Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ถามผู้รู้ เรื่องสมาธิ ลักษณะที่เป็นนี้คืออะไรคะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
โปเต้
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 พ.ค. 2008
ตอบ: 76
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 7:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุญาติใช้ความพยายามอธิบายอีกครั้งนะคะ
แต่ถ้าคนฟังไม่พยายามเข้าใจ อันนี้ก็ช่วยอะไรไม่ได้จริงค่ะ

อ้างอิงจาก:
พอลุกออกไปนั่งด้านหลัง ความชัด (ของสติ) นั้นก็เบาลงไป

สติแบบนี้ คุณโปเต้ถอยห่างไปอีกๆๆ ถอยๆๆๆ สุดท้ายกลับบ้าน

สติแบบนี้มิหมดไปเลยหรอครับนี่


สติของโปเต้ตอนนี้ เปรียบได้กับเหล็กธรรมดา
สติของท่านหลวงพ่อปราโมช อาจเปรียบได้กับแม่เหล็ก
เมื่อเหล็กธรรมดาอยู่ใกล้กับแม่เหล็ก ก็อาจทำให้มีคุณสมบัติของแม่เหล็กได้เล็กน้อย
แต่เมื่อเอาออกห่างจากแม่เหล็ก ก็กลับกลายเป็นเหล็กธรรมดาค่ะ

บอกแล้วไงคะว่าสติของโปเต้ยังไม่อยู่กับร่องกับรอย
อาจเทียบไม่ได้กับสติอันยิ่งใหญ่ของคุณกรัชกายก็ได้ค่ะ
ขออภัยค่ะ ยังเป็น baby อยู่มากจริงๆ อย่างคุณคามินธรรมว่า
 

_________________
สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 9:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรากล่าวพาดพิงถึงศัพท์ธรรม คือ สติ มาไกลพอสมควรแล้ว

ต่อไปกรัชกายขออนุญาตลอกความหมาย คำว่า สติ - (คัดเอาเฉพาะ

สติ จากหลายๆที่ด้วยกัน) จากหนังสือพุทธธรรม ซึ่งท่านเจ้าคุณ

พระพรหมคุณาภรณ์อธิบายพร้อมตัวอย่าง

ตามด้วยนามธรรม คือ สัญญาอีกตัวหนึ่ง ที่ทำงานใกล้ชิดกับสติควบไป

ด้วยตัวหนึ่ง

ความจริงนามธรรมที่เกิดแต่ละขณะๆ มิใช่เกิดเพียงข้อเดียวตัวเดียว

อย่างที่เรายกขึ้นสนทนากันหรอก มีอีกหลายตัวที่เกิดประกอบร่วมกัน

ในขณะจิตนั้นๆ แต่เราไม่พูดถึง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 9:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(สังเกตการเจริญสติเป็นต้นอิงๆ อยู่กับหลักสติปัฏฐาน นั่นเอง (ยาว

หน่อยนะครับ)



สัญญา - สติ = ความจำ


มักมีความเข้าใจสับสนกันในเรื่องความจำ ว่าตรงกับธรรมข้อใด

คำว่า สัญญา ก็มักแปลกันว่า ความจำ

คำว่า สติ โดยทั่วไปแปลว่า ความระลึกได้

บางครั้งก็แปลว่า ความจำ และมีตัวอย่างที่เด่นเช่น พระอานนท์

ได้รับยกย่องเป็น เอตทัคคะในทางทรงจำพุทธพจน์ คำบาลีในกรณีนี้

ท่านใช้คำว่า สติ

ดังพุทธพจน์ว่า “อานนท์เป็นเลิศกว่าประดาสาวกของเราผู้มีสติ”

(องฺ.เอก.20/149/32)


เรื่องนี้ในทางธรรมไม่มีความสับสน ความจำไม่ใช่กิจของธรรมข้อเดียว

แต่เป็นกิจของกระบวนธรรม และในกระบวนธรรมแห่งความจำนี้

สัญญา และ สติเป็นองค์ธรรมใหญ่ ทำหน้าที่เป็นหลัก มีบทบาทสำคัญ

ที่สุด

สัญญา ก็ดี สติก็ดี มีความหมายคาบเกี่ยวและเหลื่อมกันกับ ความจำ

กล่าวคือ ส่วนหนึ่งของสัญญา เป็นส่วนหนึ่งของความจำ

อีกส่วนหนึ่งของสัญญา อยู่นอกเหนือความหมายของความจำ


แม้สติก็เช่นเดียวกัน ส่วนหนึ่งของสติ เป็นส่วนหนึ่งของความจำ

อีกส่วนหนึ่งของสติ อยู่นอกเหนือความหมายของกระบวนการทรงจำ


ข้อที่พึงกำหนดหมายและระลึกไว้อย่างสำคัญ คือ สัญญาและสติ

ทำหน้าที่คนละอย่างในกระบวนการทรงจำ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 9:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สัญญา กำหนดหมาย หรือ หมายรู้อารมณ์เอาไว้ เมื่อประสบ

อารมณ์อีก ก็เอาข้อที่กำหนดหมายไว้นั้น มาจับเทียบหมายรู้ว่า

ตรงกันเหมือนกันหรือไม่ ถ้าหมายรู้ว่าตรงกัน เรียกว่า จำได้

ถ้ามีข้อต่างก็หมายรู้เพิ่มเข้าไว้ การกำหนดหมาย จำได้ หรือ

หมายรู้อารมณ์ไว้ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ใช่นั้น ใช่นี่- (การเทียบและเก็บ

ข้อมูล) ก็ดี

สิ่งที่กำหนดหมายเอาไว้- (ตัวข้อมูลที่สร้างและเก็บไว้นั้น) ก็ดี

เรียกว่าสัญญา


ลักษณะสำคัญของสัญญา คือ ทำงานกับอารมณ์ที่ปรากฏตัวอยู่

แล้ว กล่าวคือ เมื่ออารมณ์ปรากฏตัวอยู่ต่อหน้า จึงกำหนดได้ หมายรู้

หรือจำได้ซึ่งอารมณ์นั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 9:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


สติ มีหน้าที่ดึงอารมณ์มาสู่จิต เหนี่ยวอารมณ์ไว้กับจิต

คุมหรือกำกับจิตไว้กับอารมณ์ ตรึงเอาไว้ไม่ยอมให้ลอยผ่านหรือ

คลาดกันไป จะเป็นการดึงมาซึ่งอารมณ์ที่ผ่านไปแล้ว หรือดึงไว้ซึ่ง

อารมณ์ที่จะผ่านไปก็ได้

สติ มีขอบเขตความหมายคลุมถึง การระลึก นึกถึง นึกได้

ระลึกได้ ไม่เผลอ

ตรงกับความจำเฉพาะในส่วนที่เป็นการระลึกและความสามารถในการ

ระลึก
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 9:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สัญญา บันทึกเก็บไว้ สติดึงออกมาใช้ สัญญาดี คือ

รู้จักกำหนดหมายให้ชัดเจน เป็นระเบียบสร้างขึ้นเป็นรูปร่างที่มีความหมาย

และเชื่อมโยงกันดี (ซึ่งอาศัยความใส่ใจและความเข้าใจ เป็น

ต้น อีกต่อหนึ่ง) ก็ดี

สติ ดี คือ มีความสามารถในการระลึก - (ซึ่งอาศัยสัญญาดี และ

การหมั่นใช้สติ ตลอดจนสภาพจิตที่สงบผ่องใส ตั้งมั่น เป็นต้น

อีกต่อหนึ่ง) ก็ดี ย่อมเป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้เกิดความจำดี
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 9:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อุปมาเปรียบเทียบสัญญา กับ สติ



นายแดง กับนายดำ เคยรู้จักกันดี แล้วแยกจากกันไป ต่อมา

อีกสิบปี นายแดงพบนายดำอีกจำได้ ว่าผู้ที่ตนพบนั้นคือนาย ดำ

แล้วระลึกนึกได้ต่อไปอีกว่า ตนกับนายดำเคยไปเที่ยวด้วยกัน

ที่นั่นๆ ได้ทำสิ่งนั้นๆ ฯลฯ การจำได้เมื่อพบนั้นเป็นสัญญา

การนึกได้ต่อไปถึงเรื่องราวที่ล่วงแล้ว เป็นสติ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 9:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วันหนึ่ง นาย ก. ได้พบปะสนทนากับ นาย ข.

ต่อมาอีกหนึ่งเดือน นาย ก. ถูกเพื่อนถามว่า เมื่อเดือนที่แล้ววันที่เท่า

นั้นๆ นาย ก. ได้พบปะสนทนากับใคร นาย ก. นึกทบทวนดู

ก็จำได้ว่าพบปะสนทนากับ นาย ข.

การจำได้ในกรณีนี้ เป็นสติ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 9:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เครื่องรับโทรศัพท์ตั้งอยู่มุมห้องข้างหนึ่ง สมุดหมายเลขโทรศัพท์อยู่

อีกมุมห้องด้านหนึ่ง

นายเขียวเปิดสมุดหาเลขหมายโทรศัพท์ที่ตนต้องการพบแล้ว อ่านและ

กำหนดหมายเลขเอาไว้ แล้วเดินไปหมุนหมายเลขที่เครื่องโทรศัพท์

ตามต้องการ ระหว่างเดินไปก็นึกหมายเลขนั้นไว้ตลอด การอ่านและ

กำหนดหมายเลขที่สมุดโทรศัพท์ เป็นสัญญา การนึกหมายเลขนั้น

ตั้งแต่ละจากสมุดโทรศัพท์ไป เป็นสติ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 9:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่ออารมณ์ปรากฏอยู่ต่อหน้าแล้ว ก็กำหนดหมายได้ทันที แต่เมื่อ

อารมณ์ไม่ปรากฏอยู่ และถ้าอารมณ์นั้น เป็นธรรมารมณ์- (เรื่องใน

ใจ) ก็ใช้สติดึงอารมณ์นั้นมาแล้วกำหนดหมาย

อนึ่ง สติสามารถระลึกถึงสัญญา คือ ดึงเอาสัญญาที่มีอยู่เก่ามาเป็น

อารมณ์ของจิต แล้วสัญญาจะกำหนดหมายอารมณ์นั้นสำทับเข้าอีก

ให้ชัดเจนแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น หรือกำหนดหมายแนวใหม่ เพิ่มเข้าไปตาม

วัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่งก็ได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 9:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สติ - ความระลึกได้ หมายถึง ความสามารถหวนระลึกนึกถึง

หรือ กุมจิตไว้กับสิ่งที่จะพึงเกี่ยวข้องหรือต้องใช้ต้องทำในเวลานั้น


ในโพชฌงค์นี้ สติมีความหมายคลุมตั้งแต่การมีสติกำกับตัว ใจอยู่กับ

สิ่งที่กำลังกำหนดพิจารณาเฉพาะหน้า** จนถึงการหวนระลึกรวบรวม

เอาธรรมที่ได้สดับเล่าเรียนแล้ว หรือ สิ่งที่จะพึงเกี่ยวข้องต้องใช้ต้อง

ทำ มานำเสนอต่อปัญญาที่ตรวจตรองพิจารณา (สํ.ม. 19/374/99 )


**ได้แก่ สติในการเจริญสติปัฏฐานทั่วๆไป ม.อุ. 14/290/198;

สํ.ม. 19/1387/420
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 9:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-สติ มีอาหาร คือ โยนิโสมนสิการในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ


-อาหาร คือ เครื่องหล่อเลี้ยงกระตุ้นเสริมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดก็เกิด

ขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญไพบูลย์


อนาหาร ได้แก่ สิ่งที่ไม่หล่อเลี้ยง ไม่กระตุ้นเสริม

อาหารของโพชฌงค์ ได้แก่ โยนิโสมนสิการ

อนาหาร ได้แก่ การขาดมนสิการ

(สํ.ม. 19/522-546/143-150)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 9:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ ก็ คือ ธรรมที่เป็นอารมณ์ของสติ

อรรถกถาแห่งหนึ่งว่า ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ และ

โลกุตรธรรม 9- (สํ.อ.3/223)

แต่ถ้ามองกว้างๆ ก็ คือ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน 4 นั่นเอง


คัมภีร์วิสุทธิมรรคและสัมโมหวิโนทนี- (วิสุทธิ. 1/168-171 และ

วิภงฺค.อ.360-374) แสดงธรรมที่ช่วยให้เกิดสติอีก 4 อย่าง

คือ สติสัมปชัญญะ การหลีกเว้นคนสติเลอะเลือน คบหาคนที่มีสติ

กำกับตัวดี และทำใจให้น้อมไปในสติสัมโพชฌงค์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 9:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-สตินทรีย์ (สติ+อินทรีย์) พึงเห็นได้ใน สติปัฏฐาน

บางแห่งว่า สติที่ได้ด้วยปรารภสติปัฏฐาน 4 หรือ ตัวสติปัฏฐาน 4

นั่นเอง

บางทีให้ความหมายง่ายลงมาว่า การมีสติ การมีสติครองตัว

ที่ยวดยิ่ง สามารถระลึกนึกทวนถึงกิจที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้

หน้าที่ของสติ คือ การดูแล หรือ คอยกำกับจิต (อุปัฏฐาน)

ความหมายสามัญว่า ความระลึกได้ กำกับใจไว้กับกิจ นึกได้ถึงสิ่งที่

พึงทำพึงเกี่ยวข้อง

มีพุทธพจน์รับรองคำกล่าวของพระสารีบุตรว่า อินทรีย์ 5

(สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) อย่างนี้ ส่งผลเป็นปัจจัยต่อเนื่อง

กันกล่าว คือ

ศรัทธา ทำให้เกิดความเพียร ความเพียรช่วยให้สติมั่นคง เมื่อสติมั่น

คงแล้ว กำหนดอารมณ์ก็จะได้สมาธิ เมื่อมีสมาธิดีแล้ว ก็จะเกิดความ

เข้าใจมองเห็นซึ้งถึงโทษของอวิชชาตัณหาที่เป็นเหตุแห่งสังสารวัฏ

มองเห็นคุณค่าของนิพพาน ซึ่งเป็นภาวะปราศจากความมืดแห่งอวิชชา

และความทุรนทุรายแห่งตัณหา สงบประณีตดีเยี่ยม


ครั้นเมื่อรู้ชัดเข้าใจแจ่มแจ้งด้วยตนเองแล้ว ก็จะเกิดมีศรัทธาที่เป็นศรัทธา

อย่างยิ่ง หรือ ยิ่งกว่าศรัทธา หมุนเวียนกลับเป็นสัทธินทรีย์อีก
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 9:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

^
ต่อ

ดังพุทธพจน์ท่อนสุดท้ายว่า

“ดูกรสารีบุตร อริยสาวกนั้นแล เพียรพยายามอย่างนี้ ครั้นเพียร

พยายามแล้วก็ระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้วก็ตั้งจิตมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้ง

จิตมั่นแล้วก็รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้วก็เชื่อยิ่งอย่างนี้ว่า

ธรรมทั้งหลาย ที่แต่ก่อนนี้เราเพียงแต่ได้ยินได้ฟังเท่านั้น

ย่อมเป็นดังนี้แล ดังเราสัมผัสอยู่ด้วยตัว และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วย

ปัญญาอยู่ในบัดนี้”

(สํ.ม.19/1010-1022/297-300)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 9:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(ยังมีข้อธรรมสำคัญชื่อว่า ธัมมานุธัมมปฏิบัติ สำหรับตรวจสอบการปฏิบัติ

ธรรมของโยคีว่าเริ่มต้นตรงเป้าหมายหรือไม่อย่างไร ท่านกล่าวไว้ ดังนี้)


ในการปฏิบัติธรรม หรือ กระทำการตามหลักการใดๆ ก็ตาม

จะต้องเข้าใจความหมายและความมุ่งหมายของธรรม หรือ หลักการ

นั้นๆว่า ปฏิบัติหรือทำไปเพื่ออะไร ธรรมหรือหลักการนั้นกำหนด

วางไว้เพื่ออะไร จะนำไปสู่ผลหรือที่หมายใดบ้าง ทั้งจุดหมายสุด

ท้ายปลายทาง และเป้าหมายท่ามกลางในระหว่าง ที่จะส่งทอด

ต่อไปยังธรรม หรือ หลักการข้ออื่นๆ

ความเข้าใจถูกต้องในเรื่องหลักการและความมุ่งหมายนี้ นำไปสู่การ

ปฏิบัติถูกต้องที่เรียกว่า “ธัมมานุธัมมปฏิบัติ”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 9:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธัมมานุธัมมปฏิบัติ แปลอย่างสืบๆกันมาว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

แปลตามความหมายว่าปฏิบัติธรรมน้อยคล้อยแก่ธรรมใหญ่ หรือปฏิบัติ

ธรรมหลักย่อยคล้อยตามหลักใหญ่

แปลง่ายๆว่า ปฏิบัติธรรมถูกหลัก คือ ทำให้ข้อปฏิบัติย่อยเข้ากันได้

สอดคล้องกัน และ ส่งผลแก่หลักการใหญ่ เป็นไปเพื่อจุดหมายที่ต้อง

การ

ธัมมานุธัมมปฏิบัติ เป็นสิ่งสำคัญมาก อาจเรียกได้ว่าเป็นตัวตัดสินว่า

การปฏิบัติธรรมหรือการกระทำนั้นๆ จะสำเร็จผลบรรลุจุดมุ่งหมายได้หรือ

ไม่

ถ้าไม่มี ธัมมานุธัมมปฏิบัติ การปฏิบัติธรรมหรือดำเนินตามหลักการ

ก็คลาดเคลื่อน ผิดพลาด เลื่อนลอย ว่างเปล่า งมงาย

ไร้ผล หนำซ้ำอาจมีผลในทางตรงข้าม คือ เกิดโทษขึ้นได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 9:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธัมมานุธัมมปฏิบัติ หมายถึงการปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องตามหลัก

การ ตามความมุ่งหมาย คือ หลักย่อยคล้อยตามหลักใหญ่

หลักเบื้องต้นเอื้อแก่หรือเป็นไปเพื่อหลังเบื้องปลาย เช่น ปฏิบัติศีลถูก

หลัก เป็นไปเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน มิใช่เพื่องมงาย

ไร้หลักการ หรือทำให้เขวไปด้วยตัณหาและทิฏฐิ-

คัมภีร์จูฬนิทเทส (ขุ.จู.30/797/417) แสดงตัวอย่างธรรมหรือธรรม

หลักใหญ่ เช่น สติปัฏฐาน 4 มรรคมีองค์ 8 เป็นต้น –

(คือ โพธิปักขิยธรรม 37 นั่นเอง)

และอนุธรรมหรือธรรมหลักย่อย เช่น การบำเพ็ญศีล

การสำรวมอินทรีย์ ความรู้จักประมาณในอาหาร ชาคริยานุโยค

และ สติสัมปชัญญะ เป็นต้น พึงปฏิบัติธรรมหลักย่อย เช่น

ศีล และการสำรวมอินทรีย์นี้อย่างมีจุดหมาย ให้สอดคล้องและ

อุดหนุนแก่ธรรมหลักใหญ่ เช่น สติปัฏฐาน 4 เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 12:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำว่าสติ นี้ตั้งแต่พื้นๆ คือสติล้มลุกคลุกคลาน ตั้งสติตั้งแล้วล้ม ตั้งสติใหม่แล้วล้มอีก
จากนั้นพอจะตั้งสติให้สืบต่อได้บ้าง
จนกระทั่งถึงสติติดต่อสืบเนื่องกันเป็นลำดับลำดา
จนกลายเป็นมหาสติมหาปัญญา

เพื่อให้มองเรื่องสติง่ายขึ้น

๑.ขาดสติ คือ คนบ้า หรือ คนเมา
๒.สติโลก คือ เรา ๆ ท่าน ๆ ทั่วไป
๓.สติธรรม คือ การระลึกรู้ ทัน อาการ และ อารมณ์ ต่าง ๆที่สัมผัสใจ

สติ กับ สัญญา ต่างอันต่างอยู่ ถ้านำมาพัวพันกันจะไม่เห็นตามจริง


"สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา" สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง คือ เมื่อสติสืบเนื่องกันตลอด จะเป็นทางสู่มรรคผลนิพพาน

"สติรักษาจิต"

นักปฏิบัติท่านใด เมื่อรู้ว่า "อ๋อ สติธรรม เป็นอย่างนี้" ท่านนั้นเดินมาถูกทางแห่งมรรคแล้ว

ที่สงสัยอยู่เช่นนี้ เพราะ ยังไม่ "อ๋อ"

ที่สำคัญตอนนี้ คือ "จะตั้งสติอย่างไร"
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 12:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

guest พิมพ์ว่า:
คำว่าสติ นี้ตั้งแต่พื้นๆ คือสติล้มลุกคลุกคลาน ตั้งสติตั้งแล้วล้ม ตั้งสติใหม่แล้วล้มอีก
จากนั้นพอจะตั้งสติให้สืบต่อได้บ้าง
จนกระทั่งถึงสติติดต่อสืบเนื่องกันเป็นลำดับลำดา
จนกลายเป็นมหาสติมหาปัญญา

เพื่อให้มองเรื่องสติง่ายขึ้น

๑.ขาดสติ คือ คนบ้า หรือ คนเมา
๒.สติโลก คือ เรา ๆ ท่าน ๆ ทั่วไป
๓.สติธรรม คือ การระลึกรู้ ทัน อาการ และ อารมณ์ ต่าง ๆที่สัมผัสใจ

สติ กับ สัญญา ต่างอันต่างอยู่ ถ้านำมาพัวพันกันจะไม่เห็นตามจริง


"สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา" สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง คือ เมื่อสติสืบเนื่องกันตลอด จะเป็นทางสู่มรรคผลนิพพาน

"สติรักษาจิต"

นักปฏิบัติท่านใด เมื่อรู้ว่า "อ๋อ สติธรรม เป็นอย่างนี้" ท่านนั้นเดินมาถูกทางแห่งมรรคแล้ว

ที่สงสัยอยู่เช่นนี้ เพราะ ยังไม่ "อ๋อ"

ที่สำคัญตอนนี้ คือ "จะตั้งสติอย่างไร"


ถูกต้องทั้งหมดเลยครับ

ว่าจะตอบคุณกรัชกาย แต่คุณ guest ได้ครบหมดแล้ว

ถ้าคนเข้าใจ จะไม่จำเป้นต้องอ้างพระไตรปิฏกเลย ไม่ต้องพึ่งบาลีให้มาก
พูดเรื่องยาวๆ ให้เหลือสั้นๆได้ โดยไม่บกพร่อง
และแยกแยะออกว่าอะไรคือสติชาวบ้าน อะไรคือสติที่ใช้สำหรับนิพพาน
อะไรคือมรรคชาวบ้าน อะไรคือมรรคนิพพาน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง