ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 9:00 pm |
  |
ขออนุญาตนำหลักปริยัติธรรมคำสอนของพระพุทธองค์
เรื่อง การปรับสมดุลย์แห่งจิตด้วยหลักโพชฌงค์ มาเสนอ
อาจจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนสมาชิก
โพชฌงคสังยุตต์ - ๖. หมวด ที่ ๖ - อัคคิสูตร
[๕๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่
หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุก
โพลง เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่นลงในไฟนั้น บุรุษนั้นจะ
สามารถก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ?
ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.
พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้นมิใช่กาลเพื่อเจริญ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.
[๕๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญธัมม-
*วิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือน
บุรุษต้องการจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลง เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า
และไม่โรยฝุ่นในไฟนั้น บุรุษนั้นสามารถจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ?
ภิ. ได้ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้นเป็นกาลเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น.
[๕๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบ
เหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า และ
ไม่โรยฝุ่นลงไปในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นสามารถจะดับไฟกองใหญ่ได้หรือหนอ?
ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.
พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นมิใช่กาลเพื่อเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.
[๕๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบ
เหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่น
ลงในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นจะสามารถดับกองไฟกองใหญ่นั้นได้หรือหนอ?
ภิ. ได้ พระเจ้าข้า.
พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นเป็นกาลเพื่อ เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขา สัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว สติแลว่า มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง.
สังเกตุได้ว่า
1.แม้น จิตจะเป็นอนัตตา...แต่ พระพุทธองค์ก็ทรงสอนวิธีปฏิบัติต่อจิต ทั้งการฝึกจิต การปรับสมดุลย์แห่งจิต(เช่น หลักแห่งโพชฌงค์).ทั้งการฝึกจิต หรือ ปรับสมดุลย์แห่งจิต ไม่ใช่การบังคับจิต แต่อย่างใด...หากแต่เป็น การประกอบเหตุอันสมควร เพื่อนำไปสู่ผลที่สมควร
2.สติ เป็นแกนหลักแห่งโพชฌงค์
เวลาจิตหดหู่(จิตแฟบ จิตท้อแท้ เหนื่อยหน่าย) องค์ธรรมในโพชฌงค์ ที่จะยังให้จิตสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ได้แก่ สติ ธรรมวิจัย วิริยะ ปีติ
เวลาจิตฟุ้งซ่าน(โกรธ หงุดหงิด ย้ำคิดย้ำทำ) องค์ธรรมในโพชฌงค์ ที่จะยังให้จิตสงบเยือกเย็น ได่แก่ สติ ปัสสัทธิ(ความสงบกายใจ) สมาธิ(ความตั้งมั่นชอบ) อุเบกขา(จิตเป็นกลางวางเฉย)
ไม่ว่าจิตแฟบ หรือ จิตฟู...สติ เป็นสิ่งแรกที่จะต้องบังเกิด
คือต้อง "รู้สึกตัว"ทันที ว่าจิตเป็นลักษณะใด
แล้ว ใช้หลักแห่งโพชฌงค์ปรับสมดุลย์แห่งจิต(ที่ไม่ใช่ตัวตนของใครๆ) ...ไม่แฟบ ไม่ฟู...มีสภาวะ แห่ง รู้ ตื่น เบิกบาน
ธรรมใดที่เป็นไปเพื่อโพธะ(ตรัสรู้) ธรรมนั้นชื่อว่าโพชฌงค์ |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 9:11 pm |
  |
โพชฌงค์ปริต เป็นบทสวดที่ใช้ไว้สวดให้แก่ผู้ที่เจ็บป่วยตั้งแต่ สมัยพุทธกาล
ความจริงที่ว่า "ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว"
ถ้าใจสดชื่นด้วยธรรม กายย่อมสดชื่นตามด้วยได้
หรือ ที่เรียกว่า ธรรมโอสถ
เคยมีการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันIgA ในน้ำลายคน
พบว่า เวลาเครียดระดับภูมิจะตกลงอย่างชัดเจน
นี่ คือคำอธิบายว่า เวลาเครียดทำไม ถึงไม่สบายง่ายๆ
ในต่างประเทศ เคยมีการวิจัยให้คนไข้โรคหัวใจฝึกสมาธิ
ปรากฏว่า กลุ่มที่ฝึกสมาธิ มีอาการดีกว่ากลุ่มไม่ฝึกสมาธิ อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ
โพชฌงค์ ที่เป็นองค์ธรรมที่นำไปสู่โพธะ
ประกอบด้วยทั้งฝ่าย สติ สมาธิ ปัญญา....
โพชฌงค์ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้หรือองค์ของผู้ตรัสรู้มี ๗ อย่าง
คือ
๑. สติ
๒. ธัมมวิจยะ (การสอดส่องเลือกเฟ้นธรรม)
๓. วิริยะ
๔. ปิติ (ความอิ่มใจ)
๕. ปัสสัทธิ(ความผ่อนคลายกายใจ)
๖. สมาธิ
๗. อุเบกขา |
|
|
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
06 ส.ค. 2008, 1:32 am |
  |
สาธุ |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
06 ส.ค. 2008, 10:16 am |
  |
ขอบคุณมากครับ ตรงประเด็นจริงๆเลยครับ  |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
นิรินธน์
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2008
ตอบ: 12
|
ตอบเมื่อ:
06 ส.ค. 2008, 2:33 pm |
  |
ขอบคุณมากๆ ค่ะ |
|
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
06 ส.ค. 2008, 7:37 pm |
  |
เห็นคุณตรงประเด็นตั้งกระทู้นี้ กรัชกายขอฝากคำอธิบายโพชฌงค์ไว้
ด้วยนะครับ นำมาจากหนังสือ พุทธธรรม หน้า 879
สนามปฏิบัติการทางปัญญา
คำว่า สนามปฏิบัติการทางปัญญาในที่นี้ หมายถึงหลักธรรมชุดที่เรียกว่า
โพชฌงค์
โพชฌงค์ เป็นทั้งธรรมเกื้อหนุนในการเจริญสมาธิ และเป็นที่ใช้
สมาธิเพื่อประโยชน์ที่สูงขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือ วิชชาและ
วิมุตติ
โพชฌงค์มี 7 ข้อ คือ สติ ธรรมวิจัย วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ-(= ความ
ผ่อนคลายสงบเย็นกาย -เย็นใจ กายปัสสัทธิ-จิตตปัสสัทธิ)
สมาธิ และอุเบกขา |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
06 ส.ค. 2008, 7:38 pm |
  |
มีพุทธพจน์จำกัดความหมายของโพชฌงค์ไว้สั้นๆ ว่า
เพราะเป็นไปเพื่อโพธะ (ความตรัสรู้) ฉะนั้นจึงเรียกว่า โพชฌงค์
(สํ.ม. 16/390/104; 435/120)
ส่วน พระอรรถกถาจารย์วินิจฉัยตามรูปศัพท์และแปลว่า องค์คุณของผู้
ตรัสรู้ หรือผู้จะตรัสรู้บ้าง องค์ประกอบของการตรัสรู้บ้าง
(วิสุทธิ.3/329; สํ.อ.3/220) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
06 ส.ค. 2008, 7:41 pm |
  |
ว่าโดยหลักการ โพชฌงค์ เป็นธรรมฝ่ายตรงข้ามกับนิวรณ์ 5 จะเห็นได้
ว่า พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องโพชฌงค์ไว้ควบคู่ไปด้วยกันกับนิวรณ์
เป็นส่วนมาก โดยฐานทำหน้าที่ตรงข้ามกัน-(สํ.ม.19/463-640/129-178
ฯลฯ)
แม้คำบรรยายคุณลักษณะของโพชฌงค์ ก็เป็นข้อความตรงข้าม
กับคำบรรยายลักษณะของนิวรณ์นั่นเอง ดังเช่น
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการเหล่านี้ ไม่เป็นเครื่องปิดกั้น
ไม่เป็นนิวรณ์ ไม่เป็นอุปกิเลสแห่งจิต เมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชาและวิมุตติ-
(สํ.ม.19/478/131 ฯลฯ)
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการเหล่านี้ เป็นธรรมทำให้มีจักษุ
ทำให้มีญาณ ส่งเสริมความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นข้างความคับแค้น
เป็นไปเพื่อนิพาน- (สํ.ม.19/502/137) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
06 ส.ค. 2008, 7:42 pm |
  |
นิวรณ์เป็นสิ่งทำลายคุณภาพจิต หรือทำให้จิตเสียคุณภาพ
ลักษณะนี้น่าจะใช้เป็นเครื่องวัดความเสื่อมเสียสุขภาพจิตได้ด้วย
ส่วนโพชฌงค์ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามก็เป็นธรรมที่ส่งเสริมคุณภาพจิต
และช่วยให้มีสุขภาพจิตดี เป็นเครื่องบำรุงและวัดสุขภาพจิต |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
06 ส.ค. 2008, 7:44 pm |
  |
โพชฌงค์ 7 นั้นมีความหมายรายข้อดังนี้
1. สติ - ความระลึกได้ หมายถึง ความสามารถหวนระลึกนึกถึง
หรือ กุมจิตไว้กับสิ่งที่จะพึงเกี่ยวข้องหรือต้องใช้ต้องทำในเวลานั้น
ในโพชฌงค์นี้ สติมีความหมายคลุมตั้งแต่การมีสติกำกับตัว ใจอยู่กับ
สิ่งที่กำลังกำหนดพิจารณาเฉพาะหน้า** จนถึงการหวนระลึกรวบรวม
เอาธรรมที่ได้สดับเล่าเรียนแล้ว หรือ สิ่งที่จะพึงเกี่ยวข้องต้องใช้
ต้องทำมานำเสนอต่อปัญญาที่ตรวจตรองพิจารณา
(สํ.ม. 19/374/99 )
**ได้แก่ สติในการเจริญสติปัฏฐานทั่วๆไป ม.อุ. 14/290/198;
สํ.ม. 19/1387/420 |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
06 ส.ค. 2008, 7:45 pm |
  |
2. ธรรมวิจัย- ความเฟ้นธรรม หมายถึง การใช้ปัญญาสอบสวนพิจารณา
สิ่งที่สติกำหนดไว้หรือธรรมที่ที่สติระลึกรวมมานำเสนอนั้น ตามสภาวะ
เช่น ไตร่ตรองให้เข้าใจความหมาย จับสาระของสิ่งที่พิจารณานั้นได้
ตรวจตราเลือกเฟ้นเอาธรรมหรือสิ่งที่เกื้อกุลแก่ชีวิตจิตใจ หรือสิ่งที่ใช้ได้
เหมาะดีที่สุด ในกรณีนั้นๆ หรือมองเห็นอาการที่สิ่งที่พิจารณานั้นเกิดขึ้น
ตั้งอยู่ ดับไป เข้าใจตามสภาวะที่เป็นไตรลักษณ์ ตลอดจนปัญญาที่
มองเห็นอริยสัจ-
(ม.อ.3/552 และ สํ.อ. 3/385 ให้ความหมายอย่างหนึ่งซึ่งกว้าง
มากว่า ธรรมวิจัย ได้แก่ ญาณ คือ ความหยั่งรู้หยั่งเห็นที่ประกอบร่วม
อยู่กับสตินั้น) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
06 ส.ค. 2008, 7:48 pm |
  |
3. วิริยะ-ความเพียร หมายถึงความแกล้วกล้า เข้มแข็ง กระตือรือร้น
ในธรรมหรือสิ่งที่ปัญญาเฟ้นได้ อาจหาญในความดี มีกำลังใจ สู้กิจ
บากบั่น รุดไปข้างหน้า ยกจิตไว้ได้ ไม่ให้หดหู่ ถดถอยหรือท้อแท้
4. ปีติ -ความอิ่มใจ หมายถึงความเอิบอิ่ม ปลาบปลื้ม ปรีย์เปรม
ดื่มด่ำ ซาบซึ้ง แช่มชื่น ซาบซ่าน ฟูใจ
5.ปัสสัทธิ- ความสงบกายใจ หมายถึงความผ่อนคลายกายใจ
สงบระงับ เรียบเย็น ไม่เครียด ไม่กระสับกระส่าย เบาสบาย
6. สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น หมายถึงความมีอารมณ์หนึ่งเดียว จิตแน่ว
แน่ต่อสิ่งที่กำหนด ทรงตัวสม่ำเสมอ เดินเรียบ อยู่กับกิจ
ไม่วอกแวก ไม่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่าน
7. อุเบกขา- ความวางทีเฉยดู หมายถึงความมีใจเป็นกลาง
สามารถวางทีเฉยเรียบ นิ่งดูไป ในเมื่อจิตแน่วแน่อยู่กับงานแล้ว
และสิ่งต่างๆดำเนินไปด้วยดีตามแนวทางที่จัดวางไว้ หรือที่มันควรจะ
เป็น |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
06 ส.ค. 2008, 7:50 pm |
  |
อุเบกขา แปลว่า ความวางเฉย หรือความมีใจเป็นกลาง
หรือแปลให้เต็มว่า ความวางทีเฉยดูอยู่ หมายถึง การดูอย่างสงบ
หรือ ดูตามเรื่องที่เกิด ไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ฯลฯ
คือว่าวางทีดูเฉยในเมื่ออะไรทุกอย่างเข้าที่ดำเนินไปด้วยดี
หรือเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเจ้ากี้เจ้าการ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
06 ส.ค. 2008, 8:45 pm |
  |
อนุโมทนา คุณกรัชกายครับ  |
|
|
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
06 ส.ค. 2008, 8:47 pm |
  |
สาธุครับ ท่านกรัชกาย |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
07 ส.ค. 2008, 3:11 pm |
  |
ทั้งท่านตรงประเด็น กับ ท่านกรัชกาย เป็นที่น่านับถือด้านการแสดงธรรมทั้งคู่
ทีแรกคิดว่าเป็นท่านเดียวกันเสียอีก
ขอท่านทั้งสองโปรดรับการคารวะจากผมด้วยครับ |
|
|
|
   |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
07 ส.ค. 2008, 4:57 pm |
  |
mes พิมพ์ว่า: |
ทั้งท่านตรงประเด็น กับ ท่านกรัชกาย เป็นที่น่านับถือด้านการแสดงธรรมทั้งคู่
ทีแรกคิดว่าเป็นท่านเดียวกันเสียอีก
ขอท่านทั้งสองโปรดรับการคารวะจากผมด้วยครับ |
อย่าเคารพผมเลยครับ
ผมก็ยังคงเป็นผู้ที่ทุกข์ครอบงำได้อยู่ เช่นเดียวกับท่านทั้งหลาย
ผมเพียงนำพระธรรมของพระพุทธเจ้าที่ทรงตรัสไว้ชอบแล้ว มาเผื่อแผ่ให้ผู้อื่นศึกษา...เท่านั้น |
|
|
|
  |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
13 ส.ค. 2008, 8:37 pm |
  |
อนุโมทนาบุญด้วยคน  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
|