Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ขันธ์ 5 อีก---ขอวิธีปฏิบัติ ไม่เอาน้ำ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 5:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อเรารู้จักขันธ์แล้ว

เราจะต้องพิจารณาอย่างไร ครับ

ขอให้เพื่อนๆ พี่ ๆ ช่วยชี้แนะหน่อยนะครับ สาธุ
 


แก้ไขล่าสุดโดย RARM เมื่อ 06 ก.ค.2008, 5:46 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2008, 4:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขันธ์ ๕ คือ รูป นาม ต้องศึกษาให้ดีก่อน ว่าคืออะไร ?

จะนำมาเป็นอารมณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนา หรือ เจริญสติปัฏฐาน อย่างไร ?


จากที่ลานธรรมเสวนา ขันธ์ ๕ และ อุปาทานขันธ์ ต่างกันอย่างไร ?

http://larndham.net/index.php?showtopic=30217&st=0&hl=

รวมอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ นอกจาก ๕ ประการที่กล่าวมาแล้วไม่มีส่วนธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานได้เลย
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ปรากฏขึ้นพร้อม ๆ กันในอิริยาบถทั้ง ๔ คือ เดิน,นั่ง,ยืน,นอน และในการได้เห็น ได้ดม ได้กิน ได้กระทบ(ได้ยิน) ได้รู้ตลอดไปในทุกอารมณ์และอิริยาบถ
การที่ปรากฏพร้อม ๆ กันนั้น ต่อไปจะอธิบายในการเดินก่อน
ในการเดินนั้น อาการกิริยาที่ได้เดินไปนั้นนับเป็นรูปูปาทานขันธ์ได้เมื่อเราถือว่าการที่เดินไปได้ดีนั้นเป็นสุขเวทนา ถ้าไม่ดีเป็นทุกขเวทนา เมื่อไม่รู้สึกว่าดีว่าชั่วเป็นกลางคือเฉย ๆ นั้น เป็นอุเบกขาเวทนา ในทั้ง ๓ เวทนานี้ อันหนึ่งอันใดก็ดีเป็นเวทนูปาทานขันธ์ ความจำในการเดินนั้นเป็ยสัญญูปาทานขันธ์ ความชอบและไม่ชอบใจทั้ง ๒ ของการเดินนั้นเป็นสังขารูปาทานขันธ์ และความรู้ในการเดินนั้นเป็นวิญญาณูปาทานขันธ์ รวมในการเดิน เป็นอุปาทานขันธ์ ๕ ได้ดังนี้
ส่วนในอิริยาบถอื่น ๆ ก็เป็นทำนองเดียวกัน ส่วนทางตา ในการที่ว่าได้เห็นนั้น รูป และ จักษุ เรียกว่า รูปูปาทานขันธ์ การถือว่าดีและชั่วหรือเฉย ๆ เป็นเวทนูปาทานขันธ์ ความจำสีแดง สีดำ เป็นต้น คือ สัญญูปาทานขันธ์ ความชอบใจและไม่ชอบใจในรูปที่เห็นนั้น เป็นสังขารูปาทานขันธ์ และความรู้ในการเห็นนั้น เป็นวิญญาณูปาทานขันธ์ รวมในการเห็นเป็นอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ได้ ส่วนได้ยิน ได้ดม ได้กิน ได้ถูกต้อง ก็เป็นทำนองเดียวกัน
ข้อสำคัญ จงจำว่า คำว่ารูป ๆ นั้น เป็นรูปูปาทานขันธ์ คำว่านาม ๆ นั้น เป็นเวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ และ วิญญาณูปาทานขันธ์ ซึ่งเป็นนามขันธ์ทั้ง ๔ นั้นเอง คำว่าขันธ์ทั้ง ๕ กับคำว่ารูปนามนั้น ต่างกันแต่โวหาร ความจริงเป็นสภาพเดียวกัน
รูปนาม ๒ อย่างนี้ ในอิริยาบถน้อยใหญ่ก็ดี ในอารมณ์ทั้ง ๖ ก็ดี ปรากฏขึ้นพร้อม ๆ กัน ทุกขณะทุกเวลา ดุจกระแสน้ำไหลไปสู่มหาสมุทร หมายความว่ามีการเกิดดับอยู่เสมอ
อุปาทานทั้ง ๕ ที่กล่าวมาแล้วนี้ เมื่อได้พบเห็นรู้ถึงสภาวะที่เป็นอยู่ในสันดานตน หรือสันดานของผู้อื่นก็ตาม ในปฐวีธาตุนั้นคือ ๑. แข็ง ๒. เสวยอารมณ์ของความแข็ง ๓. จำอารมณ์ของความแข็ง ๔. ความพยายามในการรู้ว่าแข็ง เช่น ความแงหรือสติเป็นต้น ๕. รู้ความแข็ง ดังนี้แหละต้องพิจารณาเพ่งทุก ๆ ขณะโดยติดต่อไปเสมอ
ในที่นี้ เหตุธรรมของรูปูปาทานขันธ์นั้น มี ๕ ประการคือ ๑. อวิชชา ๒. ตัณหา ๓. กรรม ๔. อาหาร ๕. สกลักขณะ รวม ๕
เหตุธรรมของเวทนูปาทานขันธ์ก็มี มี ๕ ประการคือ ๑. อวิชชา ๒. ตัณหา ๓. กรรม ๔. ผัสสะ ๕. สกลักขณะ รวม ๕
เหตุธรรมของสัญญา และ สังขาร ก็เช่นเดียวกันกับเวทนา ส่วนวิญญาณนั้นมี ๑. อวิชชา ๒. ตัณหา ๓. กรรม ๔. นามรูป ๕. สกลักขณะ รวม ๕ ประการ
รวมทั้งสิ้นเหตุแห่งธรรมของอุปาทานขันธ์ ทั้ง ๕ มี ๒๕ ประการ ธรรมเหล่านี้เกิดมาแล้ว ก็มีเหตุ ๒๕ เมื่อดับก็ยังมี ๒๕ ประการอีก รวม ๕๐ อุปาทานขันธ์เหล่านี้ พิจารณาตามทำนองที่ได้กล่าวมาแล้ว ความดับบ่อย ๆ ของสติเจตสิกนั้นเรียกว่า ทุกขสัจ ตัณหาเก่าในภพก่อนที่ทำให้สติเจตสิกบังเกิดนั้น เรียกว่า สมุทยสัจ ความดับของสมุทยและทุกข์ทั้ง ๒ นั้นเรียกว่า นิโรธสัจ ส่วนอริยมรรคทั้ง ๘ ที่ทำให้รู้ทุกข์ ทำให้ประหาณสมุทัย และทำให้รู้แจ้งพระนิพพานนั้นเรียกว่า มรรคสัจ ได้
ดังนี้แหละอาศัยกัมมัฏฐาน ของอริยสัจทั้ง ๔ ประการที่กล่าวมาแล้ว พระโยคาวจรมีความสามารถที่จะบรรลุอรหัตตมรรค อรหัตตผลได้
จบอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เท่านี้
------------------------------------------------------------
สมุทยอริยสัจจ เรียกกันสั้น ๆ ว่า สมุทยสัจจ หรือเรียกอย่างยาวเต็มที่ว่า ทุกขสมุทยอริยสัจจ

คำว่า สมุทัย แปลว่า ต้นเหตุ หรือ ที่เกิด ดังนั้น ทุกขสมุทัย จึงแปลว่า ต้นเหตุให้เกิดทุกข์ อันว่าต้นเหตุให้เกิดทุกข์นั้นคือ ตัณหา องค์ธรรมได้แก่ โลภ เจตสิก ดวงเดียวเท่านั้น

โลภเจตสิก หรือ ตัณหา เป็นความอยากได้ เป็นความปรารถนา ซึ่งมักจะ ไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ เมื่อมีความอยากได้ มีความปรารถนาเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องมี ปริเยสนทุกข์ คือ เป็นทุกข์ในการแสวงหาเพื่อให้ได้มาตามความปรารถนานั้น ๆ ถ้าหาไม่ได้ ก็มี ยัมปิจฉัง น ลภติ ความไม่สมหวังดังที่ปรารถนา ครั้นได้มาแล้ว ก็มีอารักขทุกข คือเป็นทุกข์ในการระวังรักษา เมื่อรักษาไม่ดี แตกหักสูญหายไป ก็มี ปิเยหิวิปปโยโค ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก รวมความว่า ได้ก็ทุกข์ ไม่ได้ก็ ทุกข์ ต่อเมื่อใดตัดต้นตอต้นเหตุ คือความปรารถนาลงเสียได้แล้ว ทุกข์ที่จะพึงเกิด ก็จะไม่มีเลย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ค.2008, 12:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พิจารณาให้เป็นธาตุครับ
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ค.2008, 10:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ"RARM"ครับ



เมื่อเรารู้จักขันธ์แล้ว เราจะต้องพิจารณาอย่างไร ครับ


คุณคงหมายถึงสติปัฏฐาน 4 วิปัสสนาใช่ไหมครับ คุณต้องรู้หลักการของมันก่อน สติปัฏฐาน 4 หรือวิปัสสนา
เป็นหลักการให้เรามีสติในทุกขณะจิต แล้วแต่สำนักแต่ละสำนักจะสอน บางสำนักก็ใช้วิธีปล่อยให้จิตมันฟุ้งซ่าน
จนเบื่อ แล้วเราค่อยพิจารณา รู้ตามทันมัน

วิธีของผม คือ เราก็รู้อยู่แล้วว่า เรามีนิสัยอย่างไร เช่น ขี้โมโห ขั้นแรกผมก็ท่องไปเรื่อยๆว่า
เราจะไม่โกรธใคร เราจะไม่เกลียดชังใคร เราจะรัก และเมตตาคนอื่น หัดท่องอย่างนี้ทุกวัน
เหมือนกับเราปลูกนิสัยให้มันใหม่ ทำอยู่ได้ 3 เดือน นิสัยขี้โมโห เกลียดชังคนอื่นของเราจะเบาบางลง
มีความเห็นใจคนอื่นมากขึ้น

แต่ก่อนผมทำสมาธิไม่ได้เลย หลังจาก 3 เดือน จิตผมก็ฟุ้งซ่านน้อยลง มีความโกรธเกลียดชังคนอื่นน้อยลง
ทำสมาธิได้นานขึ้น หัดทำไปเรื่อยๆหลายๆปี หลังๆก็ใช้การวิปัสสนาตามที่มีการสอนกันอยู่ ผมคงไม่ขอกล่าวในที่นี้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง