ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ณัฐวรางคณ์
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 20 ก.พ. 2008
ตอบ: 23
ที่อยู่ (จังหวัด): 1/11 ถ.หน้าวัดเกต ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000
|
ตอบเมื่อ:
08 มี.ค.2008, 9:53 pm |
  |
ขออนุโมทนาบุญเจ้า ในการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น โยคีทุกท่านขณะปฎิบัติต้องพบเจอเวทนาจากการปฎิบัติแน่นอน เพราะเราอาศัยร่างกายนี้เจริญกุศลกรรมอยู้ การเป็นเหน็บชาถือว่าเป็นเวทนาทางกายนะคะ ก็ต้องกำหนด ดู รู้ จดจ่อ ติต่อต่อเนื่อง จะเห็นกายใกยเห็นจิตในจิต ก็ต้องกำหนดปวดหนอปวดหนอ ๆๆๆๆๆ คุณจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของการเจ็บปวด ที่เปลี่ยนแปลงแล้วคุณจะเห็นว่าปวดแต่กาย แต่ใจไม่ปวด แต่ที่สำคัญคือ คุณมีหน้าที่ตามกำหนดว่าปวดหนอปวดหนอ ตามอาการที่เกิดขึ้นปัจจุบันธรรม เป็นผู้ดูที่ดี ห้ามไล่ เช่น เมื่อไหร่จะหายปวดซะที จะหายปวดอย่างไร แต่กำหนดต่อไปว่าปวดหนอ ณ จุดที่ปวด แล้วคุณจะได้คำตอบนะคะ แล้วกลับมาคุยกันนะคะ ของอย่างนี้ต้องเรียนรู้ด้วยตนเองคะ |
|
_________________ ธรรมะคือคุณากร ขอให้ชีวิตนี้มีสัมมาทิฏฐิ |
|
     |
 |
ปกรณัม
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 12 ก.ค. 2008
ตอบ: 52
ที่อยู่ (จังหวัด): ขอนแก่น
|
ตอบเมื่อ:
17 ก.ค.2008, 11:26 pm |
  |
อนุโมทนาครับ
ขอบคุณคนตั้งและคนตอบกระทู้ครับ  |
|
_________________ คนที่ไม่ทำงานไม่สมควรจะมีชีวิตอยู่! |
|
     |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
22 ก.ค.2008, 7:12 pm |
  |
ทำไมเวลาเรานั่งสมาธิ ไปได้สักครู่ มีความรู้สึกว่ามีรูปพระ บางครั้งก็เป็นเหมือนภาพสถานที่โบราณ เช่นเขาพระวิหาร บางที่ชัดบางที่ก็ไม่ชัด ส่วนใหญ่จะเหมือนภาพสไลด์ ไปเรื่อย ๆ แต่พอเราต้องการจะเพ่งดูชัดๆ ภาพก็จะหายไป เป็นต้น ช่วยอธิบายด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
RARM
บัวบาน

เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ค.2008, 9:13 pm |
  |
varittra พิมพ์ว่า: |
ทำไมเวลาเรานั่งสมาธิ ไปได้สักครู่ มีความรู้สึกว่ามีรูปพระ บางครั้งก็เป็นเหมือนภาพสถานที่โบราณ เช่นเขาพระวิหาร บางที่ชัดบางที่ก็ไม่ชัด ส่วนใหญ่จะเหมือนภาพสไลด์ ไปเรื่อย ๆ แต่พอเราต้องการจะเพ่งดูชัดๆ ภาพก็จะหายไป เป็นต้น ช่วยอธิบายด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง  |
--
เป็นแค่นิมิต น่ะครับ อย่าไม่สนใจเลย ครับ
คือจิตมันสร้างภาพขึ้นมาให้เราหลงน่ะครับ เรียกว่า สังขารจิต
เวลามันขึ้นมาก็บอกมันว่า ไม่เที่ยงก็ได้ แล้วมันก็หายไปครับ
 |
|
|
|
  |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
28 ก.ค.2008, 9:05 am |
  |
เป็นเช่นนี้เอง ขอบคุณที่สละเวลา ธรรมะสวัสดี |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
07 ส.ค. 2008, 4:25 pm |
  |
ระหว่างนั่งสมาธิ/กรรมฐาน แล้วเกิดเหน็บชาที่ขา ควรนั่งต่อไปเรื่อยๆ หรือเปลี่ยนเป็นเดินจงกลม คะ
ยังไง ก็ไม่ผิด
1อดทนจนกว่าจะถึงเวลาเลิก
2เปลี่ยน อิริยาบถเป็นพับเพียบ
3นั่งเก้าอี้ห้อยขาตาม โรงเรียนผม สถาบันจิตตานุภาพ5
4รับมัน เป็นการใช้กรรมเหมือนข้างบนโพสมาละครับ เจอมาแล้ว
วันหลังจะไม่เป็นอีก เหมือน คนหย่านมแล้ว
ไม่มาจับขวดอีก ยกเว้น กล่อง |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
10 ส.ค. 2008, 2:33 pm |
  |
เข้ามาร่วมฟังคำสอน ย้อนหลังจ้า โมทนาสาธุ |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
11 ส.ค. 2008, 9:20 am |
  |
8iyครับๆๆโมทนาสาธุ |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
22 ส.ค. 2008, 2:32 pm |
  |
ผมใช้หลายอย่าง บ้างทน ทำ ไป
บ้างเปลี่ยนพับเพียบ บ้างสลับแต่ไม่ลืมตา ไม่ออกนอกกรรมฐาน
ให้ ตามดู เช่น ขยับหนอๆ สลับหนอๆ เหยียดหนอๆ ทำ กำหนด ตามอาการที่ขยับๆไป พอได้ที่ นิ่ง นาน จน ถึงเวลาถอนออกครับ  |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
อิทธิกร
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 28 ส.ค. 2008
ตอบ: 137
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี
|
ตอบเมื่อ:
01 ก.ย. 2008, 9:00 am |
  |
อนุโมทานา |
|
_________________ ชีวิตที่รู้ |
|
  |
 |
อิชิคาว่า
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 24 ส.ค. 2008
ตอบ: 94
ที่อยู่ (จังหวัด): กำแพงเพชร
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ย. 2008, 3:05 pm |
  |
ขอบคุณมากมายครับ
ผมก็เป็นเหมือนคุณน้อมแหละครับ อิอิ
เมื่อไรจะเชื่องไม่รู้ดิ ฝึกมาเกือบเดือนและ  |
|
_________________ สังขารไม่เที่ยงหนอ |
|
   |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ย. 2008, 4:52 pm |
  |
นั่งสมาธิพึงพากันตั้งสติให้แน่วแน่อยู่ภายใน พยายามควบคุมจิตอย่าให้มันหลงคิดนึกไปในอารมณ์ที่มันเคยคิด เคยนึก เคยเกาะ เคยข้องมาแต่ก่อน ให้กำหนดลงเอาปัจจุบันนี้เป็นที่ตั้งเลยทีเดียว ชีวิตนี้จะอยู่เฉพาะลมหายใจเข้า หายใจออก อยู่ที่ปัจจุบันๆ นี้เท่านั้น ให้กำหนดจำกัดลงเลย เพราะว่าที่ล่วงมาแล้ว มันก็ล่วงมาแล้วนะชีวิต แล้วอนาคตก็ยังไม่ได้ไปถึง มันก็ยังไปไม่ถึง ไม่ต้องไปคำนึงหามัน การงานอะไรที่ทำล่วงมาแล้ว ผิดหรือถูกมันก็ได้ล่วงมาแล้ว ไม่ต้องไปคำนึงหามัน
เวลานี้เป็นเวลาพักผ่อนของจิตใจ ขอให้เตือนตนอย่างนี้ เวลานี้เป็นเวลาพักผ่อนของจิตใจในขณะนี้ เบื้องต้นนี้ก็อยากคิด อยากรู้นั้น รู้นี้ เห็นนั่น เห็นนี้ ก่อนคือพยายามตั้งสติ กำหนดลมหายใจเข้า หายใจออก อธิษฐานจิตถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกของตนแล้ว ก็พยายามประกอบจิตนี้ให้หยุดคิด หยุดนึก ให้กำหนดรู้เฉพาะแต่ลมหายใจเข้า หายใจออกเท่านี้ก่อน เพราะเวลานี้ให้เข้าใจว่าเราพักผ่อนจิตใจ
คำว่าพักผ่อน คือหยุดคิด หยุดนึกในการงานต่างๆ เลย วางจิตลงให้สบาย สบาย ไม่ต้องกังวลข้างหน้า ข้างหลังอะไรเลย กำหนดรู้อยู่แต่ปัจจุบันนี้เท่านั้น เอาปัจจุบันนี้เป็นหลักเลย ชีวิตนี้ก็ให้กำหนดว่ามีอยู่แค่ปัจจุบันๆ นี้ เท่านั้นแหละ
ในเบื้องต้นเราก็รู้ไม่ได้ว่าจะไปถึงไหน เบื้องหลังมันก็ล่วงมาแล้ว ดังนั้น เราต้องกำหนดรู้เฉพาะปัจจุบันเท่านั้นเอง คือการทำสมาธินี่ สำคัญอยู่ที่สตินั้นแหละ ขอให้ได้พากันจำเอาไว้ให้ดี สติแปลว่าความระลึกได้ คือระลึกเข้าไปในจิตเลยทีเดียว ระลึกให้หยั่งเข้าไปให้มันถึงจิต อย่าให้มันระลึกเฉไปทางอื่น จิตนี้ที่มันตั้งมั่นอยู่ไม่ได้ก็เพราะมันขาดสติ สติไม่ได้เข้าไปควบคุมอยู่ใกล้ชิด สตินั้น จะระลึกออกไปทางอื่นห่างออกไปจากจิต เมื่อจิตนี้ปราศจากสติแล้วมันก็ว้าเหว่ เร่ร่อนหาอารมณ์อย่างอื่น คิดส่ายไปตามความชอบใจ มันเป็นอย่างนั้น แต่จิตนี้น่ะ ถ้าสติเป็นเครื่องสอนอยู่แล้ว ไม่ไปไหนเลย ไม่ไปไหนแล้ว ที่มันอยากคิดอะไรมาแต่ก่อนนั้น สติห้ามไว้ทันแล้วก็หยุด
ขอให้สติมันเข้มแข็งเสียอย่างเดียว หายใจเข้าก็กำหนดรู้ หายใจออกก็กำหนดรู้อยู่ในปัจจุบันนั้นเลยอย่างนั้น ไม่ได้รู้สิ่งอื่นๆ ใดทั้งหมด ถ้าหากใครสามารถที่จะเพ่งเข้าไปภายในให้เกิดแสงสว่างเหมือนอย่างเราฉายไฟเข้าไปในถ้ำมืดๆ อย่างนี้ แสงไฟฉายนั้นมันจะเป็นลำ สว่างเข้าไปภายในจะมีอะไรอยู่ในนั้นก็มองเห็นได้เลย อันนี้ก็เหมือนกันแหละ ถ้าเราสามารถที่จะกำหนดตั้งสติแล้วเพ่งตามลมหายใจเข้าออก เข้าไปภายในให้มันสว่างเข้าไปถึงจิตใจ และก็มองเห็นอัตภาพร่างกาย อวัยวะน้อยใหญ่ภายในร่างกายได้ยิ่งดีเลย ถ้าทำได้อย่างนี้ ตามลมหายใจเข้าออกไปภายในให้มันสว่างเข้าไปถึงจิตใจและก็มองเห็น
ถ้าหากว่าไม่สามารถจะทำได้อย่างนี้ ก็ตั้งสติเพ่งเข้าไปหาความรู้อย่างเดียวเท่านั้น รู้อยู่ตรงไหน สติก็ให้หยั่งเข้าไปถึงนั่น ก็ใช้ได้เหมือนกัน เมื่อจิตมันสงบ มันคลายจากอารมณ์ต่างๆ ออกไปแล้ว มันปลอดโปร่ง ถึงแม้ว่าจะไม่สว่างไสวเต็มที่ แต่มันก็มีเงาแห่งความสว่างปรากฏอยู่ในจิตนั้นเองแหละ จิตไม่เศร้าหมอง หมายความว่าอย่างนั้นแหละเบิกบาน ถ้าหากมันคลายอารมณ์ต่างๆ ออกไปแล้วนะ ลักษณะอาการของจิตนี้จะเบิกบานผ่องแผ้ว ไม่มีกังวลใดๆ อิ่มอยู่ภายใน ไม่ปรารถนาอยากจะคิดไปไหนมาไหนแล้ว ทีนี้ถ้าจิตมันคลายอารมณ์เก่าออกไปได้ ก็ต้องอาศัยสตินั่นแหละเข้าไปควบคุมจิตไม่ให้คิดไปในอารมณ์ต่างๆ
อันเมื่อจิตนี้ไม่มีโอกาสจะได้คิดไปในอารมณ์ต่างๆ แล้วมันก็คลายทิ้งไปหมด อารมณ์ที่เราเก็บเอาไว้มันเป็นอย่างนั้นเพราะว่ามันไม่มีที่ต่อ มันก็คลายออกไปเท่านั้นเอง ดังนั้นอย่าไปเข้าใจวิธีอื่นเลย พระพุทธเจ้าสอนให้กำหนดลมหายใจเข้าออกนี่ เพ่งกำหนดรู้แต่ลมหายใจเข้าออกนี่แหละ ความคิดฟุ้งซ่านต่างๆ มันจะค่อยเบาไปๆ หมดไปโดยลำดับ เพราะว่าจิตเราไม่ส่งเสริมมันแล้วนี่ จิตเรามาจ้องอยู่เฉพาะแต่ลมนี้ จิตนี้ไม่ส่งเสริมความคิดเสียแล้ว ทีนี้จะคิดดีคิดชั่วอย่างไรไม่เอา ในขณะนี้ปล่อยทิ้งไม่ใช่เวลาคิด เวลานี้ เวลาสงบ เวลาเพ่ง เวลากำหนดรู้ ไม่ใช่เวลาคิด ให้มีสติเตือนจิตอย่างนี้เสมอไป
จิตนี้เมื่อถูกสติเตือนเข้าบ่อยๆ มันก็รู้ตัว รู้ตัวแล้วมันก็คลาย มันก็ปล่อยวางอารมณ์ ไม่ส่งเสริม ไม่คิดไม่ปรุงไปอีก มันสำคัญ เรื่องสมาธินี่สำคัญมากทีเดียว เรื่องปัญหานั้นมันเกิดจากสมาธิ ดังนั้นเมื่อเราไม่สามารถจะทำสมาธิให้บังเกิดได้ ปัญญามันก็เกิดไม่ได้ ปัญญาในที่นี้หมายถึงปัญญาที่เกิดจากสมาธิ ปัญญาที่เกิดจากสมาธินี้เป็นปัญญาที่รู้แจ้งในธาตุสี่ ขันธ์ห้า ในนาม ในรูป ไม่ปรารถนารู้อย่างอื่น
ในการปฏิบัติสมาธิแรกๆ อย่าไปสงสัยคลางแคลงใจว่า เอ๊ะ !! ทำไมเราจึงปฏิบัติไปไม่ได้ ทำไมใจจึงไม่สงบ ? กำหนดลมหายใจก็กำหนดแล้ว มันก็ยังไม่สงบอย่างนี้ อย่าไปสงสัย ให้นึกว่าเราทำยังไม่พอก็แล้วกันแหละ เราทำยังไม่มากพอ คือว่าเรายังกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออกนี้ ยังไม่พอ เราจะต้องทำอีก
จนกว่าจะพบสภาวะไร้สิ่งในความควบคุมเมื่อนั้นจะกำหนดจับจุดใดจะเท่าทัน
และก็ไปเรื่อยๆจนถึงมรรคแล |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
|