ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2008, 9:45 am |
  |
ในภาวะเช่นนี้ มีสิ่งที่ควรกำหนดเป็นข้อเด่นอยู่ 4 ประการ คือ
1) ไม่มีตัวตนที่แท้จริงของสิ่งนั้นยืนตัวเป็นแก่นเป็นแกนอยู่
2) สภาพที่ปรากฏนั้นเกิดจากองค์ประกอบต่างๆ มาประชุมกันปรุงแต่งขึ้น
3) องค์ประกอบเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว เสื่อมสลายอยู่ตลอดเวลา และสัมพันธ์เป็นปัจจัยแก่กัน
ประมวลขึ้นเป็นกระบวนธรรม
4) ถ้ากำหนดแยกออกเป็นกระบวนธรรมย่อยๆ มากหลาย ก็มีความสัมพันธ์เป็นปัจจัยต่อกัน
ระหว่างกระบวนธรรมด้วย
-กระบวนธรรมที่องค์ประกอบต่างๆ ซึ่งเกิดสลายและสัมพันธ์เป็นปัจจัยแก่กันประมวลขึ้นนี้
ดำเนินไปเรื่อยๆ ปรากฏภาพและกลายไปต่างๆ ทั้งนี้จะปรากฏภาพและกลายไปอย่างไร
ก็สุดแต่องค์ประกอบ และความเป็นเหตุปัจจัยแก่กันนั้นนั่นเอง เป็นเรื่องที่สำเร็จเสร็จสิ้น
ครบถ้วนในกระบวนการ โดยไม่มีตัวตนอะไรอื่นอีก ที่จะเข้ามาแทรกแซงหรือทำให้เป็นไป
อย่างอื่นได้
หรือ ในความหมายว่า เป็นตัวการภายนอกที่สามารถสร้างสรรค์ดลบันดาลให้เป็นอย่างอื่น
โดยไม่ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2008, 9:50 am |
  |
เมื่อองค์ประกอบต่างๆ ประชุมกันเข้าและสัมพันธ์เป็นปัจจัยแก่กัน
ปรากฏเป็นภาพรวมอย่างหนึ่งๆ ขึ้น
มนุษย์มักตั้งชื่อเรียกภาพรวมนั้น เช่น ว่า คน ม้า แมว มด รถ ร้าน นาฬิกา ปากกา
นาย ก. เด็กหญิง ข. เป็นต้น
แต่ชื่อเหล่านั้นเป็นเพียงคำเรียกขานที่สมมุติกันขึ้นใช้ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการสื่อสาร
สำหรับความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เท่านั้น มันหาใช่เป็นภาวะที่มีอยู่แท้จริงไม่
คือมันไม่มีตัวตนอยู่จริงต่างหากจากส่วนประกอบที่มารวมกันเข้านั้น
ถ้าแยกส่วนประกอบทั้งหลายออกจากกัน ก็จะมีเพียงส่วนประกอบแต่ละหน่วย
ที่มีชื่อเรียกเฉพาะอย่างๆ ของมันอยู่แล้ว หาตัวตนของภาพรวมที่ตั้งชื่อให้นั้นไม่พบ
จะชี้ตัวลงไปที่ไหนก็ไม่มี
ชื่อที่ตั้งให้แก่ภาพรวมนั้น เป็นตัวตนสมมุติที่สร้างขึ้นซ้อนสภาวะที่เป็นจริง ซ้อนอยู่ลอยๆ
ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรง ไม่มีอำนาจ ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อกระบนธรรม
ที่กำลังเป็นไปอยู่นั้นเลย นอกจากความยึดถือ (ซึ่งก็เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่ง อยู่ใน
กระบวนธรรมเอง) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2008, 9:59 am |
  |
ในเมื่อเป็นเพียงสมมุติ และเป็นของซ้อนอยู่ลอยๆ ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่มันจะไม่มีอำนาจ
หรือไม่มีทางที่จะไปบังคับกระบวนธรรมหรือองค์ประกอบใดๆ ในกระบวนธรรม
ให้เป็นไปอย่างหนึ่งอย่างใดได้ กระบวนธรรม หรือ กระบวนแห่งสังขารธรรม
ก็เป็นไปของมันตามเหตุปัจจัย ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อตัวตนที่ซ้อนลอยนั้น
ที่ว่าไม่เป็นไปตามความปรารถนา ก็เพราะเมื่อว่าตามความเป็นจริงแล้ว ความปรารถนานั้น
ก็หาใช่เป็นความความปรารถนาของตนไม่ แต่เป็นเพียงองค์ประกอบอย่างหนึ่ง
อยู่ในกระบวนธรรม และเป็นองค์ประกอบที่ไม่ใช่ตัวให้สำเร็จกิจ มันจะให้สำเร็จผลได้
ก็ต่อเมื่อมันเป็นตัวผลักดันให้เกิดปัจจัยขั้นต่อไป คือการลงมือทำหรือปฏิบัติการ
ซึ่งก็คือเป็นไปตามกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยนั่นเอง
การที่จะมีตัวตนซ้อนลอย เป็นตัวตนต่างหากอยู่จริงๆ ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะถ้าเป็นไปได้
ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะตัวคงที่ซึ่งไม่เป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้น
ขวางขืนกระแสอยู่ พาให้องค์ประกอบต่างๆ เรรวนไปหมด ไม่เป็นกระบวนธรรม
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2008, 10:06 am |
  |
ยิ่งกว่านั้น ตัวตนซ้อนนั้น ก็อาจจะขัดขวางแทรกแซงและบิดผันธรรมทั้งหลาย
ให้เป็นไปอย่างอื่นจากความเป็นไปตามเหตุปัจจัยอีกด้วย
แต่ความเป็นไปที่จริงแท้ก็คือ
สังขารธรรมทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย ดังนั้น ตัวตนต่างหาก จากระบวนธรรม จึงไม่มีอยู่
จริง ไม่ว่าจะภายในหรือภายนอกกระบวนธรรมนั้นก็ตาม
เมื่อส่วนประกอบทั้งหลายรวมกันเข้า ปรากฏรูปเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็มีการบัญญัติ
เรียกชื่อเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อันยอมรับกันโดยสมมุติ เมื่อองค์ประกอบทั้งหลายพร้อมอยู่
ปัจจัยต่างๆ ค้ำจุนหล่อเลี้ยงอำนวย ก็คงรูปร่างหรือคงสภาพอยู่ตามที่สมมุติเป็นตัวตนอย่างนั้น
แต่เมื่อใดองค์ประกอบทั้งหลายแยกพรากจากกัน หรือปัจจัยแวดล้อมไม่เกื้อกูล
สภาพตัวตนนั้นก็หายไป เหมือนดัง เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับหนึ่ง น้ำแข็งก็ละลาย
ตัวตนที่ชื่อว่าน้ำแข็งหายไปเหลืออยู่แต่น้ำเหลว
เมื่อความร้อนเพิ่มขึ้น ถึงระดับหนึ่งโดยสัมพันธ์กับความกดอากาศ น้ำเหลวก็ระเหย
กลายเป็นไอน้ำ สภาพตัวตนของน้ำเหลวก็สิ้นไป
หรือเมื่อกระดาษถูกเผาไฟไหม้หมดแล้วเหลือแต่ฝุ่นเถ้าไฟ ก็หาตัวตนที่จะเรียกว่า
กระดาษไม่ได้อีกต่อไป
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2008, 10:09 am |
  |
ความหมายของอนัตตาที่ว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากองค์ประกอบต่างๆมาประชุมกันเข้า
สัมพันธ์กันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ว่างเปล่าจากตัวตนที่เป็นแกนอันยืนยงคงตัว
ปราศจากตัวการที่สร้างสรรค์บันดาลนี้ เป็นความหมายพื้นฐาน
ที่อาจะอ้างความในคัมภีร์มาช่วยเสริมความเข้าใจได้หลายแห่ง เช่น พระบาลีว่า
อาศัยเครื่องไม้ เถาเชือก ดินฉาบ และหญ้ามุง มีช่องว่างแวดล้อม
ย่อมเรียกกันว่า เป็นเรือนฉันใด
อาศัยกระดูก เส้นเอ็น เนื้อ หนัง มีช่องว่างแวดล้อม ย่อมเรียกกันว่า เป็นตัวตน (รูป) ฉันนั้น
(ม.มู.12/346/658)
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2008, 10:11 am |
  |
มารถามพระวชิราภิกษุณีว่า
สัตว์นี้ (ตัวบุคคลนี้) ใครสร้าง ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน สัตว์เกิดที่ไหน สัตว์ดับที่ไหน?
วชิราภิกษุณีตอบว่า
นี่แน่ะมาร ท่านเชื่อหรือว่าเป็นสัตว์ (เป็นตัวบุคคล) ท่านมีความเห็น (อย่างนั้น) หรือ ?
นี้คือกองแห่งสังขารล้วนๆ จะหาตัวสัตว์ในนี้ไม่ได้เลย เพราะประชุมส่วนประกอบ
เข้าด้วยกัน ย่อมมีศัพท์เรียกว่า รถ ฉันใด
เมื่อขันธ์ (กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม) ทั้งหลายมีอยู่ ก็มีสมมุติเรียกว่า สัตว์ ฉันนั้น
แท้จริง ทุกข์ (สภาพไม่คงตัว) เท่านั้นเกิดมี และทุกข์ก็ตั้งอยู่และเสื่อมสลายไป
นอกจากทุกข์ (สภาพไม่คงตัว) ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ
(สํ.ส.15/551/197)
(สมดังพุทธพจน์ที่ว่า เราสอนแต่ทุกข์ และ ความดับทุกข์เท่านั้น)
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2008, 10:19 am |
  |
พระเสลาภิกษุณีตอบว่า
ร่างนี้ ไม่มีใครสร้าง ตัวนี้ไม่มีใครบันดาล อาศัยเหตุมันก็เกิดมี เพราะเหตุสลายมันก็ดับ
เม็ดพืชอย่างใดอย่างหนึ่งที่เขาหว่านในนา อาศัยรสในแผ่นดินและยางในเมล็ดพืชทั้ง
สองอย่างนี้ ก็ย่อมงอกงามขึ้นได้ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ประดาขันธ์ ธาตุทั้งหลาย
และอายตนะทั้ง 6 เหล่านี้ อาศัยเหตุย่อมเกิดมี เพราะเหตุสลาย ก็ย่อมดับไป
(สํ.ส.15/551/197)
-ช้าง ม้า เหล่าทหารและยานรบทั้งหลายรวมๆเข้าด้วยกัน ก็เรียกว่ากองทัพ
ตึกรามบ้านเรือนผู้คนและกิจการต่างๆ มากหลายชุมนุมกันอยู่ ก็เรียกว่าเมือง
มือกับนิ้วรวบเข้าด้วยกันในท่าหนึ่ง เขาเรียกว่ากำปั้น หรือหมัด
กำปั้นหรือหมัดไม่มีอยู่จริง มีแต่มือและนิ้ว มือและนิ้วเมื่อแยกส่วนประกอบย่อยๆออกไป
ก็ไม่มีเช่นเดียวกัน วิเคราะห์กระจายส่วนออกไปได้โดยลำดับ จนหาตัวตนอะไร
เป็นชิ้นเป็นอันไม่ได้
พระสูตรทั้งหลายมากมาย แสดงแต่เรื่องนามรูป หรือนามธรรมและรูปธรรม
ไม่กล่าวถึงสัตว์หรือบุคคลเลย
(วิสุทธิ.3/214-5 )
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2008, 8:30 pm |
  |
เมื่อว่าโดยสรุป พระอรรถกถาจารย์ประมวลความหมายของอนัตตา
แสดงไว้เป็นหมวดรวม 4 นัยคือ
1. สุญฺญโต
-เพราะเป็นสภาพว่างเปล่า คือ ปราศจากตัวตนที่เป็นแก่นเป็นแกน
(อัตตสาระ = สาระคือตัวตน)
หรือ ว่างจากความเป็นสัตว์บุคคลตัวตน เราเขาที่แท้จริง ไม่มีตัวผู้สิงสู่อยู่ครอง
ไม่มีตัวผู้สร้างสรรค์บันดาล ไม่มีตัวผู้เสวย นอกเหนือจากกระบวนธรรม
แห่งองค์ประกอบทั้งหลาย ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย และนอกจากโดยการสมมุติ
พูดง่ายๆ ว่า ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์บุคคลตัวตน เรา เขา จากความเป็นนั่นเป็นนี่
ที่กำหนดหมายกันขึ้น |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2008, 8:33 pm |
  |
2.อสฺสามิกโต
-เพราะเป็นสภาพไร้เจ้าของ คือไม่เป็นตัวตนของใคร และไม่เป็นของของตัวตนใดๆ
ไม่มีตัวตนอยู่ต่างหาก ที่จะเป็นเจ้าของครอบครองสังขารธรรมทั้งหลาย มันเป็นแต่เพียง
กระบวนธรรมเองล้วนๆ เป็นไปโดยลำพังตามเหตุปัจจัย
(ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่เป็นของใครจริง ไม่เป็นตัวตนของใคร)
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2008, 8:45 pm |
  |
(พิจารณาสาระข้อนี้ดีดี เพราะผู้ปฏิบัติบางกลุ่มเข้าใจผิด จึงทำให้การปฏิบัติตนออกนอกทาง)
3.อวสวตฺตนโต
-เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ คือ ไม่อยู่ในอำนาจของใคร ไม่ขึ้นต่อผู้ใด
ไม่มีใครมีอำนาจบังคับมัน จะเรียกร้องหรือปรารถนาให้มันเป็นอย่างใดๆไม่ได้ นอกจากทำ
การตามเหตุปัจจัย
ใช้ศัพท์อีกอย่างหนึ่งว่า อนิสฺสรโต แปลว่า เพราะไม่เป็นเจ้าใหญ่ หรือไม่เป็นใหญ่ในตัว
คือ จะบงการหรือใช้อำนาจบังคับเอาไม่ได้ มีแต่จะต้องให้เป็นไปตามเหตุปัจจัย
บางแห่งใช้ว่า อกามการิยโต แปลว่า เพราะเป็นสภาพที่ไม่อาจทำได้ตามความอยาก
คือ จะให้เป็นไปตามความอยากความปรารถนามิได้ หรือจะเอาใจอยากเข้าว่าไม่ได้
แต่เป็นเรื่องของความเป็นไปตามเหตุปัจจัย จะให้เป็นอย่างไร ก็จะต้องทำเอาตามเหตุ
ปัจจัย หรือต้องทำเหตุทำปัจจัยเอา หรือต้องทำให้เป็นเหตุเป็นปัจจัยขึ้นมา
รวมความว่า ไม่อยู่ในอำนาจ หรือไม่มีใครเป็นใหญ่ คือ ใครจะสั่งบังคับให้เป็นไป
ตามปรารถนาไม่ได้
มันขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่ได้ขึ้นต่ออำนาจหรือความปรารถนาของใคร เช่น มันเกิดขึ้นแล้ว
จะสั่งว่า อย่าตั้งอยู่ มันตั้งอยู่แล้ว จะสั่งว่าอย่าโทรม มันโทรมแล้ว จะสั่งว่าอย่าสลาย
ไม่ได้ทั้งนั้น |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2008, 8:58 pm |
  |
(พิจารณาสาระคำว่า "อัตตา" ให้ดี ว่าท่านหมายถึงอะไร)
4. อตฺตปฏิกฺเขปโต
-เพราะแย้งต่ออัตตา คือ โดยสภาวะของมันเองก็ปฏิเสธอัตตาอยู่ในตัว หมายความว่า
ความเป็นกระบวนธรรม คือการที่องค์ประกอบทั้งหลายสัมพันธ์กันดำเนินไป
โดยความเป็นไปตามเหตุปัจจัยนั่นเอง เป็นการปฏิเสธอยู่ในตัวว่า ไม่มีตัวตนต่างหากซ้อนอยู่
ที่จะมาแทรกแซงบงการ หรือแม้แต่ขวางขืนความเป็นไปตามเหตุปัจจัย
และตัวตนต่างหากเช่นนั้นมีไม่ได้ เพราะถ้ามี ก็ไม่อาจมีความเป็นไปตามเหตุปัจจัย
แต่จะกลับกลายเป็นว่า ต้องเป็นไปตามความบังคับบงการของตัวตนนั้น
อีกอย่างหนึ่ง กระบวนธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้น มีความสำเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์
พร้อมในตัวอยู่แล้ว ไม่จำเป็นและไม่อาจจะมีตัวการอย่างอื่นที่จะเข้ามาแทรกแซงสั่งการอีกได้
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 เม.ย.2008, 6:48 pm |
  |
มีความหมายอีก 2 อย่าง ซึ่งแม้จะรวมอยู่ในความหมาย 4 ข้อ ต้นแล้ว
แต่เห็นว่ามีความสำคัญเป็นพิเศษควรนับเป็นข้อต่างหากไว้ เพราะเป็นลักษณะของความเป็น
กระบวนธรรม อันจะเห็นเด่นชัด เมื่อวิเคราะห์กระบวนธรรมออกไป
จึงขอนำมาเพิ่มต่อไว้ด้วย คือ
5. สุทฺธสงฺขารปุญฺชโต หรือ สุทฺธธมฺมปุญฺชโต
เพราะเป็นกองแห่งสังขารทั้งหลายล้วนๆ หรือเป็นกองแห่งธรรมทั้งหลาย
(รูปธรรมและ/หรือนามธรรม) ล้วนๆ
หรือ องฺคสมฺภารโต เพราะเป็นการประกอบกันขึ้นของส่วนย่อยต่างๆ คือ
เกิดจากส่วนประกอบย่อยๆ ทั้งหลายมาประชุมหรือประมวลกันขึ้น ไม่เป็นตัวตนชิ้นอัน
ที่สมบูรณ์ในตัว ที่จะยั่งยืนคงตัวอยู่ได้
ไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนที่แท้จริงนอกเหนือจากส่วนประกอบเหล่านั้น (ความหมายข้อนี้
เน้นอยู่แล้วในความหมายข้อที่ 1.ข้างต้น)
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 เม.ย.2008, 6:51 pm |
  |
6. ยถาปจฺจยปวตฺติโต
เพราะความเป็นไปตามเหตุปัจจัย คือ องค์ประกอบทั้งหลายที่ประมวล หรือประชุมกันเข้านั้น
ต่างสัมพันธ์เป็นปัจจัยแก่กัน เรียกรวมๆ ว่า กระบวนธรรมนั้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย
ไม่เป็นไปตามความปรารถนาของใคร และไม่อาจมีตัวตน ไม่ว่าจะเป็นตัวแกนภายใน
หรือตัวการภายนอก ที่จะขวางขืนหรือบงการบังคับมันได้ (ความหมายข้อนี้แทรกอยู่ทั่ว
ไปในความหมายทั้ง 4 ข้อข้างต้น โดยเฉพาะข้อที่ 3 และ 4)
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 เม.ย.2008, 6:52 pm |
  |
รวมความก็คือ สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันเอง ตามธรรมดา เหตุปัจจัยมี
(ที่จะให้เป็นอย่างนั้น ) มันก็เกิด (เป็นอย่างนั้น)
เหตุปัจจัย (ที่จะให้เป็นอย่างนั้น ) หมด มันก็ดับ (จากสภาพอย่างนั้น)
มันหาฟังเสียงเราอ้อนวอนขอร้องหรือปรารถนาไม่ มันไม่เป็นตัว เป็นอะไรๆ (อย่างที่ว่ากัน)
หรือเป็นของใครทั้งนั้น
ความหมายของอนัตตาเท่าที่กล่าวมานี้ เน้นในแง่ที่เป็นลักษณะของ
สังขาร หรือสังขตธรรม
แต่ความเป็นอนัตตาของอสังขตธรรม คือ นิพพาน ยังมีข้อที่พึงทำความ
เข้าใจเพิ่มเติม...
V |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 4:15 pm |
  |
ที่ว่าอันใดไม่เที่ยง อันนั้นย่อมเป็นทุกข์ อันใดเป็นทุกข์ อันนั้น
ย่อมเป็นอนัตตา ก็จริง แต่อันใดเป็นอนัตตา อันนั้นไม่จำเป็นต้อง
ไม่เที่ยง ไม่จำเป็นต้องเป็นทุกข์เสมอไป
กล่าวคือ สังขารหรือสังขตธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารหรือ
สังขตธรรมทั้งปวงนั้น ย่อมเป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
แต่ธรรมทั้งปวง คือทั้งสังขตธรรม และ อสังขตธรรม หรือทั้งสังขาร
และวิสังขาร แม้จะเป็นอนัตตา แต่ก็ไม่จำเป็นจะต้องไม่เที่ยงและ
เป็นทุกข์เสมอไป หมายความว่า อสังขตธรรม หรือ
วิสังขาร (คือนิพพาน) แม้จะเป็นอนัตตา แต่ก็พ้นจากความไม่เที่ยง
และพ้นจากความเป็นทุกข์ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
ทศพล
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 10 ก.พ. 2008
ตอบ: 153
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 5:35 pm |
  |
|
     |
 |
ลูกตาล
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 11 มิ.ย. 2008
ตอบ: 30
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
17 ก.ย. 2008, 11:54 am |
  |
อนุโมทนาค่ะ
ได้ความรู้มากกว่าเก่าเยอะเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ |
|
|
|
   |
 |
|