ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
17 เม.ย.2008, 7:31 pm |
  |
ลิงค์นี้ มีข้อความในวงเล็บ ที่นักคิดข้อธรรมพลาด
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=62555#62555
copy เฉพาะข้อความในวงเล็บ ให้พิจารณาๆเอาสาระโดยรวมไม่พึงยึดติดตัวอักษร
เฉพาะนักปฏิบัติอย่าเพิ่งเชื่อทันที ทดลองทำตามดูก่อน แล้วค่อยเชื่อหรือไม่เชื่อ
ข้อความนั้น ดังนี้
(ตรงข้าม ถ้ามีความรู้ ความเข้าใจ หรือ ใช้ความคิดแทรกเข้ามาในเวลานั้น เช่น
รู้ว่า รูปที่น่าเกลียดนั้นเป็นสิ่งมีประโยชน์ หรือรู้ว่าเสียงไพเราะนั้น เป็นสัญญาณ
อันตราย หรือเกิดสำนึกทางจริยธรรมหรือวัฒนธรรมประเพณี ว่าสิ่งนั้นไม่เหมาะสม
กับภาวะ หรือฐานะของตน ฯลฯ ตัณหาอาจถูกตัดตอน
กระบวบการไม่ไหลต่อเนื่องเรื่อยไปอย่างเดิม แต่เกิดพฤติกรรมรูปอื่นรับช่วงไปแทน)
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
17 เม.ย.2008, 8:05 pm |
  |
^
ข้อความในวงเล็บข้างบน สารัตถะก็คือความคิดขณะหนึ่งๆ หรือเราคิดเรื่องอะไรสักเรื่อง
หนึ่ง
แต่ขณะที่คิด เราใช้ความคิดแทรก- (ขัดกับนักดูจิตซึ่งเขาสอนว่า อย่าแซกแทรก..)
กระบวนธรรมหรือกระบวนความคิดเดิมก็เปลี่ยน ไม่ไหลเนื่องไปสุดสาย
(เทียบหลักปฏิจจสมุปบาทด้วย)
จะเปรียบคำอธิบายนี้กับอะไรจึงจะพอเห็นภาพ
เอางี้แล้วกัน สมมุติ-เราเห็นน้ำไหล...เป็นทางตรงมาบ้านเรา สรุปว่า ถ้าไม่ทำอะไร
สักอย่างไหลเข้าบ้านเราแน่ๆ ก็จึงใช้จอบ หรือ เสียมขุดดินให้เป็นร่องเบนทางน้ำ
น้ำแทนที่จะไหลเข้าบ้าน ก็ไหลตามร่องที่เราขุดนำ (ทางธรรมเรียกว่าการสร้างเหตุปัจจัย)
นั่นคือคำอธิบายการกำหนดหรือการทำปริญญากิจ อารมณ์หรือสภาวะต่างๆที่นักภาวนารู้สึก
แต่ละขณะๆ ตามความเป็นจริง หรือ ตามที่มันเป็น
ชั้นนี้ลองศึกษากระบวนธรรมไตรลักษณ์ที่นี่ก่อน
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15357
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
17 เม.ย.2008, 8:28 pm |
  |
copy ข้อความของผู้ปฏิบัติ จากลิงค์ลานธรรมที่อยู่ถัดๆขึ้นไป มาอธิบายสักท่อนหนึ่งที่ว่า
ก่อนขึ้นห้องปฏิบัติ น้องคนนึงก็พูดกับดิฉันว่า "รู้จักศิษย์เอกคนนี้มั้ย เค้าสอนเก่งนะ
เค้ามีพลังที่ดึงเราได้ มีคำถามอะไรถามเค้าได้เลย"
ในที่สุดก็เกิดลูกฮึดขึ้น บอกกับตัวเองว่า รอบสุดท้ายแล้ว จะเรียนรู้ได้หรือไม่ช่างมัน
แต่จะอดทนนั่งไม่ลืมตาให้นานที่สุด ให้รู้ไปว่าจะนั่งไม่ได้ ในเมื่อ อ. ให้ศิษย์เอกสอน
เค้าต้องมีอะไรดีแน่ๆ ตั้งใจแน่วแน่ว่าทำตามที่เค้าสอนจนจบรอบ
ช่วงแรกของการสู้กับเวทนา รู้ว่าขาเริ่มขะยุกขะยิกเหมือนมดไต่และหนาขึ้นเป็นชั้นๆ
จนเป็นท่อนหนัก ลองขยับ ก็ขยับไม่ได้ ไม่รู้สึกว่าเป็นขานะคะ ลองใช้นิ้วกดปลายนิ้ว
รู้สึกเหมือนเวลาเราแตะอะไรนิ่มๆ ระหว่างที่อาการของกายเปลี่ยนไป ใจเหมือนโดนกดแน่น
จนจม เหมือนจิตมันเคยชินกับความไม่อดทนคิดอยากจะเปลี่ยนท่าให้รู้แล้วรู้รอด
ยิ่งคิดใจยิ่งจมลงไปอีกทรมานเหมือนขาดอากาศหายใจเลยค่ะ มันนิ่งแน่นอึดอัดมาก
จำได้ว่าช่วงสอบอารมณ์ที่ผ่านมา ศิษย์เก่ามักพูดเสมอว่า ต้องต่อสู้กับใจตนเองมาก
เช่น การพูดตอกย้ำจิตให้สู้ และอีกสารพัดคำพูด เพื่อทนนั่งท่าเดิมจนกว่า อ. จะบอกให้ออก
จากสมาธิ ดิฉันรู้สึกจะหมดความอดทนมะรอมมะร่อ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
17 เม.ย.2008, 8:47 pm |
  |
^
พิจารณา ข้อความข้างบน ก็จะเห็นกระบวนธรรมไหลไป เมื่อสภาวะนี้สุด สภาวะใหม่
เกิดแล้ว-สุด เกิดสุดๆๆ (ทางธรรมเรียกว่าเกิดดับๆ) ความคิดนี้เกิดแล้วดับลง
คิดเรื่องอื่นเกิดแทนแล้วก็ดับลง เป็นอย่างนี้จนกว่าจะตายไปจากโลกนี้โน่นแหละ
แล้วก็โยงถึงกันหมดทั้งตัวสภาวะเอง เจ้าความคิด ลมหายใจเดี๋ยวยาวเดี๋ยวสั้น
สภาวธรรมต้นเหตุ มาจากความคิดที่เปลี่ยนไปๆ
หรือบางทีร่างกายกระทบผัสสะอื่นทุกขเวทนา เช่น ถูกเข็มแทง เป็นต้น ก็ทำให้ความคิด
เปลี่ยน
กล่าวให้อิงหลักก็ว่า กายใจหรือรูปนาม เป็นเหตุเป็นปัจจัยกันและกัน อาศัยกันและกัน
ดำเนินไปตามวิถึของมัน (ธรรมชาติ)
หน้าที่ของเราคือรู้จักมันตามที่มันเป็น
เบื้องต้นฝึกอบรมท่านจึงมิให้นั่งดูเฉยแฉะ
แบบว่า=>
ช่วงแรกของการสู้กับเวทนา รู้ว่าขาเริ่มขะยุกขะยิกเหมือนมดไต่และหนาขึ้นเป็นชั้นๆ
จนเป็นท่อนหนัก ลองขยับ ก็ขยับไม่ได้ ไม่รู้สึกว่าเป็นขานะคะ ลองใช้นิ้วกดปลายนิ้ว
รู้สึกเหมือนเวลาเราแตะอะไรนิ่มๆ ระหว่างที่อาการของกายเปลี่ยนไป ใจเหมือนโดนกดแน่น
จนจม
หากเขากำหนดตามที่รู้สึก วงจรก็ถูกตัด
ผู้เขียนกล่าว(พูด) อย่างผู้เคยผ่านมาแล้ว
ส่วนผู้ซึ่งยังไม่รู้ไม่เห็นด้วยตน คงต้องฝึกกำหนดตามที่มันเป็นนั่นแหละ
(อย่าหลอก อย่าหนีความรู้สึกตนเอง)
จนกว่าตนเองจะรู้เห็นความเป็นธรรมดาของมันเองนั่นแหละ
เช่น รู้สึกว่าขยับขาไม่ได้ ใช่ปะ "ขยับไม่ได้หนอๆๆ" ฯลฯ
รู้สึกอย่างไร กำหนดอย่างนั้นเลย
อธิบายเสียยืดยาว ก็แค่กำหนดรู้ตามที่มันเป็นนี่เอง
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 พ.ค.2008, 12:18 pm, ทั้งหมด 4 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
17 เม.ย.2008, 9:13 pm |
  |
อุปสรรคอีกอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ปฏิบัติพลาด คือการเข้าใจภาษาธรรมผิด
เช่นเมื่อเห็นศัพท์ธรรมแล้วตนไม่รู้ความหมายของธรรมข้อนั้น จึงถือเอาตามภาษาของตน
ซึ่งไม่ตรงกับความหมายทางธรรม
เมื่อนำศัพท์ธรรมนั้นไปพูด หรือไปปฏิบัติจึงหลุดออกนอกทางธรรม
เช่นคำว่า วิตก ซึ่งเป็นภาษาธรรม
ก็เข้าใจตามภาษาไทยเสียว่า วิตก คือความเป็นทุกข์ ร้อนใจ กังวล ซึ่งตรงข้ามกับธรรมเลย
เช่นตัวอย่าง
มนุษย์ทุกคน ย่อมมีสภาพอารมณ์ ความรู้สึกซึ่ง เป็นสิ่งที่ทางพุทธศาสนาเรียกว่า "ฌาน"
คือมี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
วิตก คือ เป็นทุกข์ ร้อนใจ กังวล
วิจาร คือ การคิดทบทวน ในเรื่องต่างๆที่ได้ประสบมา
http://board.palungjit.com/showthread.php?t=125566
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 04 พ.ค.2008, 9:06 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ค.2008, 1:19 pm |
  |
วิตกภาษาธรรมมักมาคู่กับวิจาร
วิตก แปลว่า ความตริ หมายถึง การจรดจิตหรือปักจิตลงไปในอารมณ์ หรือยกจิตสู่อารมณ์
ตัวอย่าง เช่น ปฏิบัติกรรมฐานอยู่ เมื่อจิตออกนอกกรรมฐานโยคีก็ยกจิตให้ขึ้นสู่กรรมฐาน
(อารมณ์) นี่แหละลักษณะของวิตก คอยยกจิตไว้ หรือ เมื่อจิตหดหู่ท้อแท้ ก็คอยยกจิตปลุก
ปลอบจิตให้อาจหาญร่าเริงนี่ก็ลักษณะของวิตก
พูดง่ายๆว่า รู้จักยกจิต ปลอบจิต ประคองจิตในสมัย ที่ควรยก ควรปลอบ ควรประคอง
วิจาร แปลว่า ความตรอง หมายถึงการฟั้น เคล้า หรือเอาจิตผูกพันอยู่กับอารมณ์
วิตกกับวิจารเนื่องกัน เช่นเมื่อยกจิตขึ้นใส่อารมณ์ (กรรมฐาน) จิตก็ผูกพันเคล้าอยู่
กับกรรมฐานนั้น กับปัจจุบันอารมณ์นั้น ฯลฯ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ค.2008, 1:27 pm |
  |
คำว่า ภาวนา ก็มีผู้นำไปพูดไปปฏิบัติผิด
ความหมายในทางธรรม
ภาวนา- การเจริญ เป็นกิจในมรรค แปลตามตัวอักษรว่า การทำให้มีให้เป็นขึ้น คือ
ทำให้เกิดขึ้นและเจริญเพิ่มพูนขึ้น
หมายถึง การฝึกอบรมตามข้อปฏิบัติของมรรค การลงมือปฏิบัติตามมรรควิธีที่
จะกำจัดเหตุแห่งทุกข์
พูดง่ายๆว่า การกระทำตามวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย หรือการกำหนดวางรายละเอียด
วิธีปฏิบัติแล้วลงมือแก้ไขปัญหา
(ภาวนา- การทำให้เกิดมี การทำให้มีให้เป็น การทำให้เจริญ การเจริญ การเพิ่มพูน
การบำเพ็ญ การอบรม หรือการฝึกอบรม
ภาวนามี 3 อย่าง คือ กายภาวนา การฝึกอบรมกาย จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิต
ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมปัญญา ที.ปา.11/228/231 )
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 พ.ค.2008, 4:43 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ค.2008, 1:38 pm |
  |
ที่เว็บบอร์ดนี้อธิบาย ภาวนา ไว้เช่นกัน
http://larndham.net/index.php?showtopic=31516&st=2
เป็นต้นว่า
การภาวนาที่แท้จริง ก็คือ การรู้จักตนเอง คือ การอ่านตนเอง ด้วยการตามรู้ตามดู กายใจ
ตามความเป็นจริง
เบื้องต้น ตามรู้ตามดูกายใจ เพื่อให้เกิดสติ หลังจากนั้นก็อาศัยสติที่เกิดขึ้น โดยไม่จงใจนี้ล่ะ
ไปรู้กาย ไปตามรู้ใจ (ที่จริงก็คือ ทำเหมือนเดิม) เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ การเห็นไตรลักษณ์
ก็ไม่ต้องไปพยายามทำอะไร อาศัยการฟังธรรมเรื่อง อริยสัจจ์ ๔ เรื่อง
ไตรลักษณ์ แล้วจิตเขาจะพลิกไปพิจารณาของเขาเอง
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
04 พ.ค.2008, 8:27 pm |
  |
เพียงแค่ฟังเขาพูดเรื่อง ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เรื่องอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว คงไม่ง่ายอย่างนั้นกระมัง
หากง่ายอย่างว่า
พระพุทธเจ้าคงไม่ตรัสว่า "ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นของลึกซึ้ง
เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก ฯลฯ สำหรับหมู่ประชาผู้เริงรมย์รื่นระเริงอยู่ในอาลัย ฐานะอันนี้ย่อม
เป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ หลักอิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท แม้ฐานะนี้ ก็เห็นได้ยาก
นัก กล่าวคือ นิพพาน"
วินย.4/1-7/1-8
ศึกษาไตรลักษณ์ที่
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15357
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
04 พ.ค.2008, 8:42 pm |
  |
ดูจิตดูไปดูมา เห็นจิตยิ้มได้ ถึงกับอุทาน
อย่างนี้ เห็นทีจะลำบาก ไม่ทราบว่าจะแนะนำอย่างไรดี
ที่อาจพอได้ก็คือ ลองพาไปที่บ้านอารีย์ บ่ายวันเสาร์ มีกิจกรรมสนทนาธรรมเรื่องดูจิตกันครับ
http://larndham.net/index.php?showtopic=31540&st=0 |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
04 พ.ค.2008, 8:44 pm |
  |
ห้องนี้ทำผิดพลาดไว้เดิมจึงว่างไม่มีข้อความใดๆ พอดีได้คลิบวิธีฝึกคิดของผู้ที่ปรารภข้างต้น
จึงนำมาลงแทรกข้อความคุณตามรอย
ลองฟังวิธีคิดของเขาครับ
http://www.baanaree.net/ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 15 พ.ค.2008, 7:53 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
ตามรอย
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 16 เม.ย. 2008
ตอบ: 109
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่
|
ตอบเมื่อ:
15 พ.ค.2008, 7:09 pm |
  |
ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องกล่าวอ้างอะไรกันให้มากความไม่เป็นธรรม |
|
_________________ อย่าประมาทลืมตน |
|
   |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
26 พ.ค.2008, 8:46 pm |
  |
วิธีดูจิตที่มีผู้สอนเน้นแยกต่างหาก ความจริงก็คือหนึ่งในบรรดาสติปัฏฐาน 4 ข้อ ได้แก่
1. กายานุปัสสนา 2. เวทนานุปัสสนา 2. จิตตานุปัสสนา
4. ธรรมานุปัสสนา นี่เอง แต่เค้านำไปแยกอธิบายวิธีปฏิบัติจนเลอะ
ด้วยว่าสติปัฏฐาน 4 ฯลฯ มรรคมีองค์ 8 หรือโพธิปักขิยธรรมทั้งหมด
ภาคปฏิบัติทางจิต เขาไม่ได้แยกปฏิบัติกันทีละข้อๆ ดอก
เพราะเมื่อถึงขั้นบรรลุมรรคผล โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ จะรวมเป็นหนึ่ง
บรรลุมรรคผล ประหารกิเลสขณะจิตเดียว
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
26 พ.ค.2008, 9:34 pm |
  |
บอร์ดแนะนำสติปัฏฐาน 4 แต่ยังคลอนแคลนหลักปฏิบัติสติปัฏฐาน สะเปะสะปะ จับหลักไม่ถูก
เมื่อมีผู้ถามว่า =>
ถ้าเปลี่ยนแนวดูกาย ดูจิต ไปดูธรรม นั้นทำอย่างไร ?
http://larndham.net/index.php?showtopic=31891&st=1
(ท่านหนึ่งตอบว่า ) =>
กาย กับ จิต ก็เป็น ธรรม อยู่แล้วครับ
(อีกท่านหนึ่ง ตอบว่า) =>
การดูธรรมในธรรม เป็นหมวดที่มีรายละเอียดเยอะนะครับ กว้างขวางมากทีเดียว
และตามปกติแล้ว นักดูจิต ก็จะมีบางครั้งที่จิตจะไปเจริญธรรมานุปัสสนาได้เองครับ
ไม่ต้องเปลี่ยนก็ไปเจริญได้ สำหรับผู้ที่ถนัดดูกาย เมื่อชำนาญแล้ว บางทีก็จะเจริญ
กายานุปัสสนา บางทีก็จะเจริญเวทนานุปัสสนา บางทีก็จะเจริญจิตตานุปัสสนา และบางที
ก็จะเจริญธรรมนุปัสสนา
ดังนั้น ไม่ต้องไปเปลี่ยนหรอกครับ เอาแค่ภาวนาให้ชำนาญ ติดเป็นนิสัย แล้วจิตก็จะไปเจริญ
ทั้ง ๔ ฐาน นี้ได้เองครับ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
นิรินธน์
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2008
ตอบ: 12
|
ตอบเมื่อ:
05 มิ.ย.2008, 6:15 pm |
  |
ขออนุญาตมีความเห็นต่างนะคะ
อ้างอิงจาก: |
เอาแค่ภาวนาให้ชำนาญ ติดเป็นนิสัย แล้วจิตก็จะไปเจริญ
ทั้ง ๔ ฐาน นี้ได้เองครับ |
เมื่อเจริญไปตามลำดับแล้วจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ จิตจะวิวัฒน์ไปเอง จากการดูกายก็จะเห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ไปตามภาวะที่วิวัฒน์ไปตามที่ลำดับ
ในระยะต้นๆก็ต้องดูกายให้มากซึ่งจะเป็นบาทเป็นฐานเป็นกำลังสำหรับการเจริญในฐานต่อๆไป หากเจริญฐานกายมาน้อยเมื่อไปดูจิตบางครั้งก็หลงในความคิดได้
ไม่มีเจตนาสร้างความขุ่นเคืองแต่อย่างใดๆ เลย เป็นเพียงแบ่งปันประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นจริงเมื่อปฏิบัติจริงๆ และไม่อาจประมาณหรือคาดเดาจากตำราได้ ต้องปฏิบัติและรู้เห็นด้วยตนเองค่ะ
หากทำให้ขุนเคืองด้วยประการใดๆก็ขออภัยขออโหสิกรรมด้วยนะคะ |
|
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 มิ.ย.2008, 6:52 pm |
  |
อย่ากังวลเลยครับคุณนิรินธน์ มีอะไรอีกก็โพสต์อีกนะครับ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 มิ.ย.2008, 6:59 pm |
  |
กรัชกายยังยืนยันว่า ที่ลานธรรมแก้สภาวธรรมของผู้ใช้ พอง-ยุบ กับ อานาปานสติกรรมฐาน
ไม่ได้ ดูคำถามนี้ครับ) =>
ปกติผมจะนั่งสมาธิ1ชั่วโมงทุกเช้าครับ พอเริ่มนั่งปุ๊บผมจะดูท้องพองยุบจนจิตสงบคิดว่าน่าจะ
ประมาณ5-10 นาที
หลังจากนั้นก็จะเริ่มรู้รูปรู้นามไปเรื่อยๆ สุดแท้แต่จิตมันจะตามรู้ จนประมาณ15-20 นาที
ก่อนจะครบเวลา เวทนาก็จะมาผมก็ตามดูเวทนาต่อ ตอนนี้แหละครับที่ร่างกายผม
มันจะสั่น โยกอย่างรุนแรง เหมือนกับว่ามันพยายามจะให้เวทนานั้นหายไป ก็สั่นซักพัก
ก็หยุด เวทนามาอีกก็ สั่นอีก หรือบางทีเท่าที่สังเกตพอใจลอยออกไป แล้วกลับมารู้ต่อ
ก็จะสั่นอีกครับ มันควบคุมไม่ได้
ผมก็นั่งดูมันสั่นไป คือแรกๆที่ผมนั่งนั้นไม่มีอาการนี้ แต่หลังๆมานี้ (ประมาณ2-3 เดือน)
มันก็สั่นทุกวัน
ผมก็ชักงงๆไม่แน่ใจว่ามันจะถูกทางหรือเปล่า กลัวว่าจะไปหลงหรือติดอะไรอยู่รึเปล่า
รบกวนผู้มีประสบการณ์ช่วยแนะนำด้วยครับ
(มีคำตอบจากลิงค์นี้ครับ)
http://larndham.net/index.php?showtopic=31973&st=0
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 มิ.ย.2008, 7:40 pm |
  |
สภาวะนั่นแหละครับนิรินธน์ คือ อาการที่เกิดจากภาวนามัยที่นักดูจิตเข้าไม่ถึง ไม่เข้าใจ
ซึ่งความจริงสภาวะเช่นนั้นเกิดจากสังขารในไตรลักษณ์ปรุงแต่ง
หาก เคยผ่านภาวะเช่นนั้นมาก่อน ก็แนะนำให้เขากำหนดรู้ (ทำปริญญากิจ)
ตามเป็นจริง ตามที่มันเป็น สั่นหนอๆๆ เป็นต้นเสีย วงจรปฏิจจสมุปบาท
ก็ขาดวัฏทุกข์ก็ดับ เพราะสติสัมปชัญญะที่ระลึกรู้สึกตัวแล้วกำหนดสภาวะนั้นตามเป็นจริง
นั่นเอง
เมื่อกำหนดรู้ดูทันสภาวะอื่นอีก สติปัญญาก็เพิ่มขึ้นอีก สภาวะอื่นๆอีก
ก็ถูกองค์ธรรมมีสติ เป็นต้น ขจัดสิ้นไป กิเลสถูกกำจัดไป
คงแต่ความรู้เท่าทันกายกับใจที่ทำงานอยู่ตามปกติไว้ธรรมดาของมัน
สรุปง่ายๆ ก็เท่านี้ครับ
แต่จะให้ลึกยิ่งขึ้นอีก ศึกษาจากลิงค์นี้ครับ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15529
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
13 มิ.ย.2008, 6:01 am |
  |
คุณกรัชกายครับ แม้การภาวนา สั่นหนอ ๆ ๆ ก็ไม่ใช่การแก้อารมณ์ได้ครับ
เช่นเดียวกับ เมื่อเกิดทุกขเวทนาขึ้น ก็ให้กำหนด ทุกข์หนอ ๆ ๆ ๆ จนทุกข์นั้นหายไป คุณกรัชกายแน่ใจแล้วหรือว่า นั้นคือ ปริญญากิจ หรือ กำหนดรู้ในทุกข์ ตามทางสติปัฏฐาน ๔
ทุกข์และการกำหนดทุกข์ โดยอาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-06.htm
การกำหนดว่า ทุกข์หนอ ๆ แล้วทุกข์ก็หายไป เมื่อทุกขเวทนาหายไปแล้วก็เท่ากับว่า ผู้นั้นต้องการให้สติปัฏฐานหายไป ตัวเวทนานั้นเป็นสติปัฏฐาน ท่านชี้แจงให้เรากำหนดเวทนา โดยจะเป็นสุข หรือทุกข์ก็ตาม เมื่ออันใดเกิดขึ้นแล้ว ก็ให้กำหนดแต่ละอย่าง ก็สามารถจะบรรลุพระนิพพานได้
แต่เมื่อมหาสติปัฏฐานเกิดขึ้นแล้ว กลับทำให้ความรู้สึกให้มหาสติปัฏฐานนั้นหมดไป ซึ่งถ้าพิจารณาดูด้วยเหตุผลแล้ว จะเป็นการถูกต้องไหม ? เมื่อการปฏิบัติเช่นนี้ โดยทุกขเวทนาหายไปด้วยอำนาจการบังคับ ก็จะรู้สึกว่า ตัวเขาบังคับได้ ที่ถูกแล้วท่านกล่าวว่า ให้ดูทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเท่านั้น ท่านไม่ได้สั่งให้ดูทุกขเวทนาเพื่อจะให้ทุกขเวทนาหายไป
ในมหาสติปัฏฐานนั้น ท่านให้ดูทุกขเวทนาซึ่งเป็นนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีใครสามารถจะบังคับได้ นี่ ท่านให้ดูอย่างนี้
ทุกขเวทนานั้นเป็นนามธรรม มาจากเบญจขันธ์ ให้แลเห็นทุกข์โทษของเบญจขันธ์ แล้วความอาลัย ความต้องการในเบญจขันธ์ ก็จะได้หมดไป ยิ่งเห็นทุกข์เห็นโทษในเวทนามากเท่าไหร่ ก็จะเป็นเหตุให้การบรรลุพระนิพพานใกล้เข้ามาเท่านั้น
ถ้าทุกขเวทนาไม่มี ก็ต้องมีสุขเวทนา สุขเวทนาไม่มี ก็ต้องมีอุเบกขาเวทนา อันใดอันหนึ่ง เพราะเวทนานี้ ประกอบกับจิตทั้งหมดทุกดวง ทั้ง ๘๙ ดวง ไม่มีเลยที่จะไม่ประกอบด้วยเวทนา
เพราะฉะนั้น เมื่อบังคับให้ทุกขเวทนาหายไป หรือหมดไปแล้ว ก็แสดงว่า ผู้ปฏิบัตินั้นไม่พอใจในทุกขเวทนา และก็ยินดีสุขเวทนา การที่ยินดีพอใจในสุขเวทนา ก็คือยินดีพอใจในตัวเบญจขันธ์นั่นเอง
--------------------------------------------------
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=4269
อ้างอิงจาก: |
แนวทางการปฏิบัติ ของท่านภัททันตะทั้งสอง ได้ถูกพัฒนามาเป็นแบบ ยุบหนอพองหนอ และ แบบรูปนาม ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้
วิทยานิพนธ์ เรื่อง
การศึกษาเปรียบเทียบกรรมฐานในคัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะกับคัมภีร์วิสุทธิมรรค และวิธีปฏิบัติกรรมฐานของสำนักวิปัสสนาอ้อมน้อยกับวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
http://www.abhidhamonline.org/thesis/menu.htm
|
สมาธิ - วิปัสสนา
http://larndham.net/index.php?showtopic=26325&per=1&st=2&#entry369546
ส่วนการดูจิตแบบลานธรรม ผมยังไม่เคยได้ศึกษา เลยไม่รู้ว่าจะตรงกับแนวทางสายเอกหรือไม่ ? |
|
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
13 มิ.ย.2008, 7:00 am |
  |
สวัสดีครับ คุณเฉลิมศักดิ์ที่คิดถึง มิตรภาพเก่าๆสองเราจะกลับมาอีกครั้งหนึ่งแล้ว
เราไปสนทนาเรื่องดังกล่าวกันดีกว่า
กรัชกายได้นำความเห็นต่างของคุณไปตั้งกระทู้ไว้ที่นี่ครับ
http://www.free-webboard.com/view.php?user=vipassanatipani&wb_id=41&topic=สนทนาธรรมปฏิบัติกับคุณเฉลิมศักดิ์
ผู้ที่มีความเห็นต่างกันเช่นคุณนี่ล่ะครับ ที่กรัชกายต้องการสนทนาด้วย
นานๆ เพื่อเปิดประเด็นกรรมฐานให้ได้ภาพกว้างที่สุด ไม่ติดตันที่
จุดใดจุดหนึ่ง เผื่อจะมีประโยชน์แก่ผู้แสวงหาหนทางพ้นจากทุกข์
โทมนัสอุปายาสบ้างไม่มากก็น้อย
กรัชกายจะว่าไปตามแนวทางของกรัชกาย ซึ่งมีทั้งภาคปฏิบัติจริงและที่อ้างอิงจากตำรา
ส่วนคุณก็ว่าไปตามแนวทางของคุณนะครับ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
|