ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
30 ก.ค.2008, 9:49 pm |
  |
ไปพบกระทู้ถามเกี่ยวกับรูปแบบการปฏิบัติกรรมฐาน (กำหนดรูปยืน)
จากบอร์ดหนึ่ง คิดถึงกตัญญุตาได้ ว่าเออ...สนทนาแบบมีผู้ตัวอย่าง
ประกอบน่าจะเข้าใจง่ายขึ้นน๊า...
เบื้องต้น กรัชกายถามคุณ ตอบตามความเข้าใจของตนเองเลย
นะครับ สบายๆ ว่างเมื่อไหร่ ค่อยตอบ
บอร์ดใหม่
http://fws.cc/whatisnippana/index.php |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 พ.ย.2010, 6:23 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
30 ก.ค.2008, 9:53 pm |
  |
(สงสัย ยืนหนอ)
ทำไมหนูต้องสงสัยทุกครั้งเลยก็ไม่รู้นะ ยืนจากกระหม่อมลงมา
ถึงปลายเท้า กำหนดสงสัยหนอตลอด
แต่คิดว่า ถามดีกว่า
1. มันเร็วมากไป รู้สึกว่าจะข้ามรายละเอียดบางตัว เหมือนข้ามตา
ข้ามจมูก ข้ามปากไป แล้วก็ไปถึงสะดือ
หยุดพัก ข้ามหัวเข่า ไปถึงปลายเท้าเลย ข้ามบางอย่างไปอีก
2. เวลาเราใช้ "จิตมอง" เราควรมองจากข้างนอกเข้ามาข้างใน หรือมองจากตัวเองออกไปข้างนอก
หนูใช้คำพูดไม่ถูก เหมือนกับว่า เรารู้สึกว่าตัวเองกะลังยืน แล้วมันค่อย ๆ ไล่ลงมา มันนอกตัว หรือในตัว แล้ว
ด้านหลังของเราล่ะ จะต้องมองไม๊ (ปกติหนูจะมองแต่ข้างหน้า)
3. บางครั้ง หนูกำหนดตัวเองที่ยืนอยู่ หมายถึง พอหลับตาแล้วนึกไปว่า จริง ๆ แล้วเราเป็นโครงกระดูก เราเห็น
หัวกะโหลกขาว ๆ จมูกบี้ ๆ กระดูกขาว ๆ เชิงกราน ผ่านตัวเองเป็น
รูปโครงกระดูก บางครั้งก็มองให้เห็นในเนื้อในหนัง
ว่าเราผ่านหนังเข้าไป มันมีเลือด มองเป็นมัด เป็นกล้ามเนื้อไป หรือบางครั้ง ก็มองเป็นว่า เรายืนเปลือยกายไป
หนูต้องมองในลักษณะไหน ถึงจะถูกต้อง เวลาปฏิบัติใส่ชุดขาว มันจะมองว่าตัวเองเป็นเส้นตรง ไปตามเสื้อ ตามผ้าถุงที่ใส่
4. เวลาพิจารณา ผมทั้งหลาย ขนทั้งหลาย เล็บทั้งหลาย หนังทั้งหลาย เราควรพิจารณาอย่างไร
เหมือนขน มีอยู่เต็มตัวไปหมด ผมพอจะเข้าใจเพราะอยู่บนศีรษะ
หนังก็เต็มตัว พอพิจารณาแล้ว รู้สึกว่า มันยังไม่หมด
เราพิจารณาไม่หมดตัว ยืนครั้งหนึ่งถ้าพิจารณาหมดตัว จะใช้เวลานานมาก แต่ก็คิดว่า มันยังไม่หมดอยู่ดี
5. วันนั้นอ่านที่หลวงพ่อท่านสอน บอกว่าให้ผ่า 90 องศาลงมาเลย
ไม่ทราบว่าให้ผ่ากลางหรือเป่า ถ้าผ่ากลาง ก็จะไม่ถึงขานะ เพราะว่า
ผ่ากลาง จากกระหม่อมลงมาเลย
6. มันยากนะ ตอนยืนเนี่ย ถ้าไม่เป็นสมาธิตอนยืน ตอนเดิน มันก็จะสงสัย กำหนดสงสัยหนอก็แล้ว พอกำลังจะ ก้าวขา มันจะไม่นิ่ง จะก้าวไม่มั่นคง คอยจะเฉอยู่เรื่อย แล้วก็ต้องกำหนดใหม่อีก |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
30 ก.ค.2008, 9:57 pm |
  |
ตอบวันละข้อก็ได้ครับ แก้ปัญหาให้เค้า เท่ากับเราแก้ให้ตน
เอง ปลดฉนวนความสงสัยให้ตนเองได้ระดับหนึ่งเหมือนกัน |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
30 ก.ค.2008, 10:39 pm |
  |
(พบอีกคำถามหนึ่ง คล้ายๆคุณตอนแรก คือ เกิดความกลัว
กระทู้นี้เราสนทนากรรมฐานกัน
ตุณเป็นคนตอบเค้า แม้ตัว จขกท.เองอาจไม่ได้อ่าน
แต่อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้กำลังปฏิบัติกรรมฐานก็เป็นได้
กรัชกายจะเป็นผู้ช่วยคุณ เหตุ ดังนี้ครับ )
(มีวิธีขจัดความกลัว เวลานั่สมาธิมัยะค่ะ)
คือว่า มีปัญหาเวลานั่งสมาธิค่ะ เนื่องจากว่า เมื่อตอนเด็กๆ
(อายุประมาณ 11-12 ขวบ)
ลองหัดนั่งสมาธิตามที่เรียนมาจากห้องจริยธรรม (ในสมัยนั้น) เป็นการนั่ง
แบบ อานาปาณสติ คือ กำหนดลมหายใจเข้าออก
มีครั้งหนึ่งก่อนนอน จำได้ว่า นั่งสมาธิได้สงบมาก มีความรู้สึกว่า ตัวเอง
ลอยขึ้นไปอยู่บนเพดานห้อง มองลงมาเห็นกายตัวเองนั่งนิ่งอยู่
เหมือนกายกับจิตแยกออกจากกันเป็นคนละคนกัน
ด้วยความรู้สึกวูบนั้น จิตเหมือนรีบกลับเข้าร่าง
ตอนนั้นกลัวมาก, ไม่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้น และไม่กล้านั่งสมาธิอีกเลย
จนกระทั่งเวลาผ่านไป 7-8 ปี ก็ได้เริ่มนั่งสมาธิอีกครั้ง แต่เป็นแบบ
สมถภาวนา มีคุณอาเป็นผู้แนะนำให้ไปวันแห่งหนึ่ง (แถวปทุมธานี)
เป็นการนั่งแบบสมถภาวนาสักระยะ ก็มีอาการสงบ พอสงบมากๆ
ถึงจุดหนึ่งก็เกิดความกลัว โดยไม่รู้สาเหตุไม่กล้านั่งต่อไป
(ขณะที่นั่งสมาธิไม่เคยเห็นอะไรเลยอย่างที่เขาแนะนำว่าต้องเห็น)
ประกอบกับได้อ่านหนังสือธรรมะ และหนังสือเกี่ยวกับการนั่งสมาธิมากขึ้น
ได้รับความรู้เกี่ยวกับการนั่งสมาธิจากหลายๆทางมากขึ้น ก็เลยเลิกนั่ง
สมาธิแบบสมถภาวนาไป เวลาผ่านมาอีกหลายปี ก็เริ่มนั่งสมาธิใหม่
เป็นแบบวิปัสสนาสมาธิ กำหนดกายานุปัสสนา บางครั้งก็เวทนานุปัสสนา
(ดู กาย ดูจิต) เคยนั่งสมาธิกำหนดกายานุปัสสนา จนรับรู้เหมือนว่า
เห็นโครงกระดูกตัวเอง แม้จะยืน เดิน นั่ง หรือทำอริยบทใด ก็จะสัมผัสได้
แต่เป็นโครงกระดูกเท่านั้นที่เคลื่อนไหว ก็เกิดความกลัวขึ้นมาอีก
เลยหยุดกำหนดสมาธิไป
ตอนนี้พึ่งเริ่มใหม่ จากที่เว้นมานาน ก็เริ่มนั่งแบบอานาปาณสติ
พยายามเอาใจให้สงบก่อน มันเหมือนจิตใต้สำนึกกับประสบการณ์
ครั้งแรก (ตอน 11-12 ขวบ) ทำให้ไม่กล้า ให้ใจสงบนิ่ง
เคยมีคนบอกว่า อาการที่เป็น เหมือนคนง่วงนอน แต่ไม่กล้านอน
เพราะกลัวว่า ถ้านอนหลับแล้วจะไม่ตื่นขึ้นมา
มีวิธีขจัดความกลัวแบบนี้ได้มัยค่ะ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73
|
ตอบเมื่อ:
31 ก.ค.2008, 3:11 am |
  |
คุณกรัชกายมีการบ้านให้เราทำอีกแล้วเหรอคะ
คือต้องออกตัวก่อนนะคะว่าเพิ่งเริ่มปฏิบัติ เป็นผู้มาใหม่จริงๆ ยังไม่มีความรู้ในทางธรรมเท่าใดนักหรือว่าอาจจะไม่ได้เข้าใจอะไรลึกซึ้งในเรื่องของการปฏิบัติธรรม ก็ตอบตามที่เข้าใจและตามที่ตนเองปฏิบัติอยู่ก็แล้วกันนะคะ บอกก่อนว่าปฏิบัติเองก็ไม่ได้มีใครสอน ไม่ได้มีผู้ชี้ถูกชี้ผิด ทำตามที่เราเข้าใจ ทำไปเรื่อย ๆ แล้วก็อาศัยดูคลิปวีดีโอสอนการนั่งกรรมฐานแล้วก็อ่านจากหนังสือหลวงพ่อและผู้รู้อีกหลายๆ ท่าน จึงทำให้ได้เข้าใจหลักการทำกรรมฐานเบื้องต้น(ด้วยตนเอง) จะถูกหรือผิดยังไงตรงนี้เราก็ไม่ทราบนะคะ ตอบเท่าที่ปัญญาอันน้อยนิดของเราจะตอบได้ละกันค่ะ....
(สงสัย ยืนหนอ)
ทำไมหนูต้องสงสัยทุกครั้งเลยก็ไม่รู้นะ ยืนจากกระหม่อมลงมา
ถึงปลายเท้า กำหนดสงสัยหนอตลอด
แต่คิดว่า ถามดีกว่า
เรื่องสงสัยนี้เราก็เป็นค่ะ ปกติก็ขี้สงสัยชอบถามอยู่แล้ว เลยมักถาม แต่เคยฟังพระอาจารย์หลาย ๆท่านบอกว่า อย่ามีความสงสัย ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ แล้วจะรู้เอง เห็นเค้าบอกว่าความสงสัยนี่ก็เป็นนิวรณ์ใช่ไหมคะ เรียกว่า อะไรนะ วิกิจฉา หรือเปล่าคะ เราเองก็พยายามจะไม่สงสัยนะ พยายามอยู่ แต่ก็อดที่จะถามไม่ได้เหมือนคุณแหล่ะค่ะ.. แบบว่าอย่างน้อยมีผู้ชี้แนะก็คงจะดีกว่าเข้าใจไปเอง แล้วมันก็สงสัยอยู่อย่างนั้นจริงๆ นะ พอมีผู้ชี้แนะเราได้ก็จะรู้สึกมั่นใจมากขึ้น ประมาณนั้น
บอกตรงๆ ว่า..เราเองก็ไม่ค่อยชอบตอนยืนหนอเท่าไหร่เลยค่ะ รุ้สึกว่ายังกำหนดการยืนหนอได้ไม่ดีพอ แต่เราก็ทำไปเรื่อยๆ อ่ะค่ะ อย่างที่บอก เราเคยดูคลิปวีดีโอที่หลวงพ่อจรัญสอนการยืนหนอห้าครั้ง แล้วเราก็นำไปปฏิบัติตาม วิธีของเรา เราก็ยืนเงยหน้าหลับตา แล้วก็ไล่ลมจากระหม่อมลงมาถึงปลายเท้า แล้วจากปลายเท้าขึ้นไปถึงกระหม่อม(บางทีก็รู้สึกว่าไม่ถึงอ่ะค่ะ หลายครั้งด้วยแต่ก็ไม่ติดใจอะไร ปล่อยไป แล้วก็กำหนดต่อไปให้ครบห้าครั้ง) แต่การกำหนดของเราตอนแรกเหมือนของคุณคือหยุดพักหายใจตรงสะดือ แต่พอนานๆ ไปเราชอบแบบไม่พักมากกว่า เราก็เลยไม่หยุดหายใจเลย คือกำหนดยืนหนอจากกระหม่อมลงปลายเท้าแล้วให้รู้สึกว่ามันถึงสะดือแล้วก็ไปต่ออ่ะค่ะ จริงๆ ถึงทุกวันนี้ก็ไม่ชอบตอนหยุดยืนหนอ ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน อาจเพราะเป็นคนไม่ค่อยอดทนเท่าไหร่ รู้สึกว่าตอนยืนหนอมันนานจังกว่าจะกลับตัวได้แล้วประกอบกับห้องที่เราปฏิบัติเนี่ยเนื้อที่มันแคบแต่มันส่วนตัวและสงบที่สุดแล้ว ฉะนั้นการเดินกลับไปกลับมาระยะทางก็อาจจะประมาณไม่ถึงสิบก้าวแล้วเดี๋ยวก็ต้องยืนหนออีกแล้ว |
|
_________________ สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา |
|
  |
 |
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73
|
ตอบเมื่อ:
31 ก.ค.2008, 3:29 am |
  |
1. มันเร็วมากไป รู้สึกว่าจะข้ามรายละเอียดบางตัว เหมือนข้ามตา
ข้ามจมูก ข้ามปากไป แล้วก็ไปถึงสะดือ
หยุดพัก ข้ามหัวเข่า ไปถึงปลายเท้าเลย ข้ามบางอย่างไปอีก
อันนี้เราก็เป็นเหมือนกันค่ะ มันจะข้าม ๆ ไปบ้าง ก็ปล่อยมันไป..คือตอนแรกเราจะเหมือนว่าไม่ข้ามเลยนะ แต่เหมือนเพ่งแล้วมันจะเครียดๆ ปวดหัวอ่ะ เลยก็ทำแบบสบายๆ ไม่เพ่ง ไม่เคร่งมาก เอาความรู้สึกว่าลมมันไปถึงปลายเท้าถึงกระหม่อมแล้วก็โอเคอ่ะ แต่บางทีมันก็ไม่ถึงนะอาจจะตอนไล่ลมสั้นไปบางทีมาอยู่แค่ขมับหรือบางทีก็หน้าผาก มันสุดหายใจแล้วมันก็เลยหยุดตรงนั้น ก็คิดว่าไม่เป็นไร อย่างน้อยเราก็ไล่ลมขึ้นมาข้างบนละ ครั้งต่อไปก็พยายามใหม่ แต่พยายามจะไม่วิตกหรือคิดมาก ทำสบาย ๆ ดีกว่าค่ะ
2. เวลาเราใช้ "จิตมอง" เราควรมองจากข้างนอกเข้ามาข้างใน หรือมองจากตัวเองออกไปข้างนอก
หนูใช้คำพูดไม่ถูก เหมือนกับว่า เรารู้สึกว่าตัวเองกะลังยืน แล้วมันค่อย ๆ ไล่ลงมา มันนอกตัว หรือในตัว แล้ว
ด้านหลังของเราล่ะ จะต้องมองไม๊ (ปกติหนูจะมองแต่ข้างหน้า)
ของเราเอาจิตให้รู้สึกถึงรูปร่างยืนของเรา เหมือนอยู่ภายใน ให้รู้สึกอยู่ในร่างกายของเรา แล้วก็ไล่ลมลงมาบางทีมันก็รุ้สึกแบบว่าลมมันขึ้นมาวูบๆ เลย(สังเกตจะเป็นเฉพาะตอนเพ่งมากๆ ) เวลาลงข้างล่างก็ไล่ไปว่าลมลงไปผ่านอะไรบ้างในร่างกายของเรา มันอาจไม่ทุกจุดหรอกค่ะ แต่เอาเป็นว่าไล่ลงไปถึงปลายเท้าให้เราได้รู้สึกและมีสติว่าเรากำลังยืนอยู่ ในอริยาบถยืนนี้ ส่วนด้านหลังเราไม่ได้เอาจิตมองอ่ะค่ะ เพราะมันจะมองยังไงอ่ะค่ะ ที่เราดูในคลิป ก็เอาแค่ความรู้สึกด้านหน้าที่เรายืนเห็นรูปยืนเพียงแต่เราหลับตา คิดว่าเราน่าจะเข้าใจถูกนะคะ
3. บางครั้ง หนูกำหนดตัวเองที่ยืนอยู่ หมายถึง พอหลับตาแล้วนึกไปว่า จริง ๆ แล้วเราเป็นโครงกระดูก เราเห็น
หัวกะโหลกขาว ๆ จมูกบี้ ๆ กระดูกขาว ๆ เชิงกราน ผ่านตัวเองเป็น
รูปโครงกระดูก บางครั้งก็มองให้เห็นในเนื้อในหนัง
ว่าเราผ่านหนังเข้าไป มันมีเลือด มองเป็นมัด เป็นกล้ามเนื้อไป หรือบางครั้ง ก็มองเป็นว่า เรายืนเปลือยกายไป
หนูต้องมองในลักษณะไหน ถึงจะถูกต้อง เวลาปฏิบัติใส่ชุดขาว มันจะมองว่าตัวเองเป็นเส้นตรง ไปตามเสื้อ ตามผ้าถุงที่ใส่
เอ่อ เราไม่ได้เอาจิตนึกมองขนาดนั้นเลยอ่ะค่ะ ก็หลับตาธรรมดาแล้วไล่ลมอย่างที่เขียนข้างบน ไม่ได้นึกอะไร ให้สติจับอยู่ที่ลมที่ไล่ขึ้นไล่ลงเนี่ยอ่ะค่ะ ก็ตามอิริยาบถยืนของเรา ให้มีสติรู้ว่าเรายืน แล้วก็ไล่ลมไป ไม่ได้นึกถึงเสือ้ผ้าหรือว่าอะไรนะคะ ของเราอยู่ที่ลมที่มันขึ้นลงค่ะ แล้วให้รู้สึกว่ามันถึงสะดือแล้วก็กำหนดไป เช่น จากกระหม่อมลงมายืนนนนนนยาววว ๆไล่ลมลงมาจนพอรู้สึกถึงสะดือไม่หยุดหายใจแล้วก็ต่อหนออออออยาว ๆ ลงไปข้างล่างอ่ะค่ะ สุดลมหายใจแค่ไหนแค่นั้น |
|
_________________ สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา |
|
  |
 |
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73
|
ตอบเมื่อ:
31 ก.ค.2008, 3:48 am |
  |
4. เวลาพิจารณา ผมทั้งหลาย ขนทั้งหลาย เล็บทั้งหลาย หนังทั้งหลาย เราควรพิจารณาอย่างไร
เหมือนขน มีอยู่เต็มตัวไปหมด ผมพอจะเข้าใจเพราะอยู่บนศีรษะ
หนังก็เต็มตัว พอพิจารณาแล้ว รู้สึกว่า มันยังไม่หมด
เราพิจารณาไม่หมดตัว ยืนครั้งหนึ่งถ้าพิจารณาหมดตัว จะใช้เวลานานมาก แต่ก็คิดว่า มันยังไม่หมดอยู่ดี
อันนี้เรายังไม่ได้เริ่มจริง ๆจังๆ เลยค่ะ เค้าเรียกว่าเพ่งอสุภะใช่ไหมคะ ที่ว่าให้เพ่งสังขารร่างกาย ผม เล็บ ฟัน ผิวหนัง เราก็ทำบ้าง ทำเล่นๆ ตอนว่าง ๆเอามือขึ้นมาดูหรือตอนตัดเล็บก็พิจารณาไปอย่างนี้มากกว่าค่ะ แต่ยังไม่ได้ถึงขั้นดูจริง ๆจัง ๆเลยไม่รู้จะว่ายังไงดี แต่มีพี่คนหนึ่งที่สนทนาธรรมกันเค้าก็แนะนำให้เพ่งอสุภะ ให้ดูพวกซากศพ แล้วยอมรับว่าเป็นคนขี้กลัว ดูแล้วภาพติดตาก็ยังไม่กล้าดู เลยว่าจะปฏิบัติตรงนี้ไปก่อนอ่ะค่ะ แต่เค้าบอกว่าเวลาพิจารณาให้ดูที่ว่าอย่างเช่น ผิวหนังร่างกายมันเป็นยังไง อายุมากขึ้นมันก็เหี่ยวลง กร้านลง ไม่เต่งตึง ไม่สวยงาม ในร่างกายมีแต่ของเหม็น อย่างถ้าไม่อาบน้ำสักสองสามวัน ไม่แปรงฟัน ไม่สระผม มันก็จะไม่สะอาดให้พิจารณาว่ามันไม่ได้สวยงามอย่างที่เราเห็น อย่างเล็บถ้าไม่ตัดเป็นยังไง สกปรก ไม่น่าดู อะไรอย่างนี้อ่ะค่ะ แต่เราก็เคยคิดเล่น ๆ เหมือนกันนะว่าร่างกายนี้นะ ถ้าไม่ได้ปรุงแต่งให้สวยงามอยุ่ตลอดมันก็คงไม่ดูเป็นแบบนี้หรอก อย่างอาบน้ำลองถูตัวก็มีแต่ขี้ไคล แม่เคยพูดให้ฟังว่า มีพระองค์หนึ่งท่านเทศน์ว่าในร่างกายของเรามีแต่ขี้ ลองดูสิเวลาตื่นนอนมา ก็มีขี้ตา หูก็มีขี้หู ฟันก็มีขี้ฟัน หัวก็มีขี้หัว และที่มีอยุ่ในตัวคนเราก็มีความขี้เกียจ ขี้โกรธ ขี้โมโห ขี้อิจฉา ฯลฯ มีแต่ขี้(ไม่ได้ไม่สุภาพนะคะ คือตามที่พระเทศน์น่ะค่ะ) เราเคยดูกระจกนะ มองตัวเองนี่แหล่ะแล้วก็คิดไปว่า เรานี่ก็แก่ลงทุกวันนะ สังขารร่างกายต่อให้ไปดึงไปรั้งยังไงมันก็ไม่ถาวรหรอก แต่ก็ยอมรับว่าเราเป็นพวกรักสวยรักงามตามประสาผู้หญิง อดไม่ได้เห็นสวยๆ งามๆ ก็ชอบ อยากเป็น อยากสวย แต่บางทีอารมณ์แบบดูรูปเก่าๆ แล้วเห็นได้ชัดเลยว่าแก่ลง...ตอนสาวๆ ก็ดูแบบเต่งตึงใช่ป่ะ หน้าใส ผิวสวย พอแก่มาทุกวันนี้ไม่มีอะไรดีเลยจริงๆ นะ ผิวก็ไม่สวย หน้าก็ไม่ใสละ มองเห็นเด็กรุ่นใหม่ๆ มีแต่หน้าใส ๆ แต่พอดูอายุก็ไม่แปลกใจหรอก เพราะว่าสมัยเราอายุเท่านั้นเราก็ดูเป็นแบบนั้นใส ๆ แต่พอแก่ลงเด๋วมันก็จะดูกร้านลงเป็นอีกแบบ ไม่เห็นมีใครจะใสตึงได้จนถึง 60-70 เลยสักคน
5. วันนั้นอ่านที่หลวงพ่อท่านสอน บอกว่าให้ผ่า 90 องศาลงมาเลย
ไม่ทราบว่าให้ผ่ากลางหรือเป่า ถ้าผ่ากลาง ก็จะไม่ถึงขานะ เพราะว่า
ผ่ากลาง จากกระหม่อมลงมาเลย
ผ่าที่ว่านี่หมายถึงไล่ลมลงมาหรือเปล่าคะ ไม่ค่อยเข้าใจคำถามเท่าไหร่ คือเราไม่ได้คิดขนาดที่ว่าผ่ากลางผ่าข้างอะไรเลย ก็ทำอย่างที่บอกอ่ะค่ะ ไล่ลมลงมาเรื่อย ๆแล้วก็กำหนดไปคือทั่วทั้งร่างกาย ต้องดุคลิปอ่ะค่ะ เราดูคลิปแล้วเห็นภาพนะเพราะว่าเค้าทำให้ดูเราก็ปฏิบัติตามนั้น
6. มันยากนะ ตอนยืนเนี่ย ถ้าไม่เป็นสมาธิตอนยืน ตอนเดิน มันก็จะสงสัย กำหนดสงสัยหนอก็แล้ว พอกำลังจะ ก้าวขา มันจะไม่นิ่ง จะก้าวไม่มั่นคง คอยจะเฉอยู่เรื่อย แล้วก็ต้องกำหนดใหม่อีก
เราไม่เคยกำหนดสงสัยหนอเลยค่ะ ของเราแค่เอาสติจับที่ปลายเท้า อาจมีบ้างที่มันฟุ้งซ่าน เผลอคิดไป ก็ดึงสติกลับมาใหม่ให้อยู่ตรงที่ปลายเท้า กำหนดจังหวะให้พอดีและตรงตามจริง เช่น ขวา รุ้ว่าเท้าขวายกส้น ย่าง ก็รู้ว่ายกเท้าขึ้นแล้ว หนอก็รู้ว่าเท้าลงพื้นพอดีอ่ะค่ะ แล้วก็ทำไปเรื่อยๆ ให้มีสติจับอยู่ที่เท้าและการเดิน ยก ย่าง อ่ะค่ะ ต้องทันกัน |
|
_________________ สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา |
|
  |
 |
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73
|
ตอบเมื่อ:
31 ก.ค.2008, 4:07 am |
  |
กรัชกาย พิมพ์ว่า: |
(พบอีกคำถามหนึ่ง คล้ายๆคุณตอนแรก คือ เกิดความกลัว
กระทู้นี้เราสนทนากรรมฐานกัน
ตุณเป็นคนตอบเค้า แม้ตัว จขกท.เองอาจไม่ได้อ่าน
แต่อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้กำลังปฏิบัติกรรมฐานก็เป็นได้
กรัชกายจะเป็นผู้ช่วยคุณ เหตุ ดังนี้ครับ )
(มีวิธีขจัดความกลัว เวลานั่สมาธิมัยะค่ะ)
คือว่า มีปัญหาเวลานั่งสมาธิค่ะ เนื่องจากว่า เมื่อตอนเด็กๆ
(อายุประมาณ 11-12 ขวบ)
ลองหัดนั่งสมาธิตามที่เรียนมาจากห้องจริยธรรม (ในสมัยนั้น) เป็นการนั่ง
แบบ อานาปาณสติ คือ กำหนดลมหายใจเข้าออก
มีครั้งหนึ่งก่อนนอน จำได้ว่า นั่งสมาธิได้สงบมาก มีความรู้สึกว่า ตัวเอง
ลอยขึ้นไปอยู่บนเพดานห้อง มองลงมาเห็นกายตัวเองนั่งนิ่งอยู่
เหมือนกายกับจิตแยกออกจากกันเป็นคนละคนกัน
ด้วยความรู้สึกวูบนั้น จิตเหมือนรีบกลับเข้าร่าง
ตอนนั้นกลัวมาก, ไม่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้น และไม่กล้านั่งสมาธิอีกเลย
จนกระทั่งเวลาผ่านไป 7-8 ปี ก็ได้เริ่มนั่งสมาธิอีกครั้ง แต่เป็นแบบ
สมถภาวนา มีคุณอาเป็นผู้แนะนำให้ไปวันแห่งหนึ่ง (แถวปทุมธานี)
เป็นการนั่งแบบสมถภาวนาสักระยะ ก็มีอาการสงบ พอสงบมากๆ
ถึงจุดหนึ่งก็เกิดความกลัว โดยไม่รู้สาเหตุไม่กล้านั่งต่อไป
(ขณะที่นั่งสมาธิไม่เคยเห็นอะไรเลยอย่างที่เขาแนะนำว่าต้องเห็น)
ประกอบกับได้อ่านหนังสือธรรมะ และหนังสือเกี่ยวกับการนั่งสมาธิมากขึ้น
ได้รับความรู้เกี่ยวกับการนั่งสมาธิจากหลายๆทางมากขึ้น ก็เลยเลิกนั่ง
สมาธิแบบสมถภาวนาไป เวลาผ่านมาอีกหลายปี ก็เริ่มนั่งสมาธิใหม่
เป็นแบบวิปัสสนาสมาธิ กำหนดกายานุปัสสนา บางครั้งก็เวทนานุปัสสนา
(ดู กาย ดูจิต) เคยนั่งสมาธิกำหนดกายานุปัสสนา จนรับรู้เหมือนว่า
เห็นโครงกระดูกตัวเอง แม้จะยืน เดิน นั่ง หรือทำอริยบทใด ก็จะสัมผัสได้
แต่เป็นโครงกระดูกเท่านั้นที่เคลื่อนไหว ก็เกิดความกลัวขึ้นมาอีก
เลยหยุดกำหนดสมาธิไป
ตอนนี้พึ่งเริ่มใหม่ จากที่เว้นมานาน ก็เริ่มนั่งแบบอานาปาณสติ
พยายามเอาใจให้สงบก่อน มันเหมือนจิตใต้สำนึกกับประสบการณ์
ครั้งแรก (ตอน 11-12 ขวบ) ทำให้ไม่กล้า ให้ใจสงบนิ่ง
เคยมีคนบอกว่า อาการที่เป็น เหมือนคนง่วงนอน แต่ไม่กล้านอน
เพราะกลัวว่า ถ้านอนหลับแล้วจะไม่ตื่นขึ้นมา
มีวิธีขจัดความกลัวแบบนี้ได้มัยค่ะ |
เราก็เป็นเหมือนคุณคนนี้เลยค่ะ คือขี้กลัวมากแล้วจิตชอบปรุงแต่งคิดไปเองอ่ะ เช่นกลัวผี ดูหนังผี ฟังเค้าเล่าเรื่องผี เอาละ เก็บมาคิด ว่าในความมืดที่เรามองไม่เห็น ต้องมีผี ผีเห็นเรา ผีมองเรา หน้าตาแบบนี้ ปรากฎกายแบบนี้ คือคิดไปเองแล้วมันก็หลอน หลอนจริง ๆ ประกอบกับคนรอบข้างชอบเจออยู่เรื่อยเลย เราก็เหมือนได้ยินได้ฟังบ่อยเราก็เชื่อว่าผีมีจริงแล้วเราก็กลัว กลัวจนแบบเรียกได้ว่า ขี้ขลาดตาขาว กลัวซะยิ่งกว่าคนเห็นจริงๆ อีก คือจิตเอาไปคิดเป็นตุเป็นตะไงตามที่เค้าเล่าแล้วก็หลอกตัวเองให้กลัว ทุกวันนี้ก็ยังเป็นอยู่ แต่น้อยลงบ้าง แต่ก็ยังกลัว ยังขจัดความกลัวออกไปไม่ได้หมดเช่นกัน คือเราก็อยากได้คำแนะนำเหมือนกันอ่ะค่ะ แต่บางทีก็พยายามคิดว่าเค้าคงไม่ทำร้ายเราหรอก ถ้าเราทำดี ก็คงไม่มีอะไรทำร้ายเราได้ ปลอบใจตัวเองไปน่ะค่ะ จริงๆ แล้วเราว่าคนเราทุกคนไม่ได้กลัวผีหรอก แต่กลัวความมืดมากกว่า ผีเป็นสิ่งที่เราจินตนาการออกมามันก็เลยดูน่ากลัว ประกอบกับมืดด้วยแล้ว บรรยากาศให้ไง เคยลองฟังหรืออ่านเรื่องผีตอนกลางวันก็ไม่กลัวเท่าไหร่นะ เพราะว่ามันไม่มืดล่ะมั๊ง (เดาเอานะคะ)
ครั้งหนึ่งนานมาแล้วตอนเด็กๆ อ่ะค่ะ เราก็เคยนั่งสมาธิ คือนั่งไม่ได้จริงจังนะ ตอนนั้นเหมือนโกรธใครมาแล้วมาสงบสติอารมณ์ แล้วก็นั่งสมาธิ ไม่ได้กำหนดพุทโธหรืออะไร ก็คือดูลมหายใจไปเรื่อยๆ นั่งไปเรื่อยๆ แล้วมันมาถึงจุดหนึ่งที่ว่าอยู่ดีดีเหมือนว่าร่างกายไม่มีตัวตน ไม่มีจริง ๆมีแต่ความว่างเปล่า ทุกอย่างเงียบ แล้วเหลือแต่จิตของเรา เหมือนเหลือแต่วิญญาณแต่ร่างกายไม่มี ณ วินาทีนั้นรู้สึกกลัวจริงๆ เพราะมันมีแค่ลมหายใจอ่ะ อย่างอื่นหายหมดเลย เราก็รีบลืมตาขึ้นมา ปรากฎว่าก็ไม่เห็นเป็นไร ร่างกายก็อยู่นี่ มันเป็นความรู้สึกแป๊บๆ ที่ไม่รู้เรียกว่าอะไร แต่รู้สึกได้ถึงความกลัว ตกใจ อาจเพราะว่าไม่เคยทำสมาธิมาก่อนมั๊งคะ ก็เลยกลัวแล้วหลังจากนั้นมาก็ไม่เคยนั่งสมาธิแล้วได้รู้สึกแบบนั้นอีกเลยแม้กระทั่งตอนนี้ แต่เท่าที่อ่านของคุณจะน่ากลัวกว่าเพราะว่าเห็นร่างตัวเอง เป็นเราก็คงจะตกใจอ่ะค่ะ เราเองก็เคยกลัวแบบนี้ถึงไม่กล้านั่งสมาธิ เคยนั่งๆ แล้วแบบสามีเปิดประตูผลั๊วะเข้ามา อารามตกใจ เหมือนใจหล่นวูบ ลืมตาโพลง ใจเต้นตุ๊บๆๆเลยทั้งๆ ที่ใจก็ไม่ได้คิดอะไรนะ แต่ทำไมตกใจขนาดนั้นก็ไม่รู้ อาจเพราะจิตมีความกลัวเรื่องผีผี พอสามีเปิดประตูมาแบบไม่ให้สุ้มเสียงสติมันก็เลยเตลิด อย่างบางทีนั่งๆ เอาละได้ยินแกร๊กๆๆ ปกติไม่นั่งก็ไม่ได้ยิน พอนั่งแล้วได้ยินเราก็นึกถึงผี นึกถึงโอปปาติกะที่เค้าว่าเป็นผีที่อยู่ใกล้มนุษย์ที่สุดสามารถทำให้เราได้ยินเสียงได้ พอนึกอย่างนี้แล้วก็กลัว ลืมตาเลย ไม่กล้านั่งต่อ เสียงก็ดันหายไป ไม่มีอีกจรงิๆ ด้วยนะ แต่พอมาขอคำแนะนำที่ว่ากลัวแต่อยากนั่งสมาธิมีคำแนะนำอย่างไรบ้างที่เว็บนี้แหล่ะ และก็มีผุ้รู้แนะนำ ก็เลยพยายามตั้งสติแล้วเวลานั่งก็คือไม่หวั่นไหวหรือตกใจกลัวในเสียงที่เกิดขึ้น พอเสียงเกิดเราก็หลับตาอยู่แล้ว เราก็กำหนดไปว่าเสียงหนอๆ แล้วก็พยายามไม่คิดปรุงแต่งเรื่องผีหรือสิ่งที่เรากลัว ให้สติอยู่กับท้องยุบพองหรือลมหายใจก็ได้ แล้วความกลัวมันก็จะหายไปเองเพราะจิตเราไม่สามารถคิดเรื่องกลัวได้ ถ้าถามเราขจัดความกลัวก็คงอย่างที่บอก รู้แล้ววาง กำหนดแล้วไม่ต้องสนใจแล้วก็บริกรรมต่อ เพราะว่าเราก็ทำแบบนี้ก็ช่วยได้เยอะเหมือนกันค่ะ |
|
_________________ สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
31 ก.ค.2008, 7:28 pm |
  |
คุยนอกรอบครับไม่มีอะไร ไม่ใช่ปัญหาของเรา
กรัชกายเป็นที่ปรึกษาให้ คุณก็เรียนรู้วิธีปฏิบัติไปด้วย เพราะบางทีเรา
ไปคิดกฏสร้างสูตรกันจนเกิดความเกร็งตัว กลัวผิดคำสั่งขึ้นมา
อย่างกรณีแรก ที่เกิดปัญหารุงรังในการกำหนดรูปยืน เพราะผู้แนะนำ
คิดสูตรหยิมหยิมขึ้น จนเป็นภาระเกิดปลิโพธขึ้น
ตัวอย่าง ข้อ 1 เค้าถามว่า
1 . มันเร็วมากไป รู้สึกว่าจะข้ามรายละเอียดบางตัว เหมือนข้ามตา
ข้ามจมูก ข้ามปากไป แล้วก็ไปถึงสะดือ
หยุดพัก ข้ามหัวเข่า ไปถึงปลายเท้าเลย ข้ามบางอย่างไปอีก
ไม่ต้องยืนเก็บรายละเอียดถึงขนาดนั้น ไม่ใช่ ไม่ใช่ เลย
เรายืนอย่างไรก็ดูอย่างนั้นกำหนดยืนอย่างนั้น ดูจากล่างขึ้นบน
จากบนลงล่างก็ได้ ไม่มีปัญหา
เพียงแต่เราคุมสติอยู่กับอาการยืนนั้น "ยืนหนอๆๆ" เท่านี้เอง
เห็นไหมคับ ไม่เห็นต้องลากเส้นโยงไปโน่นนี่ เลย
ในขณะยืน เราก็มีรูปยืนเป็นอารมณ์ เดินก็มีอาการเดินเป็นอารมณ์
เมื่อยืน "ยืนหนอๆๆ" แต่จิตแวบไปไม่อยู่กับรูปยืน "คิดหนอๆๆ"
แค่นี้เอง ไม่มีสูตรตายตัว รู้สึกอย่างไร ก็กำหนดอย่างนั้น อยู่ใน
อิริยาบถใด ก็กำหนดอิริยาบถนั้น อย่างนั้น จบ
(ส่งเมลให้แล้วนะครับ) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
01 ส.ค. 2008, 8:10 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
2. เวลาเราใช้ "จิตมอง" เราควรมองจากข้างนอกเข้ามาข้างใน หรือมองจากตัวเองออกไปข้างนอก
หนูใช้คำพูดไม่ถูก เหมือนกับว่า เรารู้สึกว่าตัวเองกะลังยืน แล้วมันค่อย ๆ ไล่ลงมา มันนอกตัว หรือในตัว แล้ว
ด้านหลังของเราล่ะ จะต้องมองไม๊ (ปกติหนูจะมองแต่ข้างหน้า) |
ไม่มองลึกเข้าไปถึงตับไตไส้ปอด ไม่ใช่ครับ ยืนนึกภาพร่างกายที่ยืนอยู่
นั้น ยืนหนอๆๆๆ ไม่เจาะจงว่าหน้า หรือ หลัง และไม่ใช่ก้มหน้าดู
ตัวเองนะครับ นึกให้เห็นภาพยืน ยืนหนอๆๆ
จะยืนนานแคไหนเพียงไรก็ได้ ไม่มีข้อห้าม
หรือเดินสุดทางแล้วจะกลับตัว (กลับหนอๆๆ) เลยก็ได้อีก
ประเด็นสำคัญ ตามการเคลื่อนไหวของกายทันก็ใช้ได้ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73
|
ตอบเมื่อ:
01 ส.ค. 2008, 8:23 pm |
  |
ตอบวันละข้อเลยนะคะ  |
|
_________________ สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
01 ส.ค. 2008, 9:08 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
3. บางครั้ง หนูกำหนดตัวเองที่ยืนอยู่ หมายถึง พอหลับตาแล้วนึกไปว่า จริง ๆ แล้วเราเป็นโครงกระดูก เราเห็น หัวกะโหลกขาว ๆ จมูกบี้ ๆ กระดูกขาว ๆ เชิงกราน ผ่านตัวเองเป็น รูปโครงกระดูก
บางครั้งก็มองให้เห็นในเนื้อในหนัง ว่าเราผ่านหนังเข้าไป มันมีเลือด มองเป็นมัด เป็นกล้ามเนื้อไป หรือบางครั้ง ก็มองเป็นว่า เรายืนเปลือยกายไป
หนูต้องมองในลักษณะไหน ถึงจะถูกต้อง เวลาปฏิบัติใส่ชุดขาว มันจะมองว่าตัวเองเป็นเส้นตรง ไปตามเสื้อ ตามผ้าถุงที่ใส่ |
ไม่ใช่นึกคิดว่า ร่างกายเราเป็นโครงกระดูก จมูกบี้แบน เป็นต้น ไม่ใช่
ครับ คิดแบบนั้นหล่นจากกรรมฐาน คือ รูปยืนแล้ว ให้นึกภาพรูปยืน
โดยรวม แล้วกำหนด่ในใจว่า "ยืนหนอๆๆๆ" เท่านี้ ไม่ใช่คิดดูแจกแจง
รายละเอียดแบบนั้น |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
01 ส.ค. 2008, 9:18 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
4. เวลาพิจารณา ผมทั้งหลาย ขนทั้งหลาย เล็บทั้งหลาย หนังทั้งหลาย เราควรพิจารณาอย่างไร เหมือนขน มีอยู่เต็มตัวไปหมด ผมพอจะเข้าใจเพราะอยู่บนศีรษะ
หนังก็เต็มตัว พอพิจารณาแล้ว รู้สึกว่า มันยังไม่หมด
เราพิจารณาไม่หมดตัว ยืนครั้งหนึ่งถ้าพิจารณาหมดตัว จะใช้เวลานานมาก แต่ก็คิดว่า มันยังไม่หมดอยู่ดี |
ข้อข้องใจคล้ายๆ กัน คือ ไม่เข้าใจการกำหนดรูป-นาม เค้าคิดถึง
รายละเอียด คือ คิดถึงว่ารูป... เป็นยังงั้นยังงี้...ยังไม่ใช่กำหนด
รูป-นาม แต่ละขณะๆ
ขึ้นไปดูคำตอบข้อที่ผ่านมา |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
01 ส.ค. 2008, 9:30 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
5. วันนั้นอ่านที่หลวงพ่อท่านสอน บอกว่าให้ผ่า 90 องศาลงมาเลย
ไม่ทราบว่า ให้ผ่ากลางหรือเป่า ถ้าผ่ากลาง ก็จะไม่ถึงขานะ
เพราะว่า ผ่ากลาง จากกระหม่อมลงมาเลย |
ข้อนี้ผู้แนะนำคิดสูตรขึ้น เพื่อให้เป็นปลิโพธ เกิดความกังวลอย่างไม่
จำเป็นแต่อย่างใด
ให้ดูร่างกายทั้งหมด ยืนก็ดูรูปยืน นั่งก็ดูรูปที่นั่ง จะดูจากล่างขึ้นบน
หรือจากบนลงล่างก็ได้ ไม่ต้องคิดผ่านั่นนี่ ให้เกิดความกังวลขึ้น
มา
สำคัญอย่างเดียว ใช้สติคุมจิตให้อยู่กับร่างกาย แล้วกำหนด ยืนหนอ,
นั่งหนอไปตามเรื่อง ไม่ต้องคิดผ่า |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
01 ส.ค. 2008, 9:44 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
6. มันยากนะ ตอนยืนเนี่ย ถ้าไม่เป็นสมาธิตอนยืน ตอนเดิน มันก็จะสงสัย กำหนดสงสัยหนอ
ก็แล้ว พอกำลังจะ ก้าวขา มันจะไม่นิ่ง จะก้าวไม่มั่นคง คอยจะเฉอยู่เรื่อย แล้วก็ต้องกำหนดใหม่อีก |
ความจริงยืนไม่ยาก เพราะเรายืนเป็นนั่งได้มาตั้งแต่เด็กแล้ว
ที่ยาก เพราะเราทำให้มันยากกันเอง
ยืนอย่างไรก็กำหนดอย่างนั้น "ยืนหนอๆๆ" ตามที่ยืนอยู่นั่น แค่นี้จบ
กระบวนการกำหนดรูปยืนแล้ว |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 6:04 pm |
  |
หายไปเลยคุณกรัชกาย ได้รับอีเมล์เราไหมคะ |
|
_________________ สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 6:55 pm |
  |
ได้รับข้อความจากคุณกตัญญุตาทางเมล คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อโยคีผู้
ปฏิบัติกรรมฐานจึงนำมาตอบตรงนี้
สวัสดีค่ะคุณ กรัชกาย..สบายดีนะคะ
มีคำถามอยากถามเรื่องการเดินจงกรมกับนั่งสมาธิ มีคนบอกว่า เดินนาน
เท่าไหร่ก็ได้ แต่อย่านานกว่านั่ง คือให้นั่งนานกว่า
ถ้านั่งน้อยกว่าเดินจะไม่ดี จริงหรือเปล่าคะ ไม่รู้ทำไมแปลกใจสองวัน
มานี้นั่งน้อยกว่าเดินประมาณ 10 นาที (ว่าจะไม่สงสัยแล้วเชียว แต่ขอ
รู้เหตุผลหน่อยว่าทำไมค่ะ)
คือเวทนาจะเกิดในช่วงเวลานั้น เราก็นั่งต่อสักพักจนหายหรือไม่ปวด
มากจะออกจากสมาธิ เหมือนแต่ก่อนอ่ะค่ะ คือจะรู้ว่ามันจะเป๊ะ ๆ เลย
เวลา
แต่ตอนนี้ไม่เป๊ะแล้ว ดูเหมือนนานแต่จริง ๆนั่งเร็วกว่าเดิน เพราะอะไรคะ
กตัญญุตา |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
06 ส.ค. 2008, 11:46 am |
  |
ก็สบายตามอัตภาพครับ
อ้างอิงจาก: |
อยากถามเรื่องการเดินจงกรมกับนั่งสมาธิ มีคนบอกว่า เดินนานเท่าไหร่
ก็ได้ แต่อย่านานกว่านั่ง คือให้นั่งนานกว่า ถ้านั่งน้อยกว่าเดิน
จะไม่ดี จริงหรือเปล่าคะ |
วิธีมีสำหรับฝึก-สำหรับปฏิบัติยืดหยุ่นได้ครับ ไม่ล๊อกตายตัวจนเราปรับ
เปลี่ยนอะไรไม่ได้ ไม่ใช่ครับ
เพียงแต่ว่าแรกเริ่มปฏิบัติ ท่านให้เดินจงกรมกับนั่งเนี่ยเท่าๆกันก่อน
จึงแล้วค่อยๆปรับเวลาขึ้นไปๆ
เมื่อสมาธิเกินวิริยะ เดินจงกรมให้มากกว่าได้
เมื่อสมาธิน้อยนั่งให้มากกว่าเดิน
เมื่อสมาธิกับวิริยะสม่ำเสมอกัน ก็เดินจงกรมนั่งเท่าๆกัน
อย่างที่บอกข้างต้นว่า วิธีปฏิบัติยืดหยุ่นปรับได้
ฉะนั้นการรู้จักสังเกตสภาวะและปรับอินทรีย์ด้วยการจงกรมและใช้อิริยาบถ
นั่งกำหนดรูปนามจึงสำคัญในการปฏิบัติกรรมฐาน
แต่อย่าเพิ่งท้อครับ ต่อไปก็เข้าใจได้เอง จากการฝึกทำและหมั่นสังเกต
กายใจนี่ล่ะ
อ้างอิงจาก: |
เดินนานเท่าไหร่ก็ได้ แต่อย่านานกว่านั่ง คือ ให้นั่งนานกว่า ถ้านั่งน้อย
กว่าเดินจะไม่ดี จริงหรือเปล่าคะ |
พิจารณาคำตอบนี้ดีดีนะครับ ภาพรวมจะโยงถึงเดินจงกรมกับนั่งดังกล่าว
ข้างต้น
เดินจงกรมระยะต่ำๆ เช่น ระยะที่ 1 ซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่าง หนอ
จิตจะทำงานไวเร็ว เนื้อตัวก็เบาโล่ง คล่องแคล่ว
แบบนี้เมื่อนั่งความคิดก็เร็วคุมยากหน่อย แต่ไม่เสียหายอะไรนะครับ
นั่งกับเดินจงกรมระยะ 4-6 สมาธิเกิดได้ง่าย เกิดได้เร็ว เพราะ
กำหนดรูปนามซ้ำไปซ้ำมาถี่กว่าบ่อยกว่าการเดินระยะต่ำๆ
เหตุผลเป็นดังนี้
คุณกตัญญุตา ไม่พึงกังวลประเด็นที่ถามมากนะครับ เมื่อตามดูรู้ทันรูป
นามถี่ขึ้นๆ กุศลธรรมมีสติ วิริยะ สมาธิ ปัญญา เจริญขึ้นๆ จากการ
กำหนดปัจจุบันอารมณ์แต่ละขณะๆ ถึงจะเดินน้อยกว่านั่งไปบ้าง หรือ
นั่งนานกว่าเดินไปบ้าง ก็ไม่สู่เป็นปัญหาสำคัญนักแล้วครับ
เพราะกุศลธรรมเข็มแข็งขึ้น |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
06 ส.ค. 2008, 12:01 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
ไม่รู้ทำไมแปลกใจสองวันมานี้นั่งน้อยกว่าเดินประมาณ 10 นาที (ว่าจะไม่สงสัยแล้วเชียว แต่ขอรู้เหตุผลหน่อยว่าทำไมค่ะ)
คือเวทนาจะเกิดในช่วงเวลานั้น เราก็นั่งต่อสักพักจนหายหรือไม่ปวดมากจะออกจากสมาธิ เหมือนแต่ก่อนอ่ะค่ะ คือจะรู้ว่ามันจะเป๊ะ ๆ เลยเวลา
แต่ตอนนี้ไม่เป๊ะแล้ว ดูเหมือนนานแต่จริง ๆ นั่งเร็วกว่าเดิน เพราะอะไรคะ |
ประเด็นนี้ตอบรวมๆ สมมุติว่าเราจะนั่ง 30 นาที แต่พอถึง 20
นาที จิตใจมันกระวนกระวาย ฯลฯ จะพาเลิกให้ได้ แต่ไม่ถึงเวลา
เลิก เราก็ไม่เลิกไม่ขยับ ตั้งสติกำหนดอารมณ์ต่อไปอีก
จนกว่าจะครบ 30 นาทีตามที่ตั้งใจจึงเลิก แล้วจะเดินจงกรมต่อ
หรือจะทำอะไรก็ไปทำตามหน้าที่ แต่ก็คุมสติให้อยู่งานนั้นๆ
ฝึกๆ หัดๆ ปฏิบัติไปทำนองนี้แหละในเบื้องต้น แล้วสติ สมาธิ
ความเพียร (กำหนด) ก็จะเข็มแข็งขึ้น สูงขึ้นเรื่อยๆ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73
|
ตอบเมื่อ:
06 ส.ค. 2008, 3:08 pm |
  |
 |
|
_________________ สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา |
|
  |
 |
|