปัญหา ฟังออก-รู้เรือง ว่าหมายถีงอะไร



>ปัจจุบันนี้...ถูกนำไปใช้ทางที่ทำให้ไขว่เขว่ว่า เอาผ้าขาวมาคลุมตัวแล้วบังสุกุลตาย แล้ว



ตามด้วยบังสุกุลเป็น จะทำให้อายุยืน หมดเคราะห์หมดโศก



ถ้าพูดถึงในแง่จิตวิทยาได้นิดหน่อย (อารมณ์เก่ามันเปลี่ยน) แก้ทุกข์ได้ชั่วคราว เช่น



สามี-ภรรยา เกิดโทสะใส่กัน ไม่อยากโต้เถียงไม่ต้องการทะเลาะด้วย จึงแก้ด้วยการไปตัด



หญ้า หรือไปรดน้ำต้นไม้ (เปลี่ยนอารรณ์) แต่พุทธิปัญญาไม่เกิด



...คาถาต่อท้ายสุกุลตาย...มีว่า



สพฺเพ สตฺตา มรนฺติ จ มรึสุ จะ มริสฺสเร

ตเถวาหํ มริสฺสามิ นตฺถิ เม เอตฺถ สงฺสโย.

สัตว์ทั้งปวง จะตาย ตายแล้ว และจักตาย

ถึงตัวเรา ก็จักตายอย่างนั้น ความสงสัยในความตายนี้ย่อมไม่มีแก่เรา.



(เราก็จะตายโดยไม่ต้องสังสัย) (เป็นมรณานุสสติ)



...เพื่อให้เกิดพุทธิปัญญา



..ความมุ่งหมายโดยตรงก็เพื่อให้เห็นคำว่า หนอ ว่ามาจากไหน คำว่า หนอ ๆ นี่มาจาก



คำว่า วต ดูคาถาด้วย ซึ่งแปลว่า หนอ



>... มีพระราชาองค์หนึ่ง ซึ่งเข้ามาอุปสมบทในพุทธศาสนาแล้วได้ประสพกับความสงบ



สุข....จึงเปล่งอุทานว่า สุข หนอๆ ๆ ฯลฯ



..มีคำถามว่า ...รังเกียจ ไม่ชอบคำว่า หนอ ....กลัวถูกปรามาสว่า...ว่า...ผู้อื่น....



>ใช้คำอื่นแทน หนอ ได้ไหม ?



..ตอบว่าได้...จะใช้ศัพท์ว่า แล ก็ย่อมได้ ซึ่งตรงกับคำบาลีว่า โข ๆ แปลว่า แล พอง-แล



ยุบ-แล คิดแล สงสัยแล ฟุ่งซ่านแล สุขแล ทุกข์ ปวดแล ฯลฯ



>ทั้งหลายทั้งปวงนั้นเป็นเพียงอุบายหน่วงให้เกิดสมาธิ (ขณิกสมาธิ เมื่อสมาธิเกิดจะได้นำ



ไปสู่ปัญญา) ดังกล่าว



..ไหนๆ มีบังสุกุลตายแล้ว ไม่มีบังสุกุลเป็นซึ่งใช้คู่กันก็ดูกระไร ๆ อยุ่ เพื่อให้รู้ความหมาย



ที่แท้จริง ของคาคานี้ว่า...



อจิรํ วตยํ กาโย ปฐวึ อธิเสสฺสติ

ฉุฑโฑ อเปตวิญญาโณ นิรตฺถํว กลิงฺครํ



ไม่นาน หนอ ร่างกายนี้ ถูกทอดทิ้งแล้ว ปราศจากวิญญานแล้ว

จักนอนทับซึ่งแผ่นดิน เหมือนท่อนไม้ที่ไร้ประโยชน์.





 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 มี.ค.2005, 4:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

.....เมื่อโยคี ( ผู้ประกอบความเพียร)



...ได้ปฏิบัติตามแนวดังกล่าวแล้ว วิปัสสนาญาน 9 หรือ ญาน 16 จะขึ้นตามลำดับ ติองการรู้ว่า ...มีอะไรบ้าง ค้นดูที่เวบนี้ เห็นมีกล่าวไว้

จะเอามาลงไว้ตรงนี้เกรงจะหลายหน้าเกินไป



>โยคีนั้นจะถึงความเป็นอริยบุคคล ในพระพุทธศาสนา.................จะได้เห็นพระพุทธเข้าด้วยตนเอง จะมีความมั่นคงในพระพุทธศาสนา เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เป็นผู้สัทธาตั้งมั่นไม่คลอนแคลน (อจลสัทธา)

>



 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง