Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สมาธิ กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2008, 1:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมาธิ กับการดำรงชีวิตของมนุษย์
สวัสดีท่านทั้งหลาย บทความนี้ เป็นบทความต่อเนื่องจาก บทความหรือกระทู้ เรื่อง “การทำงานต้องมีสมาธิ” เหตุเพราะในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ล้วนมีปัจจัยที่เรียกว่าสมาธิ เข้ามาเกี่ยวข้องแทบทุกเวลาเลยก็ว่าได้ ตั้งแต่ตื่นตอน ไปจนถึงเข้านอน หมุนวนกันเป็น วัฏฏะจักร
จากที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่า สมาธิ นั้น มีอยู่ในตัวมนุษย์ โดยธรรมชาติอยู่แล้ว นั่นเป็นเพราะสภาพแวดล้อม การได้รับการขัดเกลาทางสังคม และอื่นๆ ทำให้มนุษย์มีสมาธิ
สมาธิ ในการดำรงชีวิตของมนุษย์นั้น เป็นสิ่งจำเป็น เป็นปัจจัยอันสำคัญยิ่ง ซึ่งในทางศาสนาทุกศาสนา ล้วนมีหลักการปฏิบัติสมาธิ หรือฝึกสมาธิ หรือสร้างสมาธิเป็นข้อสำคัญ แต่ทว่าในแต่ละศาสนานั้น จะมีการปฏิบัติ สมาธิ หรือฝึกสมาธิ หรือสร้างสมาธิ หรือวิธีการฝึกปฏิบัติ สร้างสมาธิ ที่แตกต่างกันออกไป ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงการสร้าง หรือวิธีการฝึกปฏิบัติ สมาธิ ของศาสนาอื่นๆ แต่จะกล่าวถึงหลักการหรือวิธีการสร้างหรือวิธีการฝึกปฏิบัติ สมาธิ ทางศาสนาพุทธ ซึ่งความจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดใด ก็ล้วนมีจุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของการฝึกปฏิบัติสมาธิ หรือสร้างสมาธิ ในทิศทางเดียวกัน เพื่อหวังผลแห่งการปฏิบัติสมาธิเช่นเดียวกัน เหมือนกัน ทุกศาสนา
ดังนั้นข้าพเจ้าจึงจะกล่าวถึงสมาธิในทางศาสนาพุทธ เพราะดูเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และเป็นการสมควร เนื่องเพราะคนไทย 97 เปอร์เซ็นต์ นับถือศาสนาพุทธ อีกทั้งศาสนาพุทธก็เกิดขึ้นมาก่อนศาสนาอื่นๆ ยกเว้นศาสนา พราหมณ์ ฮินดู
ตามที่ข้าพเจ้าเคยได้อธิบายไปถึงเรื่อง การทำงานต้องมีสมาธิ แล้วนั้น เป็นเพียงการกล่าวถึงหรืออธิบายถึง สมาธิในการทำงาน หรือการทำงานต้องมีสมาธิ อันเป็นวิถีชีวิตเพียงส่วนหนึ่ง ในการสังคมปฏิสัมพันธ์กันของมนุษย์ ซึ่งในทางที่เป็นจริงนั้น วิถีชีวิตของมนุษย์มิใช่มีการปฏิสัมพันธ์กันเพียงแค่การทำงานเท่านั้น แต่มนุษย์เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กัน ตั้งแต่ระดับครอบครัว จนไปถึงระดับประเทศ และ จนที่สุดก็คือระดับโลก
การปฏิสัมพันธ์ หรือวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ ล้วนต้องอาศัยสมาธิ ในการดำรงชีวิตและ ปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน อยู่เกือบตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นภายในครอบครัว อันหมายถึง การครองเรือนของแต่ละบุคคลในครอบครัว เช่น ครองเรือนเป็นบิดา มารดา ลูก พี่ น้อง หรือ ญาติ ทั้งหลาย และขยายวงกว้างจากครอบครัวออกไป เป็นเพื่อนสนิท มิตรสหาย เพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง จนไปถึงระดับประเทศ
การครองเรือนของแต่ละบุคคล ล้วนต้องอาศัยสมาธิ ซึ่งสมาธิก็ย่อมหมายถึง การรู้จักควบคุม ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ฯลฯ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง ความมีสมาธิ ก็คือ การสติ คือ ความระลึกได้ และ สัมปชัญญะ คือความรู้สึกตัว อยู่เสมอ ความมีสมาธิของแต่ละบุคคล ย่อมก่อให้เกิดการเข้าใจที่ดีต่อกัน มีการเจรจาติดต่อสื่อสารที่เหมาะสม และสมควร ย่อมมีความขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ เพื่อเลี้ยงตน และครอบครัว อีกทั้งยังรู้คุณแห่งความรู้ ความเข้าใจในหลักการ หรือวิธีการ แห่งวิชาชีพ รู้คุณระลึกคุณ แห่งการครองเรือน ฯ มีการประพฤติปฏิบัติ ตามจรรยา แห่งการครองเรือน และ อาชีพนั้นๆ และยังหมายรวมไปถึงการรู้จักการให้ทาน ต่อบุคคลในครอบครัว มีความคิด ที่ดีที่ถูกที่ควร ด้วยความสติ สัมปชัญญะ ตามสมควร
แล้วทำไมศาสนาพุทธจึงมีวิธีการ หรือหลักปฏิบัติ หรือวิธีสร้างสมาธิ ให้กับมนุษย์ทั้งหลาย ก็ในเมื่อข้าพเจ้ากล่าวว่า “สมาธิ มีอยู่เองตามธรรมชาติของมนุษย์อยู่แล้ว”
ที่พุทธศาสนา มีวิธีการ หลักปฏิบัติ หรือวิธีสร้างสมาธิ นั้น ก็เป็นเพราะ พระพุทธองค์ได้วิจัยค้นคว้า และพิสูจน์ อย่างแน่นอนแล้วว่า การสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์นั้น ย่อมเป็นเหตุทำให้เกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งถ้าข้าพเจ้าจะกล่าวอีกว่า มันก็เป็นธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อได้ปฏิสัมพันธ์ ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือสิ่งของ ฯ มนุษย์ ก็ย่อมต้องเกิดความอยาก เกิดความต้องการ เกิดความรู้สึก และเกิดอารมณ์ ในรูปแบบต่างๆกันไป
ดังนั้น พุทธศาสนาซึ่งได้รับการวิจัยค้นคว้า และฝึกปฏิบัติจนได้ผลดีแล้ว พบว่า
หากมนุษย์ได้ฝึกฝน ได้รู้เทคนิคหรือวิธีการสร้างสมาธิ เพื่อควบคุม อารมณ์ ความคิด ความรู้สึก ความอยาก ความต้องการ ความรู้สึก หรือสภาพอารมณ์ หรือพฤติกรรม การกระทำ อันเป็นวิธีการหรือเทคนิค ที่จะทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมโดยสงบสุข ได้ในระดับหนึ่ง อันเป็นระดับพื้นฐาน
ต่อเมื่อ มีสมาธิ หรือรู้จักควบคุมตัวเอง หรือมีสติ สัมปชัญญะดีแล้ว ก็ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักวิชาการต่างๆ และยังหมายรวมถึง หลักธรรมคำสอนเป็นสิ่งยับยั้งอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด พฤติกรรม หรือการกระทำ อันเกิดจากการปฏิสัมพันธ์กันของมนุษย์และสรรพสิ่ง
สมาธิ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในเรื่อง “การทำงานต้องมีสมาธิ”ว่า หมายถึง การมี สัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว แต่ไม่ใช่การรู้สึกตัวโดยความคิด แต่เป็นการรู้สึกตัวโดยส่วนลึก คือไม่ต้องคิด ก็รู้สึกตัว ยกเว้น ได้รับการสัมผัสที่ผิดปกติหรือผิดแผกไปจากการดำรงชีวิตปกติทั่วไป เช่นตกใจ เมื่อได้ประสบเหตุการณ์ บางอย่าง ไม่ว่าจะด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือ ใจ อันนี้ความรู้สึกตัว หรือ สัมปชัญญะ ก็จะไปกระตุ้นให้เกิดความคิด ซึ่งในทางพุทธศาสนาเรียกว่า สติ คือ ความระลึกได้ คำว่า ระลึกได้นั้น หมายถึงระลึกถึงเรื่องที่ผ่านมา และระลึกถึง หลักวิชาการ ประสบการณ์ความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการ วิธีการต่างๆ อันจะเกิดขึ้นโดยที่เราแทบไม่รู้ตัวว่า เราได้คิดคือ จะเร็วมาก จนสามารถนำเอา ความรู้ ประสบการณ์ หลักวิชาการ ความเข้าใจในหลักการ วิธีการต่างๆ มาใช้ ณ.ปัจจุบันได้และหมายรวมไปถึงอนาคตอีกด้วย(หมายถึงการวางแผนงานต่างๆในชีวิตประจำวัน ฯลฯ) สิ่งที่ได้กล่าวไป คือ สติ ความระลึกได้ และสัมปชัญญะ ความรู้สึกตัว อันเป็นสิ่งที่ถูกสร้างจากความมีสมาธิ
ดังนั้นพุทธศาสนา จึงได้มีหลักการ และวิธีการ ปฏิบัติ หรือสร้างสมาธิ เพื่อสร้างให้มนุษย์มีสติสัมปชัญญะ ให้เข้มแข็งเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่เดิมตามธรรมชาติ เพื่อให้มนุษย์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน ได้อย่างมีความสุข ในระดับหนึ่ง
นั่นก็หมายความว่า พุทธศาสนิกชน ทั้งหลาย สมควรอย่างยิ่งที่จักต้องรู้จัก วิธีการสร้างสมาธิ หรือวิธีการปฏิบัติสมาธิ อันเป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความเป็นพุทธมามกะ คือ “ผู้ถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของเรา”, ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน, “ผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา” (คัดความจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับพระธรรมปิฎก)
เพื่อความผาสุกของตัวท่านเอง และผู้อื่น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.ค.2008, 8:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การที่ข้าพเจ้าเขียนบทความนี้ขึั้นมา ก็เพื่อเป็นความรู้ สำหรับท่านทั้งยังไม่รู้
ว่าคำว่าสมาธิ แท้จริงแล้วคือสภาพสภาวะทางจิตใจเป็นเช่นไร อีกทั้งบุคคลโดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่รู้ว่า เวลากระทำกิจการใดใดต้องมีสมาธินั้น เป็นอย่างไร เพราะทุกคนมีสมาธิโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นการที่บุคคลกระทำไปโดยไม่รู้ ก็เท่ากับว่า ไม่มีความรู้ อะไรเลย ไม่สมกับที่เป็นผู้ศรัทธาในพุทธศาสนา ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้นำมาเขียนอธิบายพอสังเขป เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เพราะความรู้ ความเข้าใจในสิ่งใดก็ตาม ย่อมสามารถพัฒนา แก้ไข เปลี่ยนแปลง ตัวบุคคลให้ดีขึ้นได้ ในทุกด้าน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ปกรณัม
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 12 ก.ค. 2008
ตอบ: 52
ที่อยู่ (จังหวัด): ขอนแก่น

ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.ค.2008, 12:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อายหน้าแดง สาธุ อนุโมทนาครับ คุณ Buddha

ขอบคุณมากครับ จริงๆแล้วผมว่าเนื้อหาเป็นสิ่งสำคัญนะครับ
อันนี้ผมไม่ได้ว่านะครับ อาจเป็นเพราะผมด้อยปัญญาเกินไป...ผมรู้สึกอ่านแล้วก็สับสนเล็กน้อย เหมือนคำพูดของคุณวกไปวนมานะครับ(วกวนประมาณบรรทัด1-2บรรทัด) พออ่านจับใจความจริงๆผมคิดว่ามีไม่เกิน 10-15 บรรทัด หรอกครับ จริงๆแล้วกระทู้ของคุณน่าอ่านและผมพยามติดตามครับ แต่บ้างครั้งมันก็ยาวจนเกินไป จนหน้าเบื่อ ผมอยากจะบอกกับคุณ Buddha ว่าคุณช่วยสรุปให้ชัดเจน และเรียบเรียงกว่านี้นิดหนึ่งกระทู้จะยิ่งหน้าอ่านเข้าไปอีกนะครับ

ผมอยากจะแนะนำเพียงเท่านี้ครับ


ขอบคุณครับ
 

_________________
คนที่ไม่ทำงานไม่สมควรจะมีชีวิตอยู่!
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ค.2008, 1:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปกรณัม พิมพ์ว่า:
อายหน้าแดง สาธุ อนุโมทนาครับ คุณ Buddha

ขอบคุณมากครับ จริงๆแล้วผมว่าเนื้อหาเป็นสิ่งสำคัญนะครับ
อันนี้ผมไม่ได้ว่านะครับ อาจเป็นเพราะผมด้อยปัญญาเกินไป...ผมรู้สึกอ่านแล้วก็สับสนเล็กน้อย เหมือนคำพูดของคุณวกไปวนมานะครับ(วกวนประมาณบรรทัด1-2บรรทัด) พออ่านจับใจความจริงๆผมคิดว่ามีไม่เกิน 10-15 บรรทัด หรอกครับ จริงๆแล้วกระทู้ของคุณน่าอ่านและผมพยามติดตามครับ แต่บ้างครั้งมันก็ยาวจนเกินไป จนหน้าเบื่อ ผมอยากจะบอกกับคุณ Buddha ว่าคุณช่วยสรุปให้ชัดเจน และเรียบเรียงกว่านี้นิดหนึ่งกระทู้จะยิ่งหน้าอ่านเข้าไปอีกนะครับ

ผมอยากจะแนะนำเพียงเท่านี้ครับ


ขอบคุณครับ


ตอบ......
ข้าพเจัาอ่านเองยังเวียนหัวเลย อิ อิ อิ อิ ล้อเล่นนะคุณ
ไม่ต้องสรุปดอกขอรับ เนื้อหาชัดเจน และหนักแน่นอยู่แล้ว
เพียงแต่มันยาว ต้องจำตั้งแต่เริ่มอ่าน พออ่านไปแล้วก็ต้องจำที่อ่านมาแล้วด้วย
คือ ต้องทำความเข้าใจ ไปที่ละบท ที่ละตอน ขอรับ ถ้าคุณไม่เข้าใจบทไหนตอนไหน ก็ยกมาถาม ข้าพเจ้าจะอธิบายให้ได้ทำความเข้าใจ ความรู้ที่ควรให้ ไม่มีหวงขอรับ แต่ที่หวงก็มี ก็เลยไม่ตอบ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ค.2008, 6:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จากที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่า สมาธิ นั้น มีอยู่ในตัวมนุษย์ โดยธรรมชาติอยู่แล้ว นั่นเป็นเพราะสภาพแวดล้อม การได้รับการขัดเกลาทางสังคม และอื่นๆ ทำให้มนุษย์มีสมาธิ

สมาธิแปลว่าที่ตั้งมั่นแห่งจิต ในทางพุทธศาสนามีการสอนการทำสมาธิ เรียกว่า กรรมฐาน หรือสมาธิภานา เจตนาเพื่อโลกุตร คื่อการหลุดพ้น

มิใช่เกิดจากการขัดเกลาของสังคมที่ทำให้เกิดสมาธิ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ค.2008, 6:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยกเว้น ได้รับการสัมผัสที่ผิดปกติหรือผิดแผกไปจากการดำรงชีวิตปกติทั่วไป เช่นตกใจ เมื่อได้ประสบเหตุการณ์ บางอย่าง ไม่ว่าจะด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือ ใจ อันนี้ความรู้สึกตัว หรือ สัมปชัญญะ ก็จะไปกระตุ้นให้เกิดความคิด ซึ่งในทางพุทธศาสนาเรียกว่า สติ

ที่ผจ้าของกระทู้ยกตัวอย่าง คื่อสัญชาติญาณ


ขอยกเอาตัวอย่างหนึ่งที่เป็นสติในทางพุทธศาสนา ซึงเป็นคนละเนื้อหากับเจ้าของกระทู้

สติ
สติ(ความระลึกได้) เป็นอนัตตาดั่งเช่นธรรมทั้งหลายทั้งปวง ดังนั้น สติจึงทำให้เกิดขึ้นไม่ได้และไม่สามารถกำหนดให้เกิดได้ แต่สติจะเกิดได้ต้องมีเหตุ และเหตุที่ทำให้สติเกิดคือ จิตจำสภาวะธรรมได้แม่นยำ (อ้างจาก คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ)จิตจะจำสภาวะธรรมได้แม่นยำ ก็เมื่อเราหมั่นตามรู้กายตามรู้ใจเนืองๆ ด้วยความเป็นกลาง กล่าวคือ เมื่อสภาวะใดๆเกิดขึ้นที่จิต เช่น ความโกรธ ความชอบ ความรัก ความหลงไปคิด ความกลัว ความอิจฉา ไม่ว่าสภาวะธรรมใดๆทั้งฝ่ายกุศล(ดี) และฝ่ายอกุศล(ชั่ว) เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ให้หมั่นตามรู้เนืองๆด้วยใจที่เป็นกลาง การหมั่นตามรู้เนืองๆนี้เอง จะทำให้จิตจำสภาวะธรรมได้แม่นยำ(เรียกเป็นบาลีว่า ถิรสัญญา) แล้วเป็นเหตุให้สติเกิด คือเมื่อสภาวะธรรมนั้นๆเกิดขึ้น และจิตจำสภาวะธรรมนั้นได้ สติ(ความระลึกได้)จะเกิดเอง

การหมั่นตามรู้เนืองๆ เป็นจุดสำคัญและถือเป็นการเจริญภาวนาที่เรียบง่ายและสัดสั้นที่สุด มนุษย์เราทั่วทั้งโลกเคยชินกับการหาความรู้ด้วยการฟัง การอ่าน (สุตมยปัญญา) หรือ การคิดวิเคราะห์เอา (จินตามยปัญญา)แต่การหาความรู้ในทางพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดคือ การคอยตามรู้ตามความเป็นจริงถึงสภาวะใดๆที่เกิดขึ้นกับกายกับใจด้วยความเป็นกลาง เมื่อตามรู้บ่อยๆด้วยใจที่เป็นกลาง เช่น เมื่อเกิดความโกรธ ก็รู้ว่าโกรธ เกิดความอยาก ก็รู้ว่าอยาก เกิดหลงไปคิดก็รู้ว่าหลงไปคิด เกิดความสุขก็รู้ว่าเกิดความสุข เกิดความทุกข์ก็รู้ว่าเกิดความทุกข์ เช่นนี้ เมื่อตามรู้ซ้ำๆบ่อยๆจนจิตจำสภาวะธรรมได้แม่นยำ จะทำให้สติเกิดขึ้นกับจิต เมื่อสติเกิดบ่อยๆ ก็ทำให้จิตมีความสุข เมื่อเกิดความสุขบ่อยๆ ก็จะทำให้จิตตั้งมั่นเกิดสัมมาสมาธิ เมื่อเกิดสัมมาสมาธิบ่อยๆ ก็เป็นเหตุให้เกิดปัญญาเห็นความจริงของกายของใจ ว่า มันไม่เที่ยง(อนิจจัง) มันไม่สามารถคงทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอด(ทุกขัง)และมันไม่มีตัวตนของใครบังคับมันไม่ได้(อนัตตา)การได้เห็นความจริงเช่นนี้ก็คือการหาความรู้ด้วยการตามรู้บ่อย หรือที่เรียกเป็นบาลีว่า ภาวนามยปัญญา

การเห็นความจริงของกายของใจว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตาบ่อยๆจนจิตตัดสินความรู้เองครั้งแรก ก็จะทำให้สักกายทิฏฐิคือความเห็นว่ามีตัวมีตนอยู่ถูกทำลาย ทำให้ผู้นั้นบรรลุโสดาปัตติมรรคเป็นพระโสดาบัน นี่เป็นปัญญาขั้นที่ทำลายความเห็นผิดว่ากายใจเป็นของตน หมั่นตามรู้กายใจต่อไปเรื่อยๆจนจิตตัดสินความรู้ครั้งที่สอง ก็จะทำให้กิเลส (กามราคะ และ โทสะ)เบาบางลง ทำให้ผู้นั้นบรรลุสกิทาคามิมรรคเป็นพระสกิทาคามี จากนั้นหมั่นตามรู้กายใจต่อไปเรื่อยๆจนจิตตัดสินความรู้ครั้งที่สาม ก็จะสามารถละ กามราคะและโทสะได้สมบูรณ์ ทำให้ผู้นั้นบรรลุอนาคามิมรรคเป็นพระอนาคามี และเมื่อตามรู้กายตามรู้ใจเนืองๆต่อไปอีกจนจิตตัดสินความรู้ครั้งที่สี่ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย จิตจะทำลาย ความฟุ้งซ่าน(อุทธัจจะ) ความถือตัว(มานะ) ความเพลิดเพลินพอใจในรูป (รูปราคะ) ความเพลิดเพลินพอใจในอรูป(อรูปราคะ)และอวิชชา (ความไม่รู้ความจริงทั้งสี่-อริจสัจจ์สี่)ได้อย่างราบคาบ เป็นการจบกิจที่ต้องกระทำอย่างสมบูรณ์ในพุทธศาสนา ผู้นั้นเรียกขานกันว่า พระอรหันต์ จิตจะพ้นจากทุกข์อย่างสิ้นเชิง

สติจึงถือเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ค.2008, 6:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(คัดความจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับพระธรรมปิฎก)

ส่วนใหนที่เป็นการคัดข้อความ

ส่วนใหนที่เป็นข้อเขียนของคุณเอง

ต้องอ้างให้ชัดเจน มิฉนั้นจะกลายเป็นแอบอ้าง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ค.2008, 7:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูด
แล้ว แม้นานได้ (ข้อ ๑ ในธรรมมีอุปการะมาก ๒, ข้อ ๓ ในพละ ๕, ข้อ ๑ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๖ ในสัทธรรม ๗, ข้อ
๙ ในนาถกรณธรรม ๑๐)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับพระธรรมปิฎก

ผมไปลองคลิ๊กจากของจริงมาให้ท่านผู้อ่านลองอ่านเปรียบเทียบกับกระทู้ข้างต้นดู

กระทู้ข้างต้นผู้อ้างอิงเหมือนมีเจตนาให้ผู้อ่านเข้าใจว่าข้อความกระทู้ทั้งหมดมาจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับพระธรรมปิฎก หรือเปล่า

ขอคำชี้แจงด้วย หรือท่านอาจนำมาจากที่ต่างจากนี้ ได้โปรดนำมาแสดง

เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ค.2008, 7:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใด
สิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ มักใช้เป็นคำเรียกง่ายๆ สำหรับ อธิจิตตสิกขา; ดู เอกัคคตา, อธิจิตตสิกขา

พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับพระธรรมปิฎก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
EQUANIMITY
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 07 ส.ค. 2008
ตอบ: 14
ที่อยู่ (จังหวัด): Ayudhya

ตอบตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2008, 8:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ "buddha" ม ึ งเป็นใคร มาใช้ชื่อว่า "Buddha" ไ อ ้ คนไม่มีศาสนา ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ระวังบาปกรรมจะกินหัว ม ึ ง นี่เว็บพระพุทธศาสนาซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข และเป็นศูนย์รวมใจของชาวพุทธทุกท่าน ม ึ ง มาจากสัตว์นรกขุึมไหนถึงได้ไม่รู้จัก หรือว่าจะตั้งตนเป็นศาสดาของศาสนาทั้งมวล ไ อ ้ นอกรีต พวกเดียรถีร์
 

_________________
ส.พุทธบุตร.
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 6:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

EQUANIMITY พิมพ์ว่า:
คุณ "buddha" ม ึ งเป็นใคร มาใช้ชื่อว่า "Buddha" ไ อ ้ คนไม่มีศาสนา ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ระวังบาปกรรมจะกินหัว ม ึ ง นี่เว็บพระพุทธศาสนาซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข และเป็นศูนย์รวมใจของชาวพุทธทุกท่าน ม ึ ง มาจากสัตว์นรกขุึมไหนถึงได้ไม่รู้จัก หรือว่าจะตั้งตนเป็นศาสดาของศาสนาทั้งมวล ไ อ ้ นอกรีต พวกเดียรถีร์


ละท่านคือใครครับ หากท่านสงสัยก็ใช้คำสุภาพหน่อยครับ เพราะข้อความของท่านกระทบกับจิตของผู้อ่านให้ขุ่นมัวครับ.... ตกใจ ตกใจ ตื่นเต้น ตื่นเต้น
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 6:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Bhudda เป็นคนดีครับ
เนื้อแท้เป็นคนดีมาก

เขาแค่สับสนนิดหน่อย อย่าไปเคืองเลยคับ
เอาเข้าจริง เขาสะอาดกว่าคนสติดีหลายคนแถวนี้

อ่านๆข้อความหลายๆอันดูสิ ของ bhudda อะ
หลายจะรู้ว่ามันชวนยิ้ม มากกว่าชวนเคือง

แรกๆผมก็เคืองแบบคุณ EQUANIMITY นั่นแหละ
เป้นฟืนเป็นไปเชียวละ


ปล. ภาษาหยาบเกินไปจริงๆ เห็นด้วย
เบาๆลงหน่อย
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 14 ส.ค. 2008, 8:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เจริญในธรรม กันดีกว่า สาธุ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง