ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
12 ก.ค.2008, 11:51 pm |
  |
พุทธทาสกล่าวว่า ไกวัลยธรรม นิพพาน พระเจ้า God เต๋า ปรมาตมัน ธรรมธาตุ เป็นสิ่งเดียวกัน
--------------------------------------------------------------------------------
เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจเรื่องสิ่งสูงสุดชัดเจนขึ้น ผมขอนำบทความเรื่องไกวัลยธรรมคัดจาก หนังสือ ไกวัลยธรรม
ของ พุทธทาสภิกขุมาลง
-๑-
ไกวัลยธรรม
คือสิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง
การบรรยายธรรมประจำวันเสาร์ ภาควิสาขบูชา พ.ศ. ๒๕๑๖ จักบรรยายเรื่อง "ไกวัลยธรรม" จุดมุ่งหมาย
ของการบรรยายธรรม ในวันเสาร์ เพื่อต้องการ ให้พุทธบริษัท ได้รู้ ในเรื่องที่ควรรู้ เพื่อยกฐานะ ของพุทธบริษัท
ให้สูงขึ้น ทั้งที่เป็น ส่วนของการปริยัติ และการปฏิบัติสิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ก่อน
สิ่งทั้งปวง และอยู่หลังสิ่งทั้งปวง ได้แก่ ธรรมชาติที่ไม่รู้จักเปลี่ยนแปลง.(๑)
คำว่า "ไกวัลย์" เป็นภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลีว่า "เกวะละ" แปลว่า "สิ้นเชิง" หมายถึง
"นิพพาน". (๒)
คำว่า "เกวะละ" หรือ "เกวลัง" ยังแปลได้อีก หลายความหมาย แต่โดยใจความ ระบุถึง "นิพพาน" คือ
- ความเต็มไปหมด ไม่มีที่ว่าง
- ความโดดเดี่ยวที่สุด
- ความแบ่งแยกซอยละเอียดถี่ยิบ
- ความแข็งเป็นดุ้นเป็นก้อนเดียว
- ความไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักเต็ม (๓)
ไกวัลย์มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง
สิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลย์" ไม่มีจุดเริ่มต้น และไม่มีความสิ้นสุด จึงอยู่ในฐานะที่เป็น สิ่งมีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง
และอยู่ภายหลังสิ่งทั้งปวง หมายความว่า สิ่งทั้งปวง มีความหมุนเวียน เปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น ตั้งอยู่
แล้วดับไป ท่ามกลาง อาณาจักรแห่งความไม่เปลี่ยนแปลงของ "ไกวัลย์" นั้น. (๔)
มีประโยชน์อะไรหรือ ในการที่จะต้องรู้จัก "ไกวัลย์"
คำตอบ - เพราะ ไกวัลย์ เป็นสิ่งตรงข้ามกับ สังขารทั้งปวง ในเมื่อสังขารทั้งปวง เป็นที่ตั้งของ
ความทุกข์ ครั้นนำความยึดมั่นในสังขารทั้งปวง ออกไปเสีย ก็จะพบความสุข ในที่เดียวกันอยู่ตรงนั้น
ในทำนองเดียวกัน เอาความร้อนออก พบความเย็น เอาความไม่เที่ยงออก พบความเที่ยง ดังนี้เป็นต้น
รวมความว่า เมื่อเอาสิ่งทั้งปวง ออกไปให้หมด ก็จะพบความว่าง คือ "ไกวัลยธรรม" (๕)
โดยที่แท้แล้ว ไกวัลยธรรม ก็คือสิ่งเดียวกันกับ สิ่งที่เรียกว่า อสังขตะ หรือ นิพพาน หรือ สุญญตา นั่นเอง
ฉะนั้น การรู้เรื่องนี้ การปฏิบัติเรื่องนี้ การเข้าถึงเรื่องนี้ ย่อมทำให้ความเป็นพุทธบริษัท สมบูรณ์ขึ้น (๖)
คำว่า "พุทธะ" แปลว่า "ผู้ตื่น" หมายถึง การตื่นขึ้นใน "ไกวัลยธรรม" อันเป็นการเข้ารวม เป็นอันเดียวกับ
กาลเวลา อย่างเต็มพื้นที่ เพราะ "ไกวัลย์" เป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ตลอดเวลา และมีอยู่ตลอดพื้นที่ "สิ่งทั้งปวง"
ที่ปรากฏขึ้นในไกวัลย์ เป็นเพียงสัตว์น้ำ ที่โผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำแห่งมหาสมุทร แล้วก็จมหายไป
หมายความว่า สิ่งใดที่เกิดมาทีหลัง ในไกวัลย์ ย่อมดับหายไป ในไกวัลย์ แต่ไกวัลย์ก็ยังมีสภาพ เป็นอย่างเดิม
ทั้งก่อน และ หลังสิ่งทั้งปวง ไม่เปลี่ยนแปลง อันความไม่เปลี่ยนแปลงนั้น เป็นสิ่งที่ทุกคน กำลังแสวงหา
อยู่แล้วมิใช่หรือ. (๗) |
|
แก้ไขล่าสุดโดย พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เมื่อ 13 ก.ค.2008, 12:09 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2008, 12:02 am |
  |
"ไกวัลย์" ทำให้มนุษย์ทุกคนเป็นมิตรกันหมด
การกำหนดว่า เป็นเราเป็นเขา เป็นของเราของเขา จะทำให้ เกิดการแบ่งแยก เมื่อมีการแบ่งแยก
การแย่งชิงผลประโยชน์กัน ก็เกิดขึ้น ทำให้คิดเห็นแต่ ประโยชน์ตน พร้อมกันนั้น ก็มีการเบียดเบียน
ทำลายประโยชน์ผู้อื่น ความเป็นศัตรูกัน ก็เกิดขึ้น ด้วยการไปยึดถือ เอาสิ่งเล็กน้อย ที่เปลี่ยนแปลง
อันเป็น ประดุจ ฟองคลื่นแห่งไกวัลย์ แต่ถ้ามีการเข้าถึงสิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลย์" อันเปรียบด้วยแผ่นน้ำ
อันกว้างใหญ่ ของมหาสมุทรแล้ว จะทำให้เห็นว่า ทุกคน ย่อมเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่อาจแบ่งแยก
ออกจากกันได้เลย แล้วความรัก ความเมตตา ความเป็นมิตร กับผู้อื่น ก็เกิดขึ้น. (๘)
แม้การทะเลาะวิวาทกัน ในระหว่างศาสนา ก็พลอยสิ้นสุด ลงไปด้วย เพราะ "ไกวัลยธรรม"
คือสภาวะที่เป็นหนึ่งเดียวอันเต็มเปี่ยม และมีอยู่ทั่วไป ในทุกหนทุกแห่ง นั่นคือ ย่อมมีอยู่ ในทุกศาสนาด้วย
ใครก็ตาม เมื่อเข้าถึงความหมาย ของศาสนาแห่งตนแล้ว ย่อมทำให้เห็น ตรงกันว่า ในโลกนี้ มีเพียงศาสนาเดียว
คือ "ศาสนาแห่งไกวัลย์" ไม่ต้องมีการแบ่งแยก ตามชื่อสมมติ ที่ใช้เรียกศาสนา โดยเหตุนี้ จึงทำให้สามารถ
ปิดประตู การทะเลาะวิวาท อันเนื่องมาจาก การถือศาสนาเสียได้ แล้วการแยกนิกาย ของแต่ละศาสนา
ก็จะไม่เกิดขึ้น ที่ใดมีการแบ่งแยก ที่นั่นแสดงว่า มีการรู้ไม่จริง เป็นลักษณะ แห่งการไร้เดียงสา
ของผู้นับถือศาสนานั้นๆ (๙)
โดยเฉพาะพุทธบริษัท ควรมองศาสนาอื่น ในฐานะที่ว่า เป็นเครื่องมือ ดับทุกข์ระดับหนึ่ง ด้วยกันทั้งนั้น
จึงจะชื่อว่า เป็นผู้มอง ด้วยความหมายของ "ไกวัลย์" เมื่อมีความเข้าใจใน "ไกวัลย์" ในความหมาย
ที่ทำให้ทุกคน และทุกศาสนา เป็นมิตรกัน อย่างนี้แล้ว ย่อมเป็นการง่าย ที่จะเข้าถึง สุญญตา หรือ นิพพาน
หรือ อสังขตธรรม ในทางพุทธศาสนา. (๑๐)
ในความหมายที่กล่าวถึง "พระเจ้า" ในฐานะเป็นผู้สร้างสิ่งทั้งปวง ก็ควรหมายถึง "ไกวัลย์" เพราะว่า
เป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง และสิ่งทั้งปวงก็ออกมาจาก "ไกวัลย์" อาศัยไกวัลย์ตั้งอยู่ ในลักษณะอย่างนี้
ย่อมกล่าวได้ว่า ไกวัลย์ เป็นมารดา ของสิ่งทั้งปวง สิ่งทั้งหลายทั้งปวง เป็นลูก ที่คลอดออกมาจากไกวัลย์
เปรียบด้วย ฟองน้ำ อันเกิดจากน้ำ ฉันใด ก็ฉันนั้น. (๑๑)
ธรรมะในฐานะเป็นลูก ย่อมอยู่ในสภาพ ที่เกิดขึ้น แล้วดับหายไป ทำนองเดียวกับ ฟองน้ำ แต่ธรรมะ
ในฐานะเป็นแม่ เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่มีอยู่ได้เอง ตลอดอนันตกาล คือ
กาลเวลาอันไม่สิ้นสุด และอนันตเทศ คือพื้นที่อันไม่สิ้นสุด. (๑๒)
การที่มนุษย์ไม่อาจเข้าถึง "ไกวัลย์" ได้ ก็เพราะมัวหลงใหลมัวเมา อยู่กับ ฟองน้ำ หรือ ฟองคลื่นแห่งวัฏฏสงสาร
อันสำเร็จมาจาก การตกจม อยู่ในรสอร่อย ทางเนื้อหนัง ได้แก่ รสอร่อย ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น
ทางกาย ทำให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง ความยึดมั่นถือมั่น อันเป็นตัว สร้างความทุกข์ สร้างปัญหา
ให้เกิดขึ้น ทั้งแก่ตนเอง และผู้อื่น เมื่อมนุษย์สามารถ รู้จัก และเข้าถึง "ไกวัลยธรรม" แล้ว จะทำให้
สามารถ แก้ปัญหา แห่งความทุกข์ ได้ทุกปัญหา และมีความเป็นมิตร หรือ เป็นอันเดียวกับทุกคน เพราะ
"ไกวัลยธรรม" เป็นทั้งหมด ของทุกสิ่ง. นี่คือ ความจำเป็น ที่จะต้องศึกษา ให้รู้จัก "ไกวัลยธรรม" เพื่อสร้าง
ความเป็นมิตร ให้เกิดขึ้น. (๑๓)
ความหมายของคำว่า "ไกวัลยธรรม"
ร่องรอยของ สิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" ที่อยู่ในรูป พระพุทธภาษิต อันขึ้นต้น ด้วยคำว่า "อุปฺปาทา
วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ, อนุปฺปทา วา ตถาคตานํ" อย่างนี้ มีอยู่ ๒ ชุด ชุดหนึ่งหมายถึง "ไตรลักษณ์"
คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อีกชุดหนึ่งหมายถึง "อิทัปปัจจยตา" คือ ปฏิจจสมุปบาท ดังปรากฏจากพระไตรปิฎก
ดังนี้ -
อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ, อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ.
- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ตถาคตทั้งหลายจะเกิดขึ้นก็ตาม พระตถาคตทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้นก็ตาม
ฐิตา ว สา ธาตุ - ธรรมธาตุนั้น ตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว
ธมฺมฎฐิตตา ธมฺมนิยามตา
- ตั้งอยู่ในฐานะเป็นธรรมดาแห่งธรรม เป็นกฏตายตัวแห่งธรรม
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา ติ.
-ว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง.
ดังนี้เป็นต้น นี้อย่างหนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับไตรลักษณ์. (๑๔)
อีกอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่อง อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท มีบาลีที่ขึ้นต้นอย่างเดียวกัน คือ
อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ, อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ.
- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ตถาคตทั้งหลายจะเกิดขึ้นก็ตาม พระตถาคตทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้นก็ตาม
ฐิตา ว สา ธาตุ - ธรรมธาตุนั้น ตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว
ธมฺมฏฐิตตา - ตั้งอยู่ในฐานะเป็นธรรมดาแห่งธรรม
ธมฺมนิยามตา - เป็นกฏตายตัวแห่งธรรม
อิทปฺปจฺจยตา - ความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ ย่อมเกิดขึ้น
อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา ติ. - ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงเกิดขึ้น.
ดังนี้เป็นต้น นี่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท. (๑๕)
ในความหมายนี้ เมื่อกล่าวโดยสรุป ก็ได้แก่ความหมายตามคำต่างๆ เหล่านี้ คือ -
ตถตา
อวิตถตา
อนญฺญถตา
อิทปฺปจฺจยตา
- ความเป็นอย่างนั้น
- ความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
- ความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
- แต่จะเป็นไปตามความที่ "เมื่อมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น".
(ต่อ)
เมื่อพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว ทุกท่านจะพบ ด้วยตนเองว่า ทุกคำ มีความหมาย ระบุถึง สิ่งเดียวกัน คือ
สิ่งที่มีสภาวะเป็นหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่อย่างถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งนั้นแลที่ได้นามว่า "ไกวัลยธรรม". (๑๖)
คำว่า "ตถาคต" แปลว่า "มาอย่างไร ไปอย่างนั้น" ถ้าหมายถึง พระพุทธเจ้า ก็กล่าวได้ว่า
"มาอย่างพระพุทธเจ้า ไปอย่างพระพุทธเจ้า" ทีนี้ ในความหมายที่ พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้น หรือไม่ก็ตาม
สิ่งที่เรียก "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่แล้วอย่างนั้น (ฐิตา ว สา ธาตุ) ไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่เป็นตถาคตทั้งหลาย
จะเปลี่ยนแปลง ไปอย่างใด มันก็ยัง ตั้งอยู่อย่างนั้น อย่างไม่ฟังเสียงใคร. (๑๗)
เมื่อถือเอาความหมาย ของคำว่า "ตถาคต" ว่า "มาอย่างไร ไปอย่างนั้น" ก็มีความหมาย รวมไปถึง สัตว์ทั้งหลายด้วย
คือ "มาอย่างสัตว์ ไปอย่างสัตว์" เมื่อมี การมา ก็ย่อมคู่กับ การไป อันนี้ยังเป็นไป ตามลักษณะของการปรุงแต่ง
ฉะนั้น องค์พระพุทธเจ้า ในความหมายของ ตถาคต คงหมายถึง การปรากฏขึ้น โดยรูปธรรม อันอยู่ในกฏที่ว่า
"สิ่งใดเกิด สิ่งนั้นดับ" เมื่อกล่าวถึง การเกิดขึ้น ของพระพุทธเจ้า ก็ย่อมมีการดับไป ของพระพุทธเจ้า
อันเป็นส่วนของ รูปธรรม เช่นเดียวกับ สิ่งทั้งหลายที่มี "การเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป". (๑๘)
หมายความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเกิดขึ้นในโลก กี่ล้านองค์ ก็ตาม แต่ "ธาตุนั้นก็ยังตั้งอยู่อย่างนั้น"
ไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งนั้น จึงมิใช่พระพุทธเจ้า หรือตถาคต แต่ผู้ใดมาพบสิ่งนั้นเข้า จะได้นามว่า เป็น "พระพุทธเจ้า"
สิ่งนั้นคือ "ไกวัลยธรรม" อันเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ ตลอดกาล. (๑๙)
ศึกษาสิ่งทั้งหลายในแง่วิทยาศาสตร์
"ไกวัลยธรรม" ตั้งอยู่ในฐานะที่เป็น "กฏ" อันเป็นที่รองรับ ปรากฏการณ์ ของสิ่งทั้งปวง โลก ดวงอาทิตย์
ดวงจันทร์ รวมทั้งสิ่งทั้งปวง ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ใน "กฏ" อันนี้ ด้วยอำนาจของ อิทัปปัจจยตา
ซึ่งตั้งอยู่ ในฐานะเป็น ไกวัลยธรรม นั่นคือ เพราะมี ไกวัลยธรรม สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ได้อาศัยเกิดขึ้น
รวมทั้งพระพุทธเจ้า ด้วย. (๒๐)
สิ่งที่เรียกว่า "พระเจ้า" ก็ควรหมายถึง "กฏ" อันนี้ ในฐานะที่เป็น สิ่งตั้งอยู่ตลอดกาล แล้วสิ่งทั้งปวงก็ปรากฏขึ้น
ด้วยอำนาจแห่งพระเจ้า ฉะนั้น "พระเจ้า" ที่แท้จริง ควรหมายถึง "ไกวัลยธรรม"
อันมีชื่อเรียกรวมไปว่า "ธรรมธาตุ" แปลว่า "ความมีอยู่แห่งธรรม". (๒๑)
คำว่า "ธา-ตุ" แปลว่า "ทรงตัวอยู่" หมายถึงการทรงอยู่อย่างถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ สิ่งที่เรียกว่า
"ไกวัลยธรรม" นั่นเอง สิ่งนอกนั้น เป็นเพียง ปฏิกิริยา ที่ถูกปรุงแต่ง ขึ้นมา มีการเกิดขึ้น แล้วดับไป เป็น
ลักษณะของ การทรงตัวอยู่ ของความเปลี่ยนแปลง อันปรากฏอยู่ ในที่เดียวกัน ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า
จะพบความ ไม่เปลี่ยนแปลงได้ ตรงที่มี ความเปลี่ยนแปลง พิจารณาเห็น ความเปลี่ยนแปลง ตามเป็นจริง
แล้วปล่อยวาง ความเปลี่ยนแปลง เสีย ก็จะพบ ความไม่เปลี่ยนแปลง ที่ตรงนั้น ดังที่พระพุทธองค์
ตรัสว่า "จะพบพระพุทธเจ้าได้ ที่ความแก่ ความเจ็บ ความตาย"ดังนี้. (๒๒)
ในเมื่อ "ไกวัลยธรรม" ตั้งอยู่ในฐานะเป็น "ธรรมธาตุ" ที่ไม่เปลี่ยนแปลง โดยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
"ตถาคตจะเกิดหรือไม่เกิดก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือ ตั้งอยู่ตลอดกาล". (๒๓)
สมัยพุทธกาล มีผู้พบ "สิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง" มนุษย์มีสัญชาติญาณ ที่ตรงกันอยู่อย่างหนึ่งคือ มีความสนใจ
ที่จะรู้จักต้นตอ หรือ "ปฐมเหตุ" ของสิ่งทั้งปวง เมื่อพบแล้ว ก็ให้ชื่อเรียก ไปต่างๆกัน เช่น เต๋า พระเจ้า
หรือ ปรมาตมัน เป็นต้น. (๒๔)
ในทางพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสเรียก ปฐมเหตุของสิ่งทั้งปวงว่า "ธรรมธาตุ" ได้แก่ความจริง
ที่เป็น อสังขตธรรม คือสิ่งที่เหตุปัจจัย ปรุงแต่งไม่ได้ กฏอันนี้ เป็นกฏที่ตั้งขึ้นโดยธรรมชาติ
เรียกว่า "กฏอิทัปปัจจยตา" มันเป็นตัวของมันเอง มันแต่งตั้งตัวของมันเอง แล้วมันบังคับสิ่งทั้งปวงด้วย
ตั้งอยู่ในฐานะที่เรียกได้ว่า เป็น "ปฐมเหตุ". (๒๕)
ในยุคเดียวกับพระพุทธเจ้า ทางประเทศจีน มีบุคคลสำคัญผู้หนึ่งนามว่า "เหลาจื๊อ" ได้บัญญัติคำสอน
เกี่ยวกับ "เต๋า" เอาไว้ว่า มีสิ่งอยู่สิ่งหนึ่ง มีอยู่ก่อนโลก ไม่ใช่วัตถุ ไม่ใช่จิตใจ สิ่งนั้นเรียกว่า สิ่งนั้นเรียกว่า
"เต๋า" อันหมายถึงสิ่งที่มีอยู่ก่อนโลกเกิด แล้วคำว่า "เต๋า" นี้ มีคำแปลตรงกับคำว่า "ธรรม". (๒๖)
ในประเทศอินเดีย มีสิ่งที่เรียกว่า "ปรมาตมัน" สิ่งนี้ก็บัญญัติขึ้น เพื่อแสดงถึง สภาพที่มีอยู่ตลอดกาล
แล้วสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งหลายนั้น ล้วนแยกออกไป จากปรมาตมัน ทั้งสิ้น สิ่งที่แยกออกไปนั้น เรียก
"อาตมัน" ครั้นภาวะของ อาตมัน สิ้นสุดลง ตามเหตุตามปัจจัย ก็กลับไปรวมกับ ปรมาตมัน ตามเดิม. (๒๗)
ในดินแดนปาเลสไตน์ ของพวกยิว ก่อนที่จะเกิด ศาสนาคริสเตียน ซึ่งนับได้ว่า เป็นยุคเดียวกันกับ พุทธศาสนา
ก็มีคำพูด ที่เรียกสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งมีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง เรียกว่า "พระเจ้า" หรือ "God-ก๊อด" ตรงกับ "กฏ"
ที่หมายถึง ในพระพุทธศาสนา. (๒๘)
ครั้นมาถึง สมัยศาสนาคริสเตียน เกิดหลังพระพุทธศาสนา ประมาณ ๕๐๐ ปี ก็มีการรับรองว่า God หรือพระเจ้า
เป็นสิ่งที่ "มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง" คือ มีอยู่ตลอดอนันตกาล สิ่งทั้งปวงนั้น ถูกสร้างขึ้น ด้วยน้ำมือของพระเจ้าทั้งสิ้น อันมีลักษณะ ที่ตรงกันกับ สิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม". (๒๙)
ยังมีลัทธิเบ็ดเตล็ด อีกหลายแขนง ที่ล้วนแสดง ให้เห็นว่า คนยุคนั้น ได้ยอมรับ ตรงกันไปหมดว่า
มันมีอยู่สิ่งหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง และเป็นที่มาของสิ่งทั้งปวง อันปรากฏขึ้นในโลก
แต่สิ่งนั้นไม่เปลี่ยนแปลง ไปตามสิ่งทั้งปวง นับเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ ตลอดอนันตกาล. (๓๐)
นี่แสดงว่า "ไกวัลยธรรม" หรือ "สิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง" ในความหมายทั่วไป มิใช่มีเฉพาะแต่ใน
พระพุทธศาสนา ย่อมมีอยู่ทั่วไปในลัทธิต่างๆ ดังกล่าวมา ฉะนั้น โดยหลักใหญ่ ในศาสนาต่างๆ มิได้ปฏิเสธ
"สิ่งนี้" อาจมี แตกต่างกันไปบ้าง ในส่วนปลีกย่อย ที่ไม่สำคัญเท่านั้น. (๓๑)
เมื่อรู้ว่า "ไกวัลยธรรม" เป็นตัวแม่ดั้งเดิม ของทุกสิ่ง อันมีสภาพที่ไม่รู้จัก เกิดแก่เจ็บตาย ก็จะทำให้เห็นว่า
สรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต เป็นเหมือน ฟองน้ำ หรือ เกลียวคลื่น ที่กำลังโลดแล่น
อยู่บนพื้นผิวของทะเล เท่านั้น คือ ตกอยู่ภายใต้ของ สภาพแห่งความเปลี่ยนแปลง อย่างเท่าเทียมกัน
ถ้ารู้ได้อย่างนี้ จะทำให้ ไม่มีการทะเลาะวิวาทกัน ทั้งในส่วนบุคคล และส่วนสังคม และยิ่งกว่านั้น
จะทำให้เกิดความพอใจ ต่อการที่จะกลับคืน สู่สภาวะเดิม อันเป็นที่สิ้นสุด แห่งความทุกข์ คือ ความไม่เกิด
ไม่แก่ ไม่เจ็บ และไม่ตาย อีกต่อไป. (๓๒)
วิถีทางที่จะนำไปสู่ สภาวะเดิม ได้แก่ ความรู้เรื่องไตรลักษณ์ เรื่องปฏิจจสมุปบาท เรื่องอริยสัจจ์
ซึ่งเป็นกฏเกณฑ์ อันเดียวกัน ที่สำเร็จมาจาก กฏ "อิทัปปัจจยตา" ฉะนั้น การรู้เรื่องอิทัปปัจจยตา
จึงเป็นการง่ายที่จะเข้าถึง "ไกวัลยธรรม" เพราะมันเป็นสิ่งเดียวกัน โดยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า การรู้จัก
ไกวัลยธรรม ย่อมทำให้รู้จัก สิ่งทั้งหมด ในพระพุทธศาสนา "รู้หนึ่ง รู้หมด". (๓๓)
ทั้งหมดนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งที่มีก่อน และหลังสิ่งทั้งปวง การเข้าถึงไกวัลยธรรม
ก็ต้องอาศัย สิ่งทั้งปวงนั้น นั่นเอง เป็นสะพานหรือ เป็นตัวกำหนด ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่จะคิดกลับบ้านเดิม กันเสียที. (๓๔) |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2008, 6:14 am |
  |
๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=5846&Z=5888&pagebreak=0
[๕๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ
เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่
ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อ
ใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด
ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรม-
*ชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก
ตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น
เมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๕๘๔๖ - ๕๘๘๘. หน้าที่ ๒๔๖ - ๒๔๗.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=5846&Z=5888&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=531
---------------------------------------------------------------
๗. อาณิสูตร
[๖๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่า
ทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมา
โครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก
มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟัง
จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษา
แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มี
อักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต อยู่ จัก
ปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญ
ธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ
[๖๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้ว
อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธาน
ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขา
กล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบ
ด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่ง
จิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
จบสูตรที่ ๗
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๗๐๔๖ - ๗๐๖๖. หน้าที่ ๓๐๒.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=7046&Z=7066&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=672
---------------------------------------------------
เจ้าของกระทู้ได้นำ คำสอนที่เป็น สัทธรรมปฏิรูปมาเผยแพร่แล้ว
ท่านพุทธทาส มักจะอ้างว่า พระไตรปิฏกถูกปลอมปนโดยอรรถกถาจารย์ แต่ตัวท่านเองต่างหาก ที่นำสิ่งปลอมปนมาสู่พระพุทธศาสนา |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2008, 12:02 pm |
  |
คุณ"เฉลิมศักดิ์1" ครับ
ช่วงเวลาในชีวิตของท่านพุทธทาสมีหลายตอนนะครับ ท่านพุทธทาสทำสัทธรรมปฏิรูปในช่วงต้น
และช่วงกลางของชีวต แต่ในช่วงปลายของชีวิต ท่านได้เห็นดวงตาธรรมระดับหนึ่ง แต่ทว่าตำรา
ที่ท่านพิมพ์ออกมาได้ถูกเผยแพร่ไปหมดแล้ว ข้อเขียนของพุทธทางที่ผมนำมาลงเป็นช่วงสุดท้าย
ตอนที่ท่านเข้าใจศาสนาต่างๆแล้ว
คุณกับผมก็เหมือนกัน เรามีช่วงต้น ช่วงกลาง และช่วงปลายของชีวิต ความคิดและปัญญาของเรา
ในแต่ละช่วงไม่เหมือนกัน
ที่ท่านพุทธทาส อ้างว่า พระไตรปิฏกถูกปลอมปนโดยอรรถกถาจารย์ แต่ตัวท่านเองต่างหาก
ที่นำสิ่งปลอมปนมาสู่พระพุทธศาสนา เราควรให้อภัยท่าน ตอนนั้นท่านยังไม่เข้าใจศาสนาอย่างดีพอ |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2008, 12:10 pm |
  |
คุณ"เฉลิมศักดิ์1" ครับ
ตอนที่ท่านพุทธทาสเริ่มเข้าใจพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง คือ ตอนที่ท่านรู้ความจริงว่า วิญญาณสืบเนื่องไปได้
แม้ว่าตายไปแล้ว แสดงว่าการสืบพบ สิบชาติต่อไปมีจริง กฎแห่งกรรมข้ามพบข้ามชาติได้ ไม่ใช่แค่
สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ กฎแห้งกรรมก็ไม่ใช่อยู่ที่ชาตินี้อย่างเดียว มันสืบเนื่องต่อๆไป |
|
|
|
  |
 |
RARM
บัวบาน

เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2008, 12:37 pm |
  |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พลศักดิ์ วังวิวัฒน์พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
เรียนถาม
สัทธรรมปฏิรูป หมายเอาธรรมประเภทไหน |
|
|
|
  |
 |
dd
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2008
ตอบ: 179
ที่อยู่ (จังหวัด): overseas
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2008, 2:52 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
สิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลย์" ไม่มีจุดเริ่มต้น และไม่มีความสิ้นสุด จึงอยู่ในฐานะที่เป็น สิ่งมีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง
และอยู่ภายหลังสิ่งทั้งปวง หมายความว่า สิ่งทั้งปวง มีความหมุนเวียน เปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น ตั้งอยู่
แล้วดับไป ท่ามกลาง อาณาจักรแห่งความไม่เปลี่ยนแปลงของ "ไกวัลย์" นั้น. (๔) |
ดูท่าจะขัดแย้งกันเองแล้วในประโยคนี้
ลองคิดดูว่าในเมื่อนิพพานมีอยู่ก่อนแล้วเหตุไฉนจึงปรากฏสังขาร (=สิ่งทั้งปวง)
ขึ้นมาได้ล่ะ???
ช่วยอธิบายด้วยครับเพื่อผมจะได้เข้าใจ  |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2008, 6:39 pm |
  |
RARM พิมพ์ว่า: |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พลศักดิ์ วังวิวัฒน์พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
เรียนถาม
สัทธรรมปฏิรูป หมายเอาธรรมประเภทไหน |
ผมขอแยกไปตั้งกระทู้ใหม่นะครับ เรื่อง ระวัง ! ช่วยกันป้องกันพุทธศาสนาไม่ให้กลายเป็นสัทธรรมปฏิรูป ไม่อยากฉีกประเด็นออกไป |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2008, 7:04 pm |
  |
นิพพานสูตรที่ 3 จาก พระสุตตันตปิฎก เล่ม 17 ขุททกนิกาย อุทาน- ปาฏลิคามิยวรรคที่ 8 เขียนไว้ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้วอันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว
จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่
ฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้วจึงปรากฏ ฯ
พระสูตรบทนี้แสดงให้เห็นเป็นนัยๆว่า นิพพานหรืออสังขตธาตุ เป็นผู้ทำให้เกิดโลกและทุกสิ่งที่เป็นสังขตธาตุ
เนื่องจาก ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิด ไม่เป็น อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว การสลัดออกจากสังขตธาตุ
จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย |
|
|
|
  |
 |
human
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 01 พ.ย. 2006
ตอบ: 41
|
ตอบเมื่อ:
15 ก.ค.2008, 9:05 am |
  |
ศาสนาพราหมณ์ มีปรมาตมันจริงครับ แต่ผมสงสัยว่า ในศาสนาพราหมณ์ มีการพิจารณาถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ครบทั้ง 3 อย่างด้วยหรือครับ ผมคิดว่ามีเพียง 2 อย่างนะครับ คือ อนิจจัง ทุกขัง ถ้าพิจารณาไม่ครบทั้ง 3 อย่าง จะได้บรรลุพระนิพพานหรือครับ ในศาสนาพราหมณ์มีนักบวชพราหมณ์คนไหนบ้างที่บรรลุนิพพานด้วยตนเอง เห็นมีแต่พระพุทธเจ้าไปโปรดให้บรรลุทั้งนั้น ศาสนาที่สอนได้ครบ 3 อย่าง มีแต่พุทธเท่านั้นนะครับ ที่สอนคนให้บรรลุพระนิพพานโดยการปฏิบัติของจริง อธิบายให้ผมฟังโดยกระจ่างด้วยครับ? |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
15 ก.ค.2008, 10:03 am |
  |
human พิมพ์ว่า: |
ศาสนาพราหมณ์ มีปรมาตมันจริงครับ แต่ผมสงสัยว่า ในศาสนาพราหมณ์ มีการพิจารณาถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ครบทั้ง 3 อย่างด้วยหรือครับ ผมคิดว่ามีเพียง 2 อย่างนะครับ คือ อนิจจัง ทุกขัง ถ้าพิจารณาไม่ครบทั้ง 3 อย่าง จะได้บรรลุพระนิพพานหรือครับ ในศาสนาพราหมณ์มีนักบวชพราหมณ์คนไหนบ้างที่บรรลุนิพพานด้วยตนเอง เห็นมีแต่พระพุทธเจ้าไปโปรดให้บรรลุทั้งนั้น ศาสนาที่สอนได้ครบ 3 อย่าง มีแต่พุทธเท่านั้นนะครับ ที่สอนคนให้บรรลุพระนิพพานโดยการปฏิบัติของจริง อธิบายให้ผมฟังโดยกระจ่างด้วยครับ? |
แม้ว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ตั้งศาสนาพุทธ แต่พระองค์ท่าน คือ นักบวชของพราหมณ์ ตอนผนวชท่านมีนามว่า
มุนีสมณะ อาจารย์ 2 ท่านของพระองค์ ก็เป็นนักบวชพราหมณ์ ชื่อ อุทกดาบส และอาฬารดาบส
พระพุทธเจ้ามีจุดมุ่งหมายเหมือนนักบวชพราหมณ์อื่นๆ คือ ค้นหาโมกธรรมอันสุดยอด ที่ทำให้ไม่มี
การเกิด การแก่ การเจ็บ และการตาย ซึ่งพระพุทธเจ้าและพวกพราหมณ์ทั้งหมดคิดว่า โมกธรรมอันสุดยอด
นั้นคือ นิพพาน นิพพานก็คือ อาตมัน เข้าไปรวมกับปรมาตมัน ปรมาตมัน คือ พระเจ้า
อาตมัน คือ อณูแต่ละอณูของพระเจ้า
ความเข้าใจของคนในศาสนาพราหมณ์เขาถูกในเรื่องนี้ แต่ผิดในเรื่องอื่นๆ เช่น เรื่องขันธ์ 5 ที่ไม่ใช่อัตตา
แต่เป็นอนัตตา และอรูปพรหมยังไม่ใช่อาตมัน และอรูปพรหมยังไม่สามารถเข้าไปรวมกับปรมาตมัน(พระเจ้า)ได้
ปถุชนและสมมุติสงฆ์เถรวาทไม่เข้าใจเรื่องที่ผมกล่าวมา เนื่องจากถูกอวิชชาบังตาไว้ จึงไม่สามารถเข้าใจ
เรื่องนี้ (ผมขออนุญาตแยกไปตั้งกระทู้ใหม่นะครับ) |
|
|
|
  |
 |
dd
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2008
ตอบ: 179
ที่อยู่ (จังหวัด): overseas
|
ตอบเมื่อ:
27 ก.ค.2008, 3:39 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
พระสูตรบทนี้แสดงให้เห็นเป็นนัยๆว่า นิพพานหรืออสังขตธาตุ เป็นผู้ทำให้เกิดโลกและทุกสิ่งที่เป็นสังขตธาตุ |
ขอบคุณครับ
ถ้านิพพานเป็นเหตุให้เกิดโลกและสังขตธรรมแล้ว ผมจะหานิพพานไป
เพื่อประโยชน์อันใดครับ ? |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
27 ก.ค.2008, 4:55 pm |
  |
คุณddครับ
ถ้านิพพานเป็นเหตุให้เกิดโลกและสังขตธรรมแล้ว ผมจะหานิพพานไป
เพื่อประโยชน์อันใดครับ ?
คุณถามผิดครับ คุณต้องถามว่า พวกเราออกมาจากนิพพานทำไม? ออกมาเพื่ออะไร?
ผมตอบไปหลายแห่งแล้ว สรุปเลยนะครับ พวกเราเหล่าพระเจ้าหรือพุทธะออกมาจากนิพพานเพื่อ
1. ทดสอบดูว่าภพภิมิอื่นเป็นอย่างไร ถ้ามันดีกว่านิพพานบ้านของเรา เราก็อยู่ไป ทุกอย่างมัน
ต้องเปรียบเทียบครับ คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า นิพพานของเราดีที่สุด เราจะรู้ได้ ก็ต้องออกมาอยู่ในภูมิอื่นๆ
รู้เห็นด้วยตนเองว่า ทุกแห่งในจักรวาล มันล้วนไม่เที่ยง และมีทุกข์ เราจึงจะยอมเข้านิพพาน
2. ทดลองการใช้ขันธ์ 5 ในภพภูมิต่างๆ
3. ลองให้อิสระกับคัวเอง สามารถคิดปรุงแต่งได้ สามารถติดกิเลส อวิชชาได้ ทั้งนี้เพื่อ
เราจะได้ออกมาจากนิพพานของเรา
ที่สำคัญตอนนี้ คือ เราออกมาจากนิพพานแล้ว หาทางกลับบ้านของเราไม่ได้ต่างหาก |
|
|
|
  |
 |
นิรินธน์
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2008
ตอบ: 12
|
ตอบเมื่อ:
27 ก.ค.2008, 5:50 pm |
  |
จากกระทู้ พระพุทธเจ้ายังมีตัวตนอยู่
อ้างอิงจาก: |
2... หลักฐานในพระสูตรของมหายาน
พระพุทธเจ้าตรัสอย่างชัดเจนยิ่งกว่านี้อีก พระพุทธองค์ตรัสว่า
เราตถาคตได้ประกาศธรรมะ ให้ปวงสัตว์ทั้งหลายเข้าถึงสภาวะนิพพานตลอดมา เรามิได้สูญหายและมิได้สลาย หากแต่ดำรงอยู่ในโลกนี้ เพื่อประกาศสัจธรรมอยู่นิรันดร
หลวงปู่ตื้อ อมจลธมโน เทศน์ว่า
" มนุษย์ที่ได้เป็นพระอรหันต์ เข้านิพพานไปแล้ว พระนิพพานก็ยังมีอยู่ไม่เสื่อมสูญ พระพุทธเจ้าเข้า นิพพาน ก็มีอยู่ในพระนิพพานนั้นแล พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร พระอนุรุทธ พระอานนท์ เข้านิพพาน ก็มีอยู่ในพระนิพพานนั้นแล |
แล้วทำไมในกระทู้นี้ "พวกเราเหล่าพระเจ้าหรือพุทธะ จึงออกจากนิพพานแล้วหาทางกลับบ้านไม่เจอ" ??
ขอถามค่ะ
"พวกเรา" เป็นเหล่าพระเจ้าหรือพุทธะจริงหรือ
พวกเราหลงทางหรืออย่างไร
ทำไมพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ซึ่งเข้าถึงสภาวะนิพพานแล้ว จึงยังคงอยู่ ไม่เสื่อมสูญ และไม่หลงทางเหมือน "พวกเรา" เลย |
|
|
|
  |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
27 ก.ค.2008, 6:00 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
ปถุชนและสมมุติสงฆ์เถรวาทไม่เข้าใจเรื่องที่ผมกล่าวมา เนื่องจากถูกอวิชชาบังตาไว้ จึงไม่สามารถเข้าใจ
เรื่องนี้ (ผมขออนุญาตแยกไปตั้งกระทู้ใหม่นะครับ) |
แสดงว่าคุณพลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เป็นอริยบุคคล
ขอถามว่าคุณเป็นอริยบุคคลระดับไหน และบรรลุธรรมด้วยวิธีใด
ขอขั้นตอน และรายละเอียด
สมมุติสงฆ์เถรวาท หมายความว่าอาจาริยวาทไม่มีสมมุติสงฆ์ใช่ไหม
แล้วคุณเอาอะไรไปกำหนดว่าท่านใดเป็นสมมุติสงฆ์ ท่านใดเป็นพระอริยสงฆ์ |
|
|
|
   |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
27 ก.ค.2008, 6:07 pm |
  |
คุณ"นิรินธน์"ครับ
นิพพานเดิมที่เราอยู่ เรายังไม่เลยรับรู้สภาพภพภูมิอื่น ดังที่ผมบอกไป พวกเราไม่หลงทางหรอกครับ
ถ้าไม่หลงติดกับกับอวิชชาและกิเลส
แต่นิพพานชุดหลังนี้ เราจะออกมาเล่นเกมกันใหม้หรือเปล่าไม่รู้ เพราะกว่าทุกจิตที่ออกมาจาก
นิพพานจะกลับเข้าไปใหม่ได้หมด ก็กัวลปาวสาน นั่นแหละครับ
"พวกเรา" เป็นเหล่าพระเจ้าหรือพุทธะจริงหรือ[b]....ณ จุดที่คุณออกมา ใช่ครับ ตอนนั้น
จิตเราทั้งหมดเป็นปภัสสร
[/b]พวกเราหลงทางหรืออย่างไร[color=darkred].....หลวงปู่มั่นเทศน์ว่า เราเป็นพระอาทิตย์ มีเมฆมาบังเอาไว้เท่านั้น[/color]
ทำไมพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ซึ่งเข้าถึงสภาวะนิพพานแล้ว จึงยังคงอยู่ ไม่เสื่อมสูญ และไม่หลงทางเหมือน "พวกเรา" เลย[/quote]
....เกมนี้เพิ่งเล่นครั้งแรก กว่าจะจบเกมก็กัวลาปสาน พวกท่านเสร็จกิจแล้ว พวกท่านไม่เอา
ราคะ โทสะ โมหะ เข้ามาในจิตอีก ท่านก็ไม่หลงทาง และไม่มาเกิดอีก |
|
|
|
  |
 |
|