ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
16 มิ.ย.2008, 7:44 am |
  |
สวัสดีครับ คุณเฉลิมศักดิ์ กรัชกายตั้งกระทู้ใหม่เพื่อไม่ให้ปนกัน
และกระทู้นั้นก็ยาวหลายหน้าแล้วด้วย
ที่สำคัญชื่อกระทู้นี้เปิดประเด็นว่า แนวทางปฏิบัติของสำนัก
อ. แนบ มหานีรานนท์ แก้สภาวธรรมที่เกิดแก่ผู้ใช้พอง-ยุบ พุทโธ
เป็นกรรมฐาน ไม่ได้ และที่ใช้คำภาวนาอื่นๆ ด้วย
คุณว่า เหมาะกับสิ่งที่เราจะสนทนากันไหมครับ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ย.2009, 5:12 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
16 มิ.ย.2008, 8:09 am |
  |
(นำข้อความที่คุณโพสต์ไว้ที่โน่นมาไว้ตรงนี้แล้วครับ เพื่อสะดวกที่จะหยิบ
ยกขึ้นถาม-ตอบกัน)
คุณกรัชกายครับ แม้การภาวนา สั่นหนอ ๆ ๆ ก็ไม่ใช่การแก้อารมณ์ได้ครับ
เช่นเดียวกับ เมื่อเกิดทุกขเวทนาขึ้น ก็ให้กำหนด ทุกข์หนอ ๆ ๆ ๆ จนทุกข์นั้นหายไป คุณกรัชกายแน่ใจแล้วหรือว่า นั้นคือ ปริญญากิจ หรือ กำหนดรู้ในทุกข์ ตามทางสติปัฏฐาน ๔
ทุกข์และการกำหนดทุกข์ โดยอาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-06.htm
การกำหนดว่า ทุกข์หนอ ๆ แล้วทุกข์ก็หายไป เมื่อทุกขเวทนาหายไปแล้วก็เท่ากับว่า ผู้นั้นต้องการให้สติปัฏฐานหายไป ตัวเวทนานั้นเป็นสติปัฏฐาน ท่านชี้แจงให้เรากำหนดเวทนา โดยจะเป็นสุข หรือทุกข์ก็ตาม เมื่ออันใดเกิดขึ้นแล้ว ก็ให้กำหนดแต่ละอย่าง ก็สามารถจะบรรลุพระนิพพานได้
แต่เมื่อมหาสติปัฏฐานเกิดขึ้นแล้ว กลับทำให้ความรู้สึกให้มหาสติปัฏฐานนั้นหมดไป ซึ่งถ้าพิจารณาดูด้วยเหตุผลแล้ว จะเป็นการถูกต้องไหม ? เมื่อการปฏิบัติเช่นนี้ โดยทุกขเวทนาหายไปด้วยอำนาจการบังคับ ก็จะรู้สึกว่า ตัวเขาบังคับได้ ที่ถูกแล้วท่านกล่าวว่า ให้ดูทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเท่านั้น ท่านไม่ได้สั่งให้ดูทุกขเวทนาเพื่อจะให้ทุกขเวทนาหายไป
ในมหาสติปัฏฐานนั้น ท่านให้ดูทุกขเวทนาซึ่งเป็นนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีใครสามารถจะบังคับได้ นี่ ท่านให้ดูอย่างนี้
ทุกขเวทนานั้นเป็นนามธรรม มาจากเบญจขันธ์ ให้แลเห็นทุกข์โทษของเบญจขันธ์ แล้วความอาลัย ความต้องการในเบญจขันธ์ ก็จะได้หมดไป ยิ่งเห็นทุกข์เห็นโทษในเวทนามากเท่าไหร่ ก็จะเป็นเหตุให้การบรรลุพระนิพพานใกล้เข้ามาเท่านั้น
ถ้าทุกขเวทนาไม่มี ก็ต้องมีสุขเวทนา สุขเวทนาไม่มี ก็ต้องมีอุเบกขาเวทนา อันใดอันหนึ่ง เพราะเวทนานี้ ประกอบกับจิตทั้งหมดทุกดวง ทั้ง ๘๙ ดวง ไม่มีเลยที่จะไม่ประกอบด้วยเวทนา
เพราะฉะนั้น เมื่อบังคับให้ทุกขเวทนาหายไป หรือหมดไปแล้ว ก็แสดงว่า ผู้ปฏิบัตินั้นไม่พอใจในทุกขเวทนา และก็ยินดีสุขเวทนา การที่ยินดีพอใจในสุขเวทนา ก็คือยินดีพอใจในตัวเบญจขันธ์นั่นเอง
--------------------------------------------------
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=4269
อ้างอิงจาก:
แนวทางการปฏิบัติ ของท่านภัททันตะทั้งสอง ได้ถูกพัฒนามาเป็นแบบ ยุบหนอพองหนอ และ แบบรูปนาม ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้
วิทยานิพนธ์ เรื่อง
การศึกษาเปรียบเทียบกรรมฐานในคัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะกับคัมภีร์วิสุทธิมรรค และวิธีปฏิบัติกรรมฐานของสำนักวิปัสสนาอ้อมน้อยกับวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
http://www.abhidhamonline.org/thesis/menu.htm
สมาธิ - วิปัสสนา
http://larndham.net/index.php?showtopic=26325&per=1&st=2&#entry369546
ส่วนการดูจิตแบบลานธรรม ผมยังไม่เคยได้ศึกษา เลยไม่รู้ว่าจะตรงกับแนวทางสายเอกหรือไม่ ?
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
16 มิ.ย.2008, 8:18 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
คุณกรัชกายครับ แม้การภาวนา สั่นหนอ ๆ ๆ ก็ไม่
ใช่การแก้อารมณ์ได้ครับ |
เมื่อคุณเฉลิมศักดิ์ว่า ไม่ใช่การแก้อารมณ์ คือ แก้สภาวะนั้นไม่ได้ว่างั้น
กรัชกายขอถามคุณเฉลิมศักดิ์บ้างว่า ตามแนวทางของคุณแก้สภาวธรรม
นั้นอย่างไร ?
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 16 มิ.ย.2008, 8:25 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
16 มิ.ย.2008, 8:23 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
เช่นเดียวกับ เมื่อเกิดทุกขเวทนาขึ้น ก็ให้กำหนด ทุกข์หนอ ๆ ๆ ๆ จน
ทุกข์นั้นหายไป
คุณกรัชกายแน่ใจแล้วหรือว่า นั้นคือ ปริญญากิจ หรือ กำหนดรู้ในทุกข์
ตามทางสติปัฏฐาน ๔ |
ตอบ... แน่ใจครับคุณเฉลิมศักดิ์
ถึงตาคุณบ้าง กรณีเดียวกัน เรื่องสติปัฏฐาน คุณปฏิบัติอย่างไร
แล้วคุณแน่ใจอย่างไรว่า ที่คุณปฏิบัตินั้นเป็นสติปัฏฐาน 4 ?
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
16 มิ.ย.2008, 8:30 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
การกำหนดว่า ทุกข์หนอ ๆ แล้วทุกข์ก็หายไป เมื่อทุกขเวทนาหายไปแล้วก็เท่ากับว่า ผู้นั้นต้องการให้
สติปัฏฐานหายไป |
คุณเข้าใจทุกขสภาวะอย่างไร สุข ทุกข์ ไม่เกิดไม่ดับหรือ
ถ้าอย่างนั้นคุณเฉลิมศักดิ์เป็นสัสสตทิฏฐิ
และขอคำอธิบายคำว่า "สติปัฏฐาน" ชัดๆครับ
เพราะข้องใจคำกล่าวของคุณที่ว่า สติปัฏฐานหายไป
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
17 มิ.ย.2008, 6:12 am |
  |
คุณกรัชกายครับ คุณเที่ยวประกาศว่า ที่ลานธรรมแก้อารมณ์คุณไม่ได้
ที่ลานธรรมเสวนาแก้อารมณ์ผู้ภาวนาพอง-ยุบหรือพุทโธไม่ได้
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13918&start=0
แนวปฏิบัติ วิปัสสนายานิกะ / อิริยาบถบรรพ / รูปนาม สายอาจารย์แนบก็แก้อารมณ์ยุบหนอ พองหนอ คุณไม่ได้
อาจจะเป็นไปได้ว่า แม้ มหาสติปัฏฐานสูตร และ อรรถาธิบายก็แก้อารมณ์ของคุณไม่ได้
เพราะทางที่คุณเดินอาจจะไม่ใช่ทางสายเอก ของพระพุทธองค์ก็ได้ |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
17 มิ.ย.2008, 6:17 am |
  |
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
17 มิ.ย.2008, 6:25 am |
  |
คุณกรัชกาย ตราบใดที่คุณปิดกั้นตัวเอง กับคำภาวนาต่าง ๆ เช่น สั่นหนอ ยุบหนอ พองหนอ และยึดถือ สมมุติบัญญัติเหล่านี้ว่า คือ ปรมัตถธรรม
สับสนระหว่าง สมถะ - วิปัสสนา
สมถะ-วิปัสสนา
http://larndham.net/index.php?showtopic=26325&per=1&st=2&#entry369546
และทางที่คุณปฏิบัติคือ การยกปรมัตถธรรม เป็นอารมณ์ในการปฏิบัติ
คงไม่มีใครแก้อารมณ์คุณได้หรอกครับ
แม้แต่ พระครูเกษมธรรมทัต พระวิปัสสนาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก
การประพฤติปฏิบัตินั้นก็มีพื้นฐานที่แตกต่างกัน บางคนก็มีรูปแบบในการปฏิบัติของตัวเองมาก่อนแล้ว ก็ไม่เป็นไร อะไรที่เราทำจนเคยชินมันถนัด เราก็ดูพิจารณาอันนั้นแหละ แต่ว่าก็ต้องพัฒนาให้มันก้าวหน้าขึ้นไป อย่าให้มันอยู่แค่นั้น การปฏิบัติในขั้นต้นในขั้นดำเนินมีความแตกต่างกันไปได้หลายอย่างหลายรูปแบบ บางคนก็อาจจะเพ่งลมหายใจ บางคนก็บริกรรมไปด้วย พุทโธ บางคนก็ไม่ได้ดูลมหายใจ บริกรรมพุทโธแต่ดูที่ใจ เพ่งพุทโธอยู่ที่ใจ
บางคนก็อาจจะเพ่งที่หน้าท้อง มันก็เป็นเรื่องที่ทำได้ทั้งนั้น ถ้าเราเข้าใจแล้วมันก็ไม่ขัดแย้ง เป็นเพียงแต่ว่าเมื่อเราจะก้าวขึ้นมาสู่วิปัสสนาที่แท้จริงนั้นจะต้องทำอย่างไร เราจะเอาสิ่งที่เราทำอยู่นั้นน่ะมาเป็นบันไดต่อขึ้นมานี่เราจะทำอย่างไร ดังนั้นในการที่อาตมาสอบอารมณ์แต่ละคนนั้น จึงไม่ได้บังคับว่าจะต้องทำเหมือนกันทั้งหมดในขั้นต้น ถ้ารู้ว่าทำอย่างไรอยู่ก็จะแนะนำต่อไป เชื่อมต่อกันไป ยกเว้นแต่ที่มันผิดพลาดเกินเลยไป อันนั้นก็ต้องปรับกันมา
อย่างเช่นว่า ถ้าหากเรากำหนดอะไรอยู่ก็ตาม เรารู้จุดของวิปัสสนาอยู่แล้วว่า วิปัสสนานั้นจุดยืนของวิปัสสนาก็คือต้องเห็นรูปนามเกิดดับเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา เราจะต้องดำเนินไปสู่จุดนั้น ไปสู่จุดของการเห็นรูปนามเกิดดับเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม เป็นของจริง ๆ ที่นี้บางท่านกำหนดอยู่ ซึ่งเป็นสมมุติบัญญัติอยู่ ก็ไม่เป็นไร เพราะว่าสมมุติบัญญัตินั้นก็ทำให้เกิดสมาธิได้ เป็นการปลูกสร้างสมาธิให้เกิดขึ้น แต่เมื่อจะก้าวขึ้นสู่วิปัสสนาก็ต้องให้มีความลึกซึ้ง โดยการให้วางจากสมมุติอารมณ์เหล่านั้น ให้จรดสภาวปรมัตถ์รูปนาม
เป็นสมมุติบัญญัติ ทำบริกรรมว่า พองหนอ ยุบหนอ ก็เป็นสมมุติบัญญัติ ไม่ใช่สภาวะของจริง ไม่ใช่ปรมัตถธรรม เรากำหนดอย่างนั้นได้ในขั้นดำเนินขั้นต้นให้จิตได้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ให้จิตซัดส่ายไปนอกตัวเอง เมื่อจะขึ้นมาเพื่อปัญญาเกิดขึ้น กำหนดให้ลึกซึ้งลงไปถึงความรู้สึก ความตึง ความหย่อน ความไหว นั่นเป็นตัวปรมัตถ์ อย่างที่หน้าท้องนี่ หายใจเข้าท้องตึง หายใจออกท้องหย่อน ที่จริงนั้นความจริง ๆ มันคือความตึง ความหย่อน ความไหว นั่นแหละเป็นปรมัตถธรรม
บรรยายธรรมโดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)
คัดลอกมาจาก http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13684 |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
17 มิ.ย.2008, 6:33 am |
  |
คุณกรัชกายครับ ฝากไว้นะครับ หาก อาจารย์สายของคุณแก้อารมณ์ได้ และทักท้วงว่า คุณได้วิปัสสนาญาณขั้นสูงแล้ว อย่าเพิ่งดีใจนะครับ
บางสำนักก็กำหนดว่า หากแยก ท้องยุบ ท้องพองได้ ก็ถือว่าได้ นามรูปปริจเฉทญาณแล้ว
ถ้าเกิดเบื่อหน่ายในการปฏิบัติ ก็ถือว่า ได้ ญาณม้วนเสื่อ (ผมเคยอ่านเจอในหนังสือ พุทธวิปัสสนา มีโอกาสจะคัดลอกมาให้อ่าน) |
|
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
17 มิ.ย.2008, 8:41 pm |
  |
ดูที่มาของคำถามอีกครั้งครั บ
ปกติผมจะนั่งสมาธิ1ชั่วโมงทุกเช้าครับ พอเริ่มนั่งปุ๊บผมจะดูท้องพองยุบจนจิตสงบคิด
ว่าน่าจะ ประมาณ5-10 นาที
หลังจากนั้นก็จะเริ่มรู้รูปรู้นามไปเรื่อยๆ สุดแท้แต่จิตมันจะตามรู้ จนประมาณ15-20 นาที
ก่อนจะครบเวลา เวทนาก็จะมาผมก็ตามดูเวทนาต่อ ตอนนี้แหละครับที่ร่างกายผม
มันจะสั่น โยกอย่างรุนแรง เหมือนกับว่ามันพยายามจะให้เวทนานั้นหายไป
ก็สั่นซักพัก ก็หยุด เวทนามาอีกก็ สั่นอีก หรือบางทีเท่าที่สังเกตพอใจลอยออกไป
แล้วกลับมารู้ต่อ ก็จะสั่นอีกครับ มันควบคุมไม่ได้
ผมก็นั่งดูมันสั่นไป คือแรกๆที่ผมนั่งนั้นไม่มีอาการนี้ แต่หลังๆมานี้
(ประมาณ2-3 เดือน) มันก็สั่นทุกวัน
ผมก็ชักงงๆไม่แน่ใจว่ามันจะถูกทางหรือเปล่า
กลัวว่าจะไปหลงหรือติดอะไรอยู่รึเปล่า
(นำมาจากที่นี่) =>
http://larndham.net/index.php?showtopic=31973&st=0 |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ย.2009, 8:48 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
17 มิ.ย.2008, 9:11 pm |
  |
ตัวอย่างผู้ปฏิบัติข้างบน เขาภาวนาพองหนอยุบหนอ เป็นต้น แล้วร่างกายเกิด
สั่นโยกเยกไปมา กรัชกายแนะนำว่า ให้กำหนดจิตลงไป สั่นหนอๆๆๆ ตามที่
มันเป็น หรือ ตามเป็นจริงนั่นแหละ
แต่คุณว่าไม่แก้ไม่ได้ ก็จึงถามคุณบ้างว่าแล้วแนวทางของคุณจะแก้อารมณ์นั้น
อย่างไร
คุณก็ตอบไม่ตรงคำถาม กลับไปอ้างตำราซึ่งก็ไม่ตรงกับสิ่งที่เขากำลังเป็นและถาม
มา นี่แหละคือจุดที่กรัชกายและเห็นว่า ลานธรรมเสวนาแก้อารมณ์ของผู้ใช้พองยุบ
กับ พุทโธไม่ได้
และเพิ่งตั้งว่า วิธีปฏิบัติของสำนัก อ.แนบ ก็แก้อารมณ์ผู้ใช้พองยุบและเป็นพุทโธ
(ลมหายใจ) เป็นกรรมฐานไม่ได้เช่นกัน นี่กล่าวจริงๆ
แต่ยังไม่เคยกล่าวว่า ลานธรรมแห่งนี้แก้อารมณ์พองยุบกับพุทโธไม่ได้ ไม่เคย
เพราะยังไม่เห็นแนวทางปฏิบัติของที่นี่ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ย.2009, 8:51 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
17 มิ.ย.2008, 9:49 pm |
  |
เป็นความจริงครับคุณเฉลิมศักดิ์ วิธีปฏิบัติทั้งของคุณและที่ลานธรรมเสวนาแนะนำ
กันอยู่นั่น ไม่มีทางแก้สภาวธรรมซึ่งเกิดแก่ภาวนามัยบุคคลได้
ที่กรัชกายกล่าวเช่นนี้มาแต่ต้น ต้องการเตือนสติผู้ใช้พองยุบเป็นกรรมฐานด้วย
และใช้คำบริกรรมอื่นอีกว่าพึงระมัดระวัง เพราะอะไร กล่าวไว้แล้วที่กระทู้นี้ครับ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13918
เมื่อใครต้องการจะปฏิบัติแบบที่คุณแนะนำก็ว่าไปตามแนวนั้น
ใครต้องการจะปฏิบัติตามแนวของลานธรรมเสวนา (ดูจิต) ก็ดูไปตามวิธีนั้นอย่างเดียว
ไม่สลับขั่วกันก็ไม่สู่กระไรนัก |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ย.2009, 8:53 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
17 มิ.ย.2008, 9:53 pm |
  |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
17 มิ.ย.2008, 10:20 pm |
  |
บางทีประสบการณ์จริง กับตำราก็ไม่เหมือนกัน
หากเรายึดตัวอักษรที่บันทึกไว้ในตำราเด๊ะๆ โดยไม่เข้าใจธรรมะโดยรวม ก็เหมือน
ตัวอย่างหนึ่ง เขาถามงี้ครับ
สำนึกผิดแล้ว ทำบุญบ้างตามแต่โอกาส ได้ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
จากผู้หญิงที่คบกัน
โชคยังดีที่ไม่ได้ติดเอชไอวี แต่ก็กลุ้มใจมากเลยครับ กลัวโรคจะกลับมาเป็น
อีก เดี๋ยวนี้ก็ได้แต่สวดมนต์ภาวนาทุกวัน หวังว่าอาการจะไม่กำเริบ
เรื่องนี้ มีวิธีแก้กรรมบ้างไหมครับ
(ดูคำตอบหนึ่งครับ)
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่
มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่
ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึง
เจริญธรรมนั้นเนืองๆ
เหมือนคุณตอบกรัชกาย เขาปฏิบัติกรรมฐาน รู้สึกว่า ร่างกายสั่นโยกไปโย้มา
แต่คุณก็ยกตำรามาอ้างอิง ซึ่งเป็นคนละเรื่องเดียวกัน ไม่แก้ปัญหาอะไรเลย |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ย.2009, 8:57 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
17 มิ.ย.2008, 10:25 pm |
  |
ขอฟังความเห็น คำว่า ทางสายเอก หน่อยครับ อะไรคือทางสายเอก
พิมพ์ผิดพิมพ์ซ้ำแล้วถอยเคอร์เซอร์กลับมาแก้ไม่ได้ครับ ขออภัยด้วย |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
18 มิ.ย.2008, 5:39 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
คุณกรัชกายครับ ฝากไว้นะครับ หาก อาจารย์สายของคุณแก้อารมณ์ได้ และทักท้วงว่า คุณได้วิปัสสนาญาณขั้นสูงแล้ว อย่าเพิ่งดีใจนะครับ
บางสำนักก็กำหนดว่า หากแยก ท้องยุบ ท้องพองได้ ก็ถือว่าได้ นามรูปปริจเฉทญาณแล้ว
ถ้าเกิดเบื่อหน่ายในการปฏิบัติ ก็ถือว่า ได้ ญาณม้วนเสื่อ (ผมเคยอ่านเจอในหนังสือ พุทธวิปัสสนา มีโอกาสจะคัดลอกมาให้ |
จากหนังสือ พุทธวิปัสสนา ของอาจารย์สายยุบหนอ พองหนอ
ถ้าหากผู้ปฏิบัติรู้สึกขนลุกขนชัน หรือรู้สึกซู่ซ่าตามตัวหรือแขนขา หรือสะดุ้งขึ้นมาเฉย ๆ ก็ให้กำหนดว่า " ขนลุกหนอ" หรือ " ซู่ซ่าหนอ " หรือ "สะดุ้งหนอ" แล้วแต่กรณีอาการเหล่านั้นจะหายไป หรือถ้าเกิดสงสัยขึ้นมาในใจ เช่น สงสัยว่าว่า วิธีกำหนด " พองหนอ ยุบหนอ " เช่นนี้ จะทำให้บรรลุมรรคผลได้อย่างไร ดูไม่มีเหตุผลเลย หรือสงสัยว่า วิธีปฏิบัติอยู่นี้จะเป็นวิธีที่ถูกต้องที่จะนำไปสู่มรรคผลได้หรือไฉน ก็ให้กำหนดว่า "สงสัยหนอ สงสัยหนอ" แล้วหันมากำหนด "พองหนอ ยุบหนอ" ใหม่ ความสงสัยจะค่อย ๆ คลายลงและหมดไปในที่สุด พร้อมกับเต็มใจที่จะปฏิบัติตามวิธีที่ทำมาแล้ว
เมื่อปฏิบัติถึงขั้นนี้ ก็เป็นอันถือได้ว่า ผู้ปฏิบัติได้บรรลุถึง ปัจจยปริคคหญาณ โดยสมบูรณ์
!
!
!
กำลังใจของผู้ปฏิบัติในระยะนี้ จะอ่อนแอเกิดความท้อถอย คิดว่า ตนหมดวาสนาที่จะปฏิบัติธรรมเสียแล้วทำให้ไม่อยากปฏิบัติต่อไป และไม่อยากแม้แต่จะเข้าห้องปฏิบัติของตนเอง ถ้าปฏิบัติอยู่ในสำนักวิปัสสนาก็อยากจะหนีไปเสีย เพราะความเบื่อหน่าย และบางทีจะเตรียมเก็บข้าวของหีบห่อเพื่อกลับบ้าน เมื่อเกิดความรู้สึกเช่นนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องเข้าใจว่า ความรู้หรืออารมณ์ดังกล่าวนี้เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางจิตอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อญาณแก่กล้าขึ้นแล้ว ปรากฏการณ์อย่างนี้ก็จะต้องเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติทุกคน ฉะนั้นจะต้องพยายามปฏิบัติต่อไป ด้วยน้ำใจอันหนักแน่นไม่ท้อถอย และอย่าเลิกร้างการปฏิบัติเสียเป็นอันขาด อีกไม่ช้านักก็จะถึงจุดมุ่งหมายปลายทางอันเป็นยอดปรารถนา
ปรากฏการณ์เช่นนี้เป็นลักษณะของ มุญจิตุกัมยตาญาณ ซึ่งโบราณขนานนามว่า " ญาณม้วนเสื่อ " เพราะเมื่อถึงญาณนี้ ผู้ปฏิบัติมักจะม้วนเสื่อและเก็บข้าวของกลับบ้านเนื่องจากเบื่อหน่ายในสิ่งทั้งหลาย
เมื่อได้หันกลับมาตั้งใจปฏิบัติเดินจงกรม และนั่งวิปัสสนาต่อไป ความเบื่อหน่ายและความท้อถอยก็จะค่อยๆ อันตรธานและหายไป ให้เปลี่ยนวิธีเดินจงกรมใหม่ คือเพิ่มการเดินห้าจังหวะเข้าด้วย
------------------------------------------------------------------
คุณกรัชกายครับ เคยได้ยินมาว่า แนวทางการปฏิบัติยุบหนอ พองหนอ บางสำนัก มีผู้ได้ญาณจำนวนมาก บางท่านก็เข้าใจว่า ถึงธรรมแล้ว
ฝากพิจารณาการภาวนาแก้อารมณ์ของคุณด้วยนะครับ |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
18 มิ.ย.2008, 5:56 am |
  |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
18 มิ.ย.2008, 8:34 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
คุณกรัชกายครับ เคยได้ยินมาว่า แนวทางการปฏิบัติยุบหนอ พองหนอ บางสำนัก มีผู้ได้ญาณจำนวนมาก บางท่านก็เข้าใจว่า ถึงธรรมแล้ว
ฝากพิจารณาการภาวนาแก้อารมณ์ของคุณด้วยนะครับ |
ญาณ ในความหมายของคุณเฉลิมศักดิ์ หมายถึงอะไรครับ ตอบตามความเข้าใจของคุณเองเลยนะครับ
ญาณ ได้แก่อะไร ?
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
18 มิ.ย.2008, 8:48 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
คุณกรัชกายครับ ตราบใดที่คุณยึดถือสมมุติบัญญัติ เช่น สั่นหนอ ๆ ๆ ทุกข์หนอ ๆ ๆ ๆ ว่าเป็น
ปรมัตถธรรม เป็นวิปัสสนากรรมฐาน
ยึดถือ อำนาจสมาธิ ว่าเป็นวิปัสสนาญาณ
คงไม่มีใครแก้อารมณ์ ของคุณได้หรอก |
..
คงไม่มีใครแก้อารมณ์ ของคุณได้หรอก
ถ้างั้น กรัชกายตั้งกระทู้ว่า ที่ลานธรรมเสวนา (ดูจิต) แก้อารมณ์ผู้ใช้พองยุบกับ
อานาปนสติกรรมฐานไม่ได้ ก็ถูก
และกระทู้ชื่อว่า แนวทางปฏิบัติของ อ. แนบ ก็แก้ไม่ได้ ก็ถูก
เมื่อยอมรับอย่างนั้น ต่อไปกรัชกายจะแก้ข้อกล่าวหาของคุณบ้าง
.........................
ขออภัยครับ virus เข้าเครื่องลงวินโดว์ใหม่ IE version 7 ไม่สับพอร์ตกับเครื่อง อักษรจึงซ้ำบ้าง หายหกตกหล่นบ้าง คงพอเข้าใจสาระนะครับ
พิมพ์จาก word มาวางแล้วยังเป็นอย่างนี้ จะแก้ไขอักษรในนี้ไม่ได้เลย |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ย.2009, 8:59 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
19 มิ.ย.2008, 5:10 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
ตัวอย่างผู้ปฏิบัติข้างบน เขาภาวนาพองหนอยุบหนอ เป็นต้น แล้วร่างกายเกิดสั่นโยกเยกไปมา กรัชกายแนะนำว่า ให้กำหนดจิตลงไป สั่นหนอๆๆๆ ตามที่มันเป็น คือ ตามเป็นจริงนั่นแหละ
แต่คุณว่าไม่แก้ไม่ได้ ก็จึงถามคุณบ้างว่าแล้วแนวทางของคุณจะแก้อารมณ์นั้นอย่างไร |
สำหรับผมแล้วแนวทางการแนว อิริยาบถบรรพะ ตามแนว มหาสติปัฏฐานสูตร อรรถกถา และท่านผู้ทรงพระไตรปิฏก
แก้การภาวนาของพองหนอยุบหนอได้ครับ
คือเมื่อก่อนผมก็เคยภาวนาแบบพองหนอยุบหนอมาก่อน แต่ไม่เคยได้สมาธิขั้นสูง ยังไม่ได้เกิด ปัจจยปริคคหญาณ ตามความหมายของอาจารย์สายยุบหนอ พองหนอ บางท่าน
อ้างอิงจาก: |
จากหนังสือ พุทธวิปัสสนา ของอาจารย์สายยุบหนอ พองหนอ
ถ้าหากผู้ปฏิบัติรู้สึกขนลุกขนชัน หรือรู้สึกซู่ซ่าตามตัวหรือแขนขา หรือสะดุ้งขึ้นมาเฉย ๆ ก็ให้กำหนดว่า " ขนลุกหนอ" หรือ " ซู่ซ่าหนอ " หรือ "สะดุ้งหนอ" แล้วแต่กรณีอาการเหล่านั้นจะหายไป หรือถ้าเกิดสงสัยขึ้นมาในใจ เช่น สงสัยว่าว่า วิธีกำหนด " พองหนอ ยุบหนอ " เช่นนี้ จะทำให้บรรลุมรรคผลได้อย่างไร ดูไม่มีเหตุผลเลย หรือสงสัยว่า วิธีปฏิบัติอยู่นี้จะเป็นวิธีที่ถูกต้องที่จะนำไปสู่มรรคผลได้หรือไฉน ก็ให้กำหนดว่า "สงสัยหนอ สงสัยหนอ" แล้วหันมากำหนด "พองหนอ ยุบหนอ" ใหม่ ความสงสัยจะค่อย ๆ คลายลงและหมดไปในที่สุด พร้อมกับเต็มใจที่จะปฏิบัติตามวิธีที่ทำมาแล้ว
เมื่อปฏิบัติถึงขั้นนี้ ก็เป็นอันถือได้ว่า ผู้ปฏิบัติได้บรรลุถึง ปัจจยปริคคหญาณ โดยสมบูรณ์ |
ผมได้เกิดความสงสัยขึ้นว่า แนวทางนี้จะใช่แนวทางสายเอกหรือไม่ ?
ทำไมจึงต้องมาอยู่กับสมมุติบัญญัติ ทำไมต้องมาสร้างอิริยาบถให้ผิดปกติจากธรรมชาติ และผมก็ได้คำตอบจาก
หลักปฏิบัติวิปัสสนา
http://abhidhamonline.org/OmNoi1.htm
-----------------------------------------------
หลักปฏิบัติวิปัสสนา ๑๕ ข้อ
http://abhidhamonline.org/15Principle.htm
๘. อย่าทำอิริยาบถให้ผิดปกติ
เราเคยนั่งอย่างไร เคยเดินอย่างไร เคยนอนอย่างไร เมื่อเข้ากรรมฐาน ก็นั่งอย่างนั้น ไม่ต้องเดิน ให้ผิดปกติ ไม่ต้องนั่งให้ผิดปกติ ส่วนมากผู้เข้ากรรมฐานมักเข้าใจว่าต้องนั่งขัดสมาธิก่อน แล้วจึงกำหนด สำหรับวิปัสสนาไม่จำเป็น นั่งอย่างไรก็ได้เปลี่ยนอิริยาบถตามสะดวก นั่งอย่างไรทำอย่างไรก็ได้ตามปกติ แต่ขอให้รู้อยู่ในท่านั้น คือในรูปนั้น ๆ เท่านั้นจะเป็นท่านั่ง หรือท่านอนก็ตาม ขณะกำหนดท่านั่งหรือท่านอนจะต้องรู้สึกตัวด้วยสติสัมปชัญญะเสมอว่า กำลังกำหนดหรือดูรูปอะไรอยู่ ถ้ากำหนดท่านั่ง คือ ดูท่าที่นั่งก็ให้รู้สึกว่าขณะนี้กำลังดูรูปนั่ง ถ้ากำหนดท่านอน คือ ดูท่าที่นอนก็ให้รู้สึกว่าขณะนี้กำลังดูรูปนอนอยู่ ทำนองเดียวกัน ในการดูรูปยืนหรือรูปเดินก็ตาม ต้องรู้สึกเสมอว่าขณะนี้กำลังดูรูปอะไร หรือกำลังดูนามอะไรอยู่
๙. ไม่ให้ประคองอิริยาบถมากจนผิดปกติ
ผู้ปฏิบัติบางท่านขณะเดินก็พยายามประคองอิริยาบถมากค่อย ๆ ยกเท้า ก้าวเท้าอย่างช้า ๆคล้ายหุ่นยนต์ขณะยกมือหรือใช้อิริยาบถอื่นๆ ก็รู้สึกว่าจะประคองมากจนผิดปกติ ความระวังอิริยาบถจนผิดปกติเช่นนี้เป็นการทำเพื่อความต้องการ ความต้องการจะแฝงอยู่ในความรู้สึกนั้นความต้องการเป็นโลภะ เป็นกิเลส จึงสร้างท่าทางและอิริยาบถที่ผิดธรรมชาติขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้แทนที่การปฏิบัตินี้จะเป็นไปเพื่อละกิเลส จะกลายเป็นการพอกพูนกิเลสที่แฝงอยู่ในการใช้ อิริยาบถต่าง ๆ ฉะนั้น ความรู้สึกเช่นนี้จึงไม่ถูกต้อง ผู้ปฏิบัติต้องคอยสังเกตเจตนาแฝงเร้น ของตนเองอยู่เสมอ
๑๓. อย่าทำความรู้สึกในเวลาที่กำหนดว่า จะกำหนดเพื่อให้จิตสงบ
อย่าทำความรู้สึกในขณะที่กำหนดนาม-รูปว่าจะกำหนดเพื่อให้จิตสงบเพื่อให้ได้สมาธิหรือตั้งใจว่าจะกำหนดเพื่อให้จิตอยู่ตรงนี้ ไม่ให้จิตเคลื่อนย้ายไปที่อื่นการมีความรู้สึกเช่นนี้ ไม่ถูกต้องหรือบางครั้ง ขณะตั้งใจดูนาม-รูป มีความปรารถนาเพื่อให้เกิดปัญญา จะได้เห็นธรรม หรือดูเพื่อให้ธรรมเกิดขึ้น ในระหว่างที่ดูนั้น หรือดูเพื่อต้องการให้ธรรมที่เราไม่ชอบนั้นหายไป อย่างนี้ก็ยังไม่ถูกต้อง ผู้ปฏิบัติต้องไม่ให้ความรู้สึกดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่ดูที่กำหนด
๑๔.เวลาทำกรรมฐานต้องทำใจให้เหมือนดูละคร อย่าไปร่วมเล่นละคร
เช่น บังคับจะทำอย่างนั้น บังคับจะทำอย่างนี้ เป็นต้น เช่นนี้ใช้ไม่ได้สำหรับวิปัสสนา ต้องทำความรู้สึก ให้เหมือนกับเราดูละคร อย่างนี้จิตจึงจะเข้าเป็นมัชฌิมา มิฉะนั้น จิตมักตกไปในอภิชฌา และโทมนัส เสมอ เมื่ออภิชฌาและโทมนัสเกิดแล้ว ก็ยากที่ปัญญาจะเกิดได้
๑๕.ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาอย่าตั้งใจจนเกินกว่าเหตุ
เช่น ตั้งใจจะทำเพื่อให้จิตสงบหรือเป็นสมาธิ เป็นต้น |
|
|
|
  |
 |
|