Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ถาม - วิปัสนา VS สมาธิ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ค.2008, 8:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่ทราบผมเข้าใจถูกไหม

สมาธิ คือ ทำให้อารมณ์สิ้นไป สงบไป ทำไม่ให้กำเริบขึ้น
จนจิตว่าง ว่างอยู่อย่างนั้น




วิปัสสนา - จิตมันจะทำอะไรช่างมัน ให้ทำเสมือนหนึ่งว่ามีจิตเราอีกอันหนึ่ง คอยดู ตามดู และดูอย่างเดียว ไม่คิด รับรู้อาการของมันอย่างเดียว
แล้วเดี๋ยวมันหมดอะไรที่จะดูแล้ว
ตัวคิด กับตัวดู มันจะรวมกันเอง มันก็ว่างเอง

(ถามแบบว่ามือใหม่นะคั)
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ค.2008, 9:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมาธิคือ สติ

วิปัสสนา กายกับจิตต้องแยกกัน ถ้าไม่แยกก็ยังไม่เป็นวิปัสสนา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ค.2008, 11:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ"คามินธรรม" ครับ



สมาธิ คือ ทำให้อารมณ์สิ้นไป สงบไป ทำไม่ให้กำเริบขึ้น
จนจิตว่าง ว่างอยู่อย่างนั้น


.....ถ้าคุณทำถึงขั้นนั้นได้ เรียกว่า เข้าสมาธิจนได้นิพพาน หรือ เจโตวิมุติ


วิปัสสนา - จิตมันจะทำอะไรช่างมัน ให้ทำเสมือนหนึ่งว่ามีจิตเราอีกอันหนึ่ง คอยดู ตามดู และดูอย่างเดียว ไม่คิด รับรู้อาการของมันอย่างเดียว
แล้วเดี๋ยวมันหมดอะไรที่จะดูแล้ว
ตัวคิด กับตัวดู มันจะรวมกันเอง มันก็ว่างเอง


.....นี่คือเข้านิพพานโดยใช้ปัญญา เป็นปัญญาวิมุติ


แต่ผมคิดว่า ต้องอาศัยทั้งสมาธิ(สมถะกรรมฐาน) และวิปัสสนา ตามดูจิต จึงจะเข้านิพพานง่ายกว่า
คนที่ทำสมาธิไม่เก่ง แต่วิปัสสนาเก่ง เข้านิพพานเรียกว่า พระอรหันค์สุกขะวิปัสสโก

ถ้าใช้สมาธิอย่างเดียว อาจเข้านิพพานไม่ได้ ไปหลงผิดคิดว่า อรูปพรหมเป็นนิพพาน (เช่น อุทกดาบส)
หรือไม่ก็หลงผิดคิดว่า อสัญญีพรหมเป็นนิพพาน หรือไม่ก็หลงผิดคิดว่า รูปพรหมเป็นนิพพาน (เช่น พกาพรหม)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ค.2008, 11:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

RARM พิมพ์ว่า:
สมาธิคือ สติ

วิปัสสนา กายกับจิตต้องแยกกัน ถ้าไม่แยกก็ยังไม่เป็นวิปัสสนา



ขอเสริมนิดเดียวเพื่อให้คุณและผู้อ่านท่านอื่นได้ความรู้เพิ่ม สมาธิแท้จริงก็คือวิปัสสนา สมาธิทำได้ชั่วคราว
เป็นการระงับความคิดฟุ้งซ่านออกไปได้ชั่วคราวเท่านั้น แล้วก็ต้องหลุด จิตไปฟุ้งซ่านเรื่องต่างๆขึ้นมาอีก
จึงต้องใช้วิปัสสนาเข้ามาช่วย สมาธิจึงจะอยู่มั่นคงถาวร ไม่ใช่แค่ระงับความคิดฟุ้งซ่านไว้ชั่วคราว

พูดอีกนัยหนึ่ง วิปัสสนาเป็นตัวคุมให้สมาธิไม่หลุด ไม่ฟุ้งซ่านไปไหน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ค.2008, 8:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบพระคุณพี่ๆทั้งสองคับ
ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
โปเต้
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 พ.ค. 2008
ตอบ: 76
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ค.2008, 12:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ง่า...
เข้าใจว่า การทำสมาธิ ก็คือการที่จิตจรดจ่ออยู่ในอารมณ์เดียวจนแน่วแน่เป็นหนึ่งนะคะ
ส่วนจะแน่วแน่ แนบแน่นแค่ไหน ก็แล้วแต่ระดับที่ทำได้ ต่างๆกันไป
และการเจริญวิปัสสนานี่ ก็เป็นการพิจารณาธรรมต่างๆจนรู้ชัด ซึ่งผลที่ได้ก็คือวิปัสสนาญาณ อันหมายถึงการรู้แจ้ง
ซึ่งการเดินวิปัสสนาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นอย่างนี้ ต้องมีบาทฐานของสัมมาสมาธิ ซึ่งประกอบไปด้วยสัมมาสติเป็นพื้น
 

_________________
สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ค.2008, 2:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ"โปเต้"ครับ


เข้าใจว่า การทำสมาธิ ก็คือการที่จิตจรดจ่ออยู่ในอารมณ์เดียวจนแน่วแน่เป็นหนึ่งนะคะ
ส่วนจะแน่วแน่ แนบแน่นแค่ไหน ก็แล้วแต่ระดับที่ทำได้ ต่างๆกันไป

....ถูกต้องครับ แต่ให้คุณทำนานเท่าไร สุดท้ายคุณก็ต้องหลุดออกมามีอารมณ์ปรุงแต่งอีก จึงต้อง
ใช้วิปัสสนาข้าช่วยด้วย จะได้ไม่คิดปรุงแต่งเป็นอารมณ์ใดๆอีก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
โปเต้
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 พ.ค. 2008
ตอบ: 76
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ค.2008, 7:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อืมม์
อ่านดูแล้วรู้สึกว่าจะต่อต้านสมาธิ แล้วก็ยกย่องวิปัสสนามากๆเลยนะคะเนี่ย
ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 17 ก.ค.2008, 12:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โปเต้ พิมพ์ว่า:
อืมม์
อ่านดูแล้วรู้สึกว่าจะต่อต้านสมาธิ แล้วก็ยกย่องวิปัสสนามากๆเลยนะคะเนี่ย
ยิ้มเห็นฟัน


ศาสนาพุทธต่างจากศาสนาพราหมณ์ตรงที่เรามัสติปัฏฐาน 4 หรือวิปัสสนา แต่สมาธิเป็นฐานของวิปัสสนา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 17 ก.ค.2008, 10:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า:
โปเต้ พิมพ์ว่า:
อืมม์
อ่านดูแล้วรู้สึกว่าจะต่อต้านสมาธิ แล้วก็ยกย่องวิปัสสนามากๆเลยนะคะเนี่ย
ยิ้มเห็นฟัน


ศาสนาพุทธต่างจากศาสนาพราหมณ์ตรงที่เรามัสติปัฏฐาน 4 หรือวิปัสสนา แต่สมาธิเป็นฐานของวิปัสสนา

เห็นด้วยครับ.....
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ค.2008, 10:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คามินธรรม พิมพ์ว่า

ไม่ทราบผมเข้าใจถูกไหม

สมาธิ คือ ทำให้อารมณ์สิ้นไป สงบไป ทำไม่ให้กำเริบขึ้น
จนจิตว่าง ว่างอยู่อย่างนั้น

วิปัสสนา - จิตมันจะทำอะไรช่างมัน ให้ทำเสมือนหนึ่งว่ามีจิตเราอีกอันหนึ่ง คอยดู ตามดู และดูอย่างเดียว ไม่คิด รับรู้อาการของมันอย่างเดียว
แล้วเดี๋ยวมันหมดอะไรที่จะดูแล้ว
ตัวคิด กับตัวดู มันจะรวมกันเอง มันก็ว่างเอง
..........................................................................
คุณคามินคะ เข้าใจไม่ผิดหรอกค่ะ แต่สมาธิแบบนี้จัดเป็นมิจฉาสมาธิ เพราะขาดความรู้ตัวค่ะ
วิปัสสนา ไม่ใช่แค่เรื่องของจิตอย่างเดียวค่ะ จะรวมทั้งหมดเลยค่ะ กาย เวทนา จิต ธรรม คือทุกอย่างที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะภายนอกภายใน เราเพียงดูตามความเป็นจริงที่เกิด อย่าไปชอบไปชัง หรือไปให้ค่าความหมายต่อสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น แล้วเราจะเห็นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเอง มันจะแจ้งออกมาจากจิตเอง ว่า ทุกอย่างมันไม่เที่ยง เราจะไปยึดมั่นถือมั่นมันไม่ได้ ( อันนี้แจ้งจากจิตเองนะคะ ไม่ใช่ท่องจำแล้วน้อมเอาคิดเอา แต่ถึงจะน้อมเอาคิดเอาแล้วเข้าใจแบบมีความคิดอยู่แล้วเห็นความไม่เที่ยง ก็ทำให้เกิดปัญญาได้ ยังดีกว่าไม่เห็นค่ะ ) ภาษาสมมุติบัญญัติแล้วแต่คนจะตีความ เป็นให้ค่าให้ความหมายในสิ่งที่ตนเองคิดว่าตนเองรู้ รู้แค่ไหนย่อมตีความได้ตามที่เขารู้ ไม่มีใครถูกหรือผิดหรอกค่ะ รู้แบบนี้น่ะดีค่ะ มันจะเห็นกิเลสของตัวเราเอง ทำให้ลดกิเลส ลดอัตตา ลงไปได้ดีกว่าไปรู้นอกตัว
ตรงนี้คาดเดาเอาเองว่า คุณคามินได้สื่อภาษาแบบที่คุณคามินเข้าใจในสิ่งนั้นๆ ค่อยๆเรียนรู้ไปนะคะ เอาใจช่วยค่ะ
...................................................................................

RARM พิมพ์ว่า

สมาธิคือ สติ

วิปัสสนา กายกับจิตต้องแยกกัน ถ้าไม่แยกก็ยังไม่เป็นวิปัสสนา
.............................................................................
สมาธิคือสติ คุณRARM พิมพ์ข้อความตกไปหรือเปล่าคะ ที่คุณจะกล่าวถึงคือสมาธิที่จิตมีสติประกอบอยู่หรือเปล่าคะ ( สัมมาสมาธิ ) คือสมาธิที่มีความรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา เข้าก็รู้ ออกก็รู้ แบบนี้หรือเปล่าคะที่คุณจะนำมากล่าวถึง
.............................
วิปัสสนา กายกับจิตต้องแยกกัน ถ้าไม่แยกก็ยังไม่เป็นวิปัสสนา
..............................
ตรงนี้คาดว่าคุณพิมพ์ตกหรือเปล่าคะ กายกับจิตจะแยกกันอย่างเด็ดขาดเมื่อวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นค่ะ
วิปัสสนา คือการดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นค่ะ
..................................................................................
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า

คุณ"คามินธรรม" ครับ

สมาธิ คือ ทำให้อารมณ์สิ้นไป สงบไป ทำไม่ให้กำเริบขึ้น
จนจิตว่าง ว่างอยู่อย่างนั้น

.....ถ้าคุณทำถึงขั้นนั้นได้ เรียกว่า เข้าสมาธิจนได้นิพพาน หรือ เจโตวิมุติ
..........................................................................
ภาษาสมมุติบัญญัติแล้วแต่คุณจะให้ค่าความหมายตามสิ่งที่คุณศึกษามาค่ะคุณพลศักดิ์ แต่ดิฉันเรียกสมาธิแบบนี้ว่ามิจฉาสมาธิเพราะมีแต่ความสงบขาดความรู้ตัว นี่คือภาษาที่คุณคามินได้สื่อออกมา
...........................................
ขอเสริมนิดเดียวเพื่อให้คุณและผู้อ่านท่านอื่นได้ความรู้เพิ่ม สมาธิแท้จริงก็คือวิปัสสนา สมาธิทำได้ชั่วคราว
เป็นการระงับความคิดฟุ้งซ่านออกไปได้ชั่วคราวเท่านั้น แล้วก็ต้องหลุด จิตไปฟุ้งซ่านเรื่องต่างๆขึ้นมาอีก
จึงต้องใช้วิปัสสนาเข้ามาช่วย สมาธิจึงจะอยู่มั่นคงถาวร ไม่ใช่แค่ระงับความคิดฟุ้งซ่านไว้ชั่วคราว

พูดอีกนัยหนึ่ง วิปัสสนาเป็นตัวคุมให้สมาธิไม่หลุด ไม่ฟุ้งซ่านไปไหน
..............................................................
ใช่หรือคุณพลศักดิ์ว่าสมาธิแท้จริงคือวิปัสสนา สมาธิกับวิปัสสนานี่มันคนละเรื่องกันเลยนะคะ เพียงแต่สมาธิและวิปัสสนาต้องอาศัยซึ่งกันและกันจะขาดตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้

สมาธิคุมอารมณ์ค่ะ ไม่ใช่วิปัสสนาคุมสมาธิ เมื่อสมาธิคลายตัวออกมา ถ้าเกิดความฟุ้งซ่านขึ้นมา เป็นเรื่องธรรมดาค่ะ ฟุ้งซ่านก็ให้รู้ว่าฟุ้งซ่าน ไม่ต้องไปสงสัยว่าทำไมถึงฟุ้งซ่าน เพียงดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเท่านั้นเอง อย่าไปเอ๊ะหรือให้ค่าความหมายใดๆกับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่งั้นการปรุงแต่งมันก็จะเกิดไม่รู้จบสิ้น
................................................................................
คุณโปเต้ พิมพ์ว่า

เข้าใจว่า การทำสมาธิ ก็คือการที่จิตจรดจ่ออยู่ในอารมณ์เดียวจนแน่วแน่เป็นหนึ่งนะคะ
ส่วนจะแน่วแน่ แนบแน่นแค่ไหน ก็แล้วแต่ระดับที่ทำได้ ต่างๆกันไป

และการเจริญวิปัสสนานี่ ก็เป็นการพิจารณาธรรมต่างๆจนรู้ชัด ซึ่งผลที่ได้ก็คือวิปัสสนาญาณ อันหมายถึงการรู้แจ้ง
ซึ่งการเดินวิปัสสนาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นอย่างนี้ ต้องมีบาทฐานของสัมมาสมาธิ ซึ่งประกอบไปด้วยสัมมาสติเป็นพื้น
....................................................................................
การทำสมาธิ เราเข้าใจเหมือนกันค่ะคุณโปเต้ เพียงแล้วแต่ว่าใครจะใช้ภาษาสมมุติบัญญัติอย่างไรเท่านั้นเองค่ะ

ส่วนการเจริญวิปัสสนา ก็แล้วแต่บุคคลค่ะ จะดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นก็ได้ หรือจะใช้วิธีโยนิโสมนสิการก็ได้ ส่วนวิปัสสนาญาณจะเกิดขึ้นได้เมื่อพละ ๕ พร้อมค่ะ
.................................................................................
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า

คุณ"โปเต้"ครับ

เข้าใจว่า การทำสมาธิ ก็คือการที่จิตจรดจ่ออยู่ในอารมณ์เดียวจนแน่วแน่เป็นหนึ่งนะคะ
ส่วนจะแน่วแน่ แนบแน่นแค่ไหน ก็แล้วแต่ระดับที่ทำได้ ต่างๆกันไป

....ถูกต้องครับ แต่ให้คุณทำนานเท่าไร สุดท้ายคุณก็ต้องหลุดออกมามีอารมณ์ปรุงแต่งอีก จึงต้อง
ใช้วิปัสสนาข้าช่วยด้วย จะได้ไม่คิดปรุงแต่งเป็นอารมณ์ใดๆอีก
...............................................................................
เมื่อสมาธิคลายตัวออกมาก็ต้องมารู้อารมณ์ปัจจุบันก็ถูกแล้วนี่ งงๆ กับคำพูดของคุณพลศักดิ์ จริงๆแล้ววิปัสสนาในความหมายของคุณพลศักดิ์คืออะไรคะ เพราะไม่ว่าจะเกิดสมาธิหรือไม่เกิดสมาธิเราสามารถทำวิปัสสนาได้ตลอดเวลา อาจจะทำวิปัสสนาก่อนแล้วจึงเกิดสมาธิก็ได้ หรือเมื่อเกิดสมาธิแล้วก็ทำวิปัสสนาร่วมด้วย เช่น เวลาเกิดปีติ เกิดสุข เกิดนิมิต เกิดโอภาส เมื่อเกิดสิ่งเหล่านี้คุณไม่ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ( วิปัสสนา )
คุณจะติดปีติ ติดสุข ติดนิมิต ติดโอภาส หรือเมื่อสมาธิคลายตัวออกมาคุณอาจจะเกิดเวทนาทางกาย หรือฟุ้งซ่าน คุณก็ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ( วิปัสสนา )
.......................................แล้วก็ตรงนี้อีก " แต่สมาธิเป็นฐานของวิปัสสนา "
........................................................

คิดว่าคุณอาจจะเรียบเรียงข้อมูลมายังไม่หมดกระมังคะถึงได้ตีความแบบนี้ วิปัสสนาสามารถทำได้ทุกเมื่อทุกเวลาทุกสถานที่ จะมีสมาธิหรือไม่มีสมาธิเป็นบาทฐานก็ได้ค่ะ เพียงแต่สมาธิอาจจะเกิดก่อนหรือหลังการทำวิปัสสนาก็ได้ค่ะ
..........................................................
อย่าลืมตอบคำถามด้วยนะคะที่ถามไปว่า " ตกลงแล้ว คำว่า " วิปัสสนา " คุณให้ความหมายของคำๆนี้ว่าอย่างไร บางทีสิ่งที่คุณพูดมาอาจจะเนื่องจากคุณนำมาจากความหมายที่คุณใช้กับคำว่า " วิปัสสนา " แลกเปลี่ยนมุมมองกันค่ะ ไม่ได้คิดเพ่งโทษแต่อย่างใด
.....................................................................
เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปกับทุกท่านที่ได้มาแลกเปลี่ยนมุมมองของแต่ละท่านค่ะ อาจจะเหมือนกัน คล้ายคลึงกัน หรือแตกต่างกันไป สาธุ
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2008, 7:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ศาสนาพุทธต่างจากศาสนาพราหมณ์ตรงที่เรามีสติปัฏฐาน 4 หรือวิปัสสนา แต่สมาธิเป็นฐานของวิปัสสนา



ขออนุญาต ขอโอกาส


สติปัฏฐานสี่ อยู่ในส่วน การเจริญสัมมาสติ ในอริยมรรคที่มีองค์แปดครับ


ใน อริยมรรคที่มีองค์แปด
สรุป เข้าสู่ ไตรสิกขา ได้ดังนี้

1.อธิศีลสิกขา(ศีล) ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ

2.อธิจิตตสิกขา(สมาธิ) ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

3.อธิปัญญาสิกขา(ปัญญา) ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ


สังเกตุ...
การเจริญ สัมมาสติ ก็คือ หลักธรรมที่เรียกว่า สติปัฏฐาน ซึ่งก็เป็นองค์มรรคที่ถูกจัดไว้ในหมวดสมาธิ (เช่นเดียว กันกับ สัมมาสมาธิ)


อนึ่ง มหาสติปัฏฐานสี่ นั้น แท้จริงแล้ว ก็มีทั้งส่วนของ สมถะ และ วิปัสสนา อยู่ในตัว

ดังเช่น ที่ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ท่านสรุปประมวลไว้ดังนี้


สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ


”......สติปัฏฐาน แปลกันว่า ที่ตั้งของสติบ้าง การปรากฏของสติบ้าง ฯลฯ

ถือเอาแต่ใจความง่ายๆ ก็คือ การใช้สติ หรือ วิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิด
ผลดีถึงที่สุด

อย่างที่กล่าวถึงในพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้ง
หลาย เพื่อข้ามพ้นโสกะและปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุโลกุตตรมรรค เพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้คือสติปัฏฐาน

การเจริญสติปัฏฐานนี้ เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมา และยกย่อง
นับถือกันอย่างสูง ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะ และวิปัสสนาในตัว.....”




ดังนั้น

สติปัฏฐาน หาใช่การเจริญวิปัสสนาล้วนๆ แต่อย่างใดครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2008, 9:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมาธิคือสติ คุณRARM พิมพ์ข้อความตกไปหรือเปล่าคะ ที่คุณจะกล่าวถึงคือสมาธิที่จิตมีสติประกอบอยู่หรือเปล่าคะ ( สัมมาสมาธิ ) คือสมาธิที่มีความรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา เข้าก็รู้ ออกก็รู้ แบบนี้หรือเปล่าคะที่คุณจะนำมากล่าวถึง

---+
การฝึกสมาธิ คือการฝึกสติ

ความรู้ตัวไม่ใช่สติหรือครับ
.............................
วิปัสสนา กายกับจิตต้องแยกกัน ถ้าไม่แยกก็ยังไม่เป็นวิปัสสนา
..............................
ตรงนี้คาดว่าคุณพิมพ์ตกหรือเปล่าคะ กายกับจิตจะแยกกันอย่างเด็ดขาดเมื่อวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นค่ะ
วิปัสสนา คือการดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นค่ะ

---

ส่วนวิปัสสนา อันนี้ คือการเจริญในวิปัสสนาน่ะครับ ที่จริงมีหลายขั้น แต่ถ้าจะให้เป็นวิปัสสนาแท้ต้องกายและจิตต้องแยกกัน ถ้าไม่แยกยังไม่ใช่วิปัสสนาเป็นแน่ เพราะจิตเป็นตัวเห็นญานต่างๆ ไม่ใช่กายเห็น

จิตเห็นครับ ไม่ใช่กายเห็น จึงต้องแยกกัน



เศร้า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2008, 6:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณRARM
ต้องขออภัยด้วยค่ะที่พิมพ์ข้อความไม่ครบจากข้อความตรงนี้ค่ะ คือสมาธิที่มีความรู้ตัว จริงๆแล้วข้อความตรงนี้ขยายของคำนี้ค่ะ คือความหมายของสมาธิที่จิตมีสติประกอบอยู่ คุณคงลืมไปกระมังว่าสมาธิมีทั้งมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิจะเป็นสมาธิที่ขาดความรู้ตัว กรุณาเข้าไปอ่านกระทู้ที่คุณตรงประเด็นโพสไว้ดีกว่ากระมังคะเรื่องมิจฉาสมาธิกับสัมมาสมาธิ ฉะนั้นการที่คุณกล่าวว่าสมาธิคือสติก็คงจะไม่ถูกต้องเท่าไรนัก
.....................................................................................
RARM พิมพ์ว่า
การฝึกสมาธิ คือการฝึกสติ

ความรู้ตัวไม่ใช่สติหรือครับ
...........................................
ความรู้ตัวคือสัมปชัญญะค่ะ
...............................................................................
RARM พิมพ์ว่า

ส่วนวิปัสสนา อันนี้ คือการเจริญในวิปัสสนาน่ะครับ ที่จริงมีหลายขั้น แต่ถ้าจะให้เป็นวิปัสสนาแท้ต้องกายและจิตต้องแยกกัน ถ้าไม่แยกยังไม่ใช่วิปัสสนาเป็นแน่ เพราะจิตเป็นตัวเห็นญานต่างๆ ไม่ใช่กายเห็น

จิตเห็นครับ ไม่ใช่กายเห็น จึงต้องแยกกัน
.......................................................
อ่านดูแล้วจากข้อความที่ดิฉันโพส
" ตรงนี้คาดว่าคุณพิมพ์ตกหรือเปล่าคะ กายกับจิตจะแยกกันอย่างเด็ดขาดเมื่อวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นค่ะ "
วิปัสสนา คือการดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นค่ะ
ดิฉันก็ยังไม่เห็นข้อความตรงไหนที่ดิฉันเขียนไว้เลยว่า กายเห็น .....
งั้นสติปัฏฐาน 4 ก็ไม่ใช่วิปัสสนาสิคะจากข้อความที่คุณคุณRARMโพสมา เนื่องสติปัฏฐาน 4 ประกอบไปด้วย กาย เวทนา จิต ธรรม จิตเห็นกาย จิตเห็นเวทนา จิตเห็นจิต จิตเห็นธรรม ซึ่งดิฉันก็ได้พิมพ์ไปแล้วว่า กายกับจิตจะแยกกันอย่างเด็ดขาดก็ต่อเมื่อวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นเท่านั้น
บางทีภาษาสมมติบัญญัติเราอาจจะสื่อไม่ตรงกันก็ได้ค่ะ
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง