Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ไตรลักษณ์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เก้าตะวัน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 มี.ค.2005, 12:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อท่านประสบเหตุใด ๆ ในชีวิต ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีในความรู้สึกของท่าน หากท่านเคยคิดว่ามันเป็นอนิจจัง ทุกขังหรืออนัตตา ท่านมักจะคิดว่ามันเป็นลักษณะไหนมากกว่ากัน หรือคิดว่าเป็นลักษณะไหนบ่อยกว่ากันหรือบ่อยที่สุดในความรู้สึกของท่าน ขอเชิญท่านทั้งหลายแสดงความคิดเห็น หรือเล่าเป็นตัวอย่าง เป็นอุธาหรณ์ เพื่อเจริญในธรรมโดยทั่วกัน

 
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 06 มี.ค.2005, 12:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน





สาธุๆๆ เป็นคำถามที่ดีมากๆ ครับ



...

ส่วนตัวแล้ว เมื่อมีประสบเหตุการณ์ที่ทำให้พึงธรรมะนั้น

มักจะนึกถึงอนิจจัง คือความไม่เที่ยง ไม่แน่นอนของสิ่งเหล่านั้น

ความไม่เที่ยง ไม่แน่นอน คือจะคิดว่าสิ่งเหล่านี้ย่อมมีการณ์เวลาที่

ต้องเกิด และหายไป ถ้าเรามีสติใจเย็นพยายามแก้ปัญหาเหล่านั้น

ทุกอย่างก็จะผ่านพ้นไปเอง คือแทนที่เราจะหยุดคิดอยู่กับปัญหา

กลับเอาเวลานั้นหาวิธีแก้และแก้ปัญหานั้นให้ผ่านพ้นไป



ถ้าแก้ไม่ได้ หรือแก้ไม่ทัน ก็ยอมรับสภาพ แต่ไม่ยอมรับสภาพ

โดยที่ไม่ได้ลงมือแก้ก่อนปัญหานั้นก่อน

เมื่อถึงตอนนี้จะนึกถึงกฎแห่งกรรม

ยอมรับสภาพ เพราะจะทำให้เราทุกข์ใจน้อยลง



อนิจจัง คือความไม่เที่ยง จะสัมพันธ์กับความเป็นอนัตตา คือความไม่มีตัวตนของสิ่งนั้น

เมื่อเรานึกคิดถึงความไม่เที่ยง ไม่แน่นอนของสิ่งเหล่านั้น จะเห็นความไม่มีตัวตนของสิ่งเหล่านั้นด้วย

การปล่อยวาง หรือวางเฉย (แต่มีสติ) กับสิ่งปัญหาเหล่านั้น ก็เกิดขึ้นตามมา



สำคัญที่สุดในการดำรงชีวิต คือการมีสติ

เพราะสติเปรียบเสมือนตัวดึงธรรมะอื่นมาใช้

ถ้าขาดสติเมื่อเจอปัญหา ก็จะวุ่นวายตามแสของปัญหา

จึงมองไม่เห็นวิธีแก้ และปล่อยวางกับปัญหาเหล่านั้น

การมีสติ ไม่ใช่เพื่อหนีปัญหาแต่ยอมรับปัญหา ตามความเป็นจริง

และหาวิธีแก้โดยนำหลักธรรมะเข้าไปผสมกับวิธีแก้โดยหลักวิชาการ หรือวิชาชีพของตัวเอง



ที่กล่าวมานี้ก็เป็นหลักธรรมส่วนตัวสั้นๆ แต่จะบอกกล่าวหรือฝากไว้คิด

หวังว่าคงจะได้อ่านประสบการณ์ของท่านๆ อื่น ตามที่ผู้ตั้งกระทู้บอกกล่าวไว้



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
มาดู
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 มี.ค.2005, 1:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

...สาธุค่ะ.... ....แล้วจะมาใหม่นะคะ... ...ไปคิดก่อน..
 
earthy
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 มี.ค.2005, 10:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โดยส่วนตัวแล้ว เมื่อประสบเหตุการณ์ต่างๆ ส่วนใหญ่ จะมองเห็นอนัตตา มองเห็นว่า จริงๆแล้ว ไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับใครๆ เพราะว่าไม่มีใครๆ มีสักแต่ว่าเป็นธาตุสี่ ที่เห็นกันไปว่ามีเหตุการณ์ดี หรือ ร้าย เกิดขึ้นกับใครนั้น มันเป็นภาพลวงตา ที่เกิดจากความเห็นผิดไปตามกิเลสสังขารปรุงแต่งและจิตไปหลงยึด ดังนั้น การการมองเห็นอนัตตาจึงเป็นการมองเห็นตามจริงที่สุดทางของไตรลักษณ์แล้ว ดังพระพุทธพจน์แห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า "จงมองโลกนี้เป็นของว่าง"
 
มาดู
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 มี.ค.2005, 1:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

....

สมมุติว่า..เราไปซื้อน้ำแข็งมาสักก้อนนึง...

...เรารู้ว่า..น้ำแข็งเกิดจากน้ำที่แปรสภาพมาด้วยเหตุปัจจัย..

...เรารู้ว่า..จะรักษาน้ำแข็งนั้นไว้ได้..ด้วยความรู้ในเหตุปัจจัย..

...เรารู้ว่า..น้ำแข็งจะละลายไป..ด้วยเหตุปัจจัย..



...

เราต้องรู้จักน้ำแข็ง...

เราต้องรู้ความเป็นไปของมัน..



.......

เราต้องเรียนรู้... ... ความจริง

เราต้องยอมรับ....... ความจริง ... ..



....

เพียงความคิดเห็นส่วนตัว...



ธรรมะ...คือ..ความจริง



...สาธุ..สำหรับคำถาม..และคำตอบ..
 
สิริธรรมโชติกุล
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 มี.ค.2005, 6:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพราะเหตุว่า มันถูกบีบคั้นให้เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา



มันจึงไม่เที่ยง ไม่มั่นคง ไม่ถาวร



ฉนั้นจึงกล่าวว่า มันไม่มีตัวตนเพราะไปบังคับบัญชาไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไปตลอด
 
ทิดน้อย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 มี.ค.2005, 12:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมว่าต้องประสบกับทุกขังก่อนเสมอเมื่อเบื่อหน่ายทุกข์แล้วจึงมาลำดับเหตุของทุกข์ว่าเกิดจากอะไรจากนั้นจึงหาหนทางแห่งการพ้นทุกข์(เหตุย่อมเกิดก่อนผล)
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง