ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
wanida
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 06 ธ.ค. 2007
ตอบ: 3
|
ตอบเมื่อ:
07 ธ.ค.2007, 12:18 pm |
  |
อยากทราบว่าการฆ่าคนในสนามรบของกษัตริย์ในอดีต
หรือของทหารตำรวจ ถือว่าเป็นบาปหรือไม่ |
|
|
|
  |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
07 ธ.ค.2007, 1:47 pm |
  |
ทหาร หรือกองทัพ ย่อมต้อง อาศัยศีลธรรม หรือศาสนาเป็นเครื่องประกอบหรือเป็นปัจจัยในการรบ (หมายเอาเฉพาะศาสนาพุทธ)
หากทหารหรือกองทัพ ไม่มีศีลธรรม ก็คงไม่ผิดอะไร กับกองโจรกองหนึ่ง
ดังนั้นกองทัพ ของทหาร ล้วนต้องยึดศีลธรรมเป็นเครื่องบำรุงใจ
"บนยอดธงชัยเฉลิมพล จึงมีพระพุทธรูปนั่งอยู่ในบรรณศาลา ประดิษฐสถานอยู่ เรียกว่า พระยอดธง"
เพื่อเตือนใจให้กับทหารทุกนายทุกคน ได้รู้ได้สำนึก ได้จดจำ และยึดถือศาสนาไว้เป็นแม่นมั่น
ในศาสนามีข้อศีล ข้อศีลในศาสนาพุทธคือ ศีลทั้ง 5 ข้อ ทหารล้วนย่อมยึดถือศีลห้าอย่างเคร่งครัด
การยึดถือศีล 5 ของทหารอย่างเคร่งครัดนั้น ไม่ได้หมายความว่า จะไม่ฆ่าศัตรู ผู้รุกรานชาติ แต่ทหารหาญเหล่านั้น จะละเว้นซึ่งการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต โดยไม่มีเหตุอันควร
เมื่อมีศัตรูมารุกราน ความจำเป็นในการป้องกัน และรุกไล่ศัตรู ย่อมต้องเกิดมีขึ้น นั่นหมายถึง ต้องฆ่า ศัตรู เพื่อยึดเอาที่หมาย และหรือป้องกันที่หมาย
ศีล 5 ของทหารทั้งหลายยังมีอยู่ แต่มีไว้สำหรับ เพื่อนพ้อง และเหล่าประชาชนคนไทยทั้งหลาย ไม่ได้มีศีล 5 ไว้เพื่อมีเมตตาต่อศรัตรู
แต่ก็มิได้หมายความว่า จะฆ่าศัตรู ให้หมดทุกคน
เพราะการดึงศัตรู ให้มาเป็นมิตร นั้น เป็นเรื่องที่ทหารจะกระทำมากกว่า การฆ่า
จึงไม่มีคำว่า "บาป" สำหรับทหาร เพราะ คำว่า"บาป" หมายถึง ความไม่ดี
การสังหารศัตรู ผู้รุกรานแผ่นดิน เป็นสิ่งดี ไม่เป็นบาป ขอรับ |
|
|
|
  |
 |
น้ำใส
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 31 พ.ค. 2004
ตอบ: 53
|
ตอบเมื่อ:
07 ธ.ค.2007, 3:47 pm |
  |
สวัสดีครับคุณ วณิดา
ตามที่รู้มา อาจจะถูกหรือผิดอันนี้ก็ไม่แน่ใจนะครับ เล่าไว้เพื่อพิจารณาดูนะครับ
ทหาร ต้องรักษาประเทศชาติ แน่นอนต้องสู้รบกับศัตรูที่มารุกราน ต้องมีการฆ่าทำลาย
อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทางพุทธศาสนาถือว่าผิดศีลข้อ ปาณาติบาต
เมื่อจำเป็นต้องทำบาป คนโบราณจึงคิดวิธีแก้ไข
คือให้ทหารทำพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณว่า จะปกป้องชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์
ดังนั้น ถ้าศัตรูมารุกรานแล้ว ทหารไม่ฆ่า ไม่ป้องกันเพื่อรักษาชาติ ก็จะผิดคำสัตย์
อธิบายง่ายๆคือ ถ้าไม่ฆ่าศัตรูที่มาทำลายชาติ ทหารก็จะเสียสัตย์ เป็นการผิดศีลข้อ มุสาวาท
ดังนั้น การฆ่าศัตรู เป็นการรักษาศีล ไม่ให้เป็นมุสาวาท
โดยที่ทหารจะถือศีลข้อรักษาสัตย์เป็นข้อที่สำคัญที่สุด ที่ว่า เสียชีพอย่าเสียสัตย์
โปรดเห็นใจอาชีพทหารด้วยเถิดครับ |
|
|
|
  |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
09 ธ.ค.2007, 1:24 pm |
  |
ข้าพเจ้า (ยศ นาย นามสกุล) ขอกระทำสัตย์ปฏิญาณว่า
ข้าพเจ้า จักยอมตาย เพื่ออิสรภาพ และความสงบแห่งประเทศชาติ
ข้าพเจ้า จักรักษาไว้ ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ข้าพเจ้า จักอยู่ในศีลธรรมของศาสนา
ข้าพเจ้า จะเชิดชูและรักษาไว้ ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า
ข้าพเจ้า จักเชื่อถือผู้บังคับบัญชา และปฏิบัติตามคำสั่งโดยเคร่งครัด ทั้งจักปกครองแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา โดยยุติธรรม
ข้าพเจ้า จะไม่แพร่งพรายความลับของราชการเป็นอันขาด
ด้านบนนั้น เป็นคำกล่าว "คำสัตย์ปฏิญาณตน ต่อหน้าธงชัยเฉลิมพล "
และเป็นข้อยุติว่า
ทหารทุกคน ทุกนาย ต้องอยู่ในศีลธรรมของศาสนา
ดังนั้นคำที่คุณ ผู้ใช้ชื่อว่า "น้ำใส" นำมาอ้างนั้น ไม่ถูกต้อง |
|
|
|
  |
 |
น้ำใส
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 31 พ.ค. 2004
ตอบ: 53
|
ตอบเมื่อ:
17 ธ.ค.2007, 8:45 am |
  |
จากหนังสือ...
ข้อความที่ผมตอบไว้ข้างต้น เขียนจากความทรงจำและความเข้าใจของตนเอง ซึ่งอาจผิดไปไม่ตรงกับความในต้นฉบับ ขออภัยในความผิดพลาดของผมด้วยครับ
จึงนำต้นฉบับจริงมาให้พิจารณา
* |
|
|
|
  |
 |
วิชชา
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 05 พ.ย. 2007
ตอบ: 31
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่
|
ตอบเมื่อ:
17 ธ.ค.2007, 11:59 am |
  |
การฆ่าผู้อื่นไม่ว่าใครเป็นผู้ฆ่า ฆ่าเพราะเหตุใด เมื่อสำเร็จย่อมเป็นปาณาติบาต
และสะสมอกุศลเพิ่มขึ้น
ตามหลักคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์แสดงวิบากของการ
ฆ่าสัตว์ว่า โดยตรงทำให้เกิดในนรก วิบากอย่างเบาที่สุดคือ เมื่อกลับมาเกิดเป็น
มนุษย์จะทำให้เป็นคนอายุสั้น คือตายก่อนวัยอันควร สรุปคือ ผลของการมีเจตนา
ฆ่า ไม่ว่าจะฆ่าสัตว์เล็กหรือสัตว์ใหญ่ก็ตาม จะทำให้เกิดในนรก แต่เมื่อเปรียบเทียบ
โทษว่า การฆ่าสัตว์เล็กและสัตว์ที่มีคุณน้อย มีโทษน้อยกว่าการฆ่าสัตว์ใหญ่ และ
สัตว์ที่มีคุณมาก
โปรดอ่าข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 495
๑๐. สัพพลหุสสูตร
[๑๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาตอันบุคคลเสพแล้ว
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ใน
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งปาณาติบาตอย่างเบา
ที่สุด ย่อมยังความเป็นผู้มีอายุน้อยให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์
ฯ ล ฯ
อ่านเพิ่มเติมที่นี่
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=2602 |
|
_________________ ไม่มี |
|
      |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
17 ธ.ค.2007, 2:37 pm |
  |
การศรัทธาในศาสนา หรือการนับถือศาสนานั้น จะต้องรู้จักศาสนาให้ดีก่อนว่า
ศาสนา ไม่ใช่กฎหมาย
ศาสนา ไม่ใช่ข้อห้าม
ศาสนา เป็นเพียงคำแนะนำ หรือข้อควรปฏิบัติ
ศาสนา เป็นสิ่งที่แนะนำท่านทั้งหลายให้รู้จักการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน อย่างเป็นสุข
ศาสนา เป็นสิ่งที่สอนให้ท่านทั้งหลาย ได้ขัดเกลากิเลส หรือขัดเกลา
บังคับ ควบคุม สภาพสภาวะจิตใจในรูปแบบต่างๆมิให้เกิดความรุนแรง
กันอาจเกิดเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
ศาสนา ไม่ใช่กฎหมาย ดังนั้น บรรดาข้อศีล ข้อธรรม ที่มีอยู่
สำหรับ ปุถุชนคนทั่วไปแล้ว
ย่อมไม่มีผลว่าดีหรือไม่ดี คือ ไม่มีผลว่า
ถ้าไม่ทำตามแล้วจะไม่ดีหรือบาป ถ้าทำตามแล้ว
จะดี คือบุญ
แต่ในทางตรงกันข้าม ในการดำรงชีวิตของปุถุชนคนทั่วไปนั้น
หากทำตามข้อศีล ก็ย่อมทำให้สังคมนั้น เกิดความสุขสงบ ทั้งตนเองและผู้อื่น
ถ้าไม่ทำตามข้อศีล ก็ย่อมทำให้สังคมนั้น อาจจะ (ใช้คำว่าอาจจะ)
เกิด ความไม่สงบสุข ทั้งตนเองและผู้อื่นก็เป็นได้
แต่ยังมีข้อยกเว้น สำหรับ พระภิกษุสงฆ์ ฯ ที่มี พระวินัย 227 ข้อ
ซึ่ง พระวินัย เหล่านั้น ก็เป็นเพียงข้อให้พระภิกษุสงฆ์
ได้ใช้เป็นข้อฝึกตนเพื่อความแข็งแกร่งทางจิตใจ
เพื่อความละเอียด ในการคิด และอื่นๆ
หากพระภิกษุสงฆ์ รูปใด ไม่สามารถปฏิบัติตาม ในข้อที่ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุ
ก็ย่อมต้องอาบัติปาราชิก เพราะศาสนา สอนให้บุคคลเป็นผู้รู้ตน มีความรับผิดชอบ
อันนี้ไม่อธิบายในรายละเอียดนะขอรับ
นอกเหนือจากอาบัติปาราชิกแล้ว ก็เป็นเพียงอาบัติธรรมดา
ที่สามารถปลง หรือเข้ากรรม ก็หมดสิ้น นั้นเป็นเพียงการฝึกตน
สำหรับพระภิกษุสงฆ์ ฯ เท่านั้น
มิได้หมายรวมถึง เหล่าฆราวาส หรือปุถุชนคนทั้งหลายที่ศรัทธา
หรือนับถือ ศาสนาอยู่อย่างแน่นอน
เพราะศาสดาแห่งศาสนาย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่า มนุษย์นั้นเป็นอย่างไร
มีความคิด และพฤติกรรมเป็นอย่างไร
เพราะหากไม่รู้ ก็ไม่ใช่ศาสดาละนะ เมื่อรู้ธรรมชาติของมนุษย์แล้ว
จึงได้สร้างศีล สำหรับ คฤหัสถ์
ไว้เป็นลำดับขั้น คือ ศีล 5 ศีล 8 และศีล 10 สำหรับ
ศีล 10 นั้น เป็นได้ทั้งศีลของคฤหัสถ์ และเป็นทั้งศีลของสามเณร
เพราะศีล 10 นั้น สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ของบุคคลทั่วไปเหมือนกัน
ศีล สำหรับ คฤหัสถ์ คือ ศีล 5 และศีล 8 นั้น เป็นเพียงข้อฝึกตน ละเว้นมิให้ปฏิบัติ
เพื่อให้เกิดสภาพสภาวะจิตใจที่เรียกว่า ธรรมะในศาสนาขึ้น
ซึ่งในทางที่เป็นจริง สภาพสภาวะจิตใจที่เรียกว่าธรรมะของเขาเหล่านั้น
ก็มีอยู่เองตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ธรรมชาติของมนุษย์
และสิ่งมีชีวิตย่อมมีความโลภ มีความโกรธ มีความหลง
ดังนั้นศาสนาจึงได้สร้างข้อศีลขึ้นไว้เพื่อให้คฤหัสถ์ ฝึกตนโดยการยึดถือข้อศีล
ทั้งหลายไว้
แต่มิได้บัญญัติ ความผิด หากเกิดการไม่ปฏิบัติตามศีล แต่ความรู้สึกผิดหรือถูก
จะเกิดขึ้นในใจของผู้นับถือ หรือยึดถือศีล นี้เป็นหลักความจริง
หากความรู้สึกผิดหรือถูก เมื่อปฏิบัติตามศีล
หรือไม่ปฏิบัติตามข้อศีลเกิดขี้นในใจของบุคคล เขาเหล่านั้นก็จะคิดว่า
บาป คือความไม่ดี หากผิดศีล และคิดว่า บุญ คือความดี หากปฏิบัติตามข้อศีล
แต่ในความจริงแล้ว ไม่มีความผิดใดใด ไม่มีความถูกใดใด เกิดขึ้นเลย
ไม่ว่าจะปฏิบัติตาม หรือไม่ปฏิบัติตามข้อศีล
แต่เนื่องจากธรรมชาติของสรรพสิ่งย่อมต้องการความสงบสุข
ไม่ชอบการทะเลาะเบาะแว้งหรืออยู่กันอย่างไม่สงบสุข ไม่สบายใจ
ดังนั้นศาสนาจึงเกิดขึ้น ศาสนาจึงเป็นเครื่องจรรโลงใจ
ศาสนาจึงเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ของมนุษย์
เพราะมนุษย์เป็นสัตว์โลก ที่มีสมองสติปัญญาดียิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน
จึงจำเป็นต้องมีศาสนาไว้กล่อมเกลา ขัดเกลา อบรม สั่งสอน
หรือคอยช่วยเหลือมิให้เกิดความเลวร้ายในจิตใจของแต่ละบุคคล
มิให้ประพฤติเหมือนเหล่าสัตว์เดรัจฉานบางชนิด ที่คอยแต่จะทำร้ายผู้ที่อ่อนแอกว่า
ให้มีความรักใคร่ต่อมวลมนุษย์ ด้วยกัน และสัตว์อื่นๆ
ความผิดถูกในจิตใจและความผิดถูกตามค่านิยมของสังคมจึงเกิดขึ้นหาก
ไม่ปฏิบัติตาม หรือปฏิบัติตามศีลธรรมในศาสนา |
|
|
|
  |
 |
ลุงดำ
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 24 พ.ย. 2007
ตอบ: 59
|
ตอบเมื่อ:
17 ธ.ค.2007, 6:09 pm |
  |
เอ่อ เอ่อ อ้าว อ้าว สนุกดี
เอ่อ..............
เป็นคนนี่ มันช่างทุกข์จริงหนอ ช่างทุกข์จริงหนอ
กรรม............โลโก กุ๊ก ๆ จริง ๆ
เวรกรรม เวรกรรม จะทะเลาะกันทำไม หนอ ลูกหลานเอ๊ย กินข้าวเถอะ พ่อ เอ๊ย ลูก เอ๊ย |
|
_________________ ถ้ามีเวลาว่างเกินไป ก็ไปช่วยเขาทำงานบ้าน บ้าง เอ้อ |
|
  |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
17 ธ.ค.2007, 8:03 pm |
  |
ไม่มีใครทะเลาะกันดอกนะคุณ คุณคิดของคุณเอง บุคคลที่เขามาในเวบฯ มีหลายสภาพสภาวะจิตใจ แต่ส่วนใหญ่ก็ย่อมหวังได้รับสิ่งดีดี กลับไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ไม่ใช่ทำตัวเหมือนเด็กๆ ไร้ความยั้งคิด อยากจะทำอะไรก็ทำ อยากจะเขียนอะไรก็เขียน โดยไม่ได้ใช้สมองสติปัญญา |
|
|
|
  |
 |
ลุงดำ
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 24 พ.ย. 2007
ตอบ: 59
|
ตอบเมื่อ:
17 ธ.ค.2007, 9:09 pm |
  |
Buddha พิมพ์ว่า: |
ไม่มีใครทะเลาะกันดอกนะคุณ คุณคิดของคุณเอง บุคคลที่เขามาในเวบฯ มีหลายสภาพสภาวะจิตใจ แต่ส่วนใหญ่ก็ย่อมหวังได้รับสิ่งดีดี กลับไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ไม่ใช่ทำตัวเหมือนเด็กๆ ไร้ความยั้งคิด อยากจะทำอะไรก็ทำ อยากจะเขียนอะไรก็เขียน โดยไม่ได้ใช้สมองสติปัญญา |
อ้อ อ้อ สิ่งดี ๆ เป็นอย่างนี้ อ้อ อ้อ
ขอให้ได้พูดสิ่งดี ๆ แบบนี้ต่อไป เอ่อ ดีพ่อBud  |
|
_________________ ถ้ามีเวลาว่างเกินไป ก็ไปช่วยเขาทำงานบ้าน บ้าง เอ้อ |
|
  |
 |
suvitjak
บัวบาน

เข้าร่วม: 26 พ.ค. 2008
ตอบ: 457
ที่อยู่ (จังหวัด): khonkaen
|
ตอบเมื่อ:
20 มิ.ย.2008, 12:22 pm |
  |
หลากหลายความคิดเห็นจริงๆ  |
|
_________________ ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน |
|
  |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
23 มิ.ย.2008, 9:36 am |
  |
ฆ่าสัตว์ ที่ไหนก็บาปครับ
ปกป้องประเทศ ปกป้องประชาชน ก็เป็นบุญ
บุญส่วนบุญ บาปส่วนบาป
จำได้ว่าเคยอ่านเจอ
มีคนเคยถามพระพุทธเจ้า เรื่องฆ่าคนในสนามรบเนี่ยแหละครับ
พระพุทธเจ้าท่านก็ห้ามไว้ว่าอย่าถามเลย ถึง สามครั้ง
จนท่านต้องตอบไปครับ ถึงผลของกรรมของคนที่ฆ่าคนในสนามรบ
ผมเห็นใจคนที่เป็นทหารนะครับ ถ้าถึงเวลาต้องรบเพื่อปกป้องประเทศจริงๆ ก็ขอให้ตั้งจิตปกป้องประเทศ ปกป้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ ปกป้องศาสนา อย่าฆ่าฝ่ายตรงข้ามด้วยความโกรธ ด้วยความสนุก แค่นั้นเองครับ
วิบากกรรมอาจมีอยู่ แต่ผลบุญอาจได้เต็มเปี่ยมครับ |
|
|
|
    |
 |
kathin
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 04 ก.ค. 2008
ตอบ: 2
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.ค.2008, 10:54 pm |
  |
สัตว์โลกเป็นไปตามกรรมครับ มีทหารมากมายที่ไม่ได้ถูกส่งตัวเข้าสู่สนามรบ
ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ ณ จุดนั้นต้องมีเหตุที่แตกต่างจากผู้อื่นถึงต้องไปอยู่ใน
สถานการณ์แบบนั้น อาจจะรบติดพันกันมาแต่ปางก่อนนะครับ |
|
|
|
  |
 |
ทินกร ทวีทรัพย์วัฒนา
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 05 ก.ค. 2008
ตอบ: 4
|
ตอบเมื่อ:
05 ก.ค.2008, 11:23 pm |
  |
เมธี พิมพ์ว่า: |
ฆ่าสัตว์ ที่ไหนก็บาปครับ
ปกป้องประเทศ ปกป้องประชาชน ก็เป็นบุญ
บุญส่วนบุญ บาปส่วนบาป
จำได้ว่าเคยอ่านเจอ
มีคนเคยถามพระพุทธเจ้า เรื่องฆ่าคนในสนามรบเนี่ยแหละครับ
พระพุทธเจ้าท่านก็ห้ามไว้ว่าอย่าถามเลย ถึง สามครั้ง
จนท่านต้องตอบไปครับ ถึงผลของกรรมของคนที่ฆ่าคนในสนามรบ
ผมเห็นใจคนที่เป็นทหารนะครับ ถ้าถึงเวลาต้องรบเพื่อปกป้องประเทศจริงๆ ก็ขอให้ตั้งจิตปกป้องประเทศ ปกป้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ ปกป้องศาสนา อย่าฆ่าฝ่ายตรงข้ามด้วยความโกรธ ด้วยความสนุก แค่นั้นเองครับ
วิบากกรรมอาจมีอยู่ แต่ผลบุญอาจได้เต็มเปี่ยมครับ |
เห็นด้วยครับ..
นี้เป็นคงเป็นเหตุผลที่บุคคลที่เป็นพระต้องมีข้อกำหนดมากมาย...เพราะในสภาพนั้น เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติมากที่สุด |
|
|
|
  |
 |
ปกรณัม
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 12 ก.ค. 2008
ตอบ: 52
ที่อยู่ (จังหวัด): ขอนแก่น
|
ตอบเมื่อ:
17 ก.ค.2008, 11:50 pm |
  |
กรรมใดใครก่อกรรมนั้นย่อมสนอง
ผมก็คิดว่า น่าจะได้ทั้งบาปและบุญ เพียงแต่ไม่รู้ว่าสิ่งไหนจะได้มากกว่ากัน |
|
_________________ คนที่ไม่ทำงานไม่สมควรจะมีชีวิตอยู่! |
|
     |
 |
|