Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ไม่เข้าใจอนัตตาธรรม หรือ สุญญตา ย่อมไม่เข้าใจ อัตตา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
ผู้ตั้ง ข้อความ
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2008, 9:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่เข้าใจ"อนัตตาธรรม " หรือ สุญญตา ก็ย่อมไม่เข้าใจ อัตตา


ในอนัตตลักขณสูตร พระพุทธเจ้าให้นิยามของคำว่า “อนัตตา” และ “อัตตา” ไว้อย่างชัดเจนที่สุด

พระไตรปิฎกเถรวาทของเรานี้ มารเขาใช้อวิชชาบังจิตเราไว้ ไม่ให้รู้ความจริง ทำให้เกิดความเข้าใจผิด
ในเรื่องอนัตตา อัตตา อัตตาอุปทาน อัตตาทิฏฐิ

....................................................................................

ในสุญญตาหรืออนัตตาธรรม มีความจริงอยู่ 2 อย่าง


1. อนัตตา (หรือสังขตธาตุ) ตามความหมายในอนัตตลักขณสูตร พระพุทธเจ้าให้นิยามว่า

“ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาไม่สามารถบังคับบัญชาได้ตามปรารถนา” สิ่งนั้นคือ “อนัตตา”

จากคำสอนที่พระพุทธองค์ตรัสสอนปัญจวัคคีย์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือที่เรียกว่า ขันธ์ 5 (เบญจขันธ์) ได้แก่ รูป-นามทั้งหมดนั่นแหละเป็น “อนัตตา” (ขันธ์ 5 ก็คือ สังขตธาตุ)

คำว่า “อนัตตา” ในขันธ์ 5 นี้เป็นสิ่งที่ชาวโลกหลงเข้าใจผิดว่ามันเป็น “ อัตตา” ของโลก แต่ความจริง
อัตตาของโลกนี้ พระพุทธเจ้าเรียกมันว่า อุปทาน หรือ มายา หรือ หรือ อัตตาทิฏฐิ หรือ อัตตาวาทุปาทาน


2. อัตตา(อสังขตธาตุ) ตามความหมายในอนัตตลักขณสูตร พระพุทธเจ้าให้นิยามว่า

" สิ่งใดเที่ยง, ไม่มีทุกข์, ไม่ปรวนแปรเป็นธรรมดาสามารถบังคับบัญชาให้เป็นอย่างใจหวังได้ สิ่งนั้นก็ย่อม
เป็นอัตตา "


ดังนั้น จากคำสอนที่พระพุทธองค์ตรัสสอนปัญจวัคคีย์ อัตตา ที่พระพุทธเจ้าพูดถึง คือ นิพพาน เพราะนิพพานเป็นสิ่งเดียวที่ เที่ยง, ไม่มีทุกข์, ไม่ปรวนแปรเป็นธรรมดาสามารถบังคับบัญชาให้เป็นอย่างใจหวังได้



หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต เทศน์ว่า

" สูญในพระนิพพานมีขอบเขตสูญจากกิเลสเท่านั้นรสของพระนิพพานมีอยู่ พระนิพพาน ไม่เกิดไม่ดับ
ไปไหน เป็นอนัตตาธรรม เราจะเอาพระนิพพานมาเป็นอนัตตา เหมือนขันธ์ ๕ และกิเลสทั้งหลาย
มันก็ไม่ถูกเรียกว่าแยกอนัตตาธรรมไม่ถูก ”


หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต อธิบายเพิ่มว่า

“……เราเอามารวมไว้ในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว ซึ่งปะปนกันอยู่แต่เราก็สามารถแยกออกได้ในเวลา
ที่ต้องการแยก คือแยกอนัตตาออกจากอนิจจังกับทุกขังซะเพราะเหตุว่ารสชาติของพระนิพพานเป็น
อนัตตาธรรมอันเย็นสนิท
ไม่ผสมกับอะไรใดๆ

ด้วยจะเอาอนิจจังกับทุกขังในฝ่ายกองนามรูป ไปบวกกับอนัตตาอนุปาทิสสนิพพานที่ดับกิเลสไปด้วย
พร้อมเบญจขันธ์ก็ไม่ถูก เป็นมิจฉาทิฏฐิในชั้นอันละเอียด เพราะไม่เป็นหน้าที่จะเอาจิตไปบวกกับ
อนุปาทิสสนิพพานธรรม ก็เรียกว่าไม่รู้จักฐานะของธรรมเอาธรรม ที่เป็นนามขันธ์ไปบวกกับธรรม
อันพ้นจากรูปขันธ์นามขันธ์ไปแล้ว เดี๋ยวก็จะถูกกล่าวตู่ว่าไม่แตกฉานในธรรม ไม่มีปฏิสัมภิทาญาณในตัว”

เพื่อความเข้าใจเพิมขึ้น ผมขออธิบายเสริมเป็นสำนวนของผมดังนี้

อนิจจัง และทุกขัง เป็นคุณสมบัติของอนัตตาในขันธ์ 5 สิ่งนี้เป็นตัวไม่เที่ยงและเต็ม
ไปด้วยความทุกข์ อย่างไรก็ตาม อนัตตา ตัวที่พ้นจากไตรลักษณ์ในขันธ์ 5 โดยตัวของมันเองเป็น
สิ่งที่เที่ยง ไม่มีทุกข์ อนัตตาที่พ้นจากขันธ์ 5 พระพุทธเจ้าเรียกว่า "อัตตา" (อสังขตธาตุ)
ไม่ใช่เรียกว่า "อนัตตา"


อัตตา(แท้)ตัวนี้ เปรียบเหมือนกับเพชร ที่ต้องขจัดโคลนตม และสิ่งโสโครกออกให้หมด
มันจึงบริสุทธิ์ผุดผ่อง จิตเดิมแท้ของเราที่เป็นประภัสสร ก็คือนิพพานหรือเพชร หรืออัตตา นั่นเอง

อัตตาตัวนี้คือ อสังขตธาตุ หรือธรรมธาตุ

เพชรที่เปื้อนกิเลสอยู่ เรียกว่า อนัตตา เป็นสังขตธาตุ

สรุป อนัตตาธรรม = ศูนยตา(สุญญตา)

อนัตตาธรรม(ศูนยตา) แบ่งเป็น

1. อนัตตา(อุปทานหรือมายาหรืออัตตาของโลก) เกิดจากทิฏฐิหรืออุปทานของเราเอง
อัตตาอุปทานนี้เป็นสิ่งชั่วคราว มีทุกข์ และบังคับบัญชาไม่ได้ดังใจ

เราต้องขจัดกิเลส ตัญหา และอวิชชาออกไปก่อน จึงจะพบ.... 2. อัตตา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2008, 9:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นิพพาน หรือ อายตนะนิพพาน
*****๑. นิพพานสูตรที่ ๑******

ดูกรภิกษุทั้งหลาย "อายตนะนั้นมีอยู่" ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ
อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้าพระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง
ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลายเราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ
เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ


ที่มา : http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=3977&Z=3992
***************************************************
สังเกตคำว่า

"อายตนะนั้นมีอยู่" แสดงว่าอายตนะนิพพานนั้นมีอยู่จริง

"หาอารมณ์มิได้นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ"
เป็นอายตนะที่ไม่มีอารมณ์หาทุกข์มิได้

พุทธวจนะบทนี้เป็นข้อสรุปว่าพระนิพพานนั้น สามารถเข้าถึงได้โดยอายตนะนั้นมีอยู่
แต่เป็นอายตนะที่ปราศจากทุกข์ ไม่มีการไป ไม่มีการมา ไม่มีการจุติ

แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มี เพราะทรงกล่าวยืนยันชัดหนักแน่นว่า "อายตนะนั้นมีอยู่"
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2008, 9:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อสังขตธาต เป็น อมตธาตุ อมตธรรม สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ไม่มีจุดเกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย มันมีอยู่แล้ว
เราเคยเป็น อสังขตธาตุ แต่เพราะอวิชชา เราจึงกลายเป็นสังขตธาตุ พอจิตที่มีอวิชชาของเราดับ
สังขตธาตุจึงดับ หลุดพ้นจากสังสารวัฏฏ์ มันจึงกลับกลายเป็นอสังขตธาตุเหมือนเดิม

ตอนที่มันเป็นสังขตธาตุ พระพุทธเจ้าเรียกว่า “อนัตตา” ตอนที่มันเป็น อสังขตธาตุ พระพุทธเจ้าเรียกว่า “อัตตา”

พวกเราไม่มีวันตาย มีแต่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน 3 ภพ หรือไม่ก็เข้านิพพานไป

อายตนะของเราที่เป็นอสังขตธาตุ คือ อายตนะนิพพาน เป็น ธรรมกาย หรือ ธรรมขันธ์ ส่วน
อายตนะในโลกของเราที่เรียกว่า สังขตธาตุ คือ ขันธ์ 5
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2008, 10:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลักษณะแห่ง สังขตธรรม คือ ปรากฏความเกิด ๑ ปรากฏความเสื่อมสลาย ๑ เมื่อตั้งอยู่ ปรากฏความแปรปรวน ๑

ลักษณะของ อสังขตธรรม ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงอสังขตะลักษณะไว้ว่า
ไม่ปรากฏความเกิด ๑
ไม่ปรากฏความเสื่อมสลาย ๑
เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน ๑



สังขตธรรม(ธาตุ) คือ อนัตตา เพราะเกิด แก่ เจ็บ ตาย อายตนะของสังขตธาตุ คือ ขันธ์ 5

อสังขตธรรม(ธาตุ) คือ อัตตา [/b]เพราะไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย [b]อายตนะของอสังขตธาตุ เรียกว่า
อายตนะนิพพานคือ ธรรมขันธ์ หรือธรรมกาย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 1:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพราะเรามีความคิดความเห็นว่าทุกอย่างเป็นอัตตาใช่มั้ยครับเราถึงถูกขังอยู่ในโลกธาตุนี้ เรียกว่า อัตตานุทิฎฐิ

พระพุทธองค์จึงสอนให้ถอนอัตตานุทิฎฐิเสีย จึงจะออกจากโลกธาตุนี้ได้ (พระพุทธองค์สอนใครครับ สอนพระโมฆราชใช่มั้ยครับ แล้วพระพุทธองค์สอนเราด้วยมั้ยครับ สอนเราด้วยครับถ้าเราน้อมธรรมนั้นมาใส่ใจครับ)

แล้วพระพุทธองค์ให้ถอนอัตตานุทิฎฐิยังไงครับ ถอนด้วยการให้เรามองโลกธาตุนี้ว่างเปล่า แล้วมองโลกให้ว่างเปล่าเป็นยังไงครับ ก็คือมองโลกด้วยความเป็นอนัตตา

เมื่อจิตใจเรายอมรับตามความเป็นจริงแล้วว่าโลกนี้เป็นเป็นอนัตตา เราก็ก้าวพ้นจากความเป็นอัตตา และอนัตตา ไปสู่นิพพานครับ

อัตตาและอนัตตาก็เปรียบเป็นบันไดบ้าน บนบ้านก็เปรียบเป็นนิพพาน เมื่อก้าวพ้นบันไดขึ้นไปอยู่บนบ้าน ก็ไม่ได้อยู่บนบันไดอีกต่อไป ก็คือเมื่ออยู่บนนิพพานก็ไม่เกี่ยวข้องกับอัตตา หรืออนัตตาอีกต่อไป

อนัตตา ก็คือธรรมที่เป็นเครื่องมือ ในการแก้ อ้ตตา ของเราเท่านั้นครับ ไม่ต้องนำเอาอนัตตาไปใช้บนนิพพานด้วย ท่านที่ว่านิพพานเป็นอนัตตาก็เพราะไปติดกับคำว่า "สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ" แล้วไปตีความตามตัวหนังสือ เพราะเข้าใจว่านิพพานเป็น ธรรม อย่างหนึ่ง เลยเหมาเอาเลยว่านิพพานเป็นอนัตตาไปด้วย

ส่วนท่านที่กล่าวว่านิพพานเป็น อัตตา ผมคงไม่ต้องกล่าวถึง เพราะพระพุทธองค์สอนให้ถอนอัตตานุทิฎฐิอยู่แล้ว ถ้านิพพานเป็นอัตตาแล้ว ก็คงต้องไปถอนอัตตานุทิฎฐิในนิพพานกันอีก

อุปมา เปรียบดังหนามที่ตำเท้าแล้วเกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ การที่เราต้องเจ็บปวดก็เหมือนกับการถูกขังอยู่ในโลกธาตุ อัตตาก็คือหนามที่ตำเท้า จะแก้ทุกข์ก็ต้องแก้ที่อัตตา จะแก้อัตตาได้ก็ต้องใช้อนัตตา อนัตตาก็เปรียบเป็นเข็มที่ใช้บ่งหนาม เมื่อนำเข็มมาบ่งหนามออกก็หายเจ็บปวดหายทุกข์ การหายทุกข์ก็เปรียบถึงนิพพาน เมือหายทุกข์แล้วเข็มซึ่งคืออนัตตาก็หมดประโยชน์ไป หนามซึ่งคืออัตตาก็ไม่ให้โทษอีกต่อไป ก็ต้องปล่อยไปทั้งเข็มทั้งหนามถือไว้ก็ไม่มีประโยชน์อะไรอีก ดังนั้นเมื่อถึงนิพพานแล้วจะนำเอาทั้ง อัตตา และ อนัตตา ไปนิพพานด้วยทำไมครับ

ส่วนสังขตธรรม และ อสังขตธรรม ถ้าเอามารวมกับ สัพเพ ธัมมา อนัตตา มาพิจารณาลักษณะของนิพพานก็จะมั่วไปกันใหญ่ เถียงกันไม่จบสิ้น

ในโลกธาตุที่เราอยู่นี้มีทั้ง สภาวะสังขตธรรม และอสังขตธรรม ส่วนนิพพานมีแต่ สภาวะอสังขตธรรม เพราะฉนั้น สังขตธรรม และ อสังขตธรรม จึงไม่ใช่ฐานะที่จะมาบ่งบอกว่านิพพานเป็นอัตตา หรือ อนัตตา

แต่ในทางกลับกันตัวที่จะบ่งบอกว่าอะไรเป็นสังขตธรรม หรือ อสังขตธรรม ได้นั้นคือ วิราคธรรม หรือ นิพพาน นั้นเอง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 2:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แจ่มมากๆเลยคับพี่ๆ สู้ สู้ สู้ สู้ สู้ สู้
เด๋วจะลองศึกษาดู

ขอบคุณและอนุโมทนาคับ
ยิ้มเห็นฟัน สาธุ
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 10:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ"guest"ครับ


เพราะเรามีความคิดความเห็นว่าทุกอย่างเป็นอัตตาใช่มั้ยครับเราถึงถูกขังอยู่ในโลกธาตุนี้ เรียกว่า อัตตานุทิฎฐิ

พระพุทธองค์จึงสอนให้ถอนอัตตานุทิฎฐิเสีย จึงจะออกจากโลกธาตุนี้ได้ (พระพุทธองค์สอนใครครับ สอนพระโมฆราชใช่มั้ยครับ แล้วพระพุทธองค์สอนเราด้วยมั้ยครับ สอนเราด้วยครับถ้าเราน้อมธรรมนั้นมาใส่ใจครับ)

.......ถูกต้องครับ

แล้วพระพุทธองค์ให้ถอนอัตตานุทิฎฐิยังไงครับ ถอนด้วยการให้เรามองโลกธาตุนี้ว่างเปล่า แล้วมองโลกให้ว่างเปล่าเป็นยังไงครับ ก็คือมองโลกด้วยความเป็นอนัตตา

.......ยังเข้าใจคลาดเคลื่อน ต้องเรียกว่ามองโลกให้เป็นสุญญตาหรืออนัตตาธรรม ใช้คำว่า อนัตตา นั้นผิดความหมาย อ่านที่หลวงปู่หล้าอธิบายอีกทีซิครับ

เมื่อจิตใจเรายอมรับตามความเป็นจริงแล้วว่าโลกนี้เป็นเป็นอนัตตา เราก็ก้าวพ้นจากความเป็นอัตตา และอนัตตา ไปสู่นิพพานครับ

......ไม่ใช่ครับ นิพพานเป็นอัตตา = เที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปรวน ขันธ์ 5 เป็นอนัตตา = ไม่เที่ยง ทุกข์ แปรปรวน

อัตตาของโลกคือ อัตตานุทิฎฐิ หรือ อัตตาอุปทาน เรียกว่า อนัตตา

นิพพานก็คือ อัตตา




อัตตาและอนัตตาก็เปรียบเป็นบันไดบ้าน บนบ้านก็เปรียบเป็นนิพพาน เมื่อก้าวพ้นบันไดขึ้นไปอยู่บนบ้าน ก็ไม่ได้อยู่บนบันไดอีกต่อไป ก็คือเมื่ออยู่บนนิพพานก็ไม่เกี่ยวข้องกับอัตตา หรืออนัตตาอีกต่อไป

....ใน 3 ภพ มันไม่มีอัตตา มีแต่อนัตตา = จิตในปฏิจจสมุปบาท = จิตเก๊ ที่ติดอวิชชา

ในนิพพานมีแต่อัตตา = จิตเดิมแท้ ที่ไม่มีอวิชชาเจือปน

คำว่า "สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ" ......คำว่า สัพเพ ธัมมา แปลว่า ALL พระพุทธเจ้ากล่าวในหัวข้อ ขันธ์ 5
และสังขาร ไม่ได้กล่าวในหัวข้อ นิพพาน แม้แต่ครั้งเดียว


ส่วนท่านที่กล่าวว่านิพพานเป็น อัตตา ผมคงไม่ต้องกล่าวถึง เพราะพระพุทธองค์สอนให้ถอนอัตตานุทิฎฐิอยู่แล้ว ถ้านิพพานเป็นอัตตาแล้ว ก็คงต้องไปถอนอัตตานุทิฎฐิในนิพพานกันอีก

.....อัตตาที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนปัญจวัคคีย์ เป็นคนละตัวกับ อัตตานุทิฎฐิ

ดังนั้นเมื่อถึงนิพพานแล้วจะนำเอาทั้ง อัตตา และ อนัตตา ไปนิพพานด้วยทำไมครับ

......อัตตา และอนัตตา ก็คือ จิต เป็นสิ่งเดียวกัน เพียงแต่ระยะเวลาของการคงอยู่ อัตตาจะคงอยู่ถาวร
ชั่วนิรันดร อนัตตาจะคงอยู่ชั่วคราว ส่วนอัตตาทางโลกนั้นไม่มี มันเป็นแค่มายาเท่านั้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 11:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๑........ยังเข้าใจคลาดเคลื่อน ต้องเรียกว่ามองโลกให้เป็นสุญญตาหรืออนัตตาธรรม ใช้คำว่า อนัตตา นั้นผิดความหมาย อ่านที่หลวงปู่หล้าอธิบายอีกทีซิครับ

ตอบ : องค์หลวงปู่นำสมมติบัญญัติมาอธิบายให้เข้าใจให้ง่ายขึ้นเท่านั้นครับ คุณต้องอ่านคำเทศน์ขององค์หลวงปู่ให้เข้าใจครับ องค์หลวงปู่บอกว่า "นิพพานเป็นอนัตตาธรรมที่ไม่ใช่ อนัตตาของขันธ์ ๕ ครับ" แต่การแก้อัตตาของขันธ์ ๕ ต้องแก้ด้วย อนัตตาของขันธ์ ๕ ครับ

๒.......ไม่ใช่ครับ นิพพานเป็นอัตตา = เที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปรวน ขันธ์ 5 เป็นอนัตตา = ไม่เที่ยง ทุกข์ แปรปรวน

อัตตาของโลกคือ อัตตานุทิฎฐิ หรือ อัตตาอุปทาน เรียกว่า อนัตตา

นิพพานก็คือ อัตตา

ตอบ : อัตตานุทิฎฐิ หมายถึง ความคิดความเห็นที่เป็นอัตตา ครับ ก็พระพุทธองค์ทรงสอน ให้ถอนอัตตานุทิฎฐิ ก็คือให้ถอนความเห็นที่เป็นอัตตา โดยนำความเห็นที่เป็นอนัตตา มาสอนจิตของเรา เพื่อเป็นเครื่องแก้กัน เมื่อแก้กันเสร็จก็วางทั้งเครื่องแก้ และสิ่งที่ถูกแก้ครับ

๓.....ใน 3 ภพ มันไม่มีอัตตา มีแต่อนัตตา = จิตในปฏิจจสมุปบาท = จิตเก๊ ที่ติดอวิชชา

ในนิพพานมีแต่อัตตา = จิตเดิมแท้ ที่ไม่มีอวิชชาเจือปน

คำว่า "สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ" ......คำว่า สัพเพ ธัมมา แปลว่า ALL พระพุทธเจ้ากล่าวในหัวข้อ ขันธ์ 5
และสังขาร ไม่ได้กล่าวในหัวข้อ นิพพาน แม้แต่ครั้งเดียว

ตอบ : คุณเข้าใจผิดบ้างถูกบ้าง สับสนไปหมดครับ ต้องทำความเห็นให้ตรงก่อนครับ ถึงจะรู้ตามเป็นจริงได้ครับ

๔......อัตตาที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนปัญจวัคคีย์ เป็นคนละตัวกับ อัตตานุทิฎฐิ

ตอบ : ก็แค่สมมติบัญญัติครับ ผมตอบในข้อ ๒. ไปแล้วครับ

๕.......อัตตา และอนัตตา ก็คือ จิต เป็นสิ่งเดียวกัน เพียงแต่ระยะเวลาของการคงอยู่ อัตตาจะคงอยู่ถาวร
ชั่วนิรันดร อนัตตาจะคงอยู่ชั่วคราว ส่วนอัตตาทางโลกนั้นไม่มี มันเป็นแค่มายาเท่านั้น

ตอบ : คุณเข้าใจผิดครับ ควรแก้ความเห็นใหม่ให้ตรงต่อหลักธรรมที่เป็นสวากขาตธรรมครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 11:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ"guest"ครับ



ผมคงไม่ตอบโต้หรืออธิบายเพิ่มนะครับ เพราะผมอธิบายชัดเจนแล้ว ส่วนคุณหรือผมมีมิจฉาทิฏฐิ
ยากที่จะพิสูจน์ ผมมาเพื่อบอกความจริงทางศาสนา ส่วนความเชื่อเป็นของคุณและผู้อ่านท่านอื่น

อ้อ! ลืมไป ในพระไตรปิฎก พระพุทธองค์ไม่เคยตรัสแม้แต่ครั้งเดียวว่า นิพพานเป็นอนัตตา
ผู้ที่บอกว่า นิพพานเป้นอนัตตา คือ อรรถกถาจารย์ มั่วไปจนเละเลย สัพเพ ธัมมา อนัตตา พระพุทธองค์
พูดถึงในบริบทเรื่องขันธ์ 5 และสังขาร สัพเพ ธรรมา อนัตตา ก็หมายถึง all ธรรมข้อนี้ทั้งหมด
ที่เป็นสังขาร หรือขันธ์


อรรถกถาจารย์ ดันไปเก่งกว่า พระพุทธเจ้า บอกว่า นิพพานเป็นอนัตตา ด้วย คือ นิพพานไม่เที่ยง มีทุกข์
และแปรปรวนอยู่ แล้วพระพุทธองค์จะตรัสรู้ไปเพื่ออะไร หาโมกธรรมไปเพื่ออะไร ในเมื่อยังไงมันก็
หนีความทุกข์ไม่พ้นอยู่ดี
ผมบอกได้แค่นี้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 12:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ พลศักดิ์ครับ ผมว่า เรื่องนิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา นี้เราเคยเถียงกันมาบ่อยแล้วนี่ ครับ ผมก็บอกว่า ไม่ใช่ทั้งอัตตาและอนัตตา เนื่องจากว่า อัตตานั้น เป็นการยึดในตัวตน ว่าคงอยู่ ความว่างนั้น เราจะไปบอกว่า ความว่างเป็นตัวเป็นตนที่ไหน และ ถ้ามองว่าเป็นอนัตตานั้น คือ ความไม่มีอยู่
ก็เป็นการสุดโต่งคือ ความว่างนั้นมีอยู่จริง แต่ไม่มีสรรพสิ่งที่เกะกะ

ก็ นิพพานนั้นไม่ใช่ทั้งสองอย่าง ว่างอย่างแท้จริงไม่ใช่อัตตา แต่ความว่างนั้นจะเอาอะไรไปไว้ ก็ย่อมได้
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 12:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณขันธ์ และคุณQuest ครับ



เรื่องนิพพานเป็นอนัตตา หรออัตตากันแน่ เป็นเรื่องที่ต้องถกกันให้ถึงแก่น ศาสนาพุทธจะเป็น
สัทธรรมหรือสัทธรรมปฏิรูปก็เพราะเรื่องนี้ สมมุติสงฆ์บอกว่า นิพพานเป็นอนัตตา พระอริยะเจ้าต่าง
บอกว่า นิพพานเป็นอัตตา บางองค์ก็ไกล่เกลี่ยว่าเป็นอนัตตาธรรม
โดยแยก อนิจจัง ทุกขัง
ซึ่งเป็นฝ่ายของโลก ออกจากตัวอนัตตา

พูดง่ายๆ อนัตตาทางโลก เป็นอนิจจัง และทุกขัง ส่วนอนัตตาในนิพพานเป็นตัวที่แยกจากอนิจจัง และทุกขัง
ของโลก อนัตตาในนิพพาน พระพุทธเจ้าเรียกว่า "อัตตา"

คุณขันธ์ครับ ความว่างมันมี 2 อย่างคือ อนัตตา กับอัตตา ครับ

ส่วนอัตตาที่คุณพูดถึงคือ อัตตาทิฏฐิ หรืออัตตาอุปทาน สิ่งนี้เป็นมายา และเป็นคนละตัวกับอัตตา ที่พระพุทธเจ้าพูดถึงในอนัตตลักขณะสูตร
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 12:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก็ ว่างมันมีอยู่อย่างเดียว แต่คุณไปติดกับ การสร้างสรรพสิ่งจากความว่างนั้น คุณ ไม่ได้ปล่อยมันนี่ คุณก็เห็นว่า เป็นอัตตานะสิ

ตัวตน คนเราเขา ต่างสร้างขึ้น เมื่อสร้างขึ้นย่อมดับไป ดังจะเห็นว่า เมื่อ สาวก เห็นว่าพระพุทธองค์มาหา แล้วพระพุทธองค์ที่เห็นกันนั้นดับไปหรือไม่ ก็ตอบว่า ดับไป ที่ท่านมานั้นมาในรูป สมมติ ถ้าไม่ใช้รูปสมมติก็ สื่อสารกันไม่ได้ แต่สมมตินั้นก็ดับไป หาใช่เป็นอัตตาไม่

แล้วอะไรที่คงแท้ถาวร ก็ตอบว่า คือ นิพพาน คือความว่าง มีอยู่ทุกที่นั้นแหละ ธรรมกาย คือ กายที่ปรากฎขึ้น อะไรๆ ก็เป็นธรรมทั้งสิ้น
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 1:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณขันธ์ครับ



ก็ใช่ครับ ว่างมันมีอยู่อย่างเดียว แต่เรากำลังถกเถียงเกี่ยวกับความว่างที่แปรรูปจากอัตตาในนิพพาน
เป็นอนัตตาในโลก ซึ่งเป็น อัตตาทิฏฐิ หรืออัตตาอุปทาน แต่สิ่งนี้เป็นมายามาลวงเท่านั้น

ต้องเข้าใจนิยามให้ตรงกันก่อน ใช่ไหมครับ ไม่งั้นจะคุยกันรู้เรี่องคงไม่ได้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 1:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก็มันเป็นสมมติแหละ ครับ

เรื่องอัตตาที่คุณว่า มาก็คือสมมติ จะเอาจริงจังไปเทียบกับพระนิพพานไม่ได้
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 2:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นิพพานของคุณขันธ์คือ อะไร?

นิพพานก็คือ จิต มีอายตนะเหมือนกัน เรียกอายตนะนิพพาน แต่จิตที่อยู่ในอายตนะนั้น ไม่มีอารมณ์เท่านั้น


นิพพาน หรือ อายตนะนิพพาน
*****๑. นิพพานสูตรที่ ๑******

ดูกรภิกษุทั้งหลาย "อายตนะนั้นมีอยู่" ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ
อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้าพระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง
ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลายเราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ
เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ


ที่มา : http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=3977&Z=3992
***************************************************
สังเกตคำว่า

"อายตนะนั้นมีอยู่" แสดงว่าอายตนะนิพพานนั้นมีอยู่จริง

"หาอารมณ์มิได้นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ" เป็นอายตนะที่ไม่มีอารมณ์หาทุกข์มิได้

พุทธวจนะบทนี้เป็นข้อสรุปว่าพระนิพพานนั้น สามารถเข้าถึงได้โดยอายตนะนั้นมีอยู่
แต่เป็นอายตนะที่ปราศจากทุกข์ ไม่มีการไป ไม่มีการมา ไม่มีการจุติ

แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มี เพราะทรงกล่าวยืนยันชัดหนักแน่นว่า "อายตนะนั้นมีอยู่"
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 3:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก็ อายตนะนั้นแหละมีอยู่ ไม่ใช่ ภพแห่งพระนิพพานนั้นมีอยู่
แต่เป็นอายตนะนั้นมีอยู่ รสแห่งพระธรรม นั้นเอง ไม่ปรากฎว่าจะต้องอยู่แห่งหนตำบลใด

ไม่ปรากฎว่าจะต้อง มีรูป หรือลักษณะแบบใด
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สมญา
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 21 ก.ค. 2008
ตอบ: 5
ที่อยู่ (จังหวัด): ไปๆๆ มาๆๆ

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 3:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธเจ้าปฎิเสธอัตตาที่อยู่ในสมมุติ ในขันธ์ห้า แต่ไม่ปฎิเสธสิ่งที่มีอยู่เที่ยงแท้ ถาวร ท่านเรียกว่านิพพานคือ ทางออกจากขันธ์

สิ่งที่เที่ยงแท้คือ นิพพาน มีอยู่ แต่ท่านเลี่ยงใช้คำว่า อัตตาเพราะเกรงจะไปปนเปกับอัตตาทางโลก แต่จะเรียกว่าอัตตาแท้ก็ได้ มันเป็นความว่างตามที่นายขันธ์ว่าไว้จริงๆ แต่เป็นความว่างที่รู้ ไม่ใช่อากาศว่าง เป็นความว่างที่สัมผัสกับรูปใด ก็กลายเป็นรูปนั้น เป็นความว่างที่สวยงามที่สุด สว่างที่สุด เรียกธรรมกายครับ วัดปากน้ำและหลวงพ่อวัดปากน้ำพูดมานานแล้ว

ท่านอาจารย์มั่น อาจารย์ชอบ ลพ ปาน ลพ ฤาษี ถึงกับตะลึงที่พบว่า ในนิพพานที่ว่าว่างๆ มีกายธรรมของพระอรหันต์ปรากฎ จริงๆ คือ ความว่างแสดงออกผ่านรูปคือ ธรรมกายเพื่อให้สื่อสารกันได้ระหว่างวิมุติกับสมมุติ
 

_________________
เกิดมาเพื่อปราบมาร
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวหมายเลข ICQ
สมญา
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 21 ก.ค. 2008
ตอบ: 5
ที่อยู่ (จังหวัด): ไปๆๆ มาๆๆ

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 3:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความว่างถ้าไปใส่ในรูปโป่ง ก็มีรูปเป็นลูกโป่ง
ไปใส่ในกายธรรมก็มีรูปเป็นธรรมกาย ว่างไปได้ทุกที่ แต่ว่างแบบนี้คือ รู้ในว่าง พระพุทธเจ้า พระอรหันต์จึงไม่ได้สูญหายไปไหน ที่สอนให้เรากราบไหว้น่ะ คนโบราณท่านรู้ แต่คนรุ่นหลังไม่แจ้งมาสอนว่าให้เราระลึกพระคุณ ไปกันใหญ่ ถ้าระลึกพระคุณ ไม่ต้องไปก้มกราบอะไร พระพุทธ ธรรม พระสงฆ์คุ้มครองเราไม่ได้ ไหว้ไปทำไม
 

_________________
เกิดมาเพื่อปราบมาร
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวหมายเลข ICQ
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 3:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ครับ คุณสมญา เอาตามนั้น
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 22 ก.ค.2008, 12:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีครับคุณสมญา


ถ้าว่างลองไปกระทู้อัตตา อนัตตา และกระทู้อื่นๆที่แยกออกไปจากกระทู้นี้ด้วย จะเป็นพระคุณมาก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง