Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ความลับของฟ้า....คืออะไรกันแน่ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2008, 9:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

ทุกข์ ก็อยู่ที่ใจ มรรค ผล นิพพาน ก็อยู่ที่ใจครับ

ถ้าหนีลูกหนีเมียไปตอนนี้ ก็ไปได้คนเดียว ถ้ารอก่อนก็เอาคนอื่น

ไปได้ด้วยครับ



นั่นดิคับ อะไรๆ ก็อยู่ที่ใจ รวมลงที่นี่ แล้วจะหนีเค้าไปไหนเล่าครับ

ก็เอาสะคืนนี้เลย ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2008, 10:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เอาอย่างนั้นเลยเหรอพี่......
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 5:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

guest พิมพ์ว่า:
เอาอย่างนั้นเลยเหรอพี่......



จ้า ... เพราะการฝึกจิตในเบื้องต้น เพื่อรู้ความจริงในที่สุดนั้น

ไม่ต้องหนีไปไหนหรอก ก็อย่างที่น้อง guest กล่าวผ่านมาว่า =>

ทุกข์ ก็อยู่ที่ใจ มรรค ผล นิพพาน ก็อยู่ที่ใจ


หนีเข้าป่า ก็มีจิตใจตามไปด้วย อยู่กับครอบครัวก็มีจิตใจมีชีวิตอยู่

กับลูกเมีย ว่างตอนกลางคืนก็ทำตอนกลางคืน ว่างกลางวันก็ทำ

ตอนกลางวัน ถึงแสดงความเห็นว่า “ ให้เอาสะคืนนี้เลย”

ไม่ต้องดิ้นรนไปไหน ให้มันเกิดทุกข์ซ้อนขึ้นมาอีกก็ได้ ยิ้ม

อีกประการหนึ่ง เราก็ฝึกคุมจิตให้อยู่กับหน้าที่ที่ทำ ก็ได้แล้ว ยิ้มเห็นฟัน

คุณเห็นด้วยไหมครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 6:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรัชกาย พิมพ์ว่า:


........ “ ให้เอาสะคืนนี้เลย”



อะไรอะ.. นัดแนะอะไรกันคืนนี้ คืนนั้น
ตะเองก็

สงสัย
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 9:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พี่ๆครับ...สังคายนากันแล้วสรุปด้วยได้ปะครับ(คิดค่าเช่าเนื้อที่กระทู้)
เป็นธรรมทานแก่ผู้อ่านที่ด้อยปัญญาด้วยครับ สาธุ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 9:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ ฌาน


ผมสรุปของผมก็แล้วกันนะ

การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 นั้นทำได้ทุกอิริยาบท
ความจริงข้อ 5 ที่กล่าวว่านับชื่อพระพุทธเจ้า ก็พอยอมรับได้สำหรับผม

ชอบใจอันไหนก็ได้ทั้งนั้น แล้วภาวนาให้เกิดสมาธิ
แล้วคอยสังเกตุดูความสงบนั้น ที่เริ่มไม่สงบ..

ความลับของฟ้า คือ "ตามรู้ ไปตามจริง ไม่เข้าไปวุ่นวาย" ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น

โย่ว! ทักทาย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 11:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

พี่ๆ ครับ...สังคายนากันแล้วสรุปด้วยได้ปะครับ (คิดค่าเช่าเนื้อที่กระทู้)
เป็นธรรมทานแก่ผู้อ่านที่ด้อยปัญญาด้วยครับ สาธุ

ฌาน : 08 สิงหาคม 2008, 9:03 am



ต๊กกาจัย คิดว่าเก็บกาตังค่าเช่า (กะทู้) กรัชกายขอยืมหน่า ไม่ได้ขอ

เช่า ยิ้มเห็นฟัน

แต่จะให้สรุปเป็นค่าเช่า งี้พอได้คร้าบ ยิ้ม

เอาศัพท์นี้ก่อน “สักกายทิฏฐิ” กรัชกายถามคุณ Guest ไว้ แต่

ได้คำตอบ=>

อ้างอิงจาก:

สักกายทิฏฐิในความเข้าใจของผมก็เป็นตามตำรานั่นล่ะครับ
จะตอบให้ต่างจากตำราคงไม่ได้
เพราะผมยังละสักกายทิฏฐิไม่ได้
ถ้าละได้จะตอบออกจากใจเลยครับ ไม่ต้องดูตำราให้เมื่อย
Guest : 07 สิงหาคม 2008, 8:22 pm



สักกายทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นว่ากายเป็นตัวตน (เป็นเรา, เขา)

สักกายทิฏฐิ = สก+กาย+ทิฏฐิ

เป็นสังโยชน์ตัวหนึ่งที่โสดาบันบุคคลละได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 11:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อไปพิจารณาดูคุณสมบัติฝ่ายหมด (อื่นอีก) และฝ่ายมี หลังจากผู้

ปฏิบัติธรรมบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว



คุณสมบัติฝ่ายหมด หรือฝ่ายละ (นำมาแต่ที่น่าสนใจพิเศษ)



-สักกายทิฏฐิ - ความเห็นผิดว่าเป็นตัวของตน ติดสมมุติเหนี่ยวแน่น ซึ่งทำให้เห็นแก่ตัวอย่างหยาบ และเกิดความกระทบกระทั่ง
มีทุกข์ได้แรงๆ

-วิจิกิจฉา – ความสงสัยไม่แน่ใจต่างๆ เกี่ยวกับพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ ในสิกขา ในข้อปฏิบัติ เป็นต้น ซึ่งทำให้จิตไม่น้อมดิ่งไปในทางที่จะระดมความเพียรมุ่งหน้าปฏิบัติเร่งรุดไปในมรรคา

- สีลัพพตปรามาส- ความถือเกี่ยวกับศีลพรต คือ การถือปฏิบัติศีล
และวัตร หรือกฎเกณฑ์ ระเบียบวินัย ข้อปฏิบัติ ขนบธรรมเนียมต่างๆ ไม่บริสุทธิ์ตามหลักการตามความมุ่งหมาย ที่มุ่งเพื่อความ
ดีงาม เช่น ความสงบเรียบ และความเป็นฐานของสมาธิ
เป็นต้น แต่ประพฤติด้วยตัณหาและทิฏฐิ เช่น หวังผลประโยชน์ตอบแทน หวังจะได้เป็นนั่นเป็นนี่เป็นต้น ตลอดจนประพฤติด้วยงมงายสักว่าทำตามๆ กันมา

-ละมัจฉริยะ-คือความตระหนี่ ความใจคับแคบ หวงแหน คอยกีดกันผู้อื่น ทั้งอย่าง 5 ได้

-ละอคติ- คือ ความประพฤติที่ผิด หรือ ความลำเอียงได้ทั้ง 4 อย่าง

-ละราคะ โทสะ โมหะ หรือ โลภ โกรธ หลง ขึ้นหยาบหรือรุนแรง
ที่จะทำให้ถึงอบาย ไม่ทำความชั่วร้ายแรงที่จะเป็นเหตุให้ไปอบาย-

(สํ.ม.19/1575/489 ฯลฯ)

ฯลฯ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 11:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


คุณสมบัติฝ่ายมี- (เอาเฉพาะข้อที่น่าสนใจพิเศษ)



-ด้านศรัทธา –เชื่อมั่นในความจริง ความดีงาม และกฎธรรมดาแห่งเหตุและผล มั่นใจในปัญญาของมนุษย์ที่จะดับทุกข์หรือแก้ไขปัญหาได้ตามทางแห่งเหตุผล และเชื่อในสังคมที่ดีงามของมนุษย์ซึ่งจะเจริญงอกงามขึ้นได้ตามแนวทางเช่นนั้น ความเชื่อมั่นนี้แสดงออก
ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระรัตนตรัย เป็นศรัทธาซึ่งแน่วแน่ มั่นคง ไม่มีทางผันแปร เพราะเกิดจากญาณคือความรู้ความเข้าใจ

-ด้านศีล -มีความประพฤติ ทั้งทางกาย วาจา และการเลี้ยงชีพสุจริต เป็นที่พอใจของอริยชน มีศีลที่เป็นไท คือเป็นอิสระไม่
เป็นทาสของตัณหา - ( ศีลที่เป็นไท ไม่เป็นทาสของตัณหา คือมิได้ประพฤติเพื่อหวังผลตอบแทน เช่น โลกียสุข เป็นต้น - อนึ่ง พึงระลึกว่า ศีลรวมถึงสัมมาอาชีวะด้วยเสมอ-วิภงฺค.อ.114 =
วิสุทธิ.3/100)

-ด้านปัญญา- มีปัญญาอย่างเสขะ คือรู้ชัดในอริยสัจจ์ 4 มองเห็น
ปฏิจจสมุปบาท เข้าใจไตรลักษณ์คือ อนิจจตา ทุกขตา และ
อนัตตตา เป็นอย่างดี จนสลัดมิจฉาทิฏฐิทั้งหลายในรูปแบบต่างๆ
ได้สิ้นเชิง หมดความสงสัยในอริยสัจจ์ทั้ง 4 นั้น เรียกตามสำนวนธรรมว่าเป็นผู้รู้จักโลกแท้จริง

-ด้านความสุข - เริ่มรู้จักโลกุตรสุข ที่ประณีตลึกซึ้ง ซึ่งไม่ต้องอาศัยอามิส (เพราะได้บรรลุอริยวิมุตติแล้ว)

-ด้านสังคม-พระโสดาบันเป็นผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมสำหรับสร้างความสามัคคีและเอกภาพของหมู่ชนที่เรียกว่า สาราณียธรรมได้ครบถ้วนบริบูรณ์ เพราะสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักข้อสุดท้าย
ที่ท่านถือว่า เป็นดุจยอดที่ยึดคุมหลักข้ออื่นๆ เข้าไว้ทั้งหมด
กล่าว คือ ข้อว่า ด้วยทิฏฐิสามัญญตา

ฯลฯ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 11:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ความจริง คุณสมบัติฝ่ายหมดและฝ่ายมีนี้
ว่าโดยสาระสำคัญ

ก็เป็นอย่างเดียวกัน กล่าวคือ จะละสักกายทิฏฐิได้ ก็เพราะมีปัญญา

หยั่งรู้สภาวธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยพอสมควร เมื่อเกิดปัญญา

เข้าใจชัดขึ้นอย่างนี้ วิจิกิจฉา คือ ความสงสัยคลางแคลงใจก็หมดไป

ศรัทธาที่อาศัยปัญญาก็แน่นแฟ้น พร้อมนั้น ก็จะรักษาศีลได้ถูกต้อง

ตามหลักการตามความมุ่งหมาย กลายเป็นอริยกันตศีล คือ ศีล

ที่อริยชนชื่นชมยอมรับ สีลัพพตปรามาสก็พลอยสิ้นไป

เมื่อจาคะเจริญขึ้น มัจฉริยะก็หมดไป เมื่อราคะ โทสะ โมหะเบา

บางลง ก็ไม่ตกไปในอำนาจของอคติ และราคะ โทสะ โมหะเบาบาง

ลง ก็เพราะปัญญาที่มองเห็นความจริงของโลกและชีวิต ทำให้คลาย

ความยึดติด เมื่อสิ้นยึดติด ถือมั่นน้อยลง ความทุกข์ก็ผ่อนคลาย

และรู้จักความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 11:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธเจ้าไดตรัสเน้นถึงคุณค่าและความสำคัญของความเป็นโสดาบัน

อย่างมากมาย ดังจะทรงเร่งเร้าให้เวไนยชนหันมาสนใจภูมิธรรมหรือ

ระดับชีวิตขั้นนี้ อย่างจริงจังและยึดเอาเป็นเป้าหมายของการดำรงอยู่

ในโลก เช่นตรัสว่า การบรรลุโสดาปัตติผล ดีกว่าการได้ไปสวรรค์

ประเสริฐกว่าการได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ประเสริฐกว่าการได้ฌาน

สมาบัติ

ศาสดาผู้นำศาสนาที่มีสาวกมากมาย เป็นผู้ปราศจากกามราคะ

ด้วยกำลังเจโตวิมุตติ ประกอบด้วยกรุณาคุณ สั่งสอนลัทธิเพื่อ

เข้ารวมกับพรหม ทำให้สาวกไปสวรรค์ได้มากมาย นับว่าเป็น

ผู้ประเสริฐมากอยู่แล้ว แต่บุคคลผู้เป็นโสดาบันแม้ยังมีกามราคะ

อยู่ ก็ประเสริฐยิ่งกว่าศาสดาเหล่านั้น- (องฺ.ฉกฺก.22/325/415-418

ฯลฯ)

มีพุทธพจน์ในธรรมบทว่า “ยิ่งกว่าความเป็นเอกราชบนผืนปัฐพี

ยิ่งกว่าการไปสู่สรวงสวรรค์ ยิ่งกว่าอธิปัตย์ทั่วสรรพโลก สิ่งประเสริฐ

ล้ำ คือ โสดาบัตติผล” (ขุ.ธ.25/23/39)


(คำอธิบายเป็นต้นเหล่านี้นำมาจากหนังสือพุทธธรรม)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 11:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


พระพุทธเจ้าท่านแนะวิธีเปิดของที่ปิด หงายของที่คว่ำไว้แล้ว

นั่นแหละวิธีเปิดดูความลับของฟ้า ซึ้ง

ที่มันเป็นความลับ เพราะเรายังไม่รู้ ต่อเมื่อปฏิบัติจนรู้แล้ว

สิ่งที่ว่าเป็นความลับก็ถูกเปิดเผย แล้วความลับจะมีแต่ที่ไหน

สรุปย่อๆเท่านี้ก่อน ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 1:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เอ้าเจ้าของที่เค้าทวงค่าที่แล้วครับ..จ่ายช้าเดี๋ยวเค้าไม่ให้เครดิตอีก

ขอขอบคุณ คุณฌาณ มากครับ ผมจะขอสรุปความเห็นผมนะครับ

การปฏิบัติวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น พุทโธ ดูจิต ดูอะไรก็ตาม ที่กล่าวมาทั้งหมดในเวปนี้
เป็นกระบวนการที่ย้อนเข้ามาดูกายดูจิตดูใจหรือขันธ์ ๕ ของเรา
เพื่อให้รู้แจ้งเห็นจริงในตัวของเราเอง
เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงก็จะทำให้เรา ปล่อย วาง ขันธ์นี้เสีย
เมื่อปล่อยว่าขันธ์ทั้ง ๕ ได้อย่างเด็ดขาด
ก็จะถึงตัวจิตที่มีอวิชชาครอง
เมื่อทำลายอวิชชาสิ้นซากไปจากใจ
ก็เป็นอันเห็นธรรม
ดังพุทธพจน์ "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต"

ผลที่เกิดจากวิธีปฏิบัติในแต่ละวิธีนี้ หลักสำคัญคือเพื่อให้ถึงจิต
จะดูกายหรือดูอาการเคลื่อนไหวของกาย หรือลมหายใจ ก็เป็นการดูจากข้างนอกเพื่อเข้ามาหาจิตให้ได้
ส่วนพุทโธ หรือชื่อของศาสดา อ.พลศักดิ์ ก็เป็นการบริกรรมจ่อเข้ามาที่จิตเลย

-มีต่อ-
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 1:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผลผลิตจากการปฏิบัติข้างต้นที่สำคัญ คือ สติ
สติเป็นอาการที่เกิดร่วมกับจิต
แล้วสตินี้สำคัญอย่างไร

๑.สติ จะก่อให้เกิดสมาธิ นักปฏิบัติสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ จากการนั่งสมาธิ หรือ เดินจงกรม
ถ้าเราจิตจดจ่อต่อเนื่องกับคำบริกรรม เช่น พุทโธ ลมหายใจ หรือ เดินหนอ
และถ้าเราตั้งสติทำเช่นนี้ให้สืบเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยไม่ให้ขาดวรรคขาดตอน
ก็จะทำให้จิตสงบดังที่ท่านเรียกว่าจิตรวม
อาการของจิตรวมก็แล้วแต่บุคคล และความชำนาญ ของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป
ซึ่งจะมีอาการจิตรวมละเอียดเป็นลำดับขั้นไป
เมื่อจิตรวมหลายครั้งหลายหนเข้า
ก็จะเป็นการสร้างให้เกิดฐานของสมาธิคือความสงบใจ
ท่านผู้ปฎิบัติถึงแล้วจะรู้ดีว่า สติ กับ สมาธิต่างกันอย่างไร

๒.สติ เป็นฐานรองรับให้ปัญญาเดินได้อย่างสืบเนื่อง
ถ้าขาดสติ ปัญญาจะพิจารณาไม่สืบเนื่องกันไป
ทำให้ขาดวรรคขาดตอน
ปัญญาจึงทำงานไม่ได้
ส่งผลให้เป็นเพียง สัญญา ไม่ใช่ปัญญา

๓.เมื่อสติมีกำลังมากขึ้น ผู้ปฏิบัติเห็นผลมากขึ้น
จะก่อให้เกิด ศรัทธา และความเพียร มากขึ้น ในความสัมพันธ์ทางบวก
และเมื่อ ศรัทธา และความเพียร มากขึ้น
จะทำให้ สติ มีกำลังมากขึ้น
ส่งผลให้สมาธิแน่นหนายิ่งขึ้น
ปัญญาเฉียบคมยิ่งขึ้น
ส่งเสริมเกื้อกูลกันไปแบบนี้ใน พลธรรม ๕

-มีต่อ-
 


แก้ไขล่าสุดโดย guest เมื่อ 08 ส.ค. 2008, 1:25 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 1:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อขึ้นเวทีต่อสู้กิเลส ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
จะทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืนประสานกัน
ไปตามธรรมแต่ละขั้น
โดยมี ศรัทธา วิริยะ สติ เป็นฐาน
สมาธิเป็นที่พักเมื่อปัญญาทำงานเหน็ดเหนื่อย
การทำงานของปัญญาเปรียบดังคนทำงานเพื่อหารายได้
จะได้มากได้น้อยก็ต้องการ การพักผ่อน
จึงพักผ่อนในสมาธิ
การพักผ่อนในสมาธิเหมือนการนอนพักเพื่อให้ปัญญาได้มีกำลังทำงานต่อไป
วนเวียนไปอยู่เช่นนี้จนกว่า จะฆ่าตัดฟันกิเลสให้สูญสิ้นไปจากใจ

ธรรมในแต่ละขั้น ต้องการ สมาธิ และ ปัญญา ที่ละเอียดขึ้นไปตามธรรมในขั้นนั้น ๆ
ดังผู้ศึกษาจะต้องเรียนจาก อนุบาล ประถม มัธยม ถึงจะสามารถเข้าเรียนระดับมหา'ลัยได้

ดังนั้นผู้ที่เรียนระดับประถม ก็อย่าเพิ่งปฏิเสธในธรรมขั้นมัธยม
เนื่องจากเรียนอยู่ขั้นประถม
พอคนอื่นพูดเนื้อหาการเรียนในขั้นมัธยมเราจึงไม่เข้าใจ
แต่ก็ไม่ควรเชื่อโดยขาดการพิจารณา
ดังท่านกล่าวว่า "นิสมฺม กรณํ เสยฺโย"(จะทำการสิ่งใด ควรพิจารณาใคร่ครวญให้ดีเสียก่อน)

ดังนั้นสติจึงเป็นธรรมสำคัญ
ตั้งแต่ธรรมขั้นพื้น ๆ
จนกระทั่ง สุดยอดแห่งธรรม

ดังท่านว่า

"สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา" สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง

"สติรักษาจิต"

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณ คุณฌาณ เป็นอย่างสูงที่ให้ความอนุเคราะห์พื้นที่ในกระทู้แห่งนี้
และ ขอขอบคุณผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นและผู้อ่านทุกท่าน ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 4:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สู้ สู้ โอ้โห...อาจารย์ พี่ๆทุกท่าน ยอดเยี่ยมจริงๆ

ถ้าถามผมแล้วชอบบทนี้มากที่สุดครับ จำง่ายดี ยิ้มเห็นฟัน

"สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา" สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง


"สติรักษาจิต"

ชอบคำนี้จริงๆครับสรุปสุดยอด ขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่าน สาธุ
วันหลังมาใช้บริการเช่าพื้นที่ผมอีกนะครับ ปรบมือ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 4:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อพูดเน้นๆแต่สติๆๆๆ กันจนหลงลืมองค์ธรรมอื่นๆที่เกิดรวมกับสติ

ยึดติดแต่สติ เมื่อมีใครพูดแย้งโดยยกองค์ธรรมอื่นที่ทำงานใกล้ชิดกับสติ

ขึ้นพูดด้วย เป็นต้นว่า สัมปชัญญะ (= ปัญญา) สัญญา สมาธิ จึงนึก

ไม่ออก คิดไม่ได้

ธรรมที่เป็นชุดของมันคือโพธิปักขิยธรรม 37 ครับ


ว่างๆคุณฌานศึกษาสติปัฏฐานลิงค์นี้ครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13497
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 4:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ดูหน้าที่ขององค์ธรรมแต่ละตัวๆ ว่าเขาแบ่งหน้าที่กันทำอย่างไร




1. ศรัทธา- เป็นใหญ่ในหน้าที่ น้อมใจดิ่งหรือมุ่งไปเด็ดเดี่ยว กำจัดอกุศล

คือความไม่เชื่อ


2. วิริยะ-เป็นใหญ่ในหน้าที่ประคอง หรือ คอยยกจิตไว้ กำจัดอกุศลคือ

ความเกียจคร้าน


3. สติ-เป็นใหญ่ในหน้าที่คอยคุ้ม หรือ ดูแลจิต กำจัดอกุศลคือ

ความประมาท


4.สมาธิ- เป็นใหญ่ในหน้าที่ทำจิตไม่ให้ซ่านส่าย กำจัดอกุศล คือ

อุทธัจจะ


5. ปัญญา-เป็นใหญ่ในหน้าที่ดูเห็นตามสภาวะ กำจัดอกุศล คือ อวิชชา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 4:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพื่อให้เห็นภาพธรรมที่เกี่ยวเนื่องกันกว้างอีกนิดหนึ่งก็ดังนี้


เครื่องวัดความพร้อม



หลักธรรมที่เป็นเครื่องวัดความพร้อมและบ่งชี้ความก้าวหน้าช้าหรือเร็ว

ของบุคคลในการปฏิบัติธรรม ได้แก่ อินทรีย์ 5 คือ ศรัทธา วิริยะ

สติ สมาธิ และปัญญา

หลักธรรมชุดนี้ใช้สำหรับการปฏิบัติธรรมได้ทั่วไป ตั้งแต่ต้นจนถึงที่

สุด มิใช่เฉพาะสำหรับการเจริญสมาธิเท่านั้น

อินทรีย์ แปลว่า สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน คือธรรมที่เป็นเจ้าการ

ในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ ในที่นี้ หมายถึง เป็นเจ้าการในการทำ

หน้าที่กำจัดกวาดล้างอกุศลธรรมซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้าม เช่น ความ

เพียร กำจัดความเกียจคร้าน ทำให้เกิดความพร้อมในการทำงาน

และปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไปได้ ความหมายของ อินทรีย์ 5 อย่างนั้น

ท่านแสดงไว้พอสรุปได้ ดังนี้


1. ศรัทธินทรีย์- (ศรัทธา+อินทรีย์) ว่าโดยสาระก็คือศรัทธา

ในตถาคตโพธิ หรือตถาคตโพธิสัทธา นั่นเอง

กิจ หรือ หน้าที่ของศรัทธา คือ ความน้อมใจดิ่งหรือเด็ดเดี่ยว

(อธิโมกข์)

ความหมายสามัญว่า ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในความจริงความดี

ของสิ่งที่นับถือ หรือ ปฏิบัติ

2. วิริยินทรีย์- (วิริยะ+อินทรีย์) พึงเห็นได้ใน สัมมัปปธาน 4

บางแห่งว่า ความเพียรที่ได้ด้วยปรารภสัมมัปปธาน 4 หรือ

ตัวสัมมัปปธาน 4 นั่นเอง

บางทีก็พูดให้สั้นลงว่า ความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม และทำกุศล

ธรรมให้ถึงพร้อม การมีความแข็งขันบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศล

ธรรม

หน้าที่ของวิริยะ คือ การยกจิตไว้- (ปัคคหะ)

ความหมายสามัญว่า ความเพียรพยายาม มีกำลังใจ ก้าวหน้า

ไม่ท้อถอย

3. สตินทรีย์ - (สติ+อินทรีย์) พึงเห็นได้ใน สติปัฏฐาน 4

บางแห่งว่า สติที่ได้ด้วยปรารภสติปัฏฐาน 4 หรือด้วยสติปัฏฐาน 4

นั่นเอง

บางทีให้ความหมายง่ายลงมาว่า การมีสติ การมีสติครองตัวที่ยวดยิ่ง

สามารถระลึกนึกทวนถึงกิจที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้

หน้าที่ของสติคือการดูแลหรือคอยกำกับจิต (อุปัฏฐาน)

ความหมายสามัญว่า ความระลึกได้ กำกับใจไว้กับกิจ นึกได้ถึงสิ่งที่พึง

ทำพึงเกี่ยวข้อง

4. สมาธิ (สมาธิ+อินทรีย์) พึงเห็นได้ในฌาน 4

บางแห่งว่าหมายถึงตัวฌาน นั่นเอง หรือพูดอย่างง่าย ได้แก่

การทำภาวะปล่อยวางให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้แก่เอกัคคตา

แห่งจิต

หน้าที่ของสมาธิคือการทำจิตไม่ให้ส่าย (อวิกเขปะ)

ความหมายสามัญว่า ความมีใจตั้งมั่นแน่วแน่ในกิจ ในสิ่งที่กำหนด

5. ปัญญา (ปัญญา+อินทรีย์) พึงเห็นได้ในอริยสัจ 4 คือการรู้

อริยสัจ 4 ตามเป็นจริงหรือพูดอย่างง่ายได้แก่ การมีปัญญา ความ

ประกอบด้วยปัญญาที่หยั่งถึงความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไป ซึ่งเป็น

อริยะ ทำลายกิเลสได้ อันจะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

หน้าที่ของปัญญา คือ การเห็นความจริง (ทัสสนะ)

ความหมายสามัญว่า การรู้เข้าใจตามเป็นจริง รู้สิ่งที่ทำที่ปฏิบัติ

หยั่งรู้ หรือ รู้เท่าทันสภาวะ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 4:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีพุทธพจน์รับรองคำกล่าวของพระสารีบุตรว่า อินทรีย์ 5 อย่างนี้ส่งผล

เป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน กล่าวคือ

ศรัทธาทำให้เกิดความเพียร ความเพียรช่วยให้สติมั่นคง เมื่อสติมั่นคง

แล้ว กำหนดอารมณ์ก็จะได้สมาธิ เมื่อมีสมาธิดีแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจ

มองเห็นซึ่งถึงโทษของอวิชชาตัณหาที่เป็นเหตุแห่งสังสารวัฏ มองเห็น

คุณค่าของนิพพาน ซึ่งเป็นภาวะปราศจากความมืดแห่งอวิชชาและ

ความทุรนทุรายแห่งตัณหา สงบประณีตดีเยี่ยม ครั้นเมื่อรู้ชัดเข้าใจ

แจ่มแจ้งด้วยตนเองแล้ว ก็จะเกิดมีศรัทธาที่เป็นศรัทธาอย่างยิ่งหรือ

ยิ่งกว่าศรัทธา หมุนเวียนกลับเป็นสัทธินทรีย์อีก

ดังพุทธพจน์ท่อนสุดท้ายว่า


“ดูกรสารีบุตร อริยสาวกนั้นแล เพียรพยายามอย่างนี้ ครั้นเพียร

พยายามแล้วก็ระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้วก็ตั้งใจมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งจิต

มั่นแล้วก็รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้วก็เชื่อถืออย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลาย

ที่แต่ก่อนนี้เราเพียงได้ยินได้ฟังเท่านั้น ย่อมเป็นดังนี้แล ดังเราสัมผัส

อยู่ด้วยตัว และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญาอยู่บัดนี้”


(สํ.ม.19/1010-1022/297-300)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง