ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993
|
ตอบเมื่อ:
09 ส.ค. 2007, 9:18 am |
  |
พระอารามหลวง-วัดประจำรัชกาล
วัด ทั้งหมดทั่วประเทศ แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ
(๑) วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (๒) สำนักสงฆ์
วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา คือ วัดที่มีอุโบสถเป็นที่ทำสังฆกรรม คำว่า วิสุงคามสีมา ในที่นี้หมายถึง เขตที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่สงฆ์เพื่อใช้เป็นที่สร้างอุโบสถ
ส่วน สำนักสงฆ์ คือ วัดที่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา จึงไม่มีอุโบสถ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา สถานที่ชุมนุมสำคัญของพุทธศาสนาสนิกชนหรือสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ก็คือ วัด ในประเทศไทยมีวัดเป็นจำนวนมาก ประเภทของวัดแบ่งตามสภาพฐานะมี ๓ ประเภท คือ (๑) พระอารามหลวงหรือวัดหลวง (๒) วัดราษฎร์ และ (๓) วัดร้าง
พระอารามหลวงหรือวัดหลวง คือ วัดที่พระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือทรงบูรณปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ พระราชทานเพื่อเป็นเกียรติยศแก่ผู้ต่ำศักดิ์ลงมาหรือแก่วัดเอง หรือมีผู้สร้างน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระอารามหลวง รวมทั้ง วัดที่ประชาชนทั่วไปสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์ และขอพระราชทานให้ทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวงด้วย เช่น วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพฯ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ เป็นต้น
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร
วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา
วัดร้างที่ไม่มีพระสงฆ์พำนักอาศัยจำพรรษา
วัดราษฎร์ คือ วัดที่ประชาชนทั่วไปสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์ ซึ่งได้รับอนุญาตให้สร้างวัดและประกาศตั้งวัดโดยถูกต้องตามกฎหมายจากทางราชการแล้ว และช่วยกันทะนุบำรุงวัดสืบต่อกันมาตามลำดับ วัดราษฎร์ หมายถึง วัดทั้งชนิดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และสำนักสงฆ์ซึ่งมิได้รับเข้าเป็นพระอารามหลวง เช่น วัดประสาทบุญญาวาส เขตดุสิต กรุงเทพฯ เป็นต้น
วัดร้าง คือ วัดที่ทรุดโทรมไม่มีพระสงฆ์พำนักอาศัยจำพรรษา ซึ่งทางราชการจะขึ้นทะเบียนเป็นวัดร้างไว้ วัดร้างเองโดยสภาพยังเป็นนิติบุคคลอยู่โดยสมบูรณ์ และหากบูรณปฏิสังขรณ์ได้อาจยกเป็นวัดมีพระสงฆ์ต่อไป เช่น วัดไชยวัฒนาราม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น [/color]
สถาบันหลักของประเทศไทยประการหนึ่งคือ พระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาที่คนไทยกว่าร้อยละ ๙๐ นับถือมาแต่โบราณกาล ดังปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงความตอนหนึ่งว่า
คนไทยในสมัยสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐินเดือนหนึ่งจึงแล้ว...
วัดอรุณราชวราราม
พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร
ดังนั้น พระมหากษัตริย์ไทยทุกยุคทุกสมัย จึงทรงถือเอาการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นพระราชภาระที่สำคัญยิ่ง ดังเช่นพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ องค์ปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ที่ทรงประกาศพระปฐมบรมราชโองการก่อนขึ้นครองราชย์ว่า
ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา
จะป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรี
เมื่อพระองค์ทรงดำรงสิริราชสมบัติได้ไม่นาน ก็ทรงสถาปนาวัดโพธิ์ อันเป็นวัดโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา ขึ้นเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส มีอาณาเขตกว้างขวางถึง ๕๐ ไร่ ประกอบไปด้วยพระอุโบสถ พระวิหารทิศ พระระเบียง พระวิหารคด พระมหาเจดีย์ และอาคารอื่นๆ อีกหลายหลัง มีความวิจิตรงดงามยิ่ง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ก็ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ให้วิจิตรงดงามยิ่งขึ้น พร้อมทั้งจารึกสรรพวิชาต่างๆ ถึง ๘ หมวดลงบนแผ่นหินอ่อน ไว้ให้ประชาชนได้เข้าไปศึกษาหาความรู้ ครั้นต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนท้ายนามวัดเป็น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระอารามหลวงแห่งนี้จึงเป็นสมบัติของชาติที่ล้ำค่า เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลกเดินทางมาชื่นชมเป็นจำนวนมากไม่แพ้วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้วมรกต ซึ่งเป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง อันถือว่าเป็นสุดยอดของงานศิลปกรรมของชาติไทย
พระอารามหลวงในรัชกาลต่อๆ มาก็เพิ่มพูนขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ซึ่งทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง นอกจากจะทรงสถาปนาพระอารามหลวงขึ้นใหม่ ๓ พระอารามแล้ว ยังได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม จนอาจกล่าวได้ว่าดุจทรงสร้างขึ้นใหม่ รวมทั้ง ทรงสร้างวัดที่คงค้างอยู่ในรัชกาลก่อน ทั้ง ๒ ประการนี้รวม ๑๗ วัด อีกทั้งทรงอุปถัมภ์การก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดอื่นๆ อีกถึง ๓๓ วัด พระอารามหลวงที่ทรงสร้างเองและที่ผู้อื่นสร้างถวายจึงเกิดขึ้นในรัชกาลของพระองค์เป็นจำนวนมาก
ในปัจจุบันรัฐบาลพิจารณาเห็นว่าการยกฐานะวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยเชิดชูพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ดังที่เคยมีประเพณีปฏิบัติมาแต่เดิมที่เจ้านาย ข้าราชบริพาร หรือประชาชน สร้างวัดถวายและพระมหากษัตริย์ทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง จึงได้ออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการขอยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง พ.ศ.๒๕๑๘
ตามระเบียบฯ ดังกล่าว มีเกณฑ์พิจารณาหลายประการ เช่น วัดราษฎร์นั้นต้องเป็นวัดที่เป็นหลักฐานมีเสนาสนะถาวร มีปูชนียวัตถุที่เป็นโบราณสถานหรือโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ เป็นวัดสำคัญของท้องถิ่น หรือเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาของทางราชการเป็นประจำ หรือเป็นวัดสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นวัดที่มีอายุ ๕๐ ปีขึ้นไป มีพระสงฆ์จำพรรษาตั้งแต่ ๒๐ รูปขึ้นไปติดต่อกันเป็นเวลาตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไปนับจากปีปัจจุบัน ฯลฯ
เมื่อนายอำเภอและเจ้าคณะอำเภอพิจารณาเห็นว่า วัดราษฎร์ใดมีลักษณะเข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าว ก็จะทำรายงานขอความเห็นชอบขึ้นไปตามลำดับ จนถึงกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) และมหาเถรสมาคม (มส.) แล้วจึงจะนำความขอพระราชทานยกวัดราษฎร์นั้นขึ้นเป็นพระอารามหลวงต่อไป
วัดราชโอรสาราม
พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
พระอารามหลวงแต่ละวัดอาจมีฐานะหรือระดับชั้นแตกต่างกันออกไป การจัดลำดับชั้นของพระอารามหลวงหรือวัดหลวงเริ่มมีขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบแบ่งชั้นพระอารามหลวงหรือวัดหลวงออกเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี แต่ละชั้นยังแยกระดับออกไปอีกหลายระดับ โดยมีสร้อยต่อท้ายชื่อวัดตามฐานะดังนี้
พระอารามหลวงชั้นเอก ได้แก่ วัดที่มีเจดีย์สถานสำคัญ วัดที่บรรจุพระบรมอัฐิ หรือวัดที่มีเกียรติอย่างสูง แบ่งออกเป็น ๓ ระดับหรือชนิด คือ
๑) ราชวรมหาวิหาร
๒) ราชวรวิหาร
๓) วรมหาวิหาร
พระอารามหลวงชั้นโท ได้แก่ วัดที่มีเจดีย์สถานสำคัญ หรือวัดที่มีเกียรติ แบ่งออกเป็น ๔ ระดับหรือชนิด คือ
๑) ราชวรมหาวิหาร
๒) ราชวรวิหาร
๓) วรมหาวิหาร
๔) วรวิหาร
พระอารามหลวงชั้นตรี ได้แก่ วัดที่มีเกียรติ วัดประจำหัวเมือง วัดสามัญ หรือวัดที่มีความสำคัญชั้นรอง แบ่งออกเป็น ๓ ระดับหรือชนิด คือ
๑) ราชวรวิหาร
๒) วรวิหาร
๓) สามัญ คือไม่มีสร้อยต่อท้ายชื่อวัด
แต่การแบ่งชั้น แบ่งระดับนั้น คงจะทำให้เกิดความสับสนในการทำความเข้าใจของบุคคลทั่วไป ดังที่ผู้เรียบเรียงบทความนี้ไปพบพระอารามหลวงสำคัญในจังหวัดภาคกลางวัดหนึ่ง ท่านเขียนคำอธิบายว่า วัดนี้เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นวรวิหาร ซึ่งคำว่าวรวิหารนั้น เป็นระดับไม่ใช่ชั้น และความจริงวัดนั้นเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ระดับวรวิหาร ดังนั้นน่าจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับชั้นและระดับหรือชนิดของพระอารามหลวงเป็นความรู้รอบตัวไว้
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
การกำหนดแบ่งชนิดต่างๆ ของพระอารามหลวงเริ่มมีขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ ดังนี้
ราชวรวิหาร ได้แก่ พระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี หรือสมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์
วรวิหาร ได้แก่ พระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี หรือสมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์พระราชทานเป็นเกียรติยศแก่ผู้ต่ำศักดิ์ลงมา หรือแก่วัดเอง รวมทั้งวัดที่ประชาชนสร้างหรือปฏิสังขรณ์ และทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวงควรยกเป็นเกียรติยศ จัดว่าเป็นวัดมีเกียรติ
ราชวรมหาวิหาร ได้แก่ พระอารามชนิดราชวรวิหารที่เป็นพระอารามใหญ่โต และมีสิ่งก่อสร้างใหญ่โต
วรมหาวิหาร ได้แก่ พระอารามชนิดวรวิหารที่เป็นพระอารามใหญ่โตและมีสิ่งก่อสร้างใหญ่โต
สามัญ ได้แก่ พระอารามหลวงที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าว เป็นวัดที่ไม่มีสร้อยต่อท้าย
พระอารามหลวงหรือวัดหลวงที่มีฐานะสูงสุด คือ ชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร มีทั้งหมด ๖ วัด อยู่ในกรุงเทพมหานคร ๔ วัด คือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์), วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง), วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ และวัดสุทัศนเทพวราราม ส่วนที่เหลืออีก ๒ วัดนั้นอยู่ต่างจังหวัด คือ วัดพระปฐมเจดีย์ ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม และวัดพระพุทธบาท ต.ขุนโขลน อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี
ชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร มีเพียง ๒ วัด คือ วัดชนะสงคราม และวัดสระเกศ
ปัจจุบัน พระอารามหลวงทั่วประเทศมีทั้งหมด ๒๖๙ วัด อยู่ในกรุงเทพมหานคร ๙๐ วัด ที่เหลืออีก ๑๗๙ วัดกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ (ข้อมูลปี พ.ศ.๒๕๕๖) นอกจากนี้แล้ว ยังมีพระอารามหลวงอีกประเภทหนึ่งที่สมควรกล่าวถึง คือ วัดประจำรัชกาล เท่าที่ถือปฏิบัติสืบกันมามีดังนี้
วัดประจำรัชกาลที่ ๑ คือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
วัดประจำรัชกาลที่ ๒ คือ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)
วัดประจำรัชกาลที่ ๓ คือ วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร
วัดประจำรัชกาลที่ ๔ คือ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
วัดประจำรัชกาลที่ ๕ คือ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
วัดประจำรัชกาลที่ ๖ คือ วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)
วัดประจำรัชกาลที่ ๗ คือ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
วัดประจำรัชกาลที่ ๘ คือ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดประจำรัชกาลที่ ๙ คือ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
วัดประจำรัชกาลที่ ๑๐ คือ วัดวชิรธรรมสาธิต วรวิหาร (วัดทุ่งสาธิต)
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)
พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย ที่เติบโตเจริญรุ่งเรืองในเมืองไทยมากว่า ๒,๐๐๐ ปี นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี มาจนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเหตุผลสำคัญข้อหนึ่งที่พระพุทธศาสนาสามารถดำรงอยู่ได้มาเป็นเวลานานเช่นนี้ ย่อมเนื่องมาจากการทำนุบำรุงศาสนาของเจ้าแผ่นดิน หรือพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นผู้นำประเทศ
ตลอดยุคสมัยต่างๆ ที่ผ่านมา พระมหากษัตริย์ในแผ่นดินไทยแต่ละพระองค์ต่างก็ทรงมีความเลื่อมใส และให้การสนับสนุนพระพุทธศาสนามาอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างวัดต่างๆ ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางและศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธขึ้นมากมาย สำหรับในแผ่นดินรัตนโกสินทร์ก็เช่นกัน พระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ก็ได้ทรงสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ ขึ้น ด้วยเหตุนี้ ในภายหลังเราจึงยกย่องให้วัดซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงมีความผูกพันเหล่านี้เป็น วัดประจำรัชกาล ของแต่ละพระองค์
เหตุผลของการยึดถือวัดใดวัดหนึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลนั้น จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา ประธานชมรมสยามทัศน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ได้ให้เหตุผลไว้ว่า วัดซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลนั้น มักจะเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ท่านทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์ และให้ความสนใจกับวัดนี้เป็นพิเศษ หรือมีความผูกพันกับวัดนี้มากๆ เมื่อพระองค์สวรรคต พระบรมอัฐิก็จะถูกนำไปบรรจุอยู่ที่ฐานของพระประธาน แต่การประกาศว่าวัดไหนเป็นวัดประจำรัชกาลนี้ ไม่ได้มีการประกาศออกเป็นทางการ เพียงแต่เกิดจากการที่คนพูดกันว่าวัดนี้เป็นวัดประจำรัชกาลนี้ๆ และดูจากความผูกพันที่พระองค์ท่านทรงมีให้กับวัดนั้นๆ มากกว่า
สำหรับในส่วนของประวัติความเป็นมาของการกลายมาเป็นวัดประจำแต่ละรัชกาล นั้น ก็นับได้ว่ามีความน่าสนใจไม่แพ้ตัววัดเลยทีเดียว ความจริงแล้วการสร้างวัดประจำรัชกาล ไม่เคยมีราชประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาแต่โบราณ พระมหากษัตริย์ทรงสร้างวัดก็เพื่อเป็นการบูชาพระพุทธศาสนา และเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงเหตุการณ์สำคัญๆ ด้วยก็ได้ เช่น เป็นสถานที่พระบรมราชสมภพ เป็นนิวาสสถานเดิมของพระราชบรรพบุรุษ เป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะในสงคราม เป็นต้น
วัดสุทัศนเทพวราราม
พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร
การถือเป็นวัดประจำรัชกาลเป็นพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้อัญเชิญส่วนหนึ่งของพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ ไปประดิษฐานไว้ที่ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดอรุณราชวรามราม และวัดราชโอรสาราม ตามลำดับ ดังนั้น จึงเป็นราชประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบกันมาว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใดเสด็จสวรรคต ก็จะอัญเชิญพระบรมราชสรีรังคารไปประดิษฐานไว้ที่วัดใดวัดหนึ่ง อันทรงสร้างหรือทรงเกี่ยวข้อง และถือเป็นวัดประจำรัชกาล
อย่างใดก็ตาม ในทางนิตินัย วัดประจำรัชกาลได้สิ้นสุดลงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โดยได้มีพระราชดำริว่า พระอารามหลวงในกรุงเทพมหานครมีเป็นจำนวนมากแล้ว และการสร้างวัดนั้นก็เพื่อประโยชน์ในทางศึกษาของเยาวชนด้วย เพราะการศึกษาของไทยแต่โบราณกาลมาก็เริ่มที่วัด ดังนั้น จึงทรงสถาปนา โรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ในปัจจุบัน ขึ้นเพื่อแทนการสร้างวัดประจำรัชกาล และให้ถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์
การกำหนดว่าวัดใดเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๖ รัชกาลที่ ๗ และรัชกาลที่ ๘ เพื่ออาราธนาเจ้าอาวาสวัดนั้นมาในงานพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทานเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ จึงเป็นการกำหนดโดยทางพฤตินัยเท่านั้น นอกจากนั้นในทางปฏิบัติยังมีความเข้าใจไม่ตรงกันในเรื่องวัดประจำรัชกาลที่ ๕ กล่าวคือ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จดำรงสิริราชสมบัติเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๑๑ ปีต่อมาคือปีพุทธศักราช ๒๔๑๒ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มสถาปนา วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทันที เพื่อเป็นวัดประจำรัชกาลตามพระราชประเพณี
วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
ต่อมาในปลายรัชกาล ได้ทรงสร้างพระราชวังสวนดุสิต ขึ้นเป็นที่ประทับสำราญพระราชอิริยาบถนอกพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งแปรพระราชฐานมาประทับเกือบเป็นการถาวร จึงทรงบูรณปฏิสังขรณ์ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม อันเป็นวัดโบราณขึ้นอย่างวิจิตรงดงามยิ่ง เพื่อเป็นการทำผาติกรรมที่ใช้ที่ดินบางส่วนของวัดมาเป็นที่หลวง และทรงถือว่าวัดนี้เป็นวัดประจำพระราชวังสวนดุสิต ดังปรากฏในสร้อยชื่อของวัด และมีลายพระราชหัตถเลขาโปรดเกล้าฯ ไว้ว่า เมื่อเสด็จสวรรคตแล้วให้อัญเชิญพระบรมราชสรีรังคารมาประดิษฐานไว้ที่วัดแห่งนี้ แต่ก็ไม่มีพระราชกระแสยืนยันว่าโปรดให้เป็นวัดประจำรัชกาล จึงถือกันในทางปฏิบัติว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๕
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้ทรงปฏิบัติตามพระราชนิยมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ในการที่จะไม่สร้างวัดประจำรัชกาลขึ้นอีก ประกอบกับได้ทรงปฏิสังขรณ์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นงานใหญ่ เมื่อมีการอัญเชิญพระบรมราชสรีรังคารจากประเทศอังกฤษกลับมายังเมืองไทยแล้ว จึงได้แบ่งพระบรมราชสรีรังคารส่วนหนึ่งอัญเชิญมาประดิษฐานที่แท่นชุกชีฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธอังคีรส พระประธานในพระอุโบสถ ดังนั้น จึงถือกันในทางปฏิบัติว่า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๗ โดยมิได้ไปลบล้างข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงแต่ประการใด
พระอารามหลวงจึงเป็นการยืนยันถึงพระราชศรัทธาในพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีต่อพระพุทธศาสนา อันเป็นแบบฉบับให้บรรดาพุทธศาสนิกชนชาวไทย ได้ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาในการสร้างและอุปถัมภ์ศาสนสถานให้เจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางของประชาคมแทบทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการอบรมบ่มนิสัยชาวไทย ให้เป็นคนดีมีศีลธรรม เป็นกำลังสำคัญของบ้านเมืองสืบไป
รวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหามาจาก ::
(๑) บทความเรื่องพระอารามหลวง
เรียบเรียงโดย ศ.พิเศษ ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา
(๒) หนังสือวัดหลวงสมัยรัตนโกสินทร์ ของกรมศิลปากร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19072 |
|
_________________ -- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง -- |
|
   |
 |
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993
|
ตอบเมื่อ:
17 เม.ย.2008, 4:19 pm |
  |
วัดประจำรัชกาลที่ ๑
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19426
วัดประจำรัชกาลที่ ๑ ถึง ๓...วัดเก่า ทำใหม่ |
|
_________________ -- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง -- |
|
   |
 |
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993
|
ตอบเมื่อ:
17 เม.ย.2008, 4:19 pm |
  |
|
   |
 |
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993
|
ตอบเมื่อ:
17 เม.ย.2008, 4:20 pm |
  |
|
   |
 |
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993
|
ตอบเมื่อ:
17 เม.ย.2008, 4:20 pm |
  |
วัดประจำรัชกาลที่ ๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19383
วัดประจำรัชกาลที่ ๔-๕...สร้างใหม่ด้วยใจศรัทธา |
|
_________________ -- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง -- |
|
   |
 |
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993
|
ตอบเมื่อ:
17 เม.ย.2008, 4:20 pm |
  |
|
   |
 |
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993
|
ตอบเมื่อ:
17 เม.ย.2008, 4:21 pm |
  |
|
   |
 |
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993
|
ตอบเมื่อ:
17 เม.ย.2008, 4:21 pm |
  |
|
   |
 |
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993
|
ตอบเมื่อ:
17 เม.ย.2008, 4:22 pm |
  |
|
   |
 |
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993
|
ตอบเมื่อ:
17 เม.ย.2008, 4:22 pm |
  |
|
   |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 8:58 am |
  |
โมทนาบุญด้วยครับ ภาพสวยๆ อยากไปมากๆ
ที่มาของรูปภาพ : fb. ชมรมอนุรักษ์วัดไทย |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
|