ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
07 ส.ค. 2008, 6:46 pm |
  |
คำถามที่ 2 ข้างต้นยากหน่อยครับปัญหานี้ เพราะความกลัวซึ่งเกิดจาก
การเจริญสมาธิครั้งแรก ยังไม่ถูกกำจัดออกไปอย่างถูกวิธี จึงตกตะกอน
นอนก้นอยู่ เมื่อไรทำสมาธิแล้วจิตสงบถึงระดับ ความคิดก็ผุดขึ้น
รบกวนร่ำไป
ก็เหมือนๆ สภาวะทั้งหลายอื่น ปฏิบัติแล้วติดยังผ่านไม่ได้ก็ติดอยู่ตรงนั้น
กี่หนกี่ทีก็ติดสภาวะนั้นความคิดนั้น มันเป็นกิเลสครับ
กรักชายจะแบ่งคำถามดังกล่าวออกเป็น 4 ส่วน เพื่อให้เห็นอาการกลัว
ที่ผุดขึ้นหลังจากจิตสงบถึงระดับที่เคยเป็น ก็จะเป็น |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
07 ส.ค. 2008, 6:47 pm |
  |
คือว่า มีปัญหาเวลานั่งสมาธิค่ะ เนื่องจากว่า เมื่อตอนเด็กๆ
(อายุประมาณ 11-12 ขวบ)
ลองหัดนั่งสมาธิตามที่เรียนมาจากห้องจริยธรรม (ในสมัยนั้น) เป็นการนั่ง
แบบ อานาปานสติ คือ กำหนดลมหายใจเข้าออก
มีครั้งหนึ่งก่อนนอน จำได้ว่า นั่งสมาธิได้สงบมาก มีความรู้สึกว่า ตัวเอง
ลอยขึ้นไปอยู่บนเพดานห้อง มองลงมาเห็นกายตัวเองนั่งนิ่งอยู่
เหมือนกายกับจิตแยกออกจากกันเป็นคนละคนกัน
ด้วยความรู้สึกวูบนั้น จิตเหมือนรีบกลับเข้าร่าง
ตอนนั้นกลัวมาก, ไม่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้น และไม่กล้านั่งสมาธิอีกเลย |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
07 ส.ค. 2008, 6:48 pm |
  |
จนกระทั่งเวลาผ่านไป 7-8 ปี ก็ได้เริ่มนั่งสมาธิอีกครั้ง แต่เป็นแบบ
สมถภาวนา มีคุณอาเป็นผู้แนะนำให้ไปวัดแห่งหนึ่ง (แถวปทุมธานี)
เป็นการนั่งแบบสมถภาวนาสักระยะ ก็มีอาการสงบ พอสงบ
มากๆ ถึงจุดหนึ่งก็เกิดความกลัว โดยไม่รู้สาเหตุไม่กล้านั่งต่อไป
(ขณะที่นั่งสมาธิไม่เคยเห็นอะไรเลยอย่างที่เขาแนะนำว่าต้องเห็น)
ประกอบกับได้อ่านหนังสือธรรมะ และหนังสือเกี่ยวกับการนั่งสมาธิมากขึ้น
ได้รับความรู้เกี่ยวกับการนั่งสมาธิจากหลายๆทางมากขึ้น ก็เลยเลิกนั่ง
สมาธิแบบสมถภาวนาไป |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
07 ส.ค. 2008, 6:55 pm |
  |
เวลาผ่านมาอีกหลายปี ก็เริ่มนั่งสมาธิใหม่ เป็นแบบ
วิปัสสนาสมาธิ กำหนดกายานุปัสสนา บางครั้งก็เวทนานุปัสสนา
(ดู กาย ดูจิต) เคยนั่งสมาธิกำหนดกายานุปัสสนา จนรับรู้เหมือน
ว่า เห็นโครงกระดูกตัวเอง แม้จะยืน เดิน นั่ง หรือทำอิริยาบถใด ก็จะ
สัมผัสได้ แต่เป็นโครงกระดูกเท่านั้นที่เคลื่อนไหว ก็เกิดความกลัวขึ้น
มาอีก เลยหยุดกำหนดสมาธิไป |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
07 ส.ค. 2008, 7:07 pm |
  |
จะเห็นความพยายามของโยคีผู้นี้ คือว่าจิตเคยเสพรสสมาธิมาพอควร
แล้ว อยู่ๆ ก็ต้องการเสพอารมณ์นั้นอีก จึงต้องการสมาธินั้นอีก
แต่ก็อีกนั่นแหละ ทำๆ พอสงบถึงตรงที่เคยกลัว ก็ถอนตัวออกมาอีก
จึงทะลุกิเลสนั้นไปไม่ได้สีกที
ท่อนสุดท้าย ทำสมาธิใหม่อีกครั้ง หลังจากทำๆหยุดๆมา 2-3 ครั้ง
ก็ยังผ่านไปไม่ได้
ตอนนี้พึ่งเริ่มใหม่ จากที่เว้นมานาน ก็เริ่มนั่งแบบ
อานาปานสติ พยายามเอาใจให้สงบก่อน มันเหมือนจิตใต้สำนึก
กับประสบการณ์ ครั้งแรก (ตอน 11-12 ขวบ) ทำให้ไม่กล้า ให้ใจ
สงบนิ่ง
เคยมีคนบอกว่า อาการที่เป็น เหมือนคนง่วงนอน แต่ไม่กล้านอน
เพราะกลัวว่า ถ้านอนหลับแล้วจะไม่ตื่นขึ้น
นำมาจาก=>
http://larndham.net/index.php?showtopic=32552&st=0 |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 ส.ค. 2008, 8:31 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
เวลาที่เกิดความกลัว ก็ให้ลืมตาครับ ง่ายนิดเดียว |
ผู้แนะนำปฏิบัติกรรมฐานแบบภาวนามัย จะรู้เพียงรูปแบบปฏิบัติว่าเค้าเดิน
ยังงี้ นั่งอย่างนี้...ยังไม่เพียงพอที่จะไปแนะนำบุคคลอื่นให้ทำการภาวนา
ได้....ยิ่งคนที่ไม่เคยทำกรรมฐานแบบภาวนาใดใดมาเลย แล้วไป
แนะนำบุคคลผู้ภาวนาอย่างนี้หนักเข้าไปใหญ่ คือ จะกอดคอกันเข้ารก
เข้าพงไปไหนต่อไหนไม่รู้
เช่นคำตอบลิงค์ดังกล่าวมีว่า เวลาที่เกิดความกลัว ก็ให้ลืม
ตาครับ ง่ายนิดเดียว
อ่านแล้วสลดใจจริงๆ สอนเค้าดูจิตแท้ๆ ไม่ได้ช่วยอะไรเค้า
ในทางปฏิบัติเลย
ก็ดูจิตดูความกลัวนั้นไปดิ บริกรรม "กลัวหนอๆๆๆ" ด้วยอย่าดูเฉยๆ
นี่แหละจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
กำหนดความคิดนั้นตามนั้นแล้วๆกัน...จบ กำหนดฐานกายต่อ
ผู้ใช้พุทโธดูลมเข้าออกต่อเสีย
ผู้ใช้พอง-ยุบ ก็กำหนดฐานพองหนอ ยุบหนอต่อเสีย
สภาวะใดเกิดกำหนดตามนั้นอีก |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 ส.ค. 2008, 9:50 pm |
  |
อนึ่ง ในระยะแรกๆ จะลืมตาบ้างก็ได้ แต่ไม่เปลี่ยนอิริยาบถ
นั่งลืมตาเบาๆ กำหนดอารมณ์กรรมฐานไป รู้สึกอย่างไรก็กำหนดไปตาม
นั้น ตัวอย่าง กลัวหนอๆๆๆ ฯลฯ เมื่อความคิดนั้นซีดๆจางๆลงแล้ว
ก็หลับตาลงใหม่กำหนดรูปนามต่ออีก ...เมื่อสติสัมปชัญญะเจริญมาก
พอ ก็จะคุมความคิดนั้นในเบื้องต้นได้... สติก็เกิดจากการกำหนด
ปัจจุบันอารมณ์แต่ละขณะๆนี้เอง ไม่ใช่ติดตามมาแต่อดีตชาติ
หรือใครไม่รู้ที่มาที่เกิดของสติ ก็บอกว่า สติเกิดเองแบบไร้เหตุผล
ไม่ใช่ๆขอบอก
หากจะพูดว่ามันเกิดเองก็พอได้ (เพราะไร้ผู้บันดาล) แต่มันเกิดอย่าง
มีเหตุผล จากการกำหนดรู้สภาวะรูปนามตามเป็นจริงนั้นเองแล |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
20 ส.ค. 2008, 7:21 pm |
  |
ฉุกใจได้คิดว่าปัจจุบันมีโรงเรียนวิถีพุทธเกิดขึ้นหลายแห่ง โดยทาง
โรงเรียนกับทางวัดใดวัดหนึ่งร่วมมือกัน ทางวัดจัดส่งภิกษุสามเณร
ไปช่วยสอนจริยธรรมเบื้องต้นแก่นักเรียน นับว่าเป็นสิ่งที่ดีและสมควรทำ
ในขณะเดียวกัน คงมีชั่วโมงฝึกสมาธิหรือปฏิบัติกรรมฐานรวมอยู่ด้วย
ดังตัวอย่างข้างต้น
พระภิกษุหรือสามเณรนั้นๆควรมีภูมิธรรมปฏิบัติพอคุ้มตัวได้ รู้เข้าใจเรื่อง
สมาธิภาวนาพอที่จะดูแลนักเรียนที่ตนฝึกสอนนั้นๆได้
เนื่องจากว่าเด็กๆเชื่อฟังฝึกง่ายไม่สงสัยมาก
เมื่อทำการภาวนาจิตจะเป็นสมาธิง่ายกว่าในรายผู้ใหญ่ซึ่งผ่านประสบการณ์
ชีวิตมาเยอะ ย่อมฟุ้งซ่านได้มากกว่า
เมื่อจิตรวมๆ ตัวสภาวะจะเด่นชัด เด็กจึงควรได้รับการแนะนำที่ถูกต้อง
บอร์ดใหม่
http://fws.cc/whatisnippana/index.php |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 พ.ย.2010, 10:34 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73
|
ตอบเมื่อ:
23 ส.ค. 2008, 9:03 pm |
  |
คุณกรัชกายเข้ามาตอบเรื่อยๆ เลยนะคะ..สบายดีไหมคะ...อยากจะสนทนาธรรมด้วยก็ไม่ค่อยเห็นออนเลยค่ะ |
|
_________________ สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา |
|
  |
 |
|