Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 จิตเป็นอนัตตา หรือ อัตตา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
pipercar
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2008
ตอบ: 10
ที่อยู่ (จังหวัด): Bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2008, 12:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อาจมีผู้รู้บางท่านบอกว่า ไม่ต้องสนใจว่าเป็นอะไร
แต่สำหรับ "ผู้ห่างไกล" อย่างผมแล้ว นี่คือ เส้นทางพื้นฐานที่จะใช้ตั้งต้นในการศึกษาต่อไปครับ.
 

_________________
แสงสว่างสีอะไร
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
โปเต้
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 พ.ค. 2008
ตอบ: 76
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2008, 3:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อัตตา ก็คือความที่จิตเข้าไปยึดถือว่ามันเป็นตัวเป็นตน เป็นเรา เป็นของเรา

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พิจารณาว่า มันไม่ใช่ตัวตน อันสมควรแก่การเข้าไปยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเรา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
pipercar
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2008
ตอบ: 10
ที่อยู่ (จังหวัด): Bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2008, 4:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นั่นเหมารวมได้ไหมว่า จิตเป็น อนัตตา (ไม่มีตัวตนยึดถือไม่ได้) สามารถ แตกดับได้ และก็ เกิดขึ้นจากเหตุและปัจจัย ต่างๆ เช่น มันสมอง ร่างกาย หัวใจ เลือด อากาศธาตุต่างๆ (ที่ยังใชงานได้)
ปรุงแต่งขึ้นมา และเมื่อ ร่างกายสมองหรือ สิ่งต่างๆที่ประกอบเป็นมนุษย์ เสียหาย แตกดับ ไม่สามารถใช้งานต่อไปได้ จิตก็จะแตกดับไปด้วยใชไหมครับ...?
 

_________________
แสงสว่างสีอะไร
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
ratchadapa
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 05 ม.ค. 2008
ตอบ: 84
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพมหานคร

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2008, 8:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็น "อนัตตา"
 

_________________
พวกเธอจงยินดีในความไม่ประมาท
จงระมัดระวังจิตของตน
จงถอนตนออกจากหล่มกิเลส
เหมือนพญาช้างติดหล่ม
พยายามช่วยตัวเอง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
โปเต้
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 พ.ค. 2008
ตอบ: 76
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2008, 8:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ร่างกายแตกดับ จิตจะดับไปด้วยมั้ย... ตรงนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล
เพราะผู้ที่จะพิสูจน์ได้ ก็รับรู้ได้เฉพาะตนเช่นกัน
ในทางพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ความเชื่อในเรื่องชาตินี้ ชาติหน้ามีจริง(คือร่างกายแตกดับ แต่จิตไม่ดับไปด้วย แต่จุติ และปฏิสนธิเข้าภพใหม่ตามแต่แรงแห่งการกระทำของตัว)
ความเชื่อในเรื่องบุญบาป (คือผลแห่งการกระทำ) มีจริง เป็นความเชื่อที่ถูกต้อง ตรงทาง

ธรรมชาติของจิตวิญญาณ จะมีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ตราบใดที่ยังมีความไม่รู้ ก็ไม่สามารถจะดับสูญได้ เปรียบเหมือนเปลวเทียน
พอเทียนแท่งเก่าจวนจะหมด ก็คว้าเทียนแท่งใหม่มาจุดต่อเนื่องสืบไปเรื่อยๆ
ต่เมื่อรู้แล้ว เข้าใจแล้วว่า ไม่มีประโยชน์ที่จะขวนขวาย เป็นทุกข์เดือดร้อน คว้าเอาทียนมาจุดต่อไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีวันจบสิ้น
ก็จะสามารถนั่งดูเปลวเทียนมันดับสูญไปได้

เรื่องเหล่านี้เป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตัว
จิตของคนเรา มีความรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง เพียงแต่เราจะปล่อยให้มันได้รู้เอง (โดยไม่ต้องช่วยมันคิด) แล้วก็ดูมันรู้ในเรื่องต่างๆ ที่เราเองก็คาดไม่ถึง..หรือปล่าว.... (อยากรู้อะไร ถามใจตัวเองได้ค่ะ ยิ้มแก้มปริ )
สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
pipercar
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2008
ตอบ: 10
ที่อยู่ (จังหวัด): Bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2008, 10:59 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าไม่เป็นการรบกวนเกินไป ผมใครอยากทรายว่า เราจะหาอ่านหรือ ศึกษาเรื่องนี้ เพิ่มเติมได้จาก พระไตรปิฎก เรื่อง หรือ หัวข้อใดครับ คืน ผมเองก็อ่าน พระไตรปิฎก เพียงแค่ ผ่านๆ เนื่องจาก ยังงง และสับสน และ ก็ปัญญายังน้อยอยู่ แถมยังไม่เข้าใจ ในหลายๆ เรื่อง ก็ได้แต่อาศัย ผู้รู้ใน Net นี่ละครับ ที่คอยแนะนำ....

ข้างล่างนี้ ผม copy มาจาก Web www.whatami.net ครับ.
..
คือพระพุทธเจ้าจะสอนว่า “อย่าเชื่อและรับเอาหลักการใดมาปฏิบัติเพียงเพราะเหตุว่า : ฟังจากคนอื่นเขาบอกมา, เห็นเขาทำตามๆกันมา, ผู้คนกำลังล่ำลือ, มีตำราอ้างอิง, มีเหตุผลตรงๆ (ตรรกะ) มารองรับ, มีเหตุผลแวดล้อม (นัยยะ) มารองรับ, มันตรงกับความเห็นที่เรามีอยู่, สามัญสำนึกของเรามันยอมรับ, ผู้บอกผู้สอนนั้นดูภายนอกแล้วน่าเชื่อถือ, ผู้บอกผู้สอนนี้เป็นครูอาจารย์ของเราเอง....ฯลฯ
 

_________________
แสงสว่างสีอะไร
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
โปเต้
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 พ.ค. 2008
ตอบ: 76
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2008, 12:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยิ้มเห็นฟัน นึกถึงตัวเองตอนเริ่มสนใจค้นคว้าเลยค่ะ
ตอนนั้น อ่านชากดกต่างๆ เช่นเรื่องราวของ โฆษกะเศรษฐี พระเจ้าอุเทน นางสามาวดี
หรือเรื่องต่างๆ มากมาย แล้วสงสัยจัง ว่าเค้าเอามาจากไหนกัน
ว่าแล้วก็ไปลุยอ่านพระไตรปิฎกฉบับประชาชนมั่ง ฉบับเยาวชนมั่ง
อ่านที่ไรก็หลับทุกที ไม่ยักสนุกเหมือนกับที่เคยอ่าน
ก็สลับไปหาอ่านตามร้านหนังสือ พลิกดูเล่มที่น่าสนใจ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ขนซื้อมาอ่าน
บางเล่มอ่านแล้วหลับ บางเล่มก็อ่านแล้วสนุกสนาน

ไล่อ่านไปเรื่อยๆค่ะ จนกระทั่งเล่มที่เราอ่านแล้วหลับ ก็พยายามเอากลับมาอ่านใหม่ เป็นหลายรอบ
แล้วพอเราเริ่มเข้าใจขึ้นมาบ้างแล้ว เล่มที่เราเคยอ่านแล้วหลับ ก็กลายเป็นอ่านแล้วสนุกไปได้
แม้กระทั่งพระไตรปิฏก ก็ยังอ่านแล้วสนุกสนาน อ่านได้เรื่อยๆ อ่านทีไรก็ได้ความรู้ใหม่ๆมาทุกที
แล้วพอถึงจุดๆนึง อ่านแล้วก็ได้แต่ก้มกราบ

พระไตรปิฏก แบ่งเป็น 3 หมวด คือ พระวินัย พระสูตร(ว่าด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า) พระอภิธรรม(คล้ายกายวิภาค จิตวิภาค ที่ละเอียดยิบ เหมือนกับจะเรียนปริญญาเอกเฉพาะทาง)

ที่ตั้งหน้าตั้งตาอ่าน อ่านแล้วสนุกมาก ก็คือหมวดที่สอง พระสูตร
รองมาก็จะเป็นพระวินัย ที่อ่านแล้วก็ทึ่งมากๆ กับความงดงาม ในศีลาจริยวัตรที่ทรงบัญญัติ
ทรงเป็นถึงเจ้าชาย แต่สอนเรื่องการเก็บงำอาสนะได้อย่างเป็นระเบียบ เรียบร้อย
สอนเรื่องมารยาท ทั้งในการวางตัว และในการรับประทานอาหาร

ลองค้นคว้าไปเรื่อยๆนะคะ เพราะบอกไม่ถูกจริงๆค่ะ ว่าควรอ่านตรงไหนอย่างไร
เพราะทุกเรื่อง ก็เป็นเรื่องที่น่ารู้ น่าอ่านทั้งนั้นค่ะ
ระหว่างนั้น ก็ควรจะ รักษาศีล สวดมนต์ ภาวนาทำจิตให้สงบไปด้วย จะช่วยให้รู้เรื่องได้ดีขึ้นเยอะค่ะ
เรื่องฌาณ ญาน ยังไม่ต้องไปสนใจค่ะ จะทำให้งง และสับสนเปล่าๆ แค่ตามดูตามรู้ ในกาย และในใจ ของตัวเองไปเรื่อยๆ ก็จะพิสูจน์คำสอนของพระพุทธองค์ได้แล้วค่ะ
(ส่วนตัวแล้วก็ยังทำฌาณ ญาน ไม่ได้ค่ะ เพียงแต่วันนึงจิตเกิดความรู้ความเข้าใจขึ้นมาเองว่า ทำอย่างไรจึงจะเข้าถึงฌาณได้ แล้วก็แค่รู้เท่านั้นเอง ซึ่งต่างจากรู้ที่ได้จากการอ่าน ที่ได้แต่รู้ แต่ไม่เข้าใจ)
 

_________________
สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
โปเต้
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 พ.ค. 2008
ตอบ: 76
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2008, 1:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เอามาฝากค่ะ บางช่วงอาจโหลดยากนิดนึงนะคะ

http://larndham.net/index.php?showtopic=28939&st=669

สู้ สู้
 

_________________
สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
โปเต้
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 พ.ค. 2008
ตอบ: 76
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2008, 1:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อีกอันนะคะ

http://202.44.204.76/cgi-bin/kratoo.pl/000373.htm
 

_________________
สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2008, 6:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้า เห็นว่า จิตเป็นอัตตา

ทำไมถึงบังคับให้ร่างกายและจิต ไม่ให้นอนหลับ ได้หรือไม่ครับ

ถ้าบังคับ กายและจิต ไม่ให้นอนหลับได้ ก็เป็นอันว่า จิตและกายนี้เป็นอัตตา อยู่ใต้บังคับบัญชาของเรา

แต่ถ้าบังคับไม่ได้ จะเรียกว่าอย่างไรดีครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 9:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นอัตตาและอนัตตา เป็นได้ทั้งนั้น
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
มิตรตัวน้อย
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 12 พ.ค. 2008
ตอบ: 48

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 9:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จิต นี้เที่ยง เที่ยวเกิดเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติอยู่ตลอดเวลา จากภพนั้นไปภพนี้ กามภพ รูปภพ อรูปภพ

ตกนรกอยู่กี่กัปกี่กัลปก็ไม่มีตาย แบกสุขแบกทุกข์ไปทั่วสามแดนโลกธาตุ หาที่สิ้นสุดไม่ได้

อาหารของจิตคือ สังขาร (อารมณ์ ความปรุงแต่ง) การทำสมาธิคือการบังคับจิตให้นิ่งให้สงบได้ ก็ด้วยการหยุดการปรุงแต่ง หยุดอารมณ์ของจิตที่เสวยอยู่ ท่านจึงเรียกว่า การบังคับจิตให้สงบได้ด้วยสติ

จิตนี้จึงเที่ยง ไม่มีตาย


สาธุ เจ๋ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 11:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มิตรตัวน้อย พิมพ์ว่า:
จิต นี้เที่ยง เที่ยวเกิดเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติอยู่ตลอดเวลา จากภพนั้นไปภพนี้ กามภพ รูปภพ อรูปภพ

ตกนรกอยู่กี่กัปกี่กัลปก็ไม่มีตาย แบกสุขแบกทุกข์ไปทั่วสามแดนโลกธาตุ หาที่สิ้นสุดไม่ได้

อาหารของจิตคือ สังขาร (อารมณ์ ความปรุงแต่ง) การทำสมาธิคือการบังคับจิตให้นิ่งให้สงบได้ ก็ด้วยการหยุดการปรุงแต่ง หยุดอารมณ์ของจิตที่เสวยอยู่ ท่านจึงเรียกว่า การบังคับจิตให้สงบได้ด้วยสติ

จิตนี้จึงเที่ยง ไม่มีตาย


สาธุ เจ๋ง


อันนี้เป็นพวก สัตตทิฏฐิ ตายไปคง แย่แน่
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มิตรตัวน้อย
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 12 พ.ค. 2008
ตอบ: 48

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 12:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การสนทนาโดยธรรม คืออย่างไร

สนทนาด้วยเหตุด้วยผล ยอมรับกันด้วยเหตุผลและปัญญา
บัณฑิตที่สนทนากัน คือพระนาคเสนกับพระเจ้ามิลินทร์

ยกโทษ โจทย์ผู้อื่น ยกขึ้นมาลอย ๆ ท่านไม่เรียกบัณฑิตนะ


สาธุ เจ๋ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 8:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

pipercar พิมพ์ว่า:
อาจมีผู้รู้บางท่านบอกว่า ไม่ต้องสนใจว่าเป็นอะไร
แต่สำหรับ "ผู้ห่างไกล" อย่างผมแล้ว นี่คือ เส้นทางพื้นฐานที่จะใช้ตั้งต้นในการศึกษาต่อไปครับ.


ตอบ....
จิตเป็นได้ทั้งสองอย่าง คือ เป็นทั้ง อนัตตา หรือ ความไม่ใช่ตน ไม่ใช่ตัว
และจิตก็เป็นทั้ง อัตตา คือ ความมีตัวตน อันได้แก่ สภาพสรีระร่างกาย อันหมายถึงขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร จิตวิญญาณ

อธิบาย ที่ข้าพเจ้าบอกว่า จิตเป็นทั้ง อัตตา และอนัตตา ก็เพราะ ความไม่มีตัวตัน นั้น ย่อมอาศัยความมีตัวตนอยู่ จิตหรือจิตวิญญาณ เป็น 1 ในขันธ์ 5 ดังนั้นถ้าไม่มีตัวตัว ก็ไม่มีจิต คือ ไม่มีรูป หรือสรีระร่างกาย ไม่มีความรู้สึก ไม่มีความจำ ไม่มีการปรุงแต่ง ก็ไม่มีจิต
ถ้าไม่มีจิต ก็ไม่มีรูป(หมายถึงรูปหรือสรีระร่างกายที่มีชีวิตอันได้แก่มนุษย์) ไม่มีสัญญา ไม่มีเวทนา ฉะนี้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 20 มิ.ย.2008, 1:06 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โอว

ผมก็ไม่รู้กับเขาหรอกนะคับ

แต่ผมแนะว่าเราควรจะออกแบบการค้นความรู้อันนี้ ไว้อย่างนี้คับ

- หานิยาม หาความจริงให้ได้ก่อนว่า จิต คืออะไรกันแน่
- มันมีอยู่/หรือไม่มีอยู่ ... ในโลกผัสสะอย่างไร (รูปธรรม)
- มันมีอยู่/หรือไม่มีอยู่ ... ในโลกไร้ผัสสะอย่างไร (นามธรรม)
- ถ้ามันมีอยู่ มันอยู่อย่างไร ...... ถ้ามันไม่มีอยู่ มันไม่มีอยู่..อย่างไร

บางที ภาษาอาจจะไม่สามารถอธิบายสภาวะบางอย่างได้ดี
การรู้สึกเอง อาจจะเข้าใจดีกว่า
ปริยัติ .... ต้องปฎิบัติ

เช่น "ความรักคืออะไร" ถ้าช่วยกันนิยามความหมาย คงใช้เวลาพอดู
บางทีอาจจะได้นิยามความหมายเป็นคนละเรื่องเดียวกัน
เช่นรักบุพการี ไม่เหมือนกับรักแฟน ... แต่ทั้งสองอย่างเป็นความรัก

ตรงคำว่า แต่ทั้งสองอย่างเป็นความรัก นี่และ
คือการเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าความรักคืออะไร

ภาษาอาจจะไม่ใช่เครื่องมือที่เพียงพอจะเข้าใจว่าอะไรคือจิต

อย่างเช่นอารมณ์ เราอธิบายไม่ได้ มองไม่เห้น
แต่รู้ว่ามีอารมณ์อยู่ เพราะอารมณ์มันแสดงอาการออกมาทางภาษากาย
แต่เราก้ยังไม่เห้นตัวอารมณ์อยู่ดี ว่ารูปร่างเป็นยังไง
รู้แต่ว่ามันมีแน่ๆล่ะ เจ้าตัวอารมณ์เนียะ

แล้วเมื่อเข้าใจว่าจิตคืออะไร ...จึงค่อยมาตั้งคำถามว่า
.........อารมณ์ ... เป็น../มีสภาพเป็น ... อัตตา หรืออนัตตา
.........จิต ... ... เป็น../มีสภาพเป็น ... อัตตา หรืออนัตตา
........ ความรัก .. ... เป็น../มีสภาพเป็น ... อัตตา หรืออนัตตา
........ ชื่อเสียง ..... เป็น../มีสภาพเป็น ... อัตตา หรืออนัตตา

ผมไม่ค่อย งง คำว่า จิต ... ยังพอเห็นภาพลางๆ
แต่งงที่สุดคือ อนัตตา / อัตตา... อันนี้มืดสนิท



ปล. บางทีศัพท์นี่แหละ พางง
แรกๆผมนกว่าสัญญาคือสัญญา ( promise)
แต่ต่อมาทราบว่าสัญญาคือความทรงจำ (remember)
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
โปเต้
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 พ.ค. 2008
ตอบ: 76
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 20 มิ.ย.2008, 10:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
แต่งงที่สุดคือ อนัตตา / อัตตา... อันนี้มืดสนิท


อัตตา ในความหมายของพุทธศาสนา ก็คือสิ่งที่สังขารปรุงแต่งขึ้นมาด้วยความไม่รู้ แล้วอุปาทานก็ทำหน้าที่เข้าไปยึดว่านั่นคือเรา เราเป็นนั่นนี่ นั่นเป็นของเรา

อนัตตา พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เห็นความเป็นจริงว่า นั่นเป็นแค่ภาพลวงตา มันไม่มีอยู่จริง

ถ้าได้ศึกษาเรียนรู้เข้ามาในกาย ในใจของตัวเองมากเข้า ได้รู้ได้เห็นด้วยตัวเองมากเข้า จะเห็นถึงความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงตรัส ซึ่งเป็นความจริงแท้ ที่ไม่ใช่การอุปมาอุปมัยแต่อย่างใด

เช่นที่ทรงตรัสเรื่องลูกศรเสียบแทงใจ ตอนที่ศึกษาใหม่ๆ ก็เข้าใจว่านั่นคือสำนวนเปรียบเทียบของพระพุทธองค์
แต่เมื่อได้ลงมือปฏิบัติมาเป็นเวลาพอสมควร ก็เห็นชัดถึงความเสียดแทงของลูกศรที่เสียบอยู่ที่ใจ
เห็นตัวตนที่สังขารขันธ์สร้างขึ้นมาจากสัญญา จากผัสสะ
เห็นอุปาทานจิตที่เข้าไปยึด เพราะความไม่รู้ เพราะความหลงเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ (แม้อารมณ์ที่เป็นทุกข์ จิตก็ยังเพลิดเพลินในการได้ลิ้มรส)

แม้อาการที่จิตอยากสำรอกเอาอารมณ์ต่างๆ ที่น่าเพลิดเพลิน แต่ด้วยความที่เห็นชัดตามเป็นจริงชั่วแว่บว่านั่นคือทุกข์ ก็ทำให้จิตมีอาการที่อยากสำรอกออก หรือสลัดคืนแม้ความติดใจในสุขอันปราณีต ก็เห็นได้ชัดเจน จริงตามที่ทรงบอกไว้ รู้ได้ชัดว่านั่นไม่ใช่การอุปมาอุปไมยแต่อย่างไร
(กำลังที่จะสำรอก หรือสลัดคืนไม่เพียงพอค่ะ อินทรีย์ยังไม่แก่กล้า พละยังไม่เต็มรอบ ยังจะต้องเพียรอีกมากๆๆๆๆๆๆ)

ที่ว่ามานี่ ก็เพียงแต่อยากยืนยันซ้ำในสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ จากผลแห่งการปฏิบัติภาวนาที่ผ่านมา ว่าเป็นจริงเท่านั้นเองค่ะ
ส่วนใครที่ยังเคลือบแคลง สงสัย หรือยังไม่รู้ ก็สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติเองค่ะ ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 20 มิ.ย.2008, 10:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โปเต้ พิมพ์ว่า:
อ้างอิงจาก:
แต่งงที่สุดคือ อนัตตา / อัตตา... อันนี้มืดสนิท


อัตตา ในความหมายของพุทธศาสนา ก็คือสิ่งที่สังขารปรุงแต่งขึ้นมาด้วยความไม่รู้ แล้วอุปาทานก็ทำหน้าที่เข้าไปยึดว่านั่นคือเรา เราเป็นนั่นนี่ นั่นเป็นของเรา

อนัตตา พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เห็นความเป็นจริงว่า นั่นเป็นแค่ภาพลวงตา มันไม่มีอยู่จริง

ถ้าได้ศึกษาเรียนรู้เข้ามาในกาย ในใจของตัวเองมากเข้า ได้รู้ได้เห็นด้วยตัวเองมากเข้า จะเห็นถึงความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงตรัส ซึ่งเป็นความจริงแท้ ที่ไม่ใช่การอุปมาอุปมัยแต่อย่างใด

เช่นที่ทรงตรัสเรื่องลูกศรเสียบแทงใจ ตอนที่ศึกษาใหม่ๆ ก็เข้าใจว่านั่นคือสำนวนเปรียบเทียบของพระพุทธองค์
แต่เมื่อได้ลงมือปฏิบัติมาเป็นเวลาพอสมควร ก็เห็นชัดถึงความเสียดแทงของลูกศรที่เสียบอยู่ที่ใจ
เห็นตัวตนที่สังขารขันธ์สร้างขึ้นมาจากสัญญา จากผัสสะ
เห็นอุปาทานจิตที่เข้าไปยึด เพราะความไม่รู้ เพราะความหลงเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ (แม้อารมณ์ที่เป็นทุกข์ จิตก็ยังเพลิดเพลินในการได้ลิ้มรส)

แม้อาการที่จิตอยากสำรอกเอาอารมณ์ต่างๆ ที่น่าเพลิดเพลิน แต่ด้วยความที่เห็นชัดตามเป็นจริงชั่วแว่บว่านั่นคือทุกข์ ก็ทำให้จิตมีอาการที่อยากสำรอกออก หรือสลัดคืนแม้ความติดใจในสุขอันปราณีต ก็เห็นได้ชัดเจน จริงตามที่ทรงบอกไว้ รู้ได้ชัดว่านั่นไม่ใช่การอุปมาอุปไมยแต่อย่างไร
(กำลังที่จะสำรอก หรือสลัดคืนไม่เพียงพอค่ะ อินทรีย์ยังไม่แก่กล้า พละยังไม่เต็มรอบ ยังจะต้องเพียรอีกมากๆๆๆๆๆๆ)

ที่ว่ามานี่ ก็เพียงแต่อยากยืนยันซ้ำในสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ จากผลแห่งการปฏิบัติภาวนาที่ผ่านมา ว่าเป็นจริงเท่านั้นเองค่ะ
ส่วนใครที่ยังเคลือบแคลง สงสัย หรือยังไม่รู้ ก็สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติเองค่ะ ยิ้มแก้มปริ


ขอบพระคุณคับคุณโปเต้
รู้สึกว่าความรู้อันนี้จะละเอียดซับซ้อนพอใช้ได้เลย
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 20 มิ.ย.2008, 11:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออภัยถ้ากระทบกับผู้อื่น

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มิตรตัวน้อย
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 12 พ.ค. 2008
ตอบ: 48

ตอบตอบเมื่อ: 20 มิ.ย.2008, 11:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยินดีอย่างยิ่ง หากมีโอกาสได้สนทนาธรรมและแสดงความคิดเห็นกันอีก

เจริญธรรมครับ


สาธุ เจ๋ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง