|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
12 ก.พ.2005, 3:06 am |
  |
สังขาร ๑.สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด, ตรงกับคำว่า สังขตะหรือสังขตธรรม ได้ในคำว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น ๒.สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล และที่กลาง ๆ เป็นอัพยากฤต ได้แก่เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวง เว้นเวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว, ตรงกับสังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น; อธิบายอีกปริยายหนึ่ง สังขารตามความหมายนี้ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือ เจตนาที่แต่งกรรมหรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่างคือ ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา ๓.จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา ๓.สภาพที่ปรุงแต่งชีวิตมี ๓ คือ ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร ๓.จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา
สังขาร ๒ คือ ๑.อุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมครอบครอง ๒.อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมไม่ครอบครอง, โดยปริยายแปลว่า สังขารที่มีใจครอง และสังขารที่ไม่มีใจครอง
สังขารทุกข์ ทุกข์เพราะเป็นสังขาร คือเพราะเป็นสภาพอันถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น จึงต้องผันแปรไปตามเหตุปัจจัยเป็นสภาพอันปัจจัยบีบคั้นขัดแย้ง คงทนอยู่มิได้
สังขารโลก โลกคือสังขาร ได้แก่ชุมชนแห่งสังขารทั้งปวงอันต้องเป็
|
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
12 ก.พ.2005, 3:18 am |
  |
ติลักขณาทิคาถา
๑.สัพเพสังขาราอนิจจาติ เมื่อใดบุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
๒.สัพเพสังขาราทุกขาติ เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่าสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
๓.สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
อถะ นิพพินทะติ ทุกเข เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์
เอสะ มัคโค วิสุทธิยา ข้อนี้เป็นทางแห่งความหมดจด |
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
12 ก.พ.2005, 3:31 am |
  |
ความหมายของคำว่าทุกข์ที่บัญญัติไว้
๑.ชาติปิ ทุกขา ความเกิดก็เป็นทุกข์
๒.ชราปิ ทุกขา แม้ความชราก็เป็นทุกข์
๓.มรณัมปิ ทุกขา แม้ความตายก็เป็นทุกข์
๔.โสกปริเทวทุกขโทมนัสสุปายาสาปิ ทุกขา แม้ความเศร้าปริเทวนาการทุกข์โทมนัส ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์
๕.อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ความประสบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รักทั้งหลายก็เป็นทุกข์
๖.ปิเยหิ วิปปะโยโคทุกโข ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักทั้งหลายก็เป็นทุกข์
๗.ยัมปิจฉัง นะ ลภติ ตัมปิ ทุกขัง แม้สิ่งที่ตนปรารถนาอยู่ แต่ไม่ได้สมปรารถนา ก็เป็นทุกข์
๘.สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา แต่เมื่อว่าโดยย่อแล้ว อุปาทานขันธ์ห้า เป็นตัวทุกข์
|
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
12 ก.พ.2005, 4:06 am |
  |
บางตอนในอนัตตลักขณะสูตร
พระพุทธเจ้าถามปัญจวัคคีย์ว่า ตังกิง มัญญถะ ภิกขะเว สังขารา นิจจา
วา อนิจจา วาติ ? ท่านทั้งหลายย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้ง
หลาย สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
(หมายเหตุ ข้อความไม่มีคำว่า สัพเพ สังขารา แต่บทแปลก็ใช่คำว่าสังขารทั้งหลาย แทนที่จะใช้ "สังขาร"เฉยๆ)
ปัญจวัคคีย์ตอบว่า อนิจจา ภัณเต ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้าถามอีกว่า ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วาตัง สุขัง วาติ? สิ่งใดไม่
เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ปัญจวัคคีย์ตอบว่า ทุกขัง ภัณเต เป็นทุกข์พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้าตรัสต่อไปว่า ยัมปนานิจจัง ทุกขัง วิปริณามะธัมมัง กัลลัง
นุตัง สมนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโส หะมัสสะมิ เอโส เม อัตตาติ สิ่งใด
ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น
สิ่งนั้นว่านั่นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา
ปัญจวัคคีย์ตอบว่า โน เหตัง ภัณเต ไม่ควร พระเจ้าข้า
( หมายเหตุ ข้อสรุปของบทนี้ จึงได้ข้อสรุปในส่วนนี้ว่า " สิ่งใดไม่เที่ยง
สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา" )
|
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
12 ก.พ.2005, 4:18 am |
  |
ข้อสังเกต ในเรื่องของสังขาร แม้จะใช้ สัพเพ สังขารา อนิจจาติ สัเพสัง
ขาราทุกขาติ แต่พอถึง อนัตตา กลับไม่ใช้คำว่า "สัพเพ สังขารา" แต่ไป
ใช้คำว่า "สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ"
คำว่า "สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์" สังขารนั้นหมายถึงรูปนามคือ "ขันธ์ห้า"
จึงใช้คำว่า สัพเพ
นำหน้า สังขารา ขันธ์ห้านี่เองที่ถูกสภาพปรุงแต่งจนไม่อาจจะทนอยู่ได้ |
|
|
|
|
 |
มาดู
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
12 ก.พ.2005, 11:13 am |
  |
....สาธุ... ...ต้องมาอ่านอีกหลายครั้งค่ะ... .. ... |
|
|
|
|
 |
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
12 ก.พ.2005, 12:59 pm |
  |
เมื่อเรารู้ว่า สังขารเป็นทุกข์เช่นนี้ เราก็มีทางเลือก 2 วิธี คือ
1. หาทางพ้นทุกข์โดยเร็วพลัน ซึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านก็มีแนวทางให้อยู่เหมือนกันครับ คือ การปฏิบัติแบบเคร่งครัด ได้แก่ การบวชบำเพ็ญเพียร ถือธุดงค์วัตร ยุ่งเกี่ยวกับทางโลกให้น้อยที่สุด จนถึงไม่ยุ่งเกี่ยวเลย
2. ในเมื่อสังขารเป็นทุกข์ ทำอย่างไรถึงจะค่อยๆ ลดความทุกข์นั้นให้น้อยลงไป
จนถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ ท่านก็มีแนวให้เหมือนกันครับ คือ การสั่งสมบุญ ย่อมนำสุขมให้ บุญก็จะไปช่วยบรรเทาเบาบางความทุกข์ให้น้อยลง จนกระทั่งไม่มีความทุกข์ทั้งปวงอีกต่อไป
ทั้ง 2 วิธี ก็มีข้อดี ข้อด้อย ต่างกันไปครับ วิธีที่ 1 นั้น ดีแน่พ้นทุกข์ได้โดยเร็ว แต่ก็ไม่ให้หมายความว่า ใครๆ จะทำกันได้ง่ายๆ ครับ ส่วนวิธีที่ 2 ดูเหมือนทำได้ง่ายกว่า แต่ก็จะต้องทุกข์ยาวนานกว่า และเสี่ยงต่อการพลาดพลั้งไปทำบาปทำกรรม ซึ่งก็จะต้องตกไปในอบาย ทุกข์หนักยิ่งกว่าเดิม แทนที่จะลดลง
ตัวเราเหมาะกับแบบไหน คงต้องเลือกกันไปล่ะครับ ซึ่งผมคิดว่าไม่ว่าจะเลือกเป็นคนกลุ่มที่ 1 หรือกลุ่มที่ 2 ย่อมจะดีกว่า คนกลุ่มที่ 3 ที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโลกและชีวิตเลย เขาย่อมเป็นทุกข์หนักกว่า และยาวนานกว่า คนทั้งสองกลุ่มแรกครับ
|
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.พ.2005, 1:57 pm |
  |
สามัญญลักษณะ ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง ได้แก่ ๑.อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ๒.ทุกขตา ความเป็นทุกข์หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้ ๓.อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตัวตนแสดงความตามบาลีดังนี้ ๑.สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ๒.สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ๓.สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัวตน; ลักษณะเหล่านี้มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์, ลักษณะเหล่านี้เป็นของแน่นอน เป็นกฎธรรมดา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม
(คัดมาจาก จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ข้อความนี้แสดงว่ามีสังขารในไตรลักษณ์ และเข้าใจว่าคงอ้างบาลีจากบทสวดมนต์ "ติลักขณาคาถา"ที่ได้นำมาอ้างแล้ว) |
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.พ.2005, 1:57 pm |
  |
สามัญญลักษณะ ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง ได้แก่ ๑.อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ๒.ทุกขตา ความเป็นทุกข์หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้ ๓.อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตัวตนแสดงความตามบาลีดังนี้ ๑.สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ๒.สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ๓.สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัวตน; ลักษณะเหล่านี้มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์, ลักษณะเหล่านี้เป็นของแน่นอน เป็นกฎธรรมดา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม
(คัดมาจาก จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ข้อความนี้แสดงว่ามีสังขารในไตรลักษณ์ และเข้าใจว่าคงอ้างบาลีจากบทสวดมนต์ "ติลักขณาทิคาถา"ที่ได้นำมาอ้างแล้ว) |
|
|
|
|
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |