|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
chanapa
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2008
ตอบ: 2
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
07 มิ.ย.2008, 11:23 pm |
  |
ดิฉันเพิ่งเริ่มเข้ามาศึกษาจริง ๆ จัง ๆ ค่ะ แต่ก็ยังไม่เข้าใจในความหมายของคำหลาย ๆ คำ แม้จะดูเหมือนว่าง่าย แต่ทำไม่เข้าใจยากก็ไม่ทราบ คงเป็นเพราะด้อยในปัญญาจึงไม่สามารถตีความหมายของคำได้ แม้ตอนนี้ดิฉันอยากที่จะเข้าร่วมปฏิบัติธรรม แต่ก็ไม่สามารถที่จะเดินทางไปร่วมได้ เพราะต้องทำงานที่ไม่มีวันหยุดเลย แม้งานได้หนักหนาอะไรนัก แต่ก็แทบไม่มีเวลาพักผ่อน แต่ก็เจียดเวลาสักหน่อยในการสวดมนต์นั่งสมาธิ (บางครั้งก็ต้องละเลยเพราะสภาพร่างกายทนไม่ไหว เนื่องจากอดนอนหลาย ๆ วันติดกัน) ดิฉันไม่เข้าใจการปฏิบัติในแนวทางสติปัฏฐานเลย และคงไม่สามารถที่จะเดินทางเพื่อไปขอรับความรู้จากพระอาจารย์ท่านใดได้ จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านที่มีจิตเมตตา ในการให้ความรู้และแนวทางคำปรึกษาให้แก่ดิฉันด้วย โปรดช่วยเป็นอาจารย์ให้แก่ดิฉันผู้เป็นบัวใต้น้ำนี้ด้วยเถอะค่ะ ดิฉันทำงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์จึงอยู่ที่หน้าจอคอมฯ ตลอด 19-20 ชั่วโมงต่อวัน ชีวิตประจำวันจึงอยู่กับธรรมะหน้าคอมฯค่ะ |
|
_________________ เริ่มทำความดีใหม่ เอาความไม่ดีในอดีตเป็นครูของเรา |
|
  |
 |
รุ่งลลิดา สกุลงาม
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 21 ก.ค. 2007
ตอบ: 53
ที่อยู่ (จังหวัด): 75/8 ม.3 ม.จามจุรี 2 ต.ท่ามะกา อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120
|
ตอบเมื่อ:
08 มิ.ย.2008, 1:52 pm |
  |
เราหามาทั้งชีวิตเพื่ออะไรเหนื่อยไหม.....แต่เราเริ่มมาดูใจ..หาเวลาสักนิดพบท่านวิปัสสนาจารย์
ท่านคือกัลยาณมิตรที่ประเสริฐ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวรุ่งเองค่ะ |
|
_________________ มีสติไว้ |
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
08 มิ.ย.2008, 9:42 pm |
  |
ธรรมสวัสดีค่ะคุณ chanapa
อย่างน้อยก็นับเป็นการเริ่มต้นที่น่ายินดีอย่างยิ่งของคุณ chanapa แล้วค่ะ
ที่สนใจและพยายามทำความรู้จักการเจริญสติปัฏฐาน
ขออนุโมทนาสาธุด้วยอย่างยิ่งยวดนะคะ
คงไม่หาญกล้าที่จะแนะนำอะไรมาก
ถ้าคิดว่ายังจำไม่ได้หรือยังไม่ค่อยเข้าใจในศัพท์ที่เรียกเป็นบาลียากๆ
ก็ยังไม่ต้องจำก็ได้นะคะ
เพียงอยากบอกเท่าที่สติปัญญาจะอำนวยเป็นเบื้องต้นว่า
ขอเพียงให้เริ่มต้นด้วย การกำหนดรู้ ให้มี สติ (การระลึก)
และ สัมปะชัญญะ (รู้สึกตัว)
ในทุกขณะจิตที่ คิด พูด ทำ ในชีวิตประจำวัน
เพื่อระลึกให้ได้ว่าเรากำลังทำอะไร
เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน พิมพ์งาน เพ่งจอคอมพิวเตอร์
จับช้อนส้อม ทานข้าว ล้างมือ เข้าห้องน้ำ พูด ฯลฯ
ร่างกายในอิริยาบถนั่ง ยืน นอนก็ให้รู้ว่ามันตั้งอยู่ได้อย่างไร
และเมื่อนั่งทำงานนานเริ่มรู้สึกเมื่อย
เริ่มขยับตัวเพื่อทำให้หายเมื่อย
เราจะรู้สึกว่าความเมื่อยมันค่อยๆ คลี่คลายไปมั้ย
หรือในบางช่วงที่รู้สึกเครียดกับงาน
อาจเปลี่ยนมาตามดูลมหายใจของตัวเอง
เมื่อหายใจเข้าก็ตามดูลมหายใจ
หายใจเข้าก็รู้ว่าหายใจเข้า หายใจออกก็รู้ว่าหายใจออก
อย่าไปบังคับ ฝืนลมหายใจให้สั้นยาว
ตามดูรู้ให้ทันลมหายใจ ตั้งแต่เริ่มสูดลมหายใจ
จนกระทั่งปล่อยลมหายใจจนสุดเมื่อหายใจออก
หรือ เรากำลังรู้สึกอย่างไร
เช่น ชอบใจ ไม่ชอบใจ โกรธ ดีใจ เสียใจ เศร้าใจ ฯลฯ
เมื่ออารมณ์ของเราต้องกระทบกับสภาวะแวดล้อมภายนอก
เช่น เวลามีคนชมว่า
วันนี้เราแต่งตัวสวยสวย
หรือเวลาเจ้านายดุด่าว่ากล่าวว่าเราทำงานบกพร่อง
หรือกำลังเดินซื้อของในห้าง
แล้วมีคนเดินมาชนเรา
แล้วเดินผ่านไปไม่ใยดีโดยไม่ขอโทษ เป็นเบื้องต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อตามดูสิ่งเหล่านี้แล้ว
เมื่อสติรับรู้สิ่งใดก็ขอให้รับรู้ด้วยอาการปล่อยวาง ไม่ยินดียินร้าย
เป็นการฝึกจิตใจให้รู้อย่างละวาง
ไม่ยากอย่างที่คิดหรอกนะคะ
ยังไงลองติดตามบทความดีดีจากบอร์ดสติปัฏฐานดู
คงช่วยปูพื้นฐานเพื่อนำไปสู่การทำความเข้าใจในภาคทฤษฎีได้ไม่ยาก
ถ้ามีโอกาสอยากให้ได้อ่านบทความ และหนังสือเหล่านี้
เพราะจะช่วยปูพื้นฐานความเข้าใจในเรื่องการเจริญสติปัฏฐานได้เป็นอย่างดีค่ะ
ผู้ประพฤติธรรม : พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13912
สติระลึกรู้อะไร ? : พระครูเกษมธรรมทัต (พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรํสี )
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13357
คู่มือการทำความรู้สึกตัว : หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6013
อยู่ตรงกลาง ดูนอก ดูใน ไม่เข้าไม่ออก : หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16159
ประทีปส่องธรรม : หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
http://www.wimutti.net/download/books/web/prateep/main.htm?a=1
แต่เหนือสิ่งอื่นใดเราต้องเริ่มปฏิบัติเอง อย่างต่อเนื่อง จริงจัง
ดูกาย ดูใจของเราในทุกสภาวะ ในทุกอารมณ์
ในชีวิตประจำวันเรานี่แหละค่ะ ไม่ต้องไปดูที่ไหน
เราอยู่ที่ไหน ก็ดูมันที่นั่น
แต่หากมีโอกาส
ขอแนะนำว่าควรแสวงหาท่านผู้รู้ที่เป็นวิปัสสนาจารย์
ให้ท่านช่วยตรวจสอบจริต
และแนะนำวิธีเริ่มปฏิบัติในฐานที่เหมาะกับจริตของเรา
เพื่อความก้าวหน้าในธรรมต่อไปน่าจะดีกว่านะคะ
แต่ถ้ายังไม่มีโอกาสก็หาบทความเกี่ยวกับการเจริญสติปัฏฐาน
และหาซีดี หรือ MP 3 ของพระวิปัสสนาจารย์หลายท่าน
ซึ่งในเว็ปนี้ก็มีให้ download ฟังมากมาย
จะได้เป็น แผนที่ ให้เดินอย่างถูกทางต่อไปในอนาคตนะคะ
ขอให้เจริญในธรรม และพบครูบาอาจารย์ผู้รู้ในเร็ววันนะคะ
สถานที่ปฏิบัติธรรมทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=9 |
|
|
|
    |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 มิ.ย.2008, 10:35 am |
  |
คุณ Chanapa มีเวลาค่อยๆ อ่านลิงค์สติปัฏฐานนี้บ้างสิ ครับ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13497 |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 มิ.ย.2008, 10:43 am |
  |
(สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติ สติ+ปัฏฐาน
มิใช่อยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร หรือ อยู่ตามสำนักต่างๆ ดูสาระสติปัฏฐานครับ)
สาระสำคัญของสติปัฏฐาน
ใจความย่อของสติปัฏฐานที่แสดงไว้แล้วนั้น จะเห็นว่า สติปัฏฐาน (รวมทั้งวิปัสสนาด้วย)
ไม่ใช่หลักการที่จำกัดว่า จะต้องปลีกตัวหลบลี้ไปนั่งปฏิบัติอยู่นอกสังคม
หรือจำเพาะในการเวลาตอนใดตอนหนึ่ง
โดยเหตุนี้จึงมีปราชญ์หลายท่านสนับสนุนให้นำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันทั่วไป
ว่าโดยสาระสำคัญ
หลักสติปัฏฐาน 4 บอกให้ทราบว่า ชีวิตของเรานี้ มีจุดที่ควรใช้สติคอยกำกับ
ดูแลทั้งหมดเพียง 4 แห่งเท่านั้นเอง คือ
ร่างกาย และพฤติกรรมของมัน 1
เวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ ต่างๆ 1
ภาวะจิต ที่เป็นไปต่างๆ 1
ความนึกคิดไตร่ตรอง 1
ถ้าดำเนินชีวิตโดยมีสติคุ้มครอง ณ จุดทั้ง 4 นี้ แล้ว ก็จะช่วยให้เป็นอยู่อย่างปลอดภัย
ไร้ทุกข์ มีความสุขผ่องใส และเป็นปฏิปทา นำไปสู่ความรู้แจ้งอริยสัจธรรม |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 มิ.ย.2008, 10:56 am |
  |
ในเบื้องต้น เราควรมีหลักปฏิบัติที่ถูกต้องก่อน หลังจากนั้นเราจะทำจะปฏิบัติตรงไหน
ก็ได้
อยู่หน้าคอม ฯ ก็ควบคุมความคิด คุมมือให้อยู่กับงานที่ทำในขณะนั้นๆ
ใจไม่วอกแวก อยู่กับงานที่กำลังจับกำลังทำ ความคิดแล่นตามงานที่ทำทัน
ก็โอเคแล้วครับ
หากปฏิบัติได้อย่างนี้ ความหมายของคำหลายๆคำ ที่คุณไม่เข้าใจ ก็ปล่อยๆไปครับ
เราเข้าใจตนเองก็เป็นอันใช้ได้
คำศัพท์ เป็นต้นว่า สมถะ สมาธิ วิปัสสนา ปล่อยให้นักศัพทศาสตร์บ้านเราถกและตีความ
คาดเดากันไปครับ
สำหรับนักปฏิบัติศึกษาอิทธิบาทธรรมกับการทำงานที่ลิงค์นี้กันครับ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14744 |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |