ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
14 ก.ค.2008, 8:48 pm |
  |
การที่ข้าพเจ้าเขียนบทความนี้ขึ้นมา มีจุดประสงค์ที่จะให้ท่านทั้งหลายที่สนใจ ได้นำไปคิดพิจารณา หาเหตุผลและพินิจในตัวเองขณะฝึกสมาธิ หรือทำสมาธิ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาตามความเข้าใจของข้าพเจ้าที่แท้จริง (ซึ่งในทางที่เป็นจริงนั้น ข้าพเจ้าไม่ได้สนใจในเรื่องของฌาน และไม่มีในบทเรียนของข้าพเจ้า)
แต่เนื่องจากบทความที่ข้าพเจ้าเขียนนี้ อาจจะดูเหมือนเป็นข้อโต้แย้งกับสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องทางศาสนาพุทธ เข้าใจผิดมาโดยตลอด ที่เข้าใจผิด ก็เพราะเรื่องของการทำความเข้าใจในภาษานั่นแหละ
ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเขียนเป็นเรื่องเล่าจากประสบการณ์ส่วนตัว ซึ่งหากท่านทั้งหลายหรือผู้เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธได้อ่าน ก็อย่าได้กล่าวหาว่าร้ายข้าพเจ้า และขอให้คิดว่า เป็นเพียงเรื่องเล่า ประสบการณ์ การปฏิบัติสมาธิ และที่สำคัญ เป็นไปตามหลักพุทธศาสนา ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า
การฝึกสมาธิ หรือการปฏิบัติสมาธินั้น บุคคลที่เริ่มต้นหรือเริ่มแรกปฏิบัติสมาธินั้น ล้วนมีจิตใจที่ยังไม่มั่นคง จึงมักว้าวุ่น บ้าง สงบนิ่งบ้าง คิดไปเกิดความสุขบ้าง หรือเกิดอารมณ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งในทางศาสนาพุทธเรียกว่า ปีติบ้าง
การที่บุคคลเริ่มต้น หรือเริ่มปฏิบัติสมาธิใหม่นั้น ยังไม่รู้จักควบคุมอารมณ์ ความคิด และความรู้สึก จึงมัน เกิดสิ่งที่ทางพุทธศาสนา เรียกว่า วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา หรือในทางศาสนาพุทธเรียกว่า "ปฐมฌาน"
สิ่งที่เกิดขึ้นในการเริ่มปฏิบัติสมาธิใหม่ๆนั้น ทุกคนล้วนมีธรรมชาติที่สมองจะคิด เมื่อคิด แล้วก็จะเกิดอารมณ์ ชนิดต่างๆเกิดขึ้น เมื่อมีอารมณ์เกิดขึ้น บ้างก็เกิดความสบายอกสบายใจ สบายกาย ปลอดโปร่ง จนไม่คิดอะไร คือความมีสมาธิ แล้วก็จะกลับไปคิดอีก หมุนวนกันไป เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์
เมื่อปฏิบัติสมาธิไปได้สักระยะหนึ่งอาจจะเป็นเดือน เป็นหลายเดือน ความเคยชินร่างกายรับรู้ และปรับสภาพได้ พอปฏิบัติความคิดฟุ้งซ่านที่เป็นธรรมชาติของทุกคน ก็จะถูกบังคับควบคุมมิให้คิดฟุ้งซ่าน แต่จะมีบ้างเล็กน้อยแวบเข้ามาเป็นบางครั้ง ในระยะนี้ ผู้ปฏิบัติสมาธิ ก็ยังมีความคิดชนิดหนึ่งซึ่งทำให้เกิดเป็นอารมณ์ เป็นความคิดที่ทำให้เกิดอารมณ์ แห่งความพอใจที่ตนปฏิบัติได้ ซึ่งผู้ปฏิบัติ อาจจะไม่รู้สึกตัวเลยว่าได้คิด และเมื่อเกิดอารมณ์แห่งความพอใจตามความคิดนั้น ความสุข รู้สึกปลอดโปร่งสบายกาย สบายใจ ก็จะตามมา และความสมาธิก็จะเกิดตามติด แต่ก็จะหมุนวนกันไป เป็นครั้งคราว เนื่องจากเป็นธรรมชาติของร่างกายที่กำลังปรับสภาพ ในช่วงนี้ ทางศาสนาพุทธเรียกว่า "ทุติยฌาน"
เมื่อปฏิบัติสมาธิได้ชำนาญ และนานหลายเดือน หรือเป็นปี ร่างกายสามารถปรับสภาพได้ดียิ่งแล้ว ความละเอียดในการควบคุม ความคิด และอารมณ์ ความรู้สึกก็ มีมากขึ้น จนตัวผู้ปฏิบัติ แทบไม่ได้คิดอะไรเลย แต่ความคิดนั้น บางครั้ง เป็นความคิดที่อยู่ลึกภายในใจและสมอง เพราะความคิดมีสถานะเป็นคลื่นไฟฟ้าอยู่ในร่างกายเรา ความคิดฟุ้งซ่าน ความคิดชั้นหยาบ ความคิดชั้นกลาง หมดไป เหลือแต่ความคิดชั้นละเอียด ซึ่งอยู่ในส่วนลึก และไม่มีความคิดที่ทำให้เกิดความพอใจตามความคิดนั้นอีก เพราะร่างกายได้ปรับสภาพได้ดีแล้ว ความสบายใจ สบายกาย และ ความเป็นหนึ่งเดียวในอารมณ์ ก็จะเกิดขึ้นเกือบพร้อมๆกัน ซึ่งในทางศาสนาพุทธเรียกขั้นตอนนี้ว่า "ตติยฌาน"
เมื่อได้ปฏิบัติสมาธิ นานหลายปีเข้า ความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมความคิดอารมณ์ ก็เพิ่มพูนตามขึ้น สามารถควบคุมความคิด อารมณ์ ต่างๆได้เป็นอย่างดียิ่ง อีกทั้งหากเกิดความคิดแวบเข้ามา หรือได้รับรู้ถึงการสัมผัสทางอายตนะต่างๆที่ไม่รุนแรงเกินเหตุ ตามสถานการณ์ที่ปกติ ความวางเฉยในความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ก็จะเกิดขึ้นหมายความว่า ถ้าเกิดความคิดแว๊บขึ้นมา จะรู้สึกเฉยๆกับสิ่งที่คิด ไม่เกิดอารมณ์ หรือเกิดความรู้สึก ตามสิ่งที่เราคิด หรือตามสิ่งที่เราได้สัมผัสขณะปฏิบัติสมาธิ และขณะที่วางเฉยนั้น ความมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว หรือสิ่งที่เรียกว่าสมาธิ ก็เกิดขึ้นพร้อมกัน คือ อุเบกขา กับเอกัคคตา จะเกิดขึ้นพร้อมกัน
ซึ่งในทางพุทธศาสนาขั้นนี้ว่า "จตุตถฌาน"
อนึ่งระยะเวลาของการปฏิบัติสมาธิหรือฝึกสมาธิ นั้น ไม่ใช่เครื่องกำหนดกฎเกณฑ์ตายตัวตามที่ข้าพเจ้าได้เขียนไป บางคนอาจใช้เวลาไม่มากนัก บางคนอาจต้องใช้เวลานานปี ซึ่ง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลประเภทใดที่จะปฏิบัติได้เร็วหรือช้า ก็ต้องระลึกหรือจดจำไว้อย่างหนึ่งว่า สมาธิเสื่อมถอยได้ ถ้าไม่ฝึกฝนอยู่เสมอ
สวัสดี |
|
|
|
  |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
15 ก.ค.2008, 9:21 pm |
  |
การฝึกสมาธิ หรือการปฏิบัติสมาธินั้น บุคคลที่เริ่มต้นหรือเริ่มแรกปฏิบัติสมาธินั้น ล้วนมีจิตใจที่ยังไม่มั่นคง จึงมักว้าวุ่น บ้าง สงบนิ่งบ้าง คิดไปเกิดความสุขบ้าง หรือเกิดอารมณ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งในทางศาสนาพุทธเรียกว่า ปีติบ้าง
การที่บุคคลเริ่มต้น หรือเริ่มปฏิบัติสมาธิใหม่นั้น ยังไม่รู้จักควบคุมอารมณ์ ความคิด และความรู้สึก จึงมัน เกิดสิ่งที่ทางพุทธศาสนา เรียกว่า วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา หรือในทางศาสนาพุทธเรียกว่า "ปฐมฌาน"
ท่านผู้อ่านลองอ่านเปรียบเทียบระหว่างกระทู้ที่ผมยกมาบางตอนข้างต้นที่แสดงให้เห็นถึงความไม่ถูกต้องอย่างเหรียญคนละด้าน กับธรรมะที่ยกมาข้างล่างนี้ดูครับ
แล้วท่านตัดสินเอาเองว่าจะเชื่อใคร
ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ
ปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัตินี้ ท่านกำหนดองค์ของปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัติไว้ ๕ อย่างดังต่อไปนี้
วิตก จิตกำหนดนึกคิด โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ว่าหายใจเข้าหรือออก ถ้าใช้คำภาวนา ก็รู้ว่าเราภาวนาอยู่ คือภาวนาไว้มิให้ขาดสาย ถ้าเพ่งกสิณ ก็กำหนดจับภาพ กสิณอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้เรียกว่าวิตก
วิจาร ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราหายใจเข้าหรือ หายใจออก หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น หายใจเบา หรือแรง ในวิสุทธิมรรคท่านให้รู้กำหนด ลมสามฐานคือ หายใจเข้าลมกระทบจมูก กระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย หายใจ ออกลมกระทบศูนย์ กระทบอกกระทบจมูกหรือริมฝีปาก
ถ้าภาวนา ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่าเราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการ ใด
ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมายภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไร มีสีสัน วรรณะเป็นอย่างไร ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพ สีของกสิณเปลี่ยนแปลงไป หรือคงเดิม ภาพที่เห็นอยู่นั้นเป็นภาพกสิณที่เราต้องการ หรือ ภาพหลอนสอด แทรกเข้ามา ภาพกสิณเล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ ดังนี้เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่า วิจาร
ปีติ ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีเป็นปกติ
ความสุขเยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีต ซึ่งไม่เคยมีมาใน กาลก่อน
เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ตั้งมั่นอยู่ในองค์ทั้ง ๔ ประการนั้น ไม่คลาดเคลื่อน
ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัตินี้ เมื่อขณะทรงสมาธิอยู่นั้น หูยังได้ยินเสียงภายนอกทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนาหรือรักษาอารมณ์ไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียง เสียงก็ได้ยินแต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ อารมณ์เพ่งอยู่ โดยไม่รำคาญ ในเสียงทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับ จิตเริ่มแยกตัวกันเล็กน้อย แล้วตามปกติจิตย่อมสนใจในเรื่องของกาย เช่นหูได้ยินเสียง จิตก็คิดอะไรไม่ออกเพราะรำคาญในเสียง แต่พอจิตเข้าระดับปฐมฌาน กลับเฉยเมย ต่อเสียงคิดคำนึงถึงอารมณ์กรรมฐานได้เป็นปกติที่ท่านเรียกว่า ปฐมสมาบัติ ก็ เพราะ อารมณ์สมาธิเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌานที่จิตกับกายเริ่มแยกทางกันบ้างเล็กน้อย แล้วนั่นเอง
อารมณ์ปฐมฌาน และปฐมสมาบัติ
เพื่อให้จำง่ายเข้า จะขอนำอารมณ์ปฐมฌานมากล่าวโดยย่อเพื่อทราบไว้ อารมณ์- ปฐมฌานโดยย่อมีดังนี้
วิตก ความตรึกนึกคิดถึงอารมณ์ภาวนา
วิจาร ความใคร่ครวญทบทวนถึงองค์ภาวนานั้นๆ ครบถ้วนถูกต้องหรือไม่เพียงใด
ปีติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่นเบิกบานหรรษา
สุข มีความสุขสันต์ทางกายและจิตใจอย่างไม่เคยมีมาในกาลก่อน เป็นความสุข อย่างประณีต
เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ทรงวิตก วิจาร ปีติ สุข ไว้ได้โดยไม่มีอารมณ์ อื่นเข้ามาแทรกแซง
องค์ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ ๕ อย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ ต้องปรากฏพร้อม ๆ กันไปคือ นึกคิดถึงองค์ภาวนาใคร่ครวญในองค์ภาวนานั้น ๆ ว่า ครบถ้วนถูกต้องหรือ ไม่ประการใด มีความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีอารมณ์ผ่องใสสว่างไสวในขณะภาวนา มีความสุข สันต์หรรษา มีอารมณ์จับอยู่ในองค์ภาวนา ไม่สนใจต่ออารมณ์ภายนอก แม้แต่เสียงที่ได้ยิน สอดแทรกเข้ามาทำให้ได้ยินชัดเจน แต่จิตใจก็ไม่หวั่นไหว ไปตามเสียงนั้น จิตใจคงมั่นคง อยู่กับอารมณ์ภาวนาเป็นปกติ |
|
|
|
   |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
15 ก.ค.2008, 9:50 pm |
  |
๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล
ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บุคคลนั้น
พอใจ ชอบใจปฐมฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยปฐมฌานนั้น ตั้งอยู่ใน
ปฐมฌานนั้น น้อมใจไปในปฐมฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยปฐมฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย กัปหนึ่งเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา ปุถุชนดำรงอยู่
ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่า
นั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวก
ของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นพรหมนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุ
ของเทวดาเหล่านั้นทั้งหมดให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส
แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร
สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจทุติยฌานนั้น
และถึงความปลื้มใจด้วยทุติยฌานนั้น ตั้งอยู่ในทุติยฌานนั้น น้อมใจไปใน
ทุติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยทุติยฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้า
ถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ กัปเป็น
ประมาณอายุของเทวดาเหล่าอาภัสสระ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ ตราบเท่า
ตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึง
นรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรง
อยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดา
เหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็น
ความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
คือในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บุคคลนั้นพอใจ
ชอบใจตติยฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยตติยฌานนั้น ตั้งอยู่ในตติยฌานนั้น
น้อมใจไปในตติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยตติยฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔ กัป
เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น
ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อม
เข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
ดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดา
เหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล
เป็นความพิเศษ ผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มี
สุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุ
ให้สติบริสุทธิ์อยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจจตุตถฌานนั้น และถึงความปลื้มใจ
ด้วยจตุตถฌานนั้น ตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น น้อมใจไปในจตุตถฌานนั้น อยู่จน
คุ้นด้วยจตุตถฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย
ของเทวดาเหล่าเวหัปผละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัปเป็นประมาณอายุของ
เทวดาเหล่าเวหัปผละ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยัง
ประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิด
ดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นเวหัป-
*ผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไป
แล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิด
แผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อ
คติ อุบัติมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ |
|
|
|
   |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
15 ก.ค.2008, 9:51 pm |
  |
[๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล
ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ รูป เวทนา
สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในปฐมฌานนั้น บุคคลนั้นพิจารณา
เห็นธรรมเหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี
เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็น
ของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน บุคคลนั้นเมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ
อุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และ
ดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณอันใด มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น บุคคลนั้นย่อม
พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
ดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน
เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน
บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔
จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ |
|
|
|
   |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
15 ก.ค.2008, 9:56 pm |
  |
สิ่งที่เจ้าของกระทู้อธิบายมานั้น
นอกจากจะไม่ได้อธิบายถึงวิธีฝึกสมาธิแล้วยังเรียกวิธีการดังกล่าวว่า
เป็นวิธีการคิดฟุ้นซ่านไปเอง
ท่านที่ต้องการฝึกสมาธิจริงๆขอให้คลิ๊กเข้าไปศึกษา อานาปานสติ เทอญ
ของท่านพุทธทาสก็ได้ครับ |
|
|
|
   |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
16 ก.ค.2008, 8:02 pm |
  |
ท่านทั้งหลาย อดใจรอ ยังมีต่อตอนที่สอง เพราะตอนแรกนี้ เป็นเพียงการเล่าเรื่อง ตอนที่สองจะอธิบายให้ได้อ่านกันว่า วิตก วิจารณ์ แท้จริงนั้น เป็นอย่างไร
แต่เฉพาะตอนแรกนี้ หลายๆท่านคงเกิดความเข้าใจขึ้นบ้างแล้วว่า การปฏิบัติสมาธินั้นแท้จริง ปฏิบัติ เพื่ออะไรกัน |
|
|
|
  |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
16 ก.ค.2008, 9:11 pm |
  |
ที่เขาใจจรดใจจ่อเพราะคิดวาเมื่อไหร่คุณจะเลิกเขียนเสียที |
|
|
|
   |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
17 ก.ค.2008, 10:16 am |
  |
Buddha พิมพ์ว่า: |
ท่านทั้งหลาย อดใจรอ ยังมีต่อตอนที่สอง เพราะตอนแรกนี้ เป็นเพียงการเล่าเรื่อง ตอนที่สองจะอธิบายให้ได้อ่านกันว่า วิตก วิจารณ์ แท้จริงนั้น เป็นอย่างไร
แต่เฉพาะตอนแรกนี้ หลายๆท่านคงเกิดความเข้าใจขึ้นบ้างแล้วว่า การปฏิบัติสมาธินั้นแท้จริง ปฏิบัติ เพื่ออะไรกัน |
กำลังรออยู่ครับท่าน กระทู้ของท่านเป็นประโยชน์สำหรับกระผมมากครับ |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
17 ก.ค.2008, 9:12 pm |
  |
ขอบคุณที่สนใจขอรับ แต่ต้องรอเพราะข้าพเจ้าไม่เหมือนคนอื่น ต้องมีประสบการณ์จึงจะเขียนได้หมายความว่า ได้เห็น ได้รู้ จึงจะนำสิ่งที่เห็นทีรู้นั้น มาแต่งเป็นร้อยกรอง หรือ ร้อยแก้ว คือถ้าได้เห็น ได้รู้ ก็จะเปลียนเป็นคำศัพท์ ถ้าไม่เห็น ไม่รู้ เขียนได้ แต่อาจจะสับสน เพราะหาคำศัพท์ มาเขียนไม่ได้
ไม่นานดอกขอรับ เพราะข้อมุลส่วนใหญ่ อยู่ในตัวอยู่แล้ว |
|
|
|
  |
 |
ลุงดำ
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 24 พ.ย. 2007
ตอบ: 59
|
ตอบเมื่อ:
18 ก.ค.2008, 7:13 pm |
  |
ท่านmes
หากท่านรับรู้ จิต จริต นิสัย พฤติกรรม จากการแสดงออกของท่านBuddha หลาย ๆ บทความแล้ว ท่านก็จะทราบว่า ท่านBuddha เป็นคนเช่นไร
ขอท่านได้เว้นไว้สักคนหนึ่งเถิด เก็บไว้เป็นสีสัน ของ Dhammajak
สิ่งหนึ่งที่ได้รับคือ ผู้ที่มีความสามารถถ่ายทอดความรู้ ได้ดี ก็คือ ผู้ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ ได้ดี
ผู้ที่สามารถถ่ายทอด ได้ดี ต้องเกิดมาจากพรสวรรค์ และ พรแสวง
ซึ่งพรแสวงนั้น เป็นเรื่องของผู้ฟังที่ดี ผู้ปฎิบัติตามที่ดี จึงสามารถถ่ายทอดได้ดี ตาม"แม่แบบ"ที่พยายามขัดเกลาผู้เจริญรอยตาม "แม่แบบที่ดี" ไม่ใช่ตัวปัญหาในการขัดเกลา อาจต้องรวมไปถึง บุญ และ ความสามารถของผู้เรียนรู้นั้นด้วย |
|
_________________ ถ้ามีเวลาว่างเกินไป ก็ไปช่วยเขาทำงานบ้าน บ้าง เอ้อ |
|
  |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
19 ก.ค.2008, 9:13 am |
  |
ครับ
 |
|
|
|
   |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
21 ก.ค.2008, 2:23 am |
  |
ไปไหนน๊า bhudda
ไม่เห็นหลายวัน ไม่ฮาเลย
คิดถึง
อ่านอยู่น๊า กระทู้ที่เขียนน่ะ ไม่ใช่ไม่อ่าน เป็นแฟนคลับอยู่
รักน๊า... แต่ไม่แสดงออก  |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
Story Note
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2007
ตอบ: 97
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ค.2008, 5:45 pm |
  |
มาติดตามอ่านด้วยค่ะ |
|
|
|
  |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
11 ส.ค. 2008, 8:46 pm |
  |
มารออ่าน ภาค 2 จ้า อมิตพุทธ |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
ปกรณัม
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 12 ก.ค. 2008
ตอบ: 52
ที่อยู่ (จังหวัด): ขอนแก่น
|
ตอบเมื่อ:
12 ก.ย. 2008, 11:30 pm |
  |
ผมก็รออยู่ครับ  |
|
_________________ คนที่ไม่ทำงานไม่สมควรจะมีชีวิตอยู่! |
|
     |
 |
|