ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ค.2008, 10:23 pm |
  |
-ต่อ
ความจริงคำว่า อริยบุคคล เป็นคำที่นิยมใช้สำหรับพูดถึง
อย่างกว้างๆ หรือคลุมๆไป ไม่ระบุตัว หาใช่เป็นคำเฉพาะ
มาแต่เดิมไม่ คำเดิมที่ท่านใช้เป็นศัพท์เฉพาะสำหรับแยก
ประเภท หรือแสดงระดับขั้นในบาลีได้แก่คำว่า ทักขิไณย หรือ
ทักขิไณยบุคคล
อย่างไรก็ตาม คำว่า ทักขิไณยบุคคลก็ดี อริยบุคคลก็ดี
ล้วนเป็นคำเลียนศัพท์ในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งพระพุทธเจ้า
ทรงเปลี่ยนแปรหรือปฏิวัติความหมายเสียใหม่ เช่นเดียวกับศัพท์
อื่นๆ อีกเป็นอันมาก เช่น พรหม พราหมณ์ นหาตกะ
เวทคู เป็นต้น |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ค.2008, 10:26 pm |
  |
-ต่อ
คำว่า อริยะ ตรงกับสันสกฤตว่า อารยะ เป็นชื่อเรียกเผ่าชนที่
อพยพเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือของชมพูทวีป คือประเทศ
อินเดียเมื่อหลายพันปีมาแล้ว และรุกไล่ชนเจ้าถิ่นเดิมให้ถอยร่นลงไป
ทางใต้และป่าเขา
พวกอริยะหรืออารยะนี้ (เวลาเรียกเป็นเผ่าชนนิยมใช้ว่าพวกอริยกะ
หรือ อารยัน) ถือตัวว่าเป็นพวกเจริญ และเหยียดชนเจ้าถิ่นเดิมลงว่า
เป็นพวกมิลักขะ หรือมเลจฉะ คือพวกคนเถื่อน คนดง คนดอย
เป็นพวกทาส หรือพวกทัสยุ
ต่อมาเมื่อพวกอริยะเข้าครอบครองถิ่นฐานมั่นคงและจัดหมู่ชนเข้าในระบบ
วรรณะลงตัว
โดยให้พวกเจ้าถิ่นเดิม หรือพวกทาสเป็นวรรณะศูทรแล้ว
คำว่าอริยะ หรืออารยะหรืออารยัน ก็หมายถึงชน 3 วรรณะต้น
คือ กษัตริย์ พราหมณ์ และแพศย์ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ค.2008, 10:31 pm |
  |
-ต่อ
ส่วนพวกศูทร และคนทั้งหลายอื่น เป็นอนารยะทั้งหมด
การถืออย่างนี้เป็นเรื่องของชนชาติ เป็นไปตามกำเนิดจะเลือกหรือแก้ไข
ไม่ได้
เมื่อพระพุทธเจ้าออกประกาศพระศาสนา พระองค์ได้ทรงสอนใหม่
ว่า ความเป็นอริยะหรืออายะไม่ได้อยู่ที่ชาติกำเนิด แต่อยู่ที่ธรรม
ซึ่งประพฤติปฏิบัติและฝึกฝนอบรมให้มีขึ้นในจิตใจของบุคคล ใครจะเกิด
มาเป็นชนชาติใด วรรณะไหนไม่สำคัญ
ถ้าประพฤติอริยธรรมหรืออารยธรรม ก็เป็นอริยะคืออารยชนทั้งนั้น
ใครไม่ประพฤติก็เป็นอนาริยะ หรืออนารยะชนทั้งสิ้น
สัจธรรม ก็ไม่ต้องเป็นของที่พวกพราหมณ์ผูกขาด โดยจำกัดตาม
คำสอนในคัมภีร์พระเวท
แต่เป็นความจริงที่เป็นกลางมีอยู่โดยธรรมดาแห่งธรรมชาติ ผู้ใด รู้แจ้ง
เข้าใจสัจธรรมที่มีอยู่
โดยธรรมดานี้ ผู้นั้นก็เป็นอริยะหรืออารยะ โดยไม่จำเป็นต้อง
ศึกษาพระเวทของพราหมณ์แต่ประการใด และเพราะการรู้สัจธรรม
นี้ทำให้คนเป็นอริยะ สัจธรรมนั้นจึงเรียกว่าอริยสัจ-
(สํ.ม. 19/1703/543 ฯลฯ) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ค.2008, 10:34 pm |
  |
-ต่อ
เมื่อว่าตามหลัก บุคคลที่จะเข้าใจอริยสัจ ก็คือท่านที่เป็น
โสดาบันขึ้นไป ดังนั้น คำว่า อริยะ ที่ใช้ในคัมภีร์โดยทั่วไป
จึงมีความหมายเท่ากับทักขิไณยบุคคล และอริยสัจ 4
บางคราวท่านก็เรียกว่า อริยธรรม หรืออารยธรรม-
(ขุ.สุ.25/330/293 ฯลฯ)
อย่างไรก็ตาม คำว่า อริยธรรมหรืออารยธรรมนี้ ท่านไม่ได้
จำกัดความหมายตายตัว แต่ยังเยื้องให้ได้กับธรรมหลายหมวด
บางทีผ่อนลงหมายถึงกุศลกรรมบถ 10 บ้าง-
(องฺ.ทสก.24/165/296)
ศีล 5 บ้าง ก็มี- (องฺ.จตุกฺก.21/61/90 ฯลฯ) ซึ่งโดยหลักการก็ไม่ขัด
กันแต่ประการใด เพราะผู้ที่จะรักษาศีล 5 ได้อย่างถูกต้องตามความ
หมายอย่างแท้จริง (ไม่กลายเป็นสีลัพพตปรามาส) และมั่นคง
ยั่งยืนไม่ด่างพร้อยตลอดชีวิต ก็คือคฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันขึ้นไป
ในอรรถกถาทั้งหลาย เมื่ออธิบายคำว่า อริยะ ที่ใช้กับ
บุคคล มักอธิบายเป็นอย่างเดียวกันหมดว่าหมายถึง
พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวกของพระเจ้า-
(วินย.อ.1185 ฯลฯ) แต่บางแห่ง ก็สงวนสำหรับพระพุทธเจ้าอย่าง
เดียว- (ม.อ.1/28 สํ.อ.3/306 ฯลฯ) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ค.2008, 10:39 pm |
  |
-ต่อ
ส่วนคำว่า อริยะ ที่ใช้เป็นคุณนามของข้อธรรมหรือการปฏิบัติ มักมี
ความหมายเท่ากับคำว่า โลกุตระ- (ม.อุ.14/258/181 ฯลฯ) แต่ไม่ถึง
กับแน่นอนตายตัวทีเดียว- (รวมถึงโลกียะด้วย สํ.อ. 1/43;3/415)
เท่าที่กล่าวมา คำว่า อริยะ พอสรุปได้ว่า แม้คำว่า
อริยะ นี้จะมีความหมายกว้างสักหน่อย แต่ในกรณีที่ใช้เรียก
บุคคลแล้ว จะหมายถึงกลุ่มชนเดียวกับทักขิไณยบุคคลเป็นพื้น คือ
หมายถึงท่านผู้พ้นจากภาวะปุถุชน และจัดเข้าในกลุ่มสาวก
สงฆ์ (ที่ปัจจุบันเรียกว่า อริยสงฆ์- ในกรณีเช่นนี้ อรรถกถา
อธิบายว่า อริยะมี 4 ประเภท คือ
1. อาจารอริยะ -อารยชน โดยความประพฤติ คือดำรงอยู่ในหลักแห่ง
ความดีงาม
2. ทัสสนอริยะ - อารยชนโดยรูปร่างลักษณะอาการที่เห็นแล้วน่านิยม
เลื่อมใส
3. ลิงคอริยะ- อารยชนโดยรูปเพศคือนุ่งห่มครองเพศ
เป็นสมณะ
4.ปฏิเวธอริยะ -อารยชนโดยรูปโดยการตรัสรู้ ได้แก่พระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธสาวก
ชา. อ.3/55; 4 /12;5/167;6/269 ...)
ฯลฯ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ค.2008, 10:46 pm |
  |
-ต่อ
ทักขิไณยบุคคล 8 หรือ อริยบุคคล 8
เกณฑ์แบ่งแบบนี้ จัดตามกิเลสคือสังโยชน์ที่ละได้ในแต่ละขั้น
พร้อมไปกับความก้าวหน้าในการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ
ศีล สมาธิ และปัญญา ดังนั้น จึงควรรู้จักสังโยชน์ก่อน
สังโยชน์ แปลตามศัพท์ว่า เครื่องผูก หมายถึง กิเลสผูกใจสัตว์
หรืออกุศลธรรมที่ผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์ในสังสารวัฏเหมือนผูก
เทียมสัตว์ไว้กับรถ มี 10 อย่าง |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ค.2008, 10:51 pm |
  |
-ต่อ
สังโยชน์ 10 อย่าง คือ
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ หรือ ขั้นหยาบ) 5 อย่าง
คือ
1. สักกายทิฏฐิ - ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ความเห็นที่ยังติดแน่น
ในสมมุติว่าเป็นตัวตน เราเขา เป็นนั่นเป็นนี่ มองไม่เห็นสภาพ
ความจริงที่สัตว์บุคคล เป็นเพียงองค์ประกอบต่างๆ มาประชุม
กันเข้า ทำให้มีความเห็นแก่ตัวในขั้นหยาบ และความรู้สึก
กระทบกระทั่งบีบคั้นเป็นทุกข์ได้รุนแรง- (คำจำกัดความตามแบบ
ว่า มองเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร หรือ วิญญาณ เป็น
ตน; มองเห็นตนมีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร หรือมี
วิญญาณ; มองเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร หรือ
วิญญาณ ในตน; หรือมองเห็นตน ในรูป ในเวทนา ใน
สัญญา ในสังขาร หรือในวิญญาณ-ม.มู.12/507/548 ฯลฯ)
2. วิจิกิจฉา-ความลังเล สงสัย เคลือบแคลงต่างๆ เช่น สงสัย
ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในเรื่องที่มา
ที่ไปของชีวิต ในปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น ทำให้ไม่มั่นใจไม่เข้มแข็ง
แกล้วกล้าที่จะดำเนินชีวิตตามหลักธรรมด้วยความมีเหตุผล และในการ
ที่จะเดินหน้าแน่วดิ่งไปในอริยมรรคา
3. สีลัพพตปรามาส- ได้แก่การถือศีล ระเบียบ แบบแผน บท
บัญญัติ และข้อปฏิบัติต่างๆโดยสักว่าทำตามๆกันไปอย่างงมงาน
เห็นเป็นขลังศักดิ์สิทธิ์ ติดอยู่แต่รูปแบบหรือพิธีรีตอง ฯลฯ
ดูอธิบายหัวข้อนี้ที่ =>
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16739
4. กามราคะ ความกำหนัดในกาม ความติดใจในกามคุณ
5.ปฏิฆะ- ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง หรือ
งุ่นง่านใจ
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง หรือ ขั้นละเอียด)
5 อย่าง คือ
6. รูปราคะ- ความติดใจรูปธรรมอันประณีต เช่นติดใจในอารมณ์
แห่งรูปฌาน พอใจในรสความสุข ความสงบของสมาธิขั้นรูปฌาน
ติดใจปรารถนาในรูปภพ เป็นต้น
7.อรูปราคะ- ความติดใจรูปอธรรม เช่น ติดใจในอารมณ์แห่ง
อรูปฌาน ติดใจปรารถนาในอรูปภพ เป็นต้น
8. มานะ-ความถือตัว หรือสำคัญตนเป็นนั่นเป็นนี่ เช่นว่า
สูงกว่าเขา เท่าเทียมเขา ต่ำกว่าเขา เป็นต้น
9. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน จิตใจไม่สงบ ว้าวุ่น ซัดส่าย
คิดพล่านไป
10. อวิชชา- ความไม่รู้จริง ไม่รู้เท่าทันสภาวะ ไม่เข้าใจ
กฎธรรมดาแห่งเหตุและผลหรือไม่รู้อริยสัจ-
สํ.ม. 19/359/90 ฯลฯ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ค.2008, 10:59 pm |
  |
พึงสังเกตว่า ในบาลีทั่วไป สังโยชน์ข้อ 4 และ 5
เป็น กามฉันทะและพยาบาท เฉพาะที่ องฺ.ติก.20/534/312
เป็นอภิชฌาและพยาบาท แต่ที่เรียกกันมาเป็น กามราคะ และ
ปฏิฆะนั้น ก็เพราะถือตามคัมภีร์ชั้นรอง และคัมภีร์รุ่นอรรถกถาฎีกา
เช่น ขุ.ปฏิ.31/535/436; วิสุทธิ.3/334; สงฺคห.40
(ประเด็นยังมีต่อ) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
guest
บัวบาน

เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ค.2008, 12:31 am |
  |
คุณ กรัชกาย ครับ
ความจริงคิดว่าจะไม่มาแล้วครับ เมื่อคุณกรัชกายชักชวนในการสนทนาธรรม นับว่าเป็นเกียรติที่คุณให้ความสำคัญจึงกลับมาครับ
๑.อย่างไรก็ดี การแบ่งแบบนี้ มักพูดถึงโดยสัมพันธ์กับบุคคลผู้
บรรลุ ฯลฯ ในที่นี้ขอย้ำไว้เพียงว่า มรรคผลนั้น ไม่ใช่
นิพพาน แต่เป็นเพียงขั้นตอนหรือระดับแห่งการเข้าถึงนิพพาน
ตอบ
อาจะมีที่เห็นตรงกัน และต่างกันบ้างครับ แต่บางส่วนผมอ่านความเห็นของคุณแล้ว ผมไม่ค่อยเข้าใจความหมายที่คุณต้องการสื่อ แต่ผมจะเสนอความเห็นในส่วนของผมนะครับ
เห็นด้วยครับที่ว่า มรรค ผลไม่ใช่ นิพพาน ครับ เมื่อจะไปพระนิพพานต้องผ่านทางนี้ครับถึงจะถึงพระนิพพานครับ คือต้องเดินผ่านมรรค ผ่านผล ก่อนจึงเข้าพระนิพพานได้ครับ
มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ครับ
เริ่มจาก โสดาปัตติมรรค---> โสดาปัตติผล ---> สกิทาคามิมรรค ---> สกิทาคามิผล ---> อนาคามิมรรค ---> อนาคามิผล ---> อรหัตตมรรค ---> อรหัตตผล ---> พระนิพพาน
อุปมา เหมือนการขึ้นบนบ้าน มรรค ๔ ผล ๓ เป็น บันได อรหัตตผล เป็นชานบ้าน นิพพานคือบนบ้าน ครับ (เป็นบ้านแบบสมัยก่อน มี ๒ ชั้น ที่มีชานบ้านก่อนเข้าถึงตัวบ้านชั้น ๒ ครับ)
๒.และมีข้อควรทราบอีกอย่างหนึ่งว่า มรรคข้อแรก คือ โสดาปัตติมรรค
มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทัสสนะ (การขเห็น) เพราะ เป็นการเห็น
นิพพานครั้งแรก-
ตอบ
เห็นต่างกันครับ พระโสดาปัตติมรรค ท่านยังไม่นิพพานแม้แต่นิดเดียวครับ นิพพานมีครั้งเดียวครับ คือต้องได้ อรหัตตผลก่อน ถึงจะนิพพานได้
็
พระโสดาปัตติมรรค ท่านยังไม่เห็นนิพพานครับ
การที่จะถึงโสดาปัตติมรรค ได้ ท่านต้องมีความเชื่ออย่างฝังใจและไม่โยกคลอนว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ขันธ์ ๕) เหล่านี้ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ครับ
พระโสดาปัตติมรรคที่มนสิการโดยเป็นของไม่เที่ยง อนิจจัง เป็นผู้ชื่อว่า สัทธานุสารี
พระโสดาปัตติมรรคที่มนสิการโดยเป็นทุกขัง เป็นผู้ชื่อว่า กายสักขี
พระโสดาปัตติมรรคที่มนสิการโดยเป็นอนัตตา เป็นผู้ชื่อว่า ธัมมานุสารี
๓.(โสดาบันบุคคล บรรลุมรรค-ผล-นิพพานครั้งแรก กิเลสยังไม่หมด
ถูกนะครับคุณ quest เพราะท่านเพิ่งบรรลุนิพพานครั้งแรก ราคะ
โทสะโมหะยังเหลืออยู่ แต่เบาบางลงแล้ว ละสังโยชน์ได้ 3 อย่างที่รู้ๆ
กัน พระโสดาบันบุคคล ยังต้องเพียรปฏิบัติต่ออีก 3 ขั้น จนถึงขั้น
สุดท้าย คืออรหัตมรรค อรหัตผล-แล้วบรรลุนิพพานอีกครั้ง
ครั้งนี้กิเลส-สังโยชน์จึงจะสิ้น)
ตอบ
พระโสดาบันท่านยังไม่บรรลุนิพพานครับ เพียงกระแสพระนิพพานพาดถึงเท่านั้นครับ ยังไม่บรรลุนิพพานครับ
บรรลุนิพพานเพียงครั้งเดียวพอ หลังจากได้อรหัตตผล ครับ
๔.ทักขิไณยบุคคล 8 หรือ อริยบุคคล 8
เกณฑ์แบ่งแบบนี้ จัดตามกิเลสคือสังโยชน์ที่ละได้ในแต่ละขั้น
พร้อมไปกับความก้าวหน้าในการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ
ศีล สมาธิ และปัญญา ดังนั้น จึงควรรู้จักสังโยชน์ก่อน
สังโยชน์ แปลตามศัพท์ว่า เครื่องผูก หมายถึง กิเลสผูกใจสัตว์
หรืออกุศลธรรมที่ผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์ในสังสารวัฏเหมือนผูก
เทียมสัตว์ไว้กับรถ มี 10 อย่าง
ตอบ
เห็นตรงกันครับ
ที่เหลือค่อยสนทนาธรรมกันต่อนะครับ
กาเลนะ ธรรมสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตมัง |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ค.2008, 8:26 am |
  |
คุณguestและคุณกรัชกาย ครับ
ข้อความของคุณguest
เริ่มจาก โสดาปัตติมรรค---> โสดาปัตติผล ---> สกิทาคามิมรรค ---> สกิทาคามิผล ---> อนาคามิมรรค ---> อนาคามิผล ---> อรหัตตมรรค ---> อรหัตตผล ---> พระนิพพาน
อรหัตตมรรค ---> อรหัตตผล ---> พระนิพพาน ผมขออธิบายข้อความนี้
พระนิพพานคือความสุข ที่ไม่ได้มีนามรูปเกี่ยวข้อง ในตอนเข้ากรรมฐานบนโลกคือ สัญญาเวทยิทนิโรธ
หรือนิโรธสมาบัติ |
|
|
|
  |
 |
guest
บัวบาน

เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ค.2008, 10:58 am |
  |
คุณพลศักดิกล่าวว่า :
ตอบตอบเมื่อ: 25 กรกฎาคม 2008, 8:26 am เรื่อง:
คุณguestและคุณกรัชกาย ครับ
ข้อความของคุณguest
เริ่มจาก โสดาปัตติมรรค---> โสดาปัตติผล ---> สกิทาคามิมรรค ---> สกิทาคามิผล ---> อนาคามิมรรค ---> อนาคามิผล ---> อรหัตตมรรค ---> อรหัตตผล ---> พระนิพพาน
อรหัตตมรรค ---> อรหัตตผล ---> พระนิพพาน ผมขออธิบายข้อความนี้
พระนิพพานคือความสุข ที่ไม่ได้มีนามรูปเกี่ยวข้อง ในตอนเข้ากรรมฐานบนโลกคือ สัญญาเวทยิทนิโรธ
หรือนิโรธสมาบัติ
คุณ พลศักดิ์ ครับ
ขอให้คุณเปิดใจฟังผมซักนิดได้มั้ยครับ เปิดใจกว้าง ๆ เลยนะครับ
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้พระพุทธองค์ จะทรงปรินิพพาน พระองค์ก็ยังทรงวางลวดลายให้โลกได้เห็นประจักษ์ในวาระก่อนนิพพาน ให้สมกับความเป็นผู้ที่เป็นเลิศที่สุดในโลก ดังนี้ครับ
พระอนุรุทธะผู้เป็นเอตทัคคะทางปรจิตวิชชา รู้วาระจิตของใครได้ทั้นนั้น ทรงตามจิตพระพุทธองค์ก่อนจะปรินิพพานดังนี้ครับ ก่อนปรินิพพานพระพุทธองค์ จากจิตบริสุทธิ์ธรรมดา ทรงเคลื่อนจิตเข้า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานอันเป็นรูปฌาน ๔ แล้วก็ก้าวเข้าสู่อรูปฌาน ๔ คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วก็ก้าวเข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ทรงดับสัญญาและเวทนาขณะนั้นระงับเงียบ บรรดาพระสงฆ์ที่อยู่นั้นเกิดความสงสัย นี่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วเหรอ พระอนุรุทธะเป็นผู้บอกว่า ยัง ๆ ไม่ปรินิพพาน กำลังประทับอยู่ที่สัญญาเวทยิตนิโรธ พอพระจิตเสด็จเคลื่อนถอยออกมาจากสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วลงมาอรูปฌาน ๔ แล้วลงมารูปฌาน ๔ แล้วก็ถึงจิตบริสุทธ์ธรรมดาอีกครั้ง
แล้วทีนี้พระพุทธองค์เคลื่อนจิตเข้าใหม่ เข้า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน พอถึง จตุถฌาน จิตพระพุทธองค์ไม่เคลื่อนไปอรูปฌาน หรือย้อนมาที่รูปฌาน ทรงเสด็จออกท่ามกลางระหว่าง รูปฌาน และ อรูปฌาน พอถึงตรงนี้แล้วพระอนุรุทธะก็สุดวิสัย ว่าทีนี้ปรินิพพานแล้ว นั่นคือไปพาดพิงกับอะไรอีกไม่มี คือเข้านิพพานไปแล้ว ไม่มีอะไรอ้างอิงได้อีกว่าอยู่จุดไหน
ที่นี้ว่าตามที่คุณพลศักดิ์กล่าวนะครับ
รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ นิโรธสมาบัติ ๑ จิตของพระพุทธองค์เคลื่อนไปทางไหนยังพออ้างอิงได้ใช่มั้ยครับ ว่าอยู่ปฐมฌาน....นิโรธสมาบัติ แต่พอเข้านิพพานแล้วอ้างไม่ได้เลยครับ ว่าอยู่ไหน รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ นิโรธสมาบัติ ๑ ไม่อยู่ทั้งนั้น เข้านิพพานไปแล้วครับ จะเอาอะไรของโลกสมมติมาอ้างไม่ได้เลยครับ
รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ นิโรธสมาบัติ ๑ เป็นสมมติครับ นำมาอ้างอิงนิพพานที่เป็นวิมุติไม่ได้แล้วครับ
สมมติกับวิมุติ คนละอย่างแล้ว อ้างอิงกันไม่ได้ครับ
เพราะฉนั้นที่คุณพลศักดิ์ กล่าวว่า"พระนิพพานคือความสุข ที่ไม่ได้มีนามรูปเกี่ยวข้อง ในตอนเข้ากรรมฐานบนโลกคือ สัญญาเวทยิทนิโรธหรือนิโรธสมาบัติ"
จึงเป็นการเข้าใจผิดครับ นิโรธสมาบัติ ยังเป็นสมมติอยู่ครับ ฤาษีก่อนพุทธกาลก็เข้านิโรธสมาบัติได้ครับ นิโรธสมาบัติไม่ใช่นิพพานครับ
ขอคุณพลศักดิ์ โปรดทำใจให้เป็นกลางรับฟังผมบ้างครับ |
|
|
|
  |
 |
ขันธ์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ค.2008, 12:54 pm |
  |
ผมว่า คุณ guest เข้าใจคลาดเคลื่อนไปหน่อยนะครับ
ทั้งนี้ เพราะว่า คุณ guest ยังไม่ใช่พระอริยะ ก็คลาดเคลื่อนเป็นเรื่องปกติ
คำว่า นิพพาน นั้น พระโสดาบัน เห็นแล้วประสบพบเจอแล้วในอายตนะนั้น
ที่บอกว่า นิโรธ เป็นสมมติ เพราะว่า นิโรธ ความดับทุกข์ทั้งปวง นั้นยังไม่สิ้นเชิง ยังไม่นิ่งไม่ประดิษฐาน
แต่การเห็นพระนิพพานครั้งแรก และเข้าสู่ โสดาบันบุคคล นั้น
เปรียบเหมือน การโหนเชือก เพื่อที่จะไปยังปราสาท มันก็แกว่ง ไม่นิ่ง ไปถึงประสาทแล้วก็ถอยกลับมา เพราะยังไม่ปล่อยตัวลงไปนั่งยังปราสาท
ก็เรียกได้ว่า ไปถึงนิพพานแล้ว แต่ตั้งอยู่ไม่ได้นาน การไปถึงแล้วนั้นแหละเรียกว่า นิโรธ
ข้อนี้จะบอกว่า พระโสดาบันนั้นไม่ถึงนิพพานไม่ได้
ทีนี้ นิพพานจึงมีสองแบบคือ สอุปาทิเสสนิพพาน และ อนุปาทิเสสนิพพาน นิพพาน ที่นิ่งแล้ว เสถียรแล้วแต่ยังมีขันธ์ ครองอยู่ เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่พระอรหันต์ ที่ยังมีชีวิตอยู่ ใจท่านเที่ยงแล้ว
ทีนี้ ที่พระพุทธองค์ ท่าน ดับขันธ์ ปรินิพพาน เรียกว่า เป็น อนุปาทิเสสนิพพาน คือ ดับขันธ์ ทั้งปวง
สรุปว่า พระอริยะทุกคน ต้อง ผ่านการเอาจิตไปสัมผัสพระนิพพานแล้วทุกท่าน ไม่ใช่แค่เพียง ทัสนะ หรือ การนึกเอา หรือ ประมาณเอา ด้วยความรู้ แต่เป็นจิตที่ ผ่านอายตนะนั้นแล้ว
ก็เปรียบได้ว่า บุคคล แม้เคยชิมรสหวานครั้งเดียวก็สามารถรู้ได้ว่ารสแห่งความหวานเป็นอย่างไร ไม่เหมือนคนไม่เคยชิม จะว่า เป็นเพียงแค่ทัสนะที่ประมาณความหวานก็ไม่ได้ เพราะว่า มันคิดไม่ได้ และไม่สามารถนำคนเข้าสู่ทางที่ถูกต้องได้หากตนเองไม่เคยสมัผัส |
|
_________________ เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์ |
|
  |
 |
guest
บัวบาน

เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ค.2008, 1:07 pm |
  |
ตอบตอบเมื่อ: 25 กรกฎาคม 2008, 12:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน
ผมว่า คุณ guest เข้าใจคลาดเคลื่อนไปหน่อยนะครับ
ทั้งนี้ เพราะว่า คุณ guest ยังไม่ใช่พระอริยะ ก็คลาดเคลื่อนเป็นเรื่องปกติ
คำว่า นิพพาน นั้น พระโสดาบัน เห็นแล้วประสบพบเจอแล้วในอายตนะนั้น
ที่บอกว่า นิโรธ เป็นสมมติ เพราะว่า นิโรธ ความดับทุกข์ทั้งปวง นั้นยังไม่สิ้นเชิง ยังไม่นิ่งไม่ประดิษฐาน
แต่การเห็นพระนิพพานครั้งแรก และเข้าสู่ โสดาบันบุคคล นั้น
เปรียบเหมือน การโหนเชือก เพื่อที่จะไปยังปราสาท มันก็แกว่ง ไม่นิ่ง ไปถึงประสาทแล้วก็ถอยกลับมา เพราะยังไม่ปล่อยตัวลงไปนั่งยังปราสาท
ก็เรียกได้ว่า ไปถึงนิพพานแล้ว แต่ตั้งอยู่ไม่ได้นาน การไปถึงแล้วนั้นแหละเรียกว่า นิโรธ
ข้อนี้จะบอกว่า พระโสดาบันนั้นไม่ถึงนิพพานไม่ได้
ตอบ
อาจเป็นเหมือนคุณขันธ์ว่าก็ได้ครับ เพราะที่คุณขันธ์กล่าวละเอียดกว่าที่ผมจะเข้าใจครับ เพราะผมยังไม่ได้เป็นพระอริยะบุคคลครับ |
|
|
|
  |
 |
ปราบมาร
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 21 ก.ค. 2008
ตอบ: 7
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ค.2008, 4:12 pm |
  |
พี่พลศักดิ์ชี้ให้เห็นว่า นิพพาน เป็นอีกสภาวะหนึ่ง นิโรธ เป็นสภาวะชั่วคราวของนิพพาน
พระสารีบุตรเข้าไปดูนิพพานได้ว่าเป็นสุขที่ไม่มีเวทนา พระสารีบุตรก็เข้านิโรธสมาบัตินั่นเอง
เว็บนี้โต้กันทางธรรมล้วนๆ ปะคารมกันบ้างปะปราย ทะเลาะหนักๆ ปราบมารจะเข้ามาปราบเอง |
|
_________________ ที่ใดมีมารที่นั่นมีปราบมาร |
|
  |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ค.2008, 7:23 pm |
  |
ปราบมาร คื่อ โฉมหน้าที่แท้จริงของนายพลศักดิ์วังวิวัฒน์ |
|
|
|
   |
 |
guest
บัวบาน

เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ค.2008, 9:10 pm |
  |
คุณ กรัชกาย ครับ
ผมขออนุญาต จบการสนทนาธรรมนะครับ ดีใจครับที่ได้ร่วมสนทนาธรรมด้วยครับ |
|
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ค.2008, 9:29 pm |
  |
guest พิมพ์ว่า: |
คุณ กรัชกาย ครับ
ผมขออนุญาต จบการสนทนาธรรมนะครับ ดีใจครับที่ได้ร่วมสนทนาธรรมด้วยครับ |
คุณ guest จะไปสนทนาที่บอร์ดไหนหรอครับ กรัชกายมีโอกาสจะตาม
ไปด้วย |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
guest
บัวบาน

เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ค.2008, 9:47 pm |
  |
คุณ กรัชกาย ครับ
ขอบคุณครับ javascript:emoticon(':b8:') |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.ค.2008, 12:06 am |
  |
mes พิมพ์ว่า: |
ปราบมาร คื่อ โฉมหน้าที่แท้จริงของนายพลศักดิ์วังวิวัฒน์ |
ตามสบายครับ จะใส่ร้ายใส่ความผม ก็ตามสบายครับ ขอหลักฐานด้วยก็ดี |
|
|
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.ค.2008, 1:25 pm |
  |
อย่าเชื่อ....อย่ารับรอง....อย่าคัดค้าน.....ลองทำดูจึงจะรู้.....จริงมั้ยครับ |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
|