Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ความขัดแย้ง อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ชาวพุทธ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.พ.2005, 10:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบอาราธนาพระเดชพระคุณขอรับ กระผมมีเรื่องกราบอารธนาเรียนถามว่า ความขัดแย้งมีสาเหตุมาจากอะไรขอรับ และมีธรรมะข้อใดบ้างที่ใช้แก้ไขความขัดแย้งได้ขอรับ

กราบนมัสการมาด้วยความเคารพอย่างสูง

ชาวพุทธ
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.พ.2005, 1:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความขัดแย้ง ถ้าจะแบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ แล้ว มีสาเหตุมาจาก 4 อย่างครับ

1. ความขาดแคลนในทรัพย์สิน เช่น สามีภรรยา เริ่มต้นก็รักกันดี แต่พอมีปัญหาเรื่องทรัพย์สิน สามีนำเงินไปดื่มเหล้าหมด ภรรยานำเงินไปเล่นไฟ่หมด ความขัดแย้งก็เกิดขึ้นมา หรือ พี่น้องทะเลาะกันเพราะอยากได้ของเล่นชิ้นเดียวกัน อยากดูทีวีคนละช่องแต่มีทีวีเครื่องเดียว เป็นต้น

2. ความขาดแคลนกำลังใจเนื่องจากคำพูด คำพูดเป็นสิ่งที่จะสร้างและทำลายกำลังใจได้ดีมากๆ อย่างหนึ่งเลยทีเดียว เช่น เคยทำผิดพลาดมาก่อน พอกำลังจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ มีคนมาพูดว่า อย่างเอ็งเรอะจะมีปัญญาเป็นคนดีได้ กำลังใจก็หายไป แต่ความโกรธมาแทนที่ และก็ตามมาด้วยความขัดแย้งกัน

3. ความขาดแคลนความมีน้ำใจต่อกัน ทั้งความมีน้ำใจที่จะช่วยเหลือด้านแรงกาย แรงใจ กำลังคิด สติปัญญาให้คำปรึกษาต่างๆ ถ้าไม่มีให้กัน ก็เกิดความขัดแย้งได้

4. ความขาดแคลนความจริงใจต่อกัน ต่อหน้าอย่าง ลับหลังอย่าง ไม่เสมอต้นเสมอปลาย ก็เป็นเหตุแห่งความระแวงต่อกัน เกิดความขัดแย้งได้ครับ



ส่วนวิธีการขจัดความขัดแย้ง ก็คือ คุณธรรมที่จะทำให้หมู่คณะตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ขัดแย้งน้อยที่สุด ก็คือ

สังคหวัตถุ 4 ประการครับ ได้แก่

1. ทาน ให้ปันแก่กัน เมื่อทุกฝ่ายเป็นผู้ให้แก่กัน ความขัดแย้งทะเลาะกันเรื่องทรัพย์สินก็จะหายไป

2. ปิยวาจา พูดดีๆ ต่อกัน มีวาจาที่เป็นที่รักต่อกัน ก็จะทำลาย ความขัดแย้งกันในเรื่องพูดจาทำลายกำลังใจกัน ไม่เข้าหูกันได้โดยง่าย

3. อัตถจริยา มีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อxxxลกัน ทั้งแรงกาย ความคิดสติปัญญา ร่วมแรงร่วมใจกันต่างๆ กัน ก็จะขจัดความขัดแย้งเรื่องแล้งน้ำใจไปได้

4. สมานตตา ทำตัวเสมอต้นปลาย ต่อหน้าอย่างไร ลับหน้าอย่างนั้น จะขจัดความขัดแย้งเนื่องจากการระแวงต่อกันได้ครับ



ทั้งหมดนี้ก็จะช่วยบรรเทาเบาบางความขัดแย้งลงไปได้เยอะเลยครับ แต่ถ้าจะให้หมดเกลี้ยงจริง ทั้งทีมนั้น จะต้องมีศรัทธาเสมอกัน ศีลเสมอกัน ทิฐิหรือความคิดเห็นเสมอกัน ครับ

เพราะต่อให้ฝึกตัวมาขนาดไหน ถ้าความคิดเห็นไม่เสมอกัน เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชอบรู้ด้วยตัวเองด้วย และชอบสอนคนด้วย ส่วนพระปัจเจกพุทธเจ้า ชอบรุ้ด้วยตัวเองอย่างเดียว ไม่ชอบสอนใคร บุคคลทั้ง 2 ท่านนี้ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า แม้เป็นคนดีด้วยกันทั้งคู่ แต่ก็ไม่เคยเกิดร่วมยุคกันเลย ตลอดวัฏฏสังสารอันยาวนานที่ผ่านมา ไม่เคยมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้าพร้อมกัน ก็เพราะความคิดเห็นที่ไม่เหมือนกันนี่แหละครับ

 
xxx
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.พ.2005, 1:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เหตุที่คนทะเลาะวิวาทกัน



ปัญหา เพราะเหตุไรคนประเภทต่าง ๆ เช่น กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี และสมณะ ทะเลาะวิวาทกัน ?



พระมหากัจจานะตอบ “ดูก่อนพราหมณ์ เพราะเหตุที่ยึดมั่นผูกพันในกามราคะ กำหนัดยินดีในกามราคะ ถูกกามราคะกลุ้มรุมท่วมทับ แม้กษัตริย์ ก็ทะเลาะกับกษัตริย์ แม้พราหมณ์ก็ทะเลาะกับพราหมณ์ แม้คฤหบดีก็ทะเลาะกับคฤหบดี



“ดูก่อนพราหมณ์ เพราะเหตุที่ยึดมั่นผูกพันในทิฏฐิราคะ (ความยินดีในความเห็นของตน) กำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ ถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุมท่วมทับแม้สมณะก็ทะเลาะกับสมณะ....”

 
xxx
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.พ.2005, 2:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

..ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เล่ากะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลายนิครนถ์นาฏบุตรทำกาละแล้วที่พระนครปาวาไม่นานนัก เพราะกาลกิริยาของนิครนถ์นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกัน เกิดแยกกันเป็นสองพวก เกิดบาดหมางกันเกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น เสียดแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ว่า



ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิดข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว



ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้วข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้น จงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถดังนี้ เห็นจะมีแต่ความตายอย่างเดียวเท่านั้นจะเป็นไปในพวกนิครนถ์ ผู้เป็นสาวกของนาฏบุตร ถึงพวกสาวกของนิครนถ์นาฏบุตรที่เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็มีอาการเบื่อหน่าย คลายความรัก รู้สึกท้อถอยในพวกนิครนถ์ ผู้เป็นสาวกของนาฏบุตร



ทั้งนี้ เพราะธรรมวินัยอันนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี

ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยมีที่พำนักอันทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยไม่มีที่พึงอาศัย ฯ



ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ย่อมเป็นเช่นดังกล่าวมาสำหรับในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้



ผู้มีอายุทั้งหลาย ส่วนธรรมนี้แล อันพระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลาย ตรัสไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น



การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อxxxล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ธรรมอะไรเล่าที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้



เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อxxxล เพื่อความ

สุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ..



http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=11&A=4555&w=ทะเลาะวิวาท

 
ลุงสุชาติ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 65

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.พ.2005, 2:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความขัดแย้งเกิดขึ้นจากการมีความเห็น หรือ ทิฏฐิ แตกต่างกัน วิธีลดการขัดแย้งให้ใช้หลักสารณียธรรม ๖ หรือ หลักธรรมที่ทำให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขสงบ ได้แก่ มีเมตตาต่อกันทางกาย ๑ เมตตาต่อกันทางวาจา ๑ มีเมตตาต่อกันทางใจ ๑ มีสิ่งของแล้วแบ่งปันกัน (สาธารณโภคี) ๑ มีความเห็นเหมือนกัน (ทิฏฐิสามัญญตา) ๑ และ มีศีลเสมอกัน (สีลสามัญญตา) ๑

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
xxx
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.พ.2005, 8:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

“สุขา สังฆัสสะ สามัคคี”

ความพร้อมเพรียงของหมู่ชนย่อมมีความสุข



วัตตบท ๗ ประการ

เป็นปฏิปทาของพระอินทร์ ในสมัยที่พระอินทร์ยังมีชีวิตอยู่ พระอินทร์องค์นี้ก็ได้แก่ องค์สมเด็จพระบรมครู พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ที่เรียกว่า “พระสมนโคดม” สมัยที่ท่านเป็นคนมีนามว่า “มฆมานพ” ปรารถคุณธรรมพิเศษ ๗ ประการ เป็นปัจจัยให้คนมีความสุขในด้านแห่งความสามัคคี

๑. เลี้ยงบิดามารดาให้เป็นสุข ด้วยการกตัญญูรู้คุณ คนที่มีความกตัญญูรู้คุณบิดามารดาท่านกล่าวว่าเป็นคนดี จะไปที่ไหนก็ตามที่ ถ้าประชาชนทั้งหลายรู้ว่าท่านเป็นคนมีความกตัญญูรู้คุณบิดามารดา ก็ย่อมเป็นที่รักของบุคคลอื่น ตรงกันข้ามถ้าหากเราเป็นคนอกตัญญูไม่รู้คุณบิดามารดา ข่าวนี้ไปถึงไหนก็เป็นที่เกลียดชังของคนทั้งหลายที่นั่น

๒. อ่อนน้อมต่อบุคคลผู้มีอายุสูงกว่า องค์สมเด็จพระทรงธรรม์ท่านกล่าวว่า ท่านผู้ที่เป็นพระอินทร์ในเวลานั้นคือ มฆมานพ ท่านสามารถดึงกำลังใจคนให้มีความสามัคคี มีความพร้อมเพรียงกัน นี่แสดงว่าจะเป็นใครก็ตามที่ ถ้ามีอายุสูงกว่าท่านก็ถือว่าเป็นผู้ใหญ่กว่าท่าน ท่านมีอาการแสดงความอ่อนน้อมยกย่องในฐานะที่ท่านผู้นั้นเป็นผู้ใหญ่กว่า

๓. ใช้วาจาไพเราะอ่อนหวาน วาจาที่ท่านกล่าวออกมา จะกล่าวกับผู้ใหญ่กว่าก็ดี กับคนที่เสมอกันก็ดี เด็กกว่าก็ดี วาจาที่กล่าวนี้เป็นวาจาที่ไพเราะน่ารัก น่าฟัง ใช้แต่วาจาที่อ่อนหวาน องค์พระชินสีห์กล่าวว่า คนที่พูดดีย่อมเป็นที่รักของบุคคลผู้รับฟัง

๔. ไม่ใช้วาจาส่อเสียด ไม่ยุยงให้ใครแตกร้าวกัน เป็นวาจาที่สำคัญ การยุยงสงเสริมว่าคนนั้นไม่ดี คนนี้ไม่ดี ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือกล่าววาจายุแยงตะแคงแซะให้มีความแตกร้าวกัน ก็เป็นปัจจัยก่อให้เกิดความแตกร้าวแห่งความสามัคคี

๕. ไม่ตระหนี่ คือให้ทานเป็นปกติ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อบุคคลทั้งหลาย สิ่งใดที่ไม่เกินวิสัยที่จะทำได้ ทำทุกอย่างเพื่อความสุข เพื่อความสามัคคี มีความเห็นใจสงเคราะห์บุคคลผู้มีทุกข์มากกว่า

๖. มีวาจาสัตย์จริง มีการพูดที่ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ดีก็ว่าดี ชั่วก็ว่าชั่ว มีก็ว่ามี ไมมีก็ว่าไม่มี วาจาประเภทนี้มีที่ไหนย่อมเป็นที่รักของบุคคลที่นั้น ที่นั้นก็มีความสบายใจ วาจาจริงประเภทนี้เป็นบ่อเกิดของความสุขความสามัคคี

๗. ไม่แสดงความโกรธออกมา องค์สมเด็จพระชินสีห์ตรัสว่า มฆมานพเป็นผู้ระงับความโกรธและข่มความโกรธไม่ให้เกิดขึ้น ความจริงท่านโกรธเหมือนกัน แต่ก็ไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ตรงนี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัทเป็นเสนห์ใหญ่เป็นเครื่องมัดใจคน



(พ่อสอนลูก ..คำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพระพรหมยาน วัดท่าซุง)

 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง