ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
05 ก.ค.2008, 9:23 pm |
  |
การตีความพระรัตนตรัยของสมมุติสงฆ์ แตกต่างจากอริยะสงฆ์
--------------------------------------------------------------------------------
พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ สิ่งนี้มีความสำคัญที่ต้องเรียนรู้มากที่สุดสำหรับพุทธ
ศาสนิกชน แต่ปัจจุบัน สมมุติสงฆ์ไทยได้ทำสัทธรรมปฏิรูปในเรื่องพระรัตนตรัยไปแล้ว สมัยผมเด็กๆ สมมุติสงฆ์ไทยพากันสอนว่า
พระพุทธ หมายถึง พระพุทธเจ้า
พระธรรม หมายถึง คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระสงฆ์ หมายถึง ผู้มีบทบาทสำคัญในการสืบทอดพระศาสนา
*** เพราะเป็นศาสนทายาทผู้สั่งสอนพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป ***
ผมคิดว่า คำสอนของสมมุติสงฆ์เหล่านี้ล้วนผิดพลาดทั้งสิ้น เพราะเท่ากับเราจะขอให้ระลึกถึง"พระรัตนตรัย" เป็นที่
พึ่ง คอยคุ้มครองป้องกันภัยย่อมทำไม่ได้ เพราะพระธรรมและพระสงฆ์ใน
ความหมายนี้ จะไปช่วยคุ้มครองพึ่งพิงอะไรไม่ได้เลย
นอกจากนี้ คำสอนเรื่องพระรัตนตรัยตามความหมายของสมมุติสงฆ์เหล่านี้ ยังเหมือนกับเป็นการลบหลู่คำสอนของ
พระอรหันต์ต่างๆ เช่น คำสอนของพระเดชพระคุณพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ที่ท่านเทศน์ว่า
"สรณะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มิได้เสื่อมสูญอันตรธานไป ไหน ยังปรากฏอยู่แก่ผู้ปฏิบัติเข้าถึง
อยู่เสมอ ผู้ใดยึดถือเป็นที่พึ่งของตนแล้ว ผู้นั้นจะอยู่ในกลางป่า หรือเรือนว่างก็ตาม สรณะทั้งสามก็ปรากฏแก่เรา
อยู่ทุกเมื่อ"
ย้ำ!
1. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มิได้เสื่อมสูญอันตรธานไปไหน ยังปรากฏอยู่แก่ผู้ปฏิบัติเข้าถึงอยู่เสมอ
2. ผู้ใดยึดถือเป็นที่พึ่งของตนแล้ว ผู้นั้นจะอยู่ในกลางป่า หรือเรือนว่างก็ตาม สรณะทั้งสามก็ปรากฏแก่เรา
อยู่ทุกเมื่อ
ผมคิดว่า ความหมายที่หลวงปู่มั่น และพระอรหันต์คนอื่นๆอธิบาย ซึ่งเป็นไปในทางเดียวกันทั้งสิ้น ความหมายของ
พระอรหันต์น่าเชื่อถือกว่าคำสอนของสมมุติสงฆ์ เพราะถ้าเรายึดคำสอนของสมมุติสงฆ์แล้ว ผมถามว่า
ถ้าเสือมันกำลังจะกินเรา แล้วพระธรรม และ พระสงฆ์ จะไปช่วยอะไรได้ พระสงฆ์มาเอง ก็วิ่งป่าราบเหมือนกัน
ส่วนพระธรรม คุณจะเอาไปเทศน์ให้เสือฟังหรือไง ด้วยเหตุนี้ ผมจึงนำเสนอความหมายของพระรัตนตรัย
ที่ผมเห็นว่าถูกต้องจริงๆ คือ
.....................................................................................
พระพุทธ = พระพุทธเจ้าต้นธาตุ มหายานเรียกว่า "อาทิพุทธเจ้า" หรือ "พระสยัมภูพุทธเจ้า"
พระธรรม = พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน(โคดมพุทธเจ้า) ที่สอนธรรมอยู่ในจิตของเรา ยืนยันได้จากพุทธพจน์
"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม"
พระสงฆ์ = พระอรหันต์ทั้งหลายที่เข้าสู่ความเป็นพุทธะแล้ว
.....................................................................................
ทั้ง 3 ส่วน ล้วนเป็นพุทธะซึ่งเป็นพลังสูงสุด เมื่อรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน สิ่งนี้เรียกว่า พระรัตนตรัย
จึงมีพลังอำนาจยิ่งกว่าสิ่งใดๆ สิ่งนี้จึงสามารถคุ้มครองป้องกันภัยต่างๆได้ |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
05 ก.ค.2008, 9:41 pm |
  |
ทั้ง 3 ส่วน ล้วนเป็นพุทธะซึ่งเป็นพลังสูงสุด เมื่อรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน สิ่งนี้เรียกว่า พระรัตนตรัย จึงมีพลังอำนาจ
ยิ่งกว่าสิ่งใดๆ สิ่งนี้จึงสามารถคุ้มครองป้องกันภัยต่างๆได้
เพื่อจะยืนยันเรื่องนี้ว่า ความหมายที่ผมบอกไปน่าจะถูกต้องกว่า ผมขอนำเอาคำเทศน์ของหลวงตามหาบัวที่ว่า
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มาลง
.....................................................................................
อ้างอิง:
สรุปคำเทศน์บางตอน "เรื่องพลิกแพลงหลอกจิตด้วยสุภะกับอสุภะ"
เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
"............. ............ ............. เหรอ พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้อย่างนี้ละเหรอๆ นู่นน่ะ แล้วพระธรรมแท้
เป็นอย่างนี้ละเหรอ พระสงฆ์แท้เป็นอย่างนี้ละเหรอ นั่น มันเป็นแล้วนะนั่นน่ะ มันถึงเป็นอย่างนี้ละเหรอๆ
แล้วพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ มาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ยังไง มันเป็นแล้วนั่น เป็นแล้ว
เป็นธรรมธาตุ ล้วน ๆ แล้ว ถ้าว่าน้ำก็เป็นมหาสมุทรเต็มตัวแล้ว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับน้ำสายต่าง ๆ ที่จะ
ไหลเข้ามาแหละ เป็นน้ำมหาสมุทรเต็มตัว นี้ถ้าพูดถึงเรื่องธรรมธาตุก็เป็นเต็มตัวแล้ว พระพุทธเจ้า
พระธรรม พระสงฆ์ คือธรรมธาตุเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เท่ากับน้ำมหาสมุทร
เมื่อเป็นเช่นนั้นไปถามพระพุทธเจ้าหาอะไร พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนถามหาอะไร พระธรรม พระสงฆ์ ถามอะไร
ก็มันเป็นอันเดียวกันแล้ว เป็นธรรมธาตุล้วน ๆ เท่ากับน้ำมหาสมุทรครอบโลกธาตุ เป็นธรรมธาตุด้วยกัน
ทั้งนั้น แล้วไปถามท่านหาอะไร นี่แหละที่ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคตเต็มตัว เห็นตรงนี้
ไม่สงสัยที่จะไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระองค์เป็นผู้เช่นไร ธรรมชาตินี้แลคือพุทธะ พุทธะแท้หรือพระพุทธเจ้าแท้
ธรรมธาตุแท้คืออันนี้ สำหรับเรือนร่างคือสกลกายนี้มันก็ต้องแปลกต่างกันเป็นธรรมดา เช่นท่านนิพพาน
เมืองนู้นเมืองนี้อยู่อินเดียนั้นเป็นอย่างหนึ่ง อันนั้นเป็นสังขารร่างกายมันพังลง เป็นส่วนผสมของธาตุขันธ์
ธรรมธาตุท่านเป็นแล้วตั้งแต่วันท่านตรัสรู้นั้น ครองธาตุขันธ์นี้อยู่ พอธาตุขันธ์สลายไปธรรมธาตุนั้นก็เต็มตัว
ไม่ต้องมีความรับผิดชอบอะไรอีกเลย นั่นแหละที่ว่าสมมุติขาดไปหมดโดยสิ้นเชิง ไม่มีอะไรเหลือในจิตของ
พระอรหันต์ และของธรรมธาตุ นั้นเลย ก็ขณะที่ธาตุขันธ์ดับลงไปพรึบเดียว นั่นละสมมุติหมดโดยประการ
ทั้งปวง ทั่วแดนโลกธาตุไม่มีความหมายอะไรเลย มีแต่ขันธ์เท่านั้นที่ดีดที่ดิ้นสัมผัสสัมพันธ์ให้รับทราบตลอดเวลา
เวลาท่านยังมีชีวิตอยู่ท่านจึงมีความรับผิดชอบในเพียงขันธ์นี้เท่านั้น มีผ่านกันอยู่ตลอดเวลาคือธาตุขันธ์
พอธาตุขันธ์นี้ดับลงไปแล้วก็หมด สมมุตินี้หมดโดยประการทั้งปวง ไม่มีสิ่งใดเหลือหลอเลย นั่นเป็นอย่างนั้น
นี่ละจิตที่มันถึงขั้นเต็มภูมิของมันแล้ว จะไปทูลถามพระพุทธเจ้าหาอะไร พูดแล้วสาธุขึ้นเลยนะ
มันประจักษ์ขนาดนั้นแล้ว ถึงขนาดที่ว่า เหอ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ตรัสรู้อย่างนี้ละเหรอ อย่างนี้ละเหรอ
คือมันจัง ๆ แล้วนั่น มันไม่มีอะไรสงสัยกันแล้ว พระธรรมแท้เป็นอย่างนี้เหรอ พระสงฆ์แท้เป็นอย่างนี้เหรอ
มันก็เป็นอันเดียวกันแล้ว พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ มาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ยังไง มันเป็นแล้วนั่น
เป็นธรรมธาตุอย่างเดียวกันแล้ว แล้วจะถามใคร นี่ละจิตดวงนี้แหละเวลาถึงขั้นนั้นแล้วหมดปัญหาโดยประการทั้งปวง |
|
|
|
  |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ค.2008, 9:49 am |
  |
พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า
--------------
มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกความกลัวคุกคามเอาแล้ว ย่อมยึดถือเอาภูเขาบ้าง ป่าไม้ศักดิ์สิทธิ์บ้าง สวนศักสิทธิ์บ้าง รุกขเจดีย์บ้าง ว่าเป็นที่พึ่งของตน
นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันทำความเกษมได้เลย, นั้นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด, ผู้ใดถือเอาสิ่งนั้นๆเป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้.
ส่วนผู้ใด ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว เห็นอริยสัจทั้ง ๔ ด้วยปัญญาอันถูกต้อง คือเห็นทุกข์ เห็นเหตุเป็นกลไกให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เห็นความก้าวล่วงเสียได้ซึ่งทุกข์ และเห็นมรรคประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ ซึ่งเป็นกลไกให้เข้าไปถึงความสงบรำงับแห่งทุกข์.
นั่นแหละคือ ที่พึ่งอันเกษม นั่นคือที่พึ่งอันสูงสุด. ผู้ใดถือเอาสิ่งนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวง ได้แท้.
--------------------
ท่านมิได้บอกนิ ว่ายึดเอาพระพุทธพระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอย่างเดียวโดยไม่ต้องทำอะไรเลย
เห็นอริยสัจทั้ง ๔ ด้วยปัญญาอันถูกต้อง ถ้าเจอเสือ
ก็หาทางหนี ด้วยปัญญาสิครับ ถ้าเอาพระธรรมไปสอนเสือ ก็ไม่เรียกว่าใช้ปัญญาสิครับ หรือไปขอให้พระสงฆ์ช่วย ก็ไม่เรียกว่าใช้ปัญญาสิครับ
ต่อให้ยึดพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ แต่ไม่รู้จักแก้ปัญหาด้วยปัญญา ก็อาจไม่รอดจากเสือได้ครับ (อาจเป็นเพราะผลกรรมเก่า)
ส่วนเรื่องการตีความ
พระพุทธ ก็คือ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พระธรรม ก็คือ ธรรมะทั้งหลายทั้งปวง
พระสงฆ์ ก็คือ ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา
พระสงฆ์ท่านก็ไม่ได้บอกนิครับว่าเป็น พระอรหันต์ อีกอย่างเราๆท่านๆก็คงแยกไม่ออกว่าท่านไหนเป็นพระอรหันต์ ใช่ไหมครับ
อาจแยกได้แค่ ท่านไหนปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เท่านั้นเอง ด้วยธรรมที่ศึกษากันมา
ทั้งนี้ทั้งนั้นยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งแล้ว ต้องใช้ปัญญาด้วยครับ |
|
|
|
    |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ค.2008, 10:35 am |
  |
คุณ"เมธี" ครับ
ข้อความของคุณ
เห็นอริยสัจทั้ง ๔ ด้วยปัญญาอันถูกต้อง ถ้าเจอเสือ
ก็หาทางหนี ด้วยปัญญาสิครับ ถ้าเอาพระธรรมไปสอนเสือ ก็ไม่เรียกว่าใช้ปัญญาสิครับ หรือไปขอให้พระสงฆ์ช่วย ก็ไม่เรียกว่าใช้ปัญญาสิครับ
ต่อให้ยึดพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ แต่ไม่รู้จักแก้ปัญหาด้วยปัญญา ก็อาจไม่รอดจากเสือได้ครับ (อาจเป็นเพราะผลกรรมเก่า)
......ต่อให้ยึดพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ แต่ไม่รู้จักแก้ปัญหาด้วยปัญญา ก็อาจไม่รอดจากเสือได้ครับ (อาจเป็นเพราะผลกรรมเก่า)
ตอบ.....แก้ด้วยปัญญาคือหนีเสือหรือครับ ไม่ต้องเข้าป่าไม่ดีกว่าหรือครับ ถ้ายังหนีเสือหรือกลัวเสือ แสดงว่ายังไม่รู้เลยว่า เสือคือมายามาลวงจิต และยังไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ในนิพพานมีอยู่และคุ้มครองได้
นอกจากนี้ พระอริยะสงฆ์ท่านไม่หนีเสือ ท่านส่งกระแสจิตและแผ่เมตตาให้เสือได้ เสือจะไม่ทำอะไรท่าน
พูดง่ายๆ ท่านที่ยังไม่เข้าถึงกระแสแห่งธรรม สมควรถูกเสือกินแล้ว
ข้อความของคุณ
พระพุทธ ก็คือ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พระธรรม ก็คือ ธรรมะทั้งหลายทั้งปวง
พระสงฆ์ ก็คือ ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา
พระสงฆ์ท่านก็ไม่ได้บอกนิครับว่าเป็น พระอรหันต์ อีกอย่างเราๆท่านๆก็คงแยกไม่ออกว่าท่านไหนเป็นพระอรหันต์ ใช่ไหมครับ
อาจแยกได้แค่ ท่านไหนปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เท่านั้นเอง ด้วยธรรมที่ศึกษากันมา
ตอบ....ผู้ที่เป็นบุตรคนเดียวของพระพุทธเจ้า และมีสิทธิพบเห็นพระพุทธเจ้า คือพระอรหันต์ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม)
ผมจึงบอกไว้ว่า การตีความพระรัตนะตรัยของพระอริยะสงฆ์ แตกต่างจากสมมุติสงฆ์และปถุชนทั่วไป |
|
|
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
10 ก.ค.2008, 3:27 pm |
  |
ส่วนตัวกระผมนั้นเห็นว่าพระรัตนไตร อันหมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงค์มีความหมายอยู่ว่า
พระพุทธ คือ พระศาสดา (ทรงตรัสสอนเสมอว่า สรรพสิ่งล้วน " อนิจจัง ")
พระธรรม คือ คำสอนของพระศาสดา ล้วนสอนให้เห็น " ทุกข์ "
พระสงฆ์ คือ สาวกในพระศาสนา ที่เข้าถึงความหลุดพ้น " อนัตตา "
พระพุทธ......อนิจจัง......เกิดขึ้น เปลี่ยนแปลง
พระธรรม......ความทุกข์.......ตั้งอยู่ เสื่อม
พระสงฆ์.......อนัตตา......ดับไป แตกสลาย |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
10 ก.ค.2008, 3:59 pm |
  |
คุณnatdanaiครับ
คำพูดกฎของอนิจจัง และกฎของไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ใครๆก็พูดได้ สำคัญที่ปฏิบัติและทำได้จริงไหม
สมเด็จพระสังฆราช อริยวงศาคตญาณ (แพติสูรเทโว) จึงเทศน์ว่า
"สัตว์โลกยังมีอวิชชาจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เว้นเมื่อเข้าถึงอสังขตธาตุ ได้ความบริสุทธ์เป็นนิพพาน
จะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาทันที แล้วจะเห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา"
พระพุทธองค์ตรัสว่า
"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม"
คุณยังไม่เห็นพระพุทธเจ้าและยังไม่รับรู้ว่านิพพานเป็นอัตตา ที่ไม่ใช่อัตตาอุปทาน หรืออัตตาจากทิฏฐิ
จึงยากจะเข้าใจเรื่องพระรัตตนตรัย เหมือนพระอริยะเจ้า |
|
|
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
10 ก.ค.2008, 4:44 pm |
  |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า: |
คุณnatdanaiครับ
คำพูดกฎของอนิจจัง และกฎของไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ใครๆก็พูดได้ สำคัญที่ปฏิบัติและทำได้จริงไหม
สมเด็จพระสังฆราช อริยวงศาคตญาณ (แพติสูรเทโว) จึงเทศน์ว่า
"สัตว์โลกยังมีอวิชชาจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เว้นเมื่อเข้าถึงอสังขตธาตุ ได้ความบริสุทธ์เป็นนิพพาน
จะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาทันที แล้วจะเห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา"
พระพุทธองค์ตรัสว่า
"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม"
คุณยังไม่เห็นพระพุทธเจ้าและยังไม่รับรู้ว่านิพพานเป็นอัตตา ที่ไม่ใช่อัตตาอุปทาน หรืออัตตาจากทิฏฐิ
จึงยากจะเข้าใจเรื่องพระรัตตนตรัย เหมือนพระอริยะเจ้า |
"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม"
แล้วท่านเห็นหรือยังครับ หากท่านเห็นเหมือนที่กระผมเห็น ท่านจะไม่กล่าวว่ากระผมไม่เข้าใจเรื่องพระรัตนไตรหรอกครับ ส่วนที่ท่านว่ากฏของไตรลักษณ์ และกฏของอนิจจัง จะปฏิบัติได้จริงหรือไม่ อยากจะบอกท่านว่า กฏทั้ง 2 ที่ท่านกล่าวถึงนั้นไม่ใช่วิธีปฏิบัตินะครับ หากแต่เป็นสิ่งที่ใช้ประกอบกับการปฏิบัติครับ เปรียบเหมือนพาหนะที่จะพาท่านไปถึงจุดหมายของการปฏิบัติได้ครับ |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
11 ก.ค.2008, 1:28 am |
  |
มันก็ขึ้นอยู่กับว่า จะตีความอย่างกว้าง หรืออย่างแคบนะคับ
ถ้าคุณ จขกท จะตีความละเอียดแบบนั้น
ผมว่าก็พอเข้าใจได้
แต่ถ้าจะให้เด็ดขาดว่าอะไรจริงแท้ อะไรไม่จริง
แยกให้เด็ดขาดชัดเจนนั้น
มันเข้าข่ายอย่างที่กระทู้ว่า
พระอริยะเห็นอีกแบบ พระธรรมดาเห็นอีกแบบ คนธรรมดาเห็นอีกแบบ
ผมอยากจะลองตีความอย่างที่ผมเชื่อดูนะคับ
- รัตนตรัย หมายถึง มีค่าดุจแก้วอันหาได้ยาก มีอยู่สามประการ
- พระพุทธศานา มีค่าดุจแก้ว อันหาได้ยาก มีองค์อยู่ 3 ประการ
พระพุทธ - การมีพระพุทธเจ้าบังเกิดนั้นยาก หาได้ยาก จึงมีค่า
พระธรรม - ธรรมะ ของพระพุทธเจ้า นั้นมีค่า หาได้ยาก
พระสงฆ์ - สงฆ์ที่แท้ ผู้สืบต่อธรรมะ ของพระพุทธเจ้า นั้นมีค่า หาได้ยาก
แก้วสามดวงนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของศาสนา
เวลาจะรับเอา น้อมเอาศาสนาพุทธเข้ามาเป้นที่พึ่ง
จึงใช้คำว่า น้อมนำเอาพระรัตนตรัย มาเป้นที่พึ่ง
เมื่อความหมาย ที่อยากจะหมายถึงองค์ประกอบของศาสนา
การตีความคำว่า พุทธ จึงหมายถึงพระพุทธเจ้า โดยตรง
หมายถึงมีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น เป็นของมีค่า หาได้ยาก
จึงไม่น่าจะเรียก พระพุทธ รวมกับพระธรรม
เพราะพระธรรม ในความหมายของ พระธรรมในศาสพุทธ ย่อมหมายถึงใบไม้ในกำมือของพระพุทธเจ้า
ถ้าธรรมะในศานาคริสต์ มันก้มีหลายอย่าง... ที่นอกกำมือ
เช่น เขาให้ศาสนิกสนใจในการสร้างโลก อันเกินวิสัยมนุษย์จะรู้ได้
แต่พุทธเราไม่ ... อะไรเกินวิสัยมนุษย์ พระพุทธเจ้าไม่ให้สนใจ
เช่น ไม่ให้สนใจ อจินไตยปัญหา
พระพุทธเจ้าเป็นบรรณาธิการ คัดสรรค์รวบรวมเรียบเรียงไว้เป็นระบบแล้ว
แล้วเรียกธรรมะที่ทรงเลือกแล้วนั้น ว่าพุทธธรรม
ดังนั้น พระธรรมย่อมหมายถึง ธรรมะของพระพุทธเจ้า
ในบริบทของพระพุทธเจ้า ในกำมือของพระพุทธเจ้า
ทั้งในและนอกกำมือ มันก็ปรมัตถธรรมทั้งนั้น
แต่พระพุทธเจ้าบอกว่า เอาแต่ในกำมือนะ เพราะท่านเลือกแล้ว ว่าเป้นประโยชน์กับมนุษย์
ธรรมะทั้งในกำมือ นอกกำมือ ก้ล้วนแล้วแต่มีปรมัตสภาวะ หรือที่เรียกว่า สัมบูรณ์ หรือ จริงที่สุด .. อะไรก็แล้วแต่
ก็ปรมัตถธรรมด้วยกันทั้งสิ้นนั้น
แต่ถ้าเป้นของพุทธ .. ต้องในกำมือ ..ซึ่งหมายถึง เหมาะกับมนุษย์
ดังนั้นการรวมธรรมะทั้งหมดที่มีในจักรวาล (ในกำมือ รวมกับ นอกกำมือ)
แล้วเรียกว่า พุทธ ... ย่อมไม่ถูก
ส่วนพระสงฆ์
อันนี้ชัดอยู่แล้วว่า สมมุติสงฆ์ ไม่เท่ากับ คำว่า สงฆ์
พระสงฆ์ทั่วไป ไม่ถือว่าเป็นสงฆ์ แต่เป็นสมมุติสงฆ์
เมื่อใดได้ถึงแจ้งในนิพพาน ถึงแจ้งในจตุสัจจ บรรลุทางดับทุกข์
เมื่อนั่นจึงเรียกว่าสงฆ์ได้เต็มปากเต็มคำ
เพราะหากสงฆ์ไม่แจ้ง ไม่บรรลุถึงอริยะ ศาสนาย่อมแปรรูป ปนเปื้อน และเปลี่ยนแปลงไปจากปรมัตถธรรม ศาสนาจึงเสื่อม
รัตนตรัย จึงไม่ใช้คำว่า สมมุติสงฆ์
การเปรียบว่า สงฆ์ หาได้ยาก มีค่า ... จึงกล่าวถูกต้องแล้ว
-----------------------------
ส่วนการใช้พระรัตนตรัย ให้เป้นที่พึ่งนั้น
ผมเห็นว่า
มันก็เหมือน คน 2 คน ได้ไม้ซุงมาคนละท่อน ท่อนใหญ่ๆเท่ากัน
คนหนึ่งเอาไปสร้างบ้าน
คนหนึ่งทำไปทำมา ลงท้ายได้แค่ไม่จิ้มฟัน
การใช้พระรัตนตรัยให้เป็นนั้น ควรจะต้องทำความเข้าใจ เรียนรู้
ให้เกิดปัญญา แล้วใช้ปัญญา เอาพระรัตนตรัย มาแก้ปัญหา
ถ้าเสือจะมากัด
คนที่มีปัญญาในพระรัตนตรัยต่างกัน ย่อมใช้ต่างกัน
พระอรหัน์ื ... ย่อมไม่กลัวความตาย ไม่กลัวอะไรเลย
ส่วนเสือกะกินไม่กิน มันก็เรื่องของเสือ เสือกินพระอรหันต์ก็ไม่ว่า
เสือไม่กิน ท่านก็ไม่สน ท่านก้อยู่ของท่านอย่างนั้น
เมื่อความตายมาถึงก็กำหนดรู้ แล้วนิพพานไป
ถ้าพระอรหันต์ใช้อะไรที่พิสดาร สั่งเสือ ไล่เสือ อันนี้ผมยังคิดว่าท่านไม่น่าจัถึงอรหันต์ได้บริสุทธิ์นัก เพราะกลัวตาย
ส่วนคนที่ถือศีล 5 แบบขาดๆ วิ่นๆ แบบผม
คงไม่ทันได้ใช้ปัญญาของพุทธ ระบบบประสาทอัตโนมัติที่ไขสันหลังมันคงทำงานก่อนระบบประสาทบนหัว
ขามันคงมีสมองของมันขึ้นมา อาจจะไม่ก้าวขา หรืออาจจะโกยก็ได้
บางคนอาจจะคิดว่า การท่องคาถาเรียกหลวงปู่ หลวงพ่ออาจะช่วยได้
บางคนคิดว่า นึกถึงพระพุทธเจ้าอาจจะช่วยได้
บางคนนึกว่าการนึกถึงพระอรหันต์จะช่วยได้
ฯลฯ
สรุปคือ บัวแต่ละเหล่า ย่อมใช้พระรัตนตรัย แตกต่างกันไปตามปัญญา
อ้างอิงจาก: |
"สรณะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มิได้เสื่อมสูญอันตรธานไป ไหน ยังปรากฏอยู่แก่ผู้ปฏิบัติเข้าถึง
อยู่เสมอ ผู้ใดยึดถือเป็นที่พึ่งของตนแล้ว ผู้นั้นจะอยู่ในกลางป่า หรือเรือนว่างก็ตาม สรณะทั้งสามก็ปรากฏแก่เรา
อยู่ทุกเมื่อ" |
ที่ยึดของหลวงปู่ 3 อย่างนี้ ท่านย่อมหมายถึงศาสนาพุทธ
และสอนให้บัวเหล่าอื่น ยึดถือพระศาสนาเป้นที่พึ่ง
ประมาณว่า ... ยึดไว้เถิด บัวเอ๋ย .. แล้วจะดีเอง
แต่ตัวท่านเอง ท่านเป็นบัวหลุดพ้นแล้ว
จะพูดวิสัยอริยะ ให้บัว 4 เหล่าเข้าใจ ย่อมยาก รังแต่จะทำให้งงกันไปใหญ่
เหมือนเต่า เล่าเรื่องบนบกให้ปลาฟัง ... ปลาย่อมไม่มีวันเข้าใจได้ง่ายๆ
แต่ตัวท่านเอง ท่านเป็นบัวหลุดพ้นแล้ว
ท่านต้องไม่ยึดติดอะไรเลย ผมเชื่ออย่างนั้น
ถ้าจะว่ากันจริงๆ ท่านเป็นอรหันต์ ต้องไม่ยึดถืออะไรทั้งสิ้น
อรหันต์ ...ย่อมไม่ยึดติดพระพุทธเจ้า
เพราะตัวพระพุทธเจ้าก็ไม่รู้จะยึดไปทำไม ตัวก็ไม่อยู่แล้ว
นามก็นาม มีไว้ให้รู้ แล้วก็ละทิ้ง ไม่ใช่มีไว้ให้ยึดถือว่ายังมีอยู่
การเคารพกราบไหว้ พระพุทธรูปนั้น ผมจึงคิดว่า
พระอรหันต์ย่อมทำไปตามโลกอย่างนั้นเอง ท่านย่อมแจ้งแก่ใจว่า
นามของพระพุทธเจ้า ย่อมไม่ใช่รูปนี้ เอารูปนี้ มาใส่นามนี้ ก็ถือเป้นความเขลา หลงในรูป หลงในนาม ติดในรูป ติดในนาม
และนั่นเป็นของสมมุติที่เข้าใจได้ง่ายที่สุดอันดับแรกๆของการเป็นพระ
ถ้าจะย้อนเวลาไปตามประวัติศาสตร์ เรื่องรูปเคารพในสมัยพระองค์นั้นไม่มี
เมื่อสิ้นท่าน จึงมีผู้ถามว่า ท่านไปแล้วใครจะเป็นศาสดา
ท่านจึงเปรียบว่า ถ้าอยากเห็นเรา ก็มองธรรมให้เห็นธรรม แล้วจะเห็นเรา
ถ้าคนขาดปัญญา ย่อมวนเวียนหา ."ตัว.". ของธรรม เพื่อจะเห็น"ตัว."ของพระพุทธเจ้า
แต่เมื่อได้เรียนไปจนถึงขนาดหนึ่ง ก็จักรู้ว่า มันไม่มีหรอก ตัวพระพุทธ กับตัวพระธรรม แล้วมันก็ไม่ใช่สิง่เดียวกัน
จนเมื่อเข้าใจว่าทำไมมันไม่มี"ตัว" ... จึงจะเข้าใจว่าปริสนาธรรมของพระพุทธเจ้า
อรหันต์ ...ย่อมไม่ยึดติดธรรมทั้งปวง
ธรรมทั้งปวงก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ผู้ถึงนิพพาน ย่อมละทิ้งทุกอย่าง
รวมทั้งธรรมะทั้งปวง ที่เปรียบเสมือนเครื่องมือ แนวทาง บททดสอบ ที่นำท่านไปสู่นิพพาน แต่เมื่อถึงนิพพาน ท่านย่อมทิ้งหมดไม่ใช่หรือ
(ตามทฤษฎี)
อรหันต์ ...ย่อมไม่ยึดติดว่าเป็นสงฆ์
ความเป็นสงฆ์ของท่าน ยิ่งต้องไม่ยึดเข้าไปใหญ่
เพราะมันคือ "ภพ" ในปกิจจสมุปบาท
อรหันต์ ย่อมไม่ครองภพ ไม่ครองบทบาทอะไรทั้งสิ้น
ไม่ยึดถือว่าต้องครองจีวรเหลือง ไม่ยึดถือว่าต้องโกนหัว
ไม่ยึดถือว่าต้องมีจริตอย่างนั้นอย่างนี้ นิสัยอย่างนั้นอย่างนี้
สงฆ์ผู้ถึงอรหันต์ ถึงนิพพาน ย่อมไม่ยึดถืออะไร
สิ่งที่เคยเป็น เป็นอยู่ กำลังจะเป็น
ท่านก็ปล่อยมันไปตามปกติธรรมดาของมัน
ไม่เข้าไป ภาวะ-วิภาวะ ใดๆทั้งสิ้น
-----------------------------
สำหรับอริยะสงฆ์ ... มันไม่จำเป็นอีกต่อไป ไม่ควรถือไว้ กอดไว้ ครองไว้
เมื่อถึงนิพาน ... ย่อมทิ้งรัตนตรัยแล้วสิ้น
นิยามรัตนตรัยในมุมของอริยะ ... ท่านก็รู้ของท่านว่าควรทำยังไงกับมัน
แต่ถ้าอริยะจะพูดสอนคน ... ท่านก็ต้องว่าไปอย่างปกติธรรมดานั้น
รัตนตรัย จึงเป็นของ ของผู้ที่ยังไม่ถึง ...
ความหมายตามปกติธรรมดา ที่เข้าใจกัน ผมว่าก็พอใช้ได้คับ
พูดกับเด็ก เรายังต้องพูดง่ายๆ (ทั้งที่ไม่ถูกนัก) แต่ก็เหมาะกับเด็ก
ผมว่าอย่างนี้ล่ะท่านพี่ โอยเหนื่อย
ปล.อันนี้น่าคิด
ปัจเจกพระพุทธเจ้า ไม่สอนใครได้ ไม่มีสงฆ์ จึงไม่เป็นศาสนา |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
11 ก.ค.2008, 10:23 am |
  |
คุณ"natdanai ครับ
ข้อความของคุณ
"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม"
แล้วท่านเห็นหรือยังครับ หากท่านเห็นเหมือนที่กระผมเห็น ท่านจะไม่กล่าวว่ากระผมไม่เข้าใจเรื่องพระรัตนไตรหรอกครับ ส่วนที่ท่านว่ากฏของไตรลักษณ์ และกฏของอนิจจัง จะปฏิบัติได้จริงหรือไม่ อยากจะบอกท่านว่า กฏทั้ง 2 ที่ท่านกล่าวถึงนั้นไม่ใช่วิธีปฏิบัตินะครับ หากแต่เป็นสิ่งที่ใช้ประกอบกับการปฏิบัติครับ เปรียบเหมือนพาหนะที่จะพาท่านไปถึงจุดหมายของการปฏิบัติได้ครับ
......ขอประทานโทษนะครับ ผมไม่เชื่อว่าท่านเห็นพระพุทธเจ้า แต่ผมน่ะเห็นจริงไม่รู้กี่ครั้งแล้ว เดี๋ยวผมจะไปอธิบายเรื่อง "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม" ลองติดตามนะครับว่า เหมือนหรือแตกต่างอย่างไรกับที่สมมุติสงฆ์สอน
ผมขอทดสอบคุณนะครับว่าคุณเห็นพระพุทธเจ้าหรือยัง จากคำตรัสสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต" หระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ด้วยว่า "ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท"
ในปฏิจจสมุปบาท สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป แต่ในนามรูปหรือขันธ์ 5 นั้น ก็มีคำว่า วิญญาณขันธ์อยู่ (รูปขันธ์ สัญญาขันธ์ เวทนาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์) ถามว่า วิญญาณขันธ์นั้นเป็นตัวเดียวกับวิญญาณในข้อสังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ หรือเปล่า
ในพระไตรปิฎก พระพทธเจ้าตรัสว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมลึกซึ้ง ส่วนพระอานนท์ในตอนนั้นยังไม่ถึง
แม้แต่โสดาบันกลับกล่าวว่า
น่าอัศจรรย์นัก พระเจ้าข้า ปฏิจจสมุปบาท นี้เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง แต่ถึงอย่างนั้นก็ปรากฏเหมือนเป็นธรรมง่ายๆ แต่ข้าพระองค์
พระพุทธองค์ตรัสห้ามในทันทีว่า
อานนท์! เธออย่าพูดอย่างนี้ อานนท์! เธออย่าพูดอย่างนี้ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ไม่ตรัสรู้ ไม่แทงตลอดธรรมนี้ หมู่สัตว์นี้จึงเป็นเหมือนเส้นด้ายที่ยุ่ง เป็นเหมือนกลุ่มเส้นด้ายที่เป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ย่อมไม่ผ่านพ้นอบาย และการเวียนว่าย"
ผมจะดูว่า คุณเข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปบาทจริงไหม เพราะใครๆก็พูดได้ทั้งนั้นว่าเห็นพระพุทธเจ้าแล้ว |
|
|
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
11 ก.ค.2008, 11:15 am |
  |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า: |
คุณ"natdanai ครับ
"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม"
แล้วท่านเห็นหรือยังครับ หากท่านเห็นเหมือนที่กระผมเห็น ท่านจะไม่กล่าวว่ากระผมไม่เข้าใจเรื่องพระรัตนไตรหรอกครับ ส่วนที่ท่านว่ากฏของไตรลักษณ์ และกฏของอนิจจัง จะปฏิบัติได้จริงหรือไม่ อยากจะบอกท่านว่า กฏทั้ง 2 ที่ท่านกล่าวถึงนั้นไม่ใช่วิธีปฏิบัตินะครับ หากแต่เป็นสิ่งที่ใช้ประกอบกับการปฏิบัติครับ เปรียบเหมือนพาหนะที่จะพาท่านไปถึงจุดหมายของการปฏิบัติได้ครับ
ขอประทานโทษนะครับ ผมไม่เชื่อว่าท่านเห็นพระพุทธเจ้า แต่ผมน่ะเห็นจริงไม่รู้กี่ครั้งแล้ว เดี๋ยวผมจะไปอธิบายเรื่อง "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม" ลองติดตามนะครับว่า เหมือนหรือแตกต่างอย่างไรกับที่สมมุติสงฆ์สอน |
กระผมเองไม่ได้อ้างว่าได้เห็นพระพุทธเจ้าแม้เพียงครั้งเดียว แต่ความหมายของพุทธวาจาที่ว่า " ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา " ในความเข้าใจของกระผมนั้นก็คือว่า ผู้ที่เข้าถึงสัจธรรม ย่อมเข้าใจถึงธรรมนั้นอย่างถ่องแท้เหมือนกับได้ฟังธรรมนั้นจากพระศาสดาโดยตรง ( อันคำว่าเข้าถึงธรรมอย่างถ่องแท้นั้นท่านจะไม่สามารถหาข้อโต้แย้งใดๆได้เลย และที่สำคัญธรรมนั้นเป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตนเองจะเอามาอวดใครก็ไม่ได้ หยิบจับไม่ได้ แต่สามารถรู้ได้ว่ามีจริง ) อนึ่ง สงฆ์ในความเห็นของกระผมนั้นหาได้ที่ตัวเองเท่านั้นคุณไปหาที่ไหนก็ไม่เจอหรอก แม้แต่ครูบาอาจารย์ หรือพระอริยเจ้าเพียงแต่เป็นผู้ชี้ทางไปให้ถึงความเป็นสงฆ์ เมื่อถึงความเป็นสงฆ์แล้วท่านก็จะเข้าใจได้ว่า " สงฆ์เป็นเช่นไรจึงไม่ต้องไหว้ใครอีก " |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
11 ก.ค.2008, 11:28 am |
  |
natdanai พิมพ์ว่า: |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า: |
คุณ"natdanai ครับ
"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม"
แล้วท่านเห็นหรือยังครับ หากท่านเห็นเหมือนที่กระผมเห็น ท่านจะไม่กล่าวว่ากระผมไม่เข้าใจเรื่องพระรัตนไตรหรอกครับ ส่วนที่ท่านว่ากฏของไตรลักษณ์ และกฏของอนิจจัง จะปฏิบัติได้จริงหรือไม่ อยากจะบอกท่านว่า กฏทั้ง 2 ที่ท่านกล่าวถึงนั้นไม่ใช่วิธีปฏิบัตินะครับ หากแต่เป็นสิ่งที่ใช้ประกอบกับการปฏิบัติครับ เปรียบเหมือนพาหนะที่จะพาท่านไปถึงจุดหมายของการปฏิบัติได้ครับ
ขอประทานโทษนะครับ ผมไม่เชื่อว่าท่านเห็นพระพุทธเจ้า แต่ผมน่ะเห็นจริงไม่รู้กี่ครั้งแล้ว เดี๋ยวผมจะไปอธิบายเรื่อง "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม" ลองติดตามนะครับว่า เหมือนหรือแตกต่างอย่างไรกับที่สมมุติสงฆ์สอน |
กระผมเองไม่ได้อ้างว่าได้เห็นพระพุทธเจ้าแม้เพียงครั้งเดียว แต่ความหมายของพุทธวาจาที่ว่า " ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา " ในความเข้าใจของกระผมนั้นก็คือว่า ผู้ที่เข้าถึงสัจธรรม ย่อมเข้าใจถึงธรรมนั้นอย่างถ่องแท้เหมือนกับได้ฟังธรรมนั้นจากพระศาสดาโดยตรง ( อันคำว่าเข้าถึงธรรมอย่างถ่องแท้นั้นท่านจะไม่สามารถหาข้อโต้แย้งใดๆได้เลย และที่สำคัญธรรมนั้นเป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตนเองจะเอามาอวดใครก็ไม่ได้ หยิบจับไม่ได้ แต่สามารถรู้ได้ว่ามีจริง ) อนึ่ง สงฆ์ในความเห็นของกระผมนั้นหาได้ที่ตัวเองเท่านั้นคุณไปหาที่ไหนก็ไม่เจอหรอก แม้แต่ครูบาอาจารย์ หรือพระอริยเจ้าเพียงแต่เป็นผู้ชี้ทางไปให้ถึงความเป็นสงฆ์ เมื่อถึงความเป็นสงฆ์แล้วท่านก็จะเข้าใจได้ว่า " สงฆ์เป็นเช่นไรจึงไม่ต้องไหว้ใครอีก " |
เห็นด้วยทุกประการ
ผมก็ยังไม่เข้าใจชัดนัก ว่าที่คุณพลศักดิ์เห็นว่าเป็นพระพุทธเจ้า
เห็นเป็นรูปร่าง หรือว่าเป็นสภาวะไม่มีรูปร่าง |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
11 ก.ค.2008, 11:45 am |
  |
คุณ "คามินธรรม" ครับ
คุณกล่าวได้ถูกต้องแล้วครับ
พระอริยะเห็นอีกแบบ พระธรรมดาเห็นอีกแบบ คนธรรดาเห็นอีกแบบ
....แต่จริงๆ พระธรรมดากับคนธรรมดา ก็คือ อันเดียวกัน เรีบกว่า ปถุชน พระกับคนธรรมดาเป็นแค่สมมุติ
การตีความพระรัตนตรัยของคุณ ผมมีข้อชี้แนะนิดนึง
ที่คุณกล่าวว่า การตีความคำว่า พุทธ จึงหมายถึงพระพุทธเจ้า โดยตรง
หมายถึงมีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น เป็นของมีค่า หาได้ยาก รายละเอียดดังนี้
พระพุทธ - การมีพระพุทธเจ้าบังเกิดนั้นยาก หาได้ยาก จึงมีค่า
......คุณควรรู้ว่า พระพุทธเจ้าในพุทธเถรวาทมี 28 พระองค์ ไม่ใช่มีแค่โคตมะพุทธเจ้าองค์เดียว
พุทธมหายานที่เคยเป็นมนุษย์มี 56 พระองค์ (อาจจำผิด) และที่อยู่ในนิพพานมีมากมายเหลือคณานับ
แต่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ก็ออกมาจากอาทิพุทธ หรือ พระพุทธเจ้าองค์ปฐมทั้งสิ้น
ด้วยเหตุนี้ผมจึงรู้ว่า พระรัตนตรัย คำว่า พระพุทธ หมายถึง อาทิพุทธเจ้า
พระธรรม - ธรรมะ ของพระพุทธเจ้า นั้นมีค่า หาได้ยาก
....ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา(ตถาคต) ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม พระพุทธเจ้าตรัสอีกอย่างหนึ่งว่า
"ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท"
และพระพุทธเจ้าตรัสด้วยว่า แท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง หยั่งรู้ได้ยากยิ่ง แม้แต่พระอานนท์ไปนึกว่า
ปฏิจจสมุปบาทนี้ง่าย พระพุทธเจ้าทรงห้ามมิให้คิดเช่นนั้น เช่นเดียวกับที่สมมุติสงฆ์สอนเรื่องปฏิจจสมุปบาท
ทั้งๆที่ตนเองไม่เข้าใจจริง คนที่จะเข้าใจปฏิจจสมุปบาทได้จริง ต้องเป็นผู้ปฏิบัติจนถึงระดับพระอริยะเจ้าเท่านั้น
พระสงฆ์ - สงฆ์ที่แท้ ผู้สืบต่อธรรมะ ของพระพุทธเจ้า นั้นมีค่า หาได้ยาก
....ก็เช่นเดียวกันคนที่จะสืบต่อพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่สมมุติสงฆ์ เนื่องจาก สมมุติสงฆ์
ม่สามารถอธิบายปฏิจจสมุปบาทได้ เพราะปฏิจจสมุปบาทจะรู้ได้ต้องปฏิบัติให้ถึงขั้นเท่านั้น ไม่เช่นนั้น
ก็จะทำสัทธรรมปฏิรูปอยู่ร่ำไป หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เทศน์ว่า "สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงว่าธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดาน ของปถุชนแล้ว ย่อมเป็นของปลอมทั้งสิ้น (สัทธรรมปฏิรูป) แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยะเจ้าแล้วไซร์ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริง และเป็นของไม่ลบเลือนด้วย" |
|
|
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
11 ก.ค.2008, 12:22 pm |
  |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า: |
คุณ"natdanai ครับ
ข้อความของคุณ
ผมขอทดสอบคุณนะครับว่าคุณเห็นพระพุทธเจ้าหรือยัง จากคำตรัสสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต" หระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ด้วยว่า "ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท"
ในปฏิจจสมุปบาท สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป แต่ในนามรูปหรือขันธ์ 5 นั้น ก็มีคำว่า วิญญาณขันธ์อยู่ (รูปขันธ์ สัญญาขันธ์ เวทนาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์) ถามว่า วิญญาณขันธ์นั้นเป็นตัวเดียวกับวิญญาณในข้อสังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ หรือเปล่า
ในพระไตรปิฎก พระพทธเจ้าตรัสว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมลึกซึ้ง ส่วนพระอานนท์ในตอนนั้นยังไม่ถึง
แม้แต่โสดาบันกลับกล่าวว่า
น่าอัศจรรย์นัก พระเจ้าข้า ปฏิจจสมุปบาท นี้เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง แต่ถึงอย่างนั้นก็ปรากฏเหมือนเป็นธรรมง่ายๆ แต่ข้าพระองค์
พระพุทธองค์ตรัสห้ามในทันทีว่า
อานนท์! เธออย่าพูดอย่างนี้ อานนท์! เธออย่าพูดอย่างนี้ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ไม่ตรัสรู้ ไม่แทงตลอดธรรมนี้ หมู่สัตว์นี้จึงเป็นเหมือนเส้นด้ายที่ยุ่ง เป็นเหมือนกลุ่มเส้นด้ายที่เป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ย่อมไม่ผ่านพ้นอบาย และการเวียนว่าย"
ผมจะดูว่า คุณเข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปบาทจริงไหม เพราะใครๆก็พูดได้ทั้งนั้นว่าเห็นพระพุทธเจ้าแล้ว[/b] |
หากท่านต้องการจะทราบทัศนะเกี่ยวกับปฏิจสมุปบาทของกระผม กระผมก็ขออนุญาติแสดงทัศนของกระผมซึ่งเป็นความเข้าใจจากการพิจารณาด้วยสติปัญญาเพียงเล็กน้อยที่กระผมมีอยู่ ปฏิจสมุปบาทในความเข้าใจของกระผมนั้น เป็นคำสอนที่กล่าวถึงเหตุปัจจัยของการเวียนตาย - เวียนเกิด ติดต่อกันเป็นอเนกชาติ(นับชาติไม่ถ้วน)
ส่วนที่ท่านถามว่าในปฏิจจสมุปบาท สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป แต่ในนามรูปหรือขันธ์ 5 นั้น ก็มีคำว่า วิญญาณขันธ์อยู่ (รูปขันธ์ สัญญาขันธ์ เวทนาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์) ถามว่า วิญญาณขันธ์นั้นเป็นตัวเดียวกับวิญญาณในข้อสังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ หรือเปล่า ในความเข้าใจของกระผมนั้น วิญญาณในปฏิจสมุปบาทต่างจากวิญญาณในขันธ์5ครับ เพราะวิญญาณในปฏิจสมุปบาทนันเป็นเหตุปัจจัยของการเกิดวิญญาณขันธ์(นาม)ฉะนั้นวิญญาณขันธ์จึงไม่ใช่วิญญาณในปฏิจสมุปบาท เปรียบเทียบวิญญาณขันธ์เหมือนชื่อเรียกครับ เช่นว่า สัตว์ปีกทีหากินอยู่กับพื้นดิน บินไม่ได้ไกล มีนิสัยชอบส่งเสียงร้องในเวลาเช้าๆ ว่า เอ๊ก อิ เอ๊ก เอก....(อันนี้เป็นวิญญาณในปฏิจสมุปบาท) เราเรียกสัตว์ตัวนั้นว่า ไก่ (อันนี้เป็นวิญญาณขันธ์)
หากอธิบายทั้งหมดค่อนค่างจะยาวครับ ท่านเองก็คงพอจะทราบอยู่บ้างแล้วว่าปฏิจสมุปบาทคืออะไร และที่พระศาสดาทรงแสดงธรรมนี้เพื่ออะไร
กระผมเองอยากให้ท่านศึกษาให้เข้าถึงอรรถของธรรม อย่าพยายามไปใส่ใจกับพยันชนะให้มากครับ เพราะจะทำให้อรรถของธรรมถูกบิดเบือนไป
ปล.กระผมยังยืนยันอยู่ว่ากระผมยังไม่เคยได้เข้าเฝ้าพระศาสดาครับ หากแต่กระผมเพียงแต่ได้กระทบกับกระแสของธรรมที่พระองค์ทรงแสดงไว้และเห็นจริงดังนั้นจึงทำให้เกิดศรัทธาในพระศาสนาอย่างมากครับ |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
11 ก.ค.2008, 1:02 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
......คุณควรรู้ว่า พระพุทธเจ้าในพุทธเถรวาทมี 28 พระองค์ ไม่ใช่มีแค่โคตมะพุทธเจ้าองค์เดียว
พุทธมหายานที่เคยเป็นมนุษย์มี 56 พระองค์ (อาจจำผิด) และที่อยู่ในนิพพานมีมากมายเหลือคณานับ
แต่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ก็ออกมาจากอาทิพุทธ หรือ พระพุทธเจ้าองค์ปฐมทั้งสิ้น
ด้วยเหตุนี้ผมจึงรู้ว่า พระรัตนตรัย คำว่า พระพุทธ หมายถึง อาทิพุทธเจ้า |
เข้าใจสิ่งเดียวกันแหละครับ เพราะผมใช้ว่า "มีพระพุทธเจ้ามาบังเกิด"
ก้คือ สภาวะที่มีพระพุทธเจ้ามาบังเกิด
หรืออักนัยย์หนึ่ง คือ ยุค/เวลา/ช่วง ที่มีพระพุทธเจ้ามาบังเกิด
หรืออักนัยย์หนึ่ง คือ ยุคนี้ ยุคเรา ยุคที่เรายังสามารถหยั่งรู้ได้ ไม่เกินวิสัยปัญญาของเรา
เมื่อมาบังเกิด จึงเป็นของมีค่า หาได้ยาก
และยิ่งมี แก้วอีกสองประการ พ่วง package มาด้วย ยิ่งหาได้ยาก
ส่วนการมีพระพุทธเจ้ามากมายนั้น มันเป็นของยุคหลัง หรือยุคหน้า
การล่วงรู้ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ มีองค์อย่างไร มีชื่ออะไร ฯลฯ นั้น
เป็นของที่เกินกว่าคนธรรมดาจะพิสูจน์
ถ้าคุณพลศักดิ์เป็นเต่า ท่านไปได้ทั้งบกและน้ำ
ท่านย่อมเห็นอะไรมากมายที่ปลาอย่างผมมองไม่เห็น และรู้ไม่ได้
ผมจึงต้องปล่อยให้เป้นเรื่องของยุคหลัง หรือ ยุคหน้า
อันเกินปัญญาจะรู้ได้
ไม่ถือเป็นของตรงหน้า
การกล่าวถึง พุทธ ในรัตนตรัย
จึงหมายถึงตัว สมนโคตม โดยตรง
และหมายถึงสภาวะที่มีพระพุทธเจ้ามาเกิด
แต่ก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนี้ จะมีพระพุทธเจ้าอย่างไร
ผู้รู้ได้เท่านั้น ที่รู้
เมื่อรู้ไม่ได้ ย่อมต้องวางไว้เสีย ไม่ขบคิดให้เป็นบ้าไป
ผมจึงต้องทรมานให้พอเหมาะพอดีกับตัวเอง
ดังพระพุทธเจ้าตรัสไว้ แต่ผมยกมาจาก มุตโตทัย ที่เรากำลังอ้างอิงกัน
อ้างอิงจาก: |
11. การทรมานตนของผู้บำเพ็ญเพียร ต้องให้พอเหมาะกับอุปนิสัย
นายสารถีผู้ฝึกมามีชื่อเสียงคนหนึ่ง มาเฝ้าพระพุทธเจ้าทูลถามถึงวิธีทรมารเวไนย
พระองค์ทรงย้อนถามนายสารถีก่อนถึงการทรมารม้า
เขาทูลว่ามี ม้า อยู่ 4 ่ชนิด คือ
1. ทรมานง่าย
2. ทรมานอย่างกลาง
3. ทรมาน ยากแท้
4. ทรมานไม่ได้เลย ต้องฆ่าเสีย
พระองค์จึงตรัสว่า เราก็เหมือนกัน
1. ผู้ทรมานง่ายคือ ผู้ปฏิบัติทำจิตรวมง่าย ให้กินอาหารเพียงพอเพื่อบำรุงร่างกาย
2. ทรมานอย่างกลาง คือผู้ทำจิตไม่ค่อยจะลง ให้กินอาหารแต่น้อยอย่าให้มาก
3. ทรมานยากแท้ คือผู้ปฏิบัติทำจิตลงยากแท้ ไม่ต้องให้กินอาหารเลย แต่ต้องเป็น อตฺตญฺญู รู้กำลังของตนว่าจะทนทานได้สักเพียงไร แค่ไหน
4. ทรมานไม่ได้เลยต้องฆ่าเสียคือ ผู้ปฏิบัติทำจิตไม่ได้เป็นปทปรมะ พระองค์ทรงชักสะพานเสีย กล่าวคือ ไม่ทรงสั่งสอน
อุปมาเหมือนฆ่าทิ้งเสียฉะนั้น |
|
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
|