Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ปัญญาในพละ ๕ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เปลวเทียน
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2004
ตอบ: 20

ตอบตอบเมื่อ: 02 มี.ค.2005, 5:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พละ ๕ ประกอบด้วย ศรัธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา

ถามครับการปรับสมดุลย์ในพละ ๕ ให้สมดุลย์

๔ ข้อแรกพอที่จะเข้าใจถึงการปรับ แต่หัวข้อปัญญานี่สิครับจะปรับอย่างไร

ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ppj
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 มี.ค.2005, 1:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถาม

ปัญญาเกิดจากอะไร

อะไรทำให้ปัญญาเกิด

???

 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 มี.ค.2005, 3:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าพูดถึงปัญญาในพละ ๕ หมายถึงกำลังของปัญญา



แต่ถ้าพูดถึงอินทรีย์ ๕ หมายถึงการทำความเป็นใหญ่ของอินทรีย์ให้เสมอกัน



ในพละ ๕ นั้น การเจริญพละ ๕ ย่อมทำให้เกิดกำลัง เช่นกำลังศรัทธา กำลังสมาธิ กำลังสติ แม้แต่กำลังปัญญา



ให้ไปดูปัญญาว่าเกิดจากอะไรบ้าง เช่นเกิดจากการฟัง ฯลฯ เป็นต้น ถ้าฟังใหมากปัญญาที่เกิดจากการฟังนั้นก็มีกำลัง



คิดว่าเรื่องของพละนั้นำม่สอนไว้ว่าให้ทำให้พละให้เสมอกัน แต่สอนว่าทำให้เจริญ
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 มี.ค.2005, 3:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องของพละไม่ได้สอนว่าควรทำให้พละเสมอหรือสมดุลย์ แต่สอนให้เจริญ
 
siam
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 01 มี.ค. 2005
ตอบ: 19

ตอบตอบเมื่อ: 02 มี.ค.2005, 11:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุฯครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ppj
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 มี.ค.2005, 1:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก่อนจะทำอะไรอื่น ทำฐานแห่งปัญญาให้สว่างก่อน เปรียบเหมือนคนชำนาญอ่านแผนที่ ก่อนออกเดินทางไกล

 
วิษณุ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 มี.ค.2005, 6:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุญาตินะครับ

....คุณเรียนถามเฉพาะปัญญาในพละ5

.....ปัญญาในพละ5 นั้น ตามที่ผมเข้าใจนะครับ...ไม่เกี่ยวกับใคร

ปัญญาในพละ5....ให้ดูแค่ว่าเป็นในทางสัมมาทิฐิหรือเปล่า

ที่เรารู้กันมาว่า

ถ้าศรัทธามาก......ต้องสมดุลกับปัญญา...คือศรัทธานั้นอยู่บนเส้นทางของสัมมาทิฏิหรือเปล่า ถ้าเป็น ก็เริ่มสมดุล

พอเป็นขั้นต้น

พอขึ้นมาขั้นกลางของพละ5

ปัญญานั้น............เมื่อมีศรัทธาแล้ว.......เราศรัทธาในคนผู้นั้นแล้วและอยูในเส้นทางแห่งมรรคผลแล้ว....เราเชื่อในคำสอนของคนผู้นั้นอย่างไม่ลืมหูลืมตาโดยไม่พิจารณาว่าเหมาะกับตนเองหรือเปล่า

เช่น....เขาให้นั่งสมาธินานหลายชั่วโมง......เราก็เชือโดยไม่พิจารณาองค์ประกอบด้านอื่นเลยมันก็ไม่ถูกมากนัก

แต่เราต้องลองปฎิบัติไปตามก่อนพอไม่ใช่จริงๆก็พิจารณาใหม่

อันนี้ถึงจะมีศรัทธา....สมดุลกับปัญญาในขั้นกลาง

ซึ่งแค่ขั้นกลางก็ทำกันยากแล้ว

แต่ขั้นปลาย................ผมบอกไม่ได้ขอโทษด้วยเพราะมีแต่ผู้ที่ผ่านถึงที่สุดแล้วจึงบอกได้

............ขอให้มีดวงตาเห็นธรรมครับ.......
 
มาดู
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 มี.ค.2005, 12:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

......



......
 
ppj
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 มี.ค.2005, 5:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปัญญาพละ หมายถึง ความสามารถในการรับรู้โดยใช้เหตุผล ทำให้รู้ว่าสิ่งใดดีสิ่งใดไม่ดี การสร้างปัญญาให้เกิดแก่ตนนั้น ย่อมต้องอาศัยทั้งพละ 4 ด้วย ทำให้รู้จักใช้ความคิดอย่างมีระบบ รู้จักวิเคราะห์เปรียบเทียบให้รู้จริง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแสดงองค์ประกอบของปัญญาไว้ว่า ปัญญามี 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

1. ความรอบรู้

2. การรู้จักแก้ปัญหา

3. ความเฉลียวฉลาดของบุคคล

ดังนั้น ปัญญาคือ ความรู้แจ้ง ความรอบรู้ และความเฉลียวฉลาด

ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา) มีความรู้ดี รู้ชอบ รู้ถูกต้อง

1. ให้รู้ถึงเป้าหมายที่ดีงาม

2. ให้รู้ถึงวิธีการบรรลุเป้าหมาย

3. ให้รู้ถึงวิธีการแก้ไขปัญหา

ปัญญาเกิดจาก (พละ 4 )

1. การศึกษาเล่าเรียน

2. การพินิจพิจารณา การคิด ด้วยเหตุผล

3. การฝึกอบรมให้เกิดประสบการณ์จริง
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 มี.ค.2005, 5:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การจะเจริญปัญญา ควรรู้จักปัญญาเสียก่อนว่าปัญญาเกิดได้อย่างไร ในที่นี่จะกล่าวถึงลักษณะปัญญา 3 ประการ คือ



1. จินตามยปัญญา หมายถึงปัญญาเกิดแต่การคิดพิจารณาหาเหตุผล



2.สุตมยปัญญา หมายถึง ปัญญาเกิดจากรสดับหรือการฟัง และอาจหมายรวมถึงการเล่าเรียนการศึกษาหรือการอ่านด้วยก็น่าจะได้



3.ภาวนามยปัญญา หมายถึงปัญญาอันเกิดจากการอบรมฝึกฝนในการปฏิบัติ



ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าปัญญาทั้งสามประการนี้ มีส่วนเกี่ยวข้องคือเกื้อหนุนกันในการพัฒนาปัญญา ดังนั้นจึงต้องทำให้ปัญญาส่วนต่างๆเจริญเพื่อจะทำให้ปัญญามีกำลัง ส่วนจะทำอย่างไรนั้นก้แล้วแต่โอกาสในการสั่งสมปัญญาของแต่ละบุคคล
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 มี.ค.2005, 3:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต







ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาพละเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก

ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่กำหนดความเกิดและ

ความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า

ปัญญาพละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้แล ฯ

ศรัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปปพละ สติพละ

สมาธิพละ ปัญญาพละเป็นที่ ๗ ภิกษุผู้มีพละด้วยพละ ๗

ประการนี้ เป็นบัณฑิตย่อมอยู่เป็นสุข พึงเลือกเฟ้นธรรม

โดยแยบคาย ย่อมเห็นอรรถแห่งธรรมชัดด้วยปัญญา ความ

หลุดพ้นแห่งจิต (จริมกจิต) คือ ความดับของภิกษุนั้น

ย่อมมีได้ เหมือนความดับแห่งประทีป ฉะนั้น ฯ

จบสูตรที่ ๔



 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 มี.ค.2005, 3:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑

ธรรมสังคณีปกรณ์







ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย

ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความ

รู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส

ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ กำลัง

คือปัญญา ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา

ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น.



 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง