Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เรื่องขันธ์ 5-นาม-รูป อันไหนเกิดก่อนอันไหนดับก่อนครับ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ค.2008, 7:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โปรด ช่วยข้าผู้น้อยด้วย สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
รุ่งลลิดา สกุลงาม
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 21 ก.ค. 2007
ตอบ: 53
ที่อยู่ (จังหวัด): 75/8 ม.3 ม.จามจุรี 2 ต.ท่ามะกา อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 2:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ อยากท่านลองฟังพระธรรมเทศนาของพระธรรมธีรราชมหามุนี<โชดก ญาณสิทธิ>พระอาจารย์วิปัสสนาจารย์ของสมเด็จย่า ได้แสดงพระธรรมเทศนาเรื่องเทศน์ลำดับญาน.ไว้ ถ้าปฏิบัติมาทางสายปัญญา ปฏิบัติให้ต่อเนื่องฟังบ่อยๆจะเข้าใจ..........สาธุอนุโมทนา
 

_________________
มีสติไว้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 5:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขันธ์ ๕ กับ รูป นาม คือสิ่งเดียวกันครับ

ขันธ์ ๕
มีรูป คือ รูปขันธ์ (รูป ๒๘ ในพระอภิธรรม)
http://www.abhidhamonline.org/rupa.files/rupa.htm

เวทนา สัญญา สังขาร (เจตสิก) วิญญาณ คือ นาม

แนวคิดเรื่อง จิต,เจตสิก ในพระอภิธรรม
http://www.abhidhamonline.org/thesis/thesis2.files/thesis2.htm


รูป และ นาม ย่อมอาศัยซึ่งกันและกัน จึงเกิดพร้อมกัน

----------------------------------------------------

จากที่ท่านผู้รู้อธิบายไว้ ที่ลานธรรมอภิธรรมมูลนิธิ


http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=10868

ถาม สัญญาขันธ์ คืออะไร?

ตอบ สัญญาขันธ์ กองสัญญา เป็นนามธรรมประเภทเจตสิก ชื่อสัญญาเจตสิก เป็นตัวการที่เก็บหรือจดจำอารมณ์เอาไว้

เจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต และปรุงแต่งจิตให้ประพฤติเป็นไปต่างๆ เป็นสภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์เดียวกับจิต และมีวัตถุที่อาศัยเกิดก็เป็นอันเดียวกับจิต


ถาม วิญญาณขันธ์ คืออะไร?

ตอบ วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ หมายถึงจิตทั้งหมด เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์

จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งรู้อารมณ์ จิตเป็นตัวรู้ สิ่งที่จิตรู้ เรียกว่าอารมณ์ มีชื่อเรียกหลายคำ เช่น มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ

ดังนั้น วิญญาณขันธ์เกิดขึ้นเมื่อใดจะมีสัญญาขันธ์เกิดขึ้นด้วยเสมอ

ถาม ตามหลักอภิธรรมแล้ว จำเป็นไหม ที่วิญญาณจะต้องมาก่อนสัญญา?

ตอบ ขันธ์ทั้ง ๕ นี้ จะเกิดพร้อมเพรียงกันไม่ก่อนไม่หลังกว่ากัน

ถาม นามขันธ์ ทั้งหมดคือ จิต ใช่หรือไม่ ถ้าใช่แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ก็คือจิตด้วยหรือเปล่า


ตอบ แนะนำ http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=10825
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 5:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลำดับของการเกิด ขันธ์ ๕ / นาม รูป คงต้องศึกษาจาก ปฏิจจสมุปบาท


มหานิทานสูตร ที่ ๒
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๑๔๕๕ - ๑๘๘๗. หน้าที่ ๖๐ - ๗๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1455&Z=1887&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=57
----------------------------------------------------


พระไตรปิฏก ฉบับสำหรับประชาชน
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/2.html

อะไรเป็นปัจจัยแห่งอะไร
๑. ต่อจากนั้นทรงแนะนำเรื่องปฏิจจสมุปบาทต่อไป ถ้ามีผู้ถามว่า ความแก่ความตายมีปัจจัยหรือไม่ พึงตอบว่า มี โดยชี้ไปที่ความเกิด ( ชาติ) ว่า เพราะความเกิดเป็นปัจจัย จึงมีความแก่และความตาย.

๒. เพราะภพ ( ความมีความเป็น ) เป็นปัจจัย จึงมีชาติ ( ความเกิด).

๓. เพราะอุปาทาน (ความยึดถือ) เป็นปัจจัย จึงมีภพ.

๔. เพราะตัญหา ( ความทะยานอยาก) เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน.

๕. เพราะเวทนา ( ความรู้สึกที่เกิดจากสัมผัสทางตา หู เป็นต้น) เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา.

๖. เพราะผัสสะ ( ความถูกต้อง ) เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา.

๗. เพราะรูปนาม ( สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง มีแต่ชื่อ เรียกว่านาม ได้แก่เวทนา ความรู้สึกอารมณ์, สัญญา ความจำได้หมายรู้, เจตนา ความจงใจ, ผัสสะ ความถูกต้อง, มนสิการ ความทำไว้ในใจ ส่วนสิ่งที่เป็นรูป คือธาตุ ๔ และรูปอันปรากฏเพราะอาศัยธาตุ ๔ ) เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ.

๘. เพราะวิญญาณ ( ปฏิสนธิวิญญาณ ) คือธาตุรู้ที่ถือกำเนิด ๔ . เป็นปัจจัย จึงมีรูปนาม.

๙. เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ .

๑๐. เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป.

๑๑. เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ.

๑๒. เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา.

๑๓. เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัญหา.

๑๔. เพราะมีตัญหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน.

๑๕. เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ.

๑๖. เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ.

๑๗. เพราะชาติ (ความเกิด) เป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ ( ความแก่ ความตาย ) ในตอนนี้ระหว่างนามรูป กับวิญญาณ . โปรดดูข้อ ๙ ข้อ ๑๐, ต่างฝ่ายเป็นปัจจัยของกันและกัน แล้วจึงเนื่องไปถึงอันอื่น ).

ต่อจากนั้นทรงอธิบายรายละเอียด พร้อมทั้งเหตุผลประกอบหัวข้อทั้งสิบเจ็ดข้อนั้น แต่มีข้อน่าสังเกตที่ทรงใช้ศัพท์เกี่ยวกับสัมผัส คือทรงอธิบายสัมผัสว่า มี ๖ มีสัมผัสทางตา จนถึงสัมผัสทางใจ แล้วทรงใช้คำว่า อธิวจนสัมผัส ซึ่งอรรถกถาอธิบายว่า เป็นสัมผัสทางใจ และ ปฏิฆสัมผัส ซึ่งอรรถกถาอธิบายว่า เป็นสัมผัสที่เนื่องด้วยรูปขันธ์ คือสัมผัสทางร่างกาย คำอธิบายปฏิจจสมุปบาทโดยละเอียด จักมีแจ้งในการย่อความเล่มที่ ๑๖ เพราะในเล่มว่าด้วยปฏิจจสมุปบาทตลอด).

ในที่สุดตรัสสรุปในชั้นนี้ก่อนว่า ข้อวิญญาณ กับนาม รูป ต่างเป็นปัจจัยของกันและกันนี้ ย่อมเป็นเหตุให้สัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ อุปบัติ ๕ . เป็นเหตุให้มีทางแห่งคำเรียกชื่อ มีทางแห่งการพูดจา มีทางแห่งการบัญญัติ มีการรู้ได้ด้วยปัญญา และมีวัฎฎะ ความหมุ่นเวียน และความเป็นอย่างนี้.


-------------------------------------------------------------
ปฏิจจสมุปบาท จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ

วิญญาณ
http://abhidhamonline.org/aphi/p8/015.htm

นาม คือ เจตสิก ที่ประกอบกับปฏิสนธิวิญญาณ ๑๙ ก็เรียกว่า ปฏิสนธินาม (ปฏิสนธิเจตสิก) เจตสิกที่เกิดในปฏิสนธิกาลนี้ อาศัยกัมมวิญญาณในอดีตภพ และ ปฏิสนธิวิญญาณในปัจจุบันภพ เป็นปัจจัย

นาม คือ เจตสิก ที่ประกอบกับปวัตติวิญญาณ ๓๒ ก็เรียกว่า ปวัตตินาม (ปวัตติเจตสิก) เจตสิกที่เกิดในปวัตติกาลนี้ อาศัยปวัตติวิปากวิญญาณแต่อย่างเดียว เป็นปัจจัย

ส่วน รูป ในบทนี้ หมายถึงรูปภายในสัตว์ทั้ง ๒๘ รูป กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า หมายเฉพาะกัมมชรูปโดยตรง และจิตตชรูปโดยอ้อมเท่านั้น

กัมมชรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณ ๑๕ (เว้นอรูปปฏิสนธิวิญญาณ ๔) นั้นเรียกว่า ปฏิสนธิรูป กัมมชรูปที่เกิดในปฏิสนธิกาลนี้ อาศัยกัมมวิญญาณใน อดีตภพ และปฏิสนธิวิญญาณในปัจจุบันภพ เป็นปัจจัย

ปวัตติกัมมชรูป ที่เกิดจากกัมมวิญญาณ ๒๕ (เว้นอรูปกัมมวิญญาณ ๔) นั้น อย่างหนึ่ง กับจิตตชรูปที่เกิดจากปวัตติวิญญาณ ๑๘ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และอรูปวิปากวิญญาณ ๔) อีกอย่างหนึ่ง ทั้ง ๒ อย่างนี้เรียกว่า ปวัตติรูป กัมมช รูป ที่เกิดในปวัตติกาลนี้อาศัยกัมมวิญญาณในอดีตภพแต่อย่างเดียวเป็นปัจจัย ส่วน จิตตชรูปที่เกิดขึ้นในปฏิสนธิกาลนั้นไม่มี มีแต่เกิดขึ้นในปวัตติกาล โดยอาศัยปวัตติ วิปากวิญญาณเป็นปัจจัย

รวมความว่า รูปในปฏิสนธิกาล มีแต่กัมมชรูปอย่างเดียว รูปในปวัตติกาล มีได้ทั้งกัมมชรูป และจิตตชรูป

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูปนี้ จำแนกความเป็นปัจจัยได้เป็น ๓ ประการ คือ วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูป และวิญญาณเป็นปัจจัยแก่ นามรูป

----------------------------------------------------------------
จากท่านผู้รู้

ปฏิจจสมุปบาท
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=8821

ปฏิจจสมุปบาท หมายถึง หลักการที่ว่าด้วยระบบการกำเนิดแห่งชีวิต


ชีวิตประกอบขึ้นจากส่วนสำคัญ ๕ ส่วน เรียกว่า ขันธ์ ๕ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือเรียกโดยย่อว่า รูปธรรมและนามธรรม หรือเรียกว่ารูปขันธ์และนามขันธ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดดับอยู่ทุก ๆ ขณะ จึงเป็นอนิจจังคือเป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน คงทนไม่ได้ ถือไว้ไม่ได้ ดูแลไม่ได้ ให้ความสุขไม่ได้ เพราะดับไปแล้วจึงเป็นทุกขัง เป็นสิ่งไม่คงทนเป็นของเปล่า และเป็นอนัตตา คือเป็นสิ่งที่ปราศจากอัตตาคือตัวตน

อะไรทำให้ปฏิสนธิ?



พระธัมมเสนาบดีเป็นผู้ตั้งปุจฉาถามองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องปฏิสนธินี้เป็นเรื่องต่อเนื่องกันระหว่างอดีตกับปัจจุบันและปัจจุบันกับอนาคต ชีวิตปัจจุบันเป็นผลที่เกิดมาจากเหตุอดีต อดีตเหตุคือ อวิชชา สังขาร ก่อให้เกิดปัจจุบันผล คือ วิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา และผลในปัจจุบันรวมแล้วเป็นเหตุก่อให้เกิดเหตุปัจจุบันขึ้นอีก คือ ตัณหา อุปาทานและภพ และปัจจุบันเหตุก่อให้เกิดผลในอนาคต ได้แก่ ชาติและชรา-มรณะ แต่เรื่องอนาคตนั้นยังมาไม่ถึง


เมื่อผู้ใดก็แล้วแต่ยังไม่สามารถตัดอวิชชาและตัณหาได้ขาด ชีวิตก็ยังต้องดำเนินต่อไปจนหมดอายุหมดกรรม หรือหมดทั้งกรรมทั้งอายุ หรือมีกรรมตัดรอนไปจนตายและตายนั้นก็เป็นเหตุให้เกิดปฏิสนธิ ปฏิสนธินั้นเป็นการพูดระหว่างอดีตกับปัจจุบันและพูดระหว่างปัจจุบันกับอนาคต


เราเกิดมาได้อย่างไร เราเกิดมาเพราะเราตายมาจากอดีต จึงมีการเกิดเป็นปัจจุบันผล จากเหตุอดีตกล่าวคือ อวิชชา และสังขาร การไม่รู้ความจริงซึ่งถูกปรุงแต่งเป็นเหตุ (อดีต) ก่อให้เกิดผลในปัจจุบันซึ่งคือ วิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา (อดีตเหตุ ๒ ปัจจุบันผล ๕) ซึ่งผลในปัจจุบันเป็นตัวก่อเหตุอีกก่อให้เกิดเหตุปัจจุบัน ได้แก่ ตัณหา ความอยากได้ และทำให้ยึดติดยึดมั่นในอารมณ์นั้น กรรมภพจึงเกิดขึ้นและทำให้มีที่ไปคืออุปัตติภพ สร้างวัฏฏะอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้เกิดอนาคตผล ได้แก่ ชาติ ชรา-มรณะ ได้ความเกิด แก่ และตาย เมื่ออนาคตมาถึงเมื่อไรก็กลายเป็นปัจจุบันทันที



นามรูป คือ อะไร

นามในที่นี้ได้แก่ นามธรรม ๕ อย่าง คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะและมนสิการ ซึ่งได้แก่ นามขันธ์ ๓ ส่วนรูป ได้แก่ รูปขันธ์ คือ มหาภูตรูป และอุปาทายรูป

นามธรรมทั้ง ๕ มีการน้อมไปสู่อารมณ์ เป็นลักษณะ
มีหน้าที่ ประกอบกับจิตและเจตสิกด้วยกัน
มีการแยกจากจิตไม่ได้ เป็นผล
มีวิญญาณเป็นเหตุให้เกิด

ส่วนรูปขันธ์ มีการแตกดับหรือสลายอยู่เสมอ เป็นลักษณะ
มีหน้าที่กระจายไปจากจิต
มีความเป็นอพยากตธรรมเป็นผล
มีวิญญาณเป็นเหตุใกล้ให้เกิด

รูปในที่นี้หมายเอาเฉพาะกัมมชรูป ซึ่งเป็นรูปที่มีสมุฏฐานเกิดแต่กรรม ที่เรียกอีกอย่างว่า อัชฌัตติกรูป คือ รูปภายในสรรพสัตว์ที่มารวมกันกับปฏิสนธิวิญญาณ

นามรูป ในที่นี้หมายเอาปฏิสนธินามรูป คือ นามรูปที่ปฏิสนธิ ที่วิญญาณเป็นปัจจัยให้มา หมายเฉพาะเมื่อวิญญาณ คือ วิบากวิญาณ อันได้แก่ โลกียวิบากจิต ๓๒ และกัมมวิญญาณ หรือ อภิสังขารวิญญาณ ได้แก่ วิญญาณที่มีกรรมหรือสังขารเป็นพืชเชื้อหรือเยื่อเมือก (อวิชชาและสังขาร)



เปรียบเสมือนการหว่านพืชลงไปในไร่น่าที่มีน้ำ พืชก็ย่อมจะงอกและเจริญเติบโตขึ้นเป็นลำดับ เมื่อกรรมอันเปรียบเสมือนไร่นา มีอยู่ วิญญาณเปรียบเสมือนพืช ตัณหาเปรียบเสมือนน้ำที่มีอยู่ วิญญาณย่อมตั้งมั่นเป็นเหตุให้นามรูปเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าน้ำหล่อเลี้ยง< วิญญาณแห่งสัตว์โลกทั้งหลายมีอวิชชาเป็นเครื่องขวางกั้น มีตัณหาร้อยรัดตรึงอยู่มั่น เมื่อวิญญาณตั้งมั่นแล้ว การเกิดขึ้นในภพใหม่ คือ การปรากฏของรูปนามก็ย่อมมีอยู่ฉันนั้น คาถานี้พระพุทธเจ้าได้กล่าวกับพระอานนท์

เพราะว่าธรรมทั้งหลายย่อมเป็นไปตามวิญญาณ เช่น เวทนา – ความเสวยอารมณ์ สัญญา - ความจำได้หมายรู้ เจตนา - ความคิดอ่าน ผัสสะ – ความสัมผัส อารมณ์ มนสิการ – ความเอาใจใส่อารมณ์ นามทั้ง ๕ นี้ ถ้าไม่มีวิญญาณจะเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะเจตสิกทั้งหลายต้องเกิดอาศัยวิญญาณโดย สัมปยุตตปัจจัย เป็นต้น

ส่วนกัมมชรูปซึ่งมองไม่เห็น แต่รู้ได้โดยการอนุมาน เป็นรูปที่กรรมลิขิตให้มีมาพร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณ นามรูปนี้เป็นปัจจัยให้แก่ อายตนะ



----------------------------------------------------------------
คนตายแล้วไปเกิดได้อย่างไร โดยท่านอาจารย์บุญมี เมธางกูร

http://www.abhidhamonline.org/Ajan/book.htm
----------------------------------------------------------

การเกิดขึ้น ของวิญญาณ หรือ ปฏิสนธิวิญญาณ นี้เอง ทำให้เกิด นาม รูป หรือ ขันธ์ ๕ อย่างครบถ้วน แม้ขณะนั้น รูปขันธ์จะมีลักษณะกลละ ที่ใส ๆ ขนาดเล็กมาก ๆ ก็ตาม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 6:00 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เศร้า

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 8:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

RARM พิมพ์ว่า:
โปรด ช่วยข้าผู้น้อยด้วย สาธุ


คุณอยากรู้ไปทำไมหรือขอรับ คุณจะเอาไปสอบเข้าสถาบันไหนหรือขอรับ รู้แล้วคุณจะหลุดพ้น หรือมีความเข้าใจในหลักธรรมแห่งศาสนาได้หรือครับ
แต่ไม่เป็นไร ข้าพเจัาจะจัดให้
นามรูป หมายถึง
นามธรรม และรูปธรรม
นามธรรม หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ด้วยใจ ได้แก่เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
รูปธรรม หมายถึง สิ่งที่มีรูป สิ่งที่เป็นรูป ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด (คัดความจากพจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตฺโต)

ทีนี้ก็ต้องมาพิจารณาว่า
สิ่งที่ไม่มีรูป ซึ่งเอาแบบสั้นๆ ก็ย่อมหมายถึงความจำ ความคิด ความรู้สึก (อย่างอื่นไม่ต้องกล่าวถึง กล่าวถึงเฉพาะสิ่งที่คุณและท่านท้้งหลายสามารถรับรู้ได้)
สิ่งที่มีรูป ก็คือ สิ่งที่คุณมองเห็นเป็นรูปร่างต่างๆ นับตั้งแต่ตัวคุณไปจนถึงภายนอกร่างกายของคุณ (อันนี้อธิบายแบบให้เข้าใจง่าย)
ทีนี้ก็ต้องพิจารณาอีกว่า การดับของนาม และรูปนั้น อยู่ในสถานะไหน
เช่น ขณะที่คุณยังมีชีวิตอยู่ และแข็งแรงอยู่ไม่เจ็บป่วย การเกิดและดับของนามธรรมย่อมหมุนวนกันเป็นวัฏจักร คือ "เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป" แต่นามธรรมบางชนิดบางอย่าง จะถูกเก็บไว้เป็นข้อมูล เก็บไว้เป็นความจำ สัญชาตญาณ ภายในร่างกายของคนเรา
แต่ถ้าคุณเกิดเจ็บป่วย หรือได้รับอันตราย อย่างใดอย่างหนึ่ง การดับของรูป ในบางอย่างบางชนิดก็จะเกิดขึ้น ซึ่งก็แล้วแต่ว่า อวัยวะส่วนใดของคุณได้รับอันตราย และเกิดชำรุดจนใช้การไม่ได้ นั่นก็หมายความว่า รูปบางอย่างของคุณดับไป และถ้าคุณยังไม่ตาย นามธรรม ก็ยังคงอยู่ยังไม่ดับตามไปกับ อวัยวะบางอย่างบางชนิดของคุณ แต่ก็มีนามธรรมบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะที่ชำรุดเสียหายไปนั้น ดับตามไปกับอวัยวะหรือรูปธรรมนั้นๆ
นั่นก็แสดงว่า เมื่อรูปดับ นามธรรมก็ดับ ถ้ารูปไม่ดับ นามธรรมก็ยังคงอยู่
อันนี้ย่อมหมายรวมไปถึงเวลาคุณใกล้จะตายด้วย คือให้คิดพิจารณาตอนใกล้จะตายด้วยนะ อิ อิ อิ

เมื่อคุณได้อ่านคำสอนข้างต้นแล้ว คุณก็ต้องพิจารณาตอนก่อนที่คุณจะเกิดในครรภ์มารดาของคุณ ว่าเกิดจากอะไร (เอาตั้งแต่บิดามารดาของคุณยังไม่ได้แต่งงานกันเลยนะ) แล้วคุณก็จะได้รับคำตอบว่า
(อันนี้ไม่อยากให้คุณสงสัยอีก)
รูปธรรม ย่อมเกิดก่อน นามธรรม
รูปธรรม ดับก่อน นามธรรม ก็ดับตาม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
montasavi
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2008, 8:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอบ ..นาม เกิดก่อนรูป และ ดับก่อนรูปครับ

คือ ปฏิสนธิจิต เกิดก่อน ..จึงมีการแบ่งเซล

..ขณะตาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณดับก่อน รูปขันธ์ดับทีหลัง ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2008, 9:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เศร้า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2008, 2:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อันไหนเกิด อันนั้นดับ จะรูป หรือนาม ล้วนเกิดแล้วดับ สิ่งที่ท่านสงสัยนั้นเหมือน ไก่ กับ ไข่ ต่างเป็นเหตุของกันและกัน หาเป็นสิ่งจำเป็นที่จะสนใจไม่เพราะการเกิดดับนั้นเป็นธรรมชาติครับ
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง