Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิชชา หรือ อวิชชา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Adithep_th
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 12 ก.พ. 2005
ตอบ: 2

ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.พ.2005, 8:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การศึกษาในปัจจุบันนี้ เช่น เรื่องเทคโนโลยี เรื่องข่าวสาร เรื่องการผลิต การนำวัตถุดิบจากธรรมชาติมาใช้ให้มากที่สุด เป็น วิชชา หรือ อวิชชา กันแน่
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
มาดู
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.พ.2005, 11:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

....ถ้าผลที่ได้.. ..คือการต้องทำลายสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ... ..

... ...ความสมดุลย์ของสรรพสิ่ง... ....

.... ...สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม...สาธุ..

 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.พ.2005, 1:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นวิชาครับ แต่ไม่ใช่ วิชชา เพราะวิชชานั้น หมายถึง ความรู้แจ้งโลกครับ ซึ่งมี 3 ประการ (ขอแบ่งแบบระบบ 3 นะครับ ไม่พูดถึงวิชชา 8)

ได้แก่ วิชชาที่ 1 บุพเพนิวาสนุสติญาน การระลึกชาติของตนเองได้

วิชชาที่ 2 จุตูปปาตญาน การเห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์

วิชชาที่ 3 อาสวขยญาน การหมดกิเลส พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

วิชชา 3 จึงถือเป็นวิชชาที่แท้จริงที่พวกเราทุกคนต้องศึกษาครับ

ส่วนการศึกษาวิชาอื่นๆ นั้น ย่อมเป็นไปตามจังหวะเวลาที่เหมาะสมครับ คือ ในช่วงที่เราสั่งสมบุญบารมีอยู่ เราก็ต้องศึกษาวิชาต่างๆ ไปก่อน เพื่อประโยชน์ในการทำมาหากิน บำรุงเลี้ยงขันธ์ 5 ของเรา จนกว่า เราจะมีบารมีเพียงพอ ได้ศึกษาวิชชา 3 ต่อไป จนต่อมาเมื่อบารมีเรามาถึงระดับแล้ว เราก็ต้องมองว่า วิชาเหล่านี้คือเรื่องเสียเวลา ทำให้เราห่างไกลจากวิชชาที่แท้จริง แล้วละทิ้งวิชาเหล่านั้น หันมาศึกษาวิชชาต่อไป

ยกตัวอย่าง เหมือนเราลอยคออยู่ในทะเลกำลังมีความทุกข์อย่างมาก อยู่ๆ ก็มีขอนไม้อันหนึ่งลอยมา เราก็เลยเกาะไว้ เราก็สบายขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในน้ำ ต่อมามีแพลอยมา เราเลยทิ้งขอนไม้ ขึ้นไปบนแพแทน ก็สบายขึ้นอีก จนต่อมาเราเห็นเรือลำใหญ่มา เราก็ทิ้งแพ ไปขึ้น เรือลำใหญ่ครับ

วิชาต่างๆ ก็เปรียบเสมือนขอนไม้ แพ นั่นแหละครับ

วิชชา เปรียบเหมือนเรือลำใหญ่

ถ้ายังไม่มีเรือ ก็ต้องอาศัย ขอนไม้ แพ ไปก่อน ถ้าเรือมาแล้ว ไม่ทิ้งแพ มาขึ้นเรือนี่สิ เขาเรียกว่าเป็นคนชอบกลนักครับ

 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.พ.2005, 4:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำว่า"วิชชา"กับ"อวิชชา"เป็นภาษาธรรม เมื่อนำมาใช้ในทางโลก ความหมายในทางธรรมก็หายไป



"วิชชา"ในความหมายทางพุทธศาสนา แม้จะมีความรู้อื่นเจือปน เช่นเรื่องของฤทธิ์ที่ถือเป็นวิชา แต่เป็นความรู้ที่ควบกับความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวกิเลสด้วย เช่น วิชชา 3 วิชชา 8



แม้คำว่า"อวิชชา"ในปฏิจจสมุปบาท ที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ก่อภพชาติ ก็เป็นอวิชชาที่ไม่สามารถกำจัดกิเลสได้ ไม่ได้หมายถึงอวิชชาในลักษณะอื่น อวิชชาในปฏิจจสมุปบาทจึงตรงกันข้ามกับวิชชา ที่เป็นความรู้ในการกำจัดกิเลส



ส่วนความรู้ทางโลก ทางการศึกษาไม่ว่าในอดีตหรือปัจจุบันก็ตาม มิได้เป็นวิชชาในการกำจัดกิเลส ดังนั้นความรู้ที่เรียนกันในโลก ล้วนแต่เป็นอวิชชาทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถกำจัดกิเลสได้



แต่ในมงคลชีวิตจะมีคำอยู่คำหนึ่ง คือ "สิปปัญจะ"แปลว่า "ศิลปศาสตร์" หรือ

"วิทยาการต่างๆ"ก็น่าจะได้ อันนี้ก็เป็นความรู้ทางโลก แต่ก็เป็นมงคลชีวิตอย่างหนึ่ง หลักธรรมนั้นไม่ได้ดูถูกความรู้ของโลก ถ้าความรู้นั้นเป็นความรู้ที่ดี มาประกอบเป็นสัมมาอาชีพที่ไม่เบียดเบียนกัน

ส่วนความรู้ในปัจจุบันที่สอนกันในสถานการศึกษาต่างๆนั้น อาจจะแยกได้ว่าเป็นความรู้ที่ดี หรือไม่ดีนั้น ก็อาจดูเจตนาว่าการศึกษาในเรื่องนั้นมีเจตนาให้เกิดผลเช่นใด เช่นให้เกิดผลในความเพลิดเพลินมากเกินไป ในรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส



หรือส่งเสริมให้เกิดความโลภ ความอยากได้มากเกินไป หรือส่งเสริมให้มีการแข่งขันทำลายกัน เพื่อให้ตนหรือพวกตนได้ประโยชน์ฝ่ายเดียวโดยไม่คิดถึงบุคคลอื่น



อย่างไรก็ตามวิชาการในโลกไม่มีวิชาการใดที่สมบูรณ์ไปหมดในแง่ของจริยธรรม แต่ก็ไม่มีวิชาความรู้ใดที่จะเลวไปเสียหมด ความสำคัญอยู่กับผู้ปฏิบัติหรือนำวิชาความรู้ไปใช้ว่ามีมโนธรรมหรือไม่เพียงใดด้วย



ดังนั้นการลงความเห็นในเรื่องเช่นนี้ ไม่ควรให้หนักไปในทางใดทางหนึ่ง แม้หลักความรู้หลายอย่างในปัจจุบันนั้นส่งเสริมให้เกิดกิเลสมากขึ้น หรือสนับสนุนในการเกิดกิเลส



ขอยกตัวอย่างทางพระให้ระงับกิเลส โดยพิจารณากรรมฐาน ๕ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ว่าเป็นปฏิxxxล แต่ในทางการค้า เราค้าขายพวกครีมบำรุงผิว ยาสระผมให้ผมสวยงาม เครื่องประทินผิว คือพูดง่ายๆว่าส่งเสริมให้คนมีความหลง ใน"ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง" ให้มีความติดยึดทั้งที่คนติดยึดอยู่แล้ว เราก็โหมโฆษณาเข้าไปอีก เพ่อจะขายสินค้าให้ได้ ดังนั้นพระที่สอนเรื่องการพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ก็มีคู่แข่งที่เราเรียกว่าเป็น"มาร"นั่นเอง



 
ppj
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.พ.2005, 6:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ใช้ประโยช์จากธรรมชาติ จนหมด โดยไม่คืนอะไรกลับสู่ธรรมชาติ ให้ธรรมชาติคงอยู่คู่โลก นับเป็นความโง่เขลา ผลสุดท้ายเป็นการทำลายตัวเอง การใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ และรักษาสมดุล นับว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ อย่างมีความรักต่อธรรมชาติอีกด้วย

 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง