ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
คณิสรา เชฐบัณฑิตย์
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 02 ส.ค. 2008
ตอบ: 5
ที่อยู่ (จังหวัด): ราชบุรี
|
ตอบเมื่อ:
02 ส.ค. 2008, 9:18 pm |
  |
อยากให้ท่านผู้รู้ช่วยตอบด้วยคะ คือเป็นคนชอบสวดมนต์ทุกวันก่อนนอน อยู่มาวันหนึ่งเกิดอาการรำขึ้นมา แต่มีสติรู้ตัวอยู่ แต่มือรำ สวยซะด้วย บางครั้งเสียงก็เปลี่ยนบ้าง แม้แต่ไปวัด พอพระเริ่มสวด มือก็เริ่มขยับ บางครั้งในเวลาว่างก็จะนวดที่มือ ซึ่งเราไม่ได้ตั้งใจ ทำให้เกิดความสงสัยว่าสิ่งที่แสดงนั้นคืออะไร |
|
|
|
   |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
02 ส.ค. 2008, 9:42 pm |
  |
คุณคณิสรา เคยเป็นร่างทรงมาก่อนไหม
เคยทำสมาธิมาก่อนไหม
สวดมนต์มานาน หรือ ยัง และในแต่ละวันๆ ส่วดประมาณกี่นาทีครับ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
คณิสรา เชฐบัณฑิตย์
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 02 ส.ค. 2008
ตอบ: 5
ที่อยู่ (จังหวัด): ราชบุรี
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 8:25 pm |
  |
ดิฉันไม่เคยเป็นร่างทรง และไม่ต้องการด้วย ดิฉันเริ่มสวดมนต์ มาปีเศษ แต่เริ่มรำ ก็ประมาณ 2-3เดือนที่แล้ว สวดมนต์แต่ละครั้ง ประมาณ 20-30 นาที แต่วันพระจะนานหน่อย เพิ่มบทธัมจักรกัปวัตนสูตร หลังจากสวดมนต์ก็จะนั่งสมาธิ ประมาณ 20-30 นาทีเหมือนกัน แต่สมาธิก็สงบได้บางขณะเท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นอุปจารสมาธิ |
|
|
|
   |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 9:16 pm |
  |
การท่องสาธยายมนต์ หรือ ทำกรรมฐานโดยใช้คำบริกรรมประกอบด้วย
จิตจะเป็นสมาธิเร็ว
คุณทำสมาธิ และ สาธยายมนต์มานานเป็นปีๆ ทั้งสองอย่างนี้ ล้วนแต่
เป็นอุบาย ให้เกิดสมาธิทั้งสิ้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ ส่วนมากจะมีปฏิกิริยา
ออกมาทางกาย
คุณคณิสรา ดูที่ลิงค์นี้ครับ
http://www.plarnkhoi.com/jitjai_pictures.php
ทั้งอ้วกแตก ลุกขึ้นฟ้อนรำ ฯลฯ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
คณิสรา เชฐบัณฑิตย์
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 02 ส.ค. 2008
ตอบ: 5
ที่อยู่ (จังหวัด): ราชบุรี
|
ตอบเมื่อ:
06 ส.ค. 2008, 2:03 pm |
  |
ขอบพระคุณมากนะคะที่ให้ข้อมูล จริงๆแล้วก็เคยไปปฏิบัติมาคล้ายๆกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วอาการที่แสดงออกมาจะปรากฏแค่ตอนอยู่ในวัด ก็เลยทำให้เกิดความสงสัย ไม่มีผู้ใดให้ความกระจ่างได้ เมื่อดูในเว็บไซต์ที่คุณแนะนำ ก็เข้าใจมากขึ้น ว่าเป็นอาการของจิต ที่มีสัญญาในอดีตชาติ แต่ว่าสิ่งเหล่านี้ จะขัดขวางการทำสมาธิหรือไม่ ทำให้จิตเราไปยึดติดมั๊ย แล้วก็จะไปไม่ถึงไหนรึป่าว |
|
|
|
   |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 ส.ค. 2008, 8:53 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
จริงๆแล้วก็เคยไปปฏิบัติมาคล้ายๆกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วอาการที่แสดงออกมาจะปรากฏ
แค่ตอนอยู่ในวัด |
คุณบริกรรมพุทโธหรืออะไรครับ
แสดงออกที่ไหนก็ได้ครับ ไม่จำกัดสถานที่ เมื่อไหร่นามธรรมรวมตัว
หรือจิตเป็นสมาธิถึงระดับ-ถึงจุดที่มันเคยเป็นอย่างนั้นๆ ก็จะมีอาการ
อย่างนั้นๆ ทุกที่ทุกเวลา ตราบเท่าที่เรายังคุมอาการนั้นไม่ได้
อาการอย่างนี้สมาธิมากเกินไป คุณคงไม่เคยเดินจงกรมแน่ๆเลย
สวดมนต์และทำสมาธิอย่างเดียวดังกล่าวเท่านั้น ใช่ไหมครับ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 ส.ค. 2008, 8:58 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
เมื่อดูในเว็บไซต์ที่คุณแนะนำ ก็เข้าใจมากขึ้น ว่าเป็นอาการของจิต ที่มีสัญญาในอดีตชาติ
สิ่งเหล่านี้ จะขัดขวางการทำสมาธิหรือไม่ ทำให้จิตเราไปยึดติดมั๊ย แล้วก็จะไปไม่ถึงไหนรึป่าว |
เวลานี้จิตก็ยึดอาการนั้นอยู่แล้วครับ มันไม่ยึดก็ไม่เป็นเช่นนั้น
พูดถึงเรื่องจิต สัญญา สมาธิ ยาวล่ะครับ ด้วยว่าชาวพุทธเราจำผิด
จำพลาดคลุมๆเครือๆในความหมาย หลายๆคนมองข้ามภพข้ามชาติ
ไปก็มี
ขั้นแรก คุณ คณิสราพึงศึกษาคำว่า สัญญา ให้ตรงตามหลักพุทธศาสนา
ก่อนครับ
กรัชกายจะพยายามสื่อความหมายให้เข้าใจง่ายๆ ถึงอย่างนั้นคุณคณิสรา
ยังไม่โล่งใจกรุณาถามซ้ำๆ ได้นะครับปวารณาตัวเต็มที่ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 ส.ค. 2008, 9:03 am |
  |
คำว่า สัญญา เป็นหนึ่งในจำนวนขันธ์ 5 - (รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ = จิต
ตามนัยอภิธรรม) เรียกเต็มๆว่า สัญญาขันธ์
สัญญาเป็นนามธรรมซึ่งเกิด-รับอารมณ์ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
ในปัจจุบันเดี๋ยวนี้ขณะนี้ พร้อมกับจิตแล้วดับพร้อมกัน
ไม่พึงคิดโยงไปไกลถึงอดีตชาติครับ (รูป-นาม เกิดที่ไหนดับที่นั่น) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 ส.ค. 2008, 9:11 am |
  |
มาดูหน้าที่ของสัญญา
สัญญา- คือ ความรู้ทั้งหมดที่อยู่ในสัญญาขันธ์ ได้แก่ ความ
กำหนดได้ หมายรู้ รวมทั้งความรู้ที่เกิดจากการกำหนดหมาย หรือ
หมายรู้แล้วบันทึกเก็บรวมไว้เป็นวัตถุดิบของความคิดต่อๆไป ทำให้มี
การรู้จัก จำได้ รู้ เข้าใจ และคิดได้ยิ่งขึ้นไป
สัญญาแบ่งคร่าวๆ 2 ระดับ คือ
-สัญญาที่เกิดจากความคิดปรุงแต่งเสริมเติมต่อให้พิสดารของกิเลส
เรียกว่ากิเลสสัญญา (ปปัญจสัญญา)
-สัญญาที่เกิดจากความคิดดีงาม หรือ เกิดจากความรู้ความเข้าใจถูก
ต้อง เรียกว่า กุศลสัญญา (วิชชาภาคิยสัญญา) เป็นสัญญาที่ช่วย
ส่งเสริมความเจริญปัญญาและความงอกงามแห่งกุศลธรรม เช่น หมายรู้
ลักษณะอาการที่ชวนให้เกิดความเป็นมิตร หมายรู้ลักษณะอาการซึ่ง
แสดงภาวะที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง ภาวะที่ไร้ตัว
ตน เป็นต้น |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 ส.ค. 2008, 9:13 am |
  |
พระอรหันต์ก็มีสัญญา แต่เป็นสัญญาที่ปราศจากอาสวะ คือ
สัญญาไร้กิเลส พระอรหันต์ก็หมายรู้ปปัญจสัญญาตามที่ปุถุชน
เข้าใจ หรือ ตามที่ท่านเองเคยเข้าใจเมื่อครั้ง ยังเป็นปุถุชน
แต่ท่านหมายรู้เพียงเพื่อเป็นความรู้ เพื่อเป็นประโยชน์
ไม่หมายรู้ในแง่ที่จะมีตัวตนออกรับความกระทบ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 ส.ค. 2008, 9:59 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
จะขัดขวางการทำสมาธิหรือไม่ ทำให้จิตเราไปยึดติดมั๊ย แล้วก็จะไปไม่ถึงไหนรึป่าว |
ถามว่า ขัดขวางสมาธิหรือไม่ ....จะไปถึงไหนรึเปล่า
ข้อนี้เปรียบเหมือนคนเดินทางไกล หลงเพลินดูอะไรๆข้างๆ ทาง
กว่าจะถึงที่หมายคงนาน หรืออาจหลงอยู่ตรงนั้นตลอดไปก็เป็นได้
ตอนนี้จิตคุณยึดอาการทางกายคือรำ สนใจอาการที่เกิดขึ้นวนๆอยู่ตรงนั้น
ไม่ไปไหน |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 ส.ค. 2008, 10:05 am |
  |
คุณคณิสรา พิจารณาจิตยึดอีกแบบหนึ่ง จากการทำสมาธิของคนๆหนึ่ง
แล้วจะเข้าใจกิเลส ตัณหา อุปาทาน ในใจ
ในการนั่งสมาธิครั้งหนึ่งด้วยการดูลมหายใจเข้า-ออก เกิดเหตุการณ์แปลก
ขึ้นคือ ตั้งแต่ที่เริ่มนั่งสมาธิ หูได้ยินเสียงแอร์ตลอดเวลาที่ห้องชั้น
ล่าง (ตัวเองนั่งอยู่ชั้นสองเหนือห้องนั้น) เป็นเสียงได้ยินชัด แต่
ไม่ดังมาก- (ยังเป็นเหตุการณ์ปกติอยู่ แต่ใจเหมือนไปยึดที่เสียงนั้น
ตั้งแต่แรกค่ะ)
สักพัก หลังจิตเริ่มเป็นสมาธิได้ไม่นาน จู่ๆ หูก็ได้ยินเสียงแอร์ทำงานดัง
มากขึ้นมาทันทีทันใด เหมือนกับเราไปยืนอยู่ใต้เครื่องแอร์ด้านหลังห้อง
ชั้นล่าง- (แอร์ติดตั้งอยู่นอกหน้าต่าง) ได้ยินดังมากตลอดเวลาเหมือนแอร์
อยู่เหนือศีรษะ แม้กระทั่งตัวเองรู้สึกเอะใจแล้ว คือ ไม่ได้ดูลมหายใจ
แล้ว แต่ยังอยู่ในท่านั่งสมาธิหลับตาอยู่ แต่ก็ยังคงได้ยินอยู่
จากนั้นมีความรู้สึกกึ่งๆ กลัว เลยคิดว่าไม่อยากฟังเสียงนั้นแล้ว
ทันใดนั้นหลังจากที่คิด ปรากฏว่าตัวเองกลับมาได้ยินเสียงแอร์แว่วๆ
จากห้องชั้นล่างในระดับเสียงเดิม เหมือนกับตัวเองกลับมานั่งอยู่ที่เดิม
ค่ะ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
คณิสรา เชฐบัณฑิตย์
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 02 ส.ค. 2008
ตอบ: 5
ที่อยู่ (จังหวัด): ราชบุรี
|
ตอบเมื่อ:
09 ส.ค. 2008, 7:05 pm |
  |
ปกติดิฉันไม่ค่อยเดินจงกรม ที่บ้านไม่มีบริเวณ เวลานั่งสมาธิใช้บริกรรมพุทโธ แต่บางครั้งก็ดูลมหายใจ เมื่อลมหายใจหายไป ก็หยุดอยู่แค่นั้น ยังไม่เกิดปีติ ตามที่ได้ศึกษามา แต่ถ้าใช้พุทโธ จิตจะเข้าภวังค์บ่อย (ภวังค์หลับ) ยังไม่มีสติ แต่การรำนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นตอนนั่งสมาธิเลย จะเกิดก็ตอนที่เริ่มสวดมนต์ ฉะนั้นแล้ว ถ้าจะไม่ให้จิตไปยึดติด ก็ต้องควบคุมจิตไม่ให้รำใช่ไหมคะ บางครั้งดิฉันเคยบังคับมือให้ประกบกัน แต่รู้สึกเหมือนความร้อนออกมาที่ฝ่ามือ คุณกรัชกายช่วยแนะนำหน่อยค่ะว่าจะต้องกำหนดอย่างไร ที่จะทิ้งอาการทางกายเหล่านี้ |
|
|
|
   |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 ส.ค. 2008, 9:06 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
ปกติดิฉันไม่ค่อยเดินจงกรม ที่บ้านไม่มีบริเวณ |
เดินที่ไหนก็ได้ เดินไปทำงาน เดินไปตลาดซื้อกับข้าว ฯลฯ
หรือ เดินจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งบนบ้านเรานั่นแหละ ไม่ต้องตั้งท่า
เดินอะไรเป็นแบบก็ได้ แต่ให้รู้การก้าวเท้าซ้ายขวาไป พร้อม
ภาวนาไปด้วย ซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่าง หนอ หรือ เมื่อ
เดินเร็ว ย่าง+หนอ ไม่ทัน ตัดทิ้งได้เลย ภาวนาแต่แต่ซ้าย
ขวา ซ้าย ขวา คุมสติให้อยู่กับการก้าวเดินสลับไปมา เพียงเท่านี้
สัญญา+สติ+สัมปชัญญะเป็นต้นเจริญแล้ว เกิดแล้ว กุศลธรรมมีสติเป็น
ต้นเหล่านี้แหละ จะตัดบาปอกุศลสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาออกไปจากชีวิตเรา |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 ส.ค. 2008, 9:11 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
เวลานั่งสมาธิใช้บริกรรมพุทโธ แต่บางครั้งก็ดูลมหายใจ
เมื่อลมหายใจหายไป ก็หยุดอยู่แค่นั้น ยังไม่เกิดปีติ ตามที่ได้ศึกษามา |
นี้อีกจุดหนึ่งที่แนะนำผิด ปฏิบัติผิดกันมากในหมู่นักปฏิบัติกรรมฐาน
ท่านมิได้ให้ท่องพุทโธเฉยๆ เราเอาลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์
กรรมฐาน แล้วก็ภาวนาพุท-โธ ไปพร้อมๆกับลมเข้า-ออก เช่น
ลมเข้า พุท ลมออก โธ ไม่ได้แยกกัน ยึดลมเป็นฐานแล้วภาวนา
พุทโธร่วมไปด้วยกัน
(ผู้ใช้พุทโธไว้มีโอกาสจะกล่าวอีกครั้งหนึ่ง) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 ส.ค. 2008, 9:15 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
แต่การรำนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นตอนนั่งสมาธิเลย จะเกิดก็ตอนที่เริ่มสวดมนต์ |
กล่าวผ่านมาแล้ว มันจะรำตอนไหนได้ทั้งนั้น ในเมื่อจิตเป็นสมาธิ
อยู่แล้ว แค่เราเพ่งดู-หรือฟังอะไรนิ่งๆ จิตก็เป็นสมาธิเลย
เนื้อตัวกล้ามเนื้อจะรู้ว่าบีบรัด คุณลองสังเกตดู |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 ส.ค. 2008, 9:22 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
ถ้าจะไม่ให้จิตไปยึดติด ก็ต้องควบคุมจิตไม่ให้รำใช่ไหมคะ บางครั้งดิฉันเคยบังคับมือให้ประกบกัน แต่รู้สึกเหมือนความร้อนออกมาที่ฝ่ามือ
คุณกรัชกายช่วยแนะนำหน่อยค่ะว่าจะต้องกำหนดอย่างไร ที่จะทิ้งอาการทางกายเหล่านี้ |
ตอนนี้สมาธิคุณมากไป ลดสมาธิลงด้วยเพิ่มวิริยะกับสติสัมปชัญญะ
วิธีปฏิบัติมีสองวิธี คือ กำหนดอารมณ์ทั่วๆ ไปให้มากขึ้น โดยใช้
งานประจำที่เรากำลังทำ
เดี๋ยวนั้นขณะนั้นนั่นแหละเป็นอารมณ์ โดยคุมจิตให้อยู่กับงาน ไม่มีเสีย
มีแต่ได้ งานก็ไม่เสีย สติก็เกิด นี่แหละคือการปฏิบัติธรรม
เดินไปนั่นมานี่ ก็คุมจิตให้อยู่กับเท้าที่ก้าวสลับไปมา สมมุติเดิน
เร็วๆ ก็ซ้าย ขวา ซ้าย ขวา
ดังกล่าวแล้ว จิตก็จะไม่จมกับอารมณ์ลึกเกินไป คือ สมาธิจะค่อยๆ
ปรับลดลง แต่สติจะมากขึ้น
เมื่อเกิดอาการทางกายจะรำขึ้นมา ก็กำหนดจิตมันตามอาการ จะรำ
หนอๆๆๆๆ แล้วปล่อยเลย
หันไปกำหนดรู้งานอื่นเสีย- (ตรงนี้ผู้ไม่เข้าใจวิตกกัน 100 ทั้ง 100
ว่ากำหนดอย่างนี้แล้วไม่เป็นมากขึ้นรึ จิตจะไม่ยึดอาการนั้นดอกรึ
หากภาวนาตรงๆอย่างนั้น- (บอกให้ก็ได้ ที่มันยึดเพราะไม่ภาวนา
ปล่อยเลยตามเลย) เขาคิดคิดผิดถนัดเลย
กรัชกายเคยเอาหัวเป็นประกันมาหลายรายแล้ว สภาวะทุกข์เป็นอย่าง
ไรท่านให้กำหนดอย่างนั้น ตามอาการ-ความรู้สึกนั้น ไม่พึงหลบ
เลี่ยงความจริง จะต้องแก้ปัญหาที่ตันเหตุ คือ สมุทัย ปฏิบัติอย่างนี้
แหละจิตจะไม่ยึด เพราะในขณะที่เรากำหนดว่า....อย่างนั้น จิต
(นามธรรม) ที่กำลังทำงานอยู่ - (= จิตคิดรำ คือ เกิดความคิด
ก่อน แล้วสั่งให้กายทำตามอำนาจของมัน....พวกที่รำกันป้อๆ ลิงค์ที่
ให้ดูนั่นน่ะ เกิดจากปล่อยไปตามอารมณ์ตามความคิด ไม่กำหนดรู้ จึง
รำตามอำนาจของจิต) .....จะถูกองค์ธรรมมีสติ เป็นต้น ตัดวงจรความคิด
เดิมก็เปลี่ยน ลึกๆเป็นอย่างนี้
กรัชกายพูดอย่างนี้คุณไม่เข้าใจเท่าไหร่ จะต้องปฏิบัติดูเองก่อนแล้วจะ
รู้เข้าใจ) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 ส.ค. 2008, 9:29 pm |
  |
คุณคณิสรา ดูตัวอย่างอีกตัวอย่างครับ มันเป็นได้สารพัดรูป
แบบ วิธีหลุดพ้นจากสภาวะนี้นั้น ก็คือ กำหนดตามอาการ ตามความรู้
สึก เท่านี้เองจริงๆเคล็ดลับ =>
ทำไมเวลา ทำสมาธิ แล้วรู้ สึกว่า หัว ของ ตัว เองยืด สูงขึ้น ไป เรื่อยๆ
ครับ
ตอนนี้มีอาการเหมือน กับ หัว จะ ยืด สูง ขึ้น ไปเรื่อยๆ แบบว่า ยืดสูงๆ
แล้วไม่ยอม หยุดนะครับ แล้ว รู้สึก หวิวๆ เลย เลิก ทำสมาธิ
เมื่ออาทิตย์ ที่ แล้ว ทำสมาธิ แล้ว เหมือน มี มวล อะไร หลบ อยู่ บน
หัว พอ เช้า ก็มี อาการ ท้อง เสีย ทั้งอาทิตย์ แต่เป็น แค่ ช่วง เช้า
นะครับ แต่ พอ ถ่าย แล้ว รู้สึก โล่ง สบาย มากๆ
เวลา ผม ทำสมาธิ ไม่ ไม่ได้ นั่ง ขัดสมาธิ นะครับ บาง ครั้ง ก็ยืน
บางครั้ง เล่นคอมก็หลับตา ทำสมาธิ ครั้ง ละ 5-20 นาที
เวลาทำสมาธิ บน ศีรษะ ผม จะรู้ สึก ร้อนๆ บางครั้ง ก็ตึงๆ
ตอนนี้ ผม ย้ายความรู้สึก นี้ ไปมา จาก บนศีรษะไปที่หน้าผาก
แล้ว ไปที่จมูก สนุกดีแปลกดี
เป็นอาการ แบบ ไหน ช่วยบอกที ครับ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
คณิสรา เชฐบัณฑิตย์
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 02 ส.ค. 2008
ตอบ: 5
ที่อยู่ (จังหวัด): ราชบุรี
|
ตอบเมื่อ:
10 ส.ค. 2008, 8:49 pm |
  |
ขอบพระคุณอย่างสูงที่คุณกรัชกายแนะนำค่ะ ก่อนที่คุณกรัชกายจะตอบนั้น ดิฉันได้สวดมนต์ เหมือนเคย แต่วันนี้แปลก แค่คิดว่าไม่รำแล้ว ไม่เอาแล้ว ก็ไม่รำจริงๆ อย่างไรก็ตามดิฉันก็จะพยายามฝึกสติให้มากกว่านี้ |
|
|
|
   |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 ส.ค. 2008, 9:13 pm |
  |
ก็เท่านี้แหละครับ ความคิด กำหนดรู้ก็จบลงขณะหนึ่งๆ
ความคิดอื่นๆก็เหมือนกัน เมื่อองค์ธรรมมีสติเป็นต้นมีกำลังแข็งพอ
เราเปลี่ยนความคิดได้ เหตุผล ก็คือ ความคิดเดิมถูกความคิด
ใหม่เบียดดับลง
ธรรมชาติของจิตคิดอารมณ์ คิดเรื่องราวได้ที่เรื่องทีละอย่างครับ
ไม่ใช่เรื่องแปลก หรือเรื่องน่าอัศจรรย์แต่ประการใด
หมั่นเจริญสติปัฏฐานเท่าที่สามารถเรื่อยๆครับ กำหนดรู้สภาวะทุกอย่าง
ตามที่มันเป็น สักวันจะเห็นต้นความคิด นั่น คือ จุดจบแห่งทุกข์
ครับ  |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
|